RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311903
ทั่วไป:13575233
ทั้งหมด:13887136
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกจาก Black express
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกจาก Black express
Goto page 1, 2, 3 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 09/09/2013 8:13 pm    Post subject: บันทึกจาก Black express Reply with quote

สวัสดีครับ...


เรื่องของเรื่องคือผมได้รับความเอื้อเฟิ้อจากคุณบอมบ์ (Civilspice) ให้ยืมหนังสือสรุปรายงานประจำปี ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีรูปภาพสวยๆ โดยฝีมือช่างของการรถไฟฯ ได้บันทึกเอาไว้ ซึ่งหลายๆ รูปนั้น เป็นรูปในอดีตไปแล้ว ก็เลยนำมาลงใน facebook พร้อมคำบรรยายสั้นๆ ประกอบ ซึ่งบางครั้งก็นอกเรื่องนอกราวไปเลยก็มี

ไปๆ มาๆ อ.ตุ้ย ที่จ้องๆ เล็งๆ มานาน เลยยุให้ผมนำมาเผยแพร่ให้เป็นเรื่องเป็นราวในเว็บไซต์นี้ เพื่อความสะดวกในการค้นหารูปเก่าๆ ซึ่งใน facebook นั้น นานไปรูปจะทับถมกันจนค้นหาได้ยาก เอาก็เอา... ลองหลงคารม อ.ตุ้ย สักหนหนึ่งจะเป็นไรไป Razz

หากใครมีข้อมูลที่จะทักท้วงหรือเสริมเข้ามาก็เชิญได้เลยครับ เผื่อประโยชน์ของผู้อ่านได้ทราบ และความเป็นมาของรูป เรียกว่าได้ข้อมูลด้วยกันทั้งสองฝ่าย รวมทั้งตัวผมเองด้วย ซึ่งชักจะลืมๆ เลือนๆ ไปบ้าง แต่ยังไม่หลงนะครับ ฮ่าๆๆๆๆ

Click on the image for full size

ขอเสนอภาพเก่าๆ เป็นปฐมฤกษ์ แต่ยังดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน และเพิ่งผ่านไปหมาดๆ นี้เองครับ

เป็นการจัดเดินรถไฟขบวนพิเศษ ใช้รถจักรไอน้ำลากจูงระหว่างกรุงเทพ - อยุธยา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟไทย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ซึ่งมีการเปิดเดินรถไฟหลวงครั้งแรก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

นอกจากจะเดินรถไฟขบวนพิเศษเนื่องในวันดังกล่าวแล้ว การรถไฟฯ ยังได้จัดเดินรถขบวนพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม วันปิยมหาราช วันที่ 23 ตุลาคม และวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีอีกด้วย

Click on the image for full size

ระหว่างการเดินทางโดยรถไฟ สิ่งหนึ่งที่ผมมักมอง หากได้ที่นั่งด้านที่เหมาะสมล่ะก็ เห็นจะเป็นสายโทรเลขนี่แหละ

สายที่ตึงได้ระดับ ไม่หย่อนรุงรังจนติดดิน แถมด้วยตัวเสาโทรเลขซึ่งมาจากรางรถไฟเก่าซึ่งมีความทนทานกว่าเสาไม้ธรรมดาอยู่แล้ว จะเป็นรูปลักษณ์ที่บอกว่าเป็นเสาโทรเลขริมทางรถไฟ ซึ่งสมัยก่อน มีเสาโทรเลขแบบนี้อยู่ริมทางหลวงสายเด่นชัย - น่าน แต่หลังจากขยายผิวจราจรเป็นสี่เลน และทางไปรษณีย์โทรเลขได้เลิกใช้บริการโทรเลข เสาโทรเลขเหล่านี้พลอยสูญหายไปด้วย

ปัจจุบันนี้ เราจะเห็นเสาโทรเลขของการรถไฟฯ ยังอยู่ข้างทางรถไฟอยู่ครับ ยกเว้นสายแม่กลอง สายชุมทางคลองสิบเก้า - ชุมทางแก่งคอย ที่การรถไฟฯ เลือกใช้วิธีเดินสายเคเบิลในร่องเดินสายริมทางรถไฟ และประสบปัญหามีผู้ปรารถนาร้าย แอบลักตัดไปขายหลายครั้งแล้ว

Click on the image for full size

ช่วงปี 2534 การรถไฟฯ ได้ดัดแปลงโบกี้โดยสารชั้นสามเพื่อใช้ขนส่งผู้โดยสารบนเส้นทางสายชานเมือง โดยทำเบาะเป็นเบาะยาวสองแถวตามตัวรถ และเพิ่มประตูขึ้น-ลงให้รับผู้โดยสารปริมาณมากขึ้น ซึ่งเราเรียกจนติดปากว่า "รถคอกหมู" นั่นเองครับ

ปัจจุบัน โบกี้ดัดแปลงประเภทนี้ ได้พ่วงเข้ากับขบวนรถเร็วทางไกลบางขบวน เพื่อขนสัมภาระที่ฝากส่งนอกเหนือจาก บสพ.เดิม ทำให้เพิ่มรายได้จากการขนส่งพัสดุตามรายทางอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 10/09/2013 8:27 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

เมื่อปี 2546 การรถไฟฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไปตรวจสอบรถบรรทุกก๊าซปิโตรเลียม (บทก.) ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ก่อนนำมาใช้งานต่อไป

Click on the image for full size

สมัยก่อน ผมเห็นรถรวมวิ่งบริการอยู่หลายขบวน ซึ่งมีทั้งรถโดยสารและตู้สินค้าพ่วงรวมกัน วิ่งแบบทองไม่รู้ร้อนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงปลายทาง

รถรวมเหล่านี้ เท่าที่ผมจำได้บนเส้นทางสายเหนือ มีวิ่งระหว่าง ลำปาง - เชียงใหม่ เชียงใหม่ - พิษณุโลก เด่นชัย - นครสวรรค์ บ้านดารา - สวรรคโลก และบางซื่อ - พิษณุโลก ซึ่งเป็นขบวนรถรวมที่ใช้เวลาการเดินทางมากที่สุด โดยออกจากบางซื่อราวตีห้า ถึงพิษณุโลกราวห้าทุ่ม นั่งกันนานจนเมื่อยก้นเลยล่ะ

ปัจจุบัน มีขบวนรถรวมเพียงสองขบวนคือ ขบวนรถรวม สุราษฎร์ธานี - คีรีรัฐนิคม และ หนองปลาดุก - น้ำตก ไม่มีตู้สินค้าพ่วงหรอกครับ แต่ขบวนรถโดยสารกลับพ่วง บทต.แทน

Click on the image for full size

หลายปีที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้มีโครงการปรับปรุงทางระยะที่ 1 โดยเปลี่ยนรางขนาด 80 ปอนด์ เป็น 100 ปอนด์ พร้อมหมอนคอนกรีต ระหว่างสถานีลพบุรี - ชุมแสง ทำให้เส้นทางรถไฟสายเหนือมีความมั่นคงยิ่งขั้น รถไฟที่วิ่งผ่านไปมาสามารถใช้ความเร็วได้สูง พร้อมกับรับน้ำหนักบรรทุกได้มากขึ้น

นอกจากนั้น ยังมีการเชื่อมรางโดยวิธีเทอร์มิต ทำให้เสียงล้อกระทบรางที่เคยได้ยินเป็นประจำจนเป็นสัญญลักษณ์ของรถไฟนั้น หายไปด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 10/09/2013 8:46 pm    Post subject: Re: บันทึกจาก Black express Reply with quote

black_express wrote:




Click on the image for full size

ขอเสนอภาพเก่าๆ เป็นปฐมฤกษ์ แต่ยังดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน และเพิ่งผ่านไปหมาดๆ นี้เองครับ

เป็นการจัดเดินรถไฟขบวนพิเศษ ใช้รถจักรไอน้ำลากจูงระหว่างกรุงเทพ - อยุธยา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟไทย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ซึ่งมีการเปิดเดินรถไฟหลวงครั้งแรก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

นอกจากจะเดินรถไฟขบวนพิเศษเนื่องในวันดังกล่าวแล้ว การรถไฟฯ ยังได้จัดเดินรถขบวนพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม วันปิยมหาราช วันที่ 23 ตุลาคม และวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีอีกด้วย



Laughingผมสังเกตุว่า ปัจจุบันใช้ ๒ หัว ซึ่งต่างจากเมื่อก่อน นะครับใช้หัวเดียว คงเป็นเพราะเพิ่มหน่วยลากจูงมากขึ้น หรือว่า สองหัวดีกว่าหัวเดียว ถ้าคันหนึ่งคันใดชำรุด ก็ยังมีอีกคันหนึ่งช่วย
Very Happy
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 10/09/2013 8:51 pm    Post subject: Reply with quote

เข้าใจว่า ที่อยุธยาไม่มีวงเวียนกลับรถจักรครับ เลยต้องพ่วง 2 หัว แต่สามารถเพิ่มหน่วยลากจูงได้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 11/09/2013 1:18 am    Post subject: Reply with quote

แต่จะว่าไปแล้ว รถจักรไอน้ำที่มีหัวด้านเดียว จะดูคลาสสิคดีกว่า เพราะเมื่อนำมาต่อกลับด้านกัน (พหุ) ดูมันแปลกๆ เหมือนเป็นรถจักรไอน้ำปลอมๆ ที่ข้างในใช้เครื่องดีเซล หรือไฟฟ้า ตามสวนสนุกไปเลย Rolling Eyes มีอีกแบบหนึ่งคือพ่วงหัวจักรกลับด้านทางด้านท้ายแทน แต่ปัญหาคือจะควบคุมมันพร้อมๆกันได้อย่างไร (คือตัวท้ายใช้ออกแรงดัน) และการออกแรงดันพร้อมดึงขณะใช้ความเร็วสูง (ปกติจะเคยเห็นการดันตู้โบกี้แถวๆ ย่านสถานีเท่านั้น) อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้หรือเปล่า ทางที่ดี..น่าจะสร้างวงเวียนกลับจักรไว้สำหรับโชว์นักท่องเที่ยวซะด้วยเลย ตรงสถานีอยุธยา Shocked ส่วนที่กรุงเทพฯ เข้าใจว่าในอู่บางซื่อน่าจะมีีวิธีกลับหัวจักรได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาการลากจูงหลายตู้ อันนี้ คงใช้วิธีแบ่งเดินเป็น 2 ขบวน เช้า - สาย เพื่อให้คนเลือกเดินทางได้ แม้จะต้องใช้ จนท.เพิ่มเป็น 2 เท่าก็ตาม Idea
Back to top
View user's profile Send private message
headtrack
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/05/2009
Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง

PostPosted: 11/09/2013 2:45 am    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:
... ฯ ล ฯ ...

Click on the image for full size

สมัยก่อน ผมเห็นรถรวมวิ่งบริการอยู่หลายขบวน ซึ่งมีทั้งรถโดยสารและตู้สินค้าพ่วงรวมกัน วิ่งแบบทองไม่รู้ร้อนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงปลายทาง

รถรวมเหล่านี้ เท่าที่ผมจำได้บนเส้นทางสายเหนือ มีวิ่งระหว่าง ลำปาง - เชียงใหม่ เชียงใหม่ - พิษณุโลก เด่นชัย - นครสวรรค์ บ้านดารา - สวรรคโลก และบางซื่อ - พิษณุโลก ซึ่งเป็นขบวนรถรวมที่ใช้เวลาการเดินทางมากที่สุด โดยออกจากบางซื่อราวตีห้า ถึงพิษณุโลกราวห้าทุ่ม นั่งกันนานจนเมื่อยก้นเลยล่ะ

ปัจจุบัน มีขบวนรถรวมเพียงสองขบวนคือ ขบวนรถรวม สุราษฎร์ธานี - คีรีรัฐนิคม และ หนองปลาดุก - น้ำตก ไม่มีตู้สินค้าพ่วงหรอกครับ แต่ขบวนรถโดยสารกลับพ่วง บทต.แทน

... ฯ ล ฯ ...

...ขบวนรถรวม 485/486 ชุมทางหนองปลาดุก-น้ำตก-ชุมทางหนองปลาดุก ยังเปนขบวนรถรวมเพราะสำรองฝาก บทต.คอนเทนเนอร์ จากท่าม่วง
มายังชุมทางหนองปลาดุก (บทต.ห้ามล้อสูญญากาศ) เพื่อทำขบวน 2026/2025 เข้าย่านพหลโยธินและนำ บทต. เปล่าออกมา ครับ...!?!
_________________
Click on the image for full size
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 11/09/2013 8:17 am    Post subject: Re: บันทึกจาก Black express Reply with quote

black_express wrote:
ไปๆ มาๆ อ.ตุ้ย ที่จ้องๆ เล็งๆ มานาน เลยยุให้ผมนำมาเผยแพร่ให้เป็นเรื่องเป็นราวในเว็บไซต์นี้ เพื่อความสะดวกในการค้นหารูปเก่าๆ ซึ่งใน facebook นั้น นานไปรูปจะทับถมกันจนค้นหาได้ยาก เอาก็เอา... ลองหลงคารม อ.ตุ้ย สักหนหนึ่งจะเป็นไรไป Razz


ขอใช้สิทธิพาดพุง เอ๊ย พาดพิง ครับพี่ตึ๋ง Embarassed Laughing

ขอบคุณพี่ตึ๋ง ที่นำเรื่องราว สาระความรู้ และภาพถ่ายเกี่ยวกับรถไฟในอดีตมาให้รับชมกันใน "รถไฟไทยดอทคอม" ครับ Very Happy

สื่อออนไลน์ในยุคนี้ มีรูปแบบหลากหลาย เฟสบุ๊ค ก็ดี ไลน์ ก็ดี อาจสะดวก รวดเร็วในการติดต่อพูดคุยกัน แต่ไม่เหมาะแก่การเก็บรวมรวมข้อมูล สาระความรู้ดีๆ เนื่องจากนานวันไปแล้วจะสืบค้นได้ยาก บางทีข้อมูลก็สูญหายไปอย่างน่าเสียดาย ไม่เหมือนกับการตั้งเป็นกระทู้ในเวบไซต์ซึ่งไม่มีปัญหาดังกล่าว กระผมจึงพยายามสนับสนุนให้พี่ๆ น้องๆที่ลงเรื่องราว สาระความรู้ดีๆ หรือความทรงจำดีๆเกี่ยวกับรถไฟ ช่วยกันเปิดกระทู้ในเวบฯของเรา อยู่เสมอ ไหนๆเราก็มี "ของดี" อยู่ในมือแล้ว ก็ควรใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ครับ Very Happy
_________________
นสน.าย./อ.ตุ้ย/อ.หลวงอัคคีเทพอาณัติ/
http//:www.facebook.com/VISIT-RAILWAY-MUSEUMS-1521959098131925/
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/09/2013 8:40 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณทุกท่านและ อ.ตุ้ยมากครับ ผมคิดว่า รูปใด ตลอดจนบทความใดๆ ที่ลงในเว็บนี้ ถือเป็นสมบัติของเว็บนั่นแหละครับ เพียงแต่ผมต้องพิถีพิถันด้านลงลายน้ำ และที่มาสักหน่อย ถือเป็นการให้เกียรติกับเจ้าของภาพซึ่งอาจนิรนามก็ได้ เผื่อมีใคร copy ไปอ้างอิง และคิดจะสืบค้นย้อนหลังต่อไปครับ Razz


สำหรับวิธีการขับรถจักรสมัยก่อนซึ่งต้องพ่วงพหุนั้น เข้าใจว่า คงจะให้ล้อเคลื่อนไปก่อนถึงจะเปิดเครื่องรถจักรตัวช่วยครับ

ในทางกลับกัน หากจะให้คันตามลดความเร็วหรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม พขร.คันหน้าก็จะชักหวูดให้สัญญาณ ก็เป็นอันรู้กันว่าจะให้ทำอย่างไร

ถ้าหากขบวนรถนำเที่ยวพิเศษจัดเดินทุกเดือน อาจมีการสร้างวงเวียนกลับรถจักรก็ได้

ที่ผมว่ามา อาจเข้าใจไม่ถูกต้องก็ได้นะครับ ขอได้ฟังหูไว้หูก่อน Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/09/2013 9:44 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

สำหรับผู้ที่คุ้นเคยสถานที่ดี คงจะหลับตาตอบได้ทันที่ว่า เป็นบริเวณที่หยุดรถท่าฉลอม รถไฟสายแม่กลอง ช่วงสถานีบ้านแหลม - สถานีแม่กลอง

ปัจจุบัน รถดีเซลรางที่เห็นในภาพ ไปชนกับรถบรรทุกที่ทางตัดจนหน้ายุบไปข้างหนึ่ง และส่งกลับโรงงานมักกะสันเพื่อซ่อมแซมต่อไปครับ สำหรับรถดีเซลรางที่วิ่งอยู่ในปัจจุบัน ได้ย้ายจากเส้นทางใหญ่ไปวิ่งแทน

Click on the image for full size

เป็นภาพในอดีตของสถานีรถไฟธนบุรีครับ ซึ่งผมเองก็ยอมรับว่า เคยใช้บริการเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเอง ช่วงปลายปี 2531 ไปภาคใต้

คราวสงครามโลกครั้งที่ 2 อาคารสถานีรถไฟหลวงสายใต้ หรือสถานีบางกอกน้อยถูกทำลายอย่างย่อยยับ รัฐบาลในสมัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงให้สร้างอาคารหลังใหม่ทดแทนที่ถูกทำลายไป โดยสร้างเป็นอาคารอิฐสีแดง มีหอนาฬิกา ซึ่งถือว่าเป็นอาคารที่มีความสวยงามมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง และตั้งชื่อสถานีนี้ใหม่ว่า สถานีธนบุรี และเปิดใช้งานอาคารหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.2493

บทบาทของสถานีธนบุรีในฐานะต้นทางของรถไฟสายใต้เริ่มน้อยลง เมื่อรถไฟสายใต้หลายขบวนได้เปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางไปที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งต่อมาในระยะหลัง ขบวนรถที่ให้บริการ ณ สถานีธนบุรีจึงมีเพียงขบวนรถเร็ว เพียงขบวนเดียว ขบวนรถธรรมดาและและขบวนรถชานเมือง ในเส้นทางสายใต้ (รวมถึงเส้นทางสายกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี)

ในช่วงประมาณปี พ.ศ.2542 รัฐบาลสมัยนายชวน หลีกภัย ได้มีโครงการปรับปรุงอาคารสถานีธนบุรีและพื้นที่โดยรอบ ทำให้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การรถไฟได้สร้างสถานีรถไฟอีกแห่งหนึ่งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่รับส่งผู้โดยสารทดแทนสถานีธนบุรี ตั้งชื่อว่าสถานีบางกอกน้อย (สถานีชั้น 4) (ชื่อเดียวกับสถานีรถไฟหลวงสายใต้ในอดีตก่อนที่จะถูกทำลายจากสงคราม) ห่างจากสถานีธนบุรี 0.866 กิโลเมตร แต่สถานีธนบุรีนั้น ก็ยังเปิดจำหน่ายตั๋วและเปิดทำการตามปกติ แต่ผู้โดยสารต้องเดินทางมาขึ้นลงขบวนรถที่สถานีใหม่ที่สร้างขึ้น แต่โครงการดังกล่าวประสบปัญหาอย่างมากทำให้หยุดชะงักไปในที่สุด

ในปี พ.ศ.2546 ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่น่าสนใจว่า มีชั่วระยะเวลาสั้นๆ ที่ รฟท.ได้นำขบวนรถโดยสารเข้ามาหยุดรับส่งผู้โดยสารที่อาคารสถานีธนบุรีเหมือนเดิม แต่ในที่สุด ในรัฐบาลของ นายสมัคร สุนทรเวช รฟท.ได้มอบที่ดินบริเวณสถานีธนบุรีจำนวน 33 ไร่ แก่คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ทำให้ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2546 รฟท.จึงไม่เดินรถเข้าสถานีธนบุรีเป็นการถาวร โดยให้ใช้สถานีบางกอกน้อยที่สร้างใหม่เป็นต้นทาง-ปลายทาง โดยใช้ชื่อว่า สถานีธนบุรี เช่นสถานีเดิม

Click on the image for full size

ช่วงปี 2546 การรถไฟฯ ได้ดำเนินโครงการแก้ไขคันทางรถไฟยุบตัวเนื่องมาจากโพรงดินใต้ทาง และลาดทางตัด (Cut Back) ถูกน้ำฝนกัดเซาะ ช่วงสถานีจันทึกและสถานีคลองขนานจิตร ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นระยะทาง 3.4 กม.โดยปรับปรุงคุณภาพดินให้เป็นวัตถุทึบน้ำ ด้วยวิธี Jet Grouting ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นำเอาเทคนิคนี้ มาแก้ไขปัญหาเรื่องดินกระจายตัวครับ
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 12/09/2013 10:13 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

สมัยหนึ่ง การรถไฟฯ ได้เวนคืนที่ดินเพื่อจะก่อสร้างเส้นทางเลี่ยงกรุง จากบางซื่อไปคลองตัน แต่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการก่อสร้างสักที เลยรกเป็นป่าตั้งแต่นั้นมา

จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงดำริสร้างถนนเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร การรถไฟฯ ได้น้อมเกล้าถวายที่ดินตามแนวทางดังกล่าวเพื่อก่อสร้างถนน ซึ่งก็คือแนวถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกพระรามเก้า มาจนถึงแยกรัชวิภาในปัจจุบันนี้

แต่ยังมีแนวทางที่ไม่ได้ก่อสร้างถนนรัชดาภิเษกคงเหลืออีกจำนวนหนึ่ง จึงได้ให้เอกชนเช่าเพื่อหาผลประโยชน์ และให้หน่วยงานราชการก่อสร้างสถานที่เพื่อปฏิบัติงาน เช่น ศาลฎีกา สำนักงานอัยการ ศาลอาญา และศาลจังหวัดที่ อ.ตุ้ย ไปประจำหน้าที่อยู่ช่วงหนึ่งนั่นแหละ

ไม่คิดเลยว่า ถนนรัชดาภิเษกที่แสนจะจอแจ มีผู้คนพลุกพล่านทุกวันนี้ การรถไฟฯ ยังมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยครับ

Click on the image for full size

เมื่อปี 2534 การรถไฟฯ ได้ดำเนินการดัดแปลงรถนั่งชั้นสาม (บชส.) เป็นรถนั่งชั้นสามปรับอากาศ เพื่อยกระดับคุณภาพของบริการให้สูงขึ้น และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารที่มีรายได้น้อยซึ่งเดินทางไกล โดยเสียค่าธรรมเนียมปรับอากาศเพิ่มขึ้นเพียงคนละ 50 บาทเท่านั้น

รถโดยสารชั้นสามปรับอากาศนี้ พ่วงเข้ากับขบวนรถเร็ว กรุงเทพ - สุไหงโกลก ในเส้นทางสายใต้เพียงขบวนเดียวเท่านั้น

ผมเคยโดยสารรถนั่งชั้นสามปรับอากาศคราวเช่าเหมาเดินทางไปกับขบวนรถโดยสาร กรุงเทพ - อรัญประเทศ ยอมรับว่ามีความสะดวกสบายมากครับ กับบรรยากาศที่เย็นฉ่ำตลอดการเดินทาง ถึงแม้ว่าความสะอาดภายนอกโบกี้ยังไม่ค่อยพอใจนัก และเครื่องปรับอากาศจะทำงานไม่ราบรื่น ต้องตรวจสอบระหว่างช่วงขากลับก็ตามที

Click on the image for full size

มีภาพขบวนรถโดยสาร เข้าใจว่าเป็นสายน้ำตก ทำขบวนโดยปู่เฮนเช่ล กำลังข้ามแม่น้ำนครชัยศรี ตรงสะพานเสาวภา

สะพานเสาวภา ผมคิดว่าเป็นสะพานช่วงเดียวกี่ยาวมากครับ เพราะไม่มีตอม่ออยู่ข้างใต้เลย กว่าจะข้ามแม่น้ำนครชัยศรีได้ ก็ประมาณอึดใจใหญ่ล่ะ

หลังจากที่การรถไฟฯ ได้ก่อสร้างเส้นทางคู่กับสายเดิม มีการก่อสร้างสะพานเสาวภาแห่งใหม่ ข้ามแม่น้ำนครชัยศรีเคียงคู่กับสะพานเดิม และแน่นอน มีความแข็งแรงกว่า รับน้ำหนักขบวนรถได้มากกว่าสะพานเดิม แต่ผมคิดว่าสะพานเสาวภาเดิม ยังขลัง มีเสน่ห์อยู่นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3 ... 12, 13, 14  Next
Page 1 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©