View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
ranmanaja
3rd Class Pass
Joined: 08/04/2010 Posts: 121
Location: kao ta mon junction
|
Posted: 01/10/2013 10:39 pm Post subject: ต้นสำโรง สถานีนี้ย้ายทำไมหนออออ |
|
|
อยากทราบเหตุผลที่สถานีต้นสำโรงต้องย้ายขึ้นไปจากจุดที่ตั้งเดิมครับ ย้อนกลับไปเมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้วผมกับแม่เคยมาใช้บริการสถานีนี้ ซึ่งยังเป็นเพียงสถานีเล็กๆ และอยู่ในบริเวณเดิมดังภาพครับ
จึงอยากเรียนถามผู้รู้ว่า เหตุที่ย้ายสถานีไปเพราะเหตุใดครับ ขอบคุณมากครับ
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47080
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
ranmanaja
3rd Class Pass
Joined: 08/04/2010 Posts: 121
Location: kao ta mon junction
|
Posted: 01/10/2013 11:12 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณ คุณ Mongwinมากครับ พอจะนึกภาพออกได้คร่าวๆครับ ที่เห็นในภาพบริเวณฝั่งตรงข้ามของสถานีต้นสำโรง น่าจะเป็นอาคารอะไรสักอย่างของศูนย์ทหารฝั่งตรงข้ามหรือเปล่าครับ |
|
Back to top |
|
|
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
Posted: 01/10/2013 11:30 pm Post subject: |
|
|
...เห็นจะเป็นตามนั้นครับ เพราะ.-
- เมื่อทำทางคู่ ทางหลีกได้รับการขยายให้ยาวขึ้น หากคงอาคารสถานีไว้ตำแหน่งเดิม ทางหลีกอาจต้องล้นไปบริเวณทางโค้ง
- เพื่อสนับสนุน หน่วยงานทางทหาร (ผมจำชื่อหน่วยงานไม่ได้) ปัจจุบันก็ยังใช้ขนส่งทางทหารอยู่ เห็นประจำคือ "หญ้าม้า" จากราชบุรี มากับขบวน 702
หญ้าม้านี้คือหญ้าให้ม้ากิน ส่งไปไกลถึงเชียงใหม่กับขบวน 601
หน่วยงานทางทหารตรงสถานีต้นสำโรง เป็นสถานที่ฝึก นศท. ด้วยครับ บ่ายๆ เย็นๆ จะมี นศท. มากันคึกคัก นสน. ต้อง ว. ขอหวีดยาวๆ จากขบวนรถลงใต้พวก 35, 37 และ 169
เป็นประจำ เพราะขบวนรถเพิ่งจะพ้นโค้งมาด้วย
...จากการตั้งข้อสังเกตครับ...!?! _________________
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47080
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 01/10/2013 11:35 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณมากครับคุณต้น
ฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันเป็นกรมการสัตว์ทหารบก นครปฐม (ค่ายทองฑีฆายุ) ครับ
ผมยังค้นประวัติไม่ได้ว่ามีการใช้ประโยชน์พื้นที่ตรงนี้ตั้งแต่เมื่อใด
ในภาพถ่ายทางอากาศโดยคุณ Peter Williams-Hunt วันที่ 15 ธันวาคม 2486 ยังเป็นสนามโล่ง ๆ ครับ ไม่มีอาคารชั่วคราวมากมายเหมือนในปี 2489
ที่มา: http://gdap.crma.ac.th/whc/thailand/gallery3/thailand/Nokhon_Pathom/thumb1024/02895.jpg
สังเกตว่าในอดีต ชุมชนต้นสำโรงจะตั้งบ้านเรือนเลียบคลองเจดีย์บูชา (ขุดในสมัย ร.4)
พอมีการสร้างทางรถไฟสายเพชรบุรีในสมัย ร.5 การสัญจรก็เลยสะดวกขึ้นนะครับ |
|
Back to top |
|
|
umic2000
2nd Class Pass
Joined: 06/07/2006 Posts: 676
Location: Lenin Grad , U.S.S.R.
|
Posted: 02/10/2013 1:11 am Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | ขอบคุณมากครับคุณต้น
ฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันเป็นกรมการสัตว์ทหารบก นครปฐม (ค่ายทองฑีฆายุ) ครับ
ผมยังค้นประวัติไม่ได้ว่ามีการใช้ประโยชน์พื้นที่ตรงนี้ตั้งแต่เมื่อใด
ในภาพถ่ายทางอากาศโดยคุณ Peter Williams-Hunt วันที่ 15 ธันวาคม 2486 ยังเป็นสนามโล่ง ๆ ครับ ไม่มีอาคารชั่วคราวมากมายเหมือนในปี 2489
ที่มา: http://gdap.crma.ac.th/whc/thailand/gallery3/thailand/Nokhon_Pathom/thumb1024/02895.jpg
สังเกตว่าในอดีต ชุมชนต้นสำโรงจะตั้งบ้านเรือนเลียบคลองเจดีย์บูชา (ขุดในสมัย ร.4)
พอมีการสร้างทางรถไฟสายเพชรบุรีในสมัย ร.5 การสัญจรก็เลยสะดวกขึ้นนะครับ |
เรียนท่าน อ.เอก ครับ
คลองที่อาจารย์ที่ระบุในภาพว่าเป็นคลองเจดีย์บูชานั้น แท้จริงแล้วคือส่วนหนึ่งของแนว "คูเมือง" ของ "เมืองโบราณนครปฐม" หรือ "เมืองโบราณนครชัยศรี" ครับ ซึ่งเมืองโบราณแห่งนี้ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเช่น เมืองพระประธม หรือเมืองนครพระกฤษณะ (ปรากฏชื่อนี้ในจารึกของทางสุโขทัย) เมืองโบราณนครปฐมเป็นเมืองขนาดใหญ่ในสมัยทวารวดี ขนาดของตัวเมืองมีขนาดประมาณ 3,700x2,000 เมตร รวมคำนวณแล้วมีพื้นที่ 3,809 ไร่ มีขนาดเล็กกว่าเกาะเมืองของกรุงศรีอยุธยาเพียงเล็กน้อย
ในเขตตัวเมืองและบริเวณรอบๆปรากฏการพบโบราณสถานสมัยทวารวดี เช่น เจดีย์พระประโทน เจดีย์จุลประโทน เจดีย์วัดพระเมรุ พระปฐมเจดีย์ และเจดีย์วัดพระงาม ฯลฯ ส่วนโบราณวัตถุในสมัยทวารวดี เช่น เหรียญสำริด พระพุทธรูปแบบศิลปะทวารวดี ศิลปะคุปตะและอมราวดีจากอินเดีย เสมาพระธรรมจักร ภาพหินแกะสลัก ฯลฯ เป็นต้น
"วัดพระงาม" อยู่ทางทิศตะวันตกของสถานีรถไฟนครปฐม ในบริเวณวัดมีซากองค์สถูปเจดีย์ขนาดใหญ่สมัยทวารวดีราวครึ่งหนึ่งที่เหลือรอดจากการรื้อทำลายในช่วงที่มีการตัดทางรถไฟสายใต้ผ่าน (ภาพจากหนังสือ "วัฒนธรรมผสมในศิลปกรรมสยาม" ของ อ.วินัย ผู้นำพล)
และมีเกร็ดข้อมูลอีกว่า ในช่วงที่มีการสร้างทางรถไฟสายใต้และพระราชวังสนามจันทร์ตลอดจนการพัฒนาเมืองนครปฐมนั้น มีการบันทึกว่ามีการรื้อถอนซากโบราณสถานจำนวนมากเพื่อขนย้ายอิฐมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น
1) การนำมาถมเพื่อยกระดับพื้นที่โดยรอบองค์พระปฐมเจดีย์ เพื่อรองรับฐานองค์เจดีย์ใหม่ที่สร้างครอบองค์เดิม ในรัชสมัย ร.4
2) นำไปใช้ถมพื้นคันทางรถไฟตั้งแต่สถานีรถไฟบางกอกน้อย เป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ในรัชสมัย ร.5 (เป็นปริศนาที่น่าค้นหาข้อมูลมากครับ )
3) นำมาถมทำถนนเทศาภิบาลเข้าเมืองนครปฐม และบางส่วนนำไปถมพื้นที่สำหรับสร้างพระที่นั่งในวังสนามจันทร์ ในรัชสมัย ร.6
4) นำมาถมทำถนนมาลัยแมน (ทล. 321) ช่วงจากนครปฐมไปกำแพงแสน ในรัชสมัย ร.7
5) นำไปถมพื้นที่ก่อสร้างห้องเย็นสะพานปลากรุงเทพฯ ในรัชสมัย ร.7
คิดปริมาณอิฐที่ถูกเคลื่อนย้ายออกไปราว 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร ส่วนซากโบราณที่ถูกรื้ออิฐออกไปก็ถูกรื้อทลายกลายเป็นเรือสวนไร่นาตลอดจนบ้านพักอาศัยจนหมด เหลือไว้แต่เพียงชื่อ เช่น บ้านหนองปากโลง อ.เมืองฯ จ.นครปฐม ที่พบโลงไม้บรรจุศพคนยุคโบราณแบบเดียวกับในจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรีครับ |
|
Back to top |
|
|
srinopkun
1st Class Pass (Air)
Joined: 08/04/2010 Posts: 2940
Location: นครปฐม
|
Posted: 02/10/2013 10:31 am Post subject: |
|
|
อ่ะ ... มาตอบให้ครับ ในฐานะที่เคยเป็น "เด็กกรม" (หมายถึงเด็กในกรมการสัตว์ทหารบก - ต้นสำโรง) มาก่อน
..... กรมการสัตว์ทหารบก เริ่มก่อสร้างที่นี่ (ต้นสำโรง) ในปี พ.ศ.2505 โดยเริ่มสร้างเป็นหน่วยเสบียงสัตว์เล็กๆก่อน ตัวสำนักงานกรมการสัตว์นั้น อยู่ที่แถวๆอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ตามภาพ
ในปี พ.ศ.2512 ก็ได้เริ่มก่อสร้างอาคารที่ทำการ, บ้านพัก เรือนพัก เพราะจะต้องย้ายกรมมาจากพญาไท - กทม. มาอยู่ที่นี่ทั้งกรม (ยกที่ตรงพญาไทให้หน่วยอื่นไป)
พ.ศ. 2514 ก็ย้ายมาอยู่ที่นี่หมดครบทุกแผนก
---------------------
สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมถึงย้ายอาคารสถานีจากตรงนั้นมาตรงที่ปัจจุบัน เพราะหลายองค์ประกอบครับ ทั้งของการรถไฟเอง และจากการขอความร่วมมือจากกรมฯ
เหตุผลของการรถไฟเองก็คือ อาคารเดิม อยู่แนวโค้ง เพิ่งจะพ้นโค้ง และย่านสถานีก็ขยายไปทางนครปฐมได้ยาวตลอดแนว ตามภาพ
และที่ทางกรมขอความร่วมมือมาก็คือ เดิมน่ะ ประตูตรงตลาดเก่า (ใกล้อาคารสถานีเดิม) ไกลจาก
การ รปภ. ของกรมมาก ส่งทหารยามไปเฝ้า ก็โดนแกล้งมั่งอะไรมั่ง ส่งใครไปอยู่ก็ไม่ค่อยอยากจะไปกัน จะกินจะอยู่ นู่น เดินข้ามสนามมาโรงเรียนการสัตว์ (ใกล้ที่สุดแล้ว)
ทางกรมก็เลยอยากจะปิดช่องทางตรงนั้นซะเลย
ช่องทางใหม่ หน้าอาคารสถานีใหม่ ใกล้โซนบ้านพัก, สโมสร, สระว่ายน้ำ
ควบคุมดูแลง่าย และผู้คนไปมาก็สะดวก เข้ามาใช้บริการต่างๆในกรมได้
แต่ก่อนน่ะ กรมฯ เป็นเหมือน "เมืองปิด" จะเข้าจะออกก็ลำบาก จะมีก็เข้ามาเล่นฟุตบอลกันตอนเย็นๆ ที่จะได้พบเห็นคนในต้นสำโรงเข้ามาในพื้นที่กรมบ้าง นอกนั้นก็ไม่ค่อยมีคนนอกเข้ามาหรอกครับ คนในก็อยู่กันเงียบๆ ไม่ค่อยวุ่นวายกับภายนอกสักเท่าไหร่
Last edited by srinopkun on 02/10/2013 11:32 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
srinopkun
1st Class Pass (Air)
Joined: 08/04/2010 Posts: 2940
Location: นครปฐม
|
Posted: 02/10/2013 10:48 am Post subject: |
|
|
ต้นสำโรงเป็นจุดขึ้นลงสินค้าที่ไม่ใช่แค่หญ้าอัดแท่งนะครับ
สมัยก่อน ตู้สินค้าที่ตัดทิ้งไว้ที่ผมพบบ่อยกว่าตู้ขนหญ้า คือ "ตู้ขนข้าว" ครับ
เพราะที่ต้นสำโรงนี่เป็นโรงสีขนาดใหญ่เลยละในสมัยนั้น แต่ละสัปดาห์นี่จะมีตู้ขนข้าวตัดทิ้งไว้ 2-3 ตู้ จอดคาราง 2 แทบจะทุกวัน
บ่อยครั้งที่ผมเห็นขบวนที่เข้ารางหลีก ต้องทำอะไรแปลกๆ แบบที่สมัยนี้จะไม่ได้เห็นกันแล้วนะครับ
คือ ....
1. เดินหน้าเข้าราง 2 เพื่อรอหลีก (ถ้ามาจาก กรุงเทพ/ธนบุรี มักจะเข้าราง 2 ด้วยสูตรนี้) เพราะตู้ขนข้าวจะอยู่ตรงทางเข้ากรม / ตลาด
บางครั้งก็จะมีการ "ดัน" ตู้ขนข้าวไปด้วยหน่อยนึง ประมาณว่า เกะกะ ฉันจะจอดหน้าสถานี (555) พอขบวนรถสวน/แซงไปแล้ว ก็ค่อยถอยออกไปแล้ววิ่งเข้าราง 1 ตรงไปนครปฐมต่อไป
มุขนี้ พอบรรดาคนงานขนข้าวมา จะขนข้าวขึ้น / ลง ตู้ ก็มักจะส่งเสียงด่ากันขโมงโฉงเฉง เพราะพวกเขาต้องออกแรง "ดุน" ตู้ข้าว กลับมาไว้ที่เดิม เพื่อจะได้ขนข้าวขึ้น/ลง ได้
ยังขำๆ นายสถานีกับนักการสมัยก่อนเลย ต้องมาช่วยกัน "ดุน" ตู้ข้าวมาไว้ที่เดิมนะ
เอ้า ฮุย เล ฮุย
ส่วนสูตรที่ 2. คือรถที่มาจากนครปฐม จะเข้ารางหลีก
ส่วนมากก็จะเลยไปทางท่าแฉลบก่อน แล้วค่อยถอยหลังเข้าสถานี เพราะประแจด้านท่าแฉลบอยู่ใกล้สถานีมากกว่า แล้วอีกอย่างคือ ถอยเข้าแล้วก็ "ดัน" รถข้าวมาหน้าสถานี ไม่ค่อยอันตรายเท่าดันรถข้าวไปทางประแจ (แม้จะมี "ตกราง" คั่นไว้ก็เถอะ)
แต่ไงๆ ก็โดนคนงานขนข้าวด่าไล่หลังอยู่ดีแหละ เพราะทุกครั้งที่ "ดัน" รถข้าวไป ก็ไม่มีหรอกที่จะ "ดึง" กลับมาไว้ที่เดิม
แถมบางวันถ้าเจอรถชุดใหญ่ ชุมพร-ธนบุรี รวมขบวนมากับรถน้ำตก-ธนบุรี ดันรถข้าวไปโน่นครับ ... 100 เมตร โน่น 555 ก็แหม ขบวนรถนี่ 8 - 10 คันเชียวนะเออ (ชุมพร 4-6 คัน / น้ำตก 4 คัน .... สมัยก่อน ชุมพร / น้ำตก ใช้ดีเซลราง RHN ครับ)
เรื่องเล่ามีเยอะครับ ต้นสำโรงเนี่ย เล่าได้เป็นวันๆ เพราะอยู่ที่นี่มานานพอควร
(2515 - 2523) |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43880
Location: NECTEC
|
Posted: 02/10/2013 10:56 am Post subject: |
|
|
ranmanaja wrote: | ขอบคุณ คุณ Mongwinมากครับ พอจะนึกภาพออกได้คร่าวๆครับ ที่เห็นในภาพบริเวณฝั่งตรงข้ามของสถานีต้นสำโรง น่าจะเป็นอาคารอะไรสักอย่างของศูนย์ทหารฝั่งตรงข้ามหรือเปล่าครับ |
ที่ของการสัตว์ทหารบกแน่ๆ แต่ก่อน เคยเป็นกรมทหารราบ 14 ก่อนโดนยุบเมื่อปี 2475 ครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43880
Location: NECTEC
|
Posted: 02/10/2013 10:57 am Post subject: |
|
|
น่ากลัวว่าเพราะทำทางคู่ไปนครปฐมทำให้ต้องรื้อสถานีเดิมทิ้ง
Last edited by Wisarut on 02/10/2013 11:16 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
|