Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311499
ทั่วไป:13325993
ทั้งหมด:13637492
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45366
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/02/2014 8:30 pm    Post subject: Reply with quote

ส่อเลิกโมโนเรลสายจุฬา-สามย่าน ติดแผนพัฒนาพื้นที่่เชิงพาณิชย์ของจุฬาฯ กทม.เปลี่ยนมาลุ้นสายสีเทา-สีฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนแทน
เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 20 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 05:23 น.

รายงานข่าวแจ้งว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล (Monorail)ของกทม.ในขณะนิ้ สายสีเทา ช่วงวัชรพล-สะพานพระราม 9 อยู่ระหว่างจัดหา บริษัทที่ปรึกษาโครงการ เพื่อศึกษาทั้งเรื่องงบประมาณ วิธีการให้เอกชนร่วมทุน และการก่อสร้าง ใช้วงเงินว่าจ้าง 65.5 ล้านบาทคาดว่าจะได้ที่ปรึกษาในเดือนมี.ค.นี้ จากนั้นจะใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1 ปีจึงจะนำผลการศึกษามาเสนอแก่คณะผู้บริหาร กทม. เพื่อตัดสินในเร่งดำเนินการ ส่วน สายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการจัดระบบการขนส่งและจราจรทางบก (คจร.) เมื่อปี 53แล้วเช่นกันนั้นจะดำเนินการเป็นสายต่อไป ส่วนใน3 เส้นทาง ที่อยู่ในแผนดำเนินการของกทม.เองคือ 1.รถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (ไลท์เรล) บางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2.โมโนเรล สายศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.2)–อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ถนนโยธี 3.รถโมโนเรล สายรามคำแหง –ซอยทองหล่อ ต้องนำผลการศึกษาไปเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)พิจารณาและนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติก่อน ส่วนโมโนเรลเส้นทางจุฬา-สามย่าน นั้นน่าจะยกเลิก เนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ระหว่างการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งน่าจะมีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดิน จึงน่าจะกระทบกับเส้นทางที่ กทม.ได้ทำการศึกษาไว้ เดิม

นอกจากนี้ กทม.ยังมีแนวคิดที่จะพัฒนารถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากสถานีบางหว้าไปจน ถึงสถานีตลิ่งชัน รวมจำนวน 6 สถานี งบประมาณในการก่อสร้าง 11,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 62 ซึ่ง กทม.ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในเบื้องต้นแล้ว น่าจะสามารถดำเนินการได้ จากนี้จะมีการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษาโครงการอย่างเป็นทางการ และจะเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นภายในวาระการดำรงตำแหน่งของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.ในครั้งที่ 2 นี้ เพื่อให้เป็นผลงานการทำงานของคณะผู้บริหาร เพื่อใช้ในการหาเสียงในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งต่อไปของพรรคประชาธิปัตย์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42912
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2014 10:07 am    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าโมโนเรลสายสีเทา
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 25 มีนาคม 2014 เวลา 12:23 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,934 วันที่ 27 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

กทม.หยิบโมโนเรลสายสีเทาของสนข.ที่ศึกษาไว้มาทำแทน หลัง3เส้นทางโมโนเรลกทม. ซ้ำซ้อนรถไฟฟ้าของรัฐบาล ด้านรองผู้ว่าฯ "อมร" บี้สจส.เร่งหาที่ปรึกษาภายในเม.ย.นี้เพื่อศึกษาความคุ้มทางเศรษฐกิจ แนวทางการลงทุนและรูปแบบบริการจัดการ มีลุ้นกกท.ให้ที่ดินสร้างเดโปที่หัวหมาก
อมร กิจเชวงกุลอมร กิจเชวงกุล นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง หรือระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล)ว่า ตามที่สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษามาศึกษารายละเอียดการก่อสร้างโมโนเรล จำนวน 3 เส้นทาง จากทั้งหมด 5 เส้นทาง โดยมีสายที่ 1 ศาลาว่าการ กทม.2-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ถนนโยธี ระยะทางรวม 5.847 กิโลเมตร สายที่ 2 มหาวิทยาลัยรามคำแหง-ทองหล่อ ระยะทาง 11.1 กิโลเมตร สายที่ 3 บางนา-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 18 กิโลเมตร สายที่ 4 จุฬาฯ-สีลม-สามย่าน ระยะทาง 5 กม. และสายที่ 5 วัชรพล-สะพานพระราม 9หรือรถไฟฟ้าสายสีเทา จะเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของ กทม.
ทั้งนี้ กทม.เล็งเห็นว่ากรุงเทพฯโซนเหนือมีโครงการรถไฟฟ้าที่กระทรวงคมนาคมเร่งผลักดัน อาทิ สายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต, สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ,สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เช่นเดียวกับโซนตะวันตก มีสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
อีกทั้งยังมีแผนสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี และบีทีเอสช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า แตกต่างกับช่วงตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่รามอินทรา-วัชรพล ลาดพร้าว ประเวศ พัฒนาการ ที่พบว่าแนวทางการเติบโตด้านอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขาดระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าเข้าถึงแหล่งชุมชนดังกล่าว จึงเร่งผลักดันรถไฟฟ้าสายสีเทาเป็นการนำร่องจากทั้งหมด 5 เส้นทางที่มีร่างผลการศึกษาของสนข.ไว้ เพื่อเป็นฟีดเดอร์ป้อนสายหลัก
"ใช้งบประมาณเพื่อการศึกษาออกแบบรายละเอียดประมาณ 60 ล้านบาท ซึ่งกทม.มีดำริก่อสร้างช่วงแรกจากวัชรพล-ลาดพร้าวเนื่องจากพบว่าพื้นที่ประสบปัญหาจราจรที่วิกฤติมากกว่าจึงให้สจส.เร่งหาที่ปรึกษาดำเนินการโดยเร็ว คาดว่าจะได้ตัวบริษัทที่ปรึกษาภายในเดือนเมษายนนี้เพื่อศึกษาด้านเทคนิค ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแนวทางการลงทุนและบริหารจัดการ"
นายอมรกล่าวอีกว่าสจส.กำหนดระยะเวลาศึกษาใช้เวลาประมาณ 18 เดือน อีกทั้งยังต้องรอผลอีไอเอและการเปิดรับฟังความเห็นประชาชนตลอดแนวเส้นทาง โดยระยะที่ 1 น่าจะเห็นผลชัดเจนกว่าช่วงอื่นๆซึ่งช่วงลาดพร้าว-ถนนพระราม 4 น่าจะมีอุปสรรคบางส่วนอยู่บ้าง ซึ่งรางเดี่ยวต้องมาควบคู่กับเรื่องระบบ คุณลักษณะรางตลอดจนการขับเคลื่อนตัวรถบนรางที่แต่ละบริษัทจะมีลิขสิทธิ์แตกต่างกันไป ดังนั้นกทม.จึงเปิดพื้นที่ให้พร้อมดำเนินการก่อนที่จะมีการประกวดการจ้างว่าเทคโนโลยีไหนจะเหมาะสมซึ่งเทคโนโลยีนั้นก็จะสร้างงานระบบซีวิลเวิร์กต่อไป
ล่าสุดมีบริษัทต่างชาติหลายรายนำเสนอรูปแบบแล้ว อาทิ แคนาดา จีน มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา แต่ กทม.ยังไม่ตัดสินใจ เพราะต้องการให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพ ราคาและรูปแบบ สำหรับเส้นทางบางนา-สนามบิน สุวรรณภูมิ ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร มีกลุ่มบริษัทธนาซิตี้ฯให้การสนับสนุนที่ดินประมาณ 20 ไร่สร้างเดโปเรียบร้อยแล้ว สามารถต่อเชื่อมสายสีเขียว สายอ่อนนุช-แบริ่งที่ช่วงบางนา อีกหนึ่งเส้นทางในช่วงสั้นๆรามคำแหง-ทองหล่อที่ออกมาจากสนามรัชมังคลากีฬาสถานบรรจบกับสายสีเทา ยังอยู่ระหว่างการกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.)สนับสนุนพื้นที่สร้างเดโป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42912
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2014 11:49 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งทำโมโนเรลวัชรพล-พระราม9
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 08:15
นายสุธน อาณากุล ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมจราจรสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรลสายสีเทาช่วงวัชรพล-สะพานพระราม 9 ระยะทาง 26 กิโลเมตร ว่า ขณะนี้ได้บริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมจัดทำแบบเบื้องต้นและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาในวงเงิน 65.5 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว คือ บริษัทปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด(บริษัทหลัก) บริษัทอินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป จำกัด บริษัท พิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด บริษัทเอ็นโซล จำกัด และบริษัททรานส์คอนซัลท์ จำกัด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอปลัดกทม.เพื่อขออนุมัติสัญญาจ้าง โดยการศึกษาจะครอบคลุมเรื่องการจัดสรรงบประมาณว่า กทม.จะลงทุนเอง ของบอุดหนุนจากรัฐบาลหรือใช้วิธีการให้เอกชนร่วมทุนให้เกิดความเหมาะสมที่สุด
รวมถึงการดำเนินการก่อสร้างด้วยเป็นต้น จากนั้นจะใช้เวลาประมาณ 7-8 เดือน จึงจะนำผลการศึกษาเสนอคณะผู้บริหาร ทั้งนี้คาดว่าน่าจะใช้เวลาในการดำเนินโครงการประมาณ 3 ปี ส่วน อีก 1 เส้นทางคือโมโนเรลสายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) ที่ได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการจัดระบบการขนส่งและจราจรทางบก (คจร.) เมื่อปี 2553 แล้วนั้นยังไม่มีแผนที่จะดำเนินการแต่อย่างใดส่วนเส้นทาง อื่น ๆ ที่ศึกษาไปก่อนหน้านี้ก็ยกเลิกไป
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ผู้บริหารได้มีคำสั่งให้สจส.เร่งดำเนินการโมโนเรลเส้นทางแรกคือ วัชรพล-สะพานพระราม 9 ให้แล้วเสร็จในสมัยการดำรงตำแหน่งของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.แต่เนื่องจากปัญหาความล่าช้าของโครงการทำให้อาจจะแล้วเสร็จไม่ทันแต่จะเร่งดำเนินการเพื่อเริ่มโครงการให้ได้ก่อนคณะผู้บริหารชุดนี้หมดวาระในอีกประมาณ 2 ปีข้างหน้า.
Back to top
View user's profile Send private message
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 17/06/2014 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

เท่าที่ผมเข้าใจ ที่กระสันอยากจะได้Mono-railกันนัก เพราะ ตั้งธงว่าสามารถสร้างได้เร็วกว่า ทำไมไม่หาคำตอบจากปัญหาเดิมว่า ทำไมรถไฟฟ้าแบบเดิมสร้างเสร็จช้ากันนัก ถ้าใครเคยสังเกต สายสุขุมวิท ช่วงที่ต่อจากอ่อนนุชไป งานโยธา สร้างได้อย่างรวดเร็วมาก แต่กว่าจะรองานระบบ ต้องรอกัน 2-3 ปีกันเลยเหรอ? จำเป็นต้องช้าขนาดนั้นเลยเหรอ? ช้าเพราะอะไร? ถ้าตอบคำถามนั้นไม่ได้ ถือว่าไม่มีความคิดและการพัฒนาเอาเสียเลยนะครับ แล้วถ้าเริ่มโมโนเรลมันไม่ตอบโจทย์ละครับ? ไม่ได้สร้างได้รวดเร็วอย่างที่หวัง ? ใครรับผิดชอบ? (คำถามนี้ชวนหนาวสุดปะครับ? Laughing เซลล์ของหมวดป๊อปเค้าไม่ผิดชอบด้วยนะครับ)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45366
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/07/2014 11:56 am    Post subject: Reply with quote

แปลงบีอาร์ทีเป็นโมโนเรล รถเมล์ไม่เวิร์กขยายไม่ได้-ทำเดปโป้ในโรงน้ำเสียช่องนนทรี
ไทยรัฐออนไลน์ 28 ก.ค. 2557 05:01

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า กทม. ได้มอบหมายให้บริษัทกรุงเทพธนาคม (เคที) ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาผลการดำเนินงานของรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ สายสาทร- ราชพฤกษ์ (บีอาร์ที) ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร ซึ่งเปิดให้บริการประชาชนมาแล้ว 4 ปี โดยขณะนี้ทางบริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาแล้ว และได้เสนอแนวทางเลือกในการปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเดินทางของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น มีด้วยกัน 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1.ต้องเพิ่มจำนวนหรือเพิ่มขนาดของรถบีอาร์ที เนื่องจากขณะนี้มีผู้ใช้บริการรถบีอาร์ทีกว่า 20,000 เที่ยวคน/วัน ซึ่งเป็นจำนวนสูงที่สุดที่บีอาร์ทีรองรับได้แล้ว โดยที่มีอุปสรรคเรื่องการใช้ช่องทางจราจรที่มีรถยนต์ส่วนบุคคลเข้ามาใช้ทางร่วมกับรถบีอาร์ที จากเดิมที่ กทม.วางแผนและพยายามขอให้เป็นช่องทางพิเศษเฉพาะรถบีอาร์ที แต่ปรากฏว่าไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน ทำให้ในช่วงเวลาเร่งด่วนมีระยะเวลาในการเดินทางแต่ละเที่ยวใช้เวลากว่า 45 นาที จากเดิมที่ตั้งเป้าประมาณ 20 นาที อีกทั้งที่ตั้งเป้าว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 35,000 เที่ยวคน/วัน ก็ไม่เป็นไปตามแผน เนื่องจากเส้นทางการเดินรถสั้นลงกว่าแผนที่วางไว้ คือไม่สามารถไปถึงสุรศักดิ์ได้เพราะติดปัญหาเรื่องช่องทางการจราจร สำหรับแนวทางที่ 2 คือปรับให้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) เนื่องจาก กทม. มีแผนที่จะก่อสร้างโมโนเรลสายสีเทา วัชรพล-ลาดพร้าว-สะพานพระราม 9 ซึ่งบางจุดของเส้นทางดังกล่าวมีความเชื่อมโยงอยู่กับรถบีอาร์ที ทางสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) จึงได้นำข้อเสนอแนะนี้ให้กับทางบริษัทที่ปรึกษาที่กำลังศึกษาโครงการโมโนเรลสายสีเทานี้ไปศึกษาเพิ่มเติมว่าจะสามารถเชื่อมต่อกันได้หรือไม่ อย่างไร

ทั้งนี้ จะต้องรอให้การศึกษาแล้วเสร็จก่อน กทม. ซึ่งทางบริษัทที่ปรึกษาได้เริ่มศึกษามาและคาดว่าภายในเดือน ส.ค.นี้จะสามารถทราบผลการศึกษาเบื้องต้น ส่วนตัวตนคิดว่าการปรับการเดินรถบีอาร์ทีเป็นโมโนเรลนั้น มีโอกาสเป็นไปได้ ซึ่งสามารถใช้พื้นที่เกาะกลางถนนเป็นรางได้เลยโดยไม่ต้องมีการเวนคืนพื้นที่ของประชาชน ส่วนพื้นที่ทำศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) จะใช้พื้นที่ของโรงงานบำบัดน้ำเสียช่องนนทรี ที่มีพื้นที่กว้างกว่า 20 ไร่ สำหรับการเพิ่มจำนวนรถบีอาร์ทีเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนนั้น อาจมีอุปสรรคเรื่องการใช้ช่องทางร่วมกับรถยนต์ส่วนบุคคลบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม กทม.ก็จะต้องรอผลการศึกษาเพื่อที่จะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45366
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2014 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบ'รถไฟฟ้ารางเดี่ยว' ทางเลือกใหม่ของคนกรุงเทพฯ
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Arrow http://pantip.com/topic/32420110
สแกนโดยคุณหนุ่มเมืองใต้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42912
Location: NECTEC

PostPosted: 12/08/2014 12:17 am    Post subject: Reply with quote

เปิดทำเลทองสายสีเทากทม.ขยายโมโนเรล/เชื่อมสีน้ำเงินที่ท่าพระ
ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ 8 สิงหาคม 2557
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,973 วันที่ 10 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Click on the image for full size


นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร(กทม.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าได้มอบหมายให้กลุ่ม บริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเทาเส้นทางวัชรพลสะพานพระราม 9 ศึกษาการปรับแนวเส้นทางเพิ่มจากเดิมสิ้นสุดที่สะพานพระราม 9 (สะพานแขวน) ให้ไปสิ้นสุดที่แยกท่าพระเพื่อเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าสาย สีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ มากกว่าจะสิ้นสุดเพียงสะพานพระราม 9 เช่นเดียวกับจุดเชื่อมจากวัชรพลก็ให้ศึกษาการเพิ่มแนวเส้นทางไปจนถึงสายไหม-วงแหวนตะวันออกหรือคูคตเพื่อเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว เส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตให้การเดินทางเกิดประสิทธิภาพ ประชาชนใช้เส้นทางได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะปรับโครงการรถโดยสารปรับอากาศบีอาร์ทีที่เชื่อมโยงจากช่องนนทรีราชพฤกษ์ให้เป็นโมโนเรลเชื่อมโยงกับจุดสายสีเทาที่ช่วงถนนพระราม 3 ของส่วนที่เพิ่มเติมจากสะพานพระราม 9 ไปจนถึงแยกท่าพระอีกด้วย

"จุดผ่านของสายสีเทาเพื่อให้เป็นฟีดเดอร์ป้อนผู้โดยสารให้กับระบบขนส่งมวลชนหลักอย่างรถไฟฟ้า เนื่องจากแนวเส้นทางจะผ่านพื้นที่วัชรพล รามอินทรา ลาดพร้าว เพชรบุรี ทองหล่อ คลองเตย สาธุประดิษฐ์ พระราม 3 ไปสิ้นสุดที่แยกท่าพระ ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจึงทำให้สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงถนนรามอินทรา สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว สายสีส้ม ช่วงรามคำแหง แอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงเพชรบุรี สายสีแดง(เส้นทางสู่ภาคตะวันออก) ช่วงศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรี บีทีเอส ช่วงทองหล่อ และสายสีน้ำเงิน รัชดาฯ-พระราม 4 และช่วงแยกท่าพระ"

ทั้งนี้คาดว่าจะใช้งบลงทุนเพิ่มเป็น 3-4 หมื่นล้านบาท จากเดิมหากสิ้นสุดที่สะพานพระราม 9 ใช้งบประมาณราว 2- 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งตามผลศึกษาเบื้องต้นมี 21 สถานี รวมระยะทางประมาณ 26 กม. จะเพิ่มอีก 5-6 สถานี โดยมีปริมาณผู้โดยสารในปีที่เริ่มเปิดให้บริการราว 8,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง มีรายได้จากค่าโดยสารตลอด 30 ปี ประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท (ในปี 2562) 3.7 หมื่นล้านบาท (ปี 2565) และ 5 หมื่นล้านบาท (ปี 2572) ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 22.98 - 24.46%

"กทม.จะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง โดยมีดำริก่อสร้างช่วงแรกจากวัชรพล-ลาด พร้าวก่อนขยายไปสู่ช่วงอื่นๆ โดยระยะที่ 1 น่าจะเห็นผลชัดเจนกว่าช่วงอื่นๆซึ่งช่วงลาดพร้าว-ถนนพระราม 4 น่าจะมีอุปสรรคบางส่วนอยู่บ้าง ดังนั้นกทม.จึงเปิดพื้นที่ให้พร้อมดำเนินการก่อนที่จะมีการประกวดการว่าจ้างเทคโนโลยีไหนจะเหมาะสม ซึ่งเทคโนโลยีนั้นก็จะสร้างงานระบบซีวิลเวิร์กต่อไป"

นายอมรกล่าวอีกว่า ขณะเดียว กันกทม.ยังมีแนวคิดปรับเปลี่ยนรถโดยสารปรับอากาศพิเศษ (บีอาร์ที) ให้เป็นโมโนเรลเชื่อมโยงสายสีเทาที่จุดเชื่อมต่อช่วงถนนพระราม 3 อีกด้วย เช่นเดียวกับเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชันอีก 6 สถานีนั้นอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียด ซึ่งแนวคิดเดิมจะก่อสร้างไปตามแนวถนนราช พฤกษ์สิ้นสุดที่ตลิ่งชันสามารถเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าสายสีแดง เส้นทางบางซื่อตลิ่งชัน-ศาลายา และสายสีส้ม เส้นทางตลิ่งชัน-มีนบุรีได้อีกด้วย

"จะปรับแนวเส้นทางให้ไปตามถนนพุทธมณฑลสาย 1 แทนเพราะเลี่ยงผลกระทบในหลายด้าน เนื่องจากถนนราชพฤกษ์มีข้อจำกัดในเรื่องการก่อสร้างเพราะขึ้นอยู่กับกรมทางหลวงชนบท ส่วนถนนพุทธมณฑลสาย 1 กทม. เป็นผู้ดูแลอยู่แล้ว น่าจะมีข้อจำกัดน้อยกว่า"

///------------------------------


ทำ”โมโนเรล” ปัญหาเพียบ ติดข้อจำกัดความสูง
เดลินิวส์
วันเสาร์ 9 สิงหาคม 2557 เวลา 17:52 น.

กทม.เผย โมโนเรลสายสีเทา วัชรพล-พระราม9 ติดข้อจำกัดความสูง-กีดขวางช่องจราจร เร่งบริษัทที่ปรึกษาหาทางแก้ไข

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล (Monorail)สายสีเทาช่วงวัชรพล-สะพานพระราม9 ระยะทาง 26 กิโลเมตร ว่า ตนได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามปัญหาการศึกษาเส้นทางพร้อมกับบริษัทที่ปรึกษา โดยพบปัญหาอุปสรรคใน 3 จุด คือจุดที่

1.บริเวณซอย สุขุมวิท 38-40 นั้นเป็นจุดตัดกับรถไฟฟ้า สายสีเขียว ซึ่งจะต้องก่อสร้างเส้นทางเหนือรางรถไฟฟ้า หรือใต้ราง ซึ่งหากทำเหนือรางจะพบปัญหาคือจะต้องสร้างรางที่สูงมากหากจะทำลอดใต้รางรถไฟฟ้าอาจจะเหลือพื้นที่ระหว่างรางและถนน ต่ำกว่า 5 เมตร ซึ่งไม่เป็นไปตามกฎหมาย

จุดที่2. ช่วงเข้าสู่ถนนรัชดาภิเษก บริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ ที่ เคยกำหนดว่าจะวิ่งโมโนเรล ในช่องกลาง ที่ขนาบด้วยถนนฝั่งละ 2 ช่องจราจร แต่ปัจจุบันมีการขยายถนนจาก 4 ช่องทางเป็น 5 ช่องทาง โมโนเรล อาจจะไม่สามารถใช้ช่องทางตรงกลางที่เคยกำหนดไว้ได้แล้ว จึงอาจจะต้องขยับไปใช้ช่องทางริมสุดซึ่งติดกับทางด่วนอาจจะประสบปัญหาการก่อสร้างและความปลอดภัย และ

จุดที่ 3.ที่สะพานพระราม9 ที่เกรงว่าเมื่อการก่อสร้างรางจะกระทบกับโครงการสร้างของสะพานหรือไม่ หรือจะต้องปรับรูปแบบในจุดนี้อย่างไร ซึ่งได้มอบหมายให้ บริษัทที่ปรึกษาหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวมานำเสนอ กทม.อีกครั้ง และตนจะลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

นายอมร กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามการก่อสร้างโมโนเรลในเส้นทางดังกล่าวยังเห็นว่าเป็นการตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาการจราจร เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวนั้นเป็นการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลักในอนาคต ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีเขียว รถเมล์ด่วนบีอาร์ที ซึ่งจะเป็นการรับส่งผู้โดยสารเข้าระบบหลักได้เป็นอย่างดี จึงยังเห็นความจำเป็นที่ต้องดำเนินการ ทั้งนี้จะต้องศึกษาให้รอบคอบที่สุดเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมีการดำเนินโครงการ โดยคาดว่าจะเร่งให้สามารถเริ่มโครงการในช่วงวาระการดำรงตำแหน่งของคณะผู้บริหารชุดนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42912
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2014 1:20 am    Post subject: Reply with quote

ปี57+กทม.สร้างโมโนเรลสายสีเทา+จากวัชรพล-พระราม4
ข่าวกทม.
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 22 สิงหาคม 2556 เวลา 19:30 น.

ปี57 กทม.สร้างโมโนเรลสายสีเทา ของบศึกษา65 ล.ทำช่วง"วัชรพล-พระราม4"ก่อน รับคนย่านธุรกิจ -มึนการกีฬาฯแจ้งงดให้ที่ทำเดปโป้

รายงานข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งว่า จากที่ สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ศึกษาความเหมาะสมโครงการระบบขนส่งมวลชนระบบรอง รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (รถโมโนเรล) สายรามคำแหง –ซอยทองหล่อ เป็น 1 ใน 4 เส้นทางระบบขนส่งมวลชนระบบรองที่อยู่ในแผนการศึกษาของกทม. โดยการศึกษาแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 55 ซึ่งเป็นโมโนเรล ระยะทาง 11 กิโลเมตร มี 9 สถานี ประมาณการณ์ ค่าก่อสร้างงานโครงสร้างพื้นฐาน 6,505 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,735 ล้านบาท ซึ่งในโครงการได้มีการออกแบบโรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้)ของโครงการไว้โดยใช้พื้นที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) สนามราชมังคลากีฬาสถาน โดยใช้พื้นที่ บริเวณศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม ซึ่งอยู่ติดกับสนามฝึกยิงเป้าบิน ใช้เนื้อที่ 6.5 ไร่ ซึ่งรถไฟฟ้าสามารถเข้าสู่โรงจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงโดยทางวิ่งยกระดับ และรถยนต์ที่จะเข้า-ออกโรงจอดได้ทั้งจากทางด้านถนนรามคำแหงและซอยรามคำแหง 24

ปรากฏว่าล่าสุดทางกกท.ได้แจ้งมายังกรุงเทพมหานคร ว่าไม่สามารถให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวได้ ทำให้ กทม.จำเป็นต้องหาพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับ เนื่องจากพื้นที่เดปโป้เป็นส่วนสำคัญของโครงการ

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ได้รับทราบเรื่องดังกล่าว จะต้องให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องหาทางแก้ไข ทั้งนี้ยังไม่มีความกังวล เนื่องจากในเส้นทางรามคำแหง-ทองหล่อ จัดอยู่ในเส้นทางที่จะเริ่มดำเนินการในระยะหลังได้ โดยกทม.จะผลักดันในเส้นทางสายสีเทา ช่วงวัชรพล-สะพานพระราม 9 ก่อนเนื่องจากเป็นเส้นทางที่มีความเหมาะสมเร่งด่วนเป็นเส้นทางแรก ซึ่งได้เสนอในงบประมาณประจำปี 57 เพื่อว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำแบบเบื้องต้นและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา วงเงิน 65.5 ล้านบาท เนื่องจากกทม.ได้นำผลการศึกษาเบื้องต้นที่ศึกษาไว้แล้วโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มาจัดเตรียมแบบเบื้องต้นเพื่อใช้ประกวดราคาได้เลย ซึ่งจะหาเอกชนเพื่อดำเนินการก่อสร้างให้ได้ภายในปี 57 และจะผลักดันให้เป็นโมโนเรลสายแรกในกทม.โดยจะแบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ส่วนคือ

ช่วงจากวัชรพล-ลาดพร้าว ระยะทาง 8 กม.มี 5 สถานี
ช่วงลาดพร้าว –พระราม4 ระยะทาง 12 กม. จำนวน 10 สถานี และ
ช่วงพระราม4-สะพานพระราม9 ระยะทาง 6 กม. จำนวน 6 สถานี

ซึ่งมีแผนจะก่อสร้าง 2 ส่วนแรก คือ วัชพล-ลาดพร้าว-พระราม4 ก่อนเนื่องจากในช่วงจากลาดพร้าวถึงพระราม4 จะสามารถรองรับประชาชนในย่านธุรกิจหนาแน่นที่ย่านสุขุมวิท ทองหล่อและถนนเพชรบุรีด้วย.


Naroot Jiamsomboon wrote:
รถไฟฟ้าสายสีเทา

รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ลาดพร้าว-พระราม 4-สะพานพระราม 9) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2553-2572 โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นเส้นทางใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 พร้อมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ที่มีเส้นทางตามแนวแกนเหนือ-ใต้ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของที่พักอาศัยบริเวณถนนประดิษฐ์มนูธรรมและย่านสาธุประดิษฐ์ แนวเส้นทางเริ่มจากถนนรามอินทรา ชานเมืองทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ลงมาทางทิศใต้ตามถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลียบทางพิเศษฉลองรัช เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านทองหล่อ ถนนสุขุมวิท ถนนพระรามที่ 4 คลองเตย ถนนรัชดาภิเษก-พระราม 3 ไปสิ้นสุดบริเวณเชิงสะพานพระราม 9 ทางด้านทิศใต้ของพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ รวมระยะทาง 26 กิโลเมตร คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 340,000 เที่ยวต่อวันในปี พ.ศ. 2572

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ได้ทำการฟื้นฟูโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2559 โดยจะเริ่มสร้างช่วงวัชรพล - ลาดพร้าว - พระราม 4 ก่อน เนื่องจากในช่วงจากลาดพร้าวถึงพระราม4 จะสามารถรองรับประชาชนในย่านธุรกิจหนาแน่นที่ย่านสุขุมวิท ทองหล่อและถนนเพชรบุรีด้วย.

ช่วงวัชรพล-ลาดพร้าว

เริ่มต้นจากบริเวณแยกต่างระดับรามอินทรา จุดตัดถนนรามอินทรา ถนนวัชรพล ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และทางพิเศษฉลองรัช มุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามแนวเขตทางของถนนประดิษฐ์มนูธรรม โดยวางโครงสร้างบนพื้นที่ด้านข้างทางเท้าและทางจักรยาน ผ่านถนนนวลจันทร์ ถนนสุคนธสวัสดิ์ ยกข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) ผ่านซอยลาดพร้าว 87 ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนลาดพร้าว รวมระยะทาง 8 กิโลเมตร มี 5 สถานี คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 84,000 เที่ยวต่อวันในปี พ.ศ. 2572

ช่วงลาดพร้าว-พระราม 4

แนวเส้นทางต่อเนื่องจากช่วงแรก ในเขตทางถนนประดิษฐ์มนูธรรม จากจุดตัดถนนลาดพร้าว ลงมาทางทิศใต้ ผ่านแยกประชาธรรม จุดตัดถนนประชาอุทิศ ลอดใต้ทางพิเศษศรีรัช ที่แยกพระราม 9-ประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แล้วเลี้ยวลงมาทางทิศใต้เข้าสู่แนวเกาะกลางถนนทองหล่อตลอดสายจนถึงจุดตัดถนนสุขุมวิท จึงยกข้ามรถไฟฟ้าบีทีเอสบริเวณสถานีทองหล่อ เข้าสู่ซอยสุขุมวิท 38 จนถึงกลางซอย จึงเบี่ยงแนวเข้าสู่ซอยสุขุมวิท 40 (ซอยบ้านกล้วยใต้) ตามแนวคลองระบายน้ำจนถึงแยกมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จุดตัดถนนพระรามที่ 4 เลี้ยวมุ่งหน้าทิศตะวันตกตามแนวเกาะกลางไปสิ้นสุดที่แยกพระรามที่ 4 จุดตัดถนนรัชดาภิเษก บริเวณตลาดคลองเตย รวมระยะทาง 12 กิโลเมตร มี 10 สถานี คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 136,000 เที่ยวต่อวันในปี พ.ศ. 2572

ช่วงพระราม 4-สะพานพระราม 9

แนวเส้นทางต่อเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ เริ่มจากบริเวณแยกพระรามที่ 4 บนถนนพระรามที่ 4 เลี้ยวลงมาทางทิศใต้เข้าสู่ถนนรัชดาภิเษก ตามแนวทางเท้าบริเวณตลาดคลองเตย ผ่านห้าแยก ณ ระนอง เข้าสู่แนวทางเท้าถนนพระรามที่ 3 ผ่านจุดตัดถนนเชื้อเพลิงและทางรถไฟสายแม่น้ำ ผ่านแยกใต้ด่วนนางลิ้นจี่เข้าสู่แนวเกาะกลางถนนรัชดาภิเษกเลียบทางพิเศษเฉลิมมหานคร โดยยกข้ามทางขึ้น-ลงของทางพิเศษฯ ในบางช่วง ผ่านแยกรัชดา-นราธิวาส แยกด่วนสาธุประดิษฐ์ แยกต่างระดับบางโคล่ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพระรามที่ 3 เชิงสะพานพระราม 9 ฝั่งพระนคร รวมระยะทาง 6 กิโลเมตร มี 6 สถานี คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 120,000 เที่ยวต่อวันในปี พ.ศ. 2572


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152360974786089&set=a.128566966088.101639.504636088&type=1&fref=nf
http://www.dailynews.co.th/bkk/227984
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42912
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2014 9:58 am    Post subject: Reply with quote

โมโนเรลสายสีเทา ฟังพิจารณ์เสร็จพ.ย.นี้
เดลินิวส์
วันอาทิตย์ 2 พฤศจิกายน 2557 เวลา 19:33 น.

กทม.เร่งทำประชาพิจารณ์โมโนเรลสายสีเทาให้เสร็จพ.ย.นี้ จ่อของงบก่อสร้างรัฐบาล20,000 ล้าน


นายอมรกิจชเวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)กล่าวถึงความคืบหน้าการสร้างรถไฟฟ้าสีเทาช่วงวัชรพล-สะพานพระราม9ซึ่งในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการทำประชาพิจารณ์ครั้งที่ 1โดยจะมีหน่วยงานทั้ง7กลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องอาทิเช่นกลุ่มผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป หน่วยงานข้าราชการเป็นต้น เพื่อทำการรับฟังความคิดเห็น โดยจะทำประชาพิจารณ์ทั้งหมด3รอบในกรอบระยะเวลา 6เดือนซึ่งคาดว่าประมาณกลางเดือนพ.ย.นี้จะมีการทำเสร็จสิ้นหากครั้งที่1ประชาชนส่วนใหญ่มีผลตอบรับที่ดีทางกทม.ก็จะทำหนังสือแจ้งทางรัฐบาลทันทีซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลได้มีมติให้กทม.สร้างและดำเนินการหากประชาชนเห็นสมควรก็อาจจะมีการดำเนินการสร้างก่อนเวลาที่กำหนดและคาดว่าจะสามารถให้ประชาชนใช้บริการได้ในปี2560-2561นี้ เพื่อเป็นการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนในอนาคตได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้แนวโน้มการลงทุนการสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทานั้นคาดว่างบจะอยู่ที่ประมาณ20,000ล้านบาทโดยกทม.ต้องได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลด้วย ถ้าหากไม่ได้รับการสนับสนุนอาจจะมีอัตราค่าโดยสารที่สูงเกินที่ประชาชนจะใช้ได้อย่างไรก็ตามในเรื่องค่าโดยสารนี้จะต้องพิจารณาต่อไปเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42912
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2014 6:36 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
แปลงบีอาร์ทีเป็นโมโนเรล รถเมล์ไม่เวิร์กขยายไม่ได้-ทำเดปโป้ในโรงน้ำเสียช่องนนทรี
ไทยรัฐออนไลน์ 28 ก.ค. 2557 05:01


Click on the image for full size
Click on the image for full size

นี่ครับโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเทา - ถนนวัชรพล - ท่าพระ ที่กทม. หมายใจว่าจะทำ มี 38 สถานี ระบยะทาง 39.91 กิโลเมตร ตามโผบัญชีรายชื่อสถานีดั่งนี้

1. วัชรพล ตรงหัวถนนวัชรพล ตรงเลียบทางด่วย ตัดกะรามอินทรา - กะเชื่อมกะรถไฟฟ้าโมโนเรลสายชมพู
2. นลวจันทร์ -ซอย นลวจันทร์
3. เกษตรนวมินทร์ ตัดกะ ถนนเกษตร - นวมินทร์
4. คลองลำเจียก
5. โยธินพัฒนา
6. ลาดพร้าว 87
7. สังคมสงเคราะห์ - ถนนที่ทำให้ รถจากเลียบทางด่วนขาออกสามารถเข้า ซอย ลาดพร้าว 71 ได้สะดวก
8. ฉลองรัถ - ตรงลาดพร้าวตัดเลียบทางด่วน - กะเชื่อมกะรถไฟฟ้าโมโนเรลสายเหลือง
9. ศรีวรา
10. ประชาอุทิศ - แทนซอยนวศรี เพราะ ต่อกะ ซอย รามคำแหง 39
11. พระราม 9 (พระราม 9 ตัดใหม่ ต่อสายส้ม ที่นี่)
12. เพชรบุรี (เพชรบุรีตัดใหม่ ต่อสถานีรถไฟคลองตันที่นี่)
13. แจ่มจันทร์
14. ทองหล่อ 10
15. ทองหล่อ (สุขุมวิท 55) - เชื่อมรถไฟฟ้าที่นี่
16.พระโขนง - พระราม 4 ตัด สุขุมวิท - ต่อ สถานีพระโขนง ที่นี่
17. กล้วยน้ำไท - ปากซอยกล้วยน้ำไท (สุขุมวิท 42) ฝั่งพระราม 4
18. เกษมราษฎร์
19. พระราม 4
20. คลองเตย - ต่อกะสถานีรถใต้ดินคลองเตย
21. งามดูพลี -
22. ลุมพินี - ต่อสถานีรถใต้ดินลุมพินีที่นี่
23. สวนพลู ใกล้ ปากซอยสวนพลู
24. ช่อง นนทรี - ต่อกะรถไฟฟ้า ช่องนนทรีที่นี่
25. นราธิวาส - หัวถนนนราธิวาสราชนครินทร์
26. นางลิ้นจี่
27. รัชดา - นราธิวาส -
28. คลองช่องนนทรี
29. ถนนพระราม 3
30. คลองภูมิ
31. คลองด่าน
32. สาธุประดิษฐ์
33. สะพานพระราม 9
34. เจริญราษฎร์ - ถนนเหนือใต้เดิม
35. เจริญกรุง (แยกถนนตก)
36. มไหสวรรค์ - แยกมไหสวรรค์
37. ตลาดพลู - เชื่อมรถไฟฟ้าสถานีตลาดพลูที่นี่และหวังว่าจะเชื่อมสถานีรถไฟตลาดพลูสายมหาชัยด้วย
38. ท่าพระ - เชื่อมรถไฟฟ้าสายน้ำเงิน ที่ท่าพระ
http://www.bangkokgreyline.com/
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=BwhguaBT3nM


Last edited by Wisarut on 14/06/2019 4:05 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 31, 32, 33  Next
Page 6 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©