Rotfaithai.Com :: View topic - เส้นทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย
View previous topic :: View next topic
Author
Message
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air) Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
Posted: 05/07/2006 11:30 pm Post subject: เส้นทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย
ครับ พี่น้องชาวรถไฟไทยดอทคอมทุกท่าน ผมมีข้อมูลเกี่ยวกับทางรถไฟของต่างประเทศที่น่าสนใจสายหนึ่ง ชื่อว่า สายทรานไซบีเรียน ซึ่งผมได้พยายามศึกษาหาข้อมูลมา และอยากจะแบ่งปันทุกคน เผื่อว่าจะมีใครสนใจที่จะลองไปนั่งรถไฟสายนี้บ้าง เป็นครั้งหนึ่งในชีวิต โดยทางรถไฟนี้ ได้ชื่อว่าเป็นทางรถไฟในประเทศที่ยาวที่สุดในโลก โดยระยะทางที่ว่านี้ ไม่ได้มีการวกกลับ หรือกระโดดข้ามไปมา แต่อย่างใดนะครับ แต่เป็นระยะทางที่ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดเลย เป็นระยะทาง ยาวทั้งสิ้น 9,288 กิโลเมตร
และยังถือเป็นสิ่งก่อสร้างอีกอย่างของมนุษย์นะครับ ที่สามารถมองเห็นได้จากในอวกาศ หรือนอกโลก ด้วยครับ
โดยสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ มีไม่กี่อย่างนะครับ ที่สามารถมองเห็นได้จากอวกาศ ซึ่งที่ผมทราบก็คือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งยาว ประมาณ 2,400 กิโลเมตร
ทางรถไฟสายนี้ เริ่มต้นทางจากเมือง มอสโคว หรือ มาสควา ในชื่อเรียกตามภาษารัสเซีย มายังเมืองท่าตะวันออกไกลของรัสเซีย ริมฝั่งทะเลญี่ปุ่น มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งชื่อว่า เมือง วลาดิวอสต็อก
โดยทางรถไฟสายทราน ไซบีเรีย จริงๆ นั้น คือ ทางเส้นสีแดง จากในแผนที่ครับ ส่วนสีเขียวนั้น เป็นทางย่อยที่มาสร้างที่หลัง เส้นทางนั้น จะผ่านเขตที่ราบ เขตภูเขา รวมทั้งเขตภูมิอากาศแบบไทกา ซึ่งสภาพภูมิประเทศเป็นป่าสนภูเขา และเขตทุนดรา ทั้งยังผ่าน ทะเลสาบไบคัล ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืด ซึ่งมีความเก่าแก่ ประมาณ 2.5 ล้านปี และยังมีความที่ลึกที่สุดในโลก โดยมีความลึก ถึง 1,637 0เมตร ครอบคลุม เนื้อที่ถึง 31,494 ตารางกิโลเมตร
เดี๋ยวจะมาต่อนะครับ
Back to top
OutRun
1st Class Pass (Air) Joined: 26/05/2006 Posts: 1187
Posted: 06/07/2006 2:13 am Post subject:
ที่ร้านแมงป่องมี VCD สารคดีทางรถไฟสาย ทรานไซบีเรีย ขายอยู่ด้วยครับ ลองไปซื้อมาดูสิครับ แค่ 69 บาทเอง น่าสนใจดีเหมือนกัน ผมเองยังซื้อมาแผ่นหนึ่ง
Back to top
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air) Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
Posted: 06/07/2006 8:23 am Post subject:
OutRun wrote: ที่ร้านแมงป่องมี VCD สารคดีทางรถไฟสาย ทรานไซบีเรีย ขายอยู่ด้วยครับ ลองไปซื้อมาดูสิครับ แค่ 69 บาทเอง น่าสนใจดีเหมือนกัน ผมเองยังซื้อมาแผ่นหนึ่ง
ขอบคุณครับ ไม่พลาดแน่นอน
ภาพที่เห็นด้านล่างคือ แผนที่ เส้นทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย ที่จะแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นมาด้วยครับ เนื่องจากมีขนาดใหญ่ จึงต้องย่อออกเป็น 4 ส่วน
ส่วนที่ 1 -
ส่วนที่ 2 -
ส่วนที่ 3
และ ส่วนที่ 4
เส้นทางสายทรานไซบีเรีย คือเส้นสีแดง นะครับ ระยะทาง 9,288 กม. นี้ จะอยู่ในประเทศรัสเซีย ทั้งหมด ทั้งนี้ ยังมีทางรถไฟย่อยอีกคือ
1. สายทรานส์มองโกเซีย โดยจะมาเลี้ยวลงมาประเทศมองโกเลีย เมืองอูลัน บาตอร์ Ulaan Baatar ที่สถานีชุมทาง ในเมือง อูลันอูเด Ulan-Ude สายนี้สร้างใหม่ปี 2483 เพราะเป็นระยะทางไปปักกิ่งที่สั่นกว่าทางปกติ มาถึงอูลานบาร์ตอ ก็ปี 1949 และ กว่าจะถึงกรุงปักกิ่งก็ปี 1956
2. สายทรานส์แมนจูเรีย โดยจะเลี้ยวเข้ามายังประเทศจีน เมืองฮาร์บิน harbin ที่สถานีชุมทาง เมือง ชิตา Chita - นี่คือสายดั้งเดิมของทรานไซบิเรีย ที่เปิดเมื่อปี 1904 ...
ต่อมาเพราะการพ่ายสงครามรัสเซีย - ญี่ปุ่นปี 1905 ทำให้ต้องสร้างทางเฉพาะในเขตรัสเซีย เสร็จเมื่อปี 1916 ... ทางเส้นทรานส์แมนจูเรียนั้นได้ขายให้ญี่ปุ่นซึ่งตอนนั้นยึดครองแมนจูเรียแล้วตั้งประเทศแมนจูกัวขึ้นมา
เส้นทางรถไฟสายทรานไซบีเรีย ในช่วงแรกนั้น ได้เริ่มมีโครงการก่อสร้าง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1881 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 13 ปี จนถึงปี ค.ศ. 1894 แต่กว่าจะเปิดใช้งานจริง ก็ 18 กันยายน 1904 (1 ตุลาคม 1904 ตามปฏฺทินเกรกอเรียน) เนื่องจากต้องซ่อมทางที่โดนหิมะฝังหรือไม่ก็โดนน้ำท่วมเพราะหิมะละลาย
ซึ่งจักรวรรด์รัสเซียขณะนั้นมี พระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 และพระเจ้าซาร์นิโลสที่ 2 (หรือ นิโคไลที่ 2 ตามสำเนียงรัสเซีย) เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ หรือเทียบแล้วก็ประมาณ พ.ศ. 2424 - พ.ศ. 2437 (แต่เปิดใช้งานจริงปี 2447) ก่อนหน้าที่เส้นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย กรุงเทพ- นครราชสีมา จะเริ่มสร้าง ในปี พ.ศ. 2434 หรือ 10 ปี เท่านั้น ซึ่งตรงกับรัชสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ของไทย
ไม่น่าเชื่อครับ ว่า ยุคนั้น เส้นทางรถไฟของไทยก็ถือเป็นเส้นทางคมนาคมที่ทันสมัยทัดเทียมกับชาติอื่นๆ โดยเฉพาะยุโรป ในขณะนั้น
โดยสมัยนั้น ประเทศรัสเชีย มีเมือง เซนต์ปีเตอร์เบอร์ก Sankt Peterburg ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ติดประเทศฟินแลนด์ เป็นเมือง หลวง ส่วนมอสโคว เป็นเพียงเมืองใหญ่ เมืองหนึ่ง การเดินทางจากเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก มายัง เมือง วลาดิวอสต็อก Vladivostok ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกสุดนั้น จะต้องเดินทางผ่านทางถนน ซึ่งมีสภาพ ไม่ต่างจากทางเกวียน ลุยหิมะ โคลนตม ฝุ่น ลานน้ำแข็ง เพื่อข้ามไซบีเรีย และหากใช้เวลาเดินทางจากอย่างเร็วที่สุด ก็ยังต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือน โดยการเดินทางที่จะสะดวกกว่านั้น คือ การเดินทางโดยเรือ ผ่านทางมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านตอนเหนือทวีปอเมริกา และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก
ถ้าพูดง่ายๆ คือ หากไปทางบก จะไปเมืองวลาดิวอสต็อก จะมุ่งหน้ามาทางทิศตะวันออก แต่หากจะไปทางเรือ จะต้องลงทะเล แล้วมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก แล้วย้อนตามความกลมของโลกผ่านทวีปอเมริกา ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก และจะถึงเมืองวลาดิวอสต็อก อย่าเพิ่งสงสัยครับ ว่า ทำไมเส้นทางเรือถึงเป็นเช่นนั้น เนื่องจากว่า หากจะผ่านลงมาทางมหาสมุทรแอตแลนติก แล้วจะมุ่งมาทางตะวันออก จะต้องข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ลงมาทางใต้ ต้องไปอ้อมทวีปแอฟริกา ข้ามมหาสมุทรอินเดีย ผ่านช่องแคบมะละกา ผ่านเข้ามหาสมุทรแปซิฟิก ถือว่าไกลมากๆ ครับ ส่วนคลองสุเอซ ซึ่งจะสามารถลัดไม่ต้องอ้อมทวีปแอฟริกา นั้นก็เพิ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2412 ส่วนทางทิศเหนือของรัสเซียที่เป็นทะเลอาร์ติก นั้น ในสมัยก่อน ยังไม่มีเรือชนิดใด ที่จะตัดผ่านธารน้ำแข็ง และภูเขาน้ำแข็ง ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าปัจจุบัน จึงไม่เหมาะที่จะเป็นเส้นทางคมนาคม
ขณะนั้น รัสเซีย มีเส้นทางรถไฟที่เริ่มสร้างในปี 1881 จากมอสโคว Moscow มายังเมือง ซิลยาบินส์ Chelyabinsk แล้ว ดังนั้น
จึงเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนและเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะต้องมีเส้นทางคมนาคม ที่สะดวก รวดเร็ว และขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าที่มีจำนวนมากๆ ได้ดีเท่ากับรถไฟ และไม่จำเป็นต้องนึกถึงผลตอบแทนว่าจะคุ้มทุนหรือไม่ เมื่อใด ดังนั้น พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 จึงมีบัญชา หรือไม่ต่างกับพระราชกฤษฎีกาในไทย ให้สร้างเส้นทางรถไฟ ความยาว 7,500 กิโลเมตร จากเมืองซิลยาบินส์ ไปยังเมืองวลาดิวอสต็อก
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43870
Location: NECTEC
Posted: 01/05/2007 11:52 am Post subject:
หมวดเอ็ม คุณตั้ม,
นี่คือบทความเรื่องทางรถไฟสายทรานส์ไซบิเรียที่ผมเคยสรุปไว้นานแล้ว ซึ่งสามารถประมวลได้ดังนี้ ซึ่งนายบอย Railsthai เป็นคนขอให้ผมแปลให้
ประวัติทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย
ในสมัยปลายศตวรรษที่ 19 มีการค้าขายในย่านเอเซียตะวันออกกันอย่างมาก ญี่ปุ่น, อังกฤษ และอเมริกา ก็ได้มาตั้งเขตเช่าของตนในประเทศจีนกันแล้ว และเขตไซบีเรียก็อยู่ห่างจากกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ขนาดทหารม้าคอสแซก และบรรดาม้าเร็ว นั่งเลื่อน และขี่ม้าตามถนนดิน จากไซบีเรียมาเมืองหลวงต้องใช้เวลา1ปีขึ้นไป ทำให้ทหารม้าคอสแซ็กเหล่านี่อยู่เหมือนถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เป็นอันตรายต่อจักรวรรดิรัสเซียอย่างยิ่ง
ดังนั้นพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่3 มีพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียเชื่อมเมืองท่าวลาดิวอสต็อกซึ่งใช้ได้ตลอดปี กับนครมอสโคว์(มอสควา)และ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กขึ้น โดยให้ซาเรวิชนิโคไลอเล็กซานโดรวิช(พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2) เสด็จฯ วางศิลาฤกษ์ที่วลาดิวอสต็อก เมื่อเวลา 10 นาฬิกาของวันที่ 19 พฤษภาคม 1891 (พ.ศ. 2434) หลังจากมีพระราชดำริให้สร้างทางหลังจากที่ได้รับใบบอกจากบรรดาผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตไซบีเรียว่ามีความยากลำบากเพียงไหน
ด้านหัว - ก้อยเงิน 5 รูเบิลทองคำ
ด้านหัว - ก้อยเงิน 10 รูเบิลทองคำ
ด้านหัว - ก้อย รูเบิลทองคำ 7.50 รูเบิล (เท่ากับ20 ฟรังก์ทองคำ - 1 นโปเลียน)
ด้านหัว - ก้อย รูเบิลทองคำ 15 รูเบิล (เท่ากับ40 ฟรังก์ทองคำ - 2 นโปเลียน - 1 อิมพีเรียล)
การสร้างทางรถไฟสายนี้ได้ใช้โดยใช้เงินกู้ฝรั่งเศสสร้างขึ้นเพราะเงินรูเบิลได้ผูกกับค่าเงินฟรังก์ฝรั่งเศส (1รูเบิลแลกได้ 4 ฟรังก์ แล้วลดเป็น 3 รูเบิลแลกได้ 8 ฟรังก์) และระดมบรรดานักโทษการเมือง ทหาร ชาวไร่ชาวนา คนงานรถไฟ หลายงวด บางงวดถึงเกือบแสนคน (89000 คน) มาสร้างทางนี้ได้ ถ้าคิดรวมๆ ก็หลายแสนคน สะพานเล็กๆ ก็ใช้ไม้สนในป่าสร้างเอา แต่สะพานใหญ่ต้องขนเหล็กและเครื่องมือโดยใช้เลื่อนไปตามถนนดิน และ เรือ ขนส่งวัสดุและอุปกรณ์ไปให้คนงาน เป็นที่น่าเสียดายที่ข้อมูลงบประมาณการซ่อมสร้างทางรถไฟในช่วงคอมมิวนิสต์นั้นเชื่อถือได้ยาก ที่น่าเชื่อถือได้ก็สมัยพระเจ้าซาร์ แม้ว่าจะมีการคอรัปชั่นงบประมาณไปบ้างก็ตาม
สมัยพระเจ้าซาร์นั้น ต้องใช้งบและเงินกู้สร้างทางดังนี้:
1) ในแดนรัสเซียไป 526,832,000 รูเบิลทองคำ
2) สายผ่านแมนจูเรียไป 410,388,000 รูเบิลทองคำ
3) สายใหม่ที่เลี่ยงเมืองจีน 518,193,000 รูเบิลทองคำ
รวมเบ็ดเสร็จ (พร้อมค่าใช้จ่ายนอกรายการ): 1,455,413,000 รูเบิลทองคำ
(เหรียญ 15 รูเบิลทองคำ (1 Imperial) สมัยนั้น แลกเงินฝรั่งเศสได้ 40 ฟรังก์ทองคำ และเงินบาทตราอาร์มได้ 20 บาทซึ่งเท่ากับเงินเดือนข้าราชการชั้นเสมียน)
ขณะนั้นรัสเซียมีทางรถไฟจากกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิรก์ไปถึงเอกาเตรินเบิร์ก(เมืองในเขตไซเรียซึ่งเป็นที่ปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์นิโคลัส และ พระราชวงศ์) ตั้งแต่ปี 1878(พ.ศ. 2421) จึงได้มีขยายทางไปตะวันออก ถึงเมือง Omsk ปี 1894 ถึง Irkuts และทะเลสาบไบคาล ถึงเมืองวลาดิวอสต็อกเมื่อ 1901 (พ.ศ. 2444) แต่กระนั้นผู้โดยสารต้องนั่งเรือกลไฟตัดน้ำแข็ง ข้ามทะเลสาบไบคาล กว่าจะมีทางรถไฟลัดเลาะทะเลสาบได้ก็ 18 กันยายน (1 ตุลาคม) 1904 (2447)
อย่างไรก็ตาม, เส้นทางดังกล่าวต้องผ่านแดนจีน (มณฑลเฮยหลงเจียง - แมนจูเรีย) ซึ่งได้ก่อความยุ่งยากในการส่งกำลังบำรุงเมื่อเกิดสงครามกับญี่ปุ่น ปี 1905 ซึ่งคราวนั้นกองทัพรัสเซียพ่ายกองทัพญี่ปุ่นอย่างยับเยิน แต่ญี่ปุ่นก็กระสุนดินดำเกือบหมดประเทศ ทำให้พระเจ้าซาณ์นิโคลัสที่ 2 มีพระบรมราชานุมัติให้สร้างเส้นทางสายใหม่ที่ไม่ผ่านเข้าแดนจีนเมื่อปี 1907 กว่าจะได้สายไปวลาดิวอสต้อกโดยไม่ผ่านแดนจีน (สายราเซีย - ผ่านคาบาร็อฟสก์) ก็วันที่ 5 ตุลาคม (18 ตุลาคม), 1916 (พ.ศ. 2459) ขณะที่รัสเซียกำลังติดพันสงครามโลกครั้งที่1อยู่ งานชิ้นสุดท้ายที่ทำสำเร็จคือการสร้างสะพานข้าแม่น้ำอาร์มูร์ (Armur) ยาว 3 กิโลเมตร
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-18) และ สงครามกลางเมืองรัสเซีย (1918-1921), ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียอยู่ในสภาพเสียหายยับเยิน สะพานใหญ่อย่าง Irtysh และ Amur ขาดกลาง ท่านผู้นำเลนินเลยมีบัญชาให้ซ่อมแซมทางรถไฟและสะพาน กว่าจะเปิดใช้งานได้ใหม่ก็เดือนมีนาคม 1925
ในสมัยคอมมิวนิสต์นั้น, ได้มีการออกงบประมาณให้กระทรวงรถไฟรัสเซียซ่อมสร้างทางไฟสายทรานส์ไซบิเรียดังนี้
1) ซ่อมทางรถไฟให้ใช้การได้ (1922 - 1925),
2) ฟื้นฟูเส้นทาง และ สร้างทางคู่ขนานให้เป็นระบบรางคู่ ตามแผน 5 ปี (1932 - 1937),
3) ติดตั้งระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ายกแรก (1952 - 1963)
4) ติดตั้งระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ายกที่ 2 (1979 - 1991)
ในสมัยคอมมูนิสต์ได้มีการสร้างทางรถไฟไปปักกิ่งสายใหม่ที่ตัดผ่านมองโกเลีย เริ่มสร้างแต่ปี
1940 ถึงอูลานบาร์ตอร์ ปี 1949 มาเสร็จเอาก็ปี1956 (2499)
ปัจจุบัน รถไฟสายทรานส์ไซบีเรียที่ไปจากวลาดิวอสต็อกไปสุดที่สถานี Yaroslavsky railway station [Ярославский вокзал] (มีรถไฟใต้ดินสายสีแดงผ่าน) ในกรุงมอสโคว์มี Terminal หลายแห่ง เช่นที่ Belorussky railway terminal (Белору́сский вокза́л) สำหรับรถไฟจากกรุงเบอร์ลิน ผ่านประเทศไบโลรัสเซีย, สถานี Leningradsky railway terminal [Ленинградский вокзал] สำหรับรถไฟจากกรุงมอสโคว์ไปนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (รถไฟสาย 'Krasnaya Strela' Кра́сная стрела́ หรือรถไฟสายธนูแดง) ทุกสถานีมีรถไฟใต้ดินมอสโคว์อันลือชื่อผ่านทั้งสิ้น
ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย ถือว่าเป็นหัวใจหลักของระบบรถไฟรัสเซีย ที่ขนทั้งสินค้าและผู้คน เส้นทางนี้เริ่มติดตั้งระบบไฟฟ่าขับเคลื่อนเมื่อปี 1929 (พ.ศง 2472) ตามแผนพัฒนา 5ปี ฉบับแรกของจอมเผด็จการสตาลิน ในตอนแรก (1929-1959) ก็ใช้ไฟตรง 3 KV แต่เปลี่ยนมาใช้ไฟสลับ 25 KV ที่เปลืองกระแสน้อยกว่าและส่งได้ไกลกว่าเมื่อปี 1959 แต่กว่าจะใช้ระบบไฟฟ้า 25 KV ครบทั้งเส้นทางก็ วันที่ 25 ธันวาคม 2002 สมัยประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ปูติน
ปัจจุบันสายเก่าคือสายปักกิ่ง มอสโคว์ ผ่านแมนจูเรียหรือทรานสแมนจูเรีย สายที่ตัดผ่านแดนจีนเป็น สายที่ช่วยให้จีนมีรายได้มาใช้หนี้สงครามกับญี่ปุ่น
สำหรับประเทศไทย สมัยก่อนการประกาศสงครามโลกครั้งที่ 1 (22 กรกฎาคม 2460) และปฏิวัติตุลาคมแดง(ตุลาคม-พฤศจิกายน 2460)นั้น นักเรียนไทยที่ไปเรียนที่รัสเซียและเยอรมันนั้นมีมากกว่าที่ฝรั่งเศสและอังกฤษรวมกันเสียอีก เวลากลับประเทศสยามก็จะนั่งรถไฟจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กไปวลาดิวอสตอกค์ แล้วนั่งเรือกลไฟไปโยโกฮามาหรือเซี่ยงไฮ้ ก่อนขึ้นเรือไปสิงค์โปร์แล้วต่อเรือที่สิงค์โปร์กลับกรุงเทพ นอกจากนี้ที่เยอรมันมีรถไฟวิ่งจากเบอร์ลินไปมอสโคว์ด้วย ทำให้นักเรียนไทยในเยอรมันสมัยก่อน(ก่อนปี 2457) ก็ใช้บริการรถไฟทรานส์ไซบีเรียด้วย
อ้างอิง:
http://www.geocities.com/railsthai/siberia.htm
http://www.transsib.ru/Eng/history-phases.htm
// --------------------------------------------------------------------------------
ถ้าอยากรู้ว่าจะขี่รถไฟสายนี้แล้ว ให้ทำอย่างไรจงดูที่นี่
http://www.trans-siberia.com/
http://www.seat61.com/Trans-Siberian.htm Last edited by Wisarut on 21/07/2019 12:46 am; edited 1 time in total
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43870
Location: NECTEC
Posted: 01/05/2007 11:55 am Post subject:
British royalty launches new Trans-Siberian train
British Prince Michael of Kent stands to the Golden Eagle luxury train at a station outside Moscow. (ด่วนอินทรีทอง)
Photo: Reuters April 27, 2007 - 11:23AM
Published by the Edge
Once considered the preserve of scruffy backpackers, hardy adventurers, and vodka swigging businessmen, a new train on Russia's Trans-Siberian route aims to lure wealthy tourists with luxury.
British Prince Michael of Kent on Thursday at a Moscow station unveiled the Golden Eagle which offers passengers ensuite bathrooms, underfloor heating and plasma screen TVs in every cabin along the 9300 kilometre Moscow to Vladivostok route, one of the longest train trips in the world.
"Russia and trains are two great passions of mine and I'm looking forward to traveling on the Golden Eagle," said Prince Michael, a Russian speaker and related through his grandmother to Tsar Nicholas II, in a speech.
The Trans-Siberian railway, built between 1891 and 1916, travels from Moscow through vast pine forests, over the Ural mountains and across the Siberian tundra to the Pacific Ocean.
A single ticket on the Golden Eagle will cost up to 9,595 pounds ($23,000) for the 13- to 15-day journey.
A ticket on a normal Russian train costs around 10,000 roubles ($468) for the seven-day nonstop trip. The Golden Eagle, operated by British firm GW Travel, will take double the time from Moscow to Vladivostock by stopping for excursions.
BEETROOT SOUP AND NO SHOWER
The Trans-Siberian rail traveller previously had to cope with random compartment companions, a restaurant menu that stretched from beetroot soup to dried fish and no shower.
Not problems the Golden Eagle traveller will have to worry about, GW Travel boss, Tim Littler, said.
"This is a luxury hotel on wheels," he said. "We are selling a luxury window on Russia."
GW Travel already operates high-end rail journeys in the former Soviet Union and other parts of the world. Most of its clients are from the United States and Europe and the average age is 66, Littler said.
Gregory Tepper, a tour operator from the United States, stood in the crowd listening to the speeches and looking at the gold and blue train.
"There is a real romance about the Trans-Siberian," he said. "But it is still a long time on a train."
On bridges and walkways above the platform, dozens of slightly bewildered commuters leant on rails watching the ceremony, listening to the brass band and admiring the train.
Most had not taken the Trans-Siberian and did not intend to.
"Why go by train when you can fly?" Igor Yevgenavich, 52, said. "Just think how much vodka you would drink in that time on the train? Much cheaper and safer to fly."
Reuters
Back to top
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air) Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
Posted: 01/05/2007 3:28 pm Post subject:
ขอบคุณมากครับเฮียวิศซี่ ที่มาต่อ
จริงๆ แล้ว ผมยังมีเนื้อหาอีกหลายส่วนเลย ก็จะค่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ น่ะครับ
Back to top
Schnellzug
3rd Class Pass Joined: 03/07/2006 Posts: 170
Location: ศาลายา
Posted: 02/05/2007 11:57 am Post subject:
ผมมี VCD ของทางรถไฟสายทรานซ์ไซบีเรียอยู่อะครับ ดีเหมือนกันครับ _________________
Back to top
nathapong
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
Posted: 02/05/2007 5:32 pm Post subject:
CENTENNIAL wrote: ขอบคุณมากครับเฮียวิศซี่ ที่มาต่อ
จริงๆ แล้ว ผมยังมีเนื้อหาอีกหลายส่วนเลย ก็จะค่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ น่ะครับ
อ่า ทวงคับทวง
แอบเห็นตากแดดตากฝนตามแถวต้นมะขามบ่อย ๆ เกรงว่าจะไม่สบาย
ไงๆ เจ้าของกระทู้ ช่วยมาลงต่อด้วย ............ ติดตามชมอยู่ จ้า....
Back to top
New_Henry
2nd Class Pass Joined: 19/11/2006 Posts: 562
Location: สถานีรถไฟ
Posted: 02/05/2007 5:37 pm Post subject:
น่าสนใจดีเหมือนกันน่ะครับเรื่องนี้... _________________
Back to top
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air) Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
Posted: 02/05/2007 8:11 pm Post subject:
nathapong wrote:
อ่า ทวงคับทวง
แอบเห็นตากแดดตากฝนตามแถวต้นมะขามบ่อย ๆ เกรงว่าจะไม่สบาย
ไงๆ เจ้าของกระทู้ ช่วยมาลงต่อด้วย ............ ติดตามชมอยู่ จ้า....
แย่เลยครับ จนบางทีผมยังคิดเล่นๆ ให้สบายใจว่า เรากำลังเล่นหนัง เรื่อง อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ( Seasons Change ) ภาค 2 ก็แล้วกัน
เพราะตากทั้งฝน ทั้งแดดร้อน ขณะยืนรับ.... การจราจรพิเศษ
แต่จะแย่ตรงที่ นางเอกดันไม่มาเข้าฉากซะทีนี่หล่ะ
แต่ช่วงนี้ก็ดีครับ เพราะหากเป็นเส้นพิษณุโลก ผมได้ถูกย้ายมายืนอยู่ที่แยกยมราชแล้ว ได้เห็นรถไฟ วิ่งไปมา บางทีสวนกัน 3 ทาง เลย แอบดีใจเล็กๆ
ส่วนเนื้อเรื่องทรานส์ไซบีเรียนี้ หากมีจังหวะว่างๆ ดีๆ จะรีบมาเสริมต่อครับ
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group