RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312004
ทั่วไป:13620908
ทั้งหมด:13932912
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 229, 230, 231 ... 487, 488, 489  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43884
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2014 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ปลัดคค.มอบนโยบายบอร์ดร.ฟ.ท.ชุดใหม่ ฟื้นฟูองค์กร-สร้างภาพลักษณ์ใหม่
ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 16 กรกฏาคม 2014 เวลา 16:40 น.


คมนาคมจี้รถไฟสรุปแผนฟื้นฟู15วัน
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฏาคม 2557 เวลา 00:00

“สร้อยทิพย์” ห่วงภาพลักษณ์รถไฟ สั่งจัดทำแผนฟื้นฟูก่อนสรุปเสนออนุซูเปอร์บอร์ดภายใน 15 วัน ด้านประชุมบอร์ดนัดแรกตั้ง ”ประเสริฐ อัตตะนันทน์” รักษาการผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. จี้ดูแลเรื่องความปลอดภัย

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กับคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยให้เร่งจัดทำแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.ใหม่ในทุกมิติ ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน องค์กร การเงิน ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อนำเสนอไปยังอนุกรรมการแก้ไขและกลั่นกรองปัญหารัฐวิสาหกิจ ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา จากนั้นจะเสนอต่อไปยังคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจพิจารณาภายในกลางเดือน ส.ค.นี้

สำหรับการจัดทำแผนฟื้นฟูดังกล่าวนั้น นอกจากต้องเร่งจัดทำรายละเอียดแผนการลดภาระหนี้ที่มีอยู่กว่าแสนล้านให้ชัดเจน แล้วต้องเร่งรัดโครงการต่างๆ ตามแผนการปรับโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท. วงเงินลงทุน 1.7 แสนล้านบาท ที่ได้ดำเนินงานตั้งแต่ปี 2553-2557 ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปเพียงรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และซื้อหัวรถจักร 20 คันเท่านั้น โครงการอื่นๆ ไม่มีความคืบหน้า อาทิ รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง และซื้อหัวรถจักร 50 คัน, ปรับปรุงหัวรถจักร 56 คัน
นอกจากนี้ต้องเร่งแก้ปัญหารายได้ โดยเฉพาะรายได้จากทรัพย์สินที่ดิน จะต้องมีการติดตามสัญญาที่ค้างชำระ หรือสัญญาที่ไม่เคยมีการปรับค่าเช่าให้เหมาะสม หรือที่ดินที่ไม่เคยมีการจัดเก็บค่าเช่า เพื่อหารายได้มาพัฒนาบริการ และใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์ที่สุด โดยไม่ต้องสร้างโครงการใหม่ๆ, เร่งแก้ไขปัญหาด้านบุคลากรโดยสร้างตัวชี้วัดการทำงาน เพื่อให้การบริหารในแต่ละหน่วยธุรกิจ (Business Unit) มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ต้องเร่งแก้ปัญหาภาพลักษณ์องค์กรในเรื่องความปลอดภัย ความสะอาด ทั้งบนขบวนรถ สถานี ตู้เสบียง ห้องน้ำ

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดได้ตั้งนายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการ หัวหน้าหน่วยธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. รักษาการตำแหน่งผู้ว่าฯ การรถไฟ พร้อมให้ พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นประธานกรรมการสรรหาให้แล้วเสร็จภายใน 5 เดือน

นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้เร่งรัดสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ โดยจะต้องไม่มีปัญหาฉกชิง วิ่งราว หากเกิดเหตุต้องมีผู้รับผิดชอบ และยังให้สุ่มตรวจสารเสพติดพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่บนขบวนรถไฟ ทั้งต้นทาง-ระหว่างทางและปลายทาง พร้อมจัดให้มีเลดี้โบกี้เป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารหญิงและเด็กชายที่มีอายุต่ำกว่า 10 ขวบ และจัดพนักงานหญิงประจำตู้โดยสาร คาดเปิดให้บริการในวันที่ 1 ส.ค.นี้.

//----------------------------

รถไฟ(อีกที)จะเอาแบบไหนกัน?
คอลัมน์เปลว สีเงิน
ไทยโพสต์
วันพุธที่ 16 กรกฏาคม 2557 เวลา 00:00


เพิ่งรู้จักหน้า "คุณชุติมา บุณยประภัศร" ที่ คสช.แต่งตั้งให้เป็น "ปลัดกระทรวงพาณิชย์" วานนี้เอง (๑๕ ก.ค.๕๗) จากรายการ คสช.สนทนา "ทับหัวข่าว" ภาคค่ำ......
เห็นแล้วก็อดที่จะหยิบมาคุยไม่ได้ เพราะนานๆ ทีจะได้เห็น "กุลสตรีไทย" จากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นที่เจริญหู-เจริญตา เป็นหน่อ-เป็นแนว ให้หญิงไทยยึดแบบอย่างได้ว่า
งามอย่างไทย ด้วย "เสื้อผ้า-หน้า-ผม" ตามวัย-ตามธรรมชาติ สะอาดๆ ทั้งพูดจาไม่ใส่จริตจะก้านนั้น น่าดู-น่ามองกว่าเป็นไหนๆ
ผู้หญิงทำงาน ไม่ได้สวยตรงทำผม-ทำหน้า ๔-๕ ชั่วโมง แล้วเดินจากแค็ตตาล็อกแฟชั่นไปออกโทรทัศน์หรอก
มันสวย เท่ มีเสน่ห์ มัดใจคน ตรง "กึ๋น" ตรง "เก่ง" และตรงมีบุคลิกเป็นตัวของตัวเองตะหาก
เพราะนั่นบ่งบอกถึง หญิงคนนั้นมี "ความเชื่อมั่น" ในศักยภาพที่ตัวเองมี!
ดูอย่างนางปัก กึนฮเย ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ซิ ดูนางอังเกลา แมร์เคิล นายกฯ เยอรมนี ซิ ดูอย่างนางอองซาน ซูจี ซิ ดูอย่างคุณสุภา ปิยะจิตติ ซิ
ล้วนเป็นหญิงที่สโนไวต์ไม่กล้าบอกว่า "งามเลิศในปฐพี" แต่ด้วยความเก่ง เน้นกึ๋น เน้นศักยภาพในการทำงาน เน้นบุคลิกภาพเฉพาะตัว
สโนไวต์กล้าปฏิเสธซะที่ไหนว่า เธอเหล่านั้น ไม่ใช่ "สุภาพสตรีที่มหาชนชื่นชม" ในปฐพี!
ผู้หญิงทั่วๆ ไป ในแต่ละวัย สวยที่คนอื่นยกย่อง ชื่นชม ให้เกียรตินั้น ไม่ได้มาจากหน้า-นมที่ต้องศัลยกรรรม หรือจากแฟชั่นเสื้อผ้า-ผมที่ต้องตามเทรนด์เป๊ะ
"สวยด้วยราคา" มันไม่มีราคาหรอก ผู้หญิงต้อง "สวยด้วยคุณค่า" จึงจะมีราคาที่คงทน-ถาวร
เก่ง-มีกึ๋น มีบุคลิกเฉพาะตัว และแต่งเนื้อ-แต่งตัว ตามวัย ตามกาลเทศะ นั่นตะหากที่ทำให้ผู้หญิง "สวยอย่างมีคุณค่า" ตามมาด้วยเกียรติและเสียงชื่นชม
ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ อย่าง "น้องกวาง" หรือ "อาริศา หอมกรุ่น" นักเรียนวัย ๑๗ ปี จากโรงเรียนพระแม่มารีสาทร ที่ไปประกวดรายการ "ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์" เมื่อ ๒-๓ อาทิตย์ที่แล้วนั่นไง
อายุ ๑๗ นี่ เขาประกวดนางงามกันแล้ว แต่เธอแต่งชุดนักเรียน เรียกว่าทั้งเสื้อผ้า-หน้า-ผม-รองเท้า "ฟอร์มนักเรียน" เป๊ะ กระทั่งหน้า...แป้งเธอก็ไม่ผัดด้วยซ้ำ
เธอร้องเพลง Happy Working song จากภาพยนตร์เรื่อง Enchanted เป็นภาษาไทย
เสียงใสๆ บริสุทธิ์เหมือนน้ำค้าง ท่าทางเป็นธรรมชาติ น้องกวางกลายเป็นเด็กหญิงสวยที่สุด น่ารัก น่าเอ็นดูที่สุด ทุกคนในห้องส่งชื่นชมเธอด้วยบริสุทธิ์ใจกันทั้งนั้น!
จบดูข่าวภาคค่ำแล้ว ผมก็มาเช็กเน็ตว่ามีข่าวคราวอะไรพอจะหยิบฉวยมาคุยกันได้บ้าง?
เจอรูป "พระสุเทพ เทือกสุบรรณ" ว่อนใน fb บอกว่า ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ ๒-๓ วันมานี้ ชนิดไร้วี่แวว ที่วัดท่าไทร สุราษฎร์ธานี
และจะไปจำวัดอยู่ "สวนโมกข์" ที่ท่านเคยจำพรรษามาก่อน ในสมัยบวชเป็นศิษย์หลวงพ่อ "พุทธทาสภิกขุ" ที่นั่น!
ถ้าจริงตามนี้ก็....สาธุ...!
ที่พึ่งอื่นใดประเสริฐกว่าใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนาไม่มีอีกแล้ว นับว่าคุณสุเทพหรือ "พระสุเทพ" กรรมดีที่กระทำต่อเนื่อง ได้ชักนำให้มี "ชีวิตใหม่" ประเสริฐเลิศล้ำกว่าในฐานะ "พุทธบุตร"
จะไปกราบชายผ้าเหลือง "ปันส่วนบุญ" ท่าน จะทันลาสิกขาหรือไม่ก็ไม่แน่ใจ สุราษฎร์ธานี นี่ ผมก็ยังไม่เคยไปเสียด้วย!
เห็นเขาว่านั่งรถไฟสายใต้จากกรุงเทพฯ ไปลงที่ "สถานีไชยา" ได้ ขอศึกษาเส้นทางดูก่อน ถ้าไป นั่งชั้น ๓ น่าจะสบายใจกว่านั่งชั้น ๒ ตู้นอน
ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า หลังเกิดเหตุกรณี "น้องแก้ม" แล้ว รถไฟตู้นอนสายใต้เป็นอย่างไรบ้าง ร้างไปแล้ว หรือยังมีผู้ใช้บริการหนาแน่นเหมือนเดิม
รถไฟนี่ ถ้าไม่ปฏิรูปชนิด ผ่าตัดแยกชิ้นส่วนทั้งหมด คงยากที่จะแก้ไขให้ดีขึ้น เพราะสภาพทุกวันนี้ เปรียบเหมือน "สับรางผิด"
แล้ว "ร.ฟ.ท." ก็ชักลากความเป็น "กิจการรถไฟ" ทั้งหมด ดุ่มๆ ตะคุ่มไป ผิดทั้งราง-ทั้งทิศทาง-ทั้งเป้าหมาย
ถ้าจะแค่ "ปรับเปลี่ยนตามเส้นทาง" โดยไม่เริ่มรื้อที่ "ต้นทาง-ต้นราง" ใหม่ทั้งหมด เพียงแต่แตะนั่น-แตะนี่ "ระหว่างทาง" ในรางที่สับผิดมาตลอด
อีกไม่ช้า คงต้อง "ผ่าประเทศ" เป็นฟืน....ใส่เตา!
ถ้าเรามอง "รถไฟ" เทียบกับ "สื่อสาร" บางทีอาจเห็น "ทางเลือก" ใหม่ๆ เหมือนการวินิจฉัยโรคที่ตรงจุดบ้างก็ได้
"สื่อสาร" ขายอากาศโดยแบ่งเป็น "คลื่นความถี่" แล้วประมูลกันมีสัญญาเป็นระยะปี ในคลื่นความถี่ไหน ใครได้ก็เอาไปทำ
แต่รัฐยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโครงข่ายที่เอกชนลงทุนทำ!
อย่าง ร.ฟ.ท.นี่ น่าจะต้องบริหารแนวทางนั้น คือในส่วนราง ที่ดิน-สินทรัพย์ ทั้งหมด ร.ฟ.ท.เอาไว้ เป็นของการรถไฟฯ บริหาร
แต่การเดินรถ ทุกเส้นทาง ทั้งรถไฟโดยสาร รถไฟขนส่ง โดยเฉพาะเส้นทาง "สายเหนือ-สายอีสาน-สายใต้-สายตะวันออก"
ให้ประมูลเป็น "ธุรกิจสัมปทาน"!
ใครประมูลสายไหนได้ ก็ไปลงทุนซื้อรถจักร-โบกี้มาเอง เดินรถเอง บริการเอง บริหารเอง
โดยเช่ารางจาก ร.ฟ.ท.!
หรืออาจจ้าง ร.ฟ.ท.บริหารตารางเวลาเดินรถ เหมือน "หอบังคับการบิน" ที่คอยจัดจราจรทางอากาศในการขึ้น-ลง นั่นเป็นรายละเอียด
ตัวสถานีรถไฟ ไม่คิดราคา แต่การบำรุงรักษา และพื้นที่นอกจากตัวสถานี บริษัทที่ได้สัมปทาน ต้องจ่ายและเช่าต่างหาก
ใครสัมปทานสายไหน ก็ต้องรับโอนพนักงานไปด้วย ในชั้นต้น เหลือบางส่วนไว้ ในสายชานเมือง สายท่องเที่ยว เช่นสายกาญจนบุรี สายวงเวียนใหญ่-มหาชัย-แม่กลอง
คร่าวๆ อย่างนี้ ผมว่า ร.ฟ.ท.จะมีอนาคต หยุดหนี้-ล้างหนี้ได้ ทั้งสนองตอบประชาชนได้ และทั้งจะไม่เป็นภาระรัฐ-ภาระสังคมอีกต่อไป
จะเห็นอนาคตในการเดินทางและการขนส่งระบบราง ที่พัฒนา "บนฐานการแข่งขัน เชื่อมโลก" สู่ศตวรรษใหม่เป็นรูปธรรม
จากถึงก็ช่าง...ไม่ถึงก็ช่าง ไปเป็นระบบรางคู่ ระบบขยายราง เพิ่มความเร็ว ไปเป็นระบบความเร็วสูง ไปเป็นระบบขนส่งต้นทุนต่ำ แต่ศักยภาพสูง
ลำพังระบบรัฐ บนความเป็นรัฐวิสาหกิจ ในนาม ร.ฟ.ท. คนของเรามีคุณภาพไปถึงจุดนั้นได้....
แต่ด้วยวิสัยทัศน์ "รัฐวิสาหกิจ" นักการเมือง บวกผู้บริหาร-พนักงาน "ฝังเขี้ยว" คนละหนุบ-คนละหนับ ฉิบหายไม่เป็นไร เอาภาษีประชาชนมาอุ้ม
มันก็จะเป็นดังที่เป็นอยู่ขณะนี้ เพราะทุกคนที่เข้ามา ก็บอกตัวเองว่า "รถไฟไม่ใช่ของพ่อกู" เมื่อไม่ใช่....มือใครยาวก็สาวได้-สาวเอา
ที่ดินตลอดเส้นทางรถไฟทั่วประเทศ รวมทั้งรางเท่านั้น คือทรัพย์สินมูลค่าเพิ่มมหาศาลที่เหลืออยู่ขณะนี้
ก็เอาไว้แทะกันเถอะ!
ส่วนรถไฟ-การเดินรถ ทำกันจนหมดสภาพแล้ว เอามาให้เอกชนเขาไปทำกันเถอะ มันต้องเจริญทั้งกิจการ ดีขึ้นทั้งบริการแน่
ถนน-อากาศ เรายังให้สัมปทานรถเมล์-เรือบิน ใน กทม. เมื่อก่อนให้สัมปทานรถเมล์เป็นสายๆ พอยุบรวมมาทำเองเป็น ขสมก.สมัยหม่อมคึกฤทธิ์ มีแต่เจ๊งกับเจ๊งถึงวันนี้
ก็เอา "รางรถไฟ" มาให้เอกชนประมูลเส้นทางไปเดินรถแต่ละสายดูบ้าง ไม่ต้องมาก ดูแอร์พอร์ตลิงค์เป็นข้อเปรียบเทียบ
รถไฟทำเอง เจ๊งแล้ว-เจ๊งอีก เทียบกับ BTS เอกชนเขาทำ รวยแล้ว-รวยอีก!
ถ้าแนวคิดปฏิรูปกิจการรถไฟ ยังวนเวียนอยู่แค่ ปลดผู้ว่าฯ คนเดิม แล้วตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่ ก็มองไม่เห็นเลยว่า จะพัฒนาให้ก้าวหน้าทันโลก-ทันความต้องการผู้ใช้ได้อย่างไร?
เมื่อตีค่าโดยบวก "ความมั่นคง" เข้าไปด้วย ถ้ายังไม่รู้จะผ่าตัดให้ดีขึ้นได้แบบไหน มี ๓ แนวทาง คือ เอาเส้นทางมาเปิดประมูลให้เอกชนไปเดินรถ
หรือตั้ง "กระทรวงขนส่งระบบราง" รองรับสิ่งที่จะเกิดในอนาคต กับโอนกิจการรถไฟไปสังกัดกองทัพ ขึ้นอยู่กับ "กรมทหารช่าง"!
จะทำให้การพัฒนาตามแผนเดินไปได้ปรู๊ดปร๊าด "งานเร็ว-ต้นทุนต่ำ" การดูแลความปลอดภัยสองข้างทางและบนขบวนรถ
"ชัวร์กว่าตำรวจ" ซึ่งเป็นถึง "กองบังคับการ" ระดับพล.ต.ต.บริหาร มียศ-มีตำแหน่ง-มีเงินเดือน แต่ (แทบ) ไม่มีตำรวจทำงานบนรถไฟ!
เอาไงก็เอากัน...ขออย่างเดียว "ขอให้รีบเอา" เป็นใช้ได้!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43884
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2014 9:25 am    Post subject: Reply with quote

สปริงนิวส์เล่นประเด็นขนาดรางไม่เลิกแฮะ
http://program.springnewstv.tv/24357/%C2%93%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%C2%93-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43884
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2014 10:18 am    Post subject: Reply with quote

ปธ.บอร์ดใหม่ ยุคปฏิรูปการรถไฟ รื้อทุกเรื่อง-อุดรูรั่วประมูล-พัฒนาที่ดิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 19 กรกฏาคม 2557 เวลา 09:28:22 น.


ไม่ว่า "ออมสิน ชีวะพฤกษ์" อดีตซีอีโอไปรษณีย์ไทย ในวัย 63 ปี จะมานั่งเป็นประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพราะมีความสนิทชิดเชื้อกับปลัดกระทรวงคมนาคม "สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนร่วมงานที่ไปรษณีย์โทรเลขและเพื่อนร่วมชั้น วปอ.รุ่น 4514

แต่เมื่อได้รับความไว้วางใจทั้งจากคนคุ้นเคยและ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" หัวหน้า "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ทำให้เป็นที่คาดหวังและคาดหมายว่าประธานบอร์ดการรถไฟฯคนใหม่จะเป็น "อัศวินม้าขาว" เข้ามาช่วยกอบกู้ภาพลักษณ์องค์กรม้าเหล็กให้หลุดพ้นจากวงจรเดิม ๆ รวมถึงเรียกความเชื่อมั่นผู้ใช้บริการคืนมารวมถึงภารกิจสำคัญคือการปลดแอกภาระหนี้สิน และเร่งพลิกฟื้นสถานะการรถไฟฯที่ปัจจุบันว่ากันว่าขาดทุนสะสมร่วม 1 แสนล้านบาทให้กลับมามีกำไรเหมือนเช่นไปรษณีย์ไทยที่ "ออมสิน" ทำสำเร็จจนกลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงมาแล้ว

"ออมสิน" บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภารกิจแรกที่จะทำทันทีคือเร่งแต่งตั้งรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯโดยเร็ว เพื่อให้การดำเนินงานเดินหน้าต่อไปได้

ซึ่งวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 จะนั่งหัวโต๊ะประชุมบอร์ดนัดแรก จะมีการพิจารณาเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ จะคัดเลือกจากรองผู้ว่าฯ 7 คนมารับตำแหน่งแทนนายประภัสร์ จงสงวน เป็นการชั่วคราว ระหว่างรอการสรรหาผู้ว่าการคนใหม่ ซึ่งการสรรหาเป็นอีกสเต็ปที่ต้องเร่งรัดต่อไปเช่นกัน

"ต้องเร่งหาผู้บริหารที่จะมาขับเคลื่อนองค์กรต่อไป เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากคนใช้บริการรถไฟ จะต้องเร่งสร้างความมั่นคงขององค์กร ความปลอดภัย และความสะดวกสบายในการใช้บริการ"

ซึ่ง "ประธานบอร์ดการรถไฟฯคนใหม่" ยอมรับว่า การรถไฟฯเป็นองค์กรเก่าแก่ที่ก่อตั้งมา 117 ปี มีเรื่องราวมากมายที่ต้องเร่งดำเนินการ ไม่ว่าปัญหาบุคลากร ภาระหนี้สิน การบริหารจัดการเรื่องที่ดิน การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ และสิ่งสำคัญคือการจัดซื้อจัดจ้างที่จะต้องลงมาดูรายละเอียดให้มากขึ้น แต่ทุกอย่างคงไม่ใช่ในเร็ววันนี้

"เราทำงานในรูปของบอร์ด ไม่ใช่มีผมตัดสินใจคนเดียว ต้องหารือร่วมกับบอร์ดอีกหลาย ๆ ท่าน การรถไฟฯมีทุกเรื่องที่ต้องเร่งสังคายนา แต่เรื่องเร่งด่วนตอนนี้คือความเชื่อมั่นผู้ใช้บริการและความปลอดภัย"

ทั้งนี้ "ออมสิน" ยังบอกอีกว่า ด้วยความที่การรถไฟฯเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการบริหารงานแบบนี้มายาวนานร่วม 100 ปี เป็นการยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ทันทีแบบพลิกฝ่ามือ จะต้องค่อย ๆ สร้างความเข้าใจ แต่จะไม่ปล่อยเวลาให้เนิ่นนานมากนัก ไม่อย่างนั้นจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำซากแบบนี้อีกเรื่อย ๆ

ถามว่าจะถึงขั้นมีการปฏิรูปหรือไม่ "ออมสิน" บอกว่า ต้องปฏิรูปแน่นอน เพียงแต่วิธีการจะทำอย่างไร ต้องหารือกันก่อน เพราะสังคมก็จับจ้อง อะไรที่ดี ก็ต้องทำหมด ซึ่งการรถไฟฯมีทรัพย์สินมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งใหญ่มาก ต้องทำอะไรที่เป็นขั้นเป็นตอน และจัดลำดับว่าอะไรสำคัญสุด

ส่วนเรื่องการพัฒนาที่ดิน จะต้องเห็นการพัฒนาแน่นอน ที่สำคัญจะต้องอุดรูรั่วด้วย เพราะที่ผ่านมา การรถไฟฯปล่อยปะละเลยจนเกิดการรั่วไหลเยอะมาก

นับจากนี้ "การรถไฟฯ" ต้องได้เห็นการเปลี่ยนแปลง จะมีอะไรที่ดีขึ้นแน่นอน !
Back to top
View user's profile Send private message
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 19/07/2014 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ปธ.บอร์ดใหม่ ยุคปฏิรูปการรถไฟ รื้อทุกเรื่อง-อุดรูรั่วประมูล-พัฒนาที่ดิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 19 กรกฏาคม 2557 เวลา 09:28:22 น.


ไม่ว่า "ออมสิน ชีวะพฤกษ์" อดีตซีอีโอไปรษณีย์ไทย ในวัย 63 ปี จะมานั่งเป็นประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพราะมีความสนิทชิดเชื้อกับปลัดกระทรวงคมนาคม "สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนร่วมงานที่ไปรษณีย์โทรเลขและเพื่อนร่วมชั้น วปอ.รุ่น 4514

แต่เมื่อได้รับความไว้วางใจทั้งจากคนคุ้นเคยและ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" หัวหน้า "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ทำให้เป็นที่คาดหวังและคาดหมายว่าประธานบอร์ดการรถไฟฯคนใหม่จะเป็น "อัศวินม้าขาว" เข้ามาช่วยกอบกู้ภาพลักษณ์องค์กรม้าเหล็กให้หลุดพ้นจากวงจรเดิม ๆ รวมถึงเรียกความเชื่อมั่นผู้ใช้บริการคืนมารวมถึงภารกิจสำคัญคือการปลดแอกภาระหนี้สิน และเร่งพลิกฟื้นสถานะการรถไฟฯที่ปัจจุบันว่ากันว่าขาดทุนสะสมร่วม 1 แสนล้านบาทให้กลับมามีกำไรเหมือนเช่นไปรษณีย์ไทยที่ "ออมสิน" ทำสำเร็จจนกลายเป็นผลงานชิ้นโบแดงมาแล้ว

"ออมสิน" บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภารกิจแรกที่จะทำทันทีคือเร่งแต่งตั้งรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯโดยเร็ว เพื่อให้การดำเนินงานเดินหน้าต่อไปได้

ซึ่งวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 จะนั่งหัวโต๊ะประชุมบอร์ดนัดแรก จะมีการพิจารณาเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษ จะคัดเลือกจากรองผู้ว่าฯ 7 คนมารับตำแหน่งแทนนายประภัสร์ จงสงวน เป็นการชั่วคราว ระหว่างรอการสรรหาผู้ว่าการคนใหม่ ซึ่งการสรรหาเป็นอีกสเต็ปที่ต้องเร่งรัดต่อไปเช่นกัน

"ต้องเร่งหาผู้บริหารที่จะมาขับเคลื่อนองค์กรต่อไป เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากคนใช้บริการรถไฟ จะต้องเร่งสร้างความมั่นคงขององค์กร ความปลอดภัย และความสะดวกสบายในการใช้บริการ"

ซึ่ง "ประธานบอร์ดการรถไฟฯคนใหม่" ยอมรับว่า การรถไฟฯเป็นองค์กรเก่าแก่ที่ก่อตั้งมา 117 ปี มีเรื่องราวมากมายที่ต้องเร่งดำเนินการ ไม่ว่าปัญหาบุคลากร ภาระหนี้สิน การบริหารจัดการเรื่องที่ดิน การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ และสิ่งสำคัญคือการจัดซื้อจัดจ้างที่จะต้องลงมาดูรายละเอียดให้มากขึ้น แต่ทุกอย่างคงไม่ใช่ในเร็ววันนี้

"เราทำงานในรูปของบอร์ด ไม่ใช่มีผมตัดสินใจคนเดียว ต้องหารือร่วมกับบอร์ดอีกหลาย ๆ ท่าน การรถไฟฯมีทุกเรื่องที่ต้องเร่งสังคายนา แต่เรื่องเร่งด่วนตอนนี้คือความเชื่อมั่นผู้ใช้บริการและความปลอดภัย"

ทั้งนี้ "ออมสิน" ยังบอกอีกว่า ด้วยความที่การรถไฟฯเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการบริหารงานแบบนี้มายาวนานร่วม 100 ปี เป็นการยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ทันทีแบบพลิกฝ่ามือ จะต้องค่อย ๆ สร้างความเข้าใจ แต่จะไม่ปล่อยเวลาให้เนิ่นนานมากนัก ไม่อย่างนั้นจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำซากแบบนี้อีกเรื่อย ๆ

ถามว่าจะถึงขั้นมีการปฏิรูปหรือไม่ "ออมสิน" บอกว่า ต้องปฏิรูปแน่นอน เพียงแต่วิธีการจะทำอย่างไร ต้องหารือกันก่อน เพราะสังคมก็จับจ้อง อะไรที่ดี ก็ต้องทำหมด ซึ่งการรถไฟฯมีทรัพย์สินมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งใหญ่มาก ต้องทำอะไรที่เป็นขั้นเป็นตอน และจัดลำดับว่าอะไรสำคัญสุด

ส่วนเรื่องการพัฒนาที่ดิน จะต้องเห็นการพัฒนาแน่นอน ที่สำคัญจะต้องอุดรูรั่วด้วย เพราะที่ผ่านมา การรถไฟฯปล่อยปะละเลยจนเกิดการรั่วไหลเยอะมาก

นับจากนี้ "การรถไฟฯ" ต้องได้เห็นการเปลี่ยนแปลง จะมีอะไรที่ดีขึ้นแน่นอน !


ผมคิดเล่นๆ เเต่ไม่ใช่เรื่องเล่น สมมติว่าปัญหาที่แท้จริงปัญหาของการรถไฟนอกเหนือจากระบบที่ล้มเหลว แต่มีอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ"ระบบบอร์ดบริหาร"ด้วยล่ะ? ขอตั้งข้อสังเกตนะครับ สมมติถ้าในบอร์ดเองผลประโยชน์ไม่ลงตัว ในภาวะขององค์กรอย่างการรถไฟที่มีปัญหาร้อยแปดรุมเร้าและต้องการActionที่ฉับไว แต่ผลประโยชน์กลุ่มบอร์ดไม่ลงตัว ดึงเชงกันไปเรื่อยๆ องค์กรไม่แย่เหรอครับ? โครงการไหนที่จำเป็นเร่งด่วนส่งผลกระทบกับกิจกรรมหลักขององค์กรกลับไม่เร่งดำเนินการ เช่น รถจักรล้อเลื่อนไม่พอ แทนที่จะหาทางใดก็ได้ให้เพียงพอ รถไฟกิจกรรมหลักก็คือการเดินรถไฟใช่ป่าวครับ? แต่กลับไปสร้างรั้วดักควายเป็นพันล้านได้ ห้องน้ำห้องเป็นล้านได้ ถามหน่อยครับว่ามันสร้างอะไรให้มันงอกเงยอะไรได้บ้าง? เชื่อเถอะครับถ้าสมมติว่ายังเป็นแบบนี้อยู่ต่อให้เอาเทพบริหารจากไหนมาเป็นผู้ว่าการรถไฟก็ไม่สามารถจะทำอะไรให้ดีขึ้นได้แบบเห็นเนื้อเห็นหนังหรอกครับ ตราบใดที่ผู้ว่าการไม่สามารถกำหนดทิศทางขององค์กรเองได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43884
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2014 1:05 pm    Post subject: Reply with quote

'ทีดีอาร์ไอ'จี้ปฏิรูปโครงสร้างร.ฟ.ท.
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE พิมพ์
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 15 กรกฏาคม 2557 เวลา 13:23 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,966 วันที่ 17 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาแนวทางการปฏิรูปโครงสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นระยะๆ แต่ในทางปฏิบัติไม่เคยมีรัฐบาลไหนกล้าผลักดันให้แผนดังกล่าวเป็นจริงได้ ส่งผลให้ปัญหาต่างๆ สะสมเป็นทวีคูณจนยากแก่การแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการบริการ เงินลงทุน หนี้สินเรื้อรังร่วมแสนล้านบาทที่ยังไร้ทางออก ล่าสุดกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์หนักเรียกร้องให้มีการยกเครื่อง ร.ฟ.ท.ขนานใหญ่หลังเกิดกรณีข่าวครึกโครมล่าสุดเด็กอายุ 13 ปี ถูกฆ่าข่มขืนบนรถไฟ แต่อีกด้านหนึ่งรัฐบาลกำลังทุ่มงบประมาณมหาศาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนส่งระบบรางครั้งใหญ่
ดร.สุเมธ องกิตติกุลดร.สุเมธ องกิตติกุล ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้สัมภาษณ์ "ฐานเศรษฐกิจ" ก่อนหน้านี้ว่า ถ้าหากรัฐบาลให้ความสำคัญของการลงทุนระบบรางภายใต้งบประมาณ 2 ล้านล้านบาทที่มีการบรรจุแผนเร่งด่วนลงทุนรถไฟรางคู่ 5 เส้นทางมูลค่า 1.16 แสนล้านบาท เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่นำเสนอต่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เตรียมคิกออฟ เป็นอันดับต้นๆ ก็ถือว่ามาถูกทาง แต่ถ้าไม่ปรับโครงสร้างองค์กรการบริหารจัดการก็จะไม่เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ได้

++ แนะให้เอกชนร่วมเดินรถ
"การรถไฟฯ จำเป็นต้องปรับโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรเพื่อให้สอดรับกับแผนลงทุนเพราะถ้าระบบรางดี ถ้าไม่ปรับปรุงองค์กรการบริการจะดีได้อย่างไร และทำอย่างไรให้เลี้ยงตัวเองได้ เพราะแม้จะเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับถนน แต่ถนนเป็นสาธารณะใครใช้ก็ได้ต่างจากรางรถไฟที่คนอื่นใช้รางไม่ได้เมื่อใช้น้อยก็ไม่คุ้ม" สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องขบคิด
ดร.สุเมธ ยังกล่าวถึงหลักคิดในการปรับโครงการสร้างองค์กรที่ทีดีอาร์ไอ ได้เคยศึกษาไว้ว่า ร.ฟ.ท.คงต้องแบ่งโครงสร้างหลักออกเป็น 1.กรมราง ทำหน้าที่กำกับดูแล สาขาการขนส่งทางราง และกรมการรถไฟ เพื่อรับผิดชอบการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนส่งระบบราง 2. การปฏิรูปร.ฟ.ท.เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้าง แยกส่วนงานโครงสร้างพื้นฐานและการเดินรถออกจากกัน และ 3. การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการรถไฟเพิ่มมากขึ้น เช่น การเดินรถ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานบางส่วน
ซึ่งแนวคิดดังกล่าว เหมือนโมเดลการบริหารจัดการรถไฟในต่างประเทศ รัฐจะเป็นผู้ลงทุนระบบรางแล้วให้ร.ฟ.ท.เดินรถ พร้อมกับเปิดให้เอกชนให้บริการด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น เรื่องการเดินรถ ร.ฟ.ท.จะเดินรถ ทั้งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า โดยถ้าให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในส่วนของการเดินรถสินค้า ซึ่งเอกชนอาจจะซื้อหัวรถจักรมาเองแล้ววิ่งบนรางของร.ฟ.ท.ได้ มีการแบ่งตารางเวลาการใช้ราง เดินรถล่วงหน้า 6 เดือนหรือ1 ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ รวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของการให้บริการขนส่งให้ดีขึ้น เพราะเป็นที่รู้ๆ กันดีการที่รถไฟจะซื้อหัวรถจักรแต่ละครั้งก็มีปัญหา
++ ย้ำปรับโครงสร้างก่อนลงทุน
ทั้งนี้แนวคิดในการปรับโครงสร้างนั้นควรจะมาก่อนการลงทุนพัฒนาระบบรางคู่ เพราะไม่เช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาซ้ำๆ คือสร้างรางเสร็จไม่มีหัวรถจักรมาวิ่งเหมือนเส้นทางรางคู่ ฉะเชิงเทรา แหลมฉบัง ส่วนแผนพัฒนาระบบรางคู่ถ้าทำสำเร็จก็จะช่วยในเรื่องระยะเวลาได้มากเป็นเท่าตัวไม่ต้องเสียเวลาสับหลีกขบวนต่อขบวน
อีกทั้งเมื่อร.ฟ.ท.จะมีการลงทุนครั้งใหญ่ ผู้บริโภคก็หวังว่าบริการน่าจะดีในอนาคต แต่ถ้าองค์กรไม่ได้เปลี่ยนแปลงก็ไม่มีความหมาย แต่เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า คสช.เห็นความสำคัญของการลงทุนมากกว่าการปรับโครงสร้างหรือไม่ซึ่งจริงๆ แล้วต้องปรับโครงสร้างก่อนลงทุน เพราะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่กล้าทำจะกระทบต่อฐานเสียงของประชาชน มีแรงต้านค่อนข้างสูง แต่เวลานี้ควรต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำอีกไม่นานประเทศไทยจะไม่มีรถไฟก็ได้ เพราะบริการไม่ดีพึ่งไม่ได้ อุบัติเหตุสูง ตัวอย่างง่าย ๆ ปิดเส้นทางภาคเหนือเป็นเดือนก็ไม่มีปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว ดร.สุเมธกล่าว
++ ไฮสปีดเทรนอาจไม่จำเป็น
ขณะที่การลงทุนรถไฟความเร็วสูงนั้นต้องคิดภายใต้ตรรกะที่ว่าทุกอย่างอยู่ภายใต้การบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ ถ้าหากรถไฟชานเมือง รถไฟหัวเมือง พิกลพิการ รถไฟความเร็วสูงก็ไม่สามารถเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะต้องขนผู้โดยสารจากรถไฟเหล่านี้เดินทางต่อไปขึ้นรถไฟความเร็วสูง รถไฟปกติต้องดีก่อนรถไฟความเร็วสูงก็จะเป็นสเต็ปต่อไป
ดร.สุเมธ ยังยกตัวอย่าง ผลการศึกษาของต่างประเทศ จะเป็นสเต็ปว่า รถไฟความเร็วสูงเกิดจากความต้องการรถไฟปกติสูงกว่าคาร์ปาซิตีที่จะรองรับรถไฟความเร็วสูงจะเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเพื่อลดความแออัด ฉะนั้นโจทย์ต่างกัน ถ้ารถไฟความเร็วสูงมาก่อน ความล้มเหลวน่าจะมาก รถไฟความเร็วสูงในเมืองไทยอาจจะใช้เวลา 5-10 ปีจากนี้ก็ยังไม่สาย หรือถ้ารถไฟรางคู่เกิดประสิทธิภาพ 120 กม.ต่อชม. รถไฟความเร็วสูงอาจไม่จำเป็น
ส่วนกรณีหนี้สินของร.ฟ.ท.มหาศาลร่วมแสนล้านบาทนั้นแบ่งเป็น 2 แบบคือ หนี้สินปัจจุบันจากการขาดทุนปีต่อปีที่สะสมอยู่ กับหนี้ในอนาคตที่ต้องจ่ายเป็นค่าบำเหน็จบำนาญพนักงาน ซึ่งถ้าจะตัดหนี้สินรัฐก็ต้องรับภาระไปทั้งหมดโดยการตัดเอาที่ดินของร.ฟ.ท. ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเดินรถไปสะสาง แล้วมีเงื่อนไขให้ร.ฟ.ท.ต้องบริหารงานให้มีกำไรหรือเลี้ยงตัวเองได้ ภายใต้โจทย์ห้ามก่อหนี้ใหม่ และร.ฟ.ท.ต้องสนใจคอร์บิสิเนสไม่ใช่ที่ดิน ผอ.วิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอกล่าว
เขายังย้ำอีกว่า การปรับโครงสร้างร.ฟ.ท.จะทำได้สัมฤทธิ์หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 ส่วนหลักต้องมีความตั้งใจที่จะดำเนินการอย่างจริงจังได้แก่

1. รัฐบาลหรือหน่วยงานสูงสุด
2. ประธานและกรรมการบริหารชุดใหม่และ
3. ต้องหาผู้ว่าการร.ฟ.ท. ที่มีความตั้งใจจริงในการเดินหน้าปรับโครงสร้าง
มิเช่นนั้นความหวังในเรื่องนี้คงเป็นจริงยาก !!!

//------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43884
Location: NECTEC

PostPosted: 21/07/2014 12:26 am    Post subject: Reply with quote

นครศรีฯ เชื่อมระบบรางศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง ผงะ! ร.ฟ.ท.เรียกค่าบริหารกว่า 18 ล้าน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กรกฎาคม 2557 14:58 น.

นครศรีฯ เชื่อมระบบรางศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง ผงะ! ร.ฟ.ท.เรียกค่าบริหารกว่า 18 ล้าน
นครศรีธรรมราช - หน.สำนักงาน จ.นครศรีธรรมราช ทำหนังสือหารือการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากพบว่า ร.ฟ.ท.คิดค่าบริหารจัดการการเชื่อมต่อระบบรางรถไฟเข้าศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง กว่า 18 ล้านบาท ทั้งที่เมื่อโครงการแล้วเสร็จต้องโอนมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้การรถไฟฯ

นายสมเกียรติ จันหนู หัวหน้าสำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ระบุถึงโครงการก่อสร้างรางรถไฟเข้าโครงการศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง โดยมีผู้แทนเทศบาลเมืองทุ่งสง สารวัตรแขวงบำรุงทางทุ่งสง การรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้รับจ้างเข้าร่วมประชุม

นายสมเกียรติ กล่าวว่า เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัด อัศวอังกูร ซึ่งเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างรางรถไฟเข้าโครงการศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ในวงเงินงบประมาณ 30,819,000 บาท ซึ่งเป็นงบรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ตามโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง (Southern of Cago Distribution Center-Thungsong) เพื่อเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าผ่านระบบราง รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของจังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคใต้

รวมทั้งเพื่อรองรับสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย หรือ IMT-GT ซึ่งผู้รับจ้างได้ส่งมอบงานงวดที่ 1, 2, 3 และ 5 เป็นเงิน 20,032,350 บาทแล้ว แต่เหลืองวดงานที่ 4 และ 6 ซึ่งได้สิ้นสุดสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2557 แต่คณะกรรมการตรวจการจ้างยังไม่สามารถลงนามตรวจรับงานจ้างได้ เนื่องจากต้องรอการอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการเชื่อมต่อระบบรางเพื่อทดสอบระบบรางว่ามีความแข็งแรง และได้มาตรฐานหรือไม่ก่อน

นายศักดิ์ มาศวิวัฒน์ สารวัตรแขวงบำรุงทางทุ่งสง การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ยังไม่ได้อนุมัติให้เชื่อมต่อระบบรางรถไฟจากชุมทางทุ่งสง กับศูนย์กระจายส่งค้าทุ่งสง ซึ่งในการบริหารจัดการต้องมีค่าใช้จ่าย 3 ส่วน คือ ฝ่ายอาณัติสัญญาณ เป็นเงิน 550,000 บาท ฝ่ายการเดินรถคิดค่าบริหารจัดการเป็นเงิน 18 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญา 30 ปี และฝ่ายช่างโยธา 28,700 บาท

ขณะที่ นายสมเกียรติ จันหนู หัวหน้าสำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ระบุว่า ตามระเบียบวิธีการจัดทำงบประมาณ จังหวัดไม่สามารถตั้งงบพัฒนาจังหวัด เพื่ออุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจได้ แต่โครงการก่อสร้างรางรถไฟดังกล่าว เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทางจังหวัดจะต้องทำเรื่องโอนมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ไปบริหารจัดการอยู่แล้ว ดังนั้น การรถไฟฯ ไม่น่าจะมาเรียกเก็บค่าบริหารจัดการในส่วนของการรถไฟฯ อีก จึงขอให้แขวงบำรุงทางทุ่งสง ทำหนังสือหารือไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43884
Location: NECTEC

PostPosted: 21/07/2014 12:28 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด ร.ฟ.ท.นัดถกแผนฟื้นฟูกิจการ หลังประสบปัญหาขาดทุนหนัก


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 กรกฎาคม 2557 13:08 น.


บอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. นัดหารือต่อสัปดาห์ เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของ ร.ฟ.ท. หลังประสบปัญหาขาดทุนหนักกว่าแสนล้านบาท โดยจะหารือถึงแนวทางให้ภาครัฐเข้ามาช่วยแบกรับภาระหนี้ของ ร.ฟ.ท. ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/07/2014 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

ตรวจ รฟท.ใช้งบปรับปรุงห้องสุขา ตอน 1
ช่อง 7 สี 21 ก.ค 2014 เวลา 10:30 AM

ห้องข่าว 7 สี - คอลัมน์หมายเลข 7 ต้านทุจริตตามติดกลโกง วันนี้ตรวจสอบโครงการปรับปรุงห้องสุขาของการรถไฟแห่งประเทศไทย ติดตามจากคุณสมโภชน์ โตรักษา

"โครงการปรับปรุงห้องสุขาของการรถไฟแห่งประเทศไทย คอลัมน์หมายเลข 7 เคยตรวจสอบโครงการนี้เกือบ 2 ปีที่แล้วหลังได้รับข้อมูลจากชาวบ้านและเจ้าหน้าที่การรถไฟ ขอให้ช่วยตรวจสอบความโปร่งใส และความคุ้มค่าการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ล่าสุดมีการทบทวนแก้ไขโครงการนี้แล้ว"

คอลัมน์หมายเลข 7 ลงพื้นที่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สุ่มตรวจสอบที่สถานีรถไฟ 3 จังหวัด คืออยุธยา สระบุรี และนครราชสีมา พบข้อมูลไม่ต่างจาก 2 ปีที่ เคยตรวจสอบโครงการส้วมสดใสรถไฟสุขสันต์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. นั่นคือ ยังมีการใช้เงินแผ่นดินสร้างห้องสุขาเกินความจำเป็น ทั้งที่สตง.สรุปเบื้องต้นตอนนั้นว่า โครงการนี้ใช้จ่ายเงินแผ่นดินอย่างฟุ่มเฟือย จึงส่งหนังสือถึงผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย วันที่ 23 สิงหาคม 2555 ขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและทบทวนโครงการนี้

ล่าสุด จากการตรวจสอบที่สถานีรถไฟอยุธยา พบว่า มีห้องสุขาใหม่รวม 8 ห้อง ก่อสร้างในปี 2553 ใช้งบประมาณไทยเข้มแข็งรวมกว่า 8 แสนบาท โดยนายสถานีรถไฟอยุธยาซึ่งพึ่งมารับหน้าที่ ยอมรับว่า ห้องสถานีนี้มีห้องสุขามากเกินความจำเป็น เพราะห้องสุขาเก่า 8 ห้องยังใช้งานได้ดีเพียงพอต่อการใช้งาน มีความสะอาดเพราะให้เอกชนรับผิดชอบทำความสะอาด จึงคิดค่าใช้บริการครั้งละ 3 บาท เพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าเช่าให้การรถไฟเดือนละ 3 หมื่นบาท ดังนั้น จึงรู้สึกเสียดายควรนำเงินแผ่นดินส่วนนี้ ไปปรับปรุงปูพื้นกระเบื้องใหม่ให้ที่สถานีน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า

สถานีรถไฟผาเสด็จ จังหวัดสระบุรี คือจุดหมายที่ 2 ที่เราไปตรวจสอบ พบว่าสถานีนี้มีความสวยงาม มีห้องสุขาที่สร้างใหม่ตามมาตรฐานกรมอนามัย หรือ HAS ใช้เงินหลายแสนบาทจากงบประมาณไทยเข้มแข็งปี 2553 ซึ่งนายสถานีรถไฟผาเสด็จ บอกว่าปกติแต่ละวันสถานีนี้ไม่มีผู้โดยสารมาซื้อตั๋วเพื่อขึ้นรถไฟ นั่นเพราะสถานีผาเสด็จเป็นแค่สถานีทางผ่าน มีภารกิจหลักเพื่อการเดินรถไฟและหลีกขบวนรถไฟ แต่ละวันมีขบวนรถไฟขึ้นและล่องผ่านสถานีกว่า 50 เที่ยว แต่จะมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวที่ผาเสด็จและแวะมาถ่ายภาพที่สถานี ฝ่ายโยธาการรถไฟจึงตัดสินใจให้สร้างห้องสุขาใหม่แทนห้องสุขาเก่าที่ทรุดโทรม เพื่อรองรับให้บริการกับนักท่องเที่ยว

สถานีสุดท้ายของการลงพื้นที่ตรวจสอบครั้งนี้ คือสถานีรถไฟคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา พบข้อมูลว่า ห้องสุขาใหม่ก่อสร้างตั้งแต่ปีที่แล้ว ใช้เงินแผ่นดินกว่า 4 แสนบาท น่าสังเกตว่าห่างออกไปไม่เกิน 5 เมตร มีห้องสุขาอยู่แล้วแต่ปิดการใช้งานดูจากสภาพภายนอกห้องสุขาเก่าใช้วัสดุก่อสร้างที่มั่นคงแข็งแรง ซึ่งผู้ช่วยนายสถานีรถไฟคลองไผ่ ให้ข้อมูลว่า การสร้างห้องสุขาใหม่เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหารการรถไฟรวมทั้งห้องสุขาเก่าสร้างอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลคลองไผ่

"การตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดิน เพื่อให้โครงการปรับปรุงห้องสุขาของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีความโปร่งใสและเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด การตรวจสอบเรื่องนี้ยังไม่จบ ตามกันต่อวันพรุ่งนี้"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/07/2014 9:46 pm    Post subject: Reply with quote

กองปราบ-ตร.รถไฟเดินหน้าคืนความเชื่อมั่น ปชช.
เดลินิวสื วันจันทร์ 21 กรกฎาคม 2557 เวลา 20:50 น.

ตร.รถไฟ เปิดโครงการ "โปลิศอินเทรน" ป้องเหตุอาญชากรรมบนรถไฟ พร้อมนำคอมมาโดร่วมดูแล เริ่มนำร่องรถไฟด่วนขบวนนอนสายเหนือ กทม.-เชียงใหม่ หากผลตอบรับจากประชาชนดี เตรียมขยายลงสายใต้เพิ่ม

Click on the image for full size

เมื่อวันที่21ก.ค. ที่บริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กทม. พ.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รรท.ผกก.ปพ.บก.ป. พร้อมด้วย พ.ต.ท.ปิยรัช สุภารัตน์ สว.สรฟ.ศิลาอาสน์ ร่วมสนธิกำลังระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกก.ปพ.บก.ป. เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.รฟ. และเจ้าหน้าที่ รฟท. กว่า30นาย เปิดโครงการ“โปลิศอินเทรน”(Police in train) เพื่อป้องกันปราบปรามเหตุอาชญากรรมบนรถไฟ

พ.ต.ท.ต่อศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับโครงการดังกล่าวนั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อปราบปรามและป้องกันเหตุอาชญากรรม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการของการรถไฟ ทั้งนี้ทางชุดคอมมานโดของกองบังคับการปราบปรามได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการรถไฟ เพื่อตั้งชุดตรวจร่วมโดยจัดกำลังพลประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ชุดคอมมานโด2นายและเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟ1นาย รวมทั้งพนักงานของการรถไฟอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะประจำในแต่ละขบวน อีกทั้งขณะระหว่างการเดินทางนั้นเจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าวนั้นจะเดินตรวจตราดูแลความเรียบร้อยบนขบวนรถอีกด้วย ทั้งนี้ในส่วนของการดำเนินการนั้นจะเริ่มจากรถไฟด่วนสายเหนือ (กทม.-เชียงใหม่) เนื่องจากเป็นขบวนนอน เพื่อประเมินผลในระยะ10วัน หากผลจากการตอบรับจากประชาชนดีก็จะขยายการตรวจตราในส่วนของรถไฟชุมทางสายใต้ (กทม.-หาดใหญ่)เพิ่มขึ้นอีก..
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47084
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/07/2014 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

ตรวจ รฟท.ใช้งบปรับปรุงห้องสุขา ตอน 2
ช่อง 7 สี คอลัมน์หมายเลข 7 - 22 ก.ค 2014 เวลา 11:36 AM

ห้องข่าว 7 สี - คอลัมน์หมายเลข 7 ต้านทุจริตตามติดกลโกง วันนี้ต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ กรณีตรวจสอบการใช้จ่ายเงินแผ่นดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อปรับปรุงห้องสุขาให้ได้ตามมาตรฐานกรมอานามัย ติดตามจากคุณสมโภชน์ โตรักษา

"คอลัมน์หมายเลข 7 เมื่อวานนี้เสนอข้อมูลการตรวจห้องสุขาที่สถานีรถไฟอยุธยา สถานีรถไฟผาเสด็จจังหวัดสระบุรี และสถานีรถไฟคลองไผ่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีการใช้จ่ายเงินแผ่นดินจำนวนมากเพื่อก่อสร้างห้องสุขาใหม่

นายสถานีบางแห่งบอกว่าห้องสุขามีมากเกินความจำเป็น บางสถานีแทบไม่มีผู้โดยสาร หรือบางสถานีมีห้องสุขาอยู่แล้ว แต่ต้องสร้างห้องสุขาใหม่ด้วยเหตุผลหลายปัจจัย ที่สำคัญคือนายทุกสถานีให้เหตุผลตรงกันว่า ต้องสร้างห้องสุขาใหม่เพราะคือนโยบายของผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย"

โครงการปรับปรุงห้องสุขาของการรถไฟ ตามนโยบายของผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2551 เพื่อให้ห้องสุขาบนรถไฟและสถานีรถไฟทั่วประเทศ มีตามมาตรฐานกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขหรือ HAS คือถูกหลักสุขาภิบาลมีปริมาณเพียงพอ และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ

นโยบายนี้โดยหลักการถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะห้องสุขาก็ถือเป็นหน้าตาของสถานีรถไฟแต่ละแห่งเช่นกัน แต่วิธีปฏิบัติเพื่อให้ห้องสุขาถูกสุขลักษณะนั้น ผู้บริหารการรถไฟยอมรับว่า การปรับปรุงไม่ได้หมายความว่าต้องสร้างห้องสุขาใหม่ยกเว้นที่เก่าหรือทรุดโทรมอย่างมาก

การตรวจสอบเรื่องนี้ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่าการใช้จ่ายเงินแผ่นดินเพื่อปรับปรุงห้องสุขาของการรถไฟ มีความคุ้มค่ามากแค่ไหน และได้ดำเนินการตามนโยบายที่ผู้บริหารการรถไฟชี้แจง หรือไม่ คอลัมน์หมายเลข 7 ขอนำภาพเหตุการณ์และข้อมูลที่ตรวจสอบโครงการนี้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ สตง.ในปี 2555 ตามที่ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่การรถไฟ ส่งข้อมูลร้องเรียนให้เราช่วยตรวจสอบ

เริ่มที่ กรณีการรถไฟใช้จ่ายเงินแผ่นดินกว่า 16 ล้านบาท เพื่อจ้างเอกชนด้วยวิธีพิเศษ ให้ปรับปรุงห้องสุขาบนรถไฟชั้นที่ 1 จำนวน 19 โบกี้ๆ ละ 2 ห้องค่าจ้าง 825,000 บาท ทั้งที่ห้องสุขาเก่ายังใช้งานได้ดีหากหมั่นทำความสะอาด

ขณะที่การปรับปรุงห้องสุขาที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ เช่นสถานีรถไฟ3 แห่งในจังหวัดลำปาง อย่างสถานีแม่จาง ได้รับงบประมาณไทยเข้มแข็งเกือบ 1.5 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสถานีและสร้างห้องสุขาใหม่ ทั้งที่เป็นแค่ทางผ่านแต่ละวันมีชาว
บ้านมารอขึ้นรถไฟ 4-5 คน

ส่วนสถานีแม่เมาะ ได้รับงบประมาณกว่า 1 ล้านบาท ให้สร้างห้องสุขาใหม่ เพื่อรองรับผู้โดยสารเฉลี่ย 20 คนต่อวัน จะเห็นได้ว่า สถานีแม่จางและสถานีแม่เมาะ การใช้เงินแผ่นดินเพื่อสร้างห้องสุขาใหม่ อาจเกินความจำเป็น และไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ที่ไปใช้บริการรถไฟ

แต่ที่สะท้อนภาพการใช้เงินแผ่นดินได้อย่างชัดเจน คือที่สถานีรถไฟนครลำปาง ใช้งบประมาณไทยเข้มแข็งถึง 1 ล้าน 8 หมื่นบาท สร้างห้องสุขาใหม่ 8ห้อง ทั้งที่ห้องสุขาเก่าอยู่ห่างกันเพียงต้นมะขามกั้น มีสภาพดียังใช้งานได้และมีจำนวนพอต่อความต้องการใช้งาน แต่ปิดให้บริการกว่า 2 ปีแล้ว โดยนายสถานียอมรับว่าอยากทักท้วง แต่ไม่มีสิทธิ์เพราะเป็นนโยบายของผู้บริหารการรถไฟ

ผลจากการตรวจสอบโครงการนี้ซึ่งผ่านมาเกือบ 2 ปีแล้ว ครั้งนั้นผู้บริหาร สตง. สรุปว่าเบื้องต้นว่า การดำเนินโครงการนี้ ถือว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยใช้จ่ายเงินแผ่นดินอย่างไม่คุ้มค่า เพราะการปรับปรุงห้องสุขาให้ถูกสุขลักษณะ ทำได้โดยหมั่นทำความสะอาด ไม่จำเป็นต้องสร้างห้องสุขาใหม่ ยกเว้นที่เก่าและชำรุดจริงๆก็จะช่วยประหยัดการใช้จ่ายเงินแผ่นดินได้ นอกจากนี้ สตง.ตั้งข้อสังเกตุว่าค่าจ้างสร้างห้องน้ำใหม่ เหตุใดจึงมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงส่งหนังสือถึงผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยในวันที่ 23 สิงหาคม 2555 ขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและให้ทบทวนโครงการนี้

"การตรวจสอบโครงการปรับปรุงห้องน้ำของการรถไฟยังไม่จบ วันพรุ่งนี้ติดตามการชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องนี้ จากผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 229, 230, 231 ... 487, 488, 489  Next
Page 230 of 489

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©