Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312005
ทั่วไป:13621878
ทั้งหมด:13933883
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 233, 234, 235 ... 487, 488, 489  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43894
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2014 12:16 am    Post subject: Reply with quote

คำเตือนถึงคนที่คิดจะทำเรื่องรถไฟ!
บ้านเกิดเมืองนอน
โดย สิริอัญญา
แนวหน้า
6 สิงหาคม 2557

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ได้ชี้นำไว้อย่างถูกต้องแล้วว่า ระบบรถไฟของประเทศไทย จะต้องมีขนาดรางกว้าง 1.435 เมตร เพื่อให้เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้

หลังจากนั้นผู้บริหารรถไฟยังคงเดินหน้าที่จะเปิดประมูลทำรถไฟทางคู่ มีความกว้างของราง 1 เมตร เหมือนเดิมส่วนหนึ่ง และจะทำรถไฟความเร็วสูงด้วย ซึ่งแน่นอนว่าในส่วนรถไฟความเร็วสูงนั้น จะต้องใช้รางกว้าง 1.435 เมตร ไม่มีทางที่จะใช้รางกว้าง 1 เมตรได้

ก็ขอประกาศให้รู้โดยทั่วกันว่าใครที่คิดจะทำรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง โดยใช้รางกว้าง 1 เมตรนั้นคือ ผู้ทรยศชาติ ที่มุ่งทำร้ายชาติบ้านเมืองไปอีกนับร้อยปี และจะต้องรีบหยุดยั้งแผนงานหรือการกระทำนั้นโดยพลันก่อนที่จะเสียหายไปมากกว่านี้

หลังจากมีข่าวคราวเรื่องการพัฒนารถไฟดังกล่าวก็มีเสียงค่อนขอดจากนักการเมืองว่า งบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการทำรถไฟทางคู่นั้นแพงเกินไป เพราะเป็นราคาใกล้เคียงกับการทำรถไฟความเร็วสูง

คือมีราคากิโลเมตรละประมาณ 500 ล้านบาทเศษ ซึ่งใครฟังแล้วก็ย่อมมีความเห็นคล้อยตามว่าถ้าหากงบประมาณในการทำรถไฟทางคู่ใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงแล้ว ราคานั้นก็ต้องแพงกว่าปกติอย่างแน่นอน และต้องรีบแก้ไขเสียให้ทันท่วงที

ทว่าความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย สิ่งที่พูด ที่เถียงกันเป็นเพียงเรื่องเดียว ส่วนเดียวของระบบรถไฟความเร็วสูงเท่านั้นคือ พูดกันแต่เรื่องงบประมาณการทำรางรถไฟ ไม่ได้รวมถึงระบบรถไฟความเร็วสูงทั้งระบบเลย และถึงวันนี้ก็ไม่เคยได้ยินได้ฟังใครพูดถึงระบบรถไฟความเร็วสูงเลย

ที่พูดกันมีแต่เรื่องของการทำรางรถไฟความเร็วสูงกันทั้งนั้น และถ้าขืนทำไปตามนั้นก็เป็นอันแน่นอนว่าหลังจากประเทศไทยได้ใช้เงินมหาศาลเพื่อการสร้างรถไฟความเร็วสูงขึ้นในประเทศ แต่ในที่สุดก็จะได้แค่รางรถไฟความเร็วสูง จะไม่มีรถไฟความเร็วสูงให้ได้โดยสารกันเลย

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ก็เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่ารถไฟความเร็วสูงนั้น มันไม่เหมือนกับเรือลำหนึ่งที่ออกจากท่าแล้วก็วิ่งไปได้ และไม่เหมือนกับรถไฟที่มีใช้สอยกันอยู่ที่มีรางมีขบวนรถแล้วก็วิ่งไปได้ ไม่เหมือนกับสถานีรถไฟที่เห็นกันอยู่ที่มีนายสถานีชูธงเขียวธงแดงเป็นสัญญาณให้รถไฟเข้า-ออกสถานี

รถไฟความเร็วสูงนั้นเป็นระบบที่ต้องว่ากันทั้งระบบ จะพูดกันแต่เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งย่อมไม่ได้ ดังเช่นที่พูดกันอยู่ในบ้านเมืองเราในทุกวันนี้ พูดไปพูดมาก็จะได้แต่รางรถไฟความเร็วสูงเท่านั้น

สิ่งที่เรียกว่ารถไฟความเร็วสูงนั้น มีระบบที่ครบถ้วน ครบวงจร แตกต่างจากระบบรถไฟทั่วไปดังนี้

ประการแรก ต้องมีระบบรางรถไฟเฉพาะ ทั้งขนาดและคุณสมบัติของรางรวมทั้งความกว้างของรางที่จะวาง พร้อมทั้งฐานรางรถไฟ ซึ่งจะมีทั้งแบบที่วางบนพื้นราบ วางลอยฟ้า และวางลอดอุโมงค์หรือใต้ดิน ซึ่งทั้งตัวรางและเทคโนโลยีในการวางรางนั้นเป็นระบบเฉพาะของรถไฟความเร็วสูง

ประการที่สอง ต้องมีระบบหัวรถจักรและโบกี้รถไฟความเร็วสูง ที่มีเทคโนโลยีเฉพาะและมีแบบแผนเฉพาะมีคุณสมบัติเฉพาะ ทั้งต้องมีจำนวนที่แน่นอนในการวิ่งขาไปและการวิ่งขากลับตามช่วงกำหนดเวลาการเดินรถแต่ละเที่ยว ซึ่งล้วนมีเทคโนโลยีสูงเฉพาะทั้งนั้น

ประการที่สาม ต้องมีระบบสถานีรถไฟความเร็วสูงที่เป็นแบบเฉพาะทำนองเดียวกับท่าอากาศยาน แต่มีความเชื่อมโยงกันทุกสถานี ที่ผิดพลาดไม่ได้เลยทั้งขาเข้าและขาออกโดยเฉพาะการบริหารสถานีรถไฟความเร็วสูงนั้น ยังมีการบริหารแบบห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าสารพัดชนิดรวมอยู่ด้วยที่เชื่อมโยงกันทั้งประเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์และเชื่อมโยงกับขบวนรถทุกขบวนด้วย

ประการที่สี่ ต้องมีระบบการเดินรถที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพราะไม่สามารถใช้นายสถานีไปโบกธงเขียวแดงได้อีกทุกอย่างต้องเป็นไปตามระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดวางไว้ และมีความซับซ้อนยิ่งกว่าการบริหารแอร์พอร์ตลิ้งค์นับร้อยเท่าซึ่งแค่แอร์พอร์ตลิ้งค์ที่ลงทุนเพียงแสนล้านบาท เราก็บริหารไม่เป็น ถึงกับต้องไปจ้างต่างประเทศมาบริหารถึงปีละ 400 ล้านบาท แล้วขาดทุนป่นปี้อยู่ในทุกวันนี้

ประการที่ห้า ต้องมีระบบไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่เพียงพอต่อการใช้งานและกระแสไฟไม่ตก เป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าของดาวเทียมที่โคจรอยู่ในอวกาศ ไม่ใช่ใช้กระแสไฟเดินสายตามข้างถนนแบบที่นึกกันเอาเอง

ประการที่หก ต้องมีระบบการจำหน่ายตั๋วและการเก็บเงินของทุกสถานีทั่วประเทศที่เชื่อมโยงกับขบวนรถและสถานีปลายทาง เพื่อกำกับควบคุมในการจัดเก็บค่าโดยสารแต่ละสถานีที่แตกต่างกันไป

ประการที่เจ็ด ต้องมีระบบการเงินในการลงทุนเพราะต้นทุนในการทำรถไฟความเร็วสูงเฉพาะรางก็กิโลเมตรละ 1,000 ล้านบาทแล้ว แต่ประเทศไทยโชคดีที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงจัดที่จัดทางเผื่อไว้ให้แล้ว จึงสามารถลดลงเหลือเพียงประมาณ 500 ล้านบาทเท่านั้น

ก็ขอเตือนมายังใครก็ตามที่คิดจะทำรถไฟความเร็วสูงที่จะต้องคำนึงถึงระบบที่เกี่ยวข้องทั้งเจ็ดระบบข้างต้นนี้ หาไม่แล้วก็จะได้แต่รางอย่างเดียวให้ได้อายกันในวันข้างหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 07/08/2014 11:39 am    Post subject: Reply with quote

^^^
มันเป็นตลกร้ายของระบบราชการไทย เมื่อมีโครงการอะไรที่บอลเข้าทางปืน แทนที่จะคิดอ่านวางแผนโครงการอะไรที่สังคมได้ประโยชน์ เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ประหยัดงบประมาณแผ่นดินที่สุด กลับละเลย แต่จะชกงบแบบที่ใช้งบเยอะมากที่สุดเพื่อค่าคอมและเปอร์เซ็นต์ที่สูงตามไปด้วย เรียกสั่นง่ายว่า"พลาญ"ให้ได้มากที่สุด เห็นจีนเค้าสร้างรถไฟความเร็วสูงสร้างเอาๆ เค้าไม่โง่นะครับ ไม่ใช่มวยวัดแบบพี่ไทยนะครับ บริษัทสร้างรถไฟสัญชาติจีนแดงเกือบทั้งหมด รัฐบาลเป็นเจ้าของนะครับ

แม้แต่แนวคิดในการบริหารในการรถไฟเอง ถ้าคิดจะทำขบวนเชิงพานิชย์ก็ต้องคิดแบบธุรกิจซิครับ ถ้าเอาหลักรัฐศาสตร์ หลักสังคมสงเคราะห์มาบริหารเพื่อการพานิชย์ แค่คิดก็เจ๊งแล้วละครับ ตัวอย่างเช่น รถบางแบบที่เคยพ่วงมีวิ่งในสายหนึ่ง คนจองเกือบเต็มตลอด แต่วันดีคืนดีก็เอาแบบรถดังกล่าวออก ไปพ่วงขบวนอื่นอีกสายหนึ่ง รถตู้นั้นกลับว่าง แทบไม่มีคนเลย เข้าใจครับว่าคนจัดรถมองเรื่องความเหมาะสม แล้วเหมาะสมในมุมไหน? จากข้อมูลข้างต้น ซึ่งขบวนรถทั้ง2ที่เอามาเทียบกันเป็นขบวนรถเพื่อการพานิชย์ทั้งคู่ ถ้าคิดเพื่อความเหมาะสมแบบนี้ก็เหมาะสมมั้ยละครับที่ต้องเจอกับการขาดทุนชั่วนาตาปี?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43894
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2014 11:59 am    Post subject: Reply with quote

พฐ.ตรวจรถไฟด่วนพิเศษทักษิณ หลังถูกมือดีฉกทรัพย์ผู้โดยสารยกโบกี้ ไม่ยันชัดถูกวางยา
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 6 สิงหาคม 2557 20:12 น.

“จรัมพร” นำทีม จนท. กองพิสูจน์หลักฐาน ตรวจโบกี้รถไฟด่วนพิเศษทักษิณ กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก หลังถูกมือดีฉกทรัพย์ผู้โดยสาร 9 ราย พร้อมนำผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าห่ม ตรวจหาสารเคมีตกค้าง ยังไม่ยืนยันว่ามีการวางยาสลบ รอผลตรวจร่างกายผู้โดยสาร

วันนี้ (6 ส.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น. ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) บริเวณชานชาลาที่ 4 พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษา (สบ 10) พร้อมด้วย พล.ต.ต.ธนังค์ บุรานนท์ ผู้บังคับการตำรวจรถไฟ (ผบก.รฟ.) นำเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานกลาง เข้าตรวจสอบหาวัตถุพยานและเก็บหลักฐานเพิ่มเติมภายในโบกี้รถไฟตู้นอนคันที่ 10 ขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณ ที่ 37 กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส หลังเกิดเหตุคนร้ายลักทรัพย์ผู้โดยสารบนโบกี้รถไฟ เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยโบกี้ที่เกิดเหตุ มีผู้โดยสารประมาณ 32 คน จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 40 ที่นั่ง และมีผู้เสียหายที่ถูกลักทรัพย์ไปจำนวน 9 คน ส่วนทรัพย์สินที่คนร้ายได้ไปในครั้งนี้ ประกอบด้วย โทรศัพท์มือถือยี่ห้อต่างๆ จำนวน 10 เครื่อง เงินสด 2,500 บาท และอุปกรณ์โทรศัพท์จำนวนหนึ่ง โดยใช้เวลาในการตรวจประมาณ 1 ชั่วโมง

พล.ต.อ.จรัมพร กล่าวภายหลังการตรวจสอบ ว่า ในวันนี้เป็นการตรวจหาวัตถุพยานต่างๆ เนื่องจากผู้เสียหายสงสัยว่ามีการวางยานอนหลับหรือไม่ โดยจะตรวจหาสารเคมีตกค้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีการนำผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าห่ม จากโบกี้ที่เกิดเหตุทั้งหมด 32 ชุด จาก 40 ชุด ตามจำนวนผู้โดยสาร ไปตรวจสอบ ซึ่งต้องใช้เวลาสักระยะในการตรวจหาสารเคมี นอกจากนี้ จะมีการสอบปากคำผู้เสียหายในขบวนรถ รวมทั้งตรวจร่างกายเพื่อเก็บตัวอย่างสารเคมีที่อาจมีตกค้างในร่างกายด้วย โดยต้องพิจารณาคำให้การถึงกิจกรรมของผู้โดยสารที่ทำในระหว่างการเดินทางด้วย เนื่องจากหากมีการใช้สารเคมีทำให้หลับ เช่น การรมยา หรือ ยานอนหลับ น่าจะเป็นการกระทำรายบุคคลมากกว่า

พล.ต.อ.จรัมพร กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเหตุดังกล่าวมีการวางยาหรือไม่ ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง และคาดว่าผู้ก่อเหตุน่าจะลงมือในช่วงเวลาประมาณ 03.00 - 06.00 น. ขณะที่รถไฟขบวนดังกล่าววิ่งมาระหว่างสถานีสุราษฎร์ธานี ถึง สถานีทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยผู้ก่อเหตุอาจจะแฝงตัวมากับขบวนรถไฟ แต่ยังไม่สามารถชี้ชัด หรือยืนยันได้ว่าเป็นการวางยาผู้โดยสารทั้งตู้หรือไม่ ต้องตรวจร่างกายของผู้โดยสารอย่างละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ ผู้โดยสารส่วนใหญ่ไปลงที่สถานีปลายทางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนผู้ก่อเหตุนั้น คาดว่าหลังก่อเหตุน่าจะลงที่ระหว่างสถานีสุราษฎร์ธานี หรือ ชุมทางทุ่งสง

//----------------------------

เพิ่มความเข้มตรวจรถไฟใต้ หลังทรัพย์สินผู้โดยสารหาย ทางคดียังไร้วี่แวว (ชมคลิป)

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 สิงหาคม 2557 11:25 น.


ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลความปลอดภัยขบวนรถไฟสายใต้ทั้งขบวนท้องถิ่น และสายยาวกรุงเทพฯ ขณะที่ตำรวจทุ่งสงรับคดีโดยที่ผู้เสียหายไม่ต้องไปแจ้งความเพิ่ม ส่วนการติดตามหาตัวคนร้ายยังไร้เบาะแส

วันนี้ (7 ส.ค.) ความคืบหน้าการสอบสวนเหตุลักทรัพย์ผู้โดยสารบนขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณที่ 37 กรุงเทพฯ - สุไหงโก-ลก เมื่อวันที่ 5 ที่ผ่านมา ในส่วนของคดีนี้ทางพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ได้รับคดีเอาไว้แล้ว หลังจากที่ทางนายสถานีทุ่งสงได้เข้าแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน โดยที่ผู้เสียหายทั้ง 9 รายที่ทรัพย์สินสูญหายไม่ต้องเข้าแจ้งความเพิ่มเติมก็ได้

และขั้นตอนหลังจากนี้ ทางพนักงานสอบสวนจะเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาทำการสอบสวนเพิ่มเติม ขณะผลการสืบสวนแกะรอยโทรศัพท์มือถือทั้ง 9 เครื่องยังไม่มีความคืบหน้า และยังไม่ได้เบาะแสของผู้ต้องสงสัยแต่อย่างใด

ส่วนบรรยากาศที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ หลังเกิดเหตุลักทรัพย์ผู้โดยสารขึ้น นายสุริยัณน์ ชีวนีชชากร นายสถานีรถไฟหาดใหญ่ เปิดเผยว่า ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารดูแลทรัพย์สินของตัวเองระหว่างที่เดินทางด้วยรถไฟทุกขบวน ทั้งขบวนท้องถิ่น และขบวนสายยาว พร้อมให้เจ้าหน้าที่บนขบวนรถปฏิบัติตามมาตรการของการรถไฟที่ได้ออกกฎระเบียบเพิ่มเติมมาบังคับใช้ ทั้งการตรวจสอบผูู้โดยสาร และการตรวจตู้โบกี้หลังเที่ยงคืนจนถึงตี 5 ทุก 1 ชั่วโมง

// ----

น่ากลัวว่าจะใช้วิธีการปล้นสะดมโดยการรมยาที่ทำจากหนังจงโคร่ง (คางคกจำพวกหนึ่ง) ให้หลับก่อนจะโดนปล้น หรือ ลักทรัพย์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43894
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2014 2:51 pm    Post subject: Reply with quote

ปัดฝุ่นรถไฟเชื่อมเพื่อนบ้านเปิดหวูดกัมพูชา/ตอกหมุดม.ค.58
เรื่องเด่นวันนี้
สยามธุรกิจ
ฉบับที่ 1497 ประจำวันที่26 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2557

พลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่การขนส่งทางรางเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชา ได้วางศิลาฤกษ์สะพานรถไฟระหว่างไทย-กัมพูชา บริเวณสะพานรถไฟข้ามคลองลึก-ปอยเปต ประเทศกัมพูชา ต่อยอดเปลี่ยน “สนามรบเป็นสนามการค้า” และเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟไทย กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์–คุนหมิงด้วย

เมื่อ 107 ปีที่ผ่านมาเส้นทางรถไฟไทย-กัมพูชา ได้เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นทางขนาด 1.435 เมตร จากกรุงเทพฯ ถึงฉะเชิงเทรา ระยะทาง 61 กิโลเมตร แล้วเสร็จเปิดการเดินรถได้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2450 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทำการแปลงขนาดทางเป็น 1 เมตร และก่อสร้างต่อจากฉะเชิงเทรา เป็นทางขนาดกว้าง 1 เมตร โดยตลอด เพื่อไปเชื่อมกับกัมพูชาบริเวณบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี

ในการก่อสร้างครั้งนั้นกรมรถไฟได้ขอความร่วมมือจากหน่วยทหารช่างให้ทำการวางรางจากฉะเชิงเทราถึงปราจีนบุรีต่อจากนั้นไป คนงานของกรมรถไฟดำเนินการเอง ได้ดำเนิการเสร็จเปิดการเดินรถเป็นตอนๆ

ตอนแรก เปิดการเดินรถจากสถานีฉะเชิงเทราถึงกบินทร์บุรี ระยะทาง 100 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2467 ตอนที่สอง เปิดเดินรถจากสถานีกบินทร์บุรีถึงอรัญประเทศ ระยะทาง 94 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2469 รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงอรัญประเทศ 255 กิโล-เมตร ค่าก่อสร้าง 17,269,768 บาท

แต่เมื่อปี 2484 ประเทศไทยได้มีกรณีข้อพิพาทเรียกร้องดินแดนคืนจากอินโดจีนของฝรั่งเศส ได้ทำการรุกรบและสร้างทางรถไฟผ่านไปในเขตประเทศกัมพูชา จากเขตแดนคลองลึกเข้าไปต่อกับทางรถไฟกัมพูชาเดิมจนถึงจังหวัดพระตะบอง ถึงที่พรมแดนแม่น้ำสวายดอนแก้ว เป็นระยะทาง 117 กิโลเมตร และประเทศไทยได้ยึดครองทางตอนนี้และใช้มาจนถึง พ.ศ.2496 ประเทศกัมพูชาได้มาเจรจาทำความตกลงเพื่อเชื่อมการเดินรถติดต่อกันอีก กรมรถไฟจึงได้ก่อสร้างทางจากอรัญประเทศตามแนวเดิมไปถึงพรมแดนเชื่อมกับรถไฟกัมพูชา ยาว 6 กิโลเมตร และทำการเปิดการเดินรถทางนี้ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2498 เรื่อยมาจนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2504 ประเทศกัมพูชาตัดสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย จึงระงับการเดินรถเชื่อมติดต่อกันแต่นั้นมา

การรถไฟฯ เปิดเดินรถจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีอรัญประเทศเท่านั้น ส่วนทางรถไฟจากสถานีอรัญประเทศถึงป้ายหยุดรถไทยในช่วง 6 กิโลเมตร ไม่ได้ใช้งานมาประมาณ 20–30 ปี เกิดความเสื่อมสภาพ และมีผู้บุกรุกก่อ-สร้างที่พักอาศัยคร่อมทางรถไฟ

ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ได้ทุ่มงบประมาณในการปรับปรุงทางรถไฟช่วงคลองสิบเก้า–สุดสะพานคลองลึก จำนวน 2,822 ล้านบาท ระยะทาง 174 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการปรับปรุงรางใหม่ทั้งหมด คือเปลี่ยนไม้หมอน ปรับปรุงหินโรยทาง และเครื่องยึดเหนี่ยวราง ในเส้นทางคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ และก่อสร้างรถไฟเส้นทางอรัญประเทศ–คลองลึก ระยะทาง 6 กิโลเมตร รวมสะพานรถไฟข้ามแดนระหว่างคลองลึก-ปอยเปต ระยะทาง 43 เมตร บริษ้ทอิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้ชนะการประมูลและได้มีการลงนามในสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 จะแล้วเสร็จในปี 2558

กัมพูชามีเส้นทางรถไฟสำคัญ 2 สาย ได้แก่ กรุงพนมเปญ-โพธิสัต-พระตะบอง-ศรีโสภณ-ปอยเปต ระยะทาง 386 กิโลเมตร และกรุงพนมเปญ-ตาแก้ว-กัมปอต-กรุงสีหนุวิลล์ ระยะทาง 264 กิโลเมตร ซึ่งก่อนหน้านี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ได้อนุมัติเงินกู้แบบมีเงื่อนไข (Con-cessional Loan) แก่กัมพูชา เพื่อใช้ปรับปรุงทางรถไฟยาว 600 กิโลเมตร และสร้างรางรถไฟทางยาว 48 กิโล เมตร ช่วงอำเภอศรีโสภณ–ปอยเปต เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของไทยที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 โดย ADB ยังให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่กัมพูชาในการว่าจ้างผู้ให้บริการรถไฟจากต่างประเทศในการบริหาร บำรุงรักษา และลงทุนสร้างรางรถไฟเป็นเวลา 30 ปีอีกด้วย

โครงการปรับปรุงรางรถไฟในกัมพูชาดังกล่าว มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ทางตอนใต้ (Southern Corridor) ซึ่งเชื่อมระหว่างไทย กัมพูชา และเวียดนาม นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์–คุนหมิง (Singapore-Kunming Railways Links) ของจีนด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทางกัมพูชาอยู่ระหว่างก่อสร้างเส้นทางรถไฟระยะทาง 48 กิโลเมตร มาเชื่อมกับไทยที่สะพานคลองลึก ปอยเปต เช่นเดียวกัน โดยทางกัมพูชาเป็นผู้ออกค่าก่อสร้างเอง ส่วนการก่อสร้างสะพานจะต้องหารือร่วมกันว่าจะใช้เงินฝ่ายละเท่าไร จากวงเงินการก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาท คาดว่าจะออกค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง

ในภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันมีการเปิดบริการเดินรถไฟระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สำหรับในส่วนของประเทศกัมพูชา และพม่านั้น อยู่ระหว่างการดำเนินการให้การเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจากประเทศไทยไปยังทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและสร้างความเชื่อมโยงทางด้านการขนส่งระบบรางภายในอาเซียน และสนับสนุนโครงการทางรถไฟสายสิงคโปร์–คุนหมิง โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี 2558

การเดินรถไฟระหว่างไทย– มาเลเซีย ได้เปิดเดินขบวนรถไฟเที่ยวแรกจากสถานีกรุงเทพฯ–สถานีไปร ในเขตแดนของสหพันธรัฐมลายู มีขึ้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2497 ปัจจุบันการเดินรถระหว่างทั้งสองประเทศยังคงเปิดให้บริการทั้งในการขนส่งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า โดยผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีกรุงเทพฯ–สถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ประเทศมาเลเซีย สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Landbridge) มีบริการในเส้นทางต่างๆ อาทิ ลาดกระบัง–ปาดังเบซาร์, มาบตาพุด–ปาดังเบซาร์ เป็นต้น ทั้งนี้ การเดินรถระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟมาเลเซีย ถือได้ว่าเป็นต้นแบบการเดินรถไฟระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน

ส่วนการเดินรถไฟระหว่างไทย –สปป.ลาว ได้เปิดการเดินขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ระหว่างประเทศไทย –สปป.ลาว (หนองคาย–ท่านาแล้ง) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 และได้เปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบัน ผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีกรุงเทพฯไปยังสถานีหนองคายแล้วเดินทางต่อจากสถานีหนองคายข้ามสะพานมิตรภาพไทย–ลาว ไปสถานีท่านาแล้ง สปป.ลาว ระยะทาง 5.0 กม.

การเดินรถไฟระหว่างไทย–กัมพูชา ในเส้นทางสายอรัญประเทศ-ปอยเปต ได้เปิดเดินรถร่วมกันตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2498 เป็นต้นมา และได้ทำการยกเลิกการเดินรถข้ามแดนดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2517 จนถึงปัจจุบัน ทำให้สภาพทางรถไฟชำรุดทรุดโทรมมากจนไม่สามารถเดินรถ

นายสุประภาส เสนีวงศ์ ณ อยุธยา วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างโยธา ร.ฟ.ท. เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ” ว่า การก่อสร้างเส้นทางรถไฟไทยกับกัมพูชาจะมีการก่อสร้างทางรถไฟจากสถานีรถไฟอรัญประเทศไปบ้านคลองลึก ระยะทาง 6 กิโลเมตร จะเริ่มต้นก่อสร้างในเดือนมกราคม 2558 หลังจากเข้าพื้นที่เคลียร์วัตถุระเบิด แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2558 ส่วนจากชายแดนบ้านคลองลึกไปปอยเปต ระยะทาง 6 กิโลเมตร ทางกัมพูชาก็จะเร่งก่อสร้างในช่วงเดียวกัน เพื่อให้เส้นทางรถไฟเส้นทางสามารถวิ่งให้บริการได้จากปอยเปตไปถึงกรุงพนมเปญ

เมื่อการก่อสร้างเส้นทางรถไฟไทย-กัมพูชา จะเป็นการส่งเสริมการค้าข้ามแดนระหว่างคลองลึกกับปอยเปต ประเทศกัมพูชาคึกคักมากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกสินค้าผ่านชายแดนเป็นจำนวนมากไปกัมพูชา

นอกจากนี้ จะทำให้การต่อเชื่อมเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ผ่านไทย กัมพูชา เวียดนาม เชื่อมกับคุนหมิง ใกล้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะทำให้การขนส่งสินค้าได้รับความสะดวกมากขึ้น

“ร.ฟ.ท.จะมีรายได้จากนักท่องเทียวที่เลือกเดินทางด้วยรถไฟจากอรัญประเทศไปกัมพูชา ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปด้วย แต่รายได้หลักในเส้นทางนี้ก็หวังว่ามาจากการขนส่งสินค้าเป็นหลัก”

//---------------------


เปิดเสรี‘รถไฟ-สิบล้อ’รับ AEC ผวา!จีนสวมสิทธิ์กินรวบ/เร่งผุด‘กรมขนส่งทางราง’
เรื่องเด่นวันนี้
สยามธุรกิจ
ฉบับที่ 1498 ประจำวันที่ 2-8 สิงหาคม 2557
ไทยอ่วมอีกระลอก ถึงคิวเปิดเสรี “รถไฟ-รถบรรทุก” ปี 58 รับเปิด AEC กระทรวงคมนาคมถก กพร.ตั้ง “กรมขนส่งทางราง” สร้างรางเพิ่มและออกมาตรฐานเดินรถ รับเอกชน 10 ชาติวิ่งขนส่งระหว่างประเทศ เผยโครงสร้างพื้นฐานไทยแพ้ “มาเลเซีย-สิงคโปร์” ราบคาบ ด้าน “สิบล้อ” ผวานอมินี ต่างชาติทุบธุรกิจเจ๊ง

นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ในปี 2558 ประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีขนส่งระหว่างประเทศรถไฟและรถบรรทุกตามโรดแมปประชาคมเศรษฐ-กิจอาเซียน (AEC) จะต้องเปิดเสรีบริการเร่งรัด 5 สาขา ได้แก่ สุขภาพ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ท่องเที่ยว และขนส่งทางอากาศ ซึ่งที่ผ่านมาได้นำร่องเปิดเสรีขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศเมื่อปี 2550 และขนส่งสินค้าทางเรือเมื่อปี 2556

สำหรับการเตรียมความพร้อมของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีรถไฟขนส่งระหว่างประเทศนั้น กระทรวงคมนาคมได้เตรียมแยกกิจการรถไฟให้สามารถแข่งขันได้ โดยตั้งกรมขนส่งทางรางขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ก่อสร้างและบริหารจัดการรางรถไฟทั่วประเทศ รวมถึงเป็นหน่วยงานที่สร้างมาตรฐาน ความปลอดภัย และบริหารด้านการที่จะมีผู้วิ่งให้บริการรถไฟมากกว่า 1 ราย ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมก่อสร้างระบบรางทั่วประเทศมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในอนาคตแล้ว

ในส่วนการเดินรถกระทรวงคมนาคมมีแผนจะเปิดให้เอกชนที่มีศักยภาพเข้ามาวิ่งแข่งขันกับการรถไฟแห่งประเทศไทย และต่างประเทศก็จะเข้ามาใช้โครงข่ายระบบรางในไทยเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งรถไฟไปยังประเทศต่างๆ ของสมาชิกอาเซียนได้

“ประเทศมาเลเซียมีศักยภาพการเดินรถไฟมากที่สุดในชาติอาเซียน ทำให้ได้เปรียบจากการเปิดเสรีในปี 2558 ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมได้หารือกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพื่อเตรียมความพร้อมในการตั้งกรมขนส่งทางรางแล้ว รอเพียงออกกฎหมายประกาศใช้อย่างเป็นทางการเท่านั้น”

นายจุฬา กล่าวว่า นอกจากนี้ ในปี 2558 ประเทศไทยจะได้รับผล กระทบมากที่สุดจากการเปิดเสรีรถบรรทุก หรือเปิดเสรีทางถนนระหว่างประเทศ เพราะว่ามีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกอาเซียนมากที่สุด ทำให้ประเทศไทยปวดหัวมากที่สุด”

+ โครงสร้างพื้นฐานแพ้‘สิงคโปร์-มาเลย์’

ก่อนหน้านี้ไทยกับกัมพูชาได้วางศิลาฤกษ์เส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศไปปอยเปตเชื่อมศรีโสภณ-พนมเปญ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางรถไฟดังกล่าวจะสนับสนุนและสร้างความเชื่อมโยงทางด้านการขนส่งระบบรางภายในอาเซียน และสนับสนุนโครงการทางรถไฟสายสิงคโปร์–คุนหมิง โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี 2558

รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเส้นทางรถไฟที่เป็นรางเดียว ระยะทาง 3,685 กิโลเมตร ทางคู่และทางสาม ระยะทาง 358 กิโลเมตร ถ้าเปรียบเทียบในภูมิภาคอาเซียนแล้วพบว่า ประเทศไทยมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในปี 2557 อยู่ที่อันดับ 72 ลดลงจากปี 2556 อยู่อันดับ 65 ขณะที่สิงคโปร์ ปี 2556 อยู่อันดับ 5 ปี 2557 อยู่อันดับ 10 และมาเลเซีย ปี 2556 อยู่อันดับ 17 ปี 2557 อยู่อันดับ 18

ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของไทย ช่วงปี 2558-2565 เสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา ประกอบด้วย 5 แผนงาน ซึ่งยังไม่รวมโครงการรถไฟความ เร็วสูงที่ คสช.ให้มีการศึกษาเพิ่มเติม วงเงินรวมประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท โดยแผนงานแรกเป็นการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง วงเงินประมาณ 6.7 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการในการดำเนินการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เช่น โครงการรถไฟทางคู่ 17 เส้นทางวงเงินรวมกว่า 4.7 แสนล้านบาท โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณทั่วประเทศ โครงการซ่อมบำรุงรถจักร และรถจักรดีเซลไฟฟ้า โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้า และโครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ เป็นต้น

+ ‘สิบล้อ’ ชี้ก.ม.เปิดเสรีล้าหลัง

นายปัญญา เศรษฐโภคิน ประธานกรรมการ บริษัท บลูแอนด์ไวท์ จำกัด เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ปี 2558 จะมีการเปิดเสรีรถบรรทุกเต็มสูบ ตามระเบียบของ AEC ซึ่งปัจจุบันรถบรรทุกมี 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ กลุ่มที่ 2 จะขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ภายในประเทศ ซึ่งกลุ่มที่ 2 นี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีรถบรรทุก แต่จะส่งผลดีต่อการบริโภคและอุปโภคมากยิ่งขึ้นไปอีก

ส่วนกลุ่มแรกที่ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจะได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะกฎหมายไทยยังล้าหลังกว่าชาติอื่นๆในอาเซียน และที่สำคัญเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ดูแลและเกี่ยวข้องตามด่านต่างๆ ปล่อยให้รถบรรทุกต่างชาติผ่านเข้ามาในเมืองไทยอย่างง่ายดาย ซึ่งผลที่ตามมาก็คือมีการเก็บส่วย รีดไถ โดยไม่ได้สนใจในเรื่องเศรษฐกิจชาติโดยรวม สิ่งที่สำคัญรถบรรทุกไทยไม่สามารถออกไปยังต่างประเทศได้อย่างเสรีเหมือนอย่างที่เข้าใจกัน และถ้าจะออกไปทำธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศได้ก็มีเรื่องยุ่งยากมาก ยกตัวอย่าง รถบรรทุกไทยไม่สามารถผ่านไปยังประเทศมาเลเซียได้ เพราะมีกฎหมายดักไว้อยู่ ซึ่งต่างจากไทยเปิดช่องให้อย่างเสรีและรถบรรทุกของมาเลเซียสามารถวิ่งเข้าไทยได้อย่างง่ายดาย

“ไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่จากภาครัฐมีความเข้าใจในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน จึงปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาได้ โจทย์นี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือเข้ามาช่วยเหลือกันอย่างจริงจัง มิเช่นนั้น กลุ่มรถบรรทุกไทยจะแข่งกันเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น”

+ ยักษ์ใหญ่สวมเสื้ออาเซียนทุบไทยเจ๊ง!

ด้านนายยู เจียรยืนยงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศ ไทย เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ” ว่า จากการขนส่งระหว่างไทย-ลาว และไทย-จีน มาเป็นเวลาหลายปีทำให้ทราบว่าเส้นทางการขนส่งระหว่างไทยไปจีน และไทยไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียนยังไม่สมบูรณ์จึงต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งนานหลายวัน รวมทั้งยังต้องวิ่งรถเที่ยวเปล่า ทำให้รายได้ไม่ดีเท่าที่ควร คงต้องรอให้มีการเปิด AEC ก่อน ประเทศต่างๆ ในกลุ่มถึงจะพัฒนาคุณภาพทางถนน ส่วนของบริษัทขนส่งรายใหญ่ๆ นั้น ต้องเร่งขยายธุรกิจเพื่อรุกเข้าไปในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยการร่วมทุนตั้งบริษัทขนส่ง เพื่อให้สามารถวิ่งในประเทศต่างๆ ได้ทุกเส้นทาง

ส่วนกรณีการเปิดเสรีรถบรรทุกในอาเซียนจะเป็นการเปิดช่องให้ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติมาสวมเสื้อชาติอาเซียนแล้วลงมาแข่งขันในตลาดรถบรรทุกนั้น ตนมองว่า การทำตลาดเพียงในประเทศจะไม่สามารถแข่งขันกับต่างชาติที่เข้ามาลงทุนได้ เพราะมีทั้งเงินทุน เทคโนโลยี ดังนั้น แนวทางรอดของผู้ประกอบการขนส่งไทยทางหนึ่งก็คือ ต้องขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพและขยายเส้นทางของตนเองให้ได้ก่อนที่ต่างชาติจะรุกเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเหมือนกัน”

ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวด้วยว่า เห็นด้วยกับการสร้างจุดพักรถบรรทุก ที่ ทางกระทรวงคมนาคมกำลังเร่งศึกษา เพราะหลังเปิด AEC รถจากประเทศเพื่อนบ้านจะเข้ามาวิ่งในถนนของประเทศไทยมากขึ้น หากยังไม่มีมาตรการรองรับที่ดีจะเกิดความวุ่นวายเพิ่มขึ้น เพราะรถจากเพื่อนบ้านมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่ำกว่าไทยมาก

สำหรับผู้ประกอบการขนส่งรายใหญ่จะมีระบบและวิธีปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยทั้งตัวรถและคนขับอยู่แล้ว เพราะตระหนักว่าเป็นเรื่องสำคัญ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของบริษัท แต่ผู้ประกอบการรายเล็กยังไม่ค่อยเข้มงวด เนื่องจากต้องยอมรับว่ามาตรการที่เข้มข้นนั้นผู้ประกอบการจะมีต้นทุนเพิ่ม จึงต้องรณรงค์ให้ผู้ประกอบการรายเล็กเข้ามาอยู่ในระบบมาตรฐานเดียวกันด้วย

อันดับด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2556-2557

ฮ่องกง 2

สิงคโปร์ 5

ญี่ปุ่น 14

เกาหลีใต้ 23

ไทย 61

สปป.ลาว 65

อินโดนีเซีย 82

กัมพูชา 86

เวียดนาม 110

ที่มา : กระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/08/2014 8:25 pm    Post subject: Reply with quote

สยามธุรกิจ wrote:
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทางกัมพูชาอยู่ระหว่างก่อสร้างเส้นทางรถไฟระยะทาง 48 กิโลเมตร มาเชื่อมกับไทยที่สะพานคลองลึก ปอยเปต เช่นเดียวกัน โดยทางกัมพูชาเป็นผู้ออกค่าก่อสร้างเอง ส่วนการก่อสร้างสะพานจะต้องหารือร่วมกันว่าจะใช้เงินฝ่ายละเท่าไร จากวงเงินการก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาท คาดว่าจะออกค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง

รัฐบาลไทยออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดครับ สำหรับสะพานมูลค่า 29.5 ล้านบาท Wink
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2014 3:26 pm    Post subject: Reply with quote

"ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย" ตอน ระบบอาณัติสัญญาณ - Springnews

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ย­วกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน "ระบบอาณัติสัญญาณ" นับเป็นส่วนสำคัญในระบบการเดินรถไฟ ระบบดังกล่าวคืออะไร ติดตามความเป็นมาได้จากรายงานพิเศษ



"ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย" ตอน ฟืนและไม้หมอนรางรถไฟ - Springnews

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน "ฟืนและไม้หมอนรางรถไฟ " การเดินรถไฟในอดีต จะมีไม้เป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่เหตุใดจึงต้องเร่งรีบหาทางเปลี่ยนแปลง ติดตามจากรายงานพิเศษ



ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ตอน สถาปัตยกรรมรถไฟ

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน "สถาปัตยกรรมรถไฟ" ทำความรู้จักกับรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของสถานีรถไฟไทยที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2014 3:33 pm    Post subject: Reply with quote

ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ตอน ย้อนอดีต โรงแรมรถไฟ

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน ย้อนอดีต โรงแรมรถไฟ จุดกำเนิดเริ่มต้นของหลายสิ่งหลายอย่าง



ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ตอน รถไฟไทยส่งเสริมการท่องเที่ยว

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน "รถไฟไทยส่งเสริมการท่องเที่ยว" มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารถไฟ เป็นต้นกำเนิดของหน่วยงานหลักที่ดูแลด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบันของไทย เรื่องราวจะเป็นมาอย่างไร ติดตามได้ในรายงาน



ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ตอน โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน "โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ" หนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนากิจการรถไฟไทยให้เจริญก้าวหน้า ไปติดตามความเป็นมาได้จากรายงานพิเศษ

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2014 3:38 pm    Post subject: Reply with quote

"ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย" ตอน ตำรวจรถไฟ - Springnews

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ย­วกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน "ตำรวจรถไฟ" ทำความรู้จักกับบทบาทหน้าที่ของตำรวจรถไฟท­ี่ใครหลายคนอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักมากนัก



ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย“ ตอน ยุทธศาสตร์รางรถไฟ ป้องกันการล่าอาณานิคม

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน ยุทธศาสตร์รางรถไฟ...ป้องกันการล่าอาณานิคม เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้จากรายงาน



ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ตอน หอเกียรติภูมิรถไฟ

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน "หอเกียรติภูมิรถไฟ" เกือบ 2 ปีที่ผ่านมาที่สถานที่เก็บรวบรวมประวัติศาสตร์อย่างหอเกียรติภูมิรถไฟได้ปิดตัวลง ไปย้อนชมสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ เหล่านั้นได้จากรายงาน

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2014 4:16 pm    Post subject: Reply with quote

"ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย" ตอน รถไฟไทย สมัย ร.๔ รู้ทันการล่า อาณานิคม - Springnews

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ย­วกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน รถไฟไทย สมัย ร.4 รู้ทันการล่า อาณานิคม เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้จากรายงาน



"ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย" ตอน รถไฟความเร็วสูง

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ย­วกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน รถไฟความเร็วสูง รถไฟที่เป็นขีดสูงสุดของการพัฒนาระบบขนส่ง­ทางรถไฟในเวลานี้



"ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย" ตอน ทำความเข้าใจกับขนาดของรางรถไฟไทย

สปริงนิวส์นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเกี่ย­วกับรถไฟไทย ในสกู๊ปที่มีชื่อว่า ได้เวลาปฏิรูปรถไฟไทย ในตอน ทำความเข้าใจกับขนาดของรางรถไฟไทย ว่าแต่ละขนาดมีที่มาที่ไปอย่างไรและประเทศ­ไทยได้เลือกใช้ขนาดใดบ้าง เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้จากรายงาน

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/08/2014 5:10 pm    Post subject: Reply with quote

ประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.เริ่มแล้วจับตาแผนพัฒนาองค์กร
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2557 16:27น.

การประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท. เริ่มแล้ว จับตาแผนบริหารพื้นที่จอดรถเชื่อมสุวรรณภูมิ แผนสั่งซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ตึกบัญชาการการรถไฟ ล่าสุด นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พร้อมด้วย คณะกรรมการการรถไฟได้เดินทางมาถึงยังตึกบัญชาการ เพื่อเริ่มประชุมหารือแนวทางการพัฒนาการรถไฟแล้ว ซึ่งเบื้องต้นวาระสำคัญในการหารือร่วมกันในวันนี้ ได้แก่

- เรื่องการพิจารณาขออนุมัติดำเนินการบริหารจัดการพื้นที่จอดรถในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานดอนเมือง และมอบอำนาจให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ดำเนินการแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย

- เรื่องขออนุมัติให้บริษัท Sino-Glory Resource จำกัด นำรถจักรและรถพ่วงที่บริษัทฯ ดำเนินการจัดหาและซ่อมบำรุงรักษาเอง มาใช้ในการขนส่งสินค้าของบริษัทฯ บนเส้นทางของการรถไฟ และ

- การขออนุมัติสั่งซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า น้ำหนักกดเพลา 20 ตันต่อเพลา จำนวน 308 คัน ด้วยวิธีการประกวดราคา

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการประชุมแล้วเสร็จ นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะมีการแถลงข่าวมติในที่ประชุมเกี่ยวกับวาระต่าง ๆ ให้รับทราบอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 233, 234, 235 ... 487, 488, 489  Next
Page 234 of 489

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©