View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43900
Location: NECTEC
|
Posted: 07/08/2014 12:16 am Post subject: |
|
|
คำเตือนถึงคนที่คิดจะทำเรื่องรถไฟ!
บ้านเกิดเมืองนอน
โดย สิริอัญญา
แนวหน้า
6 สิงหาคม 2557
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ได้ชี้นำไว้อย่างถูกต้องแล้วว่า ระบบรถไฟของประเทศไทย จะต้องมีขนาดรางกว้าง 1.435 เมตร เพื่อให้เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้
หลังจากนั้นผู้บริหารรถไฟยังคงเดินหน้าที่จะเปิดประมูลทำรถไฟทางคู่ มีความกว้างของราง 1 เมตร เหมือนเดิมส่วนหนึ่ง และจะทำรถไฟความเร็วสูงด้วย ซึ่งแน่นอนว่าในส่วนรถไฟความเร็วสูงนั้น จะต้องใช้รางกว้าง 1.435 เมตร ไม่มีทางที่จะใช้รางกว้าง 1 เมตรได้
ก็ขอประกาศให้รู้โดยทั่วกันว่าใครที่คิดจะทำรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง โดยใช้รางกว้าง 1 เมตรนั้นคือ ผู้ทรยศชาติ ที่มุ่งทำร้ายชาติบ้านเมืองไปอีกนับร้อยปี และจะต้องรีบหยุดยั้งแผนงานหรือการกระทำนั้นโดยพลันก่อนที่จะเสียหายไปมากกว่านี้
หลังจากมีข่าวคราวเรื่องการพัฒนารถไฟดังกล่าวก็มีเสียงค่อนขอดจากนักการเมืองว่า งบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการทำรถไฟทางคู่นั้นแพงเกินไป เพราะเป็นราคาใกล้เคียงกับการทำรถไฟความเร็วสูง
คือมีราคากิโลเมตรละประมาณ 500 ล้านบาทเศษ ซึ่งใครฟังแล้วก็ย่อมมีความเห็นคล้อยตามว่าถ้าหากงบประมาณในการทำรถไฟทางคู่ใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงแล้ว ราคานั้นก็ต้องแพงกว่าปกติอย่างแน่นอน และต้องรีบแก้ไขเสียให้ทันท่วงที
ทว่าความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย สิ่งที่พูด ที่เถียงกันเป็นเพียงเรื่องเดียว ส่วนเดียวของระบบรถไฟความเร็วสูงเท่านั้นคือ พูดกันแต่เรื่องงบประมาณการทำรางรถไฟ ไม่ได้รวมถึงระบบรถไฟความเร็วสูงทั้งระบบเลย และถึงวันนี้ก็ไม่เคยได้ยินได้ฟังใครพูดถึงระบบรถไฟความเร็วสูงเลย
ที่พูดกันมีแต่เรื่องของการทำรางรถไฟความเร็วสูงกันทั้งนั้น และถ้าขืนทำไปตามนั้นก็เป็นอันแน่นอนว่าหลังจากประเทศไทยได้ใช้เงินมหาศาลเพื่อการสร้างรถไฟความเร็วสูงขึ้นในประเทศ แต่ในที่สุดก็จะได้แค่รางรถไฟความเร็วสูง จะไม่มีรถไฟความเร็วสูงให้ได้โดยสารกันเลย
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ก็เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่ารถไฟความเร็วสูงนั้น มันไม่เหมือนกับเรือลำหนึ่งที่ออกจากท่าแล้วก็วิ่งไปได้ และไม่เหมือนกับรถไฟที่มีใช้สอยกันอยู่ที่มีรางมีขบวนรถแล้วก็วิ่งไปได้ ไม่เหมือนกับสถานีรถไฟที่เห็นกันอยู่ที่มีนายสถานีชูธงเขียวธงแดงเป็นสัญญาณให้รถไฟเข้า-ออกสถานี
รถไฟความเร็วสูงนั้นเป็นระบบที่ต้องว่ากันทั้งระบบ จะพูดกันแต่เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่งย่อมไม่ได้ ดังเช่นที่พูดกันอยู่ในบ้านเมืองเราในทุกวันนี้ พูดไปพูดมาก็จะได้แต่รางรถไฟความเร็วสูงเท่านั้น
สิ่งที่เรียกว่ารถไฟความเร็วสูงนั้น มีระบบที่ครบถ้วน ครบวงจร แตกต่างจากระบบรถไฟทั่วไปดังนี้
ประการแรก ต้องมีระบบรางรถไฟเฉพาะ ทั้งขนาดและคุณสมบัติของรางรวมทั้งความกว้างของรางที่จะวาง พร้อมทั้งฐานรางรถไฟ ซึ่งจะมีทั้งแบบที่วางบนพื้นราบ วางลอยฟ้า และวางลอดอุโมงค์หรือใต้ดิน ซึ่งทั้งตัวรางและเทคโนโลยีในการวางรางนั้นเป็นระบบเฉพาะของรถไฟความเร็วสูง
ประการที่สอง ต้องมีระบบหัวรถจักรและโบกี้รถไฟความเร็วสูง ที่มีเทคโนโลยีเฉพาะและมีแบบแผนเฉพาะมีคุณสมบัติเฉพาะ ทั้งต้องมีจำนวนที่แน่นอนในการวิ่งขาไปและการวิ่งขากลับตามช่วงกำหนดเวลาการเดินรถแต่ละเที่ยว ซึ่งล้วนมีเทคโนโลยีสูงเฉพาะทั้งนั้น
ประการที่สาม ต้องมีระบบสถานีรถไฟความเร็วสูงที่เป็นแบบเฉพาะทำนองเดียวกับท่าอากาศยาน แต่มีความเชื่อมโยงกันทุกสถานี ที่ผิดพลาดไม่ได้เลยทั้งขาเข้าและขาออกโดยเฉพาะการบริหารสถานีรถไฟความเร็วสูงนั้น ยังมีการบริหารแบบห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าสารพัดชนิดรวมอยู่ด้วยที่เชื่อมโยงกันทั้งประเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์และเชื่อมโยงกับขบวนรถทุกขบวนด้วย
ประการที่สี่ ต้องมีระบบการเดินรถที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพราะไม่สามารถใช้นายสถานีไปโบกธงเขียวแดงได้อีกทุกอย่างต้องเป็นไปตามระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดวางไว้ และมีความซับซ้อนยิ่งกว่าการบริหารแอร์พอร์ตลิ้งค์นับร้อยเท่าซึ่งแค่แอร์พอร์ตลิ้งค์ที่ลงทุนเพียงแสนล้านบาท เราก็บริหารไม่เป็น ถึงกับต้องไปจ้างต่างประเทศมาบริหารถึงปีละ 400 ล้านบาท แล้วขาดทุนป่นปี้อยู่ในทุกวันนี้
ประการที่ห้า ต้องมีระบบไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่เพียงพอต่อการใช้งานและกระแสไฟไม่ตก เป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าของดาวเทียมที่โคจรอยู่ในอวกาศ ไม่ใช่ใช้กระแสไฟเดินสายตามข้างถนนแบบที่นึกกันเอาเอง
ประการที่หก ต้องมีระบบการจำหน่ายตั๋วและการเก็บเงินของทุกสถานีทั่วประเทศที่เชื่อมโยงกับขบวนรถและสถานีปลายทาง เพื่อกำกับควบคุมในการจัดเก็บค่าโดยสารแต่ละสถานีที่แตกต่างกันไป
ประการที่เจ็ด ต้องมีระบบการเงินในการลงทุนเพราะต้นทุนในการทำรถไฟความเร็วสูงเฉพาะรางก็กิโลเมตรละ 1,000 ล้านบาทแล้ว แต่ประเทศไทยโชคดีที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงจัดที่จัดทางเผื่อไว้ให้แล้ว จึงสามารถลดลงเหลือเพียงประมาณ 500 ล้านบาทเท่านั้น
ก็ขอเตือนมายังใครก็ตามที่คิดจะทำรถไฟความเร็วสูงที่จะต้องคำนึงถึงระบบที่เกี่ยวข้องทั้งเจ็ดระบบข้างต้นนี้ หาไม่แล้วก็จะได้แต่รางอย่างเดียวให้ได้อายกันในวันข้างหน้า |
|
Back to top |
|
|
unique
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/09/2006 Posts: 258
Location: กทม.
|
Posted: 07/08/2014 11:39 am Post subject: |
|
|
^^^
มันเป็นตลกร้ายของระบบราชการไทย เมื่อมีโครงการอะไรที่บอลเข้าทางปืน แทนที่จะคิดอ่านวางแผนโครงการอะไรที่สังคมได้ประโยชน์ เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ประหยัดงบประมาณแผ่นดินที่สุด กลับละเลย แต่จะชกงบแบบที่ใช้งบเยอะมากที่สุดเพื่อค่าคอมและเปอร์เซ็นต์ที่สูงตามไปด้วย เรียกสั่นง่ายว่า"พลาญ"ให้ได้มากที่สุด เห็นจีนเค้าสร้างรถไฟความเร็วสูงสร้างเอาๆ เค้าไม่โง่นะครับ ไม่ใช่มวยวัดแบบพี่ไทยนะครับ บริษัทสร้างรถไฟสัญชาติจีนแดงเกือบทั้งหมด รัฐบาลเป็นเจ้าของนะครับ
แม้แต่แนวคิดในการบริหารในการรถไฟเอง ถ้าคิดจะทำขบวนเชิงพานิชย์ก็ต้องคิดแบบธุรกิจซิครับ ถ้าเอาหลักรัฐศาสตร์ หลักสังคมสงเคราะห์มาบริหารเพื่อการพานิชย์ แค่คิดก็เจ๊งแล้วละครับ ตัวอย่างเช่น รถบางแบบที่เคยพ่วงมีวิ่งในสายหนึ่ง คนจองเกือบเต็มตลอด แต่วันดีคืนดีก็เอาแบบรถดังกล่าวออก ไปพ่วงขบวนอื่นอีกสายหนึ่ง รถตู้นั้นกลับว่าง แทบไม่มีคนเลย เข้าใจครับว่าคนจัดรถมองเรื่องความเหมาะสม แล้วเหมาะสมในมุมไหน? จากข้อมูลข้างต้น ซึ่งขบวนรถทั้ง2ที่เอามาเทียบกันเป็นขบวนรถเพื่อการพานิชย์ทั้งคู่ ถ้าคิดเพื่อความเหมาะสมแบบนี้ก็เหมาะสมมั้ยละครับที่ต้องเจอกับการขาดทุนชั่วนาตาปี? |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43900
Location: NECTEC
|
Posted: 07/08/2014 11:59 am Post subject: |
|
|
พฐ.ตรวจรถไฟด่วนพิเศษทักษิณ หลังถูกมือดีฉกทรัพย์ผู้โดยสารยกโบกี้ ไม่ยันชัดถูกวางยา
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 6 สิงหาคม 2557 20:12 น.
จรัมพร นำทีม จนท. กองพิสูจน์หลักฐาน ตรวจโบกี้รถไฟด่วนพิเศษทักษิณ กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก หลังถูกมือดีฉกทรัพย์ผู้โดยสาร 9 ราย พร้อมนำผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าห่ม ตรวจหาสารเคมีตกค้าง ยังไม่ยืนยันว่ามีการวางยาสลบ รอผลตรวจร่างกายผู้โดยสาร
วันนี้ (6 ส.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น. ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) บริเวณชานชาลาที่ 4 พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษา (สบ 10) พร้อมด้วย พล.ต.ต.ธนังค์ บุรานนท์ ผู้บังคับการตำรวจรถไฟ (ผบก.รฟ.) นำเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานกลาง เข้าตรวจสอบหาวัตถุพยานและเก็บหลักฐานเพิ่มเติมภายในโบกี้รถไฟตู้นอนคันที่ 10 ขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณ ที่ 37 กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส หลังเกิดเหตุคนร้ายลักทรัพย์ผู้โดยสารบนโบกี้รถไฟ เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยโบกี้ที่เกิดเหตุ มีผู้โดยสารประมาณ 32 คน จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 40 ที่นั่ง และมีผู้เสียหายที่ถูกลักทรัพย์ไปจำนวน 9 คน ส่วนทรัพย์สินที่คนร้ายได้ไปในครั้งนี้ ประกอบด้วย โทรศัพท์มือถือยี่ห้อต่างๆ จำนวน 10 เครื่อง เงินสด 2,500 บาท และอุปกรณ์โทรศัพท์จำนวนหนึ่ง โดยใช้เวลาในการตรวจประมาณ 1 ชั่วโมง
พล.ต.อ.จรัมพร กล่าวภายหลังการตรวจสอบ ว่า ในวันนี้เป็นการตรวจหาวัตถุพยานต่างๆ เนื่องจากผู้เสียหายสงสัยว่ามีการวางยานอนหลับหรือไม่ โดยจะตรวจหาสารเคมีตกค้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีการนำผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าห่ม จากโบกี้ที่เกิดเหตุทั้งหมด 32 ชุด จาก 40 ชุด ตามจำนวนผู้โดยสาร ไปตรวจสอบ ซึ่งต้องใช้เวลาสักระยะในการตรวจหาสารเคมี นอกจากนี้ จะมีการสอบปากคำผู้เสียหายในขบวนรถ รวมทั้งตรวจร่างกายเพื่อเก็บตัวอย่างสารเคมีที่อาจมีตกค้างในร่างกายด้วย โดยต้องพิจารณาคำให้การถึงกิจกรรมของผู้โดยสารที่ทำในระหว่างการเดินทางด้วย เนื่องจากหากมีการใช้สารเคมีทำให้หลับ เช่น การรมยา หรือ ยานอนหลับ น่าจะเป็นการกระทำรายบุคคลมากกว่า
พล.ต.อ.จรัมพร กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเหตุดังกล่าวมีการวางยาหรือไม่ ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง และคาดว่าผู้ก่อเหตุน่าจะลงมือในช่วงเวลาประมาณ 03.00 - 06.00 น. ขณะที่รถไฟขบวนดังกล่าววิ่งมาระหว่างสถานีสุราษฎร์ธานี ถึง สถานีทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยผู้ก่อเหตุอาจจะแฝงตัวมากับขบวนรถไฟ แต่ยังไม่สามารถชี้ชัด หรือยืนยันได้ว่าเป็นการวางยาผู้โดยสารทั้งตู้หรือไม่ ต้องตรวจร่างกายของผู้โดยสารอย่างละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ ผู้โดยสารส่วนใหญ่ไปลงที่สถานีปลายทางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนผู้ก่อเหตุนั้น คาดว่าหลังก่อเหตุน่าจะลงที่ระหว่างสถานีสุราษฎร์ธานี หรือ ชุมทางทุ่งสง
//----------------------------
เพิ่มความเข้มตรวจรถไฟใต้ หลังทรัพย์สินผู้โดยสารหาย ทางคดียังไร้วี่แวว (ชมคลิป)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 สิงหาคม 2557 11:25 น.
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลความปลอดภัยขบวนรถไฟสายใต้ทั้งขบวนท้องถิ่น และสายยาวกรุงเทพฯ ขณะที่ตำรวจทุ่งสงรับคดีโดยที่ผู้เสียหายไม่ต้องไปแจ้งความเพิ่ม ส่วนการติดตามหาตัวคนร้ายยังไร้เบาะแส
วันนี้ (7 ส.ค.) ความคืบหน้าการสอบสวนเหตุลักทรัพย์ผู้โดยสารบนขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณที่ 37 กรุงเทพฯ - สุไหงโก-ลก เมื่อวันที่ 5 ที่ผ่านมา ในส่วนของคดีนี้ทางพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ได้รับคดีเอาไว้แล้ว หลังจากที่ทางนายสถานีทุ่งสงได้เข้าแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน โดยที่ผู้เสียหายทั้ง 9 รายที่ทรัพย์สินสูญหายไม่ต้องเข้าแจ้งความเพิ่มเติมก็ได้
และขั้นตอนหลังจากนี้ ทางพนักงานสอบสวนจะเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาทำการสอบสวนเพิ่มเติม ขณะผลการสืบสวนแกะรอยโทรศัพท์มือถือทั้ง 9 เครื่องยังไม่มีความคืบหน้า และยังไม่ได้เบาะแสของผู้ต้องสงสัยแต่อย่างใด
ส่วนบรรยากาศที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ หลังเกิดเหตุลักทรัพย์ผู้โดยสารขึ้น นายสุริยัณน์ ชีวนีชชากร นายสถานีรถไฟหาดใหญ่ เปิดเผยว่า ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารดูแลทรัพย์สินของตัวเองระหว่างที่เดินทางด้วยรถไฟทุกขบวน ทั้งขบวนท้องถิ่น และขบวนสายยาว พร้อมให้เจ้าหน้าที่บนขบวนรถปฏิบัติตามมาตรการของการรถไฟที่ได้ออกกฎระเบียบเพิ่มเติมมาบังคับใช้ ทั้งการตรวจสอบผูู้โดยสาร และการตรวจตู้โบกี้หลังเที่ยงคืนจนถึงตี 5 ทุก 1 ชั่วโมง
// ----
น่ากลัวว่าจะใช้วิธีการปล้นสะดมโดยการรมยาที่ทำจากหนังจงโคร่ง (คางคกจำพวกหนึ่ง) ให้หลับก่อนจะโดนปล้น หรือ ลักทรัพย์ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43900
Location: NECTEC
|
Posted: 07/08/2014 2:51 pm Post subject: |
|
|
ปัดฝุ่นรถไฟเชื่อมเพื่อนบ้านเปิดหวูดกัมพูชา/ตอกหมุดม.ค.58
เรื่องเด่นวันนี้
สยามธุรกิจ
ฉบับที่ 1497 ประจำวันที่26 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2557
พลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่การขนส่งทางรางเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชา ได้วางศิลาฤกษ์สะพานรถไฟระหว่างไทย-กัมพูชา บริเวณสะพานรถไฟข้ามคลองลึก-ปอยเปต ประเทศกัมพูชา ต่อยอดเปลี่ยน สนามรบเป็นสนามการค้า และเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟไทย กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์คุนหมิงด้วย
เมื่อ 107 ปีที่ผ่านมาเส้นทางรถไฟไทย-กัมพูชา ได้เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นทางขนาด 1.435 เมตร จากกรุงเทพฯ ถึงฉะเชิงเทรา ระยะทาง 61 กิโลเมตร แล้วเสร็จเปิดการเดินรถได้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2450 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทำการแปลงขนาดทางเป็น 1 เมตร และก่อสร้างต่อจากฉะเชิงเทรา เป็นทางขนาดกว้าง 1 เมตร โดยตลอด เพื่อไปเชื่อมกับกัมพูชาบริเวณบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี
ในการก่อสร้างครั้งนั้นกรมรถไฟได้ขอความร่วมมือจากหน่วยทหารช่างให้ทำการวางรางจากฉะเชิงเทราถึงปราจีนบุรีต่อจากนั้นไป คนงานของกรมรถไฟดำเนินการเอง ได้ดำเนิการเสร็จเปิดการเดินรถเป็นตอนๆ
ตอนแรก เปิดการเดินรถจากสถานีฉะเชิงเทราถึงกบินทร์บุรี ระยะทาง 100 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2467 ตอนที่สอง เปิดเดินรถจากสถานีกบินทร์บุรีถึงอรัญประเทศ ระยะทาง 94 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2469 รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ถึงอรัญประเทศ 255 กิโล-เมตร ค่าก่อสร้าง 17,269,768 บาท
แต่เมื่อปี 2484 ประเทศไทยได้มีกรณีข้อพิพาทเรียกร้องดินแดนคืนจากอินโดจีนของฝรั่งเศส ได้ทำการรุกรบและสร้างทางรถไฟผ่านไปในเขตประเทศกัมพูชา จากเขตแดนคลองลึกเข้าไปต่อกับทางรถไฟกัมพูชาเดิมจนถึงจังหวัดพระตะบอง ถึงที่พรมแดนแม่น้ำสวายดอนแก้ว เป็นระยะทาง 117 กิโลเมตร และประเทศไทยได้ยึดครองทางตอนนี้และใช้มาจนถึง พ.ศ.2496 ประเทศกัมพูชาได้มาเจรจาทำความตกลงเพื่อเชื่อมการเดินรถติดต่อกันอีก กรมรถไฟจึงได้ก่อสร้างทางจากอรัญประเทศตามแนวเดิมไปถึงพรมแดนเชื่อมกับรถไฟกัมพูชา ยาว 6 กิโลเมตร และทำการเปิดการเดินรถทางนี้ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2498 เรื่อยมาจนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2504 ประเทศกัมพูชาตัดสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย จึงระงับการเดินรถเชื่อมติดต่อกันแต่นั้นมา
การรถไฟฯ เปิดเดินรถจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีอรัญประเทศเท่านั้น ส่วนทางรถไฟจากสถานีอรัญประเทศถึงป้ายหยุดรถไทยในช่วง 6 กิโลเมตร ไม่ได้ใช้งานมาประมาณ 2030 ปี เกิดความเสื่อมสภาพ และมีผู้บุกรุกก่อ-สร้างที่พักอาศัยคร่อมทางรถไฟ
ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ได้ทุ่มงบประมาณในการปรับปรุงทางรถไฟช่วงคลองสิบเก้าสุดสะพานคลองลึก จำนวน 2,822 ล้านบาท ระยะทาง 174 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการปรับปรุงรางใหม่ทั้งหมด คือเปลี่ยนไม้หมอน ปรับปรุงหินโรยทาง และเครื่องยึดเหนี่ยวราง ในเส้นทางคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ และก่อสร้างรถไฟเส้นทางอรัญประเทศคลองลึก ระยะทาง 6 กิโลเมตร รวมสะพานรถไฟข้ามแดนระหว่างคลองลึก-ปอยเปต ระยะทาง 43 เมตร บริษ้ทอิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้ชนะการประมูลและได้มีการลงนามในสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 จะแล้วเสร็จในปี 2558
กัมพูชามีเส้นทางรถไฟสำคัญ 2 สาย ได้แก่ กรุงพนมเปญ-โพธิสัต-พระตะบอง-ศรีโสภณ-ปอยเปต ระยะทาง 386 กิโลเมตร และกรุงพนมเปญ-ตาแก้ว-กัมปอต-กรุงสีหนุวิลล์ ระยะทาง 264 กิโลเมตร ซึ่งก่อนหน้านี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ได้อนุมัติเงินกู้แบบมีเงื่อนไข (Con-cessional Loan) แก่กัมพูชา เพื่อใช้ปรับปรุงทางรถไฟยาว 600 กิโลเมตร และสร้างรางรถไฟทางยาว 48 กิโล เมตร ช่วงอำเภอศรีโสภณปอยเปต เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟของไทยที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 โดย ADB ยังให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่กัมพูชาในการว่าจ้างผู้ให้บริการรถไฟจากต่างประเทศในการบริหาร บำรุงรักษา และลงทุนสร้างรางรถไฟเป็นเวลา 30 ปีอีกด้วย
โครงการปรับปรุงรางรถไฟในกัมพูชาดังกล่าว มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ทางตอนใต้ (Southern Corridor) ซึ่งเชื่อมระหว่างไทย กัมพูชา และเวียดนาม นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์คุนหมิง (Singapore-Kunming Railways Links) ของจีนด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทางกัมพูชาอยู่ระหว่างก่อสร้างเส้นทางรถไฟระยะทาง 48 กิโลเมตร มาเชื่อมกับไทยที่สะพานคลองลึก ปอยเปต เช่นเดียวกัน โดยทางกัมพูชาเป็นผู้ออกค่าก่อสร้างเอง ส่วนการก่อสร้างสะพานจะต้องหารือร่วมกันว่าจะใช้เงินฝ่ายละเท่าไร จากวงเงินการก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาท คาดว่าจะออกค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง
ในภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันมีการเปิดบริการเดินรถไฟระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สำหรับในส่วนของประเทศกัมพูชา และพม่านั้น อยู่ระหว่างการดำเนินการให้การเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจากประเทศไทยไปยังทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและสร้างความเชื่อมโยงทางด้านการขนส่งระบบรางภายในอาเซียน และสนับสนุนโครงการทางรถไฟสายสิงคโปร์คุนหมิง โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี 2558
การเดินรถไฟระหว่างไทย มาเลเซีย ได้เปิดเดินขบวนรถไฟเที่ยวแรกจากสถานีกรุงเทพฯสถานีไปร ในเขตแดนของสหพันธรัฐมลายู มีขึ้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2497 ปัจจุบันการเดินรถระหว่างทั้งสองประเทศยังคงเปิดให้บริการทั้งในการขนส่งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า โดยผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีกรุงเทพฯสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ประเทศมาเลเซีย สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Landbridge) มีบริการในเส้นทางต่างๆ อาทิ ลาดกระบังปาดังเบซาร์, มาบตาพุดปาดังเบซาร์ เป็นต้น ทั้งนี้ การเดินรถระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟมาเลเซีย ถือได้ว่าเป็นต้นแบบการเดินรถไฟระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน
ส่วนการเดินรถไฟระหว่างไทย สปป.ลาว ได้เปิดการเดินขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ระหว่างประเทศไทย สปป.ลาว (หนองคายท่านาแล้ง) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2552 และได้เปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบัน ผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีกรุงเทพฯไปยังสถานีหนองคายแล้วเดินทางต่อจากสถานีหนองคายข้ามสะพานมิตรภาพไทยลาว ไปสถานีท่านาแล้ง สปป.ลาว ระยะทาง 5.0 กม.
การเดินรถไฟระหว่างไทยกัมพูชา ในเส้นทางสายอรัญประเทศ-ปอยเปต ได้เปิดเดินรถร่วมกันตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2498 เป็นต้นมา และได้ทำการยกเลิกการเดินรถข้ามแดนดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2517 จนถึงปัจจุบัน ทำให้สภาพทางรถไฟชำรุดทรุดโทรมมากจนไม่สามารถเดินรถ
นายสุประภาส เสนีวงศ์ ณ อยุธยา วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างโยธา ร.ฟ.ท. เปิดเผยกับ สยามธุรกิจ ว่า การก่อสร้างเส้นทางรถไฟไทยกับกัมพูชาจะมีการก่อสร้างทางรถไฟจากสถานีรถไฟอรัญประเทศไปบ้านคลองลึก ระยะทาง 6 กิโลเมตร จะเริ่มต้นก่อสร้างในเดือนมกราคม 2558 หลังจากเข้าพื้นที่เคลียร์วัตถุระเบิด แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2558 ส่วนจากชายแดนบ้านคลองลึกไปปอยเปต ระยะทาง 6 กิโลเมตร ทางกัมพูชาก็จะเร่งก่อสร้างในช่วงเดียวกัน เพื่อให้เส้นทางรถไฟเส้นทางสามารถวิ่งให้บริการได้จากปอยเปตไปถึงกรุงพนมเปญ
เมื่อการก่อสร้างเส้นทางรถไฟไทย-กัมพูชา จะเป็นการส่งเสริมการค้าข้ามแดนระหว่างคลองลึกกับปอยเปต ประเทศกัมพูชาคึกคักมากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกสินค้าผ่านชายแดนเป็นจำนวนมากไปกัมพูชา
นอกจากนี้ จะทำให้การต่อเชื่อมเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ผ่านไทย กัมพูชา เวียดนาม เชื่อมกับคุนหมิง ใกล้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะทำให้การขนส่งสินค้าได้รับความสะดวกมากขึ้น
ร.ฟ.ท.จะมีรายได้จากนักท่องเทียวที่เลือกเดินทางด้วยรถไฟจากอรัญประเทศไปกัมพูชา ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปด้วย แต่รายได้หลักในเส้นทางนี้ก็หวังว่ามาจากการขนส่งสินค้าเป็นหลัก
//---------------------
เปิดเสรีรถไฟ-สิบล้อรับ AEC ผวา!จีนสวมสิทธิ์กินรวบ/เร่งผุดกรมขนส่งทางราง
เรื่องเด่นวันนี้
สยามธุรกิจ
ฉบับที่ 1498 ประจำวันที่ 2-8 สิงหาคม 2557
ไทยอ่วมอีกระลอก ถึงคิวเปิดเสรี รถไฟ-รถบรรทุก ปี 58 รับเปิด AEC กระทรวงคมนาคมถก กพร.ตั้ง กรมขนส่งทางราง สร้างรางเพิ่มและออกมาตรฐานเดินรถ รับเอกชน 10 ชาติวิ่งขนส่งระหว่างประเทศ เผยโครงสร้างพื้นฐานไทยแพ้ มาเลเซีย-สิงคโปร์ ราบคาบ ด้าน สิบล้อ ผวานอมินี ต่างชาติทุบธุรกิจเจ๊ง
นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผย สยามธุรกิจ ว่า ในปี 2558 ประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีขนส่งระหว่างประเทศรถไฟและรถบรรทุกตามโรดแมปประชาคมเศรษฐ-กิจอาเซียน (AEC) จะต้องเปิดเสรีบริการเร่งรัด 5 สาขา ได้แก่ สุขภาพ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ท่องเที่ยว และขนส่งทางอากาศ ซึ่งที่ผ่านมาได้นำร่องเปิดเสรีขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศเมื่อปี 2550 และขนส่งสินค้าทางเรือเมื่อปี 2556
สำหรับการเตรียมความพร้อมของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีรถไฟขนส่งระหว่างประเทศนั้น กระทรวงคมนาคมได้เตรียมแยกกิจการรถไฟให้สามารถแข่งขันได้ โดยตั้งกรมขนส่งทางรางขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ก่อสร้างและบริหารจัดการรางรถไฟทั่วประเทศ รวมถึงเป็นหน่วยงานที่สร้างมาตรฐาน ความปลอดภัย และบริหารด้านการที่จะมีผู้วิ่งให้บริการรถไฟมากกว่า 1 ราย ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมก่อสร้างระบบรางทั่วประเทศมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท เพื่อรองรับการให้บริการรถไฟที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในอนาคตแล้ว
ในส่วนการเดินรถกระทรวงคมนาคมมีแผนจะเปิดให้เอกชนที่มีศักยภาพเข้ามาวิ่งแข่งขันกับการรถไฟแห่งประเทศไทย และต่างประเทศก็จะเข้ามาใช้โครงข่ายระบบรางในไทยเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งรถไฟไปยังประเทศต่างๆ ของสมาชิกอาเซียนได้
ประเทศมาเลเซียมีศักยภาพการเดินรถไฟมากที่สุดในชาติอาเซียน ทำให้ได้เปรียบจากการเปิดเสรีในปี 2558 ขณะนี้ทางกระทรวงคมนาคมได้หารือกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เพื่อเตรียมความพร้อมในการตั้งกรมขนส่งทางรางแล้ว รอเพียงออกกฎหมายประกาศใช้อย่างเป็นทางการเท่านั้น
นายจุฬา กล่าวว่า นอกจากนี้ ในปี 2558 ประเทศไทยจะได้รับผล กระทบมากที่สุดจากการเปิดเสรีรถบรรทุก หรือเปิดเสรีทางถนนระหว่างประเทศ เพราะว่ามีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกอาเซียนมากที่สุด ทำให้ประเทศไทยปวดหัวมากที่สุด
+ โครงสร้างพื้นฐานแพ้สิงคโปร์-มาเลย์
ก่อนหน้านี้ไทยกับกัมพูชาได้วางศิลาฤกษ์เส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศไปปอยเปตเชื่อมศรีโสภณ-พนมเปญ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางรถไฟดังกล่าวจะสนับสนุนและสร้างความเชื่อมโยงทางด้านการขนส่งระบบรางภายในอาเซียน และสนับสนุนโครงการทางรถไฟสายสิงคโปร์คุนหมิง โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี 2558
รายงานข่าวแจ้งว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเส้นทางรถไฟที่เป็นรางเดียว ระยะทาง 3,685 กิโลเมตร ทางคู่และทางสาม ระยะทาง 358 กิโลเมตร ถ้าเปรียบเทียบในภูมิภาคอาเซียนแล้วพบว่า ประเทศไทยมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในปี 2557 อยู่ที่อันดับ 72 ลดลงจากปี 2556 อยู่อันดับ 65 ขณะที่สิงคโปร์ ปี 2556 อยู่อันดับ 5 ปี 2557 อยู่อันดับ 10 และมาเลเซีย ปี 2556 อยู่อันดับ 17 ปี 2557 อยู่อันดับ 18
ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของไทย ช่วงปี 2558-2565 เสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา ประกอบด้วย 5 แผนงาน ซึ่งยังไม่รวมโครงการรถไฟความ เร็วสูงที่ คสช.ให้มีการศึกษาเพิ่มเติม วงเงินรวมประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท โดยแผนงานแรกเป็นการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง วงเงินประมาณ 6.7 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการในการดำเนินการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เช่น โครงการรถไฟทางคู่ 17 เส้นทางวงเงินรวมกว่า 4.7 แสนล้านบาท โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณทั่วประเทศ โครงการซ่อมบำรุงรถจักร และรถจักรดีเซลไฟฟ้า โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้า และโครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ เป็นต้น
+ สิบล้อ ชี้ก.ม.เปิดเสรีล้าหลัง
นายปัญญา เศรษฐโภคิน ประธานกรรมการ บริษัท บลูแอนด์ไวท์ จำกัด เปิดเผย สยามธุรกิจ ว่า ปี 2558 จะมีการเปิดเสรีรถบรรทุกเต็มสูบ ตามระเบียบของ AEC ซึ่งปัจจุบันรถบรรทุกมี 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ กลุ่มที่ 2 จะขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ภายในประเทศ ซึ่งกลุ่มที่ 2 นี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีรถบรรทุก แต่จะส่งผลดีต่อการบริโภคและอุปโภคมากยิ่งขึ้นไปอีก
ส่วนกลุ่มแรกที่ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจะได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะกฎหมายไทยยังล้าหลังกว่าชาติอื่นๆในอาเซียน และที่สำคัญเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ดูแลและเกี่ยวข้องตามด่านต่างๆ ปล่อยให้รถบรรทุกต่างชาติผ่านเข้ามาในเมืองไทยอย่างง่ายดาย ซึ่งผลที่ตามมาก็คือมีการเก็บส่วย รีดไถ โดยไม่ได้สนใจในเรื่องเศรษฐกิจชาติโดยรวม สิ่งที่สำคัญรถบรรทุกไทยไม่สามารถออกไปยังต่างประเทศได้อย่างเสรีเหมือนอย่างที่เข้าใจกัน และถ้าจะออกไปทำธุรกิจขนส่งระหว่างประเทศได้ก็มีเรื่องยุ่งยากมาก ยกตัวอย่าง รถบรรทุกไทยไม่สามารถผ่านไปยังประเทศมาเลเซียได้ เพราะมีกฎหมายดักไว้อยู่ ซึ่งต่างจากไทยเปิดช่องให้อย่างเสรีและรถบรรทุกของมาเลเซียสามารถวิ่งเข้าไทยได้อย่างง่ายดาย
ไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่จากภาครัฐมีความเข้าใจในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน จึงปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาได้ โจทย์นี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือเข้ามาช่วยเหลือกันอย่างจริงจัง มิเช่นนั้น กลุ่มรถบรรทุกไทยจะแข่งกันเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น
+ ยักษ์ใหญ่สวมเสื้ออาเซียนทุบไทยเจ๊ง!
ด้านนายยู เจียรยืนยงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศ ไทย เปิดเผยกับ สยามธุรกิจ ว่า จากการขนส่งระหว่างไทย-ลาว และไทย-จีน มาเป็นเวลาหลายปีทำให้ทราบว่าเส้นทางการขนส่งระหว่างไทยไปจีน และไทยไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียนยังไม่สมบูรณ์จึงต้องใช้ระยะเวลาในการขนส่งนานหลายวัน รวมทั้งยังต้องวิ่งรถเที่ยวเปล่า ทำให้รายได้ไม่ดีเท่าที่ควร คงต้องรอให้มีการเปิด AEC ก่อน ประเทศต่างๆ ในกลุ่มถึงจะพัฒนาคุณภาพทางถนน ส่วนของบริษัทขนส่งรายใหญ่ๆ นั้น ต้องเร่งขยายธุรกิจเพื่อรุกเข้าไปในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยการร่วมทุนตั้งบริษัทขนส่ง เพื่อให้สามารถวิ่งในประเทศต่างๆ ได้ทุกเส้นทาง
ส่วนกรณีการเปิดเสรีรถบรรทุกในอาเซียนจะเป็นการเปิดช่องให้ยักษ์ใหญ่ข้ามชาติมาสวมเสื้อชาติอาเซียนแล้วลงมาแข่งขันในตลาดรถบรรทุกนั้น ตนมองว่า การทำตลาดเพียงในประเทศจะไม่สามารถแข่งขันกับต่างชาติที่เข้ามาลงทุนได้ เพราะมีทั้งเงินทุน เทคโนโลยี ดังนั้น แนวทางรอดของผู้ประกอบการขนส่งไทยทางหนึ่งก็คือ ต้องขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพและขยายเส้นทางของตนเองให้ได้ก่อนที่ต่างชาติจะรุกเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเหมือนกัน
ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวด้วยว่า เห็นด้วยกับการสร้างจุดพักรถบรรทุก ที่ ทางกระทรวงคมนาคมกำลังเร่งศึกษา เพราะหลังเปิด AEC รถจากประเทศเพื่อนบ้านจะเข้ามาวิ่งในถนนของประเทศไทยมากขึ้น หากยังไม่มีมาตรการรองรับที่ดีจะเกิดความวุ่นวายเพิ่มขึ้น เพราะรถจากเพื่อนบ้านมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่ำกว่าไทยมาก
สำหรับผู้ประกอบการขนส่งรายใหญ่จะมีระบบและวิธีปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยทั้งตัวรถและคนขับอยู่แล้ว เพราะตระหนักว่าเป็นเรื่องสำคัญ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของบริษัท แต่ผู้ประกอบการรายเล็กยังไม่ค่อยเข้มงวด เนื่องจากต้องยอมรับว่ามาตรการที่เข้มข้นนั้นผู้ประกอบการจะมีต้นทุนเพิ่ม จึงต้องรณรงค์ให้ผู้ประกอบการรายเล็กเข้ามาอยู่ในระบบมาตรฐานเดียวกันด้วย
อันดับด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2556-2557
ฮ่องกง 2
สิงคโปร์ 5
ญี่ปุ่น 14
เกาหลีใต้ 23
ไทย 61
สปป.ลาว 65
อินโดนีเซีย 82
กัมพูชา 86
เวียดนาม 110
ที่มา : กระทรวงคมนาคม |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 07/08/2014 8:25 pm Post subject: |
|
|
สยามธุรกิจ wrote: | อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันทางกัมพูชาอยู่ระหว่างก่อสร้างเส้นทางรถไฟระยะทาง 48 กิโลเมตร มาเชื่อมกับไทยที่สะพานคลองลึก ปอยเปต เช่นเดียวกัน โดยทางกัมพูชาเป็นผู้ออกค่าก่อสร้างเอง ส่วนการก่อสร้างสะพานจะต้องหารือร่วมกันว่าจะใช้เงินฝ่ายละเท่าไร จากวงเงินการก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาท คาดว่าจะออกค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง |
รัฐบาลไทยออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดครับ สำหรับสะพานมูลค่า 29.5 ล้านบาท |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 08/08/2014 5:10 pm Post subject: |
|
|
ประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.เริ่มแล้วจับตาแผนพัฒนาองค์กร
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2557 16:27น.
การประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท. เริ่มแล้ว จับตาแผนบริหารพื้นที่จอดรถเชื่อมสุวรรณภูมิ แผนสั่งซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า
บรรยากาศการประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ตึกบัญชาการการรถไฟ ล่าสุด นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พร้อมด้วย คณะกรรมการการรถไฟได้เดินทางมาถึงยังตึกบัญชาการ เพื่อเริ่มประชุมหารือแนวทางการพัฒนาการรถไฟแล้ว ซึ่งเบื้องต้นวาระสำคัญในการหารือร่วมกันในวันนี้ ได้แก่
- เรื่องการพิจารณาขออนุมัติดำเนินการบริหารจัดการพื้นที่จอดรถในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานดอนเมือง และมอบอำนาจให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ดำเนินการแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย
- เรื่องขออนุมัติให้บริษัท Sino-Glory Resource จำกัด นำรถจักรและรถพ่วงที่บริษัทฯ ดำเนินการจัดหาและซ่อมบำรุงรักษาเอง มาใช้ในการขนส่งสินค้าของบริษัทฯ บนเส้นทางของการรถไฟ และ
- การขออนุมัติสั่งซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า น้ำหนักกดเพลา 20 ตันต่อเพลา จำนวน 308 คัน ด้วยวิธีการประกวดราคา
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการประชุมแล้วเสร็จ นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะมีการแถลงข่าวมติในที่ประชุมเกี่ยวกับวาระต่าง ๆ ให้รับทราบอีกครั้ง |
|
Back to top |
|
|
|