View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 08/08/2014 7:14 pm Post subject: |
|
|
บอร์ดร.ฟ.ท.เด้งซื้อแคร่สินค้า 308 คัน สั่งทำรายละเอียดเพิ่ม และไฟเขียวบ.จีนเช่ารางขนแร่เหล็ก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 สิงหาคม 2557 18:11 น.
บอร์ดร.ฟ.ท. ติง 2 ประเด็นไม่ชัดเจน ตีกลับโครงการซื้อรถสินค้า 308 คัน 770 ลบ. สั่งทำรายละเอียดเพิ่มเติม เสนอใหม่ 19 ส.ค. ออมสินเผย บอร์ดเห็นชอบให้บริษัท ชิโน-กลอรี่ฯ จากประเทศจีน เช่ารางขนส่งแร่เหล็กสัญญา 25 ปี จากหนองคาย-ท่าเรือแหลมฉบัง ตั้งเป้ามีรายได้ปีละ 120-603 ลบ. ตามปริมาณที่ขนส่ง โดยเอกชนพร้อมจัดหาหัวจักร 32 คันและรถพ่วง 900 คันมาดำเนินการ
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมวันนี้ (8 ส.ค.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงโครงการจัดซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 308 คัน วงเงิน 770 ล้านบาท ซึ่งได้ให้กลับไปจัดทำรายละเอียนเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ
1. ความน่าเชื่อถือของบริษัทที่จะเป็นจัดหา
2. เรื่องเทคนิค ซึ่งมีประเด็นที่ระบุ ว่าใกล้เคียงกับสเปค ทางบอร์ดเห็นว่า ต้องมีความชัดเจนมากกว่านี้ เนื่องจากคำว่า ใกล้เคียง ค่อนข้างกว้าง
โดยได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโครงการที่มีนายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เป็นประธานไปพิจารณาและให้นำเสนอมาอีกครั้งในการประชุมบอร์ดวันที่ 19 สิงหาคมนี้
นอกจากนี้ บอร์ดยังมีมติเห็นชอบตามที่ร.ฟ.ท.เสนอให้บริษัท ชิโน-กลอรี่ รีซอร์ส โฮลดิ้ง ( Sino-Glory Resources Holding) ซึ่งเป็นบริษัทของจีน นำรถจักรและรถพ่วง ที่บริษัทจัดหาและซ่อมบำรุงเอง ใช้สำหรับขนส่งสินค้าบนเส้นทางของรถไฟ ซึ่งตามข้อเสนอ บริษัทฯจะจัดหารถจักร ขนาด 20 ตันเพลา จำนวน 32 คัน รถพ่วง 900 คัน มาให้รถไฟ โดยใช้รถที่จัดหาดังกล่าว ขนแร่เหล็กจาก สปป.ลาว จากสถานีท่านาแล้ง สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่หนองคาย-ขอนแก่น-แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทางประมาณ 719 กม. เพื่อส่งสินค้าไปยังท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์ สู่ประเทศจีน อายุสัญญา 25 ปี
ทั้งนี้ ตามแผนธุรกิจ โครงการนี้จะเกิดประโยชน์ต่อร.ฟ.ท.อย่างมาก เนื่องจาก บริษัทฯ จะเป็นผู้จัดหารถจักรและรถพ่วงขนส่งสินค้าเข้ามาให้ร.ฟ.ท.ทั้งหมด และใช้พนักงานร.ฟ.ท.ขับรถ ใช้รางรถไฟเส้นทางไปท่าเรือแหลมฉบัง โดยเสนอผลตอบแทนเป็นค่าเช่าต่อปี โดยหากสามารถขนส่งแรเหล็กได้ปริมาณ 1 ล้านตัน ร.ฟ.ท.จะได้รับผลตอบแทน 120 ล้านบาท หากขนได้ 3 ล้านตันจะได้รับเป็น 361 ล้านบาท หากขนได้ถึง 5 ล้านตันจะได้ถึง 603 ล้านบาท ซึ่งต้องขึ้นกับพื้นที่กองแร่เหล็กในเขตท่าเรือเพียงพอหรือไม่ โดยคาดเริ่มจะเริ่มขนส่งได้หลังจากนี้ประมาณ 1 ปี เนื่องจากจะต้องให้เวลาบริษัทฯในการจัดหาหัวจักรและรถสินค้าด้วย |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 09/08/2014 10:40 am Post subject: |
|
|
ปลดแอก"หนี้รถไฟ"แสนล้าน เจรจาคลังเช่าที่ดินทำเลทอง-วัดใจคสช.พลิกโฉมระบบรางไทย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 09 ส.ค. 2557 เวลา 08:41:06 น.
บอร์ด ร.ฟ.ท.ไฟเขียวแผนฟื้นฟูกิจการ ปลดแอกหนี้กว่า 1 แสนล้านใน 10 ปี ชง คสช.พิจารณา 4 แนวทางเสนอคลังตัดหนี้เป็นศูนย์ ควบคู่รัฐรับภาระ "โครงสร้างพื้นฐาน-หนี้เก่า-บำนาญ-ค่าซ่อมบำรุง" ขอยกเลิกมติ ครม.ให้รับคนเพิ่ม จับตายกที่ดินทำเลทอง "มักกะสัน-แม่น้ำ" เซ็งลี้หนี้ให้คลัง ตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์มาบริหาร พ่วงขอบริหารรถไฟฟ้าสายสีแดงเองหวังเพิ่มรายได้
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อนำเสนอต่อนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจพิจารณา
4 ทางเลือกปลดแอกหนี้
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่ต้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วนตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะมีภาระหนี้สูง ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2556 อยู่ที่ 109,317 ล้านบาท (ดูกราฟิก) แนวทางจะแก้ปัญหาหนี้สินโดยบูรณาการไปตาม 4 สถานการณ์ ซึ่งไม่รวมหนี้แอร์พอร์ตลิงก์ เป็นแผน 10 ปีนับจากปี 2558-2567
สำหรับ 4 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์ที่ 1 ภายในปี 2563 จะมีอีบิตด้า (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อม) เป็นบวก แต่กำไรสุทธิไม่มี สถานการณ์ที่ 2 คาดว่าจะทำให้อีบิตด้าเป็นบวกภายในปี 2563 แต่กำไรสุทธิติดลบ 2,400 ล้านบาทในปี 2567
สถานการณ์ที่ 3 กำหนดราคาให้บริการสะท้อนต้นทุนแท้จริง โดยปรับต้นทุนรถบริการสาธารณะ เชิงพาณิชย์และขนส่ง โดยปรับค่าโดยสารและค่าระวางเพิ่ม 10% หลังจากรถไฟทางคู่สร้างเสร็จคาดว่าจะทำให้ภายในปี 2563 มีอีบิตด้าเป็นบวก 163 ล้านบาท แต่กำไรสุทธิเกือบบวก
ในปี 2567 และสถานการณ์ที่ 4 รัฐบาลรับภาระให้ทั้งหมด คาดว่าจะทำให้อีบิตด้าเป็นบวกในปี 2562 จำนวน 663 ล้านบาท มีกำไรภายในปี 2563 จำนวน 2,668 ล้านบาทขอคลังเห็นใจตัดหนี้เป็นศูนย์
"บอร์ดอยากได้แนวทางที่ 4 คือ ตัดหนี้เป็นศูนย์ ให้รัฐบาลรับภาระหนี้แสนกว่าล้านไปเลย จะต้องหารือกับคมนาคม คลัง และสภาพัฒน์ ยอมรับว่าแนวทางต่าง ๆ จะแฟร์สำหรับการรถไฟฯเพราะเอาเข้าจริงเรื่องชดเชยค่ารถไฟฟรี 164 ขบวนได้รับเงินชดเชยแค่ 50% ขณะที่การลงทุนต่าง ๆ เป็นนโยบายของรัฐ เช่น แอร์พอร์ตลิงก์ที่ให้การรถไฟฯกู้ทำให้รับภาระมาก คาดว่าแผนฟื้นฟูนี้จะได้รับความเห็นชอบจาก คสช.เพราะมีนโยบายให้ความสำคัญกับระบบรางมาก" นายออมสินกล่าวและว่า
สำหรับการบริหารทรัพย์สินหรือที่ดินยังไม่ลงรายละเอียดมากนัก เพียงแต่รายงานเป็นหลักการว่ามีที่ดินบริเวณไหนและเท่าไหร่ ส่วนแนวคิดนำที่ดินสถานีมักกะสันและแม่น้ำไปแลกหนี้กับกระทรวงการคลังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งจะต้องหารือร่วมกันรวมถึงการตีมูลค่าทรัพย์สินและรายได้
"การบริหารจัดการมีหลายแนวทางอาจตั้งเป็นพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ให้เอกชนร่วมลงทุนหรือให้เอกชนลงทุนทั้งหมดแต่ที่ดินยังคงเป็นของการรถไฟฯ"ปูด 4 สาเหตุต้นตอหนี้ท่วมหัว
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภาระหนี้และสถานะการเงินของ ร.ฟ.ท.เกิดจากปัญหา 4 ด้านหลัก คือ 1.การดำเนินการเกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีการลงทุนใหม่ 2.การบริหารจัดการ เช่น บริหารทรัพย์สิน 234,976 ไร่ยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุด มีปัญหาข้อมูลกรรมสิทธิ์ไม่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจน ขาดความชำนาญในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และไม่สามารถจัดเก็บค่าเช่าได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยปี 2556 มีรายได้เพียง 1,665 ล้านบาท
3.การขาดแคลนบุคลากร เนื่องจากมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2541 ให้รับพนักงานใหม่ได้ไม่เกิน 5% ของจำนวนพนักงานเกษียณอายุ แต่ละปีมีผู้เกษียณประมาณ 450 คน คาดว่าในปี 2557-2566 จะมีผู้เกษียณ 4,458 คน ร.ฟ.ท.จะต้องเตรียมความพร้อมเรื่องอัตรากำลังเพื่อรองรับโครงการลงทุนใหม่ เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าสายสีแดง
4.ด้านการเงิน ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานล่าสุดปี 2556 อยู่ที่ 3,775 ล้านบาท อีกทั้งได้รับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ เช่น รถไฟฟรี แต่ไม่ครอบคลุมต้นทุนแท้จริง รวมถึงได้รับชดเชยผลการขาดทุนล่าช้า มีดอกเบี้ยจ่ายปีละ 3,000 ล้านบาท อีกทั้งยังมีภาระบำนาญที่ต้องจ่ายให้พนักงานรายสุดท้ายในปี 2605 คิดเป็นมูลค่า 65,860 ล้านบาทจับตายกที่ดินแลกหนี้
"การแก้ปัญหาจาก 4 สถานการณ์ตามมติบอร์ด เป็นไปได้มากที่สุดคือแนวทางที่ 2 รัฐรับภาระหนี้เก่าไปทั้งหมดกว่า 7 หมื่นล้านบาท กับแนวทางที่ 4 ยกหนี้แสนล้านทั้งหมดให้รัฐรับภาระ จะเหมือนกรมทางหลวง คือ รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วน ร.ฟ.ท.มีหน้าที่บริหาร"
อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมมีกรรมการบางรายเสนอแนะว่า ข้อเสนอยกภาระหนี้ทั้งหมดทางกระทรวงการคลังคงไม่ยอมรับทั้งหมด อาจจะต้องมีอะไรแลกเปลี่ยนหรือไม่ เช่น ที่ดิน มาตัดหนี้ให้เป็นศูนย์ เนื่องจากมองว่าถ้าคลังจะรับภาระหนี้ให้ตั้งแต่แรกคงไม่ปล่อยค้างคามาจนถึงทุกวันนี้
งัดสารพัด "ลดรายจ่าย" รื้อเดินรถ-ตัดโอที-ขึ้นค่าเช่า
นอก จาก 4 ทางเลือกที่จะเสนอให้ คสช.เห็นชอบแล้ว "ร.ฟ.ท." ยังพ่วงมาตรการระยะสั้น(6 เดือน-1 ปี) ระยะกลาง (1-2 ปี) ระยะยาว (3 ปีขึ้นไป) สำหรับการ"ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้" ที่ผ่านมติบอร์ดแล้ว และเป็นส่วนหนึ่งที่ปิดผนึกไปกับ 4 ทางเลือกเพื่อความอยู่รอดขององค์กรโดยมาตรการเพิ่มรายได้-ลด
รายจ่าย ตั้งอยู่บนฐานงบฯกำไรขาดทุนปี 2556 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 10,457 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและบุคลากร เริ่มจาก"การดำเนินงาน" อาทิ ปรับปรุงจัดเดินขบวนรถโดยสารและสินค้าทั้งระบบ เพื่อยุบรวม-ยกเลิกขบวนที่มีรายได้ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย
ขณะเดียวกัน เพิ่มรถโดยสารและสินค้าในขบวนรถอีก 20% ให้เต็มความสามารถในการลากจูงของรถจักรในปัจจุบัน พ่วงขบวนสินค้าในขบวนรถโดยสารเชิงสังคม เพื่อรักษาตลาดขนส่งสินค้าไว้ระหว่างรอหัวรถจักรใหม่ เร่งรัดเสริมความมั่นคงทางโดยเปลี่ยนไม้หมอนเป็นคอนกรีต เปลี่ยนรางเป็นขนาด 100 ปอนด์ เปลี่ยนประแจขนาดใหญ่ขึ้น และเปลี่ยนทางผ่านเสมอระดับทางเป็นคอนกรีตใน 2-3 ปี
นอกจากนี้ เปลี่ยนวิธีบำรุงรักษาทาง หลักจากแรงงานคนเป็นเครื่องจักร จะลดค่าใช้จ่าย 50% ต่อกิโลเมตร เร่งรัดสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่เพื่อความตรงต่อเวลา ปลอดภัย ลดเวลาการเดินทาง ช่วยลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และสร้างรายได้เพิ่มได้ เปลี่ยนรูปแบบการซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานเดิมทำเองให้เป็นจ้างเหมาจากภาย นอก เร่งรัดจำหน่ายรถจักรและล้อเลื่อนที่เหลือใช้
ด้าน "การบริหารทรัพย์สิน" ปรับปรุงโครงสร้างใหม่ แบ่งชั้นทำเลตามศักยภาพพื้นที่ ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ให้เอกชนร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ มีที่ดินย่านมักกะสัน แม่น้ำ กม.11 หัวลำโพง (สถานีกรุงเทพฯ)
2.พัฒนาพื้นที่ตามเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง เช่น สถานีศาลายา ศาลาธรรมสพน์ เชียงราก 3.พัฒนาพื้นที่แนวถนนรัชดาภิเษก 4.หารายได้จากการเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคาร การเปิดทางเข้า-ออกในที่ดิน และการเช่าตามศักยภาพเป็นการชั่วคราว
"หากดำเนินการได้ตามนี้ จะทำให้มีรายได้จากทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นจากปี 2557 อยู่ที่ 2,724 ล้านบาท เป็น 4,106 ล้านบาทในปี 2562 ยังไม่รวมรายได้ที่ดินแปลงใหญ่ ๆ ส่วนการพัฒนาที่ดินแปลงใหม่ในภูมิภาคคาดว่าจะมีรายได้อีกปีละ 99-495 ล้านบาทในช่วงปี 2558-2562" แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าว
"การบริหาร จัดการ" เช่น ปรับปรุงจัดซื้อให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มระบบจำหน่ายตั๋วสมัยใหม่ ให้เช่าพาดเสาบนเสาโทรเลข เพิ่มปริมาณขนส่งโดยร่วมทุนกับเอกชนเพื่อลดภาระการกู้ยืมเงิน ปรับปรุงภาพลักษณ์ความปลอดภัยและความสะอาด ติดตั้งกล้องซีซีทีวี
"ด้าน บุคลากร" ขอยกเว้นมติ ครม.ให้รับคนเพิ่ม ลดค่าใช้จ่ายล่วงเวลา และการทำงานวันหยุดของพนักงานทุกฝ่าย เพราะเมื่อได้รับการบรรจุพนักงานใหม่ 2,438 คนแล้วจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายใน 3 ปี (2558-2560) 355 ล้านบาท จากปัจจุบันมีค่าล่วงเวลาปีละ 25 ล้านบาท ส่วนด้านการเงินและบัญชี ปรับปรุงใหม่ให้รายงานทางการเงินได้ถูกต้องและทันเวลา
ส่วนระยะยาวจะ มีรายได้จากการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงหลังจากที่ ร.ฟ.ท.นำมาบริหารเอง ในเบื้องต้นรถไฟสายสีแดงที่จะแล้วเสร็จช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ระยะทางรวม 41 กิโลเมตร มี 15 สถานี คาดว่าจะสร้างผลกำไร 2-3 ปีแรก (2561-2563) ประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท
ทั้งหมดนี้เป็นแผนงานและมาตรการที่ "ร.ฟ.ท." ตั้งต้นไว้ ส่วนจะไปได้ไกลแค่ไหน...ต้องรอดูกันต่อไป |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43900
Location: NECTEC
|
Posted: 09/08/2014 11:09 am Post subject: |
|
|
ร.ฟ.ท.อนุมัติบริษัทในจีนเช่ารางขนแร่เหล็ก คาดทำรายได้ 120 ล./ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 สิงหาคม 2557 19:34 น.
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้บริษัท Sino-Glory Resource Holding Co.,td ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศจีน ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกันการขนแร่เหล็ก ได้เช่ารางของทางการรถไฟฯ เพื่อทำการขนแร่เหล็กจากสถานีท่านาแร้งถึงท่าเรือแหลมฉบัง รวมระยะทาง 719 กิโลเมตร เพื่อส่งต่อไปยังประเทศจีน
ทั้งนี้ การอนุมัติการเช่ารางดังกล่าว มีกำหนดระยะเวลา 25 ปี คาดว่า หากทำการขนส่งแร่เหล็กได้จำนวนสูงสุด 5 ล้านตันต่อปี จะทำให้การรถไฟมีรายได้ประมาณ 603 ล้านบาทต่อปี และต่ำสุดประมาณ 1 ตันต่อปี การรถไฟฯ จะมีรายได้ปีละประมาณ 120 ล้านบาท
//-----------------
บอร์ดรถไฟโกยเละ 1.5 หมื่นล้าน ให้จีนเช่ารางขนส่งแร่เหล็กจากท่านาแล้ง-แหลมฉบังสัมปทาน 25 ปี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
8 สิงหาคม 2557 เวลา 21:40:44 น.
บอร์ดรถไฟเคาะสัมปทาน 25 ปีให้"ซิโน-กลอรี่ฯ"เช่าราง 25 ปีขนส่งแร่เหล็ก จากฝั่งลาวยาวถึงท่าเรือแหลมฉบัง เผยจ่ายค่าเช่าปีละ 603 ล้านบาท เตรียมรื้อประมูลจัดหารถแคร่สินค้า 308 คัน วเงงิน 770 ล้านบาท หลังส่งกลิ่นไม่ดี เร่งจัดซื้ออะไหล่แอร์พอร์ตลิงก์ สั่งเช่ารถตรวจรางจากรถไฟฟ้าใต้ดิน วิ่งเจียราง หวังยืดอายุใช้งานก่อนถึงคิวซ่อมใหญ่ปลายปีนี้
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้ จะมีการพิจารณาการจัดซื้อรถแคร่โดยสาร จำนวน 308 คัน วงเงิน 770 ล้านบาทใหม่ เนื่องจากผลการประกวดราคาเดิมที่ร.ฟ.ท.ได้คัดเลือกบริษัท สยามโบกี้ จำกัด เป็นผู้จัดหาให้นั้น ยังม่ข้อสงสัยใน 2 ประเด็น คือ 1.เรื่องความน่าเชื่อของบริษัท และ2.คำนิยามด้านเทคนิคที่คัดเลือกระบบเทคโนโลยีว่ามีใกล้เคียงกับสเปกนั้นเป็นยังไง
อีกทั้งจะมีการพิจารณาของการซ่อมใหญ่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ที่จะครบวาระต้องนำรถ 9 ขบวนซ่อมในปลายปีนี้หลังวิ่งครบ 1.2 ล้านกิโลเมตร ซึ่งขณะนี้เพื่อยืดอายุการใช้ ทางบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้เดินรถได้ปรับควาเมร็วการวิ่งจาก 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง เหลือ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมงและในช่วงโค้งบริเวณสถานีลาดกระบัง จะลดเหลือ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง
บอร์ดให้บริษัทไปเช่ารถตรวจรางจากรถไฟฟ้าใต้ดินมาดำเนินการเจียรางไปพลางๆก่อนเพื่อเป็นการยืดเวลาการเดินรถออกไปอีก เพราะจะต้องรอการอนุมัติโครงการก่อนถึงจะจัดจ้างบริษัทมาซ่อมบำรุงได้ คาดว่าจะเป็นบริษัท ซีเมนส์ จำกัด รายเดิม ถึงจะครบวาระซ่อมใหญ่ แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการบริการและยังมีความปลอดภัยอยู่
นายออมสินกล่าวว่า สำหรับผลการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้อนุมัติให้บริษัท Sino-Glory Resoure Holding จำกัด ผู้ประกอบการเหมืองแร่จากประเทศจีน ที่ได้รับสัมปทานจากสปป.ลาวที่นครเวียงจันทร์ เป็นผู้เช่ารางรถไฟสายอีสาน ระยะทาง 719 กิโลเมตร เพื่อขนแร่เหล็กจำนวน 5 ล้านจันจากสถานีท่านาแล้งผ่านหนองคายมายังท่าเรือแหลมฉบัง โดยบริษัทจะจัดหากหัวรถจักรและรถขนส่งสินค้าให้พร้อมกับการบำรุงรักษา เป็นระยะเวลา 25 ปี โดยเสียค่าใช้เช่ารางให้กับร.ฟ.ท.ปีละ 603 ล้านบาท รวม 25 ปี คาดว่าจะอยู่ที่กว่า 15,000 ล้านบาท |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 10/08/2014 8:40 pm Post subject: |
|
|
ร.ฟ.ท.เร่งTOR ไอซีดีดันประมูลต้นปี 58 เผยขนส่งสินค้าปี 57 ทรุด เหตุขาดหัวจักร
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2557 20:10 น.
ร.ฟ.ท.ทบทวน TOR สัมปทาน"ไอซีดีลาดกระบัง" คาดเปิดประมูลได้ต้นปี 58 เผยปริมาณสินค้าปี 57 ลดลง เหตุขาดแคลนหัวจักร การเดินรถสินค้าไม่สม่ำเสมอ
นายวรวุฒิ มาลา ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาทบทวนตัวเลขค่าบริการที่เหมาะสมและวิเคราะห์ภาระการลงทุนในส่วนของเครื่องมือยกขนต่างๆ โครงการบริหารจัดการสถานีแยกและบรรจุสินค้ากล่อง หรือไอซีดี (ลาดกระบัง) เพื่อนำมากำหนดอัตราค่าเช่าพื้นที่ต่อตารางเมตรที่เหมาะสมซึ่งจะเท่ากันทั้งหมดทุกสถานี โดยหลักการประกวดราคาจะให้แข่งขันในเรื่องค่าบริการ โดยรายที่เสนอค่าบริการต่ำที่สุดจะเป็นผู้ได้รับคัดเลือก ในขณะเดียวกันจะต้องกำหนดเกณฑ์ในการควบคุมคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการด้วย โดยระยะเวลาศึกษาเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน วงเงิน 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ การให้ผู้เสนอค่าบริการต่ำที่สุดเป็นผู้บริหารสถานีไอซีดี มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าไปท่าเรือแหลมฉบัง ใช้รถไฟให้ได้ 50% เพื่อลดภาระทางถนนซึ่งขณะนี้รถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เสร็จแล้ว และหัวจักร 2 คันแรกในโครงการจัดซื้อ 20 คัน จะเข้ามาแล้วเช่นกัน โดยตามขั้นตอนหลังจากนี้ คือ จะจัดทำร่าง TOR ให้แล้วเสร็จและคณะกรรมการมาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) เห็นชอบร่าง TOR คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ต้นปี 2558 และหลังสรุปผลการประกวดราคา จึงจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอลงนามในสัญญาต่อไป โดยทั้ง 6 สถานีจะเปิดให้ผู้สนใจเลือกเสนอประมูลรายละกี่สถานีก็ได้
ร.ฟ.ท.ได้รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ เป็นประธานรับทราบแนวทางการบริหารไอซีดี(ลาดกระบัง) แล้ว โดยขณะนี้ผู้ประกอบการเดิม 6 ราย ยังคงให้บริการไปก่อนภายใต้เงื่อนไขสัญญาเดิม
นายวรวุฒิกล่าวว่า คปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถไฟในปี 2557 ประมาณการณ์ไว้ที่จำนวน 11.39 ล้านตัน มีรายได้ประมาณ 1,504 ล้านบาท โดยในช่วง 7 เดือน (ต.ค.56-เม.ย.57 ) มีปริมาณสินค้า 6.34 ล้านตัน มีรายได้ 832 ล้านบาท ซึ่งในภาพรวมจะลดลงจากปี 2556 ที่ขนส่งสินค้าได้จำนวน 12.01 ล้านตัน มีรายได้ 1,703 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนหัวรถจักร ทำให้ไม่มีความสม่ำเสมอในการขนส่งสินค้าแต่หลังจากนี้เมื่อทยอยรับมอบหัวรถจักรในการสั่งซื้อ 20 คันเข้ามาจะทำให้การให้บริการมีความสม่ำเสมอมากขึ้น ในขณะเดียวกัน จะมีการปรับปรุงถนนทางเข้า ถนนภายในสถานีไอซีดี(ลาดกระบัง) เพื่อให้รถบรรทุกเข้าออกสถานีได้สะดวกมากขึ้น
สำหรับไอซีดี(ลาดกระบัง) มีพื้นที่ 647 ไร่ มีผู้ประกอบการตามสัญญาสัมปทานเดิม 6 ราย คือ
1. บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด (SSS)
2. บริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ESCO)
3. บริษัท เอเวอร์กรีนคอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด (ECTT)
4. บริษัท ทิฟฟ่า ไอซีดี จำกัด (TIFFA)
5. บริษัท ไทยฮันจิน โลจิสติกส์ จำกัด (THL) และ
6. บริษัท เอ็น.วาย.เค. ดิสทริบิวชั่น เซอร์วิส (ประเทศไทย)จำกัด (NICD) โดยสัญญาสิ้นสุดวันที่ 5 มี.ค. 2554
โดยก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้เคยทำการศึกษาและระบุว่า หากร.ฟ.ท.บริหารเองจะมีกำไรมากกว่าการให้สัมปทานเอกชน โดยจะมีรายได้ถึง 1.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ให้สัมปทานอายุ 15 ปี จะมีรายได้จากค่าเช่าประมาณ 7,800 ล้านบาท
แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วยโดยเห็นว่าควรให้สัมปทานและคำนึงถึงอัตราค่าบริการที่เหมาะสมมากกว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐจะได้รับเพื่อผลักดันให้เกิดการขนส่งทางรางมากขึ้น จึงทำให้โครงการล่าช้า |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43900
Location: NECTEC
|
Posted: 11/08/2014 12:00 am Post subject: |
|
|
ตอนนี้ที่กังวลเป็นเอกก็คงไม่พ้นการขนแร่เหล็กโดยรถโหลดเพลา 20 ตัน เพราะ สะพานมิตรภาพรองรับโหลดเหลา 15 ตัน ถ้าจะขึ้นก็ต้องคลานที่ 5 กิโลเมตรต่อชัี่วโมง จึงจะไปรอด |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43900
Location: NECTEC
|
Posted: 11/08/2014 1:12 am Post subject: |
|
|
รถไฟอุบลฯ เพิ่มตู้ รับประชาชนเดินทางวันหยุดยาว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 สิงหาคม 2557 11:38 น.
อุบลราชธานี - รถไฟอุบลราชธานี เพิ่มโบกี้รับวันหยุดยาว เทศกาลวันแม่แห่งชาติ กำชับพนักงานประจำรถเพิ่มมาตรการป้องกันเหตุร้ายระหว่างเดินทาง
วันนี้ (9 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการเดินทาง เทศกาลวันแม่ 12 สิงหาคม ที่สถานีรถไฟวารินชำราบ จ.อุบลราชธํานี มีประชาชนใช้บริการหนาแน่นตั้งแต่เช้า โดยการรถไฟได้มีการเพิ่มโบกี้ตู้โดยสารเพิ่มจากปกติในขบวนสายยาวอุบลราชธานี-กรุงเทพฯ อีก 1 โบกี้ ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้บริการในช่วงเทศกาลวันหยุดนี้
ส่วนขบวนรถด่วนที่ 68 ซึ่งมีตู้เลดี้โบกี้ มีคู่แม่ลูกจองใช้เดินทางเต็มไปจนถึงสิ้นสุดเทศกาลวันแม่ 12 สิงหาคมนี้แล้ว ด้านการรักษาความปลอดในขบวนรถระหว่างการเดินทาง นายสถานีกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และพนักงานประจำรถช่วยกันดูแลเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้มีเหตุร้ายเกิดขึ้นในช่วงนี้ด้วย |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 11/08/2014 8:01 am Post subject: |
|
|
บอร์ด ร.ฟ.ท. อนุมัติบริษัทจีนเช่ารางขนแร่เหล็ก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 สิงหาคม 2557 07:16 น.
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่าในที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้บริษัท Sino-Glory Resource Holding Co.,td เป็นบริษัทจากประเทศจีน ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกันการขนแร่เหล็ก ซึ่งได้เช่ารางของทางการรถไฟฯ เพื่อทำการขนแร่เหล็กจากสถานีท่านาแล้งถึงท่าเรือแหลมฉบัง รวมระยะทาง 719 กม. เพื่อส่งต่อไปยังประเทศจีน
ทั้งนี้ในการอนุมัติการเช่ารางดังกล่าว มีกำหนดระยะเวลา 25 ปี คาดว่าหากทำการขนส่งแร่เหล็กได้จำนวนสูงสุด 5 ล้านตัน/ปี จะทำให้การรถไฟมีรายได้ประมาณ 603ล้านบาท/ปี และต่ำสุดประมาณ 1 ตัน/ปี การรถไฟฯก็จะมีรายได้ปีละประมาณ 120 ล้านบาท
คาดว่าจะสามารถดำเนินการหลังอนุมัติได้ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งทางบริษัทฯได้มีการจัดซื้อหัวรถจักรขนาด 20 ตันเพลา จำนวน 32 คัน รถพ่วงขนาด 20 ตันเพลา จำนวน 900 คัน ซึ่งจะมอบให้เป็นสมบัติของการรถไฟทั้งหมด สำหรับปัญหาในขณะนี้ที่ต้องเร่งแก้ไขคือ การหาพื้นที่ว่างสำหรับการพักวางแร่เหล็ก ซึ่งท่าเรือแหลมฉบังไม่มีพื้นที่เพียงพอในการพักแร่เหล็กจึงจะต้องมีการหาพื้นที่เพิ่ม
นอกจากนั้นนายออมสินยังกล่าวถึงความคืบหน้าการจัดซื้อโบกี้ลากขนสินค้าจำนวน 308 แคร่ วงเงิน 770 ล้านบาทว่าบอร์ด ร.ฟ.ท. ได้สั่งให้กลับไปพิจารณาตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวเพิ่มเติม 2 ประเด็นคือ
1.การตรวจสอบความหน้าเชื่อถือของบริษัท สยามโบกี้ จำกัด ที่ทำการจัดซื้อแคร่
2.ตรวจสอบในคำนิยามในสัญญาคำว่า ใกล้เคียงกับสเปก ก่อนที่จะนำมาเสนอต่อบอร์ด ร.ฟ.ท. อีกครั้งในวันที่ 19 สิงหาคมนี้
อย่างไรก็ตามในส่วนของแผนซ่อมใหญ่บริษัท รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ (ร.ฟ.ฟ.ท) ขณะนี้ทางบริษัทยังไม่ได้ส่งเรื่องดังกล่าวมาถึงบอร์ดร.ฟ.ท.
----
แนะรฟท.รื้อใหญ่บริหารจัดการ ทุ่มลงทุนรางคู่'ไม่เพียงพอ'
กรุงเทพธุรกิจ 11 ส.ค. 57
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 12/08/2014 7:46 am Post subject: |
|
|
สหภาพ รฟท.ชงตั้งบริษัทลูกหารายได้
กรุงเทพธุรกิจ 12 ส.ค. 57
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 12/08/2014 11:38 am Post subject: |
|
|
"รักษาการผู้ว่าการร.ฟ.ท." เปิดขบวนหัวรถจักรไอน้ำพิเศษ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
มติชนออนไลน์ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 09:30:04 น.
นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) พร้อมเจ้าหน้าที่ และนายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการร.ฟ.ท. ร่วมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บริเวณโถงกลางสถานีรถไฟกรุงเทพ หัวลำโพง โดยจัดนิทรรศการ ′สวนแห่งรักของแม่′ แสดงภาพพระบรมฉายาลักษณ์ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจ จำนวน 82 ภาพ เท่าพระชมมายุ และภาพแห่งรัก ซึ่งเป็นภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จำนวน 12 ภาพ
โดยในเวลา 8.00 น. รักษาการผู้ว่าการร.ฟ.ท. เป็นประธานในพิธีคล้องพวงมาลัยและปล่อยขบวน หัวรถจักรไอน้ำพิเศษกรุงเทพ นครปฐม บริเวณชานชาลาที่ 5 ซึ่งร.ฟ.ท.ได้นำรถจักรไอน้ำที่ปลดระวางแล้ว มาจัดเดินเป็นขบวนรถพิเศษนำเที่ยวในโอกาสพิเศษซึ่งจัดขึ้นเพียง 4 ครั้ง ต่อปี คือ วันพ่อแห่งชาติ วันปิยะมหาราช วันสถาปนาการรถไฟ และวันแม่แห่งชาติ ซึ่งขบวนในวันนี้จะนำนักท่องเที่ยวไปยัง 5 เส้นทาง ได้แก่ โรงเรียนช่างสิบหมู่ /พระราชวังสนามจันทร์/คลองมหาสวัสดิ์/ตลาดน้ำอัมพวา/อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม
ขณะเดียวกันนายประเสริฐ ระบุว่า ในวันนี้ เวลา 19.00 น. จะมีกิจกรรมจุดเทียนถวายพระพรที่สถานีรถไฟกรุงเทพด้วย ส่วนการดูแลรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสารยังคงเป็นไปอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ในส่วนของการปล้นทรัพย์สินของผู้โดยสารขบวนรถไฟ กรุงเทพฯ-สุไหงโก-ลก อยู่ในระหว่างรอผลการตรวจสอบ ซึ่งคาดหวังว่ากิจกรรมในวันนี้จะสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้ผู้โดยสารได้ในระดับหนึ่ง |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47088
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 12/08/2014 3:31 pm Post subject: |
|
|
มองอนาคตรถไฟไทย บนเงื่อนไข...ยกหนี้ให้รัฐ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 12 ส.ค. 2557 เวลา 08:07:13 น.
หนึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" เพื่อปลดภาระหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท มีการทำแผนการลงทุนและรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) เพื่อเคลียร์หนี้ด้านโครงสร้างพื้นฐาน รถจักรและล้อเลื่อน ให้ชัดเจนว่าใครจะรับผิดชอบเงินลงทุนระหว่าง "รัฐบาลกับ ร.ฟ.ท." หลังจากที่อึมครึมกันมายาวนานหลายปี
โดยโครงการลงทุนนี้ (ดูตาราง) อยู่ในแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท. ยุครัฐบาลประชาธิปัตย์เมื่อปี 2553 เป็นแผนเร่งด่วน 5 ปี (2553-2557) กรอบวงเงิน 176,808 ล้านบาท แต่จนถึงปัจจุบันร.ฟ.ท.ยังไม่สามารถผลักดันโครงการให้เป็นไปตามเป้า ต้องเขย่าแผนใหม่เป็นปี 2558-2562 แทน ขณะที่ต้นทุนก่อสร้างพุ่งพรวดไปไกล
เห็นชัด ๆ รถไฟทางคู่ 5 สาย มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 79% หรือกว่า 5.2 หมื่นล้านบาท จาก 66,110 ล้านบาท เป็น 118,638 ล้านบาท จะทำให้ภาระรัฐเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะต่อไป "ร.ฟ.ท." จะแยกบัญชี ขอรับเฉพาะหนี้จัดหารถจักรและล้อเลื่อน |
|
Back to top |
|
|
|