View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2015 2:37 pm Post subject: |
|
|
ครม.สั่งร.ฟ.ท.ปรับโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางสุราษฎร์-ปาดังเบซาร์ไปเป็นสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 มิถุนายน 2558 16:28 น. 16:30 น.
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปลี่ยนเป้าหมายโครงการ จากเดิมที่เป็นการว่าจ้างศึกษาความเหมาะสม สำรวจ และออกแบบรายละเอียด โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปาดังเปซาร์ ไปเป็นสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) สังกัดกระทรวงคมนาคมนั้น มีแผนที่จะศึกษาโครงการเส้นทางระหว่างหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ อยู่แล้ว จึงเห็นว่าทับซ้อนกันระหว่างช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ดังนั้น จึงให้ สนข.คงแผนงานเดิมต่อไป แต่ให้คงกรอบงบประมาณเดิมของ ร.ฟ.ท.ไว้ แบ่งเป็นปีงบประมาณ 2558 อยู่ที่จำนวน 65.8 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2559 จำนวน 263 ล้านบาท แม้ระยะทางการก่อสร้างจะสั้นลงกว่าเดิมราว 15 กิโลเมตร เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2521 และปัจจุบันมีประชาชนบุกรุกก่อสร้างตลอดเส้นทาง |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 24/06/2015 6:01 pm Post subject: |
|
|
รฟท. เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นชาวโคราชศึกษารถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระ-อุบลราชธานีเตรียมพัฒนาเป็นศูนย์กลางขนส่งโลจิสติกส์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นำเสนอโดย กษิดิศ บวกขุนทด
กรมประชาสัมพันํธ์
เมื่อ 24 มิถุนายน 2558 13:37
จำนวนผู้เข้าชม 13
รฟท. เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นชาวโคราชศึกษารถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระ-อุบลราชธานีเตรียมพัฒนาเป็นศูนย์กลางขนส่งโลจิสติกส์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันนี้ (24 มิถุนายน 2558) เวลา 09.00 น. ณ ห้องซิตี้พาร์ค โรงแรมซิตี้พาร์คโคราช นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศโครงการงานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เพื่อนำเสนอสาระสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนินการ แผนการดำเนินโครงการ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการสัมมนากว่า 200 คน ในการประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอสาระสำคัญโครงการ คือ ด้านวิศวกรรมและการออกแบบแนวเส้นทางจะพัฒนาให้เป็นระบบรถไฟด่วนความเร็ว 160 กม./ชม. โดยใช้รางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) แต่จะต้องมีการปรับรัศมีโค้งเป็นบางช่วง เพื่อให้รองรับอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ ซึ่งจะสร้างทางเพิ่มขึ้น 1 ทาง เพื่อวิ่งคู่ขนานกับทางรถไฟเดิม โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการฯ เมื่อพ้นจากสถานีชุมทางถนนจิระ (จ.นครราชสีมา) และไปสิ้นสุดที่สถานีอุบลราชธานี ระยะทางรวมประมาณ 309 กิโลเมตร ประกอบด้วย 34 สถานี (ไม่รวมสถานีชุมทางถนนจิระ) ผ่านพื้นที่ 16 อำเภอ ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมา จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี โดยตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ ส่วนใหญ่ไม่ได้พาดผ่านพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ การพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี จะช่วยส่งเสริมให้ จ.นครราชสีมา เป็นศูนย์กลางด้านขนส่งโลจิสติกส์ที่ช่วยขนส่ง ถ่ายเทสินค้าด้านอุตสาหกรรมการเกษตร อาทิ ข้าว แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล ฯลฯ ที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน การเดินทางและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า ที่กระตุ้นเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน ของ จ.นครราชสีมา ให้มีการเติบโตมากขึ้น และกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจ ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนี้ในอนาคตถ้ามีการต่อขยายแนวเส้นทางจากสถานีอุบลราชธานี ใน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ไปยังบริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว จะทำให้แนวเส้นทางนี้ช่วยทำหน้าที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามระเบียบเศรษฐกิจ ในแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาประเทศและการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของไทยในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรอบโครงการฯ
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เป็นเส้นทางหนึ่งตามแผนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ของกระทรวงคมนาคม ที่จะก่อสร้างปรับปรุงทางรถไฟช่วงสถานีชุมทางถนนจิระ (จ.นครราชสีมา) ถึงสถานีอุบลราชธานี จากทางเดี่ยวให้เป็นทางคู่ โดยมอบหมายให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2558-เดือนเมษายน ทั้งนี้ รฟท.จะมีการจัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนอีก 2 ครั้ง ในช่วงประมาณเดือนกันยายน 2558 และประมาณเดือนมกราคม 2559 เพื่อนำเสนอผลการศึกษาโครงการฯ ในขั้นตอนต่อไป โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่ www.chira-ubonrailway.com
การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นชาวโคราช ศึกษารถไฟทางคู่ช่วงชุมทางธีระปลายทางอุบลราชธานี
แหล่งที่มา : สวท.นครราชสีมา
วันที่ข่าว : 24 มิถุนายน 2558
เช้าวันนี้ ( 24 มิย.58) นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้เป็นประธานเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศโครงการงานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนธีระไปถึงปลายทางอุบลราชธานี ซึ่งในโครงการดังกล่าวนี้ จะได้มีการพูดคุยขอบเขตวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ พร้อมรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนใน จ.นครราชสีมา
ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจ องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นภาคธุรกิจเอกชน เข้าร่วมรับฟังในวันนี้กว่า 200 คน โดยมี นายวรรณลพ ไพรสารพงค์ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงการ โครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้กล่าวสรุปสาระสำคัญของโครงการ คือด้านวิศวกรรมและการออกแบบแนวเส้นทาง จะพัฒนาให้เป็นระบบรถไฟด่วนความเร็ว 160 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง โดยใช้รางขนาด 1 เมตร แต่จะตั้งมีการปรับรัศมีโค้งเป็นบางช่วง เพื่อให้รองรับอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ ซึ่งจัดสร้างทางเพิ่มขึ้น 1 ทาง เพื่อวิ่งคู่ขนานกับทางรถไฟเดิมโดยจุดเริ่มต้นโครงการ เมื่อพ้นจากสถานีชุมทางธีระนครราชสีมา จะไปสิ้นสุดที่สถานีอุบลราชธานี ระยะทางรวมประมาณ 309 กิโลเมตร มี 34 สถานีหลัก ผ่านพื้นที่ 16 อำเภอ ใน 5 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
การพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนธีระถึงปลางทางอุบลราชธานี จะช่วยเสริมให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางด้านขนส่งโลจิสติกส์ และการขนส่งทางรางในอนาคต นอกจากนี้ในอนาคต ถ้ามีการต่อขยายแนวเส้นทางจากสถานีอุบลราชธานีผ่านไปยังสถานีชายแดนระหว่างประเทศไทยและ สปป.ลาว ก็จะทำให้แนวเส้นทางนี้ ช่วยทำหน้าที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ตามระเบียงเศรษฐกิจในแนวตะวันออก ตะวันตก ได้ดียิ่งขึ้น ผลักดันการพัฒนาประเทศและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนธีระปลายทางอุบลราชธานี เป็นเส้นทางหนึ่งตามแผนการพัฒนารถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยจะมีการจัดประชุม การมีส่วนร่วมของประชาชนอีก 2 ครั้ง ในช่วงเดือนกันยายน ปีนี้ และประมาณเดือน มกราคม ปีหน้า เพื่อนำเสนอผลการศึกษาโครงการในขั้นตอนต่อไป
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระอุบลราชธานี มีจุดเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นโครงการบริเวณสถานีชุมทางถนนจิระ ที่กม. 266 + 304 และสิ้นสุดที่สถานีอุบลราชธานี ที่กม. 575 + 100 ระยะทางรวมประมาณ 309 กิโลเมตร ประกอบด้วย 37 สถานี
แบ่งเป็นสถานีชั้น 1 จำนวน 7 สถานี
สถานีชั้น 2 จำนวน 7 สถานี และ
สถานีชั้น 3 จำนวน 20 สถานี
โดยมีสถานีที่เป็นชุมทางรถไฟ 1 สถานี คือสถานีชุมทางถนนจิระ
โผบัญชีรายชื่อสถานี
ลำดับ ชื่อสถานี ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อย่อ กม.รถไฟ ชั้นสถานี
0 สถานีชุมทางถนนจิระ Thanon Jira Junction จร. 266 + 304 1
1 บ้านพะเนา Ban Phanao พเ. 276.35 กม. 3
2 ท่าช้าง Tha Chang ชา. 285.40 กม. 3
3 หนองมโนรมย์ Nong Manorom มโ. 293.26 กม. 3
4 จักราช Chakkarat จช. 300.15 กม. 2
5 บ้านหินโคน Ban Hin Khon หโ. 309.75 กม. 3
6 หินดาษ Hin Dat ดา. 316.90 กม. 3
7 ห้วยแถลง Huai Thalaeng ถล. 325.65 กม. 2
8 หนองกระทิง Nong Kathing ทง. 337.50 กม. 3
9 ลำปลายมาศ Lam Plai Mat ลำ. 345.70 กม. 1
10 ทะเมนชัย Thamen Chai มช. 354.85 กม. 3
11 บ้านแสลงพัน Ban Salaeng Phan งพ. 363.30 กม. 3
12 บ้านหนองตาด Ban Nong Tat ตา. 366.50 กม. 3
13 บุรีรัมย์ Buri Ram รย. 376.02 กม. 1
14 ห้วยราช Huai Rat หร. 385.51 กม. 2
15 กระสัง Krasang ะส. 398.65 กม. 2
16 หนองเต็ง Nong Teng เต. 405.50 กม. 3
17 ลำชี Lam Chi ลช. 412.00 กม. 3
18 สุรินทร์ Surin สร. 419.75 กม. 1
19 บุฤๅษี Bu Rusi บุ. 428.60 กม. 3
20 เมืองที Muang Thi อท. 437.16 กม. 3
21 กะโดนค้อ Kadon Kho ดค. 445.50 กม. 3
22 ศีขรภูมิ Sikhoraphum รภ. 452.39 กม. 1
23 บ้านกะลัน Ban Kalan ลน. 460.25 กม. 3
24 สำโรงทาบ Samrong Thap สบ. 471.00 กม. 2
25 ห้วยทับทัน Huai Thap Than ทท. 481.50 กม. 2
26 อุทุมพรพิสัย Uthomphon Phisai อุ. 494.45 กม. 1
27 บ้านเนียม Ban Niam นเ. 504.00 กม. 3
28 ศรีสะเกษ Si Sa Ket เก. 515.09 กม. 1
29 หนองแวง Nong Waeng อว. 527.19 กม. 3
30 บ้านคล้อ Ban Khlo าค. 534.20 กม. 3
31 กันทรารมย์ Kanthararom าร. 542.18 กม. 2
32 ห้วยขยุง Huai Khayung ขย. 553.99 กม. 3
33 บุ่งหวาย Bung Wai งห. 566.20 กม. 3
34 อุบลราชธานี Ubon Ratchathani อน. 575.10 กม. 1
http://www.chira-ubonrailway.com/about2.php |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 24/06/2015 6:22 pm Post subject: |
|
|
ร.ฟ.ท.รับฟังความเห็นชาวสุราษฎร์ฯ พัฒนารถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ฯ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
23 มิถุนายน 2558 17:31 น. (แก้ไขล่าสุด 24 มิถุนายน 2558 09:37 น.)
สุราษฎร์ธานี - การรถไฟแห่งประเทศไทย รับฟังความคิดเห็นชาวสุราษฎร์ฯ ร่วมพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ฯ -ชุมพร รับ AEC ส่วนใหญ่เห็นด้วย แต่ติงปัญหาความปลอดภัย
วันนี้ (23 มิ.ย.) ณ ห้องแก้วสมุยแกรนด์ฮอลล์ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี นายวิชวุทย์ จินโต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศโครงการงานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี เพื่อนำเสนอความสำคัญ ขอบเขตการดำเนินงาน และรูปแบบแนวเส้นทางที่เหมาะสม พร้อมทั้งระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถานศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมการสัมมนาประมาณ 300 คน
สำหรับการประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอแนวเส้นทางโครงการโดยเริ่มจากสถานีชุมพร สิ้นสุดโครงการที่สถานีสุราษฎร์ธานี ผ่าน 2 จังหวัด 9 อำเภอ ได้แก่ จ.ชุมพร ผ่าน อ.เมืองชุมพร อ.สวี อ.ทุ่งตะโก อ.หลังสวน และ อ.ละแม มีสถานี 11 สถานี (ไม่รวมสถานีชุมพร) จ.สุราษฎร์ธานี ผ่าน อ.ท่าชนะ อ.ไชยา อ.ท่าฉาง และ อ.พุนพิน มีสถานี 10 สถานี ซึ่งตลอดระยะทางของโครงการรวมทั้งสิ้น 21 สถานี โดยออกแบบก่อสร้างเพิ่มทางวิ่ง 1 ทางคู่ขนานไปกับแนวทางเดิมมีขนาดทาง 1 เมตร (Meter Gauge) รองรับความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงต้องมีการปรับปรุงเส้นทางรถไฟที่เป็นโค้งวงแคบให้รถไฟ สามารถใช้ความเร็วได้เต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น คุณภาพอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เป็นต้น รวมทั้งเสนอมาตรการป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาการศึกษารวมทั้งสิ้น 12 เดือน (ตั้งแต่เดือน เม.ย.58- เม.ย.59)
โดยการพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี จะช่วยยกระดับให้จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการเดินทาง และการขนส่งสินค้าไปยังจังหวัดต่างๆ ของอ่าวไทย-อันดามัน โดยมีศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าที่บริเวณสถานีทุ่งโพธิ์ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งสามารถเชื่อมต่อระบบการขนส่งทางรางไปยังสถานีปาดังเบซาร์ สถานีสุไหง-โกลก และประเทศมาเลเซีย อีกทั้งช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง เช่น เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) อุทยานแห่งชาติเขาสก เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
นายวิชวุทย์ จินโต รอง ผวจ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า รถไฟทางคู่สามารถเป็นเส้นทางที่รองรับ AEC ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ ที่จะพัฒนาด้านการค้า และบริการนักท่องเที่ยวที่สามารถเพิ่มทางเลือกแก่นักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน และการมีส่วนร่วมของประชาชน
นายอนุวัตร์ รจิตานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองท่าข้าม กล่าวว่า โดยความเห็นส่วนตัวเห็นด้วยต่อโครงการรถไฟทางคู่ ทั้งนี้ พื้นที่เทศบาลเมืองท่าข้าม เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี หากโครงการนี้เกิดขึ้นจริงอยากให้ทางการรถไฟฯ โยกย้ายที่ตั้งสถานีปัจจุบันไปไว้ที่บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำตาปี เพื่อให้นักท่องเที่ยว และผู้โดยสารได้เห็นความสวยงามภูมิทัศน์แม่น้ำตาปี แม่น้ำสายหลักของภาคใต้ได้ง่ายขึ้น
ด้าน นายวรรณนพ ไพศาลพงศ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการรถไฟทางคู่เป็นโครงการของรัฐบาล หากแล้วเสร็จสามารถเชื่อมต่อไปยังกลุ่มประเทศในอาเซียนได้ โดยในส่วนของช่วงระหว่างชุมพร-สุราษฎร์ธานี อาจจะต้องมีการเวนคืนที่ดินของชาวบ้าน แต่ทั้งนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นของการรถไฟฯ แต่อย่างไรก็ตาม การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างไปตามแผนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ของกระทรวงคมนาคมเพื่อพัฒนาโครงข่ายรถไฟจากทางเดี่ยวให้เป็นทางคู่ แก้ปัญหาความล่าช้าของการเดินรถไฟสายใต้
โครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี มีระยะทาง 167.5 กิโลเมตร จะเชื่อมต่อกับโครงการทางคู่ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร มีระยะทางรวม 334.5 กิโลเมตร ซึ่งการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งนี้ ทาง ร.ฟ.ท.จะนำข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เข้าร่วมประชมไปพิจารณาประกอบในรายงานผลการศึกษาทุกด้านของโครงการ และจะจัดเตรียมส่งมอบให้แก่กระทรวงคมนาคมดำเนินการในขั้นตอนต่อไป โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้า และรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่ www.chumphon-suratrailway.com |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 25/06/2015 4:23 pm Post subject: |
|
|
สุรินทร์หารือโครงการสร้างรถไฟรางคู่
INN News ข่าวภูมิภาค วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2558 15:12น.
รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ หารือโครงการสร้างรถไฟรางคู่ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน
นายถาวร กุลโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1 โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เพื่อนำเสนอสาระสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนินการ แผนการดำเนินโครงการและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมสัมมนากว่า 200 คน
นายวรรณนพ ไพศาลพงษ์ รองวิศวกรใหญ่ ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คาดว่าจะได้เริ่มก่อสร้างประมาณต้นปี 2560 ระยะทางก่อสร้างกว่า 300 กม. จะต้องใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี น่าจะเสร็จสิ้นประมาณ ปี 2564 และปี 2565 น่าจะเดินรถได้
ด้าน นายถาวร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นโอกาสอันดีที่ประชาชนได้รับโอกาสเป็นอย่างมาก ช่วยในเรื่องการคมนาคม การขนส่งสินค้า รวมทั้ง การท่องเที่ยว คนที่จะมาสุรินทร์ มีโอกาสเข้ามากขึ้น ด้วยการโดยสารรถไฟ เพราะว่ารถไฟรางคู่จะทำให้ย่นระยะเวลาการเดินทางได้มากขึ้น
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 25/06/2015 4:35 pm Post subject: |
|
|
บอร์ดสวล.ไฟเขียวแล้ว! รถไฟรางคู่"ประจวบฯ-ชุมพร"
Nation TV วันที่ 25 มิถุนายน 2558 14:42 น.
บอร์ดสวล.ไฟเขียวรถไฟรางคู่สายใต้ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร หลังจี้คุมเข้มมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและะสัตว์ป่าใน 6 ป่าสงวนแห่งชาติและ 1 อุทยานแห่งชาติ
นายเกษมสันต์ จิณณวาโส ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)โครงการระบบรถไฟรางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ระยะเร่งด่วน ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 169 กิโลเมตร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หลังจากที่มีการนำเสนอเข้าพิจารณาในคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาโครงการ(คชก.) รวม 4 ครั้งตั้งแต่ปี 2555 เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างมีบางจุดที่ผ่านอุทยานแห่งชาติหาดวนกร ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง ป่าสงวนแห่งชาติเขาสีเสียด จ.ประจวบคีรีขันธ์ และป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกกะเปาะ ป่าสงวนแห่งชาติเขาช้างตาย-ป่าเขาสีเสียด และป่าสงวนแห่งชาติป่าบางน้ำจืด จ.ชุมพร
นายเกษมสันต์ บอกว่า ที่ประชุมบอร์ดสิ่งแวดล้อมให้รฟท.ประสานกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เรื่องความจำเป็นในการกั้นรั้วตลอดแนว 2 ข้างทางรถไฟในช่วงที่ต้องผ่านอุทยานแห่งชาติหาดวนกร เพื่อลดผลกระทบต่อสัตว์ป่าและต้องออกแบบรั้วให้มีช่องว่างระหว่างกรอบกับคันคอนกรีตที่ขนานกับพื้นช่องว่างประมาณ 10 เมตร ส่วนรั้วบริเวณท่อลอดต้องออกแบบให้สัตว์ป่าขนาดเล็กสามารถมุดลอดข้ามไปมาได้
นอกจากนี้ บอร์ดสิ่งแวดล้อมยังให้พิจารณาพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อการได้รับผลกระทบเรื่องเสียงและความสั่นสะเทือน โดยต้องทำบัฟเฟอร์โซน ทั้งในระหว่างก่อสร้างและหลังก่อสร้าง
สำหรับโครงการนี้มีจุดก่อสร้างตั้งแต่สถานีรถไฟประจวบคีรีขันธ์ ถึงสถานีรถไฟชุมพร ระยะทาง 169 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 6 อำเภอใน 2 จังหวัด เช่น อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์. อ.ทับสะแก. อ.บางสะพานน้อย. อ.ปะทิว และมีสถานี 21 จุด แต่บางบริเวณต้องผ่านอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ จึงต้องพิจารณาอย่างเข้มข้นจากคชก. และต้องตั้งงบประมาณเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม |
|
Back to top |
|
|
nutsiwat
2nd Class Pass
Joined: 03/03/2011 Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร
|
Posted: 25/06/2015 9:23 pm Post subject: |
|
|
รถไฟทางคู่ จากชุมทางจิระ - อุบลราชธานี หากได้งบประมาณเพิ่มอีกหน่อย ผมว่าน่าจะขยายต่อไปจนถึงด่านช่องเม็กนะครับ เพราะต่อไปในอนาคตด่านช่องเม็กจะมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจอีกมาก และสามารถใช้เป็นจุดขนถ่ายสินค้าข้ามไปยังฝั่งลาวไปถึงปากเซได้ครับ _________________
--------------------------
สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 26/06/2015 1:19 am Post subject: |
|
|
ร.ฟ.ท.ลุยต่อรถไฟทางคู่จิระ-อุบล 4 หมื่นล้าน ดันโคราชศูนย์กลางเชื่อมลาว-เวียดนาม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
25 มิถุนายน 2558 21:26 น.
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - ร.ฟ.ท. เดินหน้าลุยต่อรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระโคราช -อุบลฯ เป็นศูนย์กลางขนส่งโลจิสติกส์อีสาน จ้างบริษัทที่ปรึกษากว่า 220 ล้าน ศึกษาออกแบบ คาดใช้งบสร้างกว่า 4 หมื่นล้านลงมือได้ปลายปี59 เผยส่วนเส้นทางจิระ-ขอนแก่น บรรจุในแผนระยะเร่งด่วนลงมือสร้างปลายปี58 มีเพียงมาบกะเบา-จิระ ยังไม่ผ่าน EIA เตรียมยื่นใหม่ ด้านผู้ว่าฯชี้ดันโคราชเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์เชื่อมเพื่อนบ้าน ลาว-เวียดนาม
วันนี้ (25 มิ.ย.) นายวรรณนพ ไพศาลพงศ์ รองวิศกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เป็นเส้นทางหนึ่งตามแผนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ของกระทรวงคมนาคม ที่จะก่อสร้างปรับปรุงทางรถไฟช่วงสถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา ถึงสถานีอุบลราชธานี จากทางเดี่ยวให้เป็นทางคู่ โดยมอบหมายให้ ร.ฟ.ท.เป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน เมษายน 2558-เมษายน 2559
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้าง 3 บริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอดน์ เมนเนจเม้นท์ จำกัด บริษัททีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด และ บริษัทดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด เพื่อ ศึกษาความเหมาะสม สำรวจออกแบบรายละเอียดทางวิศวกรรม และจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลระทบสิ่งแวดล้อม ( EIA) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 309 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 220 ล้านบาท
ล่าสุดได้มีการประชุมเสนอ ขอบเขตการดำเนินการ แผนการดำเนินโครงการ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ที่ จ.นครราชสีมา
โดยได้นำเสนอสาระสำคัญโครงการ คือ ด้านวิศวกรรมและการออกแบบแนวเส้นทางจะพัฒนาให้เป็นระบบรถไฟด่วนความเร็ว 160 กม./ชม. โดยใช้รางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) แต่ต้องมีการปรับรัศมีโค้งเป็นบางช่วง เพื่อให้รองรับอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ ซึ่งจะสร้างทางเพิ่มขึ้น 1 ทางเพื่อวิ่งคู่ขนานกับทางรถไฟเดิม มีจุดเริ่มต้นโครงการฯ เมื่อพ้นจากสถานีชุมทางถนนจิระ (จ.นครราชสีมา) และไปสิ้นสุดที่สถานีอุบลราชธานีระยะทางรวมประมาณ 309 กิโลเมตร ประกอบด้วย34 สถานี (ไม่รวมสถานีชุมทางถนนจิระ) ผ่านพื้นที่ 16 อำเภอ ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมา จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ ส่วนใหญ่ไม่ได้พาดผ่านพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
นายวรรณนพ กล่าวอีกว่า การพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี จะช่วยส่งเสริมให้จ.นครราชสีมา เป็นศูนย์กลางด้านขนส่งโลจิสติกส์ที่ช่วยขนส่ง ถ่ายเทสินค้าด้านอุตสาหกรรมการเกษตร อาทิ ข้าว แป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล ฯลฯ ที่สำคัญของภาคอีสาน และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน การเดินทางและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า ที่กระตุ้นเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน ของ จ.นครราชสีมา ให้มีการเติบโตมากขึ้น และกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจ ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
นอกจากนี้ ในอนาคตถ้ามีการต่อขยายแนวเส้นทางจากสถานีอุบลราชธานี ใน อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ไปยังบริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว จะทำให้แนวเส้นทางนี้ช่วยทำหน้าที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามระเบียบเศรษฐกิจในแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยผลักดันการพัฒนาประเทศและการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของไทยในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรอบโครงการฯ
คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมดกว่า 40,000 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้และปลายปี 2559 น่าจะจ้างเหมาเอกชนลงมือก่อสร้างได้ นายวรรณนพ กล่าว
นายวรรณนพ กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม.ใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท นั้น ขณะนี้ยังไม่ผ่าน EIA ซึ่งเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาไปแล้ว 2 รอบแต่ยังไม่ผ่านจึงอยู่ระหว่างการแก้ไขโดยทางคณะกรรมการฯ บอกว่าเป็นการผ่านพื้นที่อนุรักษ์ จึงได้มีการปรับแก้ทำเป็นอุโมงค์ในช่วงสระบุรี โดยต้องกันพื้นที่สัมปทานของบริษัทเอกชนในการระเบิดหินให้ออกห่างเส้นทางรถไฟด้วย ซึ่งทางเอกชนให้ความร่วมมือดีไม่ปีปัญหา
ฉะนั้นจึงเสนอคณะกรรมการฯ กลับเข้าไปอีกครั้ง หากผ่าน EIA ก็ไม่น่าจะมีปัญหา และ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. งบประมาณการก่อสร้างกว่า 26,000 ลานบาท บรรจุอยู่ในแผนระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง ของรัฐบาลที่มีการอนุมัติโครงการแล้วคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2558 นี้ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีจะแล้วเสร็จ หากทุกโครงการแล้วเสร็จการเชื่อมโยงอีสานกับภาคกลางได้ทั้งหมด
ด้าน นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในแผนงาน 10 ปีที่โคราชต้องมี ซึ่งหากโครงการดำเนินการเป็นรูปธรรมจะส่งผลดีต่อจ.นครราชสีมาโดยเฉพาะระบบโลจิสติกส์ซึ่งปัจจุบันมีการขนส่งสินค้าเกษตรผ่านทางรถยนต์จำนวนมาก แต่มีผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังซึ่งจ.นครราชสีมาเป็นพื้นที่ที่มีการผลิตมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดกว่า 1.9 ล้านไร่ส่งออกที่ท่าเรือแหลมฉบังและอยุธยา ขณะนี้กลุ่มโรงแป้งมันขนส่งระบบรางอยู่แล้ว แต่หากระบบรถไฟรางคู่สำเร็จจะสามารถเปลี่ยนจากระบบขนส่งระบบทางรถยนต์ไปใช้ระบบรางทั้งหมด ลดต้นทุนการขนส่ง ประหยัดเวลาและปลอดภัย ลดความแออัดบนทางหลวง ลดการนำเข้าเชื้อเพลิง มีความสะดวกในการขนส่ง
นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆที่จะได้ผลประโยชน์ ซึ่งนครราชสีมามีโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 3,000 แห่ง เฉพาะโปแตสที่ อ.พิมาย ส่งออกหลายพันตันต่อปี ไปที่ จ.ระยอง ซึ่งใช้การขนส่งทางรถยนต์ หากมีระบบรางเชื่อว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะไปใช้บริการทั้งสิ้น หรือแม้แต่ช่วงที่มีการก่อสร้างคาดว่าจะมีการจ้างงานเกิดขึ้นอีกจำนวนมาก แต่ไม่อยากให้มองแค่ที่ จ.นครราชสีมาเท่านั้นจะได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวแต่ประชาชนชาวอีสานอีก 19 จังหวัดภาคอีสาน รวมเวียดนามและสปป.ลาวก็ได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น
โคราชไม่เหมือนจังหวัดใหญ่อื่นๆ แต่เป็นจุดเชื่อมของภูมิภาคอื่นๆ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านต้องผ่าน จ.นครราชสีมา แม้แต่เส้นทางท่องเที่ยวหากมีโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นก็สามารถนั่งรถไฟข้ามไปเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านและเดินทางกลับมาได้ในวันเดียว นายธงชัย กล่าวในตอนท้าย
//--------------
บอร์ดสวล.ไฟเขียวแล้ว! รถไฟรางคู่"ประจวบฯ-ชุมพร"
โดย Nation TV
วันที่ 25 มิถุนายน 2558 14:42 น.
2,990 views
บอร์ดสวล.ไฟเขียวรถไฟรางคู่สายใต้ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร หลังจี้คุมเข้มมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและะสัตว์ป่าใน 6 ป่าสงวนแห่งชาติและ 1 อุทยานแห่งชาติ
นายเกษมสันต์ จิณณวาโส ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)โครงการระบบรถไฟรางคู่เพื่อการขนส่งและการจัดการโลจิสติกส์ระยะเร่งด่วน ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 169 กิโลเมตร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หลังจากที่มีการนำเสนอเข้าพิจารณาในคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาโครงการ(คชก.) รวม 4 ครั้งตั้งแต่ปี 2555 เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างมีบางจุดที่ผ่านอุทยานแห่งชาติหาดวนกร ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึง ป่าสงวนแห่งชาติเขาสีเสียด จ.ประจวบคีรีขันธ์ และป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกกะเปาะ ป่าสงวนแห่งชาติเขาช้างตาย-ป่าเขาสีเสียด และป่าสงวนแห่งชาติป่าบางน้ำจืด จ.ชุมพร
นายเกษมสันต์ บอกว่า ที่ประชุมบอร์ดสิ่งแวดล้อมให้รฟท.ประสานกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เรื่องคามจำเป็นในการกั้นรั้วตลอดแนว 2 ข้างทางรถไฟในช่วงที่ต้องผ่านอุทยานแห่งชาติหาดวนกร เพื่อลดผลกระทบต่อสัตว์ป่าและต้องออกแบบรั้วให้มีช่องว่างระหว่างกรอบกับคันคอนกรีตที่ขนานกับพื้นช่องว่างประมาณ 10 เมตร ส่วนรั้วบริเวณท่อลอดต้องออกแบบให้สัตว์ป่าขนาดเล็กสามารถมุดลอดข้ามไปมาได้
นอกจากนี้ บอร์ดสิ่งแวดล้อมยังให้พิจารณาพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อการได้รับผลกระทบเรื่องเสียงและความสั่นสะเทือน โดยต้องทำบัฟเฟอร์โซน ทั้งในระหว่างก่อสร้างและหลังก่อสร้าง
สำหรับโครงการนี้มีจุดก่อสร้างตั้งแต่สถานีรถไฟประจวบคีรีขันธ์ ถึงสถานีรถไฟชุมพร ระยะทาง 169 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 6 อำเภอใน 2 จังหวัด เช่น อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์. อ.ทับสะแก. อ.บางสะพานน้อย. อ.ปะทิว และมีสถานี 21 จุด แต่บางบริเวณต้องผ่านอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ จึงต้องพิจารณาอย่างเข้มข้นจากคชก. และต้องตั้งงบประมาณเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 26/06/2015 4:43 pm Post subject: |
|
|
อีสานใต้นับถอยหลัง รัฐบาล"บิ๊กตู่" ทุ่มงบ2.6หมื่นล้าน สร้างรถไฟทางคู่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
26 มิถุนายน 2558 2558 เวลา 16:00:24 น.
อีสานใต้ 5 จังหวัด นับถอยหลัง รัฐบาลทุ่มงบ2.6หมื่นล้าน สร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระ-อุบลฯ ร.ฟ.ท.เร่งศึกษาเสร็จปี′59
ร.ฟ.ท.เดินสายรับฟังความเห็นชาวโคราช-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลฯศึกษาบิ๊กโปรเจ็กต์"รถไฟทางคู่"ช่วงชุมทางจิระ-อุบลฯ ระยะทาง 309 กม. 34 สถานี พร้อมเตรียมพัฒนาเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์
นายวรรณนพ ไพศาลพงศ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ในช่วงนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เดินสายจัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศโครงการงานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ซึ่งการออกแบบแนวเส้นทางจะพัฒนาให้เป็นระบบรถไฟด่วนความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยใช้รางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) แต่จะต้องมีการปรับรัศมีโค้งเป็นบางช่วง เพื่อให้รองรับอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ ซึ่งจะสร้างทางเพิ่มขึ้น 1 ทาง เพื่อวิ่งคู่ขนานกับทางรถไฟเดิม
โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการฯ เมื่อพ้นจากสถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา และไปสิ้นสุดที่สถานีอุบลราชธานี ระยะทางรวมประมาณ 309 กิโลเมตร ประกอบด้วย 34 สถานี (ไม่รวมสถานีชุมทางถนนจิระ) ผ่านพื้นที่ 16 อำเภอ ใน 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี โดยตลอดแนวเส้นทางส่วนใหญ่ไม่ได้พาดผ่านพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมด 26,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ การพัฒนารถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี จะช่วยส่งเสริมให้ จ.นครราชสีมา เป็นศูนย์กลางด้านขนส่งโลจิสติกส์ที่ช่วยขนส่ง-ถ่ายเทสินค้าด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาทิข้าวแป้งมันสำปะหลัง น้ำตาล ฯลฯ และสนับสนุนการเดินทางและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน ของ จ.นครราชสีมา ให้มีการเติบโตมากขึ้น และกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
นอกจากนี้ในอนาคตถ้ามีการต่อขยายแนวเส้นทางจากสถานีในอ.วารินชำราบจ.อุบลราชธานี ไปยังบริเวณชายแดนไทยกับ สปป.ลาว ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามระเบียบเศรษฐกิจ ในแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาประเทศและการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของไทยในภูมิภาคอาเซียน
โครงการนี้ ร.ฟ.ท. เป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการฯระยะเวลา 12 เดือน เม.ย.58-เม.ย.59 ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะมีการจัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนอีก 2 ครั้ง ในช่วงประมาณเดือนกันยายน 2558 และประมาณเดือนมกราคม 2559 เพื่อนำเสนอผลการศึกษาโครงการฯ ในขั้นตอนต่อไป |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 26/06/2015 5:24 pm Post subject: |
|
|
เดินสายอีสานใต้เปิดเวทีลุยรถไฟรางคู่ โคราชอุบล ดันไทยศูนย์กลางลอจิสติกส์อาเซียน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มิถุนายน 2558 12:09 น.
เดินสายอีสานใต้เปิดเวทีลุยรถไฟรางคู่ โคราชอุบล ดันไทยศูนย์กลางลอจิสติกส์อาเซียน
ร.ฟ.ท. เดินสายเปิดเวทีที่ จ.สุรินทร์ นำเสนอโครงการและรับฟังความคิดเห็น การก่อสร้างรถไฟรางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี พาดผ่าน 5 จังหวัดอีสานใต้ 309 กม.ความเร็ว 160 กม./ชม.
สุรินทร์ - ร.ฟ.ท.เดินสายเปิดเวทีรับฟังความเห็นประชาชนโครงการรถไฟรางคู่สายจิระ โคราช-อุบลฯ 309 กม. ความเร็ว 160 กม./ชม. พาดผ่าน 5 จังหวัดอีสานใต้ เผยเมืองช้างรับผลดีย่นเวลาเดินทางดึงคนสู่เมืองอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์และท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามแนวตะวันออก-ตก ดันไทยเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์อาเซียน ชี้ตามแผนลงมือสร้างปี 2560 เริ่มเดินรถได้ปี 2565
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงแรมทองธารินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ นายถาวร กุลโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน (การประชุมใหญ่) ครั้งที่ 1 ปฐมนิเทศโครงการงานบริการที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เพื่อนำเสนอสาระสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนินการ แผนการดำเนินโครงการ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน
โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมสัมมนากว่า 200 คน เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา
สำหรับการประชุมครั้งนี้มีการนำเสนอสาระสำคัญของโครงการ คือ ด้านวิศวกรรมและการออกแบบแนวเส้นทางที่จะพัฒนาให้เป็นระบบรถไฟด่วนความเร็ว 160 กิโลเมตร (กม.)/ชั่วโมง (ชม.) โดยใช้รางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) แต่ต้องมีการปรับรัศมีโค้งเป็นบางช่วงเพื่อให้รองรับอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ ซึ่งจะสร้างทางเพิ่มขึ้น 1 ทางเพื่อวิ่งคู่ขนานกับทางรถไฟเดิม โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการเมื่อพ้นจากสถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา และสิ้นสุดที่สถานีอุบลราชธานี ระยะทางรวมประมาณ 309 กม.
ประกอบด้วย 34 สถานี (ไม่รวมสถานีชุมทางถนนจิระ) ผ่านพื้นที่ 16 อำเภอใน 5 จังหวัด ได้แก่ จ.นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี โดยตลอดแนวเส้นทางโครงการส่วนใหญ่ไม่ได้พาดผ่านพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว เช่น พื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ การพัฒนารถไฟรางคู่ช่วงชุมชนถนนจิระ-อุบลราชธานี จะช่วยส่งเสริมให้ จ.สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีจุดเด่นด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรอินทรีย์ และมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญหลายแห่ง รวมทั้งด้านกีฬาฟุตบอลที่มีชื่อเสียง มีการเดินทางและการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังจะช่วยส่งเสริมให้การค้าการลงทุน ธุรกิจท่องเที่ยวและกีฬา ของทั้ง 2 จังหวัดมีการเติบโต สามารถกระจายรายได้สู่ประชาชนในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ในอนาคตหากมีการต่อขยายแนวเส้นทางจากสถานีอุบลราชธานีไปยังบริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว จะทำให้แนวเส้นทางนี้ช่วยทำหน้าที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามระเบียงเศรษฐกิจในแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาประเทศและการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางด้านลอจิสติกส์ของไทยในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น
โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เป็นเส้นทางหนึ่งตามแผนพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ ระยะที่ 2 ของกระทรวงคมนาคม ที่จะก่อสร้างปรับปรุงทางรถไฟช่วงสถานีชุมทางถนนจิระ จ.นครราชสีมา ถึงสถานีอุบลราชธานี จากทางเดี่ยวให้เป็นทางคู่ โดยมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2558-เมษายน 2559)
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะมีการจัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนอีก 2 ครั้งในช่วงประมาณเดือนกันยายน 2558 และประมาณเดือนมกราคม 2559 เพื่อนำเสนอผลการศึกษาโครงการในขั้นตอนต่อไป โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการได้
นายวรรณนพ ไพศาลพงษ์ รองวิศวกรใหญ่ด้านก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจ้างที่ปรึกษามาศึกษาผสมอัตราทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลงทุนครั้งนี้ใช้เงินเท่าไหร่ คุ้มหรือไม่คุ้ม แต่ส่วนมากที่เราทำมาแล้ว 4-5 เส้นทางมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านการลงทุนจะคุ้มทุน โดยให้ระยะเวลาศึกษา 12 เดือนในการออกแบบรายละเอียดเพื่อประกวดราคา แต่จะมีปัญหาคือเรื่องคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจช้าไปหน่อย เพราะอยู่นอกเหนืออำนาจของการรถไฟฯ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานของกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบให้เรา และหากโครงการนี้สำเร็จ สิ่งแวดล้อมผ่าน คาดว่าหลังจากสิ่งแวดล้อมผ่านไปประมาณ 9 เดือน และตามรูทีนของเวลา คาดว่าจะได้เริ่มก่อสร้างประมาณต้นปี 2560 ระยะทางก่อสร้างกว่า 300 กม. จะต้องใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี น่าจะเสร็จสิ้นประมาณปี 2564 และปี 2565 น่าจะเดินรถได้
ส่วนการเวนคืนที่ดินอย่างไรนั้น นายวรรณนพกล่าวว่า เส้นทางนี้เราใช้พื้นที่ของการรถไฟฯ ที่มีอยู่แล้วข้างละ 40 เมตร อาจจะใช้ข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งทางใหม่จะห่างจากทางเดิมไม่เกิน 10 เมตร อยู่ในโซน 6-7 เมตร ยกเว้นกรณีที่มีสะพานอาจจะขยับตัวออกไปอีกหน่อย
ด้าน นายถาวร กุลโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะเป็นโอกาสอันดีที่พี่น้องประชาชนจะได้รับโอกาสเป็นอย่างมาก ช่วยในเรื่องการคมนาคม การขนส่งสินค้า รวมทั้งการท่องเที่ยว ทำให้เราสามารถเปิดจังหวัดได้มากขึ้น เพราะจะทำให้คนที่จะมาสุรินทร์มีโอกาสเข้ามากขึ้นด้วยการโดยสารรถไฟ เพราะรถไฟรางคู่จะทำให้ย่นระยะเวลาการเดินทางได้มากขึ้น
นอกนั้นจะเป็นเรื่องการปรับตัวในบางเรื่องของพี่น้องประชาชนเกี่ยวกับการเดินทางไปมาข้ามระหว่างทางรถไฟ เพราะจะต้องมีการกั้นรั้ว แต่อย่างไรก็ตามทราบว่าจะมีการสร้างอุโมงค์เพื่อให้ประชาชนลอดผ่านได้ แต่การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนจากเดิมที่เคยข้ามรางเดียวก็อาจขัดข้องบ้าง แต่ประชาชนยังข้ามไปมาได้ อาจทำจุดให้ผ่านได้เป็นช่วงๆ ไป แต่ต้องแลกกับการที่เราจะได้รับประโยชน์จากการคมนาคม การเดินทางด้วยรถไฟที่เร็วขึ้น มีความสะดวกมากขึ้น การขนส่งสินค้าก็จะลดราคาลงเพราะต้นทุนน้อยลง การใช้น้ำมันต่างๆ น้อยลง ประหยัดขึ้นตาม |
|
Back to top |
|
|
taweep
2nd Class Pass
Joined: 04/07/2006 Posts: 569
|
Posted: 26/06/2015 8:37 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณครับที่ไม่ลืมทางรถไฟสายหลักของประเทศอีกเส้นหนึ่ง |
|
Back to top |
|
|
|