RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312063
ทั่วไป:13661135
ทั้งหมด:13973198
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 270, 271, 272 ... 489, 490, 491  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/03/2016 6:42 am    Post subject: Reply with quote

มทร.อีสาน เดินหน้าเปิดสูตรใหม่-ศูนย์วิจัย ตอบโจทย์รองรับระบบรถราง
มติชนออนไลน์ วันที่: 26 มี.ค. 59 เวลา: 16:20 น.

Click on the image for full size

วันที่ 26 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) นครราชสีมา เปิดเผยว่า นับเป็นนิมิตหมายที่ดี โดยรัฐบาลได้ข้อยุติการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง มทร.อีสาน ซึ่งมีศักยภาพด้านบุคลากรการเรียนการสอนแบบครบวงจรที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ทั้งสาขาบริหารธุรกิจและวิศวกรรม จึงได้เตรียมพร้อมเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อผลิตบุคลากรรองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและเตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อร่วมจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับนวัตกรรมระบบขนส่งทางราง โดยพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาแบบสหกิจ ซึ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยการทำงานจริง

ล่าสุด มทร.อีสาน ได้เปิดหลักสูตรพร้อมจัดตั้งหน่วยงานขับเคลื่อนระบบขนส่งทางราง ได้แก่ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมระบบขนส่งทางรางแห่งอาเซียน เน้นด้านล้อเลื่อนและการบริหารจัดการรถ และศูนย์วิจัยและฝึกอบรมระบบขนส่งทางราง เน้นระบบอาณัติสัญญาณและงานโยธา เพื่อพัฒนาแบบคู่ขนาน ในอนาคตจะยกระดับให้เป็นวิทยาลัยระบบขนส่งทางรางแห่งอาเซียน ประมาณปี 2560 ทั้ง 9 วิทยาเขต ในสังกัด มทร.อีสาน จะเปิดหลักสูตรวิชาเอกวิศวกรรมระบบราง ในสาขาเครื่องกล ไฟฟ้าและโยธา ซึ่งมีวุฒิปริญญารองรับ สามารถประกอบวิชาชีพได้ทันที

“ที่ผ่านมา ภาครัฐไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณได้เพียงพอ มทร.อีสาน จึงใช้งบประมาณตัวเองดำเนินการผลิตบุคลากร ในฐานะที่ มทร.อีสาน เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ และเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เราน่าจะได้รับการเอาใจใส่และสนับสนุนตามที่ร้องขอ” ผศ.ดร.วิโรจน์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/03/2016 6:54 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรถไฟเดินหน้ารถไฟทางคู่ 3 โครงการ วงเงินกว่า 1.46 แสนล้าน สั่งทำข้อมูลเสนอ ครม.
โพสต์ทูเดย์ 31 มีนาคม 2559 เวลา 05:54 น.

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. มีมติเห็นชอบให้ รฟท.เดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง รวมวงเงินทั้งสิ้น 1.46 แสนล้านบาท ได้แก่ รถไฟทางคู่เส้นหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. 9,400 ล้านบาท รถไฟทางคู่สายใหม่เส้นบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 347 กม. 6 หมื่นล้านบาท และรถไฟทางคู่สายใหม่เส้นเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. 7.7 หมื่นล้านบาท
“บอร์ดสั่งการให้ รฟท.เร่งรวบรวมข้อมูลทั้ง 3 โครงการ เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป” นายวุฒิชาติ กล่าว

นายวุฒิชาติ กล่าวว่า บอร์ด รฟท.ยังอนุมัติงบ 1,000 ล้านบาท ให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ใช้ในการซ่อมโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ เช่น งบซ่อมใหญ่ งบจัดซื้อระบบไฟสำรอง หรือยูพีเอส และงบซ่อมบำรุงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) ว่า บอร์ดพีพีพีเร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สรุปโครงการจัดหาเอกชนมาเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ เพื่อเสนอบอร์ดในเดือน เม.ย. และเสนอ ครม.ภายในเดือน พ.ค.นี้

อย่างไรก็ตาม บอร์ดพีพีพีกำหนดกรอบแนวทางการจัดหาเอกชนมาเดินรถใน 3 ประเด็น คือ 1.การคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้บริการ
2.การแบ่งปันผลประโยชน์ของรัฐอย่างเป็นธรรม และ
3.ให้โครงการสามารถเปิดให้บริการได้เร็วที่สุด

“หากบอร์ดพีพีพีและ ครม.อนุมัติโครงการแล้ว รฟม.จะแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 2556 และคาดว่าให้บริการประชาชนได้ในช่วงต้นปี 2563” นายเอกนิติ กล่าว

นายเอกนิติ ระบุว่า บอร์ดพีพีพียังเร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมและ รฟม.เร่งสรุปผลการเจรจากับผู้ประกอบการในโครงการลงทุนรถไฟฟ้าส่วนเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูน-บางซื่อ ระยะทาง 1 กม.

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม กล่าวว่า รฟท.ลงนามสัญญาว่าจ้างกิจการร่วมค้า MHSC ซึ่งประกอบด้วยบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี้ บริษัท ฮิตาชิ และบริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น ดำเนินการสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาตู้รถไฟฟ้า โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต มูลค่าสัญญา 3.23 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ขณะที่การก่อสร้างงานโยธาช่วงบางซื่อ-รังสิต ขณะนี้คืบหน้าไปกว่า 50% คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2562 จากนั้นจะทดลองเดินรถและเปิดให้บริการประชาชนได้ในปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/03/2016 12:51 pm    Post subject: Reply with quote

พลังงานเล็งดันแผน ขนส่งแอลพีจีทางรถไฟเพิ่ม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 31 มีนาคม 2559, 06:30

"พล.อ.อนันตพร" เตรียมหารือ "คมนาคม" เดินหน้าแผนขนส่งก๊าซแอลพีจีทางรถไฟเพิ่ม คาดชัดเจนภายใน 1-2 ปีนี้

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานเห็นด้วยกับ ปตท.ที่มีแผนลงทุนซื้อหัวรถจักรลาก 10 หัว ใช้เงินลงทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท เพื่อขนส่ง LPG ทางรถไฟกระจายไปยังคลังในภูมิภาค เนื่องจากการขนส่ง LPG ทางรถไฟสามารถทำได้ในปริมาณครั้งละมากๆ ช่วยให้ต้นทุนลดลง 50% เมื่อเทียบกับการขนส่งทาง รถยนต์ ขณะเดียวกันยังมีความปลอดภัยบนท้องถนน ดังนั้นกระทรวงพลังงานจะหารือกับกระทรวง คมนาคมเพื่อเร่งรัดการแก้ปัญหา ร่วมกัน คาดว่าการสนับสนุนให้มีการขนส่ง LPG ทางรถไฟจะความ ชัดเจนภายใน 1-2 ปีนี้

โดยปัจจุบันราคาก๊าซ LPG ได้ลอยตัวตามกลไกราคาตลาดที่กำหนดให้สะท้อน ต้นทุนการจัดหาที่แท้จริงแล้ว แต่ยังมีกฎระเบียบบางอย่างที่ยังไม่สามารถทำให้เกิดการค้าขายเสรี เต็ม รูปแบบอย่างเต็มศักยภาพได้ เช่น ปัจจุบันยังมี PTT เพียงรายเดียวที่นำเข้าก๊าซ LPG ดังนั้น การตรวจเยี่ยมครั้งนี้เป็นการตรวจติดตามเพื่อรองรับความพร้อมในการแข่งขัน ที่เสรีมากยิ่งขึ้นใน อนาคต ซึ่งรัฐเน้นการปรับโครงสร้างกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีมากยิ่งขึ้นตาม โรดแม็ปที่กำหนดไว้

สำหรับการตรวจเยี่ยมครั้งนี้เป็นการตรวจติดตามเพื่อรองรับความพร้อมใน การแข่งขันที่เสรีมากยิ่ง ขึ้นในอนาคต ซึ่งรัฐเน้นการปรับโครงสร้างกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีมากยิ่งขึ้นตาม โรดแม็ปที่ กำหนดไว้ โดยคลังก๊าซเขาบ่อยาและคลังก๊าซบ้านโรงโป๊ะ เป็นศูนย์กลางการรับก๊าซ LPG จากโรง แยกก๊าซธรรมชาติ การนำเข้า ส่งออก เก็บสำรอง และจ่ายทั้งทางบก ทางราง และทางน้ำด้วย ระบบการจัดการมาตรฐานสากลบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของ ประเทศไทย ณ จังหวัดชลบุรี

ทั้งนี้ คลังก๊าซเขาบ่อยา ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 120 กิโลเมตร เป็นคลังก๊าซขนาดใหญ่ที่ สุดแห่งหนึ่งของ ปตท. มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ โดยมีภารกิจรับผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ระยองและนำเข้าในรูป Refrigerated Propane และ Butane รายแรกของประเทศ เพื่อเก็บ สำรอง และจ่ายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ก๊าซ LPG, โพรเพน และก๊าซโซลีนธรรมชาติ รวมถึงการรับ-จ่าย ผลิตภัณฑ์น้ำมันบางส่วน เพื่อการนำเข้าส่งออกการเก็บสำรองการขนส่ง และการจัดจำหน่ายให้แก่ ลูกค้าทางเรือ

ส่วนคลังก๊าซบ้านโรงโป๊ะนั้นเป็นศูนย์กลางการจ่ายก๊าซ LPG ทางบก โดยรับก๊าซ LPG จากโรงแยก ก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ในจังหวัดระยอง และจากการนำเข้าผ่านระบบท่อส่งก๊าซฯใต้ดินเป็นระยะ ทางยาวประมาณ 63 กิโลเมตรมาเก็บสำรองในคลังเพื่อดำเนินการจัดจำหน่ายและจ่ายก๊าซฯ ให้แก่ ลูกค้าผ่านทางกระบวนการจ่ายก๊าซฯ 3 ช่องทาง คือ ทางรถยนต์ ทางรถไฟ และบรรจุลงถังก๊าซหุง ต้มในครัวเรือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2016 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
พลังงานเล็งดันแผน ขนส่งแอลพีจีทางรถไฟเพิ่ม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 31 มีนาคม 2559, 06:30


ปตท. ควัก 4พันล้าน ซื้อหัวรถจักรมอบใให้ รฟท. หวังขนส่งก๊าซ LPG ถึงลำปาง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1306934082653987&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater

//-------------
ซื้อหัวรถจักรขนส่งแอลพีจี
เศรษฐกิจภาครัฐ
โพสต์ทูเดย์
31 มีนาคม 2559 เวลา 06:26 น.
ปตท.เคาะแผนซื้อหัวรถจักร 10 หัวพร้อมแคร่ รุกขนส่งแอลพีจีไปเหนือ-อีสานทางราง หวังลดต้นทุน

นายสรัญ รังคสิริ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. เปิดเผยว่า ปตท.จะลงทุนซื้อหัวรถจักร 10 หัว พร้อมแคร่แบบพิเศษ สำหรับใช้ในการขนส่งก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และปรับปรุงระบบรางวงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้จัดหาหัวรถจักรและแคร่ให้ โดยจะจัดหาและทยอยนำ หัวรถจักรมาวิ่งทั้งหมดภายใน 4-5 ปี

“แผนดังกล่าวจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งแอลพีจีของ ปตท. จากปัจจุบันที่มีหัวรถจักรอยู่แล้ว 6 หัว และขนส่งแอลพีจีไปได้แค่ จ.นครสวรรค์ และ จ.ขอนแก่น เนื่องจากหัวรถจักรเดิมเริ่มมีอายุการทำงานนาน แต่เมื่อได้หัวรถจักรใหม่เข้ามาจะทำให้ขนส่งแอลพีจีได้ถึง จ.ลำปาง และลดค่าขนส่งทางรถยนต์ได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง” นายสรัญกล่าว

//-----------------


“อนันตพร” เร่งรัด ร.ฟ.ท.ซื้อหัวรถจักรขน LPG
โดย MGR Online
30 มีนาคม 2559 15:37 น. (แก้ไขล่าสุด 30 มีนาคม 2559 17:39 น.)


“อนันตพร” เตรียมเจรจาเร่งรัด “ร.ฟ.ท.” จัดซื้อหัวรถจักรเพื่อขนส่งแอลพีจี หลัง “ปตท.” ควักเงินลงทุนจัดซื้อพร้อมปรับระบบให้วงเงิน 4,000 ล้านบาทภายในระยะ 4-5 ปี พร้อมเร่งดูรายละเอียดเปิดเสรีธุรกิจแอลพีจีที่นำร่องให้รายอื่นนำเข้า พบนำเข้าไม่ได้จริงต้องเพิ่มบทลงโทษ

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการตรวจเยี่ยมชมบ้านโรงโป๊ะ และคลังเขาบ่อยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ว่ากระทรวงพลังงานพร้อมที่จะเจรจาเพื่อเร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดหาหัวรถจักรเพื่อขยายการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ระบบรางไปยังจังหวัดลำปาง และลดการขนส่งทางรถยนต์เพื่อลดต้นทุนการขนส่งแล้วยังเป็นการดูแลความมั่นคง

“บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ลงทุนในการซื้อหัวรถจักรดังกล่าวซึ่งที่ผ่านมาถือว่ามีความล่าช้า ก็คงต้องเร่งรัดเพื่อให้เกิดการดำเนินงานภายใน 1-2 ปี เพราะการขนส่งทางรถมันก็อันตรายด้วย” รมว.พลังงานกล่าว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐได้มีการวางโรดแมปในการเปิดเสรีแอลพีจีหลังจากที่กำหนดราคาให้สะท้อนต้นทุนไปแล้ว โดยเฉพาะจะมีการเปิดให้รายอื่นมีการนำเข้าแอลพีจีจากที่มีเพียง ปตท.รายเดียว แต่ขณะนี้รายแรกที่เสนอนำเข้า คือ บริษัท พีเอพี แก๊ส แอน ออยล์ จำกัดแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ขอจึงต้องมาพิจารณาทบทวนรายละเอียด ขั้นตอนในการดำเนินงานใหม่ให้ไม่เกิดปัญหาซึ่งคงจะต้องดูบทลงโทษหากทำไม่ได้

นายสรัญ รังคสิริ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.จะใช้เงินลงทุนในการมอบให้ ร.ฟ.ท.จัดหาหัวรถจักรจำนวน 10 หัว และยังลงทุนระบบแคร่ อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสิ้น 4,000 ล้านบาทซึ่งจะเป็นแผนระยะยาวที่จะทยอยเสร็จภายใน 4-5 ปี

ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าวก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งแอลพีจีจากปัจจุบันที่มีอยู่ 6 หัวซึ่งขนส่งแอลพีจีไปได้แค่ จ.นครสวรรค์ และ จ.ขอนแก่น จากเดิมที่ไปถึง จ.ลำปาง แต่เนื่องจากหัวรถจักรเดิมเริ่มมีอายุการทำงานที่นานจึงทำให้ขนไป จ.ลำปางไม่ได้ ส่วนหนึ่งจึงต้องขนทางรถยนต์แทนการลงทุนซื้อหัวรถจักรดังกล่าวก็จะทำให้เพิ่มการขนส่งไปยัง จ.ลำปางได้เพื่่อช่วยลดค่าขนส่งทางรถยนต์ที่จะลดได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง

“ปตท.มีโครงการเพิ่มขีดความสามารถการนำเข้า การจ่าย และระบบขนส่งแอลพีจี ที่จะลงทุน 9,900 ล้านบาท ที่จะขยายท่าเรือ และถังแอลพีจี ซึ่งจะขยายการรองรับแอลพีจีนำเข้าจากเดิม 1.3 แสนตันต่อเดือนเป็น 2.5 แสนตันต่อเดือน การขยายคลังจะเสร็จในปลาย เม.ย. หรือต้น พ.ค.นี้ แต่ขณะนี้การใช้แอลพีจีในประเทศได้ลดลงจึงทำให้คลังที่จะรองรับเหลือพอที่จะนำเข้าแอลพีจีเพื่อจำหน่ายเพื่อนบ้านซึ่งกำลังรอที่จะแจ้งรัฐในการนำเข้าอยู่” นายสรัญกล่าว

นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า โรดแมปการเปิดเสรีธุรกิจแอพีจีมีอยู่ 4 ขั้นตอน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนแรกและขั้นที่ 2 ที่จะเปิดให้รายอื่นนำเข้ามาซึ่งถือเป็นการทดลองอยู่ แต่ขณะนี้การนำเข้าที่เปิดให้รายแรกไปแล้วไม่สามารถนำเข้าได้ก็อาจจะต้องพิจารณาในเรื่องของบทลงโทษ เพราะที่สุดจะเป็นภาระ ปตท.ที่ต้องหามาทดแทน ดังนั้นก็คงจะต้องมาพิจารณาขั้นตอนต่างๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/04/2016 10:59 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. เพิ่มขบวนรถไฟช่วงสงกรานต์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 02 เมษายน 2559, 07:30

รฟท. เพิ่มขบวนรถไฟช่วงสงกรานต์ รองรับการเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาของประชาชน คาดรับรองผู้โดยสารได้วันละ 1.07 แสนคนต่อวัน

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2559 มีวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน คาดว่าจะมีผู้โดยสารเริ่มทยอยเดินทางโดยรถไฟไปจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่วันที่ 8 – 18 เมษายน 2559 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชนที่จะเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ โดยการพ่วงตู้โดยสารเพิ่มจนเต็มหน่วยลากจูงในขบวนรถที่มีการวิ่งให้บริการ เพื่อเป็นการรองรับผู้ใช้บริการที่จะเดินทาง จำนวน 244 ขบวน และประกาศเดินขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสาร เพิ่มเติมจากขบวนประจำอีก 29 ขบวน ระหว่างวันที่ 8-12 เมษายน 2559 และวันที่ 16-18 เมษายน 2559 ซึ่งขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสารที่เพิ่มมานั้นเป็นขบวนรถไฟฟรีทั้งหมด สามารถรับรองผู้โดยสารได้วันละ 107,000 คนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2016 10:16 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท. เพิ่มขบวนรถไฟช่วงสงกรานต์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 02 เมษายน 2559, 07:30


ตารางการเดินรถ ช่วงสงกรานต์ออกมาแล้วครับ
https://www.facebook.com/pr.railway/photos/a.135499539798259.25332.129946050353608/1301618879852980/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 04/04/2016 2:21 am    Post subject: Reply with quote

เริ่มแล้ว! งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้าลำปาง “น้องอี้-นางสาวไทย 57” ร่วมขบวนด้วย
โดย MGR Online
1 เมษายน 2559 12:23 น. (แก้ไขล่าสุด 1 เมษายน 2559 13:50 น.)



ลำปาง - ผู้ว่าฯ นำทีมต้อนรับ “น้องอี้-นางสาวไทยปี 57” พร้อมคณะ ร่วมงาน “รำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้านครลำปาง” ที่เริ่มต้นขึ้นแล้วในวันนี้ เผยปีนี้พิเศษสุด ทั้งฉลองครบรอบ 99 ปี รถไฟสายเหนือมาถึงลำปาง-100 ปี อาคารสถานีรถไฟ





วันนี้ (1 เม.ย.) นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมคณะหัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน ต่างพร้อมใจกันประกอบพิธีทำบุญถวายเครื่องไทยทานแด่พระภิกษุสงฆ์ที่บริเวณสถานีรถไฟนครลำปาง เพื่อความสิริมงคลเนื่องในวันครบรอบ 100 ปีของอาคารสถานีรถไฟนครลำปาง และครบรอบ 99 ปีของขบวนรถไฟสายเหนือที่มาถึงนครลำปาง และได้เริ่มมีการใช้รถม้าเป็นยานพาหนะ

จากนั้นได้นำคณะต้อนรับ “น้องอี้” หรือ น.ส.วิลาสินี จันทร์วุฒิวงศ์ นางสาวไทย ปี 2557 พร้อมคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลางและนักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาจากกรุงเทพฯ กับขบวนรถไฟพิเศษ ขบวนที่ 13 มาถึงลำปาง เวลา 09.00 น. ก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางพร้อมด้วยนางสาวไทยและคณะทั้งหมดจะนั่งรถม้าออกจากสถานีรถไฟนครลำปางเพื่อชมทัศนียภาพรอบเมืองลำปาง

สำหรับงาน “รำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้า” ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมประจำปีของจังหวัดที่จัดขึ้นติดต่อกันทุกปี และปีนี้เป็นครั้งที่ 17 โดยถือเอาวันที่ 1 เมษายน ซึ่งชาวเหนือถือว่าเป็นเดือนขึ้นปีใหม่เมือง และมหาสงกรานต์ของทุกปี เริ่มต้นจัดงานลำรึกประวัติศาสตร์รถไฟรถม้านครลำปาง รวม 5 วัน คือ ระหว่างวันที่ 1-5 เม.ย. และปีนี้นับว่ามีความสำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากประวัติศาสตร์ของการเปิดขบวนรถไฟสายเหนือมาสิ้นสุดที่ลำปาง มีอายุครบ 99 ปี ส่วนอาคารสถานีรถไฟนครลำปางมีอายุครบ 100 ปีพอดี

ทั้งนี้ การเปิดเส้นทางรถไฟสายเหนือมาสิ้นสุดที่จังหวัดลำปาง เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ควบคู่ไปกับการใช้รถม้าลำปางมาจนถึงปัจจุบัน แม้การใช้รถม้าในปัจจุบันอาจเปลี่ยนแปลงจากการใช้ประกอบอาชีพมาเป็นเพียงให้บริการนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ก็ถือว่ายังมีความสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด และมีเพียงจังหวัดเดียวของประเทศไทยที่รถม้าสามารถวิ่งบนถนนหลวงได้เหมือนกับรถยนต์ทั่วไปแบบถูกต้องตามกฎหมาย

สำหรับงาน “รำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้า” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน 2559 นี้ ณ สถานีรถไฟนครลำปางมีการจัดตลาดย้อนยุค (กาดหมั้ว) ให้นักท่องเที่ยวได้ชมและเลือกซื้อ พร้อมสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์, นิทรรศการประวัติศาสตร์ รถไฟ รถม้า นครลำปาง, การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน, กิจกรรมนั่งรถม้า-รถไฟ ชมเมืองลำปาง, การจัดมหกรรมอาหาร, การแสดงแสง สี เสียง และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
https://www.youtube.com/watch?v=GDsSXVBgAOk
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2016 9:41 am    Post subject: Reply with quote

หาเอกชนร่วมทุนสถานีบางซื่อ บอร์ด ร.ฟ.ท. เร่งส่งผลศึกษาเสนอ คค.ชงสคร. – พีพีพี
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 5 เมษายน 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,145 วันที่ 3 – 6 เมษายน พ.ศ. 2559

หาเอกชนร่วมทุนสถานีบางซื่อ บอร์ด ร.ฟ.ท. เร่งส่งผลศึกษาเสนอ คค.ชงสคร. - พีพีพี
บอร์ด รฟท.ไฟเขียวจัดหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ เร่งการรถไฟให้ส่งผลการศึกษาเสนอคมนาคมชง สคร.และคณะกรรมการพีพีพีเห็นชอบ

นายสราวุธ เบญจกุล ประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการฯครั้งล่าสุด บอร์ดมีมติเห็นชอบโครงการสรรหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ โดยให้รฟท.เร่งเสนอโครงการไปให้กระทรวงคมนาคม (คค)พิจารณาเห็นชอบนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)พิจารณานำเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(พีพีพี)ต่อไป

“ขณะนี้ผลการศึกษาแล้วเสร็จและส่งเรื่องมาให้รฟท.แล้ว โดยเฉพาะผลการศึกษากรณีร่วมลงทุนตามพ.ร.บ.ปี 2556 ซึ่งจะต้องนำเสนอกระทรวงคมนาคมเห็นชอบนำเสนอหน่วยเกี่ยวข้อง สุดท้ายถึงจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ดำเนินโครงการต่อไป”

สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อนี้จะเป็นโครงการผสมผสานขนาดใหญ่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การประชุม และศูนย์กลางการคมนาคม

นอกจากนั้นยังเห็นชอบผลการพิจารณาข้อเสนอการกำหนดรูปแบบการดำเนินงานของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด(แอร์พอร์ตลิ้งค์)หรือ รฟฟท.กรณีการแบ่งแยกทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างรฟท.กับรฟฟท.เนื่องจากมีระเบียบขั้นตอนดำเนินการตามกฎหมายอีกหลายประเด็น โดยเห็นชอบตามที่คณะทำงานของทั้ง 2 หน่วยงานเสนอ โดยให้ดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

“เช่นเดียวกับโครงการอื่นๆที่แอร์พอร์ตลิ้งค์นำเสนอพิจารณา อาทิ อนุมัติปรับขอบเขตงานวงเงินจ้างซ่อมบำรุงใหญ่ตามวาระ 9 ขบวนโดยอนุมัติจ้างวิธีพิเศษ ขออนุมัติซื้อแบตเตอรี่สำรอง การจัดหาอุปกรณ์ซิมูเรเตอร์ การจัดหาอุปกรณ์ประกอบชุดควบคุมมอเตอร์ จำนวน 36 ชุด และการซ่อมบำรุงเจียรรางบอร์ดร.ฟ.ท.ก็ได้อนุมัติให้แอร์พอร์ตลิ้งค์รับไปดำเนินการแล้วทั้งหมด ทั้งนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบวัสดุที่เกี่ยวข้องทั้งหมด”

ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ รฟท.กล่าวว่าที่คณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟฯได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ 3 เส้นทางคือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท ช่วงนครปฐม-หัวหิน วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 1 หมื่นล้านบาทไปแล้วนั้น บอร์ดยังได้อนุมัติค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างรถไฟทางคู่อีก 4 เส้นทางคือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 450 ล้านบาท ช่วงนครปฐม-หัวหิน วงเงิน 423 ล้านบาท ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงิน 611 ล้านบาท และช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน 356 ล้านบาท

นอกจากนั้นยังได้ส่งเรื่องคืนให้ร.ฟ.ท.กรณีค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟเชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือน้ำลึกทวาย มูลค่า 346 ล้านบาทเนื่องจากผลการศึกษาออกแบบเบื้องต้นนั้นยังไม่ชัดเจนจึงยังไม่มีความคุ้มค่าด้านการลงทุน อีกทั้งยังต้องรอนโยบายของกระทรวงคมนาคมอีกครั้งเพราะแนวเส้นทางโครงการยังซ้ำซ้อนกับแนวโครงการรถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นช่วงกาญจนบุรี-แก่งคอย-สระแก้ว และแก่งคอย-แหลมฉบังอีกด้วย

“การดำเนินงานเปิดประมูลได้จะต้องรอให้ผ่านการพิจารณารับรองด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ก่อน ซึ่งช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร จะมีความพร้อมมากกว่าเส้นทางอื่นๆที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาอีไอเอ แต่คาดว่าจะทยอยออกมาได้ครบทั้งหมดภายในกลางปีนี้”

http://pantip.com/topic/34990688
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2016 11:03 am    Post subject: Reply with quote

′คณะอาจารย์วิศวะ จุฬา′ ถกร่วม ′รมช.ออมสิน′ แนะควรเปลี่ยนชุดความคิดสร้างรถไฟ
มติชน
วันที่: 7 เมษายน 2559 เวลา: 18:40 น.

เมื่อเวลา 15.20 น. วันที่ 7 เมษายน ที่กระทรวงคมนาคม นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการร่วมหารือกับคณะอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่องข้อเสนอแนะต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศไทยว่า ข้อสรุปการหารือในวันนี้คือ คณะอาจารย์มาเสนอแนวคิดว่าทำอย่างไรที่จะให้ไทยพัฒนาในระบบต่างๆ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำที่มีหลายระบบ

นายประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนามคมขนส่งของประเทศไทยพ.ศ.2558-2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการบริการด้านคมนาคมขนส่ง ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงคมนาคม กลุ่มคณะอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ติดตามศึกษา และดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการ มีข้อเสนอที่ประสานงานผ่านพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี โดยร่วมหารือกับนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเรียนต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณา

“ปัจจุบันใช้รถไฟเพื่อการแก้ปัญหาจราจร ซึ่งเป็นการดำเนินโครงการแบบแยกส่วน มีรถไฟหลากหลายโมเดลหลายยี่ห้อ ไม่เอื้อให้เกิดอุตสาหกรรม เนื่องจากเน้นการจัดหามาใช้งานที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งมีความเสี่ยงเรื่องอะไหล่ทดแทน ผมและคณะอาจารย์มองว่าควรเปลี่ยนชุดความคิดจากเดิมที่ใช้รถไฟเพื่อแก้ปัญหาจราจร มาเป็นใช้รถไฟเพื่อพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถด้านวิศวกรรม กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี สนับสนุนการผลิตชิ้นส่วน พัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และส่งเสริมงานวิจัยพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว” นายประมวลกล่าว

นายประมวลกล่าวว่า รวมถึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณาขยายบริบทของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่เฉพาะด้านคมนาคมขนส่งเท่านั้น แต่ขยายครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์หรือการศึกษา ด้วยการส่งเสริมให้มีผลิตชิ้นส่วน หรือประกอบรถไฟภายในประเทศ เพื่อให้ไทยมีขีดความสามารถในการพัฒนาระบบรถไฟสายอื่นๆ ในอนาคต และควรเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนาดใหญ่ให้เชื่อมโยงกับต่างประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44020
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2016 4:32 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดข้อเสนอ ‘คณะอาจารย์วิศวะฯ จุฬา’ แนะคมนาคม ยกระดับแผนพัฒนารถไฟ

มติชน

วันที่: 8 เมษายน 2559 เวลา: 10:02 น.

เมื่อวันที่ 7 (เมษายน) คณะอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าพบนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อยื่นข้อเสนอแนะต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศไทย

โดยนายประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า รัฐบาลควรเปลี่ยนแนวความคิดจากเดิมที่ใช้รถไฟเพื่อแก้ปัญหาจราจรมาเป็นการใช้รถไฟเพื่อพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถด้านวิศวกรรม กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี สนับสนุนการผลิตชิ้นส่วน พัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และส่งเสริมงานวิจัยพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งต้องขยายให้ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์หรือการศึกษา ด้วยการส่งเสริมให้มีการผลิตชิ้นส่วน หรือประกอบรถไฟภายในประเทศ เพื่อให้ไทยมีขีดความสามารถในการพัฒนาระบบรถไฟสายอื่นๆ ในอนาคต และควรเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงกับต่างประเทศ

ข้อเสนอแนะต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศไทย จัดทำโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากการที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการบริการด้านคมนาคมขนส่ง ดำเนินการโดยกระทรวงคมนาคม โดยได้รับการประชาสัมพันธ์ในลักษณะ 4 เป้าหมาย 5 แผนงาน มีแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในหลายส่วน โดยเฉพาะด้านการขนส่งระบบรางซึ่งกำลังเป็นที่สนใจ 3 ส่วน คือ (1) แผนการปรับปรุงโครงสร้างทางและสิ่งอำนวยความสะดวก (2) การพัฒนารถไฟทางคู่ และ (3) การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 สายทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ความเร็วปานกลาง ความกว้างทางขนาดมาตรฐาน (standard gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กม. ซึ่งล่าสุด ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งต่อสาธารณะว่ามีนโยบายจะปรับเปลี่ยนแผนดังกล่าวเป็นโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตรแทน โครงการเหล่านี้ล้วนเป็นที่สนใจของสังคมในวงกว้าง ทั้งในและต่างประเทศ และจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลตลอดจนสังคมไทยควรจะได้ตระหนักและเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระมัดระวัง การเตรียมการ การใช้ประโยชน์ ตลอดจนข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดังกล่าวเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนักวิชาการที่ติดตาม ศึกษา ตลอดจนดำเนินการวิจัยเกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว ทั้งในส่วนนโยบายของรัฐ การบริหารจัดการโครงการ การพัฒนาโครงการ ตลอดจนการพัฒนาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี มีความปรารถนาดีและต้องการสนับสนุนแผนการดำเนินงานต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น จึงใคร่เรียนนำเสนอแนวนโยบายต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินโครงการต่อไป ใน 3 ประเด็น ดังนี้

1.ประเด็นนโยบายและยุทธศาสตร์

1.1 ขอเสนอให้รัฐบาลพิจารณาขยายบริบทของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ของประเทศไม่เฉพาะด้านคมนาคมขนส่งเท่านั้น เนื่องจากองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมิได้ถูกจำกัดไว้เพียงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง แต่ยังมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขอีกด้วย ข้อมูลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ จำนวน 61 ประเทศ โดย IMD ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านการบริหารจัดการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังแสดงในรูปที่ 1 แสดงให้เห็นว่า อันดับของขีดความสามารถของไทยในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม (กลุ่ม Basic) ถูกจัดไว้เป็นอันดับที่ 30 ในขณะที่อันดับด้านเทคโนโลยี 44 วิทยาศาสตร์ 47 สาธารณสุข 54 และการศึกษา 48 ซึ่งเป็นความสามารถที่สำคัญไม่ด้อยไปกว่ากัน การมุ่งเน้นเพียงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม จึงไม่อาจสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้ในระยะยาว

อนึ่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ หรือการศึกษา มิได้หมายถึงเพียงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัย หรือเพิ่มงบประมาณด้านการศึกษา หากแต่เป็นการอาศัยปริมาณความต้องการใช้ขนส่งระบบรางที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนอยู่แล้วป้อนกลับเข้าไปสู่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ด้วยการส่งเสริมให้มีการผลิตชิ้นส่วน และ/หรือ การประกอบรถไฟภายในประเทศไทย พร้อมๆ ไปกับการกำหนดเงื่อนไขเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมาย 2 ระยะ คือ ระยะสั้น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถลดการนำเข้าชิ้นส่วนระบบรถไฟฟ้าจากต่างประเทศ สามารถลดการพึ่งพาเทคโนโลยี และระยะยาวเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของช่างเทคนิค วิศวกร ตลอดจนนักวิชาการของประเทศไทยให้มีขีดความสามารถในการพัฒนาระบบรถไฟสายอื่นๆ ได้ต่อไปในอนาคต

1
รูปที่ 1 แสดงการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต่างๆ ของประเทศไทย ในปี ค.ศ.2015


1.2 การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนาดใหญ่โดยมุ่งหวังให้เกิดการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ แต่ขาดการเตรียมความพร้อมและการพิจารณากำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่ชัดเจนควบคู่กันไปกับยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยถูกครอบงำโดยประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีความพร้อมและชัดเจนในการใช้ยุทธศาสตร์การขนส่งเพื่อรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าประเทศไทย

ตัวอย่างความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและมีผลผูกพันต่อมาเป็นระยะเวลานาน คือ กรณีวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี พ.ศ.2540 อันเป็นผลจากการเปิดเสรีทางการเงินของไทย เป็นตัวอย่างของผลกระทบจากการเปิดเสรีเพื่อเชื่อมโยงประเทศไทยกับต่างประเทศ ตามการกระตุ้นและสนับสนุนของประเทศมหาอำนาจ โดยมองเฉพาะด้านดีที่เกิดจากการเปิดเสรีทางการเงินว่าจะช่วยลดอุปสรรคต่อระบบการค้าเสรี แต่ขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้น มีความบกพร่องในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ ตลอดจนการไม่มีแนวทางการพัฒนาศักยภาพภายในเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดเงินตลาดทุนที่จะเกิดขึ้น การควบคุมและกำกับการไหลเข้าออกของเงินทุนจากต่างประเทศดำเนินไปอย่างไร้ทิศทาง ขาดมาตรการที่จะควบคุมและตรวจสอบการใช้เงินทุนจากต่างประเทศให้เกิดผลดีต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศ ทั้งยังขาดมาตรการลดผลกระทบทางลบและปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกระหว่างประเทศอย่างรวดเร็ว จนสุดท้ายทำให้เกิดเป็นวิกฤตการณ์ครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศไทยในที่สุด

1.3 เสนอให้มีการเปลี่ยนชุดความคิดจากการใช้รถไฟหรือระบบขนส่งทางรางเพื่อการแก้ปัญหาจราจร หรือเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไปเป็นการใช้รถไฟเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศ ชุดความคิดที่แตกต่างกันนี้จะนำมาสู่ความพยายาม หรือผลลัพธ์เชิงรูปธรรมที่แตกต่างกัน กล่าวคือ แทนที่จะดำเนินการประมูลจัดหาระบบรถไฟฟ้าไปคราวละสาย ก็ต้องปรับชุดความคิดมาเป็นหาแนวทางที่จะทำให้กระบวนการจัดหาเอื้อให้ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีสามารถร่วมมือกับผู้ประกอบการภายในประเทศไทยในการดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศไทย หรือส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดเทคโนโลยีด้วยการวิจัยและพัฒนาต่อไป

1.4 เสนอให้มีคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวง ไม่เพียงกระทรวงคมนาคมเท่านั้นเพื่อขยายขอบเขตจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมไปสู่การพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นคณะทำงาน



2
รูปที่ 2 แสดงชุดความคิด 2 ประการ คือ ใช้รถไฟเพื่อการแก้ปัญหาจราจร และเพื่อการพัฒนาศักยภาพ


1.5 เสนอให้มีการพิจารณาความเสี่ยง หรือความท้าทายที่อาจจะสร้างปัญหากับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ดังนี้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ความเสี่ยงและความท้าทายที่ควรพิจารณา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

-ผู้ประกอบการไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้น เพราะสามารถส่งสินค้าออกไปต่างประเทศด้วยต้นทุนโลจิสติกส์ที่ลดลง
-สินค้าจากต่างประเทศจะส่งออกสินค้าผ่านประเทศไทย
-ต่างประเทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพราะมีต้นทุนโลจิสติกส์ที่ลดลง
-มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวยังประเทศไทยมากขึ้น

ความเสี่ยงและความท้าทายที่ควรพิจารณา

-การขนส่งย่อมมี 2 ทิศทาง เมื่อส่งออกง่าย ก็จะสามารถนำเข้าสินค้าได้ง่ายเช่นกัน หมายความว่า สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะมีต้นทุนโลจิสติกส์ที่ลดลงเช่นเดียวกัน ทำให้สินค้าจากต่างประเทศราคาถูกลง และทำให้สินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตในประเทศเสียศักยภาพในการแข่งขันได้

-ยังไม่มีการวิเคราะห์ในรายละเอียดว่าประเภทและปริมาณของสินค้าไทยที่จะสามารถเข้าไปขายแข่งขันในประเทศอื่นได้ รวมถึงยังไม่มีความชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพของผูผลิตและผู้ค้าไทยในการเข้าไปขยายตลาดในต่างประเทศ

-ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการที่สินค้าจากต่างประเทศใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน นอกจากจะได้ค่าผ่านทาง (หากมีการจัดเก็บ) หรือค่าใช้บริการท่าเรือและบริการโลจิสติกส์ต่างๆ

-ในขณะเดียวกัน สินค้าจากต่างประเทศย่อมจะได้ประโยชน์จากการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน เพราะจะทำให้สินค้าที่ผลิตในต่างประเทศเหล่านี้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้น ด้วยต้นทุนโลจิสติกส์ของสินค้าที่ลดลง ซึ่งอาจสร้างผลเสียกับประเทศไทยได้ หากสินค้าต่างประเทศที่ได้ประโยชน์เหล่านี้ เป็นสินค้ากลุ่มเดียวกันกับที่ประเทศไทยผลิตและส่งออกด้วย ซึ่งจะทำให้สินค้าจากต่างประเทศเหล่านี้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นในการแข่งขันกับสินค้าจากประเทศไทย

-การลงทุนจากต่างประเทศอาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้เสมอไป เพราะนักลงทุนต่างประเทศจะถ่ายเทผลประโยชน์ในรูปของกำไร และ Transfer Pricing กลับไปยังประเทศแม่ในต่างประเทศ อีกทั้งประโยชน์จะตกแก่ประเทศไทยน้อยมาก หากเป็นการลงทุนที่ใช้เพียงแรงงาน และไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง ให้กับผู้ประกอบการไทย

มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวยังประเทศไทยมากขึ้น จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย แต่ต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น คือ

-หากการกวดขันการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายของคนต่างด้าวมีความหย่อนยาน พ่อค้าต่างชาติที่จะแฝงตัวเข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว และพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยเกินกำหนด เพื่อเข้ามาแย่งธุรกิจการค้าจากคนไทย
-นักท่องเที่ยวไทยก็จะสามารถเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศได้สะดวกขึ้นเช่นกัน

2. ประเด็นด้านการบริหารจัดการ การจัดเตรียมและปฏิรูปองค์กรด้านขนส่งระบบราง

เพื่อแก้ปัญหาประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบขนส่งแบบองค์รวม ควรมีการปฏิรูปการบริหารจัดการตลอดจนองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับ บริหาร และให้บริการขนส่งระบบราง โดยมีมิติที่ควรพิจารณาก่อน หรือควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงการ ดังนี้

2.1 บทบาทของหน่วยงานต่างๆ ในเส้นทางที่จะเกิดขึ้นใหม่ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากรร่วมกันแบบบูรณาการได้หรือไม่ ทั้งในระดับการบริหารระบบการขนส่งของประเทศ และการบริหารโครงข่ายระบบราง โดยมีเป้าหมายที่จะอำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้บริการ และบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการดำเนินงานและซ่อมบำรุง (operations & maintenance) เช่น การพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้าแบบรวม หรือการเดินรถร่วมกัน (run through service) ซึ่งจะแตกต่างจากระบบคิดแบบแยกส่วนเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ต้องมุ่งเน้นการควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีที่ไม่หลากหลายมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการ การเดินรถ ตลอดจนงานซ่อมบำรุงในระยะยาว

2.2 เมื่อปฏิรูปองค์กรแล้ว จะต้องมีองค์กรใดบ้างรับผิดชอบภารกิจที่เกี่ยวข้อง
– วางยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางในภาพรวมของประเทศ
– รับผิดชอบการก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน (IMC)
– รับผิดชอบการเดินรถโดยสาร และรถขนส่งสินค้า (TOC)
– กำกับดูแลความปลอดภัย (TOC) และรับรองมาตรฐาน IMC
– การประสานงานระหว่างหน่วยงาน TOC, IMC อปท. หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
– หน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางใหม่จะต้องมีบทบาทใดบ้าง

3. ประเด็นด้านการใช้ระบบรางเป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถด้านวิศวกรรมและการผลิตของประเทศผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรม

นับตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2552 เป็นต้นมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนการวิจัยจากทั้งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สศอ.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ตลอดจนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการประกอบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ตลอดจนอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย และความต้องการใช้บุคลากรด้านปฏิการระบบขนส่งทางราง พบว่ามิติดังกล่าวนี้เป็นมิติที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านระบบรางของประเทศ อย่างไรก็ดีจากการได้มีโอกาสจัดสัมมนาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางรางจากต่างประเทศ อาทิ ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไต้หวัน พบว่าแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถด้านวิศวกรรมและการผลิตรถไฟฟ้าของประเทศต่างๆ เหล่านั้น ล้วนแตกต่างกัน ขึ้นกับบริบทพื้นฐานของประเทศ การกำหนดแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบด้าน สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กร ระเบียบกฎหมาย ตลอดจนศักยภาพของอุตสาหกรรมพื้นฐาน จึงขอเสนอให้เร่งจัดให้มีคณะทำงานเพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยรายการผลการศึกษาต่อรัฐบาลโดยตรง เนื่องจากอาจพิจารณาเป็นภารกิจเร่งด่วนเนื่องเพราะจะต้องมีแนวทางที่ไม่ทำให้การดำเนินโครงการต่างๆ ไม่ล่าช้าไปกว่าแผนที่ได้กำหนดไว้ และต้องสามารถปฏิบัติได้

แนวความคิดทั้งหมดที่ได้นำเสนอไว้นี้ อาจมีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายด้วยวาจา เพื่อขยายความและทำให้เกิดความเข้าใจที่สอดคล้องตรงกัน คณะนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความยินดีที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมในทุกประเด็นที่ทำให้เกิดข้อสงสัย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 270, 271, 272 ... 489, 490, 491  Next
Page 271 of 491

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©