View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 31/03/2016 6:42 am Post subject:
มทร.อีสาน เดินหน้าเปิดสูตรใหม่-ศูนย์วิจัย ตอบโจทย์รองรับระบบรถราง
มติชนออนไลน์ วันที่: 26 มี.ค. 59 เวลา: 16:20 น.
วันที่ 26 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) นครราชสีมา เปิดเผยว่า นับเป็นนิมิตหมายที่ดี โดยรัฐบาลได้ข้อยุติการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง มทร.อีสาน ซึ่งมีศักยภาพด้านบุคลากรการเรียนการสอนแบบครบวงจรที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ทั้งสาขาบริหารธุรกิจและวิศวกรรม จึงได้เตรียมพร้อมเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อผลิตบุคลากรรองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและเตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อร่วมจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับนวัตกรรมระบบขนส่งทางราง โดยพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาแบบสหกิจ ซึ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยการทำงานจริง
ล่าสุด มทร.อีสาน ได้เปิดหลักสูตรพร้อมจัดตั้งหน่วยงานขับเคลื่อนระบบขนส่งทางราง ได้แก่ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมระบบขนส่งทางรางแห่งอาเซียน เน้นด้านล้อเลื่อนและการบริหารจัดการรถ และศูนย์วิจัยและฝึกอบรมระบบขนส่งทางราง เน้นระบบอาณัติสัญญาณและงานโยธา เพื่อพัฒนาแบบคู่ขนาน ในอนาคตจะยกระดับให้เป็นวิทยาลัยระบบขนส่งทางรางแห่งอาเซียน ประมาณปี 2560 ทั้ง 9 วิทยาเขต ในสังกัด มทร.อีสาน จะเปิดหลักสูตรวิชาเอกวิศวกรรมระบบราง ในสาขาเครื่องกล ไฟฟ้าและโยธา ซึ่งมีวุฒิปริญญารองรับ สามารถประกอบวิชาชีพได้ทันที
ที่ผ่านมา ภาครัฐไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณได้เพียงพอ มทร.อีสาน จึงใช้งบประมาณตัวเองดำเนินการผลิตบุคลากร ในฐานะที่ มทร.อีสาน เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ และเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เราน่าจะได้รับการเอาใจใส่และสนับสนุนตามที่ร้องขอ ผศ.ดร.วิโรจน์กล่าว
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 31/03/2016 6:54 am Post subject:
บอร์ดรถไฟเดินหน้ารถไฟทางคู่ 3 โครงการ วงเงินกว่า 1.46 แสนล้าน สั่งทำข้อมูลเสนอ ครม.
โพสต์ทูเดย์ 31 มีนาคม 2559 เวลา 05:54 น.
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. มีมติเห็นชอบให้ รฟท.เดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง รวมวงเงินทั้งสิ้น 1.46 แสนล้านบาท ได้แก่ รถไฟทางคู่เส้นหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. 9,400 ล้านบาท รถไฟทางคู่สายใหม่เส้นบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 347 กม. 6 หมื่นล้านบาท และรถไฟทางคู่สายใหม่เส้นเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. 7.7 หมื่นล้านบาท
“บอร์ดสั่งการให้ รฟท.เร่งรวบรวมข้อมูลทั้ง 3 โครงการ เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป” นายวุฒิชาติ กล่าว
นายวุฒิชาติ กล่าวว่า บอร์ด รฟท.ยังอนุมัติงบ 1,000 ล้านบาท ให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ใช้ในการซ่อมโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ เช่น งบซ่อมใหญ่ งบจัดซื้อระบบไฟสำรอง หรือยูพีเอส และงบซ่อมบำรุงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) ว่า บอร์ดพีพีพีเร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สรุปโครงการจัดหาเอกชนมาเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ เพื่อเสนอบอร์ดในเดือน เม.ย. และเสนอ ครม.ภายในเดือน พ.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม บอร์ดพีพีพีกำหนดกรอบแนวทางการจัดหาเอกชนมาเดินรถใน 3 ประเด็น คือ 1.การคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้บริการ
2.การแบ่งปันผลประโยชน์ของรัฐอย่างเป็นธรรม และ
3.ให้โครงการสามารถเปิดให้บริการได้เร็วที่สุด
“หากบอร์ดพีพีพีและ ครม.อนุมัติโครงการแล้ว รฟม.จะแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 2556 และคาดว่าให้บริการประชาชนได้ในช่วงต้นปี 2563” นายเอกนิติ กล่าว
นายเอกนิติ ระบุว่า บอร์ดพีพีพียังเร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมและ รฟม.เร่งสรุปผลการเจรจากับผู้ประกอบการในโครงการลงทุนรถไฟฟ้าส่วนเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูน-บางซื่อ ระยะทาง 1 กม.
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม กล่าวว่า รฟท.ลงนามสัญญาว่าจ้างกิจการร่วมค้า MHSC ซึ่งประกอบด้วยบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี้ บริษัท ฮิตาชิ และบริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น ดำเนินการสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาตู้รถไฟฟ้า โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต มูลค่าสัญญา 3.23 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ขณะที่การก่อสร้างงานโยธาช่วงบางซื่อ-รังสิต ขณะนี้คืบหน้าไปกว่า 50% คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2562 จากนั้นจะทดลองเดินรถและเปิดให้บริการประชาชนได้ในปี 2563
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 31/03/2016 12:51 pm Post subject:
พลังงานเล็งดันแผน ขนส่งแอลพีจีทางรถไฟเพิ่ม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 31 มีนาคม 2559, 06:30
"พล.อ.อนันตพร" เตรียมหารือ "คมนาคม" เดินหน้าแผนขนส่งก๊าซแอลพีจีทางรถไฟเพิ่ม คาดชัดเจนภายใน 1-2 ปีนี้
พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานเห็นด้วยกับ ปตท.ที่มีแผนลงทุนซื้อหัวรถจักรลาก 10 หัว ใช้เงินลงทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท เพื่อขนส่ง LPG ทางรถไฟกระจายไปยังคลังในภูมิภาค เนื่องจากการขนส่ง LPG ทางรถไฟสามารถทำได้ในปริมาณครั้งละมากๆ ช่วยให้ต้นทุนลดลง 50% เมื่อเทียบกับการขนส่งทาง รถยนต์ ขณะเดียวกันยังมีความปลอดภัยบนท้องถนน ดังนั้นกระทรวงพลังงานจะหารือกับกระทรวง คมนาคมเพื่อเร่งรัดการแก้ปัญหา ร่วมกัน คาดว่าการสนับสนุนให้มีการขนส่ง LPG ทางรถไฟจะความ ชัดเจนภายใน 1-2 ปีนี้
โดยปัจจุบันราคาก๊าซ LPG ได้ลอยตัวตามกลไกราคาตลาดที่กำหนดให้สะท้อน ต้นทุนการจัดหาที่แท้จริงแล้ว แต่ยังมีกฎระเบียบบางอย่างที่ยังไม่สามารถทำให้เกิดการค้าขายเสรี เต็ม รูปแบบอย่างเต็มศักยภาพได้ เช่น ปัจจุบันยังมี PTT เพียงรายเดียวที่นำเข้าก๊าซ LPG ดังนั้น การตรวจเยี่ยมครั้งนี้เป็นการตรวจติดตามเพื่อรองรับความพร้อมในการแข่งขัน ที่เสรีมากยิ่งขึ้นใน อนาคต ซึ่งรัฐเน้นการปรับโครงสร้างกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีมากยิ่งขึ้นตาม โรดแม็ปที่กำหนดไว้
สำหรับการตรวจเยี่ยมครั้งนี้เป็นการตรวจติดตามเพื่อรองรับความพร้อมใน การแข่งขันที่เสรีมากยิ่ง ขึ้นในอนาคต ซึ่งรัฐเน้นการปรับโครงสร้างกิจการให้มีการแข่งขันอย่างเสรีมากยิ่งขึ้นตาม โรดแม็ปที่ กำหนดไว้ โดยคลังก๊าซเขาบ่อยาและคลังก๊าซบ้านโรงโป๊ะ เป็นศูนย์กลางการรับก๊าซ LPG จากโรง แยกก๊าซธรรมชาติ การนำเข้า ส่งออก เก็บสำรอง และจ่ายทั้งทางบก ทางราง และทางน้ำด้วย ระบบการจัดการมาตรฐานสากลบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของ ประเทศไทย ณ จังหวัดชลบุรี
ทั้งนี้ คลังก๊าซเขาบ่อยา ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 120 กิโลเมตร เป็นคลังก๊าซขนาดใหญ่ที่ สุดแห่งหนึ่งของ ปตท. มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ โดยมีภารกิจรับผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ระยองและนำเข้าในรูป Refrigerated Propane และ Butane รายแรกของประเทศ เพื่อเก็บ สำรอง และจ่ายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ก๊าซ LPG, โพรเพน และก๊าซโซลีนธรรมชาติ รวมถึงการรับ-จ่าย ผลิตภัณฑ์น้ำมันบางส่วน เพื่อการนำเข้าส่งออกการเก็บสำรองการขนส่ง และการจัดจำหน่ายให้แก่ ลูกค้าทางเรือ
ส่วนคลังก๊าซบ้านโรงโป๊ะนั้นเป็นศูนย์กลางการจ่ายก๊าซ LPG ทางบก โดยรับก๊าซ LPG จากโรงแยก ก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ในจังหวัดระยอง และจากการนำเข้าผ่านระบบท่อส่งก๊าซฯใต้ดินเป็นระยะ ทางยาวประมาณ 63 กิโลเมตรมาเก็บสำรองในคลังเพื่อดำเนินการจัดจำหน่ายและจ่ายก๊าซฯ ให้แก่ ลูกค้าผ่านทางกระบวนการจ่ายก๊าซฯ 3 ช่องทาง คือ ทางรถยนต์ ทางรถไฟ และบรรจุลงถังก๊าซหุง ต้มในครัวเรือน
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 31/03/2016 1:07 pm Post subject:
ปตท. ควัก 4พันล้าน ซื้อหัวรถจักรมอบใให้ รฟท. หวังขนส่งก๊าซ LPG ถึงลำปาง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1306934082653987&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater
//-------------
ซื้อหัวรถจักรขนส่งแอลพีจี
เศรษฐกิจภาครัฐ
โพสต์ทูเดย์
31 มีนาคม 2559 เวลา 06:26 น.
ปตท.เคาะแผนซื้อหัวรถจักร 10 หัวพร้อมแคร่ รุกขนส่งแอลพีจีไปเหนือ-อีสานทางราง หวังลดต้นทุน
นายสรัญ รังคสิริ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. เปิดเผยว่า ปตท.จะลงทุนซื้อหัวรถจักร 10 หัว พร้อมแคร่แบบพิเศษ สำหรับใช้ในการขนส่งก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และปรับปรุงระบบรางวงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นผู้จัดหาหัวรถจักรและแคร่ให้ โดยจะจัดหาและทยอยนำ หัวรถจักรมาวิ่งทั้งหมดภายใน 4-5 ปี
แผนดังกล่าวจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งแอลพีจีของ ปตท. จากปัจจุบันที่มีหัวรถจักรอยู่แล้ว 6 หัว และขนส่งแอลพีจีไปได้แค่ จ.นครสวรรค์ และ จ.ขอนแก่น เนื่องจากหัวรถจักรเดิมเริ่มมีอายุการทำงานนาน แต่เมื่อได้หัวรถจักรใหม่เข้ามาจะทำให้ขนส่งแอลพีจีได้ถึง จ.ลำปาง และลดค่าขนส่งทางรถยนต์ได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง นายสรัญกล่าว
//-----------------
อนันตพร เร่งรัด ร.ฟ.ท.ซื้อหัวรถจักรขน LPG
โดย MGR Online
30 มีนาคม 2559 15:37 น. (แก้ไขล่าสุด 30 มีนาคม 2559 17:39 น.)
อนันตพร เตรียมเจรจาเร่งรัด ร.ฟ.ท. จัดซื้อหัวรถจักรเพื่อขนส่งแอลพีจี หลัง ปตท. ควักเงินลงทุนจัดซื้อพร้อมปรับระบบให้วงเงิน 4,000 ล้านบาทภายในระยะ 4-5 ปี พร้อมเร่งดูรายละเอียดเปิดเสรีธุรกิจแอลพีจีที่นำร่องให้รายอื่นนำเข้า พบนำเข้าไม่ได้จริงต้องเพิ่มบทลงโทษ
พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการตรวจเยี่ยมชมบ้านโรงโป๊ะ และคลังเขาบ่อยา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ว่ากระทรวงพลังงานพร้อมที่จะเจรจาเพื่อเร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดหาหัวรถจักรเพื่อขยายการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ระบบรางไปยังจังหวัดลำปาง และลดการขนส่งทางรถยนต์เพื่อลดต้นทุนการขนส่งแล้วยังเป็นการดูแลความมั่นคง
บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ลงทุนในการซื้อหัวรถจักรดังกล่าวซึ่งที่ผ่านมาถือว่ามีความล่าช้า ก็คงต้องเร่งรัดเพื่อให้เกิดการดำเนินงานภายใน 1-2 ปี เพราะการขนส่งทางรถมันก็อันตรายด้วย รมว.พลังงานกล่าว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐได้มีการวางโรดแมปในการเปิดเสรีแอลพีจีหลังจากที่กำหนดราคาให้สะท้อนต้นทุนไปแล้ว โดยเฉพาะจะมีการเปิดให้รายอื่นมีการนำเข้าแอลพีจีจากที่มีเพียง ปตท.รายเดียว แต่ขณะนี้รายแรกที่เสนอนำเข้า คือ บริษัท พีเอพี แก๊ส แอน ออยล์ จำกัดแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ขอจึงต้องมาพิจารณาทบทวนรายละเอียด ขั้นตอนในการดำเนินงานใหม่ให้ไม่เกิดปัญหาซึ่งคงจะต้องดูบทลงโทษหากทำไม่ได้
นายสรัญ รังคสิริ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.จะใช้เงินลงทุนในการมอบให้ ร.ฟ.ท.จัดหาหัวรถจักรจำนวน 10 หัว และยังลงทุนระบบแคร่ อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสิ้น 4,000 ล้านบาทซึ่งจะเป็นแผนระยะยาวที่จะทยอยเสร็จภายใน 4-5 ปี
ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าวก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งแอลพีจีจากปัจจุบันที่มีอยู่ 6 หัวซึ่งขนส่งแอลพีจีไปได้แค่ จ.นครสวรรค์ และ จ.ขอนแก่น จากเดิมที่ไปถึง จ.ลำปาง แต่เนื่องจากหัวรถจักรเดิมเริ่มมีอายุการทำงานที่นานจึงทำให้ขนไป จ.ลำปางไม่ได้ ส่วนหนึ่งจึงต้องขนทางรถยนต์แทนการลงทุนซื้อหัวรถจักรดังกล่าวก็จะทำให้เพิ่มการขนส่งไปยัง จ.ลำปางได้เพื่่อช่วยลดค่าขนส่งทางรถยนต์ที่จะลดได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง
ปตท.มีโครงการเพิ่มขีดความสามารถการนำเข้า การจ่าย และระบบขนส่งแอลพีจี ที่จะลงทุน 9,900 ล้านบาท ที่จะขยายท่าเรือ และถังแอลพีจี ซึ่งจะขยายการรองรับแอลพีจีนำเข้าจากเดิม 1.3 แสนตันต่อเดือนเป็น 2.5 แสนตันต่อเดือน การขยายคลังจะเสร็จในปลาย เม.ย. หรือต้น พ.ค.นี้ แต่ขณะนี้การใช้แอลพีจีในประเทศได้ลดลงจึงทำให้คลังที่จะรองรับเหลือพอที่จะนำเข้าแอลพีจีเพื่อจำหน่ายเพื่อนบ้านซึ่งกำลังรอที่จะแจ้งรัฐในการนำเข้าอยู่ นายสรัญกล่าว
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า โรดแมปการเปิดเสรีธุรกิจแอพีจีมีอยู่ 4 ขั้นตอน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนแรกและขั้นที่ 2 ที่จะเปิดให้รายอื่นนำเข้ามาซึ่งถือเป็นการทดลองอยู่ แต่ขณะนี้การนำเข้าที่เปิดให้รายแรกไปแล้วไม่สามารถนำเข้าได้ก็อาจจะต้องพิจารณาในเรื่องของบทลงโทษ เพราะที่สุดจะเป็นภาระ ปตท.ที่ต้องหามาทดแทน ดังนั้นก็คงจะต้องมาพิจารณาขั้นตอนต่างๆ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47372
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 02/04/2016 10:59 am Post subject:
รฟท. เพิ่มขบวนรถไฟช่วงสงกรานต์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 02 เมษายน 2559, 07:30
รฟท. เพิ่มขบวนรถไฟช่วงสงกรานต์ รองรับการเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาของประชาชน คาดรับรองผู้โดยสารได้วันละ 1.07 แสนคนต่อวัน
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2559 มีวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน คาดว่าจะมีผู้โดยสารเริ่มทยอยเดินทางโดยรถไฟไปจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่วันที่ 8 18 เมษายน 2559 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดเตรียมความพร้อมรองรับการเดินทางของประชาชนที่จะเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ โดยการพ่วงตู้โดยสารเพิ่มจนเต็มหน่วยลากจูงในขบวนรถที่มีการวิ่งให้บริการ เพื่อเป็นการรองรับผู้ใช้บริการที่จะเดินทาง จำนวน 244 ขบวน และประกาศเดินขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสาร เพิ่มเติมจากขบวนประจำอีก 29 ขบวน ระหว่างวันที่ 8-12 เมษายน 2559 และวันที่ 16-18 เมษายน 2559 ซึ่งขบวนรถพิเศษช่วยการโดยสารที่เพิ่มมานั้นเป็นขบวนรถไฟฟรีทั้งหมด สามารถรับรองผู้โดยสารได้วันละ 107,000 คนต่อวัน
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 04/04/2016 2:21 am Post subject:
เริ่มแล้ว! งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้าลำปาง น้องอี้-นางสาวไทย 57 ร่วมขบวนด้วย
โดย MGR Online
1 เมษายน 2559 12:23 น. (แก้ไขล่าสุด 1 เมษายน 2559 13:50 น.)
ลำปาง - ผู้ว่าฯ นำทีมต้อนรับ น้องอี้-นางสาวไทยปี 57 พร้อมคณะ ร่วมงาน รำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้านครลำปาง ที่เริ่มต้นขึ้นแล้วในวันนี้ เผยปีนี้พิเศษสุด ทั้งฉลองครบรอบ 99 ปี รถไฟสายเหนือมาถึงลำปาง-100 ปี อาคารสถานีรถไฟ
วันนี้ (1 เม.ย.) นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมคณะหัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน ต่างพร้อมใจกันประกอบพิธีทำบุญถวายเครื่องไทยทานแด่พระภิกษุสงฆ์ที่บริเวณสถานีรถไฟนครลำปาง เพื่อความสิริมงคลเนื่องในวันครบรอบ 100 ปีของอาคารสถานีรถไฟนครลำปาง และครบรอบ 99 ปีของขบวนรถไฟสายเหนือที่มาถึงนครลำปาง และได้เริ่มมีการใช้รถม้าเป็นยานพาหนะ
จากนั้นได้นำคณะต้อนรับ น้องอี้ หรือ น.ส.วิลาสินี จันทร์วุฒิวงศ์ นางสาวไทย ปี 2557 พร้อมคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลางและนักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาจากกรุงเทพฯ กับขบวนรถไฟพิเศษ ขบวนที่ 13 มาถึงลำปาง เวลา 09.00 น. ก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางพร้อมด้วยนางสาวไทยและคณะทั้งหมดจะนั่งรถม้าออกจากสถานีรถไฟนครลำปางเพื่อชมทัศนียภาพรอบเมืองลำปาง
สำหรับงาน รำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้า ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมประจำปีของจังหวัดที่จัดขึ้นติดต่อกันทุกปี และปีนี้เป็นครั้งที่ 17 โดยถือเอาวันที่ 1 เมษายน ซึ่งชาวเหนือถือว่าเป็นเดือนขึ้นปีใหม่เมือง และมหาสงกรานต์ของทุกปี เริ่มต้นจัดงานลำรึกประวัติศาสตร์รถไฟรถม้านครลำปาง รวม 5 วัน คือ ระหว่างวันที่ 1-5 เม.ย. และปีนี้นับว่ามีความสำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากประวัติศาสตร์ของการเปิดขบวนรถไฟสายเหนือมาสิ้นสุดที่ลำปาง มีอายุครบ 99 ปี ส่วนอาคารสถานีรถไฟนครลำปางมีอายุครบ 100 ปีพอดี
ทั้งนี้ การเปิดเส้นทางรถไฟสายเหนือมาสิ้นสุดที่จังหวัดลำปาง เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ควบคู่ไปกับการใช้รถม้าลำปางมาจนถึงปัจจุบัน แม้การใช้รถม้าในปัจจุบันอาจเปลี่ยนแปลงจากการใช้ประกอบอาชีพมาเป็นเพียงให้บริการนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ก็ถือว่ายังมีความสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด และมีเพียงจังหวัดเดียวของประเทศไทยที่รถม้าสามารถวิ่งบนถนนหลวงได้เหมือนกับรถยนต์ทั่วไปแบบถูกต้องตามกฎหมาย
สำหรับงาน รำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้า ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน 2559 นี้ ณ สถานีรถไฟนครลำปางมีการจัดตลาดย้อนยุค (กาดหมั้ว) ให้นักท่องเที่ยวได้ชมและเลือกซื้อ พร้อมสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์, นิทรรศการประวัติศาสตร์ รถไฟ รถม้า นครลำปาง, การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน, กิจกรรมนั่งรถม้า-รถไฟ ชมเมืองลำปาง, การจัดมหกรรมอาหาร, การแสดงแสง สี เสียง และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
https://www.youtube.com/watch?v=GDsSXVBgAOk
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 05/04/2016 9:41 am Post subject:
หาเอกชนร่วมทุนสถานีบางซื่อ บอร์ด ร.ฟ.ท. เร่งส่งผลศึกษาเสนอ คค.ชงสคร. พีพีพี
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 5 เมษายน 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,145 วันที่ 3 6 เมษายน พ.ศ. 2559
หาเอกชนร่วมทุนสถานีบางซื่อ บอร์ด ร.ฟ.ท. เร่งส่งผลศึกษาเสนอ คค.ชงสคร. - พีพีพี
บอร์ด รฟท.ไฟเขียวจัดหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ เร่งการรถไฟให้ส่งผลการศึกษาเสนอคมนาคมชง สคร.และคณะกรรมการพีพีพีเห็นชอบ
นายสราวุธ เบญจกุล ประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการฯครั้งล่าสุด บอร์ดมีมติเห็นชอบโครงการสรรหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ โดยให้รฟท.เร่งเสนอโครงการไปให้กระทรวงคมนาคม (คค)พิจารณาเห็นชอบนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)พิจารณานำเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(พีพีพี)ต่อไป
ขณะนี้ผลการศึกษาแล้วเสร็จและส่งเรื่องมาให้รฟท.แล้ว โดยเฉพาะผลการศึกษากรณีร่วมลงทุนตามพ.ร.บ.ปี 2556 ซึ่งจะต้องนำเสนอกระทรวงคมนาคมเห็นชอบนำเสนอหน่วยเกี่ยวข้อง สุดท้ายถึงจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ดำเนินโครงการต่อไป
สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อนี้จะเป็นโครงการผสมผสานขนาดใหญ่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การประชุม และศูนย์กลางการคมนาคม
นอกจากนั้นยังเห็นชอบผลการพิจารณาข้อเสนอการกำหนดรูปแบบการดำเนินงานของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด(แอร์พอร์ตลิ้งค์)หรือ รฟฟท.กรณีการแบ่งแยกทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างรฟท.กับรฟฟท.เนื่องจากมีระเบียบขั้นตอนดำเนินการตามกฎหมายอีกหลายประเด็น โดยเห็นชอบตามที่คณะทำงานของทั้ง 2 หน่วยงานเสนอ โดยให้ดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
เช่นเดียวกับโครงการอื่นๆที่แอร์พอร์ตลิ้งค์นำเสนอพิจารณา อาทิ อนุมัติปรับขอบเขตงานวงเงินจ้างซ่อมบำรุงใหญ่ตามวาระ 9 ขบวนโดยอนุมัติจ้างวิธีพิเศษ ขออนุมัติซื้อแบตเตอรี่สำรอง การจัดหาอุปกรณ์ซิมูเรเตอร์ การจัดหาอุปกรณ์ประกอบชุดควบคุมมอเตอร์ จำนวน 36 ชุด และการซ่อมบำรุงเจียรรางบอร์ดร.ฟ.ท.ก็ได้อนุมัติให้แอร์พอร์ตลิ้งค์รับไปดำเนินการแล้วทั้งหมด ทั้งนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบวัสดุที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ รฟท.กล่าวว่าที่คณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟฯได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ 3 เส้นทางคือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท ช่วงนครปฐม-หัวหิน วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 1 หมื่นล้านบาทไปแล้วนั้น บอร์ดยังได้อนุมัติค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างรถไฟทางคู่อีก 4 เส้นทางคือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 450 ล้านบาท ช่วงนครปฐม-หัวหิน วงเงิน 423 ล้านบาท ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงิน 611 ล้านบาท และช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน 356 ล้านบาท
นอกจากนั้นยังได้ส่งเรื่องคืนให้ร.ฟ.ท.กรณีค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟเชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือน้ำลึกทวาย มูลค่า 346 ล้านบาทเนื่องจากผลการศึกษาออกแบบเบื้องต้นนั้นยังไม่ชัดเจนจึงยังไม่มีความคุ้มค่าด้านการลงทุน อีกทั้งยังต้องรอนโยบายของกระทรวงคมนาคมอีกครั้งเพราะแนวเส้นทางโครงการยังซ้ำซ้อนกับแนวโครงการรถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นช่วงกาญจนบุรี-แก่งคอย-สระแก้ว และแก่งคอย-แหลมฉบังอีกด้วย
การดำเนินงานเปิดประมูลได้จะต้องรอให้ผ่านการพิจารณารับรองด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ก่อน ซึ่งช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร จะมีความพร้อมมากกว่าเส้นทางอื่นๆที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาอีไอเอ แต่คาดว่าจะทยอยออกมาได้ครบทั้งหมดภายในกลางปีนี้
http://pantip.com/topic/34990688
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 08/04/2016 11:03 am Post subject:
′คณะอาจารย์วิศวะ จุฬา′ ถกร่วม ′รมช.ออมสิน′ แนะควรเปลี่ยนชุดความคิดสร้างรถไฟ
มติชน
วันที่: 7 เมษายน 2559 เวลา: 18:40 น.
เมื่อเวลา 15.20 น. วันที่ 7 เมษายน ที่กระทรวงคมนาคม นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการร่วมหารือกับคณะอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่องข้อเสนอแนะต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศไทยว่า ข้อสรุปการหารือในวันนี้คือ คณะอาจารย์มาเสนอแนวคิดว่าทำอย่างไรที่จะให้ไทยพัฒนาในระบบต่างๆ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำที่มีหลายระบบ
นายประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนามคมขนส่งของประเทศไทยพ.ศ.2558-2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการบริการด้านคมนาคมขนส่ง ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงคมนาคม กลุ่มคณะอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ติดตามศึกษา และดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการ มีข้อเสนอที่ประสานงานผ่านพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี โดยร่วมหารือกับนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเรียนต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณา
ปัจจุบันใช้รถไฟเพื่อการแก้ปัญหาจราจร ซึ่งเป็นการดำเนินโครงการแบบแยกส่วน มีรถไฟหลากหลายโมเดลหลายยี่ห้อ ไม่เอื้อให้เกิดอุตสาหกรรม เนื่องจากเน้นการจัดหามาใช้งานที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งมีความเสี่ยงเรื่องอะไหล่ทดแทน ผมและคณะอาจารย์มองว่าควรเปลี่ยนชุดความคิดจากเดิมที่ใช้รถไฟเพื่อแก้ปัญหาจราจร มาเป็นใช้รถไฟเพื่อพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถด้านวิศวกรรม กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี สนับสนุนการผลิตชิ้นส่วน พัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และส่งเสริมงานวิจัยพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว นายประมวลกล่าว
นายประมวลกล่าวว่า รวมถึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณาขยายบริบทของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่เฉพาะด้านคมนาคมขนส่งเท่านั้น แต่ขยายครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์หรือการศึกษา ด้วยการส่งเสริมให้มีผลิตชิ้นส่วน หรือประกอบรถไฟภายในประเทศ เพื่อให้ไทยมีขีดความสามารถในการพัฒนาระบบรถไฟสายอื่นๆ ในอนาคต และควรเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนาดใหญ่ให้เชื่อมโยงกับต่างประเทศ
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 08/04/2016 4:32 pm Post subject:
เปิดข้อเสนอ คณะอาจารย์วิศวะฯ จุฬา แนะคมนาคม ยกระดับแผนพัฒนารถไฟ
มติชน
วันที่: 8 เมษายน 2559 เวลา: 10:02 น.
เมื่อวันที่ 7 (เมษายน) คณะอาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าพบนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อยื่นข้อเสนอแนะต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศไทย
โดยนายประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า รัฐบาลควรเปลี่ยนแนวความคิดจากเดิมที่ใช้รถไฟเพื่อแก้ปัญหาจราจรมาเป็นการใช้รถไฟเพื่อพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถด้านวิศวกรรม กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี สนับสนุนการผลิตชิ้นส่วน พัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และส่งเสริมงานวิจัยพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งต้องขยายให้ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์หรือการศึกษา ด้วยการส่งเสริมให้มีการผลิตชิ้นส่วน หรือประกอบรถไฟภายในประเทศ เพื่อให้ไทยมีขีดความสามารถในการพัฒนาระบบรถไฟสายอื่นๆ ในอนาคต และควรเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงกับต่างประเทศ
ข้อเสนอแนะต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศไทย จัดทำโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากการที่รัฐบาลมีนโยบายผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการบริการด้านคมนาคมขนส่ง ดำเนินการโดยกระทรวงคมนาคม โดยได้รับการประชาสัมพันธ์ในลักษณะ 4 เป้าหมาย 5 แผนงาน มีแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในหลายส่วน โดยเฉพาะด้านการขนส่งระบบรางซึ่งกำลังเป็นที่สนใจ 3 ส่วน คือ (1) แผนการปรับปรุงโครงสร้างทางและสิ่งอำนวยความสะดวก (2) การพัฒนารถไฟทางคู่ และ (3) การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 สายทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ความเร็วปานกลาง ความกว้างทางขนาดมาตรฐาน (standard gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กม. ซึ่งล่าสุด ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งต่อสาธารณะว่ามีนโยบายจะปรับเปลี่ยนแผนดังกล่าวเป็นโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตรแทน โครงการเหล่านี้ล้วนเป็นที่สนใจของสังคมในวงกว้าง ทั้งในและต่างประเทศ และจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลตลอดจนสังคมไทยควรจะได้ตระหนักและเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระมัดระวัง การเตรียมการ การใช้ประโยชน์ ตลอดจนข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดังกล่าวเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนักวิชาการที่ติดตาม ศึกษา ตลอดจนดำเนินการวิจัยเกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว ทั้งในส่วนนโยบายของรัฐ การบริหารจัดการโครงการ การพัฒนาโครงการ ตลอดจนการพัฒนาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี มีความปรารถนาดีและต้องการสนับสนุนแผนการดำเนินงานต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น จึงใคร่เรียนนำเสนอแนวนโยบายต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินโครงการต่อไป ใน 3 ประเด็น ดังนี้
1.ประเด็นนโยบายและยุทธศาสตร์
1.1 ขอเสนอให้รัฐบาลพิจารณาขยายบริบทของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ของประเทศไม่เฉพาะด้านคมนาคมขนส่งเท่านั้น เนื่องจากองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมิได้ถูกจำกัดไว้เพียงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง แต่ยังมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขอีกด้วย ข้อมูลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ จำนวน 61 ประเทศ โดย IMD ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านการบริหารจัดการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังแสดงในรูปที่ 1 แสดงให้เห็นว่า อันดับของขีดความสามารถของไทยในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม (กลุ่ม Basic) ถูกจัดไว้เป็นอันดับที่ 30 ในขณะที่อันดับด้านเทคโนโลยี 44 วิทยาศาสตร์ 47 สาธารณสุข 54 และการศึกษา 48 ซึ่งเป็นความสามารถที่สำคัญไม่ด้อยไปกว่ากัน การมุ่งเน้นเพียงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม จึงไม่อาจสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้ในระยะยาว
อนึ่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ หรือการศึกษา มิได้หมายถึงเพียงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัย หรือเพิ่มงบประมาณด้านการศึกษา หากแต่เป็นการอาศัยปริมาณความต้องการใช้ขนส่งระบบรางที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนอยู่แล้วป้อนกลับเข้าไปสู่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ด้วยการส่งเสริมให้มีการผลิตชิ้นส่วน และ/หรือ การประกอบรถไฟภายในประเทศไทย พร้อมๆ ไปกับการกำหนดเงื่อนไขเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมาย 2 ระยะ คือ ระยะสั้น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถลดการนำเข้าชิ้นส่วนระบบรถไฟฟ้าจากต่างประเทศ สามารถลดการพึ่งพาเทคโนโลยี และระยะยาวเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของช่างเทคนิค วิศวกร ตลอดจนนักวิชาการของประเทศไทยให้มีขีดความสามารถในการพัฒนาระบบรถไฟสายอื่นๆ ได้ต่อไปในอนาคต
1
รูปที่ 1 แสดงการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต่างๆ ของประเทศไทย ในปี ค.ศ.2015
1.2 การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนาดใหญ่โดยมุ่งหวังให้เกิดการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ แต่ขาดการเตรียมความพร้อมและการพิจารณากำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่ชัดเจนควบคู่กันไปกับยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยถูกครอบงำโดยประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีความพร้อมและชัดเจนในการใช้ยุทธศาสตร์การขนส่งเพื่อรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าประเทศไทย
ตัวอย่างความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและมีผลผูกพันต่อมาเป็นระยะเวลานาน คือ กรณีวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี พ.ศ.2540 อันเป็นผลจากการเปิดเสรีทางการเงินของไทย เป็นตัวอย่างของผลกระทบจากการเปิดเสรีเพื่อเชื่อมโยงประเทศไทยกับต่างประเทศ ตามการกระตุ้นและสนับสนุนของประเทศมหาอำนาจ โดยมองเฉพาะด้านดีที่เกิดจากการเปิดเสรีทางการเงินว่าจะช่วยลดอุปสรรคต่อระบบการค้าเสรี แต่ขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้น มีความบกพร่องในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ ตลอดจนการไม่มีแนวทางการพัฒนาศักยภาพภายในเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดเงินตลาดทุนที่จะเกิดขึ้น การควบคุมและกำกับการไหลเข้าออกของเงินทุนจากต่างประเทศดำเนินไปอย่างไร้ทิศทาง ขาดมาตรการที่จะควบคุมและตรวจสอบการใช้เงินทุนจากต่างประเทศให้เกิดผลดีต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศ ทั้งยังขาดมาตรการลดผลกระทบทางลบและปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกระหว่างประเทศอย่างรวดเร็ว จนสุดท้ายทำให้เกิดเป็นวิกฤตการณ์ครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศไทยในที่สุด
1.3 เสนอให้มีการเปลี่ยนชุดความคิดจากการใช้รถไฟหรือระบบขนส่งทางรางเพื่อการแก้ปัญหาจราจร หรือเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไปเป็นการใช้รถไฟเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศ ชุดความคิดที่แตกต่างกันนี้จะนำมาสู่ความพยายาม หรือผลลัพธ์เชิงรูปธรรมที่แตกต่างกัน กล่าวคือ แทนที่จะดำเนินการประมูลจัดหาระบบรถไฟฟ้าไปคราวละสาย ก็ต้องปรับชุดความคิดมาเป็นหาแนวทางที่จะทำให้กระบวนการจัดหาเอื้อให้ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีสามารถร่วมมือกับผู้ประกอบการภายในประเทศไทยในการดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศไทย หรือส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดเทคโนโลยีด้วยการวิจัยและพัฒนาต่อไป
1.4 เสนอให้มีคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวง ไม่เพียงกระทรวงคมนาคมเท่านั้นเพื่อขยายขอบเขตจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมไปสู่การพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นคณะทำงาน
2
รูปที่ 2 แสดงชุดความคิด 2 ประการ คือ ใช้รถไฟเพื่อการแก้ปัญหาจราจร และเพื่อการพัฒนาศักยภาพ
1.5 เสนอให้มีการพิจารณาความเสี่ยง หรือความท้าทายที่อาจจะสร้างปัญหากับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ดังนี้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ความเสี่ยงและความท้าทายที่ควรพิจารณา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-ผู้ประกอบการไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้น เพราะสามารถส่งสินค้าออกไปต่างประเทศด้วยต้นทุนโลจิสติกส์ที่ลดลง
-สินค้าจากต่างประเทศจะส่งออกสินค้าผ่านประเทศไทย
-ต่างประเทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพราะมีต้นทุนโลจิสติกส์ที่ลดลง
-มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวยังประเทศไทยมากขึ้น
ความเสี่ยงและความท้าทายที่ควรพิจารณา
-การขนส่งย่อมมี 2 ทิศทาง เมื่อส่งออกง่าย ก็จะสามารถนำเข้าสินค้าได้ง่ายเช่นกัน หมายความว่า สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะมีต้นทุนโลจิสติกส์ที่ลดลงเช่นเดียวกัน ทำให้สินค้าจากต่างประเทศราคาถูกลง และทำให้สินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตในประเทศเสียศักยภาพในการแข่งขันได้
-ยังไม่มีการวิเคราะห์ในรายละเอียดว่าประเภทและปริมาณของสินค้าไทยที่จะสามารถเข้าไปขายแข่งขันในประเทศอื่นได้ รวมถึงยังไม่มีความชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพของผูผลิตและผู้ค้าไทยในการเข้าไปขยายตลาดในต่างประเทศ
-ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการที่สินค้าจากต่างประเทศใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน นอกจากจะได้ค่าผ่านทาง (หากมีการจัดเก็บ) หรือค่าใช้บริการท่าเรือและบริการโลจิสติกส์ต่างๆ
-ในขณะเดียวกัน สินค้าจากต่างประเทศย่อมจะได้ประโยชน์จากการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน เพราะจะทำให้สินค้าที่ผลิตในต่างประเทศเหล่านี้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้น ด้วยต้นทุนโลจิสติกส์ของสินค้าที่ลดลง ซึ่งอาจสร้างผลเสียกับประเทศไทยได้ หากสินค้าต่างประเทศที่ได้ประโยชน์เหล่านี้ เป็นสินค้ากลุ่มเดียวกันกับที่ประเทศไทยผลิตและส่งออกด้วย ซึ่งจะทำให้สินค้าจากต่างประเทศเหล่านี้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นในการแข่งขันกับสินค้าจากประเทศไทย
-การลงทุนจากต่างประเทศอาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้เสมอไป เพราะนักลงทุนต่างประเทศจะถ่ายเทผลประโยชน์ในรูปของกำไร และ Transfer Pricing กลับไปยังประเทศแม่ในต่างประเทศ อีกทั้งประโยชน์จะตกแก่ประเทศไทยน้อยมาก หากเป็นการลงทุนที่ใช้เพียงแรงงาน และไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง ให้กับผู้ประกอบการไทย
มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวยังประเทศไทยมากขึ้น จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย แต่ต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น คือ
-หากการกวดขันการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายของคนต่างด้าวมีความหย่อนยาน พ่อค้าต่างชาติที่จะแฝงตัวเข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว และพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยเกินกำหนด เพื่อเข้ามาแย่งธุรกิจการค้าจากคนไทย
-นักท่องเที่ยวไทยก็จะสามารถเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศได้สะดวกขึ้นเช่นกัน
2. ประเด็นด้านการบริหารจัดการ การจัดเตรียมและปฏิรูปองค์กรด้านขนส่งระบบราง
เพื่อแก้ปัญหาประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบขนส่งแบบองค์รวม ควรมีการปฏิรูปการบริหารจัดการตลอดจนองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับ บริหาร และให้บริการขนส่งระบบราง โดยมีมิติที่ควรพิจารณาก่อน หรือควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงการ ดังนี้
2.1 บทบาทของหน่วยงานต่างๆ ในเส้นทางที่จะเกิดขึ้นใหม่ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากรร่วมกันแบบบูรณาการได้หรือไม่ ทั้งในระดับการบริหารระบบการขนส่งของประเทศ และการบริหารโครงข่ายระบบราง โดยมีเป้าหมายที่จะอำนวยความสะดวกให้ประชาชนผู้ใช้บริการ และบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการดำเนินงานและซ่อมบำรุง (operations & maintenance) เช่น การพัฒนาศูนย์ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้าแบบรวม หรือการเดินรถร่วมกัน (run through service) ซึ่งจะแตกต่างจากระบบคิดแบบแยกส่วนเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ต้องมุ่งเน้นการควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีที่ไม่หลากหลายมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการ การเดินรถ ตลอดจนงานซ่อมบำรุงในระยะยาว
2.2 เมื่อปฏิรูปองค์กรแล้ว จะต้องมีองค์กรใดบ้างรับผิดชอบภารกิจที่เกี่ยวข้อง
วางยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางในภาพรวมของประเทศ
รับผิดชอบการก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน (IMC)
รับผิดชอบการเดินรถโดยสาร และรถขนส่งสินค้า (TOC)
กำกับดูแลความปลอดภัย (TOC) และรับรองมาตรฐาน IMC
การประสานงานระหว่างหน่วยงาน TOC, IMC อปท. หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
หน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางใหม่จะต้องมีบทบาทใดบ้าง
3. ประเด็นด้านการใช้ระบบรางเป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถด้านวิศวกรรมและการผลิตของประเทศผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรม
นับตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2552 เป็นต้นมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนการวิจัยจากทั้งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สศอ.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ตลอดจนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการประกอบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ตลอดจนอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย และความต้องการใช้บุคลากรด้านปฏิการระบบขนส่งทางราง พบว่ามิติดังกล่าวนี้เป็นมิติที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านระบบรางของประเทศ อย่างไรก็ดีจากการได้มีโอกาสจัดสัมมนาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางรางจากต่างประเทศ อาทิ ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไต้หวัน พบว่าแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถด้านวิศวกรรมและการผลิตรถไฟฟ้าของประเทศต่างๆ เหล่านั้น ล้วนแตกต่างกัน ขึ้นกับบริบทพื้นฐานของประเทศ การกำหนดแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบด้าน สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กร ระเบียบกฎหมาย ตลอดจนศักยภาพของอุตสาหกรรมพื้นฐาน จึงขอเสนอให้เร่งจัดให้มีคณะทำงานเพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยรายการผลการศึกษาต่อรัฐบาลโดยตรง เนื่องจากอาจพิจารณาเป็นภารกิจเร่งด่วนเนื่องเพราะจะต้องมีแนวทางที่ไม่ทำให้การดำเนินโครงการต่างๆ ไม่ล่าช้าไปกว่าแผนที่ได้กำหนดไว้ และต้องสามารถปฏิบัติได้
แนวความคิดทั้งหมดที่ได้นำเสนอไว้นี้ อาจมีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายด้วยวาจา เพื่อขยายความและทำให้เกิดความเข้าใจที่สอดคล้องตรงกัน คณะนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความยินดีที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมในทุกประเด็นที่ทำให้เกิดข้อสงสัย
Back to top