RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312065
ทั่วไป:13666832
ทั้งหมด:13978897
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 281, 282, 283 ... 489, 490, 491  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44032
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2016 10:30 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ผู้ว่าการรถไฟฯยันไม่ได้ให้บริษัทเอกชนเข้าไปดัดแปลงรถ JR-West
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 18.10 น.


ผู้ว่าฯ รถไฟ อ้างสุดวิสัยไฟไหม้รถ JR-West เสียหายไม่มาก เรียกบริษัทชดใช้แค่ค่าน้ำยาดับเพลิง
โดย MGR Online
5 กันยายน 2559 18:47 น. (แก้ไขล่าสุด 5 กันยายน 2559 20:41 น.)

ตอกย้ำรถไฟเป็นดินแดนสนธยา “ออมสิน” เผยเพิ่งรู้ข่าวไฟไหม้ รถ JR-West ในโรงงานมักกะสัน สั่ง “วุฒิชาติ” ผู้ว่าฯ การรถไฟ แจงรายละเอียดแล้ว ขณะที่ระบุความเสียหายไม่มาก ไม่เป็นสาระสำคัญ ไม่จำเป็นต้องรายงานด่วน ด้านผู้ว่าฯ ปฏิเสธไม่ได้ให้บริษัทเอกชนเข้าไปดัดแปลงรถ JR-West 4 คัน โดยไม่มีสัญญาจ้าง ระบุเหตุไฟไหม้เหตุสุดวิสัย บริษัทติดตั้งผ้าใบคลุมทางเดินรอยต่อระหว่างตู้ โดยเรียกค่าเสียหายจากบริษัท ภัทรภัณฑ์ ต้นเหตุไฟไหม้เป็นน้ำยาสารดับเพลิงที่ใช้ไปเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่เกิดเหตุไฟไหม้รถ JR-West ในระหว่างมีการดัดแปลงภายในโรงงานมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่กลับมีคำสั่งให้ปกปิดข้อมูล ขณะที่มีการยืนยันว่ารถที่เกิดเหตุไฟไหม้ดังกล่าวนั้น การรถไฟฯ ยังไม่ได้รับอนุมัติและทำสัญญาจ้างตามกระบวนการแต่อย่างใดนั้น นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการรถไฟฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าว “ผู้จัดการรายวัน 360 องศา” ว่าไม่ได้รับรายงานเหตุไฟไหม้รถ JR-West ดังกล่าว เพิ่งทราบว่าจากหนังสือพิมพ์เมื่อวันที่ 5 ก.ย.นี้ ซึ่งได้สั่งการให้นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟฯ ทำรายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสาเหตุให้ทราบโดยเร็วแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุไฟไหม้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. เหตุใดผู้บริหารการรถไฟฯ จึงไม่รายงานให้ทราบ นายออมสินกล่าวว่า “ผมเพิ่งทราบ ตามที่เป็นข่าวเท่าที่ทราบรถไฟมีการปรับปรุงรถ JR-West ไฟไหม้ที่เกิดขึ้น ทางการรถไฟฯ อาจมองว่าไม่ใช่ประเด็น เป็นไฟไหม้ธรรมดา ความเสียหายไม่มาก ไม่มีความโกลาหลอะไร คาดว่าในวันอังคาร ที่ 6 ก.ย.จะได้รับทราบข้อเท็จจริงมากขึ้น”

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับ รถ JR-West นี้การรถไฟฯ ได้รับมาจาก West Japan Railway Company หรือ JR-West ประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบให้ฟรีจำนวนกว่า 60 คัน รถดังกล่าวมีขนาดล้อกว้าง 1.065 เมตร ขณะที่รางรถไฟไทย กว้าง 1 เมตร ดังนั้น เมื่อรับมอบมาจะมีการดัดแปลงโดยดันล้อให้มีขนาดกว้าง 1 เมตรเพื่อให้วิ่งบนรางรถไฟของไทยได้ ต่อมาเมื่อสภาพเครื่องยนต์ดีเซลและระบบแอร์เสื่อมสภาพหาอะไหล่ไม่ได้จึงถอดเครื่องยนต์ออกและทยอยดัดแปลงตัวรถเพื่อนำมาใช้งานในลักษณะตู้พ่วงในรูปแบบต่างๆ

อย่างไรก็ตาม กรณีเกิดเหตุไฟไหม้ภายในโรงงานมักกะสัน ที่ผ่านมาตามระเบียบรถไฟนั้นผู้รับผิดชอบฝ่ายช่างกลจะต้องออกหนังสือแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้รับทราบ รวมถึงแจ้งตำรวจในพื้นที่ คือ สถานีตำรวจรถไฟ หรือสถานีตำรวจดินแดง ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบการแจ้งข้อมูลใดๆ ตามระเบียบ ขณะที่รถ JR-West แม้ว่าจะได้ฟรีมาจากญี่ปุ่นแต่ในกระบวนการส่งมอบจะมีค่าขนส่งและถือเป็นทรัพย์สินของการรถไฟฯ เมื่อเกิดความเสียหายจะต้องมีการลงบันทึกบัญชีด้วย

โดยวันที่ 5 ก.ย. เวลาประมาณ 17.29 น. การรถไฟฯ ได้ออกข่าวชี้แจงกรณีไฟไหม้รถ JR-West โดยนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯ การรถไฟ ระบุว่าจากการตรวจสอบเหตุไฟไหม้รถ JR WEST ที่โรงงานมักกะสัน พบว่าเมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 29 ส.ค. 2559 เจ้าหน้าที่บริษัท ภัทรภัณฑ์ฯ ได้เข้ามาดำเนินการซ่อมแซมดัดแปลงและติดตั้งโครงกูบ รถ บนท.ป.237 แต่เมื่อเวลา 10.45 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการรื้อถอดโครงกูบเก่าออกโดยใช้เครื่องตัดแก๊สตัดออกได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น เจ้าหน้าที่จึงได้ช่วยกันดับไฟเพื่อไม่ให้เพลิงลุกไหม้ไปในวงกว้างมากขึ้น เมื่อเพลิงดับลงเจ้าหน้าที่ได้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เพลิงไหม้ในรถ บนท.ป.237 โดยในส่วนโครงสร้างภายใน ภายนอกของตัวรถไม่มีความเสียหาย เนื่องจากอุปกรณ์ภายในตัวรถได้รื้อถอนออกมาหมดแล้วคงเหลือเฉพาะแต่โครงเหล็ก ส่วนค่าเสียหายที่บริษัทภัทรภัณฑ์ฯ ต้องรับผิดชอบ คือ น้ำยาสารดับเพลิงที่ใช้ไปในครั้งนี้ โดยบริษัทจะต้องนำถังดับเพลิงบรรจุก๊าซให้เต็มและส่งมอบคืนการรถไฟฯ

นายวุฒิชาติระบุว่า ไม่ได้ให้บริษัทเอกชนเข้าไปดัดแปลงรถ JR-West 4 คัน เป็นรถจัดเช่าพิเศษ ก่อนมีการทำสัญญาว่าจ้าง และน่าจะเป็นเหตุเข้าใจผิด โดยระบุว่าบริษัทเอกชนที่เข้าไปนั้น คือ บริษัท ภัทรภัณฑ์ มาร์เก็ตติง จำกัด ซึ่งได้เข้าไปดำเนินการซ่อมแซมเพื่อติดตั้งกูบ (ผ้าใบคลุมทางเดินบริเวณข้อต่อของตู้โดยสารกับตู้โดยสาร) พร้อมติดตั้งโครงกูบผลิตด้วยเหล็ก เชื่อมประกอบแล้วทาสีและยึดต่อกับตัวรถด้วยสลัก จำนวน 7 ชุด เป็นวงเงิน 874,832 บาท และมีกำหนดส่งมอบงานภายใน 30 วัน ซึ่งได้ว่าจ้างตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. 2559

ส่วนโครงการดัดแปลงรถ JR-West เป็นรถจัดเช่าพิเศษ หรือ SRT Prestige เป็นอีกโครงการหนึ่งของ
การรถไฟฯ ที่อยู่ในขั้นตอนดำเนินโครงการ ซึ่งล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการการรถไฟฯ เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2559 ที่ประชุมได้อนุมัติให้มีการดัดแปลง JR-West ก่อนจำนวน 2 คัน แต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการอนุมัติการจัดจ้างหรือเปิดให้บริษัทเอกชนเข้ามาดัดแปลงตัวรถแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้มีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นอีก จึงได้สั่งการให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ เข้าควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยหากเกิดเหตุความเสียหายแก่การรถไฟฯ บริษัทจะต้องรับผิดชอบตามความเป็นจริงต่อไป

สั่งแจงด่วน"รถไฟ"ไฟไหม้ ผู้ว่าฯอ้างสุดวิสัยช่วงติดผ้าใบ ปัดดัดแปลงโดยไม่มีสัญญา
โดย ผู้จัดการรายวัน
5 กันยายน 2559 19:47 น. (แก้ไขล่าสุด 5 กันยายน 2559 22:32 น.)

รถไฟแดนสนธยาของจริง "ออมสิน" เผยเพิ่งรู้ข่าวไฟไหม้รถJR-West ในโรงงานมักกะสันตอนที่สื่อออกข่าว เผยได้สั่งการผู้ว่าฯ การรถไฟ ชี้แจงรายละเอียดที่เกิดขึ้นแล้ว "วุฒิชาติ"ยันไม่ได้ให้เอกชนเข้าไปดัดแปลงรถไฟ โดยไม่มีสัญญาจ้าง แต่เหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้น เกิดจากการติดตั้งผ้าใบคลุมทางเดินรอยต่อระหว่างตู้ เผยได้เรียกค่าเสียหายจากบริษัท ภัทรภัณฑ์ แล้ว แต่เรียกได้แค่น้ำยาที่ใช้ดับเพลิงเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่เกิดเหตุไฟไหม้ รถ JR-Westในระหว่างที่มีการดัดแปลงภายในโรงงานมักกะสัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เมื่อวันที่ 29ส.ค.2559 ที่ผ่านมา แต่กลับมีคำสั่งให้ปกปิดข้อมูล และยังมีการยืนยันว่า รถที่เกิดเหตุไฟไหม้ดังกล่าว การรถไฟฯ ยังไม่ได้รับอนุมัติและทำสัญญาจ้างตามกระบวนการแต่อย่างใดตามที่นำเสนอข่าวมาแล้วนั้น

วานนี้ (5 ก.ย.) นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการรถไฟฯ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน360องศา" ว่า ยังไม่ได้รับรายงานเหตุไฟไหม้รถ JR-West ดังกล่าว โดยเพิ่งทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ซึ่งได้สั่งการให้นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟฯ ทำรายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชี้แจงสาเหตุให้ทราบโดยเร็วแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุไฟไหม้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. เหตุใดผู้บริหารการรถไฟฯ จึงไม่รายงานให้ทราบ นายออมสินกล่าวว่า "ผมเพิ่งทราบ ตามที่เป็นข่าว เท่าที่ทราบรถไฟมีการปรับปรุงรถJR-West และไฟไหม้ที่เกิดขึ้น ทางการรถไฟฯ อาจมองว่าไม่ใช่ประเด็น เป็นไฟไหม้ธรรมดา ความเสียหายไม่มาก ไม่มีความโกลาหลอะไร คาดว่า ในวันอังคารที่ 6 ก.ย.นี้ จะได้รับทราบข้อเท็จจริงมากขึ้น"

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับรถ JR-West การรถไฟฯ ได้รับมาจาก West Japan Railway Company หรือ JR-West ประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบให้ฟรี จำนวนกว่า 60 คัน ซึ่งรถดังกล่าวมีขนาดล้อกว้าง 1.065 เมตร ขณะที่รางรถไฟไทย กว้าง 1 เมตร ดังนั้น เมื่อรับมอบมา จึงต้องมีการดัดแปลงขั้นแรก คือ ดันล้อให้มีขนาดกว้าง 1 เมตร เพื่อให้วิ่งบนรางรถไฟของไทยได้ ต่อมาเมื่อสภาพเครื่องยนต์ดีเซลและระบบแอร์ เสื่อมสภาพ หาอะไหล่ไม่ได้ จึงถอดเครื่องยนต์ออกและทยอยดัดแปลงตัวรถ เพื่อนำมาใช้งานในลักษณะตู้พ่วงในรูปแบบต่างๆ

อย่างไรก็ตาม กรณีเกิดเหตุไฟไหม้ภายในโรงงานมักกะสัน ตามระเบียบรถไฟ ผู้รับผิดชอบฝ่ายช่างกล จะต้องออกหนังสือแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้รับทราบ รวมถึงแจ้งตำรวจในพื้นที่ คือ สถานีตำรวจรถไฟ หรือสถานีตำรวจดินแดง ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบการแจ้งข้อมูลใดๆ ตามระเบียบ ขณะที่ รถ JR-West แม้ว่าจะได้ฟรีมาจากญี่ปุ่น แต่ในกระบวนการส่งมอบจะมีค่าขนส่งและถือเป็นทรัพย์สินของการรถไฟฯ เมื่อเกิดความเสียหาย จะต้องมีการลงบันทึกบัญชีด้วย

ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯการรถไฟ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเหตุไฟไหม้รถ JR West ที่โรงงานมักกะสัน พบว่า เมื่อเวลา 08.30 น. ของวันที่ 29 ส.ค.2559 เจ้าหน้าที่บริษัท ภัทรภัณฑ์ มาร์เก็ตติง จำกัด ได้เข้ามาดำเนินการซ่อมแซมดัดแปลงและติดตั้งโครงกูบ (ผ้าใบคลุมทางเดินบริเวณข้อต่อของตู้โดยสารกับตู้โดยสาร) รถ บนท.ป.237 แต่เมื่อเวลา 10.45 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการรื้อถอดโครงกูบเก่าออกโดยใช้เครื่องตัดแก๊สตัดออก ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น เจ้าหน้าที่จึงได้ช่วยกันดับไฟ เพื่อไม่ให้เพลิงลุกไหม้ไปในวงกว้างมากขึ้น เมื่อเพลิงดับลง เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เพลิงไหม้ใน รถ บนท.ป.237 โดยในส่วนโครงสร้างภายใน ภายนอกของตัวรถไม่มีความเสียหาย เนื่องจากอุปกรณ์ภายในตัวรถได้รื้อถอนออกมาหมดแล้ว คงเหลือเฉพาะแต่โครงเหล็ก ส่วนค่าเสียหายที่บริษัท ภัทรภัณฑ์ ต้องรับผิดชอบ คือ น้ำยาสารดับเพลิงที่ใช้ไปในครั้งนี้ โดยบริษัทจะต้องนำถังดับเพลิงบรรจุก๊าซให้เต็มและส่งมอบคืนการรถไฟฯ

ทั้งนี้ ยืนยันว่า ไม่ได้ให้บริษัทเอกชนเข้าไปดัดแปลงรถ JR West 4 คัน เป็นรถจัดเช่าพิเศษ ก่อนมีการทำสัญญาว่าจ้าง และน่าจะเป็นเหตุเข้าใจผิด โดยบริษัทเอกชนที่เข้าไปนั้น คือ บริษัท ภัทรภัณฑ์ ซึ่งได้เข้าไปดำเนินการซ่อมแซมเพื่อติดตั้งกูบ พร้อมติดตั้งโครงกูบผลิตด้วยเหล็ก เชื่อมประกอบแล้วทาสี และยึดต่อกับตัวรถด้วยสลักจำนวน 7 ชุด เป็นวงเงิน 874,832 บาท และมีกำหนดส่งมอบงานภายใน 30 วัน ซึ่งได้ว่าจ้างตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.2559

ส่วนโครงการดัดแปลงรถ JR West เป็นรถจัดเช่าพิเศษ หรือ SRT Prestige เป็นอีกโครงการหนึ่งของการรถไฟฯ ที่อยู่ในขั้นตอนดำเนินโครงการ ซึ่งล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการการรถไฟ เมื่อวันที่ 30 ส.ค.2559 ที่ประชุมได้อนุมัติให้มีการดัดแปลง JR West ก่อนจำนวน 2 คัน แต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการอนุมัติการจัดจ้างหรือเปิดให้บริษัทเอกชนเข้ามาดัดแปลงตัวรถแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้มีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นอีก ได้สั่งการให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ เข้าควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยหากเกิดเหตุความเสียหายแก่การรถไฟฯ บริษัทจะต้องรับผิดชอบตามความเป็นจริงต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44032
Location: NECTEC

PostPosted: 08/09/2016 1:14 am    Post subject: Reply with quote

ยกระดับระบบรางประเทศ! เร่งพัฒนาผู้ประกอบการไทยผลิตชิ้นส่วนรถไฟไทยให้มีคุณภาพ ลดการซื้อต่างชาติ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
7 กันยายน 2559 เวลา 15:05:51 น.


เมื่อวันที่ 7 ก.ย. เวลา 10.45 น. ที่อาคารสโมสรเเละหอประชุมกระทรวงคมนาคม กรุงเทพฯ มีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เเละสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทย จากนั้นมีการเสวนาเรื่อง "ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศ" จัดโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี

ดร.ลักษมี ปลั่งเเสงมาศ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า เรื่องระบบราง ประเทศไทยมีการวิจัยระบบรางมาตั้งเเต่ปี 2540 ทดสอบตัวรางมาเรื่อยๆ เเละค่อยๆพัฒนา เเต่ก่อนไม่ค่อยมีงานเส้นทางเยอะ ทางสถาบันจะมีเพียงงานเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่นการเปลี่ยนราง ชิ้นส่วนในรถไฟ โดยนำมาตรวจสอบในห้องเเล็บ เพื่อดูว่าชิ้นส่วนที่ผลิตมาตรงตามมาตรฐานหรือไม่ ในอนาคตคาดว่าจะมีงานเกี่ยวกับรถไฟความเร็วปานกลางเข้ามาร่วม โดยอยากให้คนไทยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถไฟ เช่น หมอนรองคอนกรีต ข้อตัวจับรถไฟ ถ้าเราผลิตตามมารตฐาน ประเทศไทยก็สามารถผลิตได้เยอะ ลดรายจ่ายที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ

"เราเน้นการพัฒนากำลังทางด้านวิทยาศาสตร์ ต้องการคนที่มีความเชี่ยวชาญ อนาคตมองว่ายังมีอีกหลายชิ้นส่วนที่ต้องตรวจสอบมาตรฐาน พร้อมพัฒนาเเละควบคุม เช่น เครื่องกล ความเเข็งเเรง โบกี้ เเละเหล็ก ต้องเร่งพัฒนาด่วนในปี 60 หมอนคอนกรีตคนไทยทำได้ มีผู้ประกอบการได้รับงานส่งออกหมอนคอนกรีตไปยังประเทศออสเตรเลีย ทางสถาบันวิจัยก็ต้องเข้าไปดูเเลควบคุมมาตรฐานสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ถ้าเราทำได้ต่อไปก็ไม่ต้องเสียเงินให้ต่างประเทศอีกเเล้ว" ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทยกล่าว



นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนเเปลงครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งตัวรถไฟทางคู่ ซึ่ง 3 ปีต่อจากนี้จะต้องให้บริการทั่วทั้งประเทศ เเละมีการเสริมสายการเดินรถไฟ เปิดเส้นทางใหม่ 2 เส้นทางคือ บ้านไผ่-นครพนม จะเชื่อม แม่สอด-มุกดาหารลงมา เเละอีกเส้นทางคือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งเชื่อมต่อไปยังประเทศลาว เมื่อโครงการสำเร็จจะครอบคลุมการเดินทางด้วยรถไฟกว่า 60 จังหวัด เพิ่มเส้นทางกว่า 40% ทั่วประเทศ

"การพัฒนาระบบรางรถไฟทั้งระบบการเดินรถปกติ เเละรถไฟความเร็วสูง เช่น เส้นทาง กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพื่อเป็นการขยายการลงทุน มีการเปิดให้ไทยสามารถร่วมมือกับญี่ปุ่น การส่งสินค้าทางรถไฟมีจำนวนน้อยมากไม่ถึง 3% ของการขนส่ง ทั้งนี้ในอนาคตจะมีการขยายเส้นทาง เเละมีการนำรถไฟบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์มากขึ้น เพิ่มจำนวนการขนส่งสินค้าเเละเพิ่มความสะดวกสบาย โดยปรับเปลี่ยนจัดคุณภาพหัวรถจักรใหม่ มีความเร็ว 3,800 เเรงม้า" นายวุฒิชัยกล่าว

สำหรับความสามาถของคนไทยในการผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับรถไฟ ผู้ว่าการการรถไฟเเห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ความสามารถคนไทยไม่เเพ้ชาติใดในโลก เมื่อร่วมกันทำงานก็เกิดผลสำเร็จ เพราะโครงการของการรถไฟมีมูลค่าสูง เเละยังต้องเสียเงินจำนวนมากในการสั่งซื้อชิ้นส่วนรถไฟจากต่างประเทศ ผู้ผลิตในไทยควรผลิตสินค้าเเละทำให้การรถไฟเชื่อมั่นว่าสินค้ามีคุณภาพตามมาตรฐาน ก็ไม่ต้องสูญเงินให้กับต่างชาติ

"อย่าให้การลงนามในวันนี้เป็นเพียงเเค่เเผ่นกระดาษคนที่มาใหม่ต้องสานต่อ การพัฒนาต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาประชากร ตอนนี้เรามาถูกทางเเล้ว รถไฟเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น" ผู้ว่าการการรถไฟกล่าว

นายธวัช ผลความดี เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า มาตรฐานของรถไฟ 2-3 ปีนี้เป็นยุคของการเปลี่ยนเเปลงระบบรางรถไฟ มีการพูดคุยกันทั้งทางการเเละไม่เป็นทางการพอสมควร มีข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชากรที่เดินทางด้วยรถไฟ ถ้าพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ อนาคตรถไฟของประเทศไทยจะเทียบเท่ายุโรป จีน ญี่ปุ่น เเละใต้หวัน

"สิ่งสำคัญในการกำหนดมาตรฐานของรถไฟคือเรื่องเเผนระบบราง ต้องมีการเชื่อมโยงการทำงานกับสถาบันวิจัยมีการทดสอบคุณภาพ ปัจจุบันมีการรับนโยบายเร่งด่วน ทั้งทางการเเพทย์ จักรกล นวัตกรรม รวมไปถึงรถไฟฟ้า เราต้องรีบกำหนดมาตรฐาน ต่อไปเราจะเเก้มาตรฐานของรถไฟได้เร็วขึ้น เพราะมีการทำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเเละมีการยอมรับเเล้ว หลังจากวันนี้ต้องคิดได้เเล้วว่าจะเตรียมทำอะไร ต้องเร่งทำส่วนไหน ระบบรางเป็นเรื่องใหม่ เราต้องเตรียมคนไม่ใช่เฉพาะทางเเต่ต้องสร้างร่วมกัน" นายธวัชกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47402
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2016 4:06 pm    Post subject: Reply with quote

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร : รถไฟไทยระยะทางรั้งท้ายโลก | 07-09-59 | ไทยรัฐนิวส์โชว์ |
ThairathTV Published on Sep 7, 2016

หากพูดถึงรถไฟไทย เชื่อว่าหลายคนยังคงนึกถึงความล่าช้า ที่ผ่านมาภาครัฐ จึงได้เร่งพัฒนาระบบราง ทำรถไฟทางคู่ เปลี่ยนหมอนรองรางใหม่และเปลี่ยนขบวนรถใหม่ เพื่อให้สามารถทำความเร็วได้ดีขึ้น และรองรับผู้ใช้บริการที่มีมาก แต่การจัดอันดับระบบราง 84 ประเทศทั่วโลก โดยธนาคารโลกพบว่า รถไฟไทยในอยู่ ที่อันดับ 64 เกือบจะรั้งท้ายเลยทีเดียว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ติดตามกับคุณพีระวัฒน์ อัฐนาค และอาจารย์สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์


https://www.youtube.com/watch?v=MKlCPx_OCfU
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44032
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2016 12:14 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ยกระดับระบบรางประเทศ! เร่งพัฒนาผู้ประกอบการไทยผลิตชิ้นส่วนรถไฟไทยให้มีคุณภาพ ลดการซื้อต่างชาติ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
7 กันยายน 2559 เวลา 15:05:51 น.


เผย 8 ปีระบบรางลงทุน 2 ล้านล้าน เร่งยกมาตรฐานการผลิตในประเทศ ลดนำเข้า
โดย MGR Online
7 กันยายน 2559 17:05 น. (แก้ไขล่าสุด 7 กันยายน 2559 17:53 น.)

เผย 8 ปีระบบรางลงทุน 2 ล้านล้าน เร่งยกมาตรฐานการผลิตในประเทศ ลดนำเข้า
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและการเสวนา เรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศ ระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อรองรับการพัฒนาระบบรางในอนาคต

“ร.ฟ.ท.-ก.วิทย์-ก.อุตฯ” จับมือพัฒนามาตรฐานระบบราง ดันผลิตชิ้นส่วนในประเทศ ลดการนำเข้า “อาคม” ระบุรัฐมีแผนพัฒนาระบบรางทั้งรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงในรอบ 8 ปี มูลค่าลงทุนถึง 2 ล้านล้านบาท ขณะที่ต้องนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ระบบและตัวรถไฟฟ้า 20-30% หากผลิตได้ในประเทศ จะลดต้นทุนโครงการลง นอกจากนี้ระหว่างปี 60-64 ยังต้องการบุคลากรด้านรางถึง 3 หมื่นคน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและการเสวนาเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศ ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ร่วมมือทางวิชาการเพื่อรองรับการพัฒนาระบบรางในอนาคต ซึ่งแผนพัฒนาระบบรางที่รัฐบาลเร่งรัดและให้ความสำคัญ ทั้งระบบรถไฟฟ้าซึ่งเป็นขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล, รถไฟระหว่างเมือง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินโครงการรถไฟทางคู่, รถไฟชานเมือง และรถไฟความเร็วสูง ที่มีมูลค่าลงทุนในระยะ 8 ปี รวมประมาณ 2 ล้านล้านบาท ขณะที่มีความต้องการด้านบุคลากรด้านระบบรางในช่วงปี 2560-2564 ประมาณ 30,000 คน

ทั้งนี้ การพัฒนาระบบรางในส่วนของการก่อสร้างโครงการต่างๆ นั้นไทยมีศักยภาพในการก่อสร้างงานโยธาทั้งหมด ขณะที่ยังต้องพัฒนาในส่วนที่อยู่เหนือดิน เข่น ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ชิ้นส่วน ตัวรถไฟ หัวจักร ระบบไฟฟ้า ระบบขับเคลื่อน โดยปัจจุบันยังต้องนำเข้า ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 20-30% ของโครงการ ซึ่งหากสามารถเรียนรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนามาตรฐานการผลิตภายในประเทศได้จะช่วยลดต้นทุนโครงการลง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ในฐานะผู้ใช้จะเป็นผู้สร้างความต้องการ เพื่อเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาและผลิต

“แม้ว่าปัจจุบันจะมีโครงการระบบรางมาก แต่ในการผลิตชิ้นส่วนเอง ต้องประมวลว่าระบบรางที่จะเกิดขึ้นมีชิ้นส่วนใดหรืออุปกรณ์ใดที่มีความต้องการใช้จำนวนมากพอเพื่อที่จะเริ่มต้นการผลิตในประเทศได้แล้วมีความคุ้มค่าในการลงทุนหรือตั้งโรงงาน เช่น ตัวประกับล็อกหมอนรถไฟ มีความต้องการใช้จำนวนมาก อาจจะเริ่มการพัฒนาผลิตก่อน เป็นต้น ต้องพิจารณาเป็นรายชิ้นส่วนไปเพื่อนำมาเริ่มต้นการผลิตในประเทศ และในระยะยาวอาจจะมองชิ้นส่วนที่ใช้ในประเทศและสามารถส่งออกได้ด้วย”

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดกรมการขนส่งทางราง โดยเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้ โดยกรมรางจะมีบทบาทในการเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) กำกับมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบรางในอนาคต โดยการพัฒนาระบบจะมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทยซึ่งจะกระตุ้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้ โดยความร่วมมือของ 3 หน่วยงานมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุน ร.ฟ.ท.และผู้ประกอบการไทย ทั้งด้านวิชาการ มาตรฐาน การวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งระบบรางและตัวรถไฟฟ้า

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทย์จะเป็นผู้ช่วยสนับสนุนการก่อสร้างระบบราง ซึ่งในด้านการพัฒนาบุคลากรระบบรางนั้นขณะนี้มี 6-7 มหาวิทยาลัย จัดหลักสูตรระดับปริญญาตรีแล้ว โดยความร่วมมือของ 3 หน่วยงานนี้เพื่อบูรณาการการทำงาน และส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา การจัดทำมาตรฐานชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์สำหรับระบบราง การพัฒนาห้องปฏิบัติการในประเทศด้านการวิเคราะห์ทดสอบ คุณภาพชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบราง เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาด้านระบบรางอย่างยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47402
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2016 12:18 pm    Post subject: Reply with quote

จังหวัดลำปาง เตรียมทำ MOU ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดทริปพิเศษส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยขบวนรถไฟ
8 กันยายน 2559 / 15:37:28

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 ณ ห้องประชุมเวียงละกอน ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำปาง จังหวัดลำปาง ประชุมติดตามผลการดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวทางรถไฟสายวัฒนธรรมลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยมี นายสมชัย กมลเทพเทวินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในการประชุมฯ ตามที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้อนุมัติโครงการพัฒนารูปแบบกิจกรรมและผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยว กิจกรรมที่ 2 ท่องเที่ยวทางรถไฟสายวัฒนธรรมลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ โดยจะดำเนินการให้มีขบวนรถไฟวิ่งระยะสั้น ระหว่างจังหวัด ลำปาง ลำพูน-เชียงใหม่ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เห็นชอบและยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟ กับทางจังหวัดลำปาง และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า จังหวัดลำปาง ได้จัดทำปฏิทินการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟสายวัฒนธรรมลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ รวม 6 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 22-23 ตุลาคม 2559 ขบวนรถไฟรอบปฐมฤกษ์ ครั้งที่ 2 วันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2559 เทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ ครั้งที่ 3 วันที่ 3-4 ธันวาคม 2559 ขบวนวันพ่อ ครั้งที่ 4 วันที่ 24-25 ธันวาคม 2559 ขบวนสุขสันต์คริสต์มาสต์ ครั้งที่ 5 วันที่ 14-15 มกราคม 2560 ขบวนวันเด็กแห่งชาติ และครั้งที่ 6 วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2560 ขบวนแห่งความรัก โดยในวันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 17.00 น. จะมีพิธีลงนามความร่วมมือกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟสายวัฒนธรรมลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (โดยผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย) ณ สถานีรถไฟนครลำปาง

ข่าวโดย : ทิชากร อินต๊ะสืบ
หน่วยงาน : ส.ปชส.ลำปาง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47402
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2016 3:50 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท. ลุยปรับโฉมตู้โดยสารชั้น 3 รถไฟฟรีครั้งใหญ่ นำร่องรถเร็ว 8 ขบวน
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 12 ก.ย. 2559 12:50

ร.ฟ.ท. เดินหน้าปรับปรุงขบวนรถโดยสารชั้น 3 รถไฟฟรี ครั้งใหญ่ นำร่องขบวนรถเร็ว 8 ขบวน ใน 4 เส้นทาง พร้อมเตรียมทยอยปรับปรุงรถไฟฟรีชานเมืองอีก 164 ขบวน ให้มีรูปโฉมทันสมัย อำนวยความสะดวก ปชช. ในการเดินทาง

วันที่ 12 ก.ย.59 นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาบริการรถไฟให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว สะอาด และปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการเดินทางของประชาชนคนไทยของทั้งประเทศอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด การรถไฟฯ ยังได้เตรียมดำเนินการปรับปรุงขบวนรถโดยสารชั้น 3 รถไฟฟรี ครั้งใหญ่ เพื่อมอบให้เป็นของขวัญแก่ประชาชนคนไทย ซึ่งคาดว่าจะเสร็จและเปิดให้บริการขบวนรถไฟโดยสารโฉมใหม่ ได้ในวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟฯ ก้าวเข้าสู่การให้บริการในปีที่ 120 วันที่ 26 มีนาคม 2560

ทั้งนี้ ขบวนรถโดยสารดังกล่าว จะมีการปรับปรุงในส่วนของรถไฟฟรีชั้น 3 ซึ่งพ่วงอยู่ในขบวนรถเร็ว 8 ขบวน ใน 4 เส้นทาง ได้แก่
ขบวนที่ 109 กรุงเทพ-เชียงใหม่
ขบวนที่ 102 เชียงใหม่-กรุงเทพ
ขบวนที่ 171 กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก
ขบวนที่ 172 สุไหงโก-ลก-กรุงเทพ
ขบวนที่ 133 กรุงเทพ-หนองคาย
ขบวนที่ 134 หนองคาย-กรุงเทพ
ขบวนที่ 145 กรุงเทพ-อุบลราชธานี และ
ขบวนที่ 146 อุบลราชธานี-กรุงเทพ
และจะทยอยดำเนินการปรับปรุงขบวนรถไฟชานเมือง ซึ่งเป็นรถไฟฟรี ที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนวันละ 164 ขบวน ให้มีรูปโฉมทันสมัย สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับรายละเอียดการปรับโฉมขบวนรถไฟโดยสารครั้งใหญ่นี้ จะมีการปรับปรุงหลายส่วนด้วยกัน อาทิ การทำสีขบวนรถโดยสารทั้งภายในและภายนอกใหม่ การปรับปรุงห้องน้ำให้มีความสะอาด ปราศจากกลิ่นรบกวนระหว่างเดินทาง การปรับปรุงสภาพพื้นในตัวรถโดยสารให้มีความสะอาดแข็งแรง เบาะที่นั่งให้นั่งได้สะดวกสบาย การปรับปรุงพัดลมในรถโดยสารทุกคันและที่สำคัญจะมีการทำความสะอาด บิ๊กคลีนนิ่ง ในขบวนรถไฟโดยสารทุกคันอีกด้วย โดยการปรับโฉมรถโดยสารใหม่ครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งจากหลายโครงการที่การรถไฟฯ มุ่งยกระดับการให้บริการรถไฟ เพื่อให้กลับมาเป็นที่พึ่งของประชาชนคนไทยได้อีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44032
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2016 10:22 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ปรับปรุงใหญ่ รถไฟฟรีชั้น 3 “เบาะที่นั่ง พัดลม ห้องน้ำ” มี.ค. 60 พบโฉมใหม่
โดย MGR Online
12 กันยายน 2559 15:30 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กันยายน 2559 15:55 น.)


“ร.ฟ.ท.” เตรียมปรับปรุงรถโดยสารชั้น 3 (รถไฟฟรี) ครั้งใหญ่ ยกเครื่อง เบาะที่นั่ง พัดลม ห้องน้ำ นำร่องปรับปรุงขบวนรถเร็วพ่วงรถโดยสารชั้น 3 (รถไฟฟรี) 8 ขบวน 4 เส้นทาง จากนั้นจะปรับปรุงรถไฟฟรีชานเมืองอีก 164 ขบวน คาดแล้วเสร็จ มี.ค. 60 ปรับปรุงห้องน้ำ เบาะที่นั่ง พัดลม ทำสีทั้งภายในและภายนอกขบวนรถยกระดับบริการเพื่อประชาชนและผู้มีรายได้น้อย

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.เตรียมดำเนินการปรับปรุงขบวนรถโดยสารชั้น 3 รถไฟฟรี ซึ่งพ่วงอยู่ในขบวนรถเร็ว 8 ขบวน ใน 4 เส้นทาง ได้แก่

ขบวนที่ 109 กรุงเทพ-เชียงใหม่, ขบวนที่ 102 เชียงใหม่-กรุงเทพ,
ขบวนที่ 171 กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก, ขบวนที่ 172 สุไหงโก-ลก-กรุงเทพ,
ขบวนที่ 133 กรุงเทพ-หนองคาย, ขบวนที่ 134 หนองคาย-กรุงเทพ,
ขบวนที่145 กรุงเทพ-อุบลราชธานี และขบวนที่ 146 อุบลราชธานี-กรุงเทพ และ
ขบวนรถไฟชานเมืองฟรี ที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนวันละ 164 ขบวน

ให้มีรูปโฉมทันสมัย สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางได้ดียิ่งขึ้น คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการขบวนรถไฟโดยสารโฉมใหม่ได้ในวันที่ 26 มี.ค. 2560 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟฯ

ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาบริการรถไฟให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว สะอาด และปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการเดินทางของประชาชนคนไทยของทั้งประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปรับปรุงขบวนรถโดยสารชั้น 3 รถไฟฟรีครั้งใหญ่นี้เพื่อมอบให้เป็นของขวัญแก่ประชาชนคนไทยในโอกาสที่การรถไฟฯ จะก้าวเข้าสู่การให้บริการในปีที่ 120

สำหรับการปรับโฉมขบวนรถไฟโดยสารครั้งใหญ่นี้ ประกอบด้วย การทำสีขบวนรถโดยสารทั้งภายในและภายนอกใหม่ การปรับปรุงห้องน้ำให้มีความสะอาด ปราศจากกลิ่นรบกวนระหว่างเดินทาง การปรับปรุงสภาพพื้นในตัวรถโดยสารให้มีความสะอาดแข็งแรง เบาะที่นั่งให้นั่งได้สะดวกสบาย การปรับปรุงพัดลมในรถโดยสารทุกคันและที่สำคัญจะมีการทำความสะอาด บิ๊กคลีนนิ่ง ในขบวนรถไฟโดยสารทุกคันอีกด้วย โดยการปรับโฉมรถโดยสารใหม่ครั้งนี้

“ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการพัฒนาความเป็นอยู่ของคนไทย โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ถือเป็นผู้ที่ใช้บริการรถไฟจำนวนมากให้มีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่ดี และรถไฟที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาขบวนรถไฟฟรี มีผู้ใช้บริการจำนวนมากหลายหมื่นคนต่อวัน ได้ขาดการปรับปรุงครั้งใหญ่มานาน การรถไฟฯ จึงได้เร่งดำเนินการปรับปรุง เพื่อเป็นของขวัญแก่ประชาชน” ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44032
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2016 10:22 am    Post subject: Reply with quote

ชาวอยุธยาฮือประท้วง"กรมทางหลวง-ร.ฟ.ท." ขอถนนคืน จี้ปรับปรุงพื้นที่ หลังมีคดีข่มขืน
มติชน
13 กันยายน 2559 เวลา 14:19:13 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 กันยายน 59 ชาวบ้านกว่า 300 คน รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเอกเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รวมตัวกันที่ใต้สะพานข้ามทางรถไฟและข้ามสี่แยกหน้าตลาด เพื่อประท้วงกรมทางหลวงและการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากที่ชาวบ้านพยายามยื่นหนังสือผ่านท้องถิ่นไปถึงหน่วยงานหลักทั้ง 2 แห่ง นานกว่า 1 ปีแล้ว แต่ไม่มีสัญญาณใดๆ ตอบกลับมา โดยมีนายวันชัย จุฑานพรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลปราสาททอง อำเภอบางปะอิน พร้อมด้วยตำรวจ ทหาร และตัวแทนของหน่วยงานที่ถูกเรียกร้อง ร่วมสังเกตการณ์ โดยเหตุการณ์ภาพรวมเป็นการรวมตัวอย่างสันติ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรง

ทั้งนี้ เนื่องจากกรมทางหลวงมีการสร้างสะพานของถนนสายเข้าอำเภอ เพื่อข้ามทางรถไฟและข้ามสี่แยกกลางเมือง ตรงหน้าตลาด โดยสะพานยาวเกือบ 1 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จ มีการปิดช่องทางถนนเดิมและให้ใช้เส้นทางบนสะพานแทน ทำให้ชาวบ้านที่ไม่มีรถยนต์เดือนร้อน เพราะเส้นทางถูกปิด แต่เมื่อจะต้องเดินจะลำบากมาก เพราะมีแทงปูนของกรมทางหลวง รวมถึงหมอนรถไฟจำนวนมากมาปิดกั้น ตรงจุดนี้ชาวบ้านขอให้เปิดทางเชื่อม

นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้กรมทางหลวงอนุญาตให้ท้องถิ่นเข้ามาดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ใต้สะพานให้ใช้งานได้ ไม่ใช่ปล่อยให้รกร้าง จนกลายเป็นแหล่งซ่อมสุมปัญหาอาชญากรรม ล่าสุดมีคดีข่มขืนขึ้นแล้ว เพราะเปลี่ยวและมืด อีกทั้งขอให้เปิดรั้วกั้นเขตทางหลวงใต้สะพาน เพื่อให้ท้องถิ่นพัฒนาเป็นลานกีฬาชุมชน

นายสุรีพร ภาคนิมิต อายุ 43 ปี ตัวแทนชาวบ้าน เปิดเผยว่า พวกเราร้องเรียนมานานแล้วว่าพื้นที่ใต้สะพานเป็นที่เปลี่ยว อันตราย เป็นแหล่งซ่องสุมปัญหาอาชญากรรม ครั้งแรกต้องการให้เทศบาลเข้าดำเนินการ แต่พอทราบว่าไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ ก็ขอคำแนะนำ ซึ่งทราบว่าเป็นของกรมทางหลวงและการรถไฟแห่งประเทศไทย มีการยื่นหนังสือผ่านหน่วยงาน 2 แห่งในจังหวัด แต่เรื่องเงียบ ชาวบ้านเดือดร้อนมาก เพราะเส้นทางใต้สะพานหรือถนนเดิมก่อนมีการสร้างสะพาน เป็นเส้นทางของชุมชน เมื่อปิดก็เดือนร้อน และคนที่ไม่มีรถยนต์ จะไปใช้สะพานข้ามก็ยาวเป็นกิโลเมตร ทำให้ไม่สะดวกและอันตราย เพราะรถวิ่งกันด้วยความเร็วสูง เมื่อมาใช้พื้นที่ใต้สะพานที่ถูกปิดกั้นด้วยแบริเออร์และหมอนรถไฟ ก็เปลี่ยวและมืด มีคดีชิงทรัพย์และข่มขืนเกิดขึ้นแล้ว จึงอยากวิงวอนให้มีการเปิดทางเชื่อม และปรับปรุงพื้นที่ใต้สะพานเป็นลานกีฬาชุมชน พร้อมติดไฟให้ส่องสว่าง เพื่อความปลอดภัย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44032
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2016 10:09 am    Post subject: Reply with quote

ประกาศร่าง TOR ประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
โครงการเช่ารถจักร เพื่อการขนส่งของการรถไฟฯ จํานวน 50 คัน พร้อมการบำรุงรักษา
งบประมาณ/ราคากลาง : 13,344,042,437.00 บาท
เป็นโครงการเช่า (คนละอันกับที่จะซื้ออีก 50 คันนะ) รถจักรดีเซลไฟฟ้าซึ่งจะให้เอกชนจัดหาหัวรถจักรมาให้ รฟท. เช่าโดยเอกชนจะเป็นคนซ่อมบำรุงเองระยะเวลาสัญญา 17 ปีแบ่งเป็น 2 ปีสำหรับการผลิตและส่งมอบกับอีก 15 ปีสำหรับสัญญาเช่าโดยหัวรถจักรจะต้องเป็นของใหม่มือ 1 ไม่เคยใช้งานมาก่อนแล้วถ้าเกิดรถจักรชำรุดจนใช้งานไม่ได้เอกชนก็จะต้องเสียค่าปรับให้ รฟท.
http://www.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=593153330
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44032
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2016 11:04 am    Post subject: Reply with quote

แก้หัวจักรขาดแคลน! ร.ฟ.ท.จ่อประมูลเช่า 50 คัน 1.33 หมื่นล้านปลายปีนี้
โดย MGR Online
3 ตุลาคม 2559 06:55 น. (แก้ไขล่าสุด 3 ตุลาคม 2559 07:55 น.)


ร.ฟ.ท.ประกาศทีโออาร์เช่าหัวจักรพร้อมซ่อมบำรุง 50 คัน วงเงินกว่า 1.33 หมื่นล้าน ระยะเช่า 15 ปีเพื่อทดแทนรถเก่า คาดเปิดประมูลได้ปลายปีนี้ พร้อมเร่งรื้อทีโออาร์และราคากลางประมูลซื้อหัวจักร 50 คัน วงเงินกว่า 6.15 พันล้านใหม่ หลังเพิ่มระบบอาณัติสัญญาณลิงก์กับสถานีกลางบางซื่อแก้วิกฤตหัวจักรที่จะขาดแคลนในปี 61

นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าว่า ขณะนี้เงื่อนไขทีโออาร์โครงการเช่าหัวรถจักรเพื่อการขนส่งพร้อมบำรุงรักษา จำนวน 50 คัน อยู่ระหว่างนำเผยแพร่ในเว็บไซต์เพื่อรับฟังความคิดเห็นตามขั้นตอน โดยคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปลายปี 2559 พร้อมกันนี้ ได้ทำร่างสัญญาเพื่อส่งให้อัยการตรวจสอบไปคู่ขนานกันด้วย

โดยจะเป็นการเช่าระยะ 15 ปี เพื่อนำมาใช้ทดแทนหัวจักรเก่าที่มีอายุใช้งาน 40 ปี ซึ่งในช่วง 3 ปีนี้จะปลดระวาง 50 คัน อาจจะเกิดการขาดแคลนหัวจักรได้ เป็นการลดความเสี่ยงของ ร.ฟ.ท. และมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหัวจักรดีเซลไปเป็นหัวรถจักรไฟฟ้าทั้งหมดระหว่างปี 2560-2575

ส่วนการประกวดราคาซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักเพลา 16 ตัน/เพลา จำนวน 50 คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ราคากลาง 6,151 ล้านบาทนั้น หลังจากที่ได้มีการยกเลิกการประกวดราคาครั้งก่อนนี้ ขณะนี้การปรับร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) และทบทวนราคากลางใหม่

ทั้งนี้ ทีโออาร์ในการประมูลรอบใหม่ได้ปรับปรุงให้โปร่งใสและสอดคล้องกับแผนการเดินรถในอนาคต ซึ่งรถจักร 50 คันดังกล่าวจะใช้สำหรับรถโดยสาร ซึ่งจะวิ่งเข้าสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีทั้งรถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล รถไฟสีแดง รถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ใช้ร่วมกัน ซึ่งจะมีการควบคุมด้วยระบบอาณัติสัญญาณกลาง ทำให้รถจักร 50 คันนี้จะต้องมีระบบอาณัติสัญญาณที่สัมพันธ์กับระบบกลาง ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มจากทีโออาร์เดิมที่ไม่ได้กำหนดไว้ โดยอาจทำให้ราคากลางปรับเพิ่มขึ้น แต่จะไม่ให้เกินกรอบวงเงินรวมของโครงการที่ 6,562.5 ล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งว่า ร.ฟ.ท.ประกาศทีโออาร์เช่าหัวรถจักร 50 คัน ราคากลาง 13,344,042,437 บาท ตลอดอายุสัญญา 15 ปี หรือเฉลี่ย 48,721 บาท/วัน/คัน (รวมค่าใช้จ่ายในการควบคุมงาน การตรวจสอบเดินขบวนรถ และการประสานงานอื่นๆ) โดยมีระยะเวลาผลิตส่งมอบ 2 ปี

โดยได้ประกาศลงเว็บไซต์เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 59 เพื่อรับฟังความเห็นถึงวันที่ 31 ต.ค. 59 กำหนดคุณสมบัติเบื้องต้น ผู้เสนอราคานิติบุคคลไทยรายเดียวต้องมีทุนจดทะเบียนชำระเต็มจำนวนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท, ต้องมีผลงานและประสบการณ์ในการออกแบบ ผลิตและจำหน่ายรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่ใช้ลากจูงในเส้นทางหลัก (Main Line) ไม่น้อยกว่า 100 คัน ภายในระยะเวลา 10 ปีนับถึงวันที่ยื่นซอง พร้อมหนังสือ รับรองผลงานของผู้ผลิต ลงนามโดยผู้มีอ้านาจหรือผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจ โดยจะต้องผ่านการรับรองเอกสารตามระเบียบการกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร ปี พ.ศ. 2539 


รถจักรต้องผ่านการทดสอบการขับเคลื่อนและทดสอบสมรรถนะ (Performance Test) และมีสภาพพร้อมใช้งานไปจนกว่าจะครบเวลาการเช่า 15 ปี ไม่ต่ำกว่า 50 คัน หากผู้ให้เช่าไม่สามารถผลิตและส่งมอบรถจักรให้ ร.ฟ.ท. 50 คันได้ภายใน 2 ปีนับถัดจากวันลงนามในสัญญาาจะต้องจ่ายเงินค่าปรับให้แก่ ร.ฟ.ท.เท่ากับร้อยละ 0.2 ของเงินค่า เช่าที่ผู้ให้เช่าเสนอ และค่าเสียโอกาสในการดำเนินการทางธุรกิจจำนวน 20,000 บาท

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ครม.อนุมัติการจัดซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า 50 คัน วงเงิน 6,562.5 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2555 การประมูลยังไม่สำเร็จ ขณะที่ ร.ฟ.ท.มีแผนเช่ารถจักร 50 คัน พร้อมซ่อมแซมบำรุงรักษา วงเงิน 14,235 ล้านบาท แผนเช่ารถโบกี้บรรทุกสินค้า 200 คัน พร้อมซ่อมแซมบำรุงรักษา วงเงิน 2,323.22 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนหัวจักร และรถสินค้า เนื่องจากการประเมินพบว่า ในปี 2559 มีจำนวนรถจักรที่ 160 คัน มีความต้องการใช้ 136 คัน ปี 2560 จำนวนรถจักรจะอยู่ที่ 152 คัน มีความต้องการใช้ 144 คัน และปี 2561 จำนวนรถจักรอยู่ที่ 90 คัน มีความต้องการใช้ 154 คัน ซึ่งจะเกิดการขาดแคลนหากไม่สามารถจัดหามาทดแทนได้ตามแผน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 281, 282, 283 ... 489, 490, 491  Next
Page 282 of 491

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©