View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44032
Location: NECTEC
Posted: 06/09/2016 10:30 am Post subject:
ผู้ว่าฯ รถไฟ อ้างสุดวิสัยไฟไหม้รถ JR-West เสียหายไม่มาก เรียกบริษัทชดใช้แค่ค่าน้ำยาดับเพลิง
โดย MGR Online
5 กันยายน 2559 18:47 น. (แก้ไขล่าสุด 5 กันยายน 2559 20:41 น.)
ตอกย้ำรถไฟเป็นดินแดนสนธยา ออมสิน เผยเพิ่งรู้ข่าวไฟไหม้ รถ JR-West ในโรงงานมักกะสัน สั่ง วุฒิชาติ ผู้ว่าฯ การรถไฟ แจงรายละเอียดแล้ว ขณะที่ระบุความเสียหายไม่มาก ไม่เป็นสาระสำคัญ ไม่จำเป็นต้องรายงานด่วน ด้านผู้ว่าฯ ปฏิเสธไม่ได้ให้บริษัทเอกชนเข้าไปดัดแปลงรถ JR-West 4 คัน โดยไม่มีสัญญาจ้าง ระบุเหตุไฟไหม้เหตุสุดวิสัย บริษัทติดตั้งผ้าใบคลุมทางเดินรอยต่อระหว่างตู้ โดยเรียกค่าเสียหายจากบริษัท ภัทรภัณฑ์ ต้นเหตุไฟไหม้เป็นน้ำยาสารดับเพลิงที่ใช้ไปเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่เกิดเหตุไฟไหม้รถ JR-West ในระหว่างมีการดัดแปลงภายในโรงงานมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่กลับมีคำสั่งให้ปกปิดข้อมูล ขณะที่มีการยืนยันว่ารถที่เกิดเหตุไฟไหม้ดังกล่าวนั้น การรถไฟฯ ยังไม่ได้รับอนุมัติและทำสัญญาจ้างตามกระบวนการแต่อย่างใดนั้น นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการรถไฟฯ กล่าวกับผู้สื่อข่าว ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ว่าไม่ได้รับรายงานเหตุไฟไหม้รถ JR-West ดังกล่าว เพิ่งทราบว่าจากหนังสือพิมพ์เมื่อวันที่ 5 ก.ย.นี้ ซึ่งได้สั่งการให้นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟฯ ทำรายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสาเหตุให้ทราบโดยเร็วแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุไฟไหม้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. เหตุใดผู้บริหารการรถไฟฯ จึงไม่รายงานให้ทราบ นายออมสินกล่าวว่า ผมเพิ่งทราบ ตามที่เป็นข่าวเท่าที่ทราบรถไฟมีการปรับปรุงรถ JR-West ไฟไหม้ที่เกิดขึ้น ทางการรถไฟฯ อาจมองว่าไม่ใช่ประเด็น เป็นไฟไหม้ธรรมดา ความเสียหายไม่มาก ไม่มีความโกลาหลอะไร คาดว่าในวันอังคาร ที่ 6 ก.ย.จะได้รับทราบข้อเท็จจริงมากขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับ รถ JR-West นี้การรถไฟฯ ได้รับมาจาก West Japan Railway Company หรือ JR-West ประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบให้ฟรีจำนวนกว่า 60 คัน รถดังกล่าวมีขนาดล้อกว้าง 1.065 เมตร ขณะที่รางรถไฟไทย กว้าง 1 เมตร ดังนั้น เมื่อรับมอบมาจะมีการดัดแปลงโดยดันล้อให้มีขนาดกว้าง 1 เมตรเพื่อให้วิ่งบนรางรถไฟของไทยได้ ต่อมาเมื่อสภาพเครื่องยนต์ดีเซลและระบบแอร์เสื่อมสภาพหาอะไหล่ไม่ได้จึงถอดเครื่องยนต์ออกและทยอยดัดแปลงตัวรถเพื่อนำมาใช้งานในลักษณะตู้พ่วงในรูปแบบต่างๆ
อย่างไรก็ตาม กรณีเกิดเหตุไฟไหม้ภายในโรงงานมักกะสัน ที่ผ่านมาตามระเบียบรถไฟนั้นผู้รับผิดชอบฝ่ายช่างกลจะต้องออกหนังสือแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้รับทราบ รวมถึงแจ้งตำรวจในพื้นที่ คือ สถานีตำรวจรถไฟ หรือสถานีตำรวจดินแดง ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบการแจ้งข้อมูลใดๆ ตามระเบียบ ขณะที่รถ JR-West แม้ว่าจะได้ฟรีมาจากญี่ปุ่นแต่ในกระบวนการส่งมอบจะมีค่าขนส่งและถือเป็นทรัพย์สินของการรถไฟฯ เมื่อเกิดความเสียหายจะต้องมีการลงบันทึกบัญชีด้วย
โดยวันที่ 5 ก.ย. เวลาประมาณ 17.29 น. การรถไฟฯ ได้ออกข่าวชี้แจงกรณีไฟไหม้รถ JR-West โดยนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯ การรถไฟ ระบุว่าจากการตรวจสอบเหตุไฟไหม้รถ JR WEST ที่โรงงานมักกะสัน พบว่าเมื่อเวลา 08.30 น.วันที่ 29 ส.ค. 2559 เจ้าหน้าที่บริษัท ภัทรภัณฑ์ฯ ได้เข้ามาดำเนินการซ่อมแซมดัดแปลงและติดตั้งโครงกูบ รถ บนท.ป.237 แต่เมื่อเวลา 10.45 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการรื้อถอดโครงกูบเก่าออกโดยใช้เครื่องตัดแก๊สตัดออกได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น เจ้าหน้าที่จึงได้ช่วยกันดับไฟเพื่อไม่ให้เพลิงลุกไหม้ไปในวงกว้างมากขึ้น เมื่อเพลิงดับลงเจ้าหน้าที่ได้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เพลิงไหม้ในรถ บนท.ป.237 โดยในส่วนโครงสร้างภายใน ภายนอกของตัวรถไม่มีความเสียหาย เนื่องจากอุปกรณ์ภายในตัวรถได้รื้อถอนออกมาหมดแล้วคงเหลือเฉพาะแต่โครงเหล็ก ส่วนค่าเสียหายที่บริษัทภัทรภัณฑ์ฯ ต้องรับผิดชอบ คือ น้ำยาสารดับเพลิงที่ใช้ไปในครั้งนี้ โดยบริษัทจะต้องนำถังดับเพลิงบรรจุก๊าซให้เต็มและส่งมอบคืนการรถไฟฯ
นายวุฒิชาติระบุว่า ไม่ได้ให้บริษัทเอกชนเข้าไปดัดแปลงรถ JR-West 4 คัน เป็นรถจัดเช่าพิเศษ ก่อนมีการทำสัญญาว่าจ้าง และน่าจะเป็นเหตุเข้าใจผิด โดยระบุว่าบริษัทเอกชนที่เข้าไปนั้น คือ บริษัท ภัทรภัณฑ์ มาร์เก็ตติง จำกัด ซึ่งได้เข้าไปดำเนินการซ่อมแซมเพื่อติดตั้งกูบ (ผ้าใบคลุมทางเดินบริเวณข้อต่อของตู้โดยสารกับตู้โดยสาร) พร้อมติดตั้งโครงกูบผลิตด้วยเหล็ก เชื่อมประกอบแล้วทาสีและยึดต่อกับตัวรถด้วยสลัก จำนวน 7 ชุด เป็นวงเงิน 874,832 บาท และมีกำหนดส่งมอบงานภายใน 30 วัน ซึ่งได้ว่าจ้างตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. 2559
ส่วนโครงการดัดแปลงรถ JR-West เป็นรถจัดเช่าพิเศษ หรือ SRT Prestige เป็นอีกโครงการหนึ่งของ
การรถไฟฯ ที่อยู่ในขั้นตอนดำเนินโครงการ ซึ่งล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการการรถไฟฯ เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2559 ที่ประชุมได้อนุมัติให้มีการดัดแปลง JR-West ก่อนจำนวน 2 คัน แต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการอนุมัติการจัดจ้างหรือเปิดให้บริษัทเอกชนเข้ามาดัดแปลงตัวรถแต่อย่างใด
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้มีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นอีก จึงได้สั่งการให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ เข้าควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยหากเกิดเหตุความเสียหายแก่การรถไฟฯ บริษัทจะต้องรับผิดชอบตามความเป็นจริงต่อไป
สั่งแจงด่วน"รถไฟ"ไฟไหม้ ผู้ว่าฯอ้างสุดวิสัยช่วงติดผ้าใบ ปัดดัดแปลงโดยไม่มีสัญญา
โดย ผู้จัดการรายวัน
5 กันยายน 2559 19:47 น. (แก้ไขล่าสุด 5 กันยายน 2559 22:32 น.)
รถไฟแดนสนธยาของจริง "ออมสิน" เผยเพิ่งรู้ข่าวไฟไหม้รถJR-West ในโรงงานมักกะสันตอนที่สื่อออกข่าว เผยได้สั่งการผู้ว่าฯ การรถไฟ ชี้แจงรายละเอียดที่เกิดขึ้นแล้ว "วุฒิชาติ"ยันไม่ได้ให้เอกชนเข้าไปดัดแปลงรถไฟ โดยไม่มีสัญญาจ้าง แต่เหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้น เกิดจากการติดตั้งผ้าใบคลุมทางเดินรอยต่อระหว่างตู้ เผยได้เรียกค่าเสียหายจากบริษัท ภัทรภัณฑ์ แล้ว แต่เรียกได้แค่น้ำยาที่ใช้ดับเพลิงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่เกิดเหตุไฟไหม้ รถ JR-Westในระหว่างที่มีการดัดแปลงภายในโรงงานมักกะสัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เมื่อวันที่ 29ส.ค.2559 ที่ผ่านมา แต่กลับมีคำสั่งให้ปกปิดข้อมูล และยังมีการยืนยันว่า รถที่เกิดเหตุไฟไหม้ดังกล่าว การรถไฟฯ ยังไม่ได้รับอนุมัติและทำสัญญาจ้างตามกระบวนการแต่อย่างใดตามที่นำเสนอข่าวมาแล้วนั้น
วานนี้ (5 ก.ย.) นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการรถไฟฯ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน360องศา" ว่า ยังไม่ได้รับรายงานเหตุไฟไหม้รถ JR-West ดังกล่าว โดยเพิ่งทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ซึ่งได้สั่งการให้นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟฯ ทำรายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชี้แจงสาเหตุให้ทราบโดยเร็วแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุไฟไหม้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. เหตุใดผู้บริหารการรถไฟฯ จึงไม่รายงานให้ทราบ นายออมสินกล่าวว่า "ผมเพิ่งทราบ ตามที่เป็นข่าว เท่าที่ทราบรถไฟมีการปรับปรุงรถJR-West และไฟไหม้ที่เกิดขึ้น ทางการรถไฟฯ อาจมองว่าไม่ใช่ประเด็น เป็นไฟไหม้ธรรมดา ความเสียหายไม่มาก ไม่มีความโกลาหลอะไร คาดว่า ในวันอังคารที่ 6 ก.ย.นี้ จะได้รับทราบข้อเท็จจริงมากขึ้น"
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับรถ JR-West การรถไฟฯ ได้รับมาจาก West Japan Railway Company หรือ JR-West ประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบให้ฟรี จำนวนกว่า 60 คัน ซึ่งรถดังกล่าวมีขนาดล้อกว้าง 1.065 เมตร ขณะที่รางรถไฟไทย กว้าง 1 เมตร ดังนั้น เมื่อรับมอบมา จึงต้องมีการดัดแปลงขั้นแรก คือ ดันล้อให้มีขนาดกว้าง 1 เมตร เพื่อให้วิ่งบนรางรถไฟของไทยได้ ต่อมาเมื่อสภาพเครื่องยนต์ดีเซลและระบบแอร์ เสื่อมสภาพ หาอะไหล่ไม่ได้ จึงถอดเครื่องยนต์ออกและทยอยดัดแปลงตัวรถ เพื่อนำมาใช้งานในลักษณะตู้พ่วงในรูปแบบต่างๆ
อย่างไรก็ตาม กรณีเกิดเหตุไฟไหม้ภายในโรงงานมักกะสัน ตามระเบียบรถไฟ ผู้รับผิดชอบฝ่ายช่างกล จะต้องออกหนังสือแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้รับทราบ รวมถึงแจ้งตำรวจในพื้นที่ คือ สถานีตำรวจรถไฟ หรือสถานีตำรวจดินแดง ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบการแจ้งข้อมูลใดๆ ตามระเบียบ ขณะที่ รถ JR-West แม้ว่าจะได้ฟรีมาจากญี่ปุ่น แต่ในกระบวนการส่งมอบจะมีค่าขนส่งและถือเป็นทรัพย์สินของการรถไฟฯ เมื่อเกิดความเสียหาย จะต้องมีการลงบันทึกบัญชีด้วย
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯการรถไฟ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเหตุไฟไหม้รถ JR West ที่โรงงานมักกะสัน พบว่า เมื่อเวลา 08.30 น. ของวันที่ 29 ส.ค.2559 เจ้าหน้าที่บริษัท ภัทรภัณฑ์ มาร์เก็ตติง จำกัด ได้เข้ามาดำเนินการซ่อมแซมดัดแปลงและติดตั้งโครงกูบ (ผ้าใบคลุมทางเดินบริเวณข้อต่อของตู้โดยสารกับตู้โดยสาร) รถ บนท.ป.237 แต่เมื่อเวลา 10.45 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการรื้อถอดโครงกูบเก่าออกโดยใช้เครื่องตัดแก๊สตัดออก ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น เจ้าหน้าที่จึงได้ช่วยกันดับไฟ เพื่อไม่ให้เพลิงลุกไหม้ไปในวงกว้างมากขึ้น เมื่อเพลิงดับลง เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เพลิงไหม้ใน รถ บนท.ป.237 โดยในส่วนโครงสร้างภายใน ภายนอกของตัวรถไม่มีความเสียหาย เนื่องจากอุปกรณ์ภายในตัวรถได้รื้อถอนออกมาหมดแล้ว คงเหลือเฉพาะแต่โครงเหล็ก ส่วนค่าเสียหายที่บริษัท ภัทรภัณฑ์ ต้องรับผิดชอบ คือ น้ำยาสารดับเพลิงที่ใช้ไปในครั้งนี้ โดยบริษัทจะต้องนำถังดับเพลิงบรรจุก๊าซให้เต็มและส่งมอบคืนการรถไฟฯ
ทั้งนี้ ยืนยันว่า ไม่ได้ให้บริษัทเอกชนเข้าไปดัดแปลงรถ JR West 4 คัน เป็นรถจัดเช่าพิเศษ ก่อนมีการทำสัญญาว่าจ้าง และน่าจะเป็นเหตุเข้าใจผิด โดยบริษัทเอกชนที่เข้าไปนั้น คือ บริษัท ภัทรภัณฑ์ ซึ่งได้เข้าไปดำเนินการซ่อมแซมเพื่อติดตั้งกูบ พร้อมติดตั้งโครงกูบผลิตด้วยเหล็ก เชื่อมประกอบแล้วทาสี และยึดต่อกับตัวรถด้วยสลักจำนวน 7 ชุด เป็นวงเงิน 874,832 บาท และมีกำหนดส่งมอบงานภายใน 30 วัน ซึ่งได้ว่าจ้างตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.2559
ส่วนโครงการดัดแปลงรถ JR West เป็นรถจัดเช่าพิเศษ หรือ SRT Prestige เป็นอีกโครงการหนึ่งของการรถไฟฯ ที่อยู่ในขั้นตอนดำเนินโครงการ ซึ่งล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการการรถไฟ เมื่อวันที่ 30 ส.ค.2559 ที่ประชุมได้อนุมัติให้มีการดัดแปลง JR West ก่อนจำนวน 2 คัน แต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการอนุมัติการจัดจ้างหรือเปิดให้บริษัทเอกชนเข้ามาดัดแปลงตัวรถแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้มีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นอีก ได้สั่งการให้จัดส่งเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ เข้าควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยหากเกิดเหตุความเสียหายแก่การรถไฟฯ บริษัทจะต้องรับผิดชอบตามความเป็นจริงต่อไป
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44032
Location: NECTEC
Posted: 08/09/2016 1:14 am Post subject:
ยกระดับระบบรางประเทศ! เร่งพัฒนาผู้ประกอบการไทยผลิตชิ้นส่วนรถไฟไทยให้มีคุณภาพ ลดการซื้อต่างชาติ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
7 กันยายน 2559 เวลา 15:05:51 น.
เมื่อวันที่ 7 ก.ย. เวลา 10.45 น. ที่อาคารสโมสรเเละหอประชุมกระทรวงคมนาคม กรุงเทพฯ มีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เเละสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทย จากนั้นมีการเสวนาเรื่อง "ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศ" จัดโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี
ดร.ลักษมี ปลั่งเเสงมาศ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า เรื่องระบบราง ประเทศไทยมีการวิจัยระบบรางมาตั้งเเต่ปี 2540 ทดสอบตัวรางมาเรื่อยๆ เเละค่อยๆพัฒนา เเต่ก่อนไม่ค่อยมีงานเส้นทางเยอะ ทางสถาบันจะมีเพียงงานเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่นการเปลี่ยนราง ชิ้นส่วนในรถไฟ โดยนำมาตรวจสอบในห้องเเล็บ เพื่อดูว่าชิ้นส่วนที่ผลิตมาตรงตามมาตรฐานหรือไม่ ในอนาคตคาดว่าจะมีงานเกี่ยวกับรถไฟความเร็วปานกลางเข้ามาร่วม โดยอยากให้คนไทยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถไฟ เช่น หมอนรองคอนกรีต ข้อตัวจับรถไฟ ถ้าเราผลิตตามมารตฐาน ประเทศไทยก็สามารถผลิตได้เยอะ ลดรายจ่ายที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ
"เราเน้นการพัฒนากำลังทางด้านวิทยาศาสตร์ ต้องการคนที่มีความเชี่ยวชาญ อนาคตมองว่ายังมีอีกหลายชิ้นส่วนที่ต้องตรวจสอบมาตรฐาน พร้อมพัฒนาเเละควบคุม เช่น เครื่องกล ความเเข็งเเรง โบกี้ เเละเหล็ก ต้องเร่งพัฒนาด่วนในปี 60 หมอนคอนกรีตคนไทยทำได้ มีผู้ประกอบการได้รับงานส่งออกหมอนคอนกรีตไปยังประเทศออสเตรเลีย ทางสถาบันวิจัยก็ต้องเข้าไปดูเเลควบคุมมาตรฐานสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ถ้าเราทำได้ต่อไปก็ไม่ต้องเสียเงินให้ต่างประเทศอีกเเล้ว" ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีเเห่งประเทศไทยกล่าว
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนเเปลงครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งตัวรถไฟทางคู่ ซึ่ง 3 ปีต่อจากนี้จะต้องให้บริการทั่วทั้งประเทศ เเละมีการเสริมสายการเดินรถไฟ เปิดเส้นทางใหม่ 2 เส้นทางคือ บ้านไผ่-นครพนม จะเชื่อม แม่สอด-มุกดาหารลงมา เเละอีกเส้นทางคือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ซึ่งเชื่อมต่อไปยังประเทศลาว เมื่อโครงการสำเร็จจะครอบคลุมการเดินทางด้วยรถไฟกว่า 60 จังหวัด เพิ่มเส้นทางกว่า 40% ทั่วประเทศ
"การพัฒนาระบบรางรถไฟทั้งระบบการเดินรถปกติ เเละรถไฟความเร็วสูง เช่น เส้นทาง กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพื่อเป็นการขยายการลงทุน มีการเปิดให้ไทยสามารถร่วมมือกับญี่ปุ่น การส่งสินค้าทางรถไฟมีจำนวนน้อยมากไม่ถึง 3% ของการขนส่ง ทั้งนี้ในอนาคตจะมีการขยายเส้นทาง เเละมีการนำรถไฟบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์มากขึ้น เพิ่มจำนวนการขนส่งสินค้าเเละเพิ่มความสะดวกสบาย โดยปรับเปลี่ยนจัดคุณภาพหัวรถจักรใหม่ มีความเร็ว 3,800 เเรงม้า" นายวุฒิชัยกล่าว
สำหรับความสามาถของคนไทยในการผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับรถไฟ ผู้ว่าการการรถไฟเเห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ความสามารถคนไทยไม่เเพ้ชาติใดในโลก เมื่อร่วมกันทำงานก็เกิดผลสำเร็จ เพราะโครงการของการรถไฟมีมูลค่าสูง เเละยังต้องเสียเงินจำนวนมากในการสั่งซื้อชิ้นส่วนรถไฟจากต่างประเทศ ผู้ผลิตในไทยควรผลิตสินค้าเเละทำให้การรถไฟเชื่อมั่นว่าสินค้ามีคุณภาพตามมาตรฐาน ก็ไม่ต้องสูญเงินให้กับต่างชาติ
"อย่าให้การลงนามในวันนี้เป็นเพียงเเค่เเผ่นกระดาษคนที่มาใหม่ต้องสานต่อ การพัฒนาต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาประชากร ตอนนี้เรามาถูกทางเเล้ว รถไฟเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น" ผู้ว่าการการรถไฟกล่าว
นายธวัช ผลความดี เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กล่าวว่า มาตรฐานของรถไฟ 2-3 ปีนี้เป็นยุคของการเปลี่ยนเเปลงระบบรางรถไฟ มีการพูดคุยกันทั้งทางการเเละไม่เป็นทางการพอสมควร มีข้อกำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชากรที่เดินทางด้วยรถไฟ ถ้าพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ อนาคตรถไฟของประเทศไทยจะเทียบเท่ายุโรป จีน ญี่ปุ่น เเละใต้หวัน
"สิ่งสำคัญในการกำหนดมาตรฐานของรถไฟคือเรื่องเเผนระบบราง ต้องมีการเชื่อมโยงการทำงานกับสถาบันวิจัยมีการทดสอบคุณภาพ ปัจจุบันมีการรับนโยบายเร่งด่วน ทั้งทางการเเพทย์ จักรกล นวัตกรรม รวมไปถึงรถไฟฟ้า เราต้องรีบกำหนดมาตรฐาน ต่อไปเราจะเเก้มาตรฐานของรถไฟได้เร็วขึ้น เพราะมีการทำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเเละมีการยอมรับเเล้ว หลังจากวันนี้ต้องคิดได้เเล้วว่าจะเตรียมทำอะไร ต้องเร่งทำส่วนไหน ระบบรางเป็นเรื่องใหม่ เราต้องเตรียมคนไม่ใช่เฉพาะทางเเต่ต้องสร้างร่วมกัน" นายธวัชกล่าว
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47402
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 08/09/2016 4:06 pm Post subject:
เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร : รถไฟไทยระยะทางรั้งท้ายโลก | 07-09-59 | ไทยรัฐนิวส์โชว์ |
ThairathTV Published on Sep 7, 2016
หากพูดถึงรถไฟไทย เชื่อว่าหลายคนยังคงนึกถึงความล่าช้า ที่ผ่านมาภาครัฐ จึงได้เร่งพัฒนาระบบราง ทำรถไฟทางคู่ เปลี่ยนหมอนรองรางใหม่และเปลี่ยนขบวนรถใหม่ เพื่อให้สามารถทำความเร็วได้ดีขึ้น และรองรับผู้ใช้บริการที่มีมาก แต่การจัดอันดับระบบราง 84 ประเทศทั่วโลก โดยธนาคารโลกพบว่า รถไฟไทยในอยู่ ที่อันดับ 64 เกือบจะรั้งท้ายเลยทีเดียว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ติดตามกับคุณพีระวัฒน์ อัฐนาค และอาจารย์สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
https://www.youtube.com/watch?v=MKlCPx_OCfU
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44032
Location: NECTEC
Posted: 09/09/2016 12:14 am Post subject:
เผย 8 ปีระบบรางลงทุน 2 ล้านล้าน เร่งยกมาตรฐานการผลิตในประเทศ ลดนำเข้า
โดย MGR Online
7 กันยายน 2559 17:05 น. (แก้ไขล่าสุด 7 กันยายน 2559 17:53 น.)
เผย 8 ปีระบบรางลงทุน 2 ล้านล้าน เร่งยกมาตรฐานการผลิตในประเทศ ลดนำเข้า
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและการเสวนา เรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศ ระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อรองรับการพัฒนาระบบรางในอนาคต
ร.ฟ.ท.-ก.วิทย์-ก.อุตฯ จับมือพัฒนามาตรฐานระบบราง ดันผลิตชิ้นส่วนในประเทศ ลดการนำเข้า อาคม ระบุรัฐมีแผนพัฒนาระบบรางทั้งรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงในรอบ 8 ปี มูลค่าลงทุนถึง 2 ล้านล้านบาท ขณะที่ต้องนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ระบบและตัวรถไฟฟ้า 20-30% หากผลิตได้ในประเทศ จะลดต้นทุนโครงการลง นอกจากนี้ระหว่างปี 60-64 ยังต้องการบุคลากรด้านรางถึง 3 หมื่นคน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและการเสวนาเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศ ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ร่วมมือทางวิชาการเพื่อรองรับการพัฒนาระบบรางในอนาคต ซึ่งแผนพัฒนาระบบรางที่รัฐบาลเร่งรัดและให้ความสำคัญ ทั้งระบบรถไฟฟ้าซึ่งเป็นขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล, รถไฟระหว่างเมือง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินโครงการรถไฟทางคู่, รถไฟชานเมือง และรถไฟความเร็วสูง ที่มีมูลค่าลงทุนในระยะ 8 ปี รวมประมาณ 2 ล้านล้านบาท ขณะที่มีความต้องการด้านบุคลากรด้านระบบรางในช่วงปี 2560-2564 ประมาณ 30,000 คน
ทั้งนี้ การพัฒนาระบบรางในส่วนของการก่อสร้างโครงการต่างๆ นั้นไทยมีศักยภาพในการก่อสร้างงานโยธาทั้งหมด ขณะที่ยังต้องพัฒนาในส่วนที่อยู่เหนือดิน เข่น ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ชิ้นส่วน ตัวรถไฟ หัวจักร ระบบไฟฟ้า ระบบขับเคลื่อน โดยปัจจุบันยังต้องนำเข้า ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 20-30% ของโครงการ ซึ่งหากสามารถเรียนรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนามาตรฐานการผลิตภายในประเทศได้จะช่วยลดต้นทุนโครงการลง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ในฐานะผู้ใช้จะเป็นผู้สร้างความต้องการ เพื่อเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาและผลิต
แม้ว่าปัจจุบันจะมีโครงการระบบรางมาก แต่ในการผลิตชิ้นส่วนเอง ต้องประมวลว่าระบบรางที่จะเกิดขึ้นมีชิ้นส่วนใดหรืออุปกรณ์ใดที่มีความต้องการใช้จำนวนมากพอเพื่อที่จะเริ่มต้นการผลิตในประเทศได้แล้วมีความคุ้มค่าในการลงทุนหรือตั้งโรงงาน เช่น ตัวประกับล็อกหมอนรถไฟ มีความต้องการใช้จำนวนมาก อาจจะเริ่มการพัฒนาผลิตก่อน เป็นต้น ต้องพิจารณาเป็นรายชิ้นส่วนไปเพื่อนำมาเริ่มต้นการผลิตในประเทศ และในระยะยาวอาจจะมองชิ้นส่วนที่ใช้ในประเทศและสามารถส่งออกได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดกรมการขนส่งทางราง โดยเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้ โดยกรมรางจะมีบทบาทในการเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) กำกับมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบรางในอนาคต โดยการพัฒนาระบบจะมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทยซึ่งจะกระตุ้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีด้านระบบรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้ โดยความร่วมมือของ 3 หน่วยงานมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุน ร.ฟ.ท.และผู้ประกอบการไทย ทั้งด้านวิชาการ มาตรฐาน การวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งระบบรางและตัวรถไฟฟ้า
นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทย์จะเป็นผู้ช่วยสนับสนุนการก่อสร้างระบบราง ซึ่งในด้านการพัฒนาบุคลากรระบบรางนั้นขณะนี้มี 6-7 มหาวิทยาลัย จัดหลักสูตรระดับปริญญาตรีแล้ว โดยความร่วมมือของ 3 หน่วยงานนี้เพื่อบูรณาการการทำงาน และส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา การจัดทำมาตรฐานชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์สำหรับระบบราง การพัฒนาห้องปฏิบัติการในประเทศด้านการวิเคราะห์ทดสอบ คุณภาพชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบราง เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาด้านระบบรางอย่างยั่งยืน
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47402
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 09/09/2016 12:18 pm Post subject:
จังหวัดลำปาง เตรียมทำ MOU ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดทริปพิเศษส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยขบวนรถไฟ
8 กันยายน 2559 / 15:37:28
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 ณ ห้องประชุมเวียงละกอน ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำปาง จังหวัดลำปาง ประชุมติดตามผลการดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวทางรถไฟสายวัฒนธรรมลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โดยมี นายสมชัย กมลเทพเทวินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในการประชุมฯ ตามที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้อนุมัติโครงการพัฒนารูปแบบกิจกรรมและผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยว กิจกรรมที่ 2 ท่องเที่ยวทางรถไฟสายวัฒนธรรมลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ โดยจะดำเนินการให้มีขบวนรถไฟวิ่งระยะสั้น ระหว่างจังหวัด ลำปาง ลำพูน-เชียงใหม่ เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เห็นชอบและยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟ กับทางจังหวัดลำปาง และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1
รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า จังหวัดลำปาง ได้จัดทำปฏิทินการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟสายวัฒนธรรมลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ รวม 6 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 22-23 ตุลาคม 2559 ขบวนรถไฟรอบปฐมฤกษ์ ครั้งที่ 2 วันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2559 เทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ ครั้งที่ 3 วันที่ 3-4 ธันวาคม 2559 ขบวนวันพ่อ ครั้งที่ 4 วันที่ 24-25 ธันวาคม 2559 ขบวนสุขสันต์คริสต์มาสต์ ครั้งที่ 5 วันที่ 14-15 มกราคม 2560 ขบวนวันเด็กแห่งชาติ และครั้งที่ 6 วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2560 ขบวนแห่งความรัก โดยในวันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 17.00 น. จะมีพิธีลงนามความร่วมมือกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟสายวัฒนธรรมลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (โดยผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย) ณ สถานีรถไฟนครลำปาง
ข่าวโดย : ทิชากร อินต๊ะสืบ
หน่วยงาน : ส.ปชส.ลำปาง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47402
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 12/09/2016 3:50 pm Post subject:
ร.ฟ.ท. ลุยปรับโฉมตู้โดยสารชั้น 3 รถไฟฟรีครั้งใหญ่ นำร่องรถเร็ว 8 ขบวน
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 12 ก.ย. 2559 12:50
ร.ฟ.ท. เดินหน้าปรับปรุงขบวนรถโดยสารชั้น 3 รถไฟฟรี ครั้งใหญ่ นำร่องขบวนรถเร็ว 8 ขบวน ใน 4 เส้นทาง พร้อมเตรียมทยอยปรับปรุงรถไฟฟรีชานเมืองอีก 164 ขบวน ให้มีรูปโฉมทันสมัย อำนวยความสะดวก ปชช. ในการเดินทาง
วันที่ 12 ก.ย.59 นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาบริการรถไฟให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว สะอาด และปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการเดินทางของประชาชนคนไทยของทั้งประเทศอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด การรถไฟฯ ยังได้เตรียมดำเนินการปรับปรุงขบวนรถโดยสารชั้น 3 รถไฟฟรี ครั้งใหญ่ เพื่อมอบให้เป็นของขวัญแก่ประชาชนคนไทย ซึ่งคาดว่าจะเสร็จและเปิดให้บริการขบวนรถไฟโดยสารโฉมใหม่ ได้ในวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟฯ ก้าวเข้าสู่การให้บริการในปีที่ 120 วันที่ 26 มีนาคม 2560
ทั้งนี้ ขบวนรถโดยสารดังกล่าว จะมีการปรับปรุงในส่วนของรถไฟฟรีชั้น 3 ซึ่งพ่วงอยู่ในขบวนรถเร็ว 8 ขบวน ใน 4 เส้นทาง ได้แก่
ขบวนที่ 109 กรุงเทพ-เชียงใหม่
ขบวนที่ 102 เชียงใหม่-กรุงเทพ
ขบวนที่ 171 กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก
ขบวนที่ 172 สุไหงโก-ลก-กรุงเทพ
ขบวนที่ 133 กรุงเทพ-หนองคาย
ขบวนที่ 134 หนองคาย-กรุงเทพ
ขบวนที่ 145 กรุงเทพ-อุบลราชธานี และ
ขบวนที่ 146 อุบลราชธานี-กรุงเทพ
และจะทยอยดำเนินการปรับปรุงขบวนรถไฟชานเมือง ซึ่งเป็นรถไฟฟรี ที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนวันละ 164 ขบวน ให้มีรูปโฉมทันสมัย สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับรายละเอียดการปรับโฉมขบวนรถไฟโดยสารครั้งใหญ่นี้ จะมีการปรับปรุงหลายส่วนด้วยกัน อาทิ การทำสีขบวนรถโดยสารทั้งภายในและภายนอกใหม่ การปรับปรุงห้องน้ำให้มีความสะอาด ปราศจากกลิ่นรบกวนระหว่างเดินทาง การปรับปรุงสภาพพื้นในตัวรถโดยสารให้มีความสะอาดแข็งแรง เบาะที่นั่งให้นั่งได้สะดวกสบาย การปรับปรุงพัดลมในรถโดยสารทุกคันและที่สำคัญจะมีการทำความสะอาด บิ๊กคลีนนิ่ง ในขบวนรถไฟโดยสารทุกคันอีกด้วย โดยการปรับโฉมรถโดยสารใหม่ครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งจากหลายโครงการที่การรถไฟฯ มุ่งยกระดับการให้บริการรถไฟ เพื่อให้กลับมาเป็นที่พึ่งของประชาชนคนไทยได้อีกครั้ง
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44032
Location: NECTEC
Posted: 13/09/2016 10:22 am Post subject:
ร.ฟ.ท.ปรับปรุงใหญ่ รถไฟฟรีชั้น 3 เบาะที่นั่ง พัดลม ห้องน้ำ มี.ค. 60 พบโฉมใหม่
โดย MGR Online
12 กันยายน 2559 15:30 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กันยายน 2559 15:55 น.)
ร.ฟ.ท. เตรียมปรับปรุงรถโดยสารชั้น 3 (รถไฟฟรี) ครั้งใหญ่ ยกเครื่อง เบาะที่นั่ง พัดลม ห้องน้ำ นำร่องปรับปรุงขบวนรถเร็วพ่วงรถโดยสารชั้น 3 (รถไฟฟรี) 8 ขบวน 4 เส้นทาง จากนั้นจะปรับปรุงรถไฟฟรีชานเมืองอีก 164 ขบวน คาดแล้วเสร็จ มี.ค. 60 ปรับปรุงห้องน้ำ เบาะที่นั่ง พัดลม ทำสีทั้งภายในและภายนอกขบวนรถยกระดับบริการเพื่อประชาชนและผู้มีรายได้น้อย
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.เตรียมดำเนินการปรับปรุงขบวนรถโดยสารชั้น 3 รถไฟฟรี ซึ่งพ่วงอยู่ในขบวนรถเร็ว 8 ขบวน ใน 4 เส้นทาง ได้แก่
ขบวนที่ 109 กรุงเทพ-เชียงใหม่, ขบวนที่ 102 เชียงใหม่-กรุงเทพ,
ขบวนที่ 171 กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก, ขบวนที่ 172 สุไหงโก-ลก-กรุงเทพ,
ขบวนที่ 133 กรุงเทพ-หนองคาย, ขบวนที่ 134 หนองคาย-กรุงเทพ,
ขบวนที่145 กรุงเทพ-อุบลราชธานี และขบวนที่ 146 อุบลราชธานี-กรุงเทพ และ
ขบวนรถไฟชานเมืองฟรี ที่เปิดให้บริการแก่ประชาชนวันละ 164 ขบวน
ให้มีรูปโฉมทันสมัย สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางได้ดียิ่งขึ้น คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการขบวนรถไฟโดยสารโฉมใหม่ได้ในวันที่ 26 มี.ค. 2560 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟฯ
ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาบริการรถไฟให้มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว สะอาด และปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการเดินทางของประชาชนคนไทยของทั้งประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปรับปรุงขบวนรถโดยสารชั้น 3 รถไฟฟรีครั้งใหญ่นี้เพื่อมอบให้เป็นของขวัญแก่ประชาชนคนไทยในโอกาสที่การรถไฟฯ จะก้าวเข้าสู่การให้บริการในปีที่ 120
สำหรับการปรับโฉมขบวนรถไฟโดยสารครั้งใหญ่นี้ ประกอบด้วย การทำสีขบวนรถโดยสารทั้งภายในและภายนอกใหม่ การปรับปรุงห้องน้ำให้มีความสะอาด ปราศจากกลิ่นรบกวนระหว่างเดินทาง การปรับปรุงสภาพพื้นในตัวรถโดยสารให้มีความสะอาดแข็งแรง เบาะที่นั่งให้นั่งได้สะดวกสบาย การปรับปรุงพัดลมในรถโดยสารทุกคันและที่สำคัญจะมีการทำความสะอาด บิ๊กคลีนนิ่ง ในขบวนรถไฟโดยสารทุกคันอีกด้วย โดยการปรับโฉมรถโดยสารใหม่ครั้งนี้
ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการพัฒนาความเป็นอยู่ของคนไทย โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ถือเป็นผู้ที่ใช้บริการรถไฟจำนวนมากให้มีโอกาสได้รับบริการสาธารณะที่ดี และรถไฟที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาขบวนรถไฟฟรี มีผู้ใช้บริการจำนวนมากหลายหมื่นคนต่อวัน ได้ขาดการปรับปรุงครั้งใหญ่มานาน การรถไฟฯ จึงได้เร่งดำเนินการปรับปรุง เพื่อเป็นของขวัญแก่ประชาชน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าว
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44032
Location: NECTEC
Posted: 14/09/2016 10:22 am Post subject:
ชาวอยุธยาฮือประท้วง"กรมทางหลวง-ร.ฟ.ท." ขอถนนคืน จี้ปรับปรุงพื้นที่ หลังมีคดีข่มขืน
มติชน
13 กันยายน 2559 เวลา 14:19:13 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 กันยายน 59 ชาวบ้านกว่า 300 คน รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเอกเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รวมตัวกันที่ใต้สะพานข้ามทางรถไฟและข้ามสี่แยกหน้าตลาด เพื่อประท้วงกรมทางหลวงและการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากที่ชาวบ้านพยายามยื่นหนังสือผ่านท้องถิ่นไปถึงหน่วยงานหลักทั้ง 2 แห่ง นานกว่า 1 ปีแล้ว แต่ไม่มีสัญญาณใดๆ ตอบกลับมา โดยมีนายวันชัย จุฑานพรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลปราสาททอง อำเภอบางปะอิน พร้อมด้วยตำรวจ ทหาร และตัวแทนของหน่วยงานที่ถูกเรียกร้อง ร่วมสังเกตการณ์ โดยเหตุการณ์ภาพรวมเป็นการรวมตัวอย่างสันติ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรง
ทั้งนี้ เนื่องจากกรมทางหลวงมีการสร้างสะพานของถนนสายเข้าอำเภอ เพื่อข้ามทางรถไฟและข้ามสี่แยกกลางเมือง ตรงหน้าตลาด โดยสะพานยาวเกือบ 1 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จ มีการปิดช่องทางถนนเดิมและให้ใช้เส้นทางบนสะพานแทน ทำให้ชาวบ้านที่ไม่มีรถยนต์เดือนร้อน เพราะเส้นทางถูกปิด แต่เมื่อจะต้องเดินจะลำบากมาก เพราะมีแทงปูนของกรมทางหลวง รวมถึงหมอนรถไฟจำนวนมากมาปิดกั้น ตรงจุดนี้ชาวบ้านขอให้เปิดทางเชื่อม
นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้กรมทางหลวงอนุญาตให้ท้องถิ่นเข้ามาดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ใต้สะพานให้ใช้งานได้ ไม่ใช่ปล่อยให้รกร้าง จนกลายเป็นแหล่งซ่อมสุมปัญหาอาชญากรรม ล่าสุดมีคดีข่มขืนขึ้นแล้ว เพราะเปลี่ยวและมืด อีกทั้งขอให้เปิดรั้วกั้นเขตทางหลวงใต้สะพาน เพื่อให้ท้องถิ่นพัฒนาเป็นลานกีฬาชุมชน
นายสุรีพร ภาคนิมิต อายุ 43 ปี ตัวแทนชาวบ้าน เปิดเผยว่า พวกเราร้องเรียนมานานแล้วว่าพื้นที่ใต้สะพานเป็นที่เปลี่ยว อันตราย เป็นแหล่งซ่องสุมปัญหาอาชญากรรม ครั้งแรกต้องการให้เทศบาลเข้าดำเนินการ แต่พอทราบว่าไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ ก็ขอคำแนะนำ ซึ่งทราบว่าเป็นของกรมทางหลวงและการรถไฟแห่งประเทศไทย มีการยื่นหนังสือผ่านหน่วยงาน 2 แห่งในจังหวัด แต่เรื่องเงียบ ชาวบ้านเดือดร้อนมาก เพราะเส้นทางใต้สะพานหรือถนนเดิมก่อนมีการสร้างสะพาน เป็นเส้นทางของชุมชน เมื่อปิดก็เดือนร้อน และคนที่ไม่มีรถยนต์ จะไปใช้สะพานข้ามก็ยาวเป็นกิโลเมตร ทำให้ไม่สะดวกและอันตราย เพราะรถวิ่งกันด้วยความเร็วสูง เมื่อมาใช้พื้นที่ใต้สะพานที่ถูกปิดกั้นด้วยแบริเออร์และหมอนรถไฟ ก็เปลี่ยวและมืด มีคดีชิงทรัพย์และข่มขืนเกิดขึ้นแล้ว จึงอยากวิงวอนให้มีการเปิดทางเชื่อม และปรับปรุงพื้นที่ใต้สะพานเป็นลานกีฬาชุมชน พร้อมติดไฟให้ส่องสว่าง เพื่อความปลอดภัย
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44032
Location: NECTEC
Posted: 29/09/2016 10:09 am Post subject:
ประกาศร่าง TOR ประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
โครงการเช่ารถจักร เพื่อการขนส่งของการรถไฟฯ จํานวน 50 คัน พร้อมการบำรุงรักษา
งบประมาณ/ราคากลาง : 13,344,042,437.00 บาท
เป็นโครงการเช่า (คนละอันกับที่จะซื้ออีก 50 คันนะ) รถจักรดีเซลไฟฟ้าซึ่งจะให้เอกชนจัดหาหัวรถจักรมาให้ รฟท. เช่าโดยเอกชนจะเป็นคนซ่อมบำรุงเองระยะเวลาสัญญา 17 ปีแบ่งเป็น 2 ปีสำหรับการผลิตและส่งมอบกับอีก 15 ปีสำหรับสัญญาเช่าโดยหัวรถจักรจะต้องเป็นของใหม่มือ 1 ไม่เคยใช้งานมาก่อนแล้วถ้าเกิดรถจักรชำรุดจนใช้งานไม่ได้เอกชนก็จะต้องเสียค่าปรับให้ รฟท.
http://www.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=593153330
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44032
Location: NECTEC
Posted: 03/10/2016 11:04 am Post subject:
แก้หัวจักรขาดแคลน! ร.ฟ.ท.จ่อประมูลเช่า 50 คัน 1.33 หมื่นล้านปลายปีนี้
โดย MGR Online
3 ตุลาคม 2559 06:55 น. (แก้ไขล่าสุด 3 ตุลาคม 2559 07:55 น.)
ร.ฟ.ท.ประกาศทีโออาร์เช่าหัวจักรพร้อมซ่อมบำรุง 50 คัน วงเงินกว่า 1.33 หมื่นล้าน ระยะเช่า 15 ปีเพื่อทดแทนรถเก่า คาดเปิดประมูลได้ปลายปีนี้ พร้อมเร่งรื้อทีโออาร์และราคากลางประมูลซื้อหัวจักร 50 คัน วงเงินกว่า 6.15 พันล้านใหม่ หลังเพิ่มระบบอาณัติสัญญาณลิงก์กับสถานีกลางบางซื่อแก้วิกฤตหัวจักรที่จะขาดแคลนในปี 61
นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าว่า ขณะนี้เงื่อนไขทีโออาร์โครงการเช่าหัวรถจักรเพื่อการขนส่งพร้อมบำรุงรักษา จำนวน 50 คัน อยู่ระหว่างนำเผยแพร่ในเว็บไซต์เพื่อรับฟังความคิดเห็นตามขั้นตอน โดยคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปลายปี 2559 พร้อมกันนี้ ได้ทำร่างสัญญาเพื่อส่งให้อัยการตรวจสอบไปคู่ขนานกันด้วย
โดยจะเป็นการเช่าระยะ 15 ปี เพื่อนำมาใช้ทดแทนหัวจักรเก่าที่มีอายุใช้งาน 40 ปี ซึ่งในช่วง 3 ปีนี้จะปลดระวาง 50 คัน อาจจะเกิดการขาดแคลนหัวจักรได้ เป็นการลดความเสี่ยงของ ร.ฟ.ท. และมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านจากหัวจักรดีเซลไปเป็นหัวรถจักรไฟฟ้าทั้งหมดระหว่างปี 2560-2575
ส่วนการประกวดราคาซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักเพลา 16 ตัน/เพลา จำนวน 50 คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ราคากลาง 6,151 ล้านบาทนั้น หลังจากที่ได้มีการยกเลิกการประกวดราคาครั้งก่อนนี้ ขณะนี้การปรับร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) และทบทวนราคากลางใหม่
ทั้งนี้ ทีโออาร์ในการประมูลรอบใหม่ได้ปรับปรุงให้โปร่งใสและสอดคล้องกับแผนการเดินรถในอนาคต ซึ่งรถจักร 50 คันดังกล่าวจะใช้สำหรับรถโดยสาร ซึ่งจะวิ่งเข้าสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีทั้งรถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล รถไฟสีแดง รถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ใช้ร่วมกัน ซึ่งจะมีการควบคุมด้วยระบบอาณัติสัญญาณกลาง ทำให้รถจักร 50 คันนี้จะต้องมีระบบอาณัติสัญญาณที่สัมพันธ์กับระบบกลาง ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มจากทีโออาร์เดิมที่ไม่ได้กำหนดไว้ โดยอาจทำให้ราคากลางปรับเพิ่มขึ้น แต่จะไม่ให้เกินกรอบวงเงินรวมของโครงการที่ 6,562.5 ล้านบาท
รายงานข่าวแจ้งว่า ร.ฟ.ท.ประกาศทีโออาร์เช่าหัวรถจักร 50 คัน ราคากลาง 13,344,042,437 บาท ตลอดอายุสัญญา 15 ปี หรือเฉลี่ย 48,721 บาท/วัน/คัน (รวมค่าใช้จ่ายในการควบคุมงาน การตรวจสอบเดินขบวนรถ และการประสานงานอื่นๆ) โดยมีระยะเวลาผลิตส่งมอบ 2 ปี
โดยได้ประกาศลงเว็บไซต์เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 59 เพื่อรับฟังความเห็นถึงวันที่ 31 ต.ค. 59 กำหนดคุณสมบัติเบื้องต้น ผู้เสนอราคานิติบุคคลไทยรายเดียวต้องมีทุนจดทะเบียนชำระเต็มจำนวนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท, ต้องมีผลงานและประสบการณ์ในการออกแบบ ผลิตและจำหน่ายรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่ใช้ลากจูงในเส้นทางหลัก (Main Line) ไม่น้อยกว่า 100 คัน ภายในระยะเวลา 10 ปีนับถึงวันที่ยื่นซอง พร้อมหนังสือ รับรองผลงานของผู้ผลิต ลงนามโดยผู้มีอ้านาจหรือผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจ โดยจะต้องผ่านการรับรองเอกสารตามระเบียบการกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร ปี พ.ศ. 2539
รถจักรต้องผ่านการทดสอบการขับเคลื่อนและทดสอบสมรรถนะ (Performance Test) และมีสภาพพร้อมใช้งานไปจนกว่าจะครบเวลาการเช่า 15 ปี ไม่ต่ำกว่า 50 คัน หากผู้ให้เช่าไม่สามารถผลิตและส่งมอบรถจักรให้ ร.ฟ.ท. 50 คันได้ภายใน 2 ปีนับถัดจากวันลงนามในสัญญาาจะต้องจ่ายเงินค่าปรับให้แก่ ร.ฟ.ท.เท่ากับร้อยละ 0.2 ของเงินค่า เช่าที่ผู้ให้เช่าเสนอ และค่าเสียโอกาสในการดำเนินการทางธุรกิจจำนวน 20,000 บาท
แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ครม.อนุมัติการจัดซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า 50 คัน วงเงิน 6,562.5 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2555 การประมูลยังไม่สำเร็จ ขณะที่ ร.ฟ.ท.มีแผนเช่ารถจักร 50 คัน พร้อมซ่อมแซมบำรุงรักษา วงเงิน 14,235 ล้านบาท แผนเช่ารถโบกี้บรรทุกสินค้า 200 คัน พร้อมซ่อมแซมบำรุงรักษา วงเงิน 2,323.22 ล้านบาท ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนหัวจักร และรถสินค้า เนื่องจากการประเมินพบว่า ในปี 2559 มีจำนวนรถจักรที่ 160 คัน มีความต้องการใช้ 136 คัน ปี 2560 จำนวนรถจักรจะอยู่ที่ 152 คัน มีความต้องการใช้ 144 คัน และปี 2561 จำนวนรถจักรอยู่ที่ 90 คัน มีความต้องการใช้ 154 คัน ซึ่งจะเกิดการขาดแคลนหากไม่สามารถจัดหามาทดแทนได้ตามแผน
Back to top