View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 06/09/2016 8:48 pm Post subject: |
|
|
ลาวชี้ รถไฟจีน-ลาวช่วยปลดล็อคศักยภาพทางเศรษฐกิจ
ลาวเป็นประเทศเดียวในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ซึ่งกำลังได้รับโอกาสทองที่จะแก้ไขประวัติศาสตร์ของ "โชคชะตาที่ถูกตัดขาดการเชื่อมต่อ" ครั้งใหม่ และโอกาสในการส่งออกทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ไปยังประเทศอื่นๆ อันเนื่องมาจากทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อไปยังส่วนต่างๆ ของโลก
รถไฟจีน-ลาว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟแพนเอเชียและจะเชื่อมโยงจากเมืองเวียงจันทน์ไปยังทางตอนเหนือของชายแดนจีน-ลาว และทางตอนใต้ของไทย จะเปลี่ยนประเทศลาวให้กลายเป็นดินแดนที่สามารถเชื่อมต่อสู่โลกภายนอกได้ และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับลาว ซึ่งถือเป็นประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พัฒนาน้อยที่สุดของโลกอีกด้วย
"เป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับทั้งสองประเทศ สำหรับการดำเนินงานโครงการพื้นที่และเส้นทางเศรษฐกิจของจีน ซึ่งมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ของเราที่มีเป้าหมายสู่การกลายเป็นดินแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศอื่นได้" Saysana Sithiphone หัวหน้าคณะกรรมาธิการความร่วมมือลาว-จีน ได้กล่าวเสริมว่ารถไฟจะนำมาซึ่งโอกาสใหม่สำหรับการพัฒนาในอนาคตให้แก่ลาว
"การท่องเที่ยวจะเป็นอุตสาหกรรมแรกที่จะได้รับประโยชน์จากการรถไฟลาว-จีนอย่างแท้จริง ก่อนจะตามมาด้วยอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว รถไฟจะยังช่วยเร่งการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ลดลง" Saysana ให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าวซินหัวดังนี้
https://www.facebook.com/XinhuaNewsAgency.th/photos/a.1660406490842033.1073741828.1660335044182511/1797256160490398/?type=3&theater |
|
Back to top |
|
 |
srinopkun
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010 Posts: 2947
Location: นครปฐม
|
Posted: 07/09/2016 11:06 pm Post subject: |
|
|
RORONOA wrote: | สอบถามครับ แล้วโครงการสำหรับรางกว้าง 1.000 ม. ที่จะสร้างต่อจากท่านาแล้ง - เวียงจัน ล้มเลิกโครงการไปหรือยังครับ แล้วมีโอกาสเกิดขึ้นหรือเปล่า ทุกวันนี้พอลงท่านาแล้งก็ยังคงไม่มีรถโดยสารประจำทางมีแต่รถเหมาใช่หรือไม่ครับ |
ตอบครับ
- ยังทำอยู่ และกำลังจะเริ่ม"ทำต่อ" ปลายปีนี้ครับผม
- ช่วงนี้ เมื่อซื้อตั๋วที่สถานีหนองคายเพื่อจะมายังท่านาแล้ง จะมี"พรายกระซิบ" มาแนะนำขายตั๋วร่วมให้คุณ ในราคา 320 บาท คือเป็นค่ารถไฟ 20 บาท + ค่ารถตู้จากสถานีท่านาแล้งมาลงในเวียงจันทน์อีก 300 บาท
เวลาผมไปท่านาแล้ง ผมจะเหมารถตู้ให้มาส่งแค่ด่านรถยนต์ฝั่งลาว แล้วต่อรถเมล์ปรับอากาศสาย 14 (ท่าเดื่อ - ตลาดเช้า) เข้าเมืองเวียงจันทน์
หรือไม่ก็"เดินนับหมอนคอนกรีต" ย้อนทางมาจากสถานีท่านาแล้ง มาจนเกือบถึงประตูกั้นเขตแดนก่อนขึ้นสะพานมิตรภาพ แล้วเดินลัดสวนสาธารณะออกมาที่ถนนใต้สะพานมิตรภาพ มารอขึ้นรถเมล์สาย 14 บ้านเขา เข้าเวียงจันทน์ครับ (ดูภาพที่ผมถ่ายไว้หลายๆครั้ง เมื่อเดินนับหมอนคอนกรีตได้ในกระทู้ @ท่านาแล้ง ครับผม)
คือ ณ เวลานี้ ข้ามไปฝั่งลาวด้วยรถไฟไม่สะดวกครับ แพง และไม่ค่อยจะมีใครมาให้บริการเท่าไหร่ด้วยแหละ
อีกสองปีครับ ได้นั่งรถไฟไปลง"สถานีเวียงจันทน์" กันละ  |
|
Back to top |
|
 |
Tohoku_Line
3rd Class Pass


Joined: 08/04/2010 Posts: 193
Location: Bangkok/Ubonratchathani
|
Posted: 08/09/2016 12:40 am Post subject: |
|
|
^
^
^
สร้างๆเสียทีเถอะครับท่านาแล้ง-เวียงจันทน์เนี่ย ไม่งั้นที่กุดอยู่แค่ท่านาแล้งมันแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย
แต่ระยะทางแค่นั้นสร้าง 2 ปีเลย ทำไมนานจัง
แล้วถ้าสร้างเสร็จลากรถนอนใหม่สายหนองคายให้ยาวไปถึงเวียงจันทน์ก็ดีนะครับ เผื่อจะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น
ถ้ารถนอนใหม่อยู่แค่หนองคายดูท่าจะหืดจับในการหาผู้โดยสาร เพราะเห็นทุกวันนี้รถด่วน 69/70 บนท.ป. เหลือแค่วันละ 3 ตู้เอง |
|
Back to top |
|
 |
RORONOA
2nd Class Pass


Joined: 06/12/2007 Posts: 705
|
Posted: 08/09/2016 11:22 pm Post subject: |
|
|
srinopkun wrote: | RORONOA wrote: | สอบถามครับ แล้วโครงการสำหรับรางกว้าง 1.000 ม. ที่จะสร้างต่อจากท่านาแล้ง - เวียงจัน ล้มเลิกโครงการไปหรือยังครับ แล้วมีโอกาสเกิดขึ้นหรือเปล่า ทุกวันนี้พอลงท่านาแล้งก็ยังคงไม่มีรถโดยสารประจำทางมีแต่รถเหมาใช่หรือไม่ครับ |
ตอบครับ
- ยังทำอยู่ และกำลังจะเริ่ม"ทำต่อ" ปลายปีนี้ครับผม
- ช่วงนี้ เมื่อซื้อตั๋วที่สถานีหนองคายเพื่อจะมายังท่านาแล้ง จะมี"พรายกระซิบ" มาแนะนำขายตั๋วร่วมให้คุณ ในราคา 320 บาท คือเป็นค่ารถไฟ 20 บาท + ค่ารถตู้จากสถานีท่านาแล้งมาลงในเวียงจันทน์อีก 300 บาท
เวลาผมไปท่านาแล้ง ผมจะเหมารถตู้ให้มาส่งแค่ด่านรถยนต์ฝั่งลาว แล้วต่อรถเมล์ปรับอากาศสาย 14 (ท่าเดื่อ - ตลาดเช้า) เข้าเมืองเวียงจันทน์
หรือไม่ก็"เดินนับหมอนคอนกรีต" ย้อนทางมาจากสถานีท่านาแล้ง มาจนเกือบถึงประตูกั้นเขตแดนก่อนขึ้นสะพานมิตรภาพ แล้วเดินลัดสวนสาธารณะออกมาที่ถนนใต้สะพานมิตรภาพ มารอขึ้นรถเมล์สาย 14 บ้านเขา เข้าเวียงจันทน์ครับ (ดูภาพที่ผมถ่ายไว้หลายๆครั้ง เมื่อเดินนับหมอนคอนกรีตได้ในกระทู้ @ท่านาแล้ง ครับผม)
คือ ณ เวลานี้ ข้ามไปฝั่งลาวด้วยรถไฟไม่สะดวกครับ แพง และไม่ค่อยจะมีใครมาให้บริการเท่าไหร่ด้วยแหละ
อีกสองปีครับ ได้นั่งรถไฟไปลง"สถานีเวียงจันทน์" กันละ  |
นับเป็นข่าวที่ดีครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูล หวังว่าเรื่องนี้จะเดินได้ตามแผนนะครับ |
|
Back to top |
|
 |
srinopkun
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2010 Posts: 2947
Location: นครปฐม
|
Posted: 10/09/2016 10:54 pm Post subject: |
|
|
Tohoku_Line wrote: |
สร้างๆเสียทีเถอะครับท่านาแล้ง-เวียงจันทน์เนี่ย ไม่งั้นที่กุดอยู่แค่ท่านาแล้งมันแทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย
แต่ระยะทางแค่นั้นสร้าง 2 ปีเลย ทำไมนานจัง
|
มีอะไรหลายๆอย่าง ที่หลายๆคนยังไม่รู้ครับ ... ดังนั้น อย่าซีเรียสครับ อย่าซีเรียส
- สร้างแล้ว ใครจะเป็นผู้เดินรถ ฝั่งลาวเหรอ ... คุ้มมั้ย? กับระยะทางแค่ 8 กม. กับการที่จะต้องซื้อชุดรถมาวิ่ง จัดทำโรงจอดรถ+ซ่อมบำรุง จ้างพนักงานจำนวนมากในหลายๆส่วนงานเพื่อ Support การเดินรถ ฯลฯ // ให้ฝั่งไทยเดินรถให้เหรอ ? - จะคิดค่าเช่าหรือค่าใช้จ่ายอะไรยังไง? รถวิ่งกี่เที่ยว รถพอมั้ย เจ้าหน้าที่ขบวนรถต้องวุ่นวายกับเอกสารผ่านแดนมากมายขนาดไหน
หมายเหตุ - ทุกวันนี้เวลานำรถมาซ่อมบำรุงก็ต้องพ่วงกับรถท้องถิ่นมาถึงนครราชสีมา (โรงซ่อมบำรุงรถดีเซลรางอยู่นครราชสีมา) - ถ้าจะให้ไทยวิ่งให้ ก็ต้องไปสร้างไซต์งานที่หนองคายเพิ่ม เพราะต้องมีหน่วยซ่อมบำรุง ปั้มเติมเชื้อเพลิง ฯลฯ - ซึ่งปัญหาเหล่านี้ยังไม่มีข้อสรุปนะครับ คือเคยมีข้อตกลงกันออกมานานแล้วชุดหนึ่ง แต่ก็มีการแก้ไขปรับปรุงกันเรื่อยมา ยังไม่ลงตัวซักที
Tohoku_Line wrote: |
แล้วถ้าสร้างเสร็จลากรถนอนใหม่สายหนองคายให้ยาวไปถึงเวียงจันทน์ก็ดีนะครับ เผื่อจะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น
ถ้ารถนอนใหม่อยู่แค่หนองคายดูท่าจะหืดจับในการหาผู้โดยสาร เพราะเห็นทุกวันนี้รถด่วน 69/70 บนท.ป. เหลือแค่วันละ 3 ตู้เอง |
ประเด็นนี้เป็นไปไม่ได้แน่นอนครับผม ที่เอาชุดรถใหม่ข้ามไปฝั่งโน้น ... ชุดรถต้องอยู่หนองคายแน่นอน เพราะตั้งแต่การตรวจรถ ตรวจสิ่งของ ตรวจคน ฯลฯ ไปจนถึงการบำรุงรักษา เติมน้ำ ทำความสะอาดรถ ซึ่งต้องใช้เวลาและต้อง"ทำฝั่งไทย" แหงๆครับ
ทุกวันนี้แค่นั่งๆมองๆดูว่าจะเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้รถจักรและ Power Car น่ะ จะไปตั้งหัวจ่ายตรงไหนดี ยังคิดไม่ตกกันเลยครับ .... 555 (เรื่องนี้น่ะเจ้าหน้าที่เขาให้ข้อมูลมา - ไม่ได้คิดเองเด้อ)
อันว่า Power Car นั้นเมื่อมาจากกทม. จะอยู่ตอนหน้าสุดของชุดขบวนรถ จะทำหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่หนองคายในทาง 4 ก็ต้องไปทำในลานโล่งๆที่เตรียมไว้เป็นลานขนส่งสินค้าเดิม ซึ่งทาง 4 ของหนองคายนั้นก็ไม่สามารถรองรับความยาวของขบวน 13 คันได้ จะให้ท้ายขบวนยื่นมาคร่อมประแจในทาง 3 ก็"ผิดข้อบังคับ"อีก ครั้นจะทำในทาง 2 หรือทาง 3 ก็ต้องวางแผนออกแบบกันให้เหมาะสมกับระยะห่างระหว่างทางหลีก ว่าพอจะสร้างอาคารเล็กๆสำหรับติดตั้งหัวจ่ายฯได้ไหม ดึกๆจะโดน"งัดแงะ"หรือไม่ ฯลฯ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 27/09/2016 10:22 am Post subject: |
|
|
เจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคมทั้งไทยและลาวถกกันเรื่อง ทางรถไฟสายใหม่
วิทยุเอเซียเสรี
26 กันยายน 2016
รายงานและแปลโดย Ounkeo Souksavnah.
เขียนเป็นภาษาอังกฤษโดย Brooks Boliek.
โพนโฮงเตรียมสร้างบ่อนพักคนงาน
มณีจัน
วิทยุเอเซียเสรี
22 กันยายน 2016
เจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคมทั้งไทยและลาวถกกันเรื่อง ทางรถไฟสายใหม่ ที่เชื่อมหนองคายกะเวียงจันในการประชุมที่หลวงพระบาง โดยลาวหวังว่าทางรถไฟเชื่อมไทย จีนและ เวียตนามจะช่วยเศรษฐกิจลาวได้ - แต่ต้องแก้ปัญหาเรื่องสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงเสียก่อน - เพราะ ลาวอยากได้แบบ Standard gauge อย่างเดียวแต่ไทย ต้องการแบบ Mixed Gauge
ตอนนี้ทางฝั่งลาวเรื่มการก่อสร้างทางรถไฟสายเวียงจัน โพนโฮง ระยะทาง 56 กิโลเมตร โดยมีวิศวกรรถไฟจีนแดง 40 นาย โดยตั้งบ่อนพักคนงานบริษัทวิศวกรรมทางรถไฟเลข 2 ของจีน (the China Railway No.2 Engineering Group Co.) ซึ่งเป็นผู้รับเหมาใกล้ บ้าน Mai เมืองโพนโฮง
จนบัดนี้ยังไม่มีการพูดถึงค่าเวนคืนและค่าชดเชยอื่นๆ เช่น กรณีชาวบ้านแถวอุดมไซค่าเวนคืน 200300ล้านกีบ (25,000-37,000 เหรียญสหรัฐ) เพื่อซื้อบ้านและที่ดินใหม่ และตอนนี้ราคาที่ดินปาเข้าไป 5แสนกีบ (62 เหรียญสหรัฐ) ต่อตารางเมตรดังนั้นถ้าค่าชดเชยต่ำกว่า 200 ล้านกีบก็ไม่พอค่าซื้อบ้านและที่ดินใหม่ได้
รถไฟลาวจีนมูลค่า 6พันเหรียญสหรัฐ นี้ จีนเป็นคนคิดตามนโยบาย One Belt, One Road แต่ให้ลาวทำซึ่งคนลาว ตั้งคำถามว่าใครจะได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งก็เป็นที่รู้ๆกันว่าจีนได้ประโยชน์สูงสุดเพราะ คนลาว ร้อยละ 80 ไม่มีปัญหาจ่ายเงินเพื่อใช้บริการรถไฟ |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48291
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 27/09/2016 6:24 pm Post subject: |
|
|
...
Last edited by Mongwin on 27/09/2016 6:27 pm; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 27/09/2016 6:24 pm Post subject: |
|
|
สปป.ลาว ให้สิทธิจีน แสวงหาผลประโยชน์ฟรี! จากที่ดินโครงการ "รถไฟลาว-จีน"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
27 กันยายน. 2559 เวลา 16:59:00 น.
ต้นฉบับ: รัฐบาลลาวอนุญาตให้บริษัทจีนใช้ที่ดินตามเส้นทางรถไฟโดยบ่ต้องเสียค่า
วีโอเอ ภาษาลาว รายงานในวันนี้ (27 ก.ย.) รัฐบาลสปป.ลาว ประกาศอนุญาตให้รัฐบาลจีนสามารถใช้ที่ดินสองข้างทาง ตลอดแนวเส้นทางรถไฟที่จีน เป็นผู้ลงทุนหลักในโครงการรถไฟลาว-จีน
นายบัวเงิน สาพูวง (ບົວເງິນ ຊາພູວົງ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแถลงข่าว-วัฒนธรรมและท่องเที่ยว สปป.ลาว เปิดเผยว่า รัฐบาลสปป.ลาว ได้ให้สิทธิพิเศษแก่จีนในด้านการยกเว้นภาษีอาการ ค่าธรรมเนียม และค่าสัมปทาน ในการเข้าใช้ประโยชน์บริเวณพื้นที่สองข้างทางโครงการรถไฟลาว-จีน
นอกจากนี้ บริษัทผู้ลงทุนจากจีนยังสามารถใช้ประโยชน์กับพื้นที่บริเวณดังกล่าว พร้อมแสวงหาผลกำไรได้อีกด้วย ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลสปป.ลาว ยังได้ยกเว้นภาษีอากรธุรกิจ และภาษีมูลค่าเพิ่ม แก่นักลงทุนเอกชนจีนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการรถไฟดังกล่าว ตลอดระยะการก่อสร้างและการพัฒนาจนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ
ทั้งนี้ รับบาลประกาศว่า หลังเสร็จสิ้นการพัฒนาโครงการรถไฟลาว-จีน จะมีการเจรจาเกี่ยวกับการกำหนดด้านภาษีอากร และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม พื้นที่สองข้างทางของโครงการรถไฟลาว-จีน ที่มีการกำหนดขนาดความกว้าง อยู่ที่ 50 เมตร จึงทำให้รัฐบาลสปป.ลาว จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินจากประชาชน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ และเข้าเจรจาเพื่อชดเชยค่าเวนคืนกับประชาชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบเป็นลำดับต่อไป |
|
Back to top |
|
 |
|