View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
Joined: 18/03/2006 Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น
|
Posted: 18/12/2014 1:23 pm Post subject: บทความวิชาการ "การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟฯ 2014" |
|
|
บทความวิชาการ "การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟ ในฐานะมรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย" โดย อ.ปริญญา ชูแก้ว จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง สามารถอ่านเป็นความรู้ในหลากหลายแง่มุม ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมา การแบ่งระดับของสถานีรถไฟ วิธีการอนุรักษ์ และการดูแลอาคารสถานีรถไฟต่างๆ เป็นต้นครับ
ดาวน์โหลด PDF ฉบับเต็มได้ที่นี่
http://goo.gl/QnQCFZ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 18/12/2014 6:53 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณอาจารย์ปริญญา ชูแก้วมากครับ ที่จัดทำหนังสือเล่มนี้ออกมาเผยแพร่
และขอบคุณคุณบอมบ์ที่ช่วยเผยแพร่ต่อไปครับ
ตอนนี้อาคารสถานีรถไฟสงขลากำลังอยู่ระหว่างบูรณะซ่อมแซม ปรับปรุงครับ ปีหน้า (2558) คงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงว่าจะสวยกว่าเดิมแค่ไหน |
|
Back to top |
|
|
ksomchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 08/04/2009 Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู
|
Posted: 18/12/2014 8:58 pm Post subject: |
|
|
ตอนนีี้โครงการรถไฟทางคู่กำลังจะเกิด ต้องลุ้นกันล่ะ ครับ ว่าสถานีที่สร้างใหม่ จะใช้โครงสร้างแบบเดิม หรือรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่
โดยส่วนตัวแล้ว ชอบแบบเดิมมากกว่า ถ้าสร้างใหม่ควรใช้แบบแปลนเดิม ครับ _________________
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 15/04/2017 7:38 am Post subject: |
|
|
ย้อนยลสถานีรถไฟเก่า รื้อหรืออยู่?เมื่อ"ทางคู่"มาถึง
เดลินิวส์
พฤหัสบดีที่ 13 เมษายน 2560 เวลา 11.02 น.
เปิดโฉมให้ย้อนยลสถานีรถไฟเก่า บันทึกประวัติศาสตร์ไทยอันยาวนานกว่า 100ปี ทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม จะถูกรื้อถอนหรืออยู่เมื่ออภิมหาโปรเจ็กท์ที่ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลอย่างโครงการรถไฟทางคู่-รถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลมาถึง
ระหว่างที่รัฐบาลกำลังเร่งรัดเปิดประมูลรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน ภายในปีนี้จะได้บริษัทผู้ชนะการประมูล ในรอบปีที่ผ่านมาการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซื้อขบวนรถไฟใหม่เอี่ยมจากประเทศจีนบรรจุวิ่ง 4 สาย เหนือ อีสานและใต้จนยอดจองตั๋วล้นทะลัก ช่วยยืนยันว่าการเดินทางด้วยรถไฟยังได้รับความนิยม แม้จะมีสายการบินโลว์คอสท์มาเป็นทางเลือกในการเดินทางก็ตาม
เส้นทางรถไฟผ่านทั้งชุมชนเมือง หมู่บ้านชนบท มีประวัติศาสตร์ยาวนาน120 ปี จวบจนปัจจุบันยังมีชีวิตชีวา สถานีรถไฟหลายร้อยแห่งยังเปิดใช้บริการในวันนี้ บางแห่งยังคงเดิมทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม จนได้รับการโปรโมทเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปแล้ว
สถานีรถไฟหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดุจดั่งเพชรเม็ดงามของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับการยกย่องทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารอนุรักษ์ ก่อสร้างขึ้นในปี 2454 โดยพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการรถไฟ แห่งกรุงสยาม
อาคารสถานีรถไฟหัวหินเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมวิคทอเรีย และ สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีรถไฟแห่งนี้คือ พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯเป็นพลับพลาจตุรมุขสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พลับพลานี้มีไว้ในการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯเสด็จประทับทอดพระเนตร กองเสือป่าและลูกเสือทั่วประเทศทำการฝึกซ้อมยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี
หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์ การรถไฟฯได้รื้อถอนมาเก็บไว้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
สถานีรถไฟกันตัง ตั้งอยู่บนถนนหน้าค่าย ต.กันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง ถือเป็นสถานีรถไฟสุดทางของทางรถไฟสายใต้ ฝั่งทะเลอันดามัน สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่1เม.ย.2456 อดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร ถึงท่าเทียบเรือกันตัง ท่าเรือเก่าแก่ตั้งแต่โบราณ
ตัวสถานีรถไฟกันตัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านหน้ามีมุขยื่นประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุ ประตูบานเฟี้ยมแบบเก่า อาคารมีช่องลมระแนงไม้ตีทแยง บานประตูหน้าต่างไม้แบบเก่า
สถานีรถไฟนครลำปาง ตั้งอยู่ที่ จ.สบตุ๋ย อ.เมือง จ. ลำปาง มีพื้นที่ 161 ไร่ ห่างอ.เมือง 5 กม.สร้างขึ้นราวปี 2458 เปิดใช้งานเมื่อครั้งรถไฟหลวงขบวนแรกเดินถึงจ.ลำปางในวันที่ 1เม.ย.2459 ตัวอาคารมีรูปแบบการก่อสร้างผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือกับสถาปัตยกรรมยุโรป เป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ มีการประดับราวระเบียงและช่องแสงเหนือประตูหน้าต่างด้วยช่องปรุไม้ แกะสลักลวดลายเลียนแบบศิลปะพื้นเมือง
น่าดีใจว่าเมื่อ2 ปีที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) มีแผนจะรื้อสถานีนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งของรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ แต่ชาวลำปางไม่เห็นด้วย ท้ายที่สุดยังให้คงเดิม
สถานีรถไฟเชียงใหม่ เป็นจุดสิ้นสุดของเส้นทางรถไฟสู่ภาคเหนือ อาคารสถานีปัจจุบัน ได้รับการออกแบบโดย หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ ในพ.ศ.2489 หลังจากอาคารหลังแรกถูกทิ้งระเบิด พังไปเมื่อปี 2486 สถานีรถไฟเชียงใหม่เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูนแบบไทยภาคกลางประยุกต์ เช่น การใช้ตัวเหงาปั้นลมที่หลังคา ใช้หลังคาจัตุรมุขซ้อนชั้นบริเวณหอนาฬิกา รวมถึงการประดับตกแต่งส่วนรายละเอียดบริเวณเสา บัวหัวเสา เป็นต้น ผสมผสานกับรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในการออกแบบผังอาคารตามประโยชน์ใช้สอย และการใช้ผนังชั้นบนของอาคารด้านทิศตะวันตกรูปแบบฮาฟ ทิมเบอร์ (Half timber)
ในพื้นที่ ภาคเหนือ สถานีรถไฟบ้านปิน จ.แพร่ เป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวของไทย ที่สร้างด้วยสไตล์ "เฟรมเฮ้าส์" แบบบาวาเรียน (Bavarian Timber FrameHouse) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในแคว้นบาวาเรียนของเยอรมัน เป็นสไตล์ที่ใช้ไม้เป็นวัสดุสำคัญ ออกแบบผสมผสานให้เข้ากับเรือนปั้นหยาแบบไทยๆ กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในยุคนั้นด้วย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2457 มีนายช่างชาวเยอรมัน ชื่อ ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง สถานีบ้านปิน เป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้สักอุดมสมบูรณ์ จึงกลายเป็นแรงบันดาลใจให้นายช่างชาวเยอรมันออกแบบสถานีแห่งนี้
เส้นทางรถไฟสายอีสาน สถานีรถไฟนครราชสีมา (คนโคราชมักเรียก หัวรถไฟ ) เป็นแลนด์มาร์คสำคัญทางสถานีรถไฟ ของเส้นทางรถไฟสายอีสาน สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เดิมชื่อสถานีโคราช เปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2443 เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ต่อมาได้สร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้นขึ้นมาทดแทนอาคารไม้หลังเดิม เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2498 ใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
สถานีรถไฟนครราชสีมาเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่บนถนนมุขมนตรี ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา
เทศกาลสงกรานต์ วาระแห่งการเดินทางมากที่สุดในรอบปี รถไฟไทยทำหน้าที่ขนส่งผู้คนจำนวนมากกลับบ้านมาอย่างยาวนาน อีกไม่เกิน2 ปีตามที่รัฐบาลให้คำมั่นไว้รถไฟจะต้องมีรางคู่และรถไฟความเร็วสูง แต่ก่อนไปถึงจุดนั้นผู้คนส่วนใหญ่อยากเห็นแผนการก่อสร้างกระทบกับสถานีเดิมน้อยที่สุดหรือมีทางออกให้สถานีเดิมคงอยู่แต่บนที่ตั้งใหม่ก็น่าจะทำได้ ....เพราะสถาปัตยกรรมยาวนานกว่าอายุขัยของผู้คน
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง
ขอบคุณภาพจาก Misterlee.com,We love thai trip |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 14/09/2020 12:06 pm Post subject: |
|
|
สถานีบ้านปิน
แป้หม่าเก่า Ancient Phrae
13 กันยายน 2563 เวลา 23:51 น.
สถานีรถไฟบ้านปิน ตั้งอยู่ในตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นสถานีรถไฟที่มีตัวอาคารมีเอกลักษณ์โดดเด่นด้วยศิลปะยุโรป มีอายุกว่า 100 ปี เป็นสถานีรถไฟแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างด้วยสไตล์ เฟรมเฮ้าส์ แบบบาวาเรียน หรือแบบโครงไม้ ซึ่งเป็นที่นิยมมากในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนี ประกอบกับเมืองแพร่มีป่าไม้สักอุดมสมบูรณ์ที่สุด ทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบผสมผสานให้เข้ากับเรือนปั้นหยาแบบไทย ซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในยุคนั้นได้อย่างลงตัว ถึงแม้จะผ่านมามากกว่าร้อยปีแล้วแต่อาคารก็คงยังดูสวยงามทรงคุณค่า
สถานีรถไฟบ้านปิน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2457 ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม มีนายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมันชื่อ เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง โดยตัวอาคารสองชั้นตัวตึกประกอบด้วยไม้ หลังคาจั่วและปั้นหยา ตัวอาคารทาด้วยสีเหลือง ตัดกับโครงสร้างสีน้ำตาลเข้ม หน้าต่างโค้งมีลายฉลุสวยงาม ประตูหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตูหน้าต่างและหน้าช่องจำหน่ายตั๋วประดับด้วยไม้ฉลุลายพรรณพฤกษามีความงดงามอ่อนช้อยประณีตละเอียดอ่อน |
|
Back to top |
|
|
|