RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311898
ทั่วไป:13571287
ทั้งหมด:13883185
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - พิษณุโลก อยากมีรถไฟฟ้ากะเขา
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

พิษณุโลก อยากมีรถไฟฟ้ากะเขา
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2017 6:57 pm    Post subject: พิษณุโลก อยากมีรถไฟฟ้ากะเขา Reply with quote

พิษณุโลก อยากมีรถไฟฟ้ากะเขา
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1337957776258525&id=905750532812587
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2017 12:34 am    Post subject: Reply with quote

พิษณุโลก เคาะเส้นทางขนส่งมวลชน 5 สาย
9 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.01 น.
เทศบาลนครพิษณุโลก เดินหน้าจัดประชุมรับฟังความเห็นประชาชนหาแนวทางให้บริการระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก 5 เส้นทาง ดันพิษณุโลก เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน อาทิตย์ที่

แนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะหลักของเมืองพิษณุโลก การออกแบบเบื้องต้นมี 5 สายทาง
เพื่อระดมความคิดเห็นประชาชนในการประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่เร็วๆนี้

บทความเรียบเรียงโดย พิชิต ขอผล หัวหน้าฝ่ายผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
9 มิถุนายน 2560
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1351265224927780&id=905750532812587

คณะที่ปรึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก สำนักงานนโยบายและแผนการขขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดยอาจารย์บุญพล มีชัยโย ลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม และประสานแผนงานโครงการ ข้อมูล ข้อคิดเห็น กับฝ่ายผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก แนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะหลักของเมือง การออกแบบเบื้องต้นมี 5 สายทาง เพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่เร็วๆนี้

1. สายสีแดง ขนส่ง2 – เรือนแพ – ขนส่ง1 – วัดใหญ่ – บ้านคลอง – เซ็นทรัล ระยะทาง 12 กม.
2. สายสีน้ำเงิน เต็งหนาม – สถานีรถไฟ – โรงพยาบาลพุทธ – รามา – แม็คโคร – สามแยกต้นหว้า ระยะทาง 11.5 กม.
3. สายสีส้ม มหาวิทยาลัยนเรศวร – สามแยกต้นหว้า – บ้านคลอง – เซ็นทรัล ระยะทาง 15.5 กม.
4. สายสีเขียว สนามบิน – โรงพยาบาลพุทธ – สถานีรถไฟ – แยกเรือนแพ – ขนส่ง1 – ขนส่ง2 ระยะทาง 15 กม.
5. สายสีชมพู วัดใหญ่ – ท็อปแลนด์ – โคกมะตูม – ค่ายนเรศวร – ตลาดทรัพย์อนันต์ – โรงพยาบาลพุทธ – สถานีรถไฟ – วัดคูหาสวรรค์ ระยะทาง 7.5 กม.

ในการออกแบบระบบขนส่งสาธารณะหลักเพื่อรองรับการเติบโตของเมืองให้เราใช้ไปอีก 20 ปี รถรางไฟฟ้า(Tram) จะเป็นจุดพลิกผันการพัฒนาเมืองให้เติบโตอย่างมาก แต่ประชาชนชาวพิษณุโลกต้องหันหน้ามาช่วยกันคิด/ทำ ต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นในอนาคต เขตทาง กฏระเบียบจราจร ฯ เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในตอนนี้

ระบบขนส่งสาธรณะรองเชื่อมระบบหลัก ที่มีอยู่แล้วต้องพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เทคโนโลยีใหม่ๆเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย งานบริการที่ดียิ่งขึ้น เส้นทางเดินรถให้รองรับเชื่อมโยงที่ครอบคลุม 23 ศูนย์เศรษฐกิจในเขตเมือง 15 ศูนย์เศรษฐกิจรายอำเภอ (ตาม #ยุทธศาสตร์พิษญุโลก2020 โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลก) และจังหวัดรอบข้างจังหวัดพิษณุโลก.

ฝ่ายผังเมือง อบจ.พิษณุโลกฝากเพิ่มเติมข้อมูลกับที่ปรึกษาคือเพิ่มเติมพื้นที่ศูนย์บริการชุมชนชนบท จำนวน 27 แห่ง ทั่วทั้งจังหวัด(พิจารณาจากชุมชนที่มีประชากรประมาณ 1,000 ครัวเรือน) เพื่อการเชื่อมการเดินทางของเมืองและชนบทโดยการใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างเป็นระบบ. ร่วมทั้งการทำงานร่วมกันของ ราชการส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น เทศบาล อบต. อบจ. และองค์การภาคเอกชน เพื่องรองรับการทำงานร่วมกันเพื่ออนาคตของจังหวัดพิษณุโลกต่อไป

นายบุญทรง กล่าวต่อว่า สำหรับรูปแบบระบบขนส่งสาธารณะยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเป็นรถเมล์ด่วนพิเศษ(บีอาร์ที)หรือรถไฟฟ้าขนาดเบา แต่จากการประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละสายพร้อมตอบข้อซักถามและข้อเสนอแนะของภาคประชาชน มีข้อเสนอเพิ่มเติม ดังนี้

1.ในเส้นทางสายสีแดงบนถนนสาย 12 (พิษณุโลก-หล่มศักดิ์) เขตทางกว้างจะวางรางรถไฟฟ้าระดับดินหรือแทรมกลางถนน มีช่องทางเฉพาะทำให้การเดินรถรวดเร็วควบคุมเวลาได้ 2.ในเส้นทางสายสีชมภู และสายสีน้ำเงินเขตทางแคบถ้าใช้ระบบแทรมต้องวางรางฝั่งเดียวและจัดเดินรถวันเวย์ หรือแชร์เลน และ
3.มีข้อเสนอให้ต่อขยายเส้นทางออกไปเชื่อมชุมชนให้มากขึ้นในหลายทิศทางของเมืองและรองรับการขยายตัวในอนาคต เช่น มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎทะเลแก้วซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่ในชุมชน เพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนเมืองพิษณุโลกสะดวกสบายยิ่งขึ้นลดความแออัดและลดปัญหารถติด อีกทั้งรองรับความเจริญเติบโตของจังหวัดพิษณุโลกเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นเมืองศูนย์กลางตามยุทธศาสตร์ “พิษณุโลก2020” เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีน ...
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1351265224927780&id=905750532812587


Last edited by Wisarut on 25/06/2020 3:32 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/06/2017 9:32 am    Post subject: Reply with quote

จังหวัดไหนๆ ก็อยากมีนะครับ สงสัยคงอั้นมานาน หรือนโยบายสมัยก่อนกำหนดจากส่วนกลางก้ไม่รู้ ?

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คนในท้องถิ่นทุกระดับต้องร่วมใจกันเต็มที่ด้วย ไม่ใช่ว่าอยากได้แต่ขัดกันด้วยข้อขัดข้องหลากประการก็ไร้ประโยชน์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2017 1:12 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะหลักของเมืองพิษณุโลก การออกแบบเบื้องต้นมี 5 สายทาง
เพื่อระดมความคิดเห็นประชาชนในการประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่เร็วๆนี้

บทความเรียบเรียงโดย พิชิต ขอผล หัวหน้าฝ่ายผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
9 มิถุนายน 2560
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1351265224927780&id=905750532812587


เพิ่งได้ข่าวจากฐานเศรษฐกิจ ว่า มีรถไฟฟ้า LRT แค่สายเดียวคือสายแดงนอกนั้น จะเป็นรถเมล์แบบบีอาร์ที เท็จจริงประการใดครับ?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2017 10:55 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นเคาะบีอาร์ที-รถรางไฟฟ้า ขนส่งสาธารณะพิษณุโลก
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2560 เวลา 15.51 น.

สนข. เร่งหาข้อสรุปเลือกระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก รอลุ้นเลือก บีอาร์ที-รถรางไฟฟ้า

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แจ้งว่า ภายในเดือน ส.ค. นี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบระบบ ขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลกจะส่งรายงานฉบับกลางสรุปรูปแบบการเลือกระบบขนส่งสาธารณะว่าจะเป็นรถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) หรือรถไฟฟ้าขนาดเบา (แทรม) รวมทั้งข้อสรุปในการออกแบบ 5 สายทางประกอบด้วย 1.สายสีแดงขนส่ง2 – เรือนแพ – ขนส่ง1–วัดใหญ่ – บ้านคลอง – เซ็นทรัลระยะทาง12 กม. 2.สายสีน้ำเงิน เต็งหนาม – สถานีรถไฟ–รพ.พุทธ – รามา– แม็คโคร – สามแยกต้นหว้า 11.5 กม.

3.สายสีส้ม มหาวิทยาลัยนเรศวร – สามแยกต้นหว้า– บ้านคลอง– รร.ท็อปแลนด์– สถานีรถไฟ– มหาวิทยาลัยราชภัฏ(วังจันทน์) 15.5กม.4.สายสีเขียว สนามบิน – รพ.พุทธ– สถานีรถไฟ – แยกเรือนแพ–ขนส่ง1 – ขนส่ง2 ระยะทาง15 กม. และ5.สายสีชมพู วัดใหญ่ – ท็อปแลนด์–โคกมะตูม – ค่ายนเรศวร– ตลาดทรัพย์อนันต์– รพ.พุทธ– สถานีรถไฟ– วัดคูหาสวรรค์ 7.5กม. นอกจากนี้จะสรุประบบการเดินรถ อาทิ เดินรถบนดินแบบวิ่งแชร์เลนร่วมกับรถอื่นบนถนนหรือเลนวิ่งเฉพาะ 1 ช่องจราจรด้านซ้ายสุดของถนน

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า จากนั้น สนข. จะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการดังกล่าวพิจารณาเลือกระบบขนส่งสาธารณะการเดินรถ และโครงข่าย ที่เหมาะสมกับเมืองพิษณุโลกต่อไปเมื่อได้ข้อสรุปดังกล่าวแล้ว ที่ปรึกษาต้องไปออกแบบรายละเอียดเส้นทางระบบการเดินรถ สถานีหรือจุดจอด การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหรือจุดจอดรวมทั้งการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (ไอทีเอส) ที่นำมาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการระบบในการเดินรถมากขึ้นเพื่อจูงใจให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเดินทางจากการใช้รถส่วนตัวมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะและรูปแบบการลงทุนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2017 4:05 pm    Post subject: Reply with quote

สมคิด บี้ลงทุนคมนาคม อีอีซี-รถไฟฟ้าภูมิภาค 4 จังหวัด เสนอสร้างเพิ่มอีก 2 คืออุดรฯและพิษณุโลก
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 - 14:43 น.

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและติดความก้าวหน้าโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม ว่า ขณะนี้โครงการลงทุนมีความคืบหน้าดีมาก โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่เริ่มส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้อันดับความสะดวกในการทำธุรกิจของไทยปรับตัวดีขึ้น

ทั้งนี้ รัฐบาลมีเวลาในการทำงานอีก 1 ปี จึงสั่งการให้ สนข. จัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนทั้งหมด โดยให้นำโครงการที่ลงทุนที่เกี่ยวข้องอีอีซีขึ้นมาทำเป็นลำดับแรก คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ศูนย์ซ่อมอากาศยานของบมจ.การบินไทย และโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 โดยจะต้องมีการประมูลทั้งหมดก่อนสิ้นปี 2561 สำหรับโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินคาดว่าจะประกาศทีโออาร์ได้ก่อนปลายปีนี้ ส่วนศูนย์ซ่อมและท่าเรือ จะประกาศทีโออาร์ได้ก่อนสิ้นไตรมาสแรกปี 2561 เพื่อให้ได้ตัวผู้รับเหมาและเริ่มก่อสร้างต่อไป

สำหรับโครงการลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ถือว่าคืบหน้าดีมาก โดยเฉพาะทางคู่เฟส 1 จำนวน 7 เส้นทาง เปิดประมูลครบแล้ว และจะเริ่มดำเนินการเปิดประมูลเฟสที่ 2 อีก 9 เส้นทาง ซึ่งเป็นไปตามแผน ส่วนโครงการรถไฟไทยจีนนั้น มั่นใจว่าภายใน พ.ย.หรือต้น ธ.ค. นี้ จะเริ่มก่อสร้างได้ รวมทั้งกระทรวงคมนาคมยังอยู่ระหว่างศึกษาเส้นทางต่อขยายจากนครราชสีมาไปยังหนองคายอีกด้วย

ส่วนงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นั้น กำชับให้เร่งโครงการรถไฟฟ้าในภูมิภาค 4 จังหวัด คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น และนครราชสีมา เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่แออัดในเมืองใหญ่ และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดอีกด้วย


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้นำเสนอแอคชั่นแพลนปี 2561 ในที่ประชุม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการขับเคลื่อนต่อเนื่องจากปี 2559 , 2560 และโครงการใหม่ปี 2561 รวมทั้งสิ้น 51 โครงการ วงเงินลงทุน 2.39 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นงบต่อเนื่องจากปี 2559 วงเงิน 1.27 ล้านล้านบาท, ปี 2560 วงเงิน 1.02 ล้านล้านบาท และงบประมาณใหม่ในปี 2561 วงเงิน 1.03 แสนล้านบาท โดยในปี 2561 มีโครงการลงทุนใหม่รวม 8 โครงการ วงเงินรวม ทั้งสิ้น 8 โครงการ วงเงิน 1.03 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการต่อขยายทางยกระดับโทลล์เวย์ จากรังสิต-บางปะอิน, มอเตอร์เวย์ ธนบุรีปากท่อ-มหาชัย, โครงการขยายสนามบินกระบี่และขอนแก่น, ท่าเรือบก จ.ขอนแก่น, รถไฟฟ้าภูเก็ต, รถไฟฟ้านครราชสีมา, รถไฟฟ้าเชียงใหม่ และรถไฟฟ้าขอนแก่น

ทั้งนี้ นายสมคิด กำชับให้กระทรวงคนนาคมเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าภูมิภาค 4 เส้นทาง เพื่อให้สามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ภายในปี 2561 เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาความแออัดในภูมิมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดดังกล่าว รวมทั้งเสนอให้กระทรวงศึกษาก่อสร้างรถไฟฟ้าในจังหวัดอุดรธานีเป็นการเพิ่มเติม ขณะที่กระทรวงเตรียมเสนอก่อสร้างเพิ่มเติมที่พิษณุโลก เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

นายอาคม กล่าวต่อถึง การเร่งพัฒนาโครงข่ายสนามบิน กรณีที่ บมจ. ท่าอากาศยานไทย เสนอขอเข้าบริหารสนามบินภูมิภาคของกรมท่าอากาศยาน(ทย.)จำนวน 15 สนามบิน จากทั้งหมด 29 สนามบินว่า ขณะนี้สนามบินทั้ง 29 แห่งของ ทย.สามารถบริหารได้ดีเริ่มมีกำไร ดังนั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการให้ ทอท. เข้ามาบริหาร เบื้องต้นนายสมคิด เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมหาข้อสรุปให้ได้ภายในเดือยพ.ย. นี้

“รองนายกฯสมคิด ให้หลักการไว้ว่าต้องการให้ทอท. ทำหน้าที่ในการพัฒนาสนามบินในภูมิภาคเพื่อให้เกิดเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา ทอท. มีฮับทางด้านเหนือและใต้ และแต่ยังไม่มีฮับด้านตะวันตก และตะวันออก เราอาจจะจำเป็นต้องยกให้ทอท. เข้ามาบริหารสนามบินทย. ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออก”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2018 1:48 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะแล้ว! โมเดลแก้จราจร”พิษณุโลก”ผุดระบบรถผสมผสานลงทุน3พันล้าน เร่งศึกษา”บึงกาฬ”รับเมืองโต
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:36 น.
นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองพิษณุโลก และการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญและจัดให้เมืองพิษณุโลก เป็น 1 ใน 6 เมืองหลักในภูมิภาค มีเชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ต และหาดใหญ่

ที่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาการขนส่งและจราจรอย่างเร่งด่วนภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยปี 2558 – 2565 ของกระทรวงคมนาคม ที่กำหนดให้มีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองหลัก

จึงได้มอบหมายให้ สนข.ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก เพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้เกิดการเชื่อมต่อ และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่สำคัญต่างๆ

รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองพิษณุโลกให้มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลแผนยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งต้องสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเมืองแห่งอนาคตของเมืองพิษณุโลก (พิษณุโลก 2020) จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ลดการใช้และนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศและแก้ไขปัญหาการจราจรได้อย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบ
ด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด

โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 14 เดือน (ธ.ค. 59 – มี.ค. 61) โดยที่ผ่านมา สนข. ได้มีการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาแล้ว 2 ครั้ง จากผลการศึกษาพบว่าระบบการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมกับเมืองพิษณุโลก ได้แก่ ระบบรถผสมผสาน Auto Tram, Artculated Bus, Regular Bus, Micro Bus และ VIP Bus รวมทั้งแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ เงินลงทุนรวม 3,250 ล้านบาท

ประกอบด้วย ระยะที่ 1 เปิดให้บริการ 6 เส้นทาง มีระยะทางรวม 83.5 กิโลเมตร และมีสถานีทั้งหมด 105 สถานี ใช้เงินลงทุน 2,607 ล้านบาท และในระยะที่ 2 จะเปิดให้บริการอีก 5 เส้นทาง มีระยะทางรวม 30.1 กิโลเมตร และมีสถานีทั้งหมดรวม 42 สถานี ใช้เงินลงทุน 643 ล้านบาท มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพ 3 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 1 สถานีขนส่งพิษณุโลกแห่งที่ 2 และห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัสท่าทอง

นอกจากนี้มีจัดรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 การศึกษาสำรวจข้อมูลด้านการขนส่งและจราจรเพื่อจัดทำแผนแม่บทในเมืองภูมิภาค จ.บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีเขตแดนติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นระยะทาง 330 กม. โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน และมีจุดผ่านแดนถาวร 1 จุด คือ ด่านศุลกากรบึงกาฬ ตรงข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันการลงทุน และการท่องเที่ยวซึ่งครอบคลุม แนวชายแดนไทย ลาว และเวียดนาม เนื่องจากบึงกาฬเป็นจังหวัดที่เพิ่งจัดตั้งขึ้น จึงยังไม่มีแผนแม่บทด้านการขนส่งและจราจร สนข. จึงได้ดำเนินการศึกษาสำรวจข้อมูลด้านการขนส่งและจราจรเพื่อจัดทำแผนแม่บทในเมืองภูมิภาค จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมรองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าของบึงกาฬในอนาคต

นางวิไลรัตน์กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนครอบคลุมปัญหาทุกระยะ โดยในระยะยาวต้องวางรากฐาน เพื่อความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและคมนาคม ส่งเสริมบทบาท และการใช้โอกาสของประเทศไทยในประชาคมอาเซียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) ที่กำหนดวิสัยทัศน์ให้ “ประเทศไทย มีความมั่นคง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มีแนวทางการพัฒนาเมืองให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ กระจายความเจริญและโอกาสทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง ให้เมืองในภูมิภาค เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับคนทุกกลุ่มในสังคม

สนข.จะวางแผนบูรณาการระดับแผนงานโครงการ สำหรับการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง ส่งเสริมการค้าชายแดน เส้นทางการท่องเที่ยวภายในจังหวัด ระหว่างจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง และเส้นทางเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การบริหารจัดการโลจิสติกส์ และการเดินทางให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด

โดยท้ายที่สุดจังหวัดบึงกาฬจะมีแผนการแก้ไขปัญหา และการจัดการจราจรเฉพาะหน้าระยะเร่งด่วน แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในระยะยาว แผนแม่บทด้านการขนส่งและจราจรที่นำแนวคิดการพัฒนาเมืองในอนาคต (Future City) เพื่อวางรากฐานการเจริญเติบโตของจังหวัดบึงกาฬ และป้องกันการเกิดปัญหาจราจร เพื่อให้จังหวัดบึงกาฬเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย น่าอยู่ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รวมทั้งมีแผนปฏิบัติการด้านการขนส่งและจราจรที่มีการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานโครงการ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการปฏิบัติงานต่อไปในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2018 10:19 am    Post subject: Reply with quote

หน้าแรก
ขานรับขนส่งสาธารณะเมืองสองแคว
ข่าว เศรษฐกิจ-นวัตกรรมขนส่ง
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 19.36 น.

ชาวพิษณุโลก ขานรับระบบขนส่งสาธารณะเมืองสองแคว ด้านพ่อเมืองฝาก 3 ประเด็นหลักต้องชัด เพื่อขับเคลื่อนโครงการเดินต่อได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ณ โรงแรม ท็อปแลนด์พลาซ่า จ.พิษณุโลก นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผวจ.พิษณุโลก พร้อมด้วย นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และประชาชน เข้าร่วมการสัมมนา

นางวิไลรัตน์ เปิดเผยว่า การสัมมนาครั้งนี้นายภัคพงศ์ ผวจ.พิษณุโลกได้ฝาก 3 ประเด็น ได้แก่ 1.ที่ปรึกษาโครงการต้องมองการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุมทุกรูปแบบและเชื่อมโยงทุกระบบ 2.หน่วยงานที่ดำเนินการต่อหลังจากจบการศึกษาหน่วยงานไหนจะเป็นผู้ดำเนินโครงการ เพื่อให้โครงการเดินต่อไปได้ และ 3.กรอบระยะเวลาดำเนินการต้องชัดเจน เช่น ระยะการก่อสร้าง และเปิดให้บริการ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และเตรียมตัวล่วงหน้า ด้านประชาชนขานรับโครงการดังกล่าวอย่างดี และเห็นด้วยทั้งระบบและแนวเส้นทางของระบบขนส่งสาธารณะ แต่ยังกังวลเรื่องการจัดจราจร และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลังจากสัมมนาครั้งนี้ ที่ปรึกษาต้องส่งรายงานฉบับสัมบูรณ์ให้ สนข. ในเดือนมี.ค. 61 เพื่อให้นำเสนอกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ ซึ่งอาจจะเป็นการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อศึกษารายละเอียดออกแบบและรูปแบบการลงทุนต่อไป ขณะที่ท้องถิ่นมีความพร้อมในการบริหารจัดการ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ

นางวิไลรัตน์  กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวได้ดำเนินจัดการแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ครอบคลุมระยะเวลา 30 ปี 8 เส้นทาง ระยะทาง 113.15 กม. มูลค่าลงทุนทั้ง 2 ระยะรวม 13,611 ล้านบาท แบ่งการดำเนินการ 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ปี 65-73 มี 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 83.05 กม. มูลค่าช่วงก่อสร้าง 2,607 ล้านบาท มูลค่าช่วงเปิดให้บริการ  8,190 ล้านบาท ได้แก่ เส้นทางที่ 1 สายสีแดง เริ่มต้นจาก ม.พิษณุโลกสิ้นสุดเซ็นทรัลพลาซ่า ระยะทาง 12.6 กม. จำนวน 15 สถานี ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบาแบบล้อยาง (Auto Tram) เส้นทางที่ 2 สายสีน้ำเงิน 2ก/สายสีน้ำเงิน 2ข เริ่มต้นจากแยกเต็งหนาม สิ้นสุดที่แยกต้นหว้า/โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ระยะทาง 11.4 / 13.4 กม. จำนวน 21 /  23 สถานี ใช้ระบบรถโดยสารสาธารณะธรรมดา (Regular Bus)

นางวิไลรัตน์ กล่าวอีกว่า เส้นทางที่ 3 สายสีส้ม 3ก/ 3ข เริ่มต้น ม.นเรศวร/ ร.ร.พิษณุโลกพิทยาคม สิ้นสุดสถานีรถไฟ  ระยะทาง 19.25 / 15.55 กม. จำนวน 25 / 20 สถานี ใช้ระบบรถโดยสารสาธารณะธรรมดา หรือรถโดยสารสาธารณะแบบพ่วง 2 ตอน (Articulated Bus) เส้นทางที่ 4 สายสีม่วง 4ก / 4ข เริ่มต้นเซ็นทรัลฯ / ม.ราชภัฎพิบูลสงคราม สิ้นสุดเคหะพิษณุโลก ระยะทาง 8.3 / 13.6 กม. จำนวน 15 / 15 สถานี ใช้ระบบรถโดยสารสาธารณะธรรมดา เส้นทางที่ 5 สายสีชมพูวนซ้าย / สายสีชมพูวนขวา  เริ้มต้นแยกโคกมะตูม / แยกเรือนแพ สิ้นสุดแยกโคกมะตูม / แยกเรือนแพ ระยะทาง 6.9 กม. / 8.6 กม. จำนวน 14 / 17 สถานี ใช้ระบบรถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และเส้นทางที่ 6 สายสีเขียว เริ่มต้นสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 สิ้นสุดสนามบินพิษณุโลก ระยะทาง 15.6 กม. 7 สถานี ใช้ระบบรถโดยสารสาธารณะแบบพิเศษใช้ในเส้นทางเชื่อมสนามบิน (VIP Bus)

 นางวิไลรัตน์ กล่าวด้วยว่า ส่วนระยะที่ 2 ปี 74-84  มี 2 เส้นทาง  และ 3 ส่วนต่อขยาย ระยะทางรวม 30.1 กม. มูลค่าช่วงก่อสร้าง 643 ล้านบาท มูลค่าช่วงเปิดให้บริการ 2,171 ล้านบาท ประกอบด้วย เส้นทางที่ 7 สายสีเทา เริ้มต้นแยกวัดคูหาสวรรค์ สิ้นสุดแยกโพธิญาณ ระยะทาง 10.7 กม. 14 สถานี ใช้ระบบรถโดยสารสาธารณะธรรมดา เส้นทางที่ 8 สายสีเหลือง เริ่มต้น ม.ราชภัฎพิบูลสงคราม สิ้นสุดแยกบึงพระจันทร์ ระยะทาง 9.2 กม. 17 สถานี ใช้ระบบรถโดยสารสาธารณะธรรมดา สำหรับส่วนต่อขยายสายสีแดง เริ่มต้นเซ็นทรัลพลาซ่า สิ้นสุดบ้านกร่าง ระยะทาง 5.6 กม. 3 สถานี ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน เริ่มต้นแยกเต็งหนาม สิ้นสุดแยกแสงดาว ระยะทาง 2.9 กม. 5 สถานี และส่วนต่อขยายสายสีม่วง เริ่มต้นเคหะพิษณุโลก สิ้นสุดสถานีรถไฟบึงพระ ระยะทาง 2.2 กม. 3 สถานี สำหรับอัตราค่าโดยสารทั้ง 2 ระยะ แบ่งเป็น 3 แบบ อาทิ ค่าโดยสารพิเศษ สำหรับเด็ก คนชรา และผู้พิการ 10 บาท ค่าโดยสารคนพิษณุโลกบัตรเฉพาะ 20 บาท และนักท่องเที่ยวและคนทั่วไป 30 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2018 7:18 am    Post subject: Reply with quote

เร่งรถไฟ5เมืองหลักหนุนเศรษฐกิจภูมิภาค
กรุงเทพธุรกิจ 22 ก.พ. 61
นโยบายเศรษฐกิจ

คจร.สั่งการทางพิเศษเดินหน้าศึกษาทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ รองรับการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แก้ปัญหาจราจรแยกเกษตร รับทราบความคืบหน้ารถไฟฟ้า 10 สาย ในกทม.เปิดบริการได้ทั้งหมดปี68 สมคิด สั่งเดินหน้ารถไฟฟ้า 5 จังหวัดใหญ่ สร้างความเจริญให้ภูมิภาค

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วานนี้ (21 ก.พ.) ว่าที่ประชุมได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เดินหน้าศึกษาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่3ตอนN2เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก และให้รองรับกับการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายที่ 11ของ กทม.โดยโครงการทางด่วนเส้นทางนี้เป็นโครงการที่จำเป็นเพื่อเชื่อมให้เส้นทางคมนาคมจากวงแหวนตะวันตก-วงแหวนตะวันออก เชื่อมถึงกันและลดปัญหาจราจรแออัดบริเวณแยกเกษตรได้

ทั้งนี้ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการก่อสร้างตามแผนแม่บทการพัฒนารถไฟฟ้าซึ่งจากทั้งหมด10สาย ที่เปิดการเดินรถไปแล้ว 3 สายรวม 170กิโลเมตร (กม.) และระหว่างนี้อยู่ระหว่างทยอยเปิดประมูลและก่อสร้าง ซึ่งเมื่อครบทั้ง 10 เส้นทางตามแผนแม่บทจะทำให้ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีโครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุม 460 กม. และหากรวมกับสายสีน้ำตาล(แคราย-บึงกุ่ม) ที่ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาเป็นสายที่ 11 โครงข่ายรถไฟฟ้าจะมีระยะทางรวม 480 กม.

โครงข่ายรถไฟฟ้าทั้ง11สาย ที่จะทยอยเปิดใช้แต่ละช่วงหลังจากนี้ถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้บริการของประชาชนในกรุงเทพฯ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีระบุว่า งานก่อสร้างต้องดูแลให้เกิดความสอดคล้องเพราะทั้งหมดเป็นโครงข่ายหากเกิดปัญหาจุดไหนต้องรีบแก้ไข และเมื่อกรุงเทพฯ เพียงพอแล้วหลังจากนี้ต้องเร่งการลงทุนระบบขนส่งในภูมิภาคอย่างเร่งด่วน นายไพรินทร์ กล่าว
สำหรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในเมืองภูมิภาค โดยเฉพาะในจังหวัดขนาดใหญ่รวม 5 จังหวัดได้แก่

1.จังหวัดขอนแก่น ซึ่งพบว่าระบบที่เหมาะสมกับเมืองขอนแก่น ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT)ที่รูปแบบการลงทุนนั้นรัฐจะเวนคืนที่ดินแล้วให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งงานระบบและจัดหาตัวรถตลอดจนงานดำเนินการและบำรุงรักษา เส้นทางที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการนำร่อง ได้แก่ เส้นทางในแนวเหนือ-ใต้ (บ้านสำราญต.สำราญ-ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น) ระยะทางประมาณ22.8กม.

2.โครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต (โครงการรถไฟฟ้า รางเบาจังหวัดภูเก็ต) ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาโครงการดังกล่าว ซึ่งระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit หรือTramway) เป็นระบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับจังหวัดภูเก็ตคาดว่าจะแล้วเสร็จและดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในปี 2561

3.แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจ.เชียงใหม่ โดยที่ประชุมอนุมัติ และเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการในขั้นตอนการลงทุนและการก่อสร้างโครงการ เป็นไปได้ 3รูปแบบคือ รัฐลงทุน 100% เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน(พีพีพี)โดยรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนงานระบบเครื่องกลและระบบไฟฟ้า และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า และเปิดพีพีพีรัฐร่วมเอกชนจัดตั้งบริษัท และระดมทุน

4.โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาโครงการดังกล่าว โดยเทคโนโลยีระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสม กับแนวเส้นทาง และมีความเป็นไปได้มี 3 รูปแบบ ได้แก่ รถโดยสารขนาดปกติ (Regular Bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และรถรางล้อยาง (Auto Tram)

5.โครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา ที่ประชุมได้มีการพิจารณาผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา โดยระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit, LRT)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/02/2018 10:00 am    Post subject: Reply with quote

โคราช-ขอนแก่น-ระยอง ร้องว๊าว!ได้นั่งรถไฟฟ้า
เดลินิวส์ อังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้ชาวโคราช-ขอนแก่น-ระยอง เตรียมร้องว๊าว!! ต่อคิวรอได้นั่งรถไฟฟ้าเหมือนคนกรุง ส่วนอุดรฯ รอลุ้น!! แต่ชาวสองแควโหนรถเมล์รอไปก่อน ไปดูสิว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่??

สัปดาห์ที่แล้วพาไปอัพเดท “โครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด” ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษารายละเอียดเสร็จแล้ว เริ่มจากใต้สุด...โมโนเรลหาดใหญ่ จ.สงขลา และรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต รวมทั้งขึ้นเหนือไปสแกนรถไฟฟ้ารางเบา จ.เชียงใหม่กันแล้ว

สัปดาห์นี้จะพาไปส่องความคืบหน้ารถไฟฟ้าภาคอีสานและภาคกลางกัน ล่าสุดการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล รับทราบโครงการศึกษาแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา

ที่ได้ข้อสรุปว่า...ระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม คือระบบรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทาง ได้แก่ สีเขียว สีส้ม และสีม่วง ระยะทางรวม 70 กม. รวม 75 สถานี แบ่งเป็น 2 ระยะ (เฟส) เฟสแรกสายสีเขียวพร้อมสายสีส้ม และเฟส 2 สายสีม่วง ให้ดำเนินการหลังสายสีเขียวและสีส้มเปิดให้บริการแล้ว 3 ปี

พร้อมพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหรือจุดจอดของระบบขนส่งสาธารณะ 2 แห่ง ได้แก่ ย่านสถานีรถไฟนครราชสีมา และสถานีขนส่งผู้โดยสาร จ.นครราชสีมา แห่งที่ 2 โดยให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พิจารณารูปแบบการลงทุนและการก่อสร้างน่าจะตอกเสาเข็มได้ในปี 62 ใช้เวลา 3 ปี เปิดบริการปี 65

โดย “สายสีเขียว” เส้นทางชลประทาน-สำนักงานขนส่ง2 มี 34 สถานี ระยะทาง 30 กม., “สายสีส้ม” เส้นทางดูโฮม-รพ.ป.แพทย์ 22 สถานี 20 กม. และ “สายสีม่วง” เส้นทางตลาดเซฟวัน-ค่ายสุรนารายณ์ 22 สถานี 20 กม.วงเงินลงทุน 32,000 ล้านบาท

ต่อด้วย รถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น ที่ประชุม คจร. รับทราบผลการศึกษาโครงการฯ รูปแบบการลงทุนรัฐเวนคืนที่ดินแล้วให้เอกชนร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน งานระบบและจัดหาตัวรถ งานดำเนินการและบำรุงรักษา สำหรับเส้นทางที่เหมาะสมนำร่อง คือเส้นทางแนวเหนือ - ใต้ (บ้านสำราญ ต.สำราญ - ต.ท่าพระ อ.เมืองขอนแก่น) ระยะทาง 22.8 กม.

ล่าสุดบริษัท ขอนแก่นทรานซิทซิสเต็มจำกัด (เคเคทีเอส) ผู้บริหารโครงการฯ จะเข้าพบ รมว.มหาดไทย หรือ มท.1 เพื่อหารือการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะการขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าว 200 ไร่ มาพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง และพื้นที่เชิงพาณิชย์หลังเข้าพบ รมว.เกษตรและสหกรณ์ขอใช้พื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าว 200 ไร่ไปแล้ว วางแผนเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ หรืออย่างช้าปี 62 เปิดบริการปี 63

ส่วนรูปแบบการลงทุนจะจ้างเอกชนบริหารการเดินรถมีเคเคทีเอสเป็นผู้กำกับดูแล ออกนโยบายและบริหารภาพรวม สำหรับเคเคทีเอส ท้องถิ่นได้ผลักดันให้เกิดขึ้นมาจากการจดทะเบียนจัดตั้งจาก 5 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลสำราญ เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลตำบลเมืองเก่า และเทศบาลตำบลท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

นอกจากนี้ คจร. ยังรับทราบผลการศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก ที่มีความเป็นไปได้ใน 3 รูปแบบ ได้แก่ รถโดยสารขนาดปกติ (Regular Bus) รถโดยสารขนาดเล็ก (Micro Bus) และรถรางล้อยาง (Auto Tram) อัตราค่าโดยสารสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้สูงอายุและผู้พิการ 10 บาท ประชาชนทั่วไป 20 บาท และนักท่องเที่ยว 30 บาท

มีแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี 3 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารพิษณุโลก แห่งที่ 1 ขนาด 6 ไร่ รองรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ศูนย์การค้าโลตัส ท่าทอง ขนาด 25 ไร่ รองรับกิจกรรมที่พักอาศัยเป็นหลัก และสถานีขนส่งผู้โดยสารพิษณุโลก แห่งที่ 2 ขนาด 50 ไร่ รองรับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ การบริการขนส่งสาธารณะและบริการด้านโลจิสติกส์

สนข. จะไปศึกษารายละเอียดแนวเส้นทางเพิ่มเติม แต่แน่นอนแล้วว่า...ชาวสองแควที่รอรถไฟฟ้าก็ต้องทำใจว่า... “รถไฟฟ้ายังไม่ไปหานะเธอ” ต้องใช้รถ 2 แถวและรถเมล์ไปก่อนในรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น

นอกจากนี้ สนข. อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองอุดรธานี แต่ยังไม่ตกผลึกว่าจะเป็น ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ระบบรถโดยสารสาธารณะ (มินิบัส) รถรางเบาล้อยาง หรือรถโดยสารด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปีนี้...ชาวอุดรฯ ต้องลุ้นว่าจะได้นั่งรถไฟฟ้าหรือไม่?!?

ปิดท้ายกับภาคกลางที่ จ.ระยอง ทำเลทองของ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ “อีอีซี” อภิมหาโปรเจกต์ของรัฐบาล นอกจากชาวระยองฮิ!! จะได้ร้องว้าวว...กับ รถไฟฟ้าเชื่อม3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภาแล้ว

ล่าสุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี ยังวิจัยพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (ทีโอดี) ในเขตเทศบาลนครระยอง ผลการศึกษามี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.รถรางไฟฟ้า (LRT) โครงข่ายสายสีแดง เส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี ระยะทาง 23 กม.มี 18 สถานี

ใช้แนวเกาะกลางถนนสุขุมวิทตลอดสาย เงินลงทุน 17,000 ล้านบาท ค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท ต่อไปคิด 1.8 บาท/กม. หรือจากต้นทาง-ปลายทาง 15-56 บาท ใช้เวลา 3 ปี เริ่มก่อสร้าง 62-64 เปิดบริการปี 65

2.รถไฟฟ้าล้อยาง (Trolley Bus) โครงข่ายสายสีแดง เส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี 23 กม. วิ่งบนถนนสุขุมวิทตลอดแนวเส้นทาง ใช้เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท และ 3.รถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (ชัตเติ้ลบัส) แบบเส้นทางเฉพาะ (Exclusive Lane) โครงข่ายสายสีแดง เส้นทางสถานีห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี 23 กม. ตามแนวถนนสุขุมวิท ใช้เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท

ผลการศึกษาชี้ชัดว่า... “โครงข่ายสายสีแดง” เหมาะที่จะใช้ระบบรถรางไฟฟ้ามากที่สุด เนื่องจากคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ช่วยประหยัดเวลาเดินทาง จากปกติใช้รถยนต์ราว 1 ชม. ถึงจุดหมาย หากใช้รถไฟฟ้ารางเบาจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ประหยัดได้ถึงครึ่ง คือ 30 นาที

นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายการเดินทางและช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนด้วย แต่การลงทุนรถรางไฟฟ้าอาจขาดทุน รัฐบาลควรช่วยสนับสนุนโครงการให้เดินหน้าไปได้ ทั้งนี้จะสรุปรายงานฉบับสมบูรณ์ภายในเดือน มี.ค. นี้เพื่อนำผลการศึกษาเสนอสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ให้ทุนวิจัยโครงการนำเสนอเทศบาลนครระยองและเสนอผู้บริหารจังหวัดช่วยกันผลักดันต่อไป

ฝันของคนต่างจังหวัดได้นั่ง “รถไฟฟ้า”...สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยเหมือนคนกรุงเทพฯ คงไม่ไกลเกินเอื้อม...
…..........................................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©