View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44636
Location: NECTEC
|
Posted: 01/06/2017 11:07 am Post subject: |
|
|
ประกาศร่าง TOR ประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยงาน : ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง
ชื่อเรื่อง : โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ สัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค - ปากน้ำโพ (กม. 136+341 - กม.252+225)
งบประมาณ/ราคากลาง : 8,786,860,000.00 บาท
ประกอบดวยการกอสรางทางวิ่งรถไฟในโครงการ เปนการกอสรางทางรถไฟใหมเพิ่ม ๑ ทาง โดย
จะทําการกอสรางทางรถไฟระดับพื้นดิน (At grade) ทางขนานไปกับทางรถไฟเดิม ระยะทางประมาณ 116กิโลเมตร งานกอสรางสถานีรถไฟใหมและงานปรับปรุงสถานีรถไฟเดิมรวม 18 สถานีแบงเปนงานกอสรางสถานีรถไฟใหม 8 สถานี และงานปรับปรุงสถานีรถไฟเดิม 10 สถานีงานกอสรางยานเก็บกองและขนถายตูสินคา (CY) ที่สถานีนครสวรรค งานกอสรางอาคารศูนยควบคุมการเดินรถ (Central Traffic Control : CTC) ที่สถานีนครสวรรค
งานกอสรางโยธาและอื่นๆ ของโครงการ เชน งานระบบระบายน้ํา งานสะพานลอยคนเดินขาม งานรั้ว เปนตน งานกอสรางถนนยกระดับขามทางรถไฟ (Flyover) ถนนกลับรถยกระดับรูปตัวยู (Overpass U-Turn) ถนนลอดใตสะพานทางรถไฟ (Underpass) ถนนลอดใตสะพานทางรถไฟโดยใชทอเหลี่ยม (Underpass Box) เพื่อแกปญหาจุดตัดระหวางถนนกับทางรถไฟ งานระบบราง เปนทางกวาง 1เมตร (Meter Gauge) งานรื้อยายสิ่งปลูกสรางและอุปสรรคตางๆที่อยูในเขตพื้นที่โครงการ (ถามี) โดยผูรับจางตองดําเนินการรื้อยายตามความจําเปน และเหมาะสมตามแตกรณี
http://www.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=603075696 |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48306
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 01/06/2017 4:23 pm Post subject: |
|
|
ยังไม่สะเด็ดน้ำ! รับฟังความเห็นรอบ 4 รถไฟทางคู่"เด่นชัย-เชียงใหม่"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 31 พ.ค. 2560 เวลา 18:24:42 น.
ยังไม่สะเด็ดน้ำ! รับฟังความเห็นรอบ 4 รถไฟทางคู่ "เด่นชัย-เชียงใหม่" ลงทุน 6 หมื่นล้าน ดันแพร่ฮับขนส่งภาคเหนือตอนบน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย.2560 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 4 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัยเชียงใหม่ เพื่อนำเสนอผลสรุปแนวเส้นทางโครงการที่เหมาะสม รูปแบบโครงสร้างทางรถไฟ ความคุ้มค่า และประโยชน์ของโครงการ การเวนคืนที่ดินและผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โดยได้นำเสนอผลสรุปแนวเส้นทางที่เหมาะสม มีระยะทางรวม 189 กม. แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเด่นชัย-ลำปาง ระยะทางประมาณ 104 กม. เป็นการสร้างทางรถไฟคู่ไปกับแนวเขตทางเดิม พร้อมปรับรัศมีโค้งของทางรถไฟเดิม เพื่อให้รถไฟสามารถวิ่งได้เร็วขึ้น โดยสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม.
และช่วงลำปาง-เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 85 กม. เป็นการก่อสร้างทางคู่ขนานในแนวเขตทางเดิมบางส่วนและตัดแนวทางรถไฟใหม่บางส่วน เพื่อให้เป็นแนวเส้นตรงมากที่สุด โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 160 กม./ชม. ตลอดเส้นทาง
ส่วนการออกแบบโครงสร้างทางรถไฟ จะออกแบบให้สอดคล้องกับการออกแบบรถไฟทางคู่ของกระทรวงคมนาคม ที่เป็นไปตามมาตรฐานของ American Railway Engineering and maintenance-of-Way Association (AREMA) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่กำหนดให้สามารถรองรับน้ำหนักกดเพลา 20 ตัน (U20)
ส่วนการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจของโครงการพบว่ามีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 12.06% มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 291 ล้านบาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.01% ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของธนาคารโลก และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 61,220 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 60,464 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 756 ล้านบาท นอกจากนี้ โครงการฯ ยังให้ความสำคัญกับมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่มีแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ป่าสงวน 3 แห่ง และผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1
โครงการจึงออกแบบโครงสร้างทางรถไฟให้เป็นอุโมงค์และโครงสร้างทางยกระดับ เพื่อลดการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ไม่รบกวนการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า และลดผลกระทบต่อการทำลายพื้นที่ต้นน้ำส่วนมาตรการรองรับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โครงการได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และคู่มือการกำหนดเงินค่าทดแทนฯ ของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 25560 เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ผู้ที่ถูกเวนคืนมากที่สุด
ภายหลังจากการสัมมนา สนข.จะนำผลที่ได้เสนอต่อกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ จากนั้นจึงว่าจ้างผู้รับเหมาและที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง และเข้าสู่กระบวนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จากนั้นดำเนินการก่อสร้างอีกประมาณ 4 ปี จึงแล้วเสร็จ ใช้ระยะเวลารวม 5-6 ปี
สำหรับอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ถือเป็นชุมทางการขนส่งทางรถไฟสู่ภาคเหนือ ส่งผลให้จังหวัดแพร่มีการขยายตัวทางด้านการผลิตและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ จึงถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันจังหวัดแพร่ให้เป็นประตูสู่ล้านนา และศูนย์กลางในการขนถ่ายสินค้าหลักของภาคเหนือตอนบนในอนาคต ตามยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค และยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่คนในชุมชน |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44636
Location: NECTEC
|
Posted: 02/06/2017 4:35 pm Post subject: |
|
|
สนข.ทุ่ม6หมื่นล้าน หวังยกระดับขนส่ง สร้างรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงใหม่
โดย ไทยรัฐออนไลน์
2 มิถุนายน 2560 13:14
สนข. โชว์ผลศึกษารถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงใหม่ เตรียมทุ่มงบประมาณกว่า 6 หมื่นล้าน เพื่อยกระดับคมนาคมขนส่ง-ท่องเที่ยว สู่ผู้นำของอาเซียน...
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 2 มิ.ย.60 ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเชียงใหม่ ฮิลล์ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 4 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัยเชียงใหม่ เพื่อนำเสนอผลสรุปแนวเส้นทางโครงการที่เหมาะสม รูปแบบโครงสร้างทางรถไฟ ความคุ้มค่าและประโยชน์ของโครงการ การเวนคืนที่ดินและผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้สนใจ ทั้งจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ตลอดจนตัวแทนภาคประชาชนและสื่อมวลชน ในจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมงานกว่า 200 คน
การสัมมนาครั้งนี้ได้นำเสนอผลสรุปแนวเส้นทางที่เหมาะสม ระยะทางรวม 189 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเด่นชัยลำปาง ระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร เป็นการสร้างทางรถไฟคู่ไปกับแนวเขตทางเดิม พร้อมปรับรัศมีโค้งของทางรถไฟเดิม เพื่อให้รถไฟสามารถวิ่งได้เร็วขึ้น โดยสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม. และช่วงลำปาง เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร เป็นการก่อสร้างทางคู่ขนานในแนวเขตทางเดิมบางส่วนและตัดแนวทางรถไฟใหม่บางส่วน เพื่อให้เป็นแนวเส้นตรงมากที่สุด โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 160 กม./ ชม. ตลอดเส้นทาง ส่วนการออกแบบโครงสร้างทางรถไฟ จะออกแบบให้สอดคล้องกับการออกแบบรถไฟทางคู่ของกระทรวงคมนาคม ที่เป็นไปตามมาตรฐานของ American Railway Engineering and maintenance of Way Association (AREMA) และการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่กำหนดให้สามารถรองรับน้ำหนักกดเพลา 20 ตัน (U20) ส่วนการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจของโครงการ พบว่ามีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 12.06% มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 291 ล้านบาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.01 % ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของธนาคารโลก และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 61,220 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 60,464 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 756 ล้านบาท
สำหรับมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการให้ความสำคัญกับการแนวเส้นทางที่ผ่านพื้นที่ชุมชนและเส้นทางคมนาคม โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งของภาคเหนือ โดยโครงการได้ออกแบบการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนนให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ ยังมีการแจ้งให้ประชาชนรับทราบและเตรียมพร้อมเกี่ยวกับแผนการก่อสร้าง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรที่อาจเกิดขึ้น ส่วนมาตรการด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โครงการได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และคู่มือการกำหนดเงินค่าทดแทนฯ ของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2560 เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ผู้ที่ถูกเวนคืนมากที่สุด
นายชัยวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากมีการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย - เชียงใหม่ จะส่งผลให้เส้นทางรถไฟสายเหนือมีการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบรางที่สมบูรณ์มากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ ที่สำคัญยังเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวการค้า และการลงทุนในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้ภาคเหนือกลายเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวของอาเซียนในอนาคตได้ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางทั้งด้านอุตสาหกรรมและการคมนาคม และยังคงมีศักยภาพในการพัฒนาสูง ทั้งนี้ ภายหลังจากการสัมมนา สนข. จะนำผลสรุปที่ได้เสนอต่อกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ จากนั้น จึงว่าจ้างผู้รับเหมาและที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง และเข้าสู่กระบวนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ต่อด้วยดำเนินการก่อสร้าง ใช้ระยะเวลารวมประมาณ 6 ปีจึงแล้วเสร็จ โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดโครงการ ได้ที่ www.denchai-chiangmai-doubletrack.com และแฟนเพจรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่.
//------------------------------------------
สนข.โชว์ผลศึกษารถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่
ฐานเศรษฐกิจ
2 มิถุนายน 2560
สนข.โชว์ผลศึกษารถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่ ทุ่มงบกว่า 6 หมื่นล้าน ยกระดับคมนาคมขนส่ง-ท่องเที่ยวสู่ผู้นำของอาเซียน
2 มิ.ย.60 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ 2000 จังหวัดเชียงใหม่ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 4 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัยเชียงใหม่ เพื่อนำเสนอผลสรุปแนวเส้นทางโครงการที่เหมาะสม รูปแบบโครงสร้างทางรถไฟ ความคุ้มค่าและประโยชน์ของโครงการ การเวนคืนที่ดินและผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้สนใจ ทั้งจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ตลอดจนตัวแทนภาคประชาชนและสื่อมวลชน ในจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมงานกว่า 200 คน
การสัมมนาครั้งนี้ได้นำเสนอผลสรุปแนวเส้นทางที่เหมาะสม ระยะทางรวม 189 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเด่นชัย ลำปาง ระยะทางประมาณ 104 กิโลเมตร เป็นการสร้างทางรถไฟคู่ไปกับแนวเขตทางเดิม พร้อมปรับรัศมีโค้งของทางรถไฟเดิม เพื่อให้รถไฟสามารถวิ่งได้เร็วขึ้น โดยสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 120 กม./ชม. และช่วงลำปาง เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 85 กิลเมตร เป็นการก่อสร้างทางคู่ขนานในแนวเขตทางเดิมบางส่วนและตัดแนวทางรถไฟใหม่บางส่วน เพื่อให้เป็นแนวเส้นตรงมากที่สุด โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 160 กม./ชม. ตลอดเส้นทาง ส่วนการออกแบบโครงสร้างทางรถไฟจะออกแบบให้สอดคล้องกับการออกแบบรถไฟทางคู่ของกระทรวงคมนาคมที่เป็นไปตามมาตรฐานของ American Railway Engineering and maintenance of Way Association (AREMA) และการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่กำหนดให้สามารถรองรับน้ำหนักกดเพลา 20 ตัน (U20)
ส่วนการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจของโครงการพบว่ามีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 12.06% มูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) 291 ล้านบาท
อัตาส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.01 % ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของธนาคารโลก และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 61,220 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 60,464 ล้านบาท และค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 756 ล้านบาท
สำหรับมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการให้ความสำคัญกับการแนวเส้นทางที่ผ่านพื้นที่ชุมชนและเส้นทางคมนาคม โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งของภาคเหนือ โดยโครงการได้ออกแบบการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนนให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ยังมีการแจ้งให้ประชาชนรับทราบและเตรียมพร้อมเกี่ยวกับแผนการก่อสร้าง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรที่อาจเกิดขึ้น ส่วนมาตรการด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน โครงการได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และคู่มือการกำหนดเงินค่าทดแทนฯ ของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2560 เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ผู้ที่ถูกเวนคืนมากที่สุด
หากมีการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย เชียงใหม่ จะส่งผลให้เส้นทางรถไฟสายเหนือมีการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบรางที่สมบูรณ์มากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ ที่สำคัญยังเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวการค้า และการลงทุนในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้ภาคเหนือกลายเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวของอาเซียนในอนาคตได้ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางทั้งด้านอุตสาหกรรมและการคมนาคม และยังคงมีศักยภาพในการพัฒนาสูง
ทั้งนี้ ภายหลังจากการสัมมนา สนข. จะนำผลสรุปที่ได้เสนอต่อกระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ จากนั้นจึงว่าจ้างผู้รับเหมาและที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง และเข้าสู่กระบวนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ต่อด้วยดำเนินการก่อสร้างใช้ระยะเวลารวมประมาณ 6 ปีจึงแล้วเสร็จ
โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดโครงการได้ที่ www.denchai-chiangmai-doubletrack.com และแฟนเพจรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44636
Location: NECTEC
|
Posted: 03/06/2017 10:45 pm Post subject: |
|
|
ซุปเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง เกาะติดงานช่วงอุโมงค์พระพุทธฉาย เร่งทยอยเปิดต.ค.นี้
โดย MGR Online
3 มิถุนายน 2560 20:06 น.
ซุปเปอร์บอร์ดและบอร์ดรถไฟลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าก่อสร้างเส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอยและช่วงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดเขาพระพุทธฉาย 1.2 กม. ล่าสุดสัญญา 1 คืบหน้า 40.22% ส่วนสัญญา 2 คืบหน้า 57.50% ร.ฟ.ท.คาดทะยอยเปิดให้บริการช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้าตั้งแต่ตค. นี้
วันนี้ (3 มิถุนายน 2560) นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ นำคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง กรมบัญชีกลาง ที่นำโดยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล และคณะกรรมการรถไฟ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า แก่งคอยสัญญาที่ 2 ช่วงอุโมงค์รถไฟลอดใต้เขาพระพุทธฉาย เพื่อที่จะกำกับติดตามดูงาน ตลอดจนรับฟังปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่ของการรถไฟฯ อีก 7 เส้นทาง
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการในคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง หรือ ซุปเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง เปิดเผยว่า การติดตามงานก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงชุมทางรถไฟฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เป็นการเพิ่มความเข้าใจแก่คณะกรรมการฯ เนื่องจากรถไฟทางคู่สายนี้เป็น 1 ใน 2 สาย ที่ก่อสร้างไปแล้วก่อนตั้งคณะกรรมการกำกับฯ และเป็น 1 ใน 7 สายรถไฟทางคู่ที่คณะกรรมการเข้ามากำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยซุปเปอร์บอร์ดจัดซื้อ ได้ติดตาม 3 เรื่อง คือ 1. การรับทราบข้อมูลความสัมพันธ์ของงานอาณัติสัญญากับงานโยธาและราง ที่ซ้อนกันอยู่และหากประสานงานดี ก็สามารถบริหารจัดการได้ 2. งานอุโมงค์รถไฟทางรอดใต้เขาพระพุทธฉาย ซึ่งเป็นสัญญาที่ 2 มีความคืบหน้าตามแผน และ3. เพื่อ รับทราบถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ซึ่งจะผูกโยงกับการตั้งราคากลางในงานจัดซื้อจัดจ้างโครงการอื่นๆ และทำให้ประเมินว่า การก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางที่เหลือก็น่าจะทำได้ตามแผน และแล้วเสร็จตามกำหนด
สำหรับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า แก่งคอย ได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ระยะเวลาการดำเนินงาน 36 เดือน (เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2562) ระยะทางรวมประมาณ 106 กิโลเมตร โดยแบ่งออกเป็น 2 สัญญา ดังนี้
สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-วิหารแดง และช่วงบุใหญ่-แก่งคอยพร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Lines) 3 แห่ง (ฉะเชิงเทรา แก่งคอย และภาชี) ระยะทางรวมประมาณ 97 กิโลเมตร งบประมาณในการก่อสร้าง 9,825 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จ กุมภาพันธ์ 2561 บริษัทคู่สัญญาก่อสร้าง คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ ระยะทางรวมประมาณ 9 กิโลเมตร และอุโมงค์รถไฟลอดใต้เขาพระพุทธฉาย 1.2 กิโลเมตร งบประมาณในการก่อสร้าง 407 ล้านบาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จ มีนาคม 2561บริษัทคู่สัญญาก่อสร้าง คือ บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด
โดยงานอุโมงค์รถไฟลอดใต้เขาพระพุทธฉาย ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร ได้ดำเนินการเจาะทะลุเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นงานที่อยู่ในส่วนของสัญญาที่ 2 งานก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงวิหารแดง บุใหญ่ ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร และอุโมงค์รถไฟลอดใต้เขาพระพุทธฉาย ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร บริษัท คู่สัญญาก่อสร้างคือ บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด การเจาะอุโมงค์ดังกล่าว ได้ดำเนินการโดยใช้เทคโนโลยี New Austrian Tunneling Method (NATM) เป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการใช้การวัดแบบคำนวณและเชิงประจักษ์ในเวลาจริงเพื่อหาการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยที่สูงที่สุดสำหรับการซับในของอุโมงค์ เสริมสร้างความแข็งแกร่งของอุโมงค์ ซึ่งเมื่อเจาะอุโมงค์แล้ว ก็จะเริ่มงานวางรางเป็นขั้นตอนต่อไป
ความคืบหน้าโครงการสัญญาที่ 2 มีแผนงานสะสม 63.93% ผลงานที่ทำได้ 57.50% ช้ากว่าแผน 6.43% เนื่องจากปัญหาการขออนุญาตเข้าพื้นที่ และสภาพภูมิอากาศ ส่วนสัญญาที่ 1 มีความก้าวหน้า 40.22% เร็วกว่าแผน 21.48%
สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย เป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่จำนวน 1 ทาง คู่ขนานไปกับทางเดิม เริ่มจากสถานีฉะเชิงเทรา ไปตามทางรถไฟสายตะวันออกเดิม (สายอรัญประเทศ) ผ่านสถานีบางน้ำเปรี้ยวถึงสถานีคลองสิบเก้า แยกขนานไปกับทางรถไฟสายคลองสิบเก้า แก่งคอย ผ่านสถานีองครักษ์ วิหารแดง บุใหญ่ สุดปลายทางที่สถานีแก่งคอย ซึ่งผ่านพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่อำเภอองครักษ์ และอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และพื้นที่อำเภอวิหารแดง อำเภอเมือง และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44636
Location: NECTEC
|
Posted: 04/06/2017 11:35 am Post subject: |
|
|
ประมูลทางคู่นครปฐม-หัวหิน
เศรษฐกิจ
Webmaster2017-06-04 11:00:00
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ได้เปิดขายซองเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-หัวหิน 2 สัญญา มูลค่ารวม 16,066 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค. ที่ผ่านมาไปจนถึงวันที่ 6 มิ.ย. นี้ จากนั้นจะเปิดให้ยื่นเอกสารประกวดราคาวันที่ 21 ก.ค. แจ้งผลผู้มีสิทธิ์เสนอราคา 31 ก.ค. และเสนอราคาทางอิเล็กทรอนิกส์วันที่ 10 ส.ค.โดยแบ่งประมูลก่อสร้าง ออกเป็น 2สัญญาตามมติคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง) ได้แก่สัญญาที่ 1 ช่วงนครปฐม-หนองปลาไหล 93 กม. วงเงิน 8,390 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน 76 กม.วงเงิน 7,676 ล้านบาท
นอกจากนี้ รฟท. ยังอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นร่างเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) รถไฟทางคู่อีก 3 เส้นทางรวม 5 สัญญาเป็นครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 31พ.ค. ที่ผ่านมาถึงวันที่ 6 มิ.ย.นี้เช่นกัน ได้แก่ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพรสัญญาที่ 1 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย มูลค่า 6,575 ล้านบาท และสัญญาที่ 2ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร มูลค่า 6,066 ล้านบาท, เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สั
ญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตรมูลค่า 7,373 ล้านบาทและสัญญาที่ 2 คลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ 6,869 ล้านบาทและเส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ สัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ วงเงิน 8,786 ล้านบาทรวมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็นทีโออาร์โครงการจัดซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้าน้ำหนักกดเพลา 16 ตันต่อเพลา 50 คันมูลค่า 6,240 ล้านบาทด้วย
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ กรรมการและรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า การเปิดประมูลรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางตามมติซูเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้างยังคงเดินหน้าตามแผนแต่ ต้องขอความเห็นจากซูเปอร์บอร์ดฯ เพิ่มเติมในเส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพและเส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ซึ่งมีสัญญาที่เป็นการก่อสร้างสะพานและอุโมงค์เพราะเป็นงานที่เป็นลักษณะเฉพาะเมื่อได้ข้อสรุปก็จะนำร่างทีโออาร์รับความคิดเห็นกับผู้เกี่ยวข้องต่อไปพร้อมปรึกษาซูปเปอร์บอร์ดฯ ว่า รฟท. ต้องนำโครงการจัดซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า 50คันให้ซูปเปอร์บอร์ดฯ พิจารณาด้วยหรือไม่ เพราะเป็นโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44636
Location: NECTEC
|
Posted: 05/06/2017 4:54 pm Post subject: |
|
|
ทางคู่ตะวันออกลิ่วกว่าครึ่ง คิดเพิ่มความแกร่งอุโมงค์
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2560 เวลา 10.21 น.
เร่งทางคู่ฉะเชิงเทรา-แก่งคอย
จันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2560 เวลา - 00:00
รฟท. พอใจ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางชายฝั่งตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย คืบ 50% ด้านบริษัทเสนอเพิ่มความแกร่งอุโมงค์อ้อนของบเพิ่ม
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมาได้นำคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ซุปเปอร์บอร์ด) คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. และผู้เกี่ยวข้องตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางชายฝั่งตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย สัญญาที่ 2 ช่วงก่อสร้างอุโมงค์รถไฟลอดใต้เขาพระพุทธฉาย จ.สระบุรี ระยะทาง 1.2 กม. ซึ่งเจาะทะลุเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา และมีความคืบหน้าโดยรวม 57.50 % ช้ากว่าแผน 6.43% เนื่องจากเข้าพื้นที่ล่าช้าและสภาพภูมิอากาศ ส่วนสัญญาที่ 1 ก้าวหน้า 40.22% เร็วกว่าแผน 21.48% คาดว่าเดือน ก.ค.จะวางรางภายในอุโมงค์ รวมแล้วการก่อสร้างทั้งโครงการคืบหน้ากว่า 50% แล้ว เมื่อแล้วเสร็จปี 62 จะเขื่อมกับรถไฟทางคู่แหลมฉบังรองรับนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีซึ่งรถไฟทางคู่แหลมฉบับจะเสร็จหลัง 1 ปี
ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานซุปเปอร์บอร์ด รฟท. กล่าวว่า ได้เข้ามาทำความเข้าใจต้นทุนค่าใช้จ่ายก่อสร้างว่าสัมพันธ์กับราคากลางที่ตั้งไว้หรือไม่โดยเฉพาะการตอกเสาเข็มบางจุดเป็นดินอ่อนค่าเสาเข็มสูงมากราคาประมูล 9,000 ล้านสัญญา 1 เป็นค่าเสาเข็ม 2 พันล้านบาท รวมอยู่ในวิสัยของวงเงินโครงการ งานขุดเจาะอุโมงค์บริษัทคนไทยทำได้และแนะนำให้เพิ่มความแข็งแกร่งชั้นหินของผนังอุโมงค์ 1.20 เมตรด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด จากที่จะทำในจุดที่หินอ่อนตัว แต่วงเงินประมูลที่ได้ 400 กว่าล้าน ไม่เพียงพอ ขณะที่ราคากลาง 600 ล้าน จะนำข้อมูลไปพิจารณาและไปพัฒนารถไฟทางคู่อีก 7 สาย
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า รถไฟทางคู่เส้นทางสายตะวันออกฯ จะก่อสร้างทางรถไฟใหม่ 1 เส้นคู่ขนานทางเดิมเริ่มจากสถานีฉะเชิงเทราไปตามสายอรัญประเทศสุดปลายทางสถานีแก่งคอยผ่าน อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา อ.องครักษ์ อ.บ้านนา จ.นครนายก และ อ.วิหารแดง อ.เมือง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-วิหารแดง และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง 3 แห่ง (ฉะเชิงเทรา แก่งคอย ภาชี) 97 กม. งบก่อสร้าง 9.8 พันล้านบาทแล้วเสร็จ ก.พ. 62 โดยมีคู่สัญญาก่อสร้างคือบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ส่วนสัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางคู่ช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ 9 กม.และอุโมงค์ลอดใต้เขาพระพุทธฉาย 1.2 กม. งบก่อสร้าง 407.04 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ มี.ค.61 โดยมีคู่สัญญาคือบริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44636
Location: NECTEC
|
Posted: 06/06/2017 8:24 pm Post subject: |
|
|
ร.ฟ.ท.ปิดขายซองทางคู่นครปฐม-หัวหิน6มิ.ย.
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2560 14:01 น.
ร.ฟ.ท.ปิดขายซองทางคู่นครปฐม-หัวหิน มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท 6 มิ.ย.นี้ พร้อมแจ้งผู้มีสิทธิ์ประมูลตามคุณสมบัติ 31 ก.ค. 60
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นว่า คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างได้มีมติให้รฟท.เดินหน้าตามแผนงานในการเปิดประมูลหลังจากได้มีการปรับ TOR ใหม่และได้รับความเห็นชอบแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดขายซองประกวดราคา การก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-หัวหินงบประมาณลงทุน 16,066 ล้านบาท ซึ่งจะปิดรับซองวันสุดท้ายในวันอังคารที่ 6 มิถุนายนนี้ หลังจากนั้นจะใช้ระยะเวลาพิจารณาประมาณ 2 สัปดาห์ และจะแจ้งผลผู้มีสิทธิ์ประมูลในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 หรือ 31 กรกฎาคม
ขณะเดียวกันในส่วนเส้นทาง ลพบุรี-ปากน้ำโพและเส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ จะต้องขอความคิดเห็นเพิ่มเติม เนื่องจากยังติดปัญหาในบางพื้นที่ก่อนจะจัดทำ TOR |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48306
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 07/06/2017 9:37 am Post subject: |
|
|
ปีหน้าเปิดใช้ทางคู่สายตะวันออก เฟสแรก "ฉะเชิงเทรา-บางน้ำเปรี้ยว"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 07 มิ.ย. 2560 เวลา 07:45:27 น.
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต
รถไฟทางคู่สายตะวันออกช่วง "ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย" ระยะทาง 106 กม. หลังเริ่มงานก่อสร้างพร้อมกับรถไฟทางคู่สายอีสาน "จิระ-ขอนแก่น" เมื่อเดือน ก.พ. 2559 ที่ผ่านมา ถึงขณะนี้ทำผลงานก่อสร้างรุดหน้าไปได้แล้ว 50% ซึ่งเร็วกว่าแผนงานที่วางไว้
จากผลงานที่ก้าวหน้า ทำให้ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" เตรียมเปิดให้บริการเร็วขึ้น ประเดิมเฟสแรกช่วง "ฉะเชิงเทรา-บางน้ำเปรี้ยว" ภายในเดือน ต.ค. 2561 และเปิดตลอดเส้นทางในปี 2562
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย มีระยะทาง 106 กม. ซึ่งแบ่งงานก่อสร้างเป็น 2 สัญญาขณะนี้มีความคืบหน้า 50% โดยสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-วิหารแดง และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Line) 3 แห่ง วงเงิน 9,825 ล้านบาท มี บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ก่อสร้าง ความคืบหน้าอยู่ที่ 45% เร็วกว่าแผน 22%
สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ พร้อมอุโมงค์รถไฟ วงเงิน 407 ล้านบาท มี บจ.ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง เป็นผู้ก่อสร้าง มีความคืบหน้าอยู่ที่ 60% ช้ากว่าแผน 7% ซึ่งวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการเจาะอุโมงค์รถไฟลอดใต้เขาพระพุทธฉาย ระยะทาง 1.2 กม. เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างจากประเทศออสเตรเลียมาดำเนินการ
"คาดว่าจะเปิดให้บริการช่วงแรก คือ ฉะเชิงเทรา-บางน้ำเปรี้ยว ระยะทาง 20 กม. ในเดือน ต.ค. 2561 จากนั้นจะเปิดให้บริการเต็มเส้นทางภายในปี 2562"
สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ จำนวน 1 ทาง คู่ขนานไปกับทางเดิม เริ่มจากสถานีฉะเชิงเทรา ไปตามทางรถไฟสายตะวันออกเดิม (สายอรัญประเทศ) ผ่านสถานีบางน้ำเปรี้ยวถึงสถานีคลองสิบเก้า
จากนั้นแยกขนานไปกับทางรถไฟสายคลองสิบเก้า-แก่งคอย ผ่านสถานีองครักษ์ วิหารแดง บุใหญ่ สุดปลายทางที่สถานีแก่งคอย ซึ่งผ่านพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่อำเภอองครักษ์ และอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และพื้นที่อำเภอวิหารแดง อำเภอเมือง และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นรถไฟทางคู่อีกหนึ่งเส้นทาง มาเสริมแกร่งระบบโลจิสติกส์ในพื้นที่อีสานและภาคตะวันออกของประเทศไทย |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44636
Location: NECTEC
|
Posted: 07/06/2017 4:05 pm Post subject: |
|
|
เทศบาลโคราช ชี้วิกฤตผ่าเมืองโคราช ไม่สร้างทางรถไฟยกระดับ จะกลายเป็นเมืองอกแตก
มติชน
วันที่ 6 มิถุนายน 2560 - 13:43 น.
โคราชงง ขอนแก่น-อุดร ได้ทางรถไฟยกระดับแต่โคราชอาจจะไม่ยก อนาคตโคราชจะเป็นเมืองอกแตก นายสุรวุฒิ เชิดชัย ชี้รูปแบบก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ของ สนข. หากไม่ยกระดับช่วงผ่านตัวเมืองโคราช ไม่เป็นผลดีต่อวิถีการใช้ชีวิตชุมชนใหญ่หาก ยกเลิกจุดตัดทางข้ามรถไฟ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการสัญจรไปมาหาสู่กัน เหมือนกำแพงกั้นขับรถเข้าเมือง ร้องภาครัฐที่เกี่ยวข้องฟังเสียงคนท้องถิ่น การสร้างความเจริญให้เมืองต้องไม่กระทบวิถีชุมชน ถ้ายกระดับทางรถไฟเล็งเนรมิตขนส่งมวลชนเชื่อมโคกกรวดถึงหัวทะเล
รถไฟทางคู่สร้างความเจริญให้โคราช
นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนคร นครราชสีมา เปิดเผยถึงโครงการรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่นว่า โครงการนี้จะสร้างความเจริญให้กับชาวโคราชอย่างแน่นอน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งมวลชนโดยลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานและให้ประชาชนมีทางเลือกในสัญจรจากเมืองโคราชไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เมืองโคราชมีความเจริญพัฒนายิ่งขึ้นและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ไม่เห็นด้วยปิดทางข้ามรถไฟถาวร
ที่ตนมองโครงการสร้างทางรถไฟ ช่วงเส้นทางผ่านตัวเมืองโคราชถึงสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ มีจุดตัดเป็นถนนข้ามทางรถไฟเชื่อมต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีอาณาเขตติดต่อกันและชุมชนขนาดใหญ่ เริ่มตั้งแต่ ต.โคกกรวด ถึงตัวเมืองโคราชต้องเป็นทางยกระดับไม่ใช่ทางพื้นถนนหลัก ไม่ว่าจะเป็นทางรถไฟความเร็วสูงหรือทางคู่ ซึ่งปัจจุบันทางข้ามรางรถไฟจะใช้เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ควบคุมการเปิด-ปิดเครื่องกั้น แต่รูปแบบการก่อสร้างของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ยกเลิกจุดตัดทางข้ามถาวร ให้ใช้ถนนเลียบทางรถไฟและทางต่างระดับหรือสะพานข้ามทางรถไฟหัวทะเล ซึ่งเป็นจุดเดิมและก่อสร้างใหม่ที่หน้าทางเข้าค่ายสุรนารีแทน ทำให้ส่งผลกระทบต่อการสัญจรไปมาหาสู่กัน
ทางรถไฟยกระดับ เหมาะกับเมืองโคราช
หากใช้เป็นทางรถไฟยกระดับตนมองว่าจะเหมาะสมมากกว่า เพราะว่าเวลาเราต้องการตัดถนนเพิ่มเพื่อระบายการจราจรให้โครงข่ายจราจรได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และการวางท่อระบายน้ำที่จะเชื่อมต่อถ้าเป็นทางรถไฟยกระดับจะทำให้การพัฒนาเมืองโคราชได้ดีขึ้น ในอนาคตการจราจรค่อนข้างหนาแน่นสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดปัญหาจราจรได้
ไม่ต้องมาสร้างทางยกระดับข้ามทางรถไฟ
นายสุรวุฒิกล่าวอีกว่า มองง่ายๆ หากทางรถไฟไม่ยกระดับจะสร้างได้ครั้งเดียวจบเลยเมืองโคราชทำอะไรต่อไม่ได้ ต้องไปสร้างสะพานยกระดับเพื่อให้รถวิ่งข้ามทางรถไฟแทนสร้างไปเรื่อยๆ แล้วเมืองโคราชมีกี่ทางข้ามรางรถไฟก็ต้องทำไปไม่มีจบ แต่หากยกระดับทางรถไฟจุดเดียวแก้ปัญหาได้ทั้งหมดไม่ต้องมาสร้างทางยกระดับข้ามทางรถไฟให้เสียรูปแบบการจราจรของเมือง การเดินท่อประปาท่อระบายน้ำก็จะยาก การจราจรและความเจริญของเมืองก็จะมีปัญหา
เนรมิตขนส่งมวลชนเชื่อมโคกกรวด-หัวทะเล
ตนมองถึงอนาคตหากมีทางรถไฟยกระดับ เทศบาลฯ หรือจังหวัดก็สามารถเช่าหรือขอพื้นที่ข้างรางรถไฟในการเปิดเส้นทางขนส่งมวลชนเช่นเชื่อมจากโคกกรวดไปหัวทะเล คู่ขนานกับรางรถไฟยกระดับในอนาคตอีกด้วย จะสอดคล้องกันทั้งระบบสาธารณูปโภคของเมืองโคราช
โคราชไม่ยกระดับจะเป็น เมืองอกแตก
ที่ จ.ขอนแก่น และ จ.อุดรธานี ยกระดับนี่คือการเชื่อมเมืองทำให้เมืองไม่ถูกผ่าเป็น 2 เมือง แต่หากโคราชไม่ยกระดับจะเป็นเมืองอกแตก การที่จะสร้างความเจริญให้เมืองเติบโตอย่างมีคุณภาพ ทางภาครัฐก็ต้องฟังเสียงประชาชนในโคราชอยู่แล้ว เพราะสิ่งที่รัฐต้องการคือทำทางรถไฟเข้าเมืองโคราช เพราะต้องการเห็นคุณภาพชีวิตดีขึ้น เห็นความเจริญของเมืองดีขึ้น เมื่อต้องการเห็น 2 อย่างนี้ก็ต้องทำให้ทางรถไฟยกระดับเท่านั้น ก็คงต้องมีการมาพูดคุยกันได้ในเรื่องขนส่งมวลชน
ทางยกระดับข้ามทางรถไฟต้องชานเมือง
ส่วนภาพทางยกระดับข้ามทางรถไฟที่ถูกเผยแพร่ทางโซเชียลเหมือนเป็นบริเวณทางแยกหัวรถไฟ มองว่าทางยกระดับแบบนี้ไม่ควรอยู่ในเมืองควรอยู่ชานเมืองมากกว่า หากทางรถไฟถูกยกระดับทุกอย่างจบเลยไม่ต้องสร้างทางข้ามยกระดับให้มีปัญหาทัศนียภาพของเมือง อย่างทางตัดผ่านทางรถไฟเมืองโคราชมีกว่า 20 จุด หากยกระดับขึ้นทางตัดข้ามรถไฟก็ไม่มี จะทำให้การเชื่อมเมือง 2 ฝั่งทางรถไฟก็จะขยายถนนเพิ่มในอนาคตได้อีกด้วย นายสุรวุฒิกล่าวทิ้งท้าย
รฟท.เตรียมเคลียร์พื้นที่ตึกถนนมุขมนตรี
ล่าสุดกลุ่มผู้เช่าที่ดิน รฟท. บริเวณถนนมุขมนตรี เริ่มตั้งแต่ฝั่งตรงข้ามสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จังหวัดนครราชสีมา และฝั่งตรงข้ามโรงเรียนมารีย์วิทยา ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ รวมกว่า 60 คูหา ซึ่งมีการเช่าที่ดิน รฟท. เพื่อปลูกสร้างเป็นร้านค้า เป็นเวลาร่วม 30 ปี แจ้งกับสื่อมวลชนว่าทาง รฟท.ยกเลิกการให้เช่าที่ดินและให้ย้ายออกในเร็วๆ นี้เพื่อเคลียร์พื้นที่รองรับทางรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง ล่าสุดมีกระแสข่าวว่าธนาคารออมสิน สาขามุขมนตรี ซึ่งตั้งอยู่หน้าอาคารสถานีรถไฟนครราชสีมาก็จะย้ายที่ทำการภายในเดือนกรกฎาคมนี้เช่นกัน |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44636
Location: NECTEC
|
Posted: 07/06/2017 5:14 pm Post subject: |
|
|
โครงการรถไฟรางคู่ เด่นชัย-เชียงใหม่ มีการเปิดประเด็ยเรื่องขุนตานและทาชมพู
ช่วงสถานีเด่นชัย ถึง สถานีห้างฉัตร ใช้แนวรางรถไฟเดิม
ช่วงสถานีห้างฉัตร ถึง สถานีลำพูน ตัดเส้นทางใหม่ ลัดตรงไม่อ้อมไป อ้อมมา เหมือนเก่า
ถ้ำขุนตานถูกตัดออกจากเส้นทาง มาเจาะอุโมงค์ใหม่ จากสถานีแม่ตานน้อย
ตรงเข้าสู่สถานีศาลาแม่ทาเลย ย่นระยะทางไปได้หลายสิบกิโลเมตร
https://www.facebook.com/krubartong.cnx/posts/725896174258180 |
|
Back to top |
|
 |
|