RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312065
ทั่วไป:13669085
ทั้งหมด:13981150
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เขาฝาชี...สถานีแห่งความหลัง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เขาฝาชี...สถานีแห่งความหลัง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/07/2016 10:33 am    Post subject: Reply with quote

ภาพอีกชุดครับ
Arrow https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=969616779817841&id=100003085846433
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/07/2016 10:24 pm    Post subject: Reply with quote

ขุดพบล้อรถตรวจทาง Question ครับ
Arrow https://www.facebook.com/groups/593813344099956/permalink/674141999400423/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/10/2016 5:38 am    Post subject: Reply with quote

ภาพเก่าเล่าตำนาน : ทางรถไฟที่…. ไม่ค่อยมีใครพูดถึง
มติชนออนไลน์ วันที่: 24 ต.ค. 59 เวลา: 13:00 น.

Click on the image for full size

ภาพเก่าที่ปรากฏนี้คือเส้นทางรถไฟที่กองทัพญี่ปุ่นมาสร้างไว้ในปี พ.ศ.2486 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นรางรถไฟจากชุมพร-กระบุรี-เขาฝาชี ยาวประมาณ 90 กม. เป็นเส้นทางการส่งกำลังบำรุงจากทะเลอ่าวไทยข้ามไปทะเลฝั่งอันดามัน

ทางรถไฟเส้นนี้ก่อสร้างในเวลาใกล้เคียงกับทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว จ.กาญจนบุรีที่โด่งดังไปทั่วโลกในความหฤโหดของทหารญี่ปุ่น
อ.จุฬา โชติคุต อดีตอาจารย์และเป็นชาวระนองพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นใช้ความพยายามที่จะอนุรักษ์ สืบค้น เปิดเผยข้อมูลร่องรอยของทางรถไฟสายนี้ต่อสาธารณชนทั้งในและต่างประเทศมานาน หากปล่อยทิ้งก็จะสาบสูญไปตามกาลเวลาอย่างน่าเสียดาย

อ.จุฬาและชาวบ้านในพื้นที่เคยขุดพบเศษโลหะรางรถไฟเก่าที่บ่งบอกถึงเส้นทางรถไฟ ซากอุปกรณ์ทางทหาร เศษเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม้กระทั่งอุโมงค์หลบภัยของทหารญี่ปุ่น ที่พัก ครัวทำอาหารของกองทัพญี่ปุ่นที่ยังมีสภาพดี หัวรถจักรไอน้ำที่เคยนำมาใช้ในสงคราม ทุกสถานที่สำคัญของอดีตทหารญี่ปุ่นมีป้ายแสดงข้อความ สิ่งของอุปกรณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ควรได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบโดยทางราชการ และควรได้รับการพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณค่า โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น

ถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ เราน่าจะเรียกทางรถไฟสายนี้ว่าทางรถไฟสายคอคอดกระ คนไทยคุ้นเคยกับคำว่า “คอคอดกระ” พื้นที่ตรงนี้อยู่บริเวณด้ามขวาน เป็นส่วนที่ผอมบางที่สุดของแผ่นดินไทยที่มีทะเลขนาบ 2 ด้าน คืออ่าวไทยและมหาสมุทรอินเดีย ท่านผู้อ่านอาจจะไม่เชื่อว่าเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว สมัยในหลวง ร.5 วิศวกรฝรั่งเศสเข้ามาสำรวจพื้นที่ตรงนี้อย่างละเอียด และจะขอลงทุนขุดคลองเชื่อมระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน ฝรั่งเศสทำแผนที่ แผนงาน โครงการเสร็จสรรพเพื่อถวายในหลวง ร.5 แต่ไม่ทราบว่าเหตุใดโครงการดังกล่าวจึงเงียบหายไป

รายละเอียดประเด็นนี้นักประวัติศาสตร์อิสระที่ผมยกย่องคือท่านไกรฤกษ์ นานา ไปสืบเสาะตามหาแผนที่โครงการที่จะขุดคอคอดกระฉบับนั้นในฝรั่งเศสจนพบหลังจากตกค้างอยู่ในฝรั่งเศส 130 ปี และในที่สุดท่านไกรฤกษ์ได้ไปประมูลแผนที่ต้นแบบและแผนภูมิโครงการขุดคอคอดกระของฝรั่งเศส พ.ศ.2424 ฉบับนั้นเอากลับมาได้ในปี พ.ศ.2555 และตีพิมพ์ในหนังสือหน้าหนึ่งในสยาม

มาจนถึงวันนี้ ขุด-ไม่ขุดคอคอดกระ หรือจะเชื่อมต่อทำทางลัดโดยไม่ต้องไปอ้อมช่องแคบมะละกาก็ยังเป็นประเด็นที่คุยกันได้เอร็ดอร่อยในทุกโอกาส คอคอดกระยังมีเสน่ห์เย้ายวนไม่คลาย

ทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ชุมพร-ระนอง-เขาฝาชีสายนี้เกิดขึ้นเมื่อกองทัพญี่ปุ่นยาตราเข้ายึดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กองทัพลูกพระอาทิตย์ชนะศึกมาตลอดทางจากเกาะสิงคโปร์ มลายู

ประวัติศาสตร์ที่คนไทยไม่ค่อยเคยได้ยินคือราวตี 4 ของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้ามาทางอรัญประเทศ ทางทะเลยกพลขึ้นบก พื้นที่ชายฝั่งทะเล 7 แห่งคือ ขึ้นที่สมุทรปราการ ประจวบฯ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี

การสู้รบที่ดุเดือดที่สุดคือบริเวณอ่าวมะนาว ประจวบฯเวลาประมาณตี 4 ทหารอากาศของกองบินน้อยที่ 5 ที่มีกำลังพล 127 นาย ได้พลีชีพ 41 นาย เพื่อต่อต้านการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่น วันรุ่งขึ้นคือ 9 ธันวาคม 2484 เวลา 14.00 น. รัฐบาลสั่งการให้ทหารไทยหยุดยิง ให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยเพื่อรุกเข้าไปในพม่าทางช่องด่านสิงขร

และการยิงต่อสู้ที่สะพานท่านางสังข์ จ.ชุมพรร้อยเอก ถวิล นิยมเสน นำกำลังยุวชนทหารออกมายิงทหารญี่ปุ่นจนเสียชีวิตในแนวรบ
ทหารญี่ปุ่นส่วนที่ทำการรบก็รบกันไป กองทัพเดินได้ด้วยท้อง งานส่งกำลังบำรุงหยุดไม่ได้ ทางเดียวที่กองทัพญี่ปุ่นจะรุกต่อไปในพม่า มีข้าวปลาอาหาร มีเสื้อผ้า มีกระสุนใช้อย่างต่อเนื่องต้องใช้รถไฟส่งกำลังบำรุงสายชุมพร-ระนอง-เขาฝาชีเป็นหลัก

กองทัพซามูไรในยามนั้นโหด เลว ดี ดุดัน และเด็ดขาดเพราะต้องการใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านเข้าไปยึดประเทศพม่ามาจากอังกฤษ การส่งกำลังบำรุงทางเรือผ่านสิงคโปร์ ผ่านช่องแคบมะละกาเพื่อเข้าไปพม่านั้นสุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากเรือรบของอังกฤษ กองทัพญี่ปุ่นจึงตัดสินใจมาทำรางรถไฟตรงคอคอดกระของไทยซึ่งจะย่นระยะทางไปได้ราว 1,000 กม.

13 พฤษภาคม 2486 ญี่ปุ่นกดดันไทยให้ยอมร่วมมือสร้าง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงนามร่วมกับนายพลนากามูระ (Gen Nakamura) ผบ.กองทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ญี่ปุ่นนำหัวรถจักรมาเอง รถยนต์ที่วิ่งบนถนนเมื่อถอดเอายางออกเหลือแต่กระทะล้อ สามารถยกรถดังกล่าวขึ้นไปวางบนรางแล้ววิ่งต่อได้เหมือนรถไฟ
1 มิถุนายน 2486 ญี่ปุ่นเริ่มก่อสร้าง ใช้กรรมกรไทย อินเดีย มลายู และชาวจีนจากมลายูราว 20,000-25,000 คน แบ่งออกเป็น 7 เขตงาน มีความยาวตลอดสายประมาณ 90 กม. ทำงานทั้งวันทั้งคืน ใช้เวลาราว 6 เดือน ทางรถไฟสายนี้จึงแล้วเสร็จ แต่การเร่งรีบสร้างทำให้รางรถไฟด้อยคุณภาพ เคราะห์กรรมที่ญี่ปุ่นนึกไม่ถึงคือคนงานไทยที่รับจ้างทำงานหนีงานเกือบหมด เพราะงานทำหนักทั้งวันทั้งคืน ญี่ปุ่นต้องไปเกณฑ์เอาแขกมลายูขึ้นมาเป็นแรงงานทาสในไทย มีบันทึกการเจ็บป่วยล้มตายแบบทาส แต่ไม่พบว่าญี่ปุ่นไปนำเชลยศึกฝรั่งผิวขาวมาเป็นทาส เมื่อเทียบกับทางรถไฟสายมรณะที่กาญจนบุรีที่ดังไปสนั่นโลก ที่กาญจนบุรีญี่ปุ่นใช้งานแสนทารุณจนฝรั่งตายนับหมื่นคน

ใน ต.บางแก้ว อ.ละอุ่น จ.ระนอง มีอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกว่าพื้นที่ตรงนี้ในอดีตเป็นสถานีปลายทางที่ทหารญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อมาจาก จ.ชุมพร เป็นระยะทางรวม 90 กม.

ญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเส้นนี้และ 7 สถานีย่อย เช่น สถานีวังไผ่ สถานีท่าสาร สถานีปากจั่นสถานีทับหลี สถานีกระบุรี สถานีคลองลำเลียงสถานีเขาฝาชีเพื่อเดินขบวนรถไฟลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังปลายทางสถานีเขาฝาชี แล้วถ่ายสิ่งของลงเรือล่องไปตามคลองละอุ่นออกไปบรรจบคลองกระบุรี ประมาณ 1 กม. แล้วล่องต่อไปเกาะสองประมาณ 2 ชม. เพื่อส่งกำลังบำรุงให้กองทัพที่ทำการรบในพม่า

ทหารญี่ปุ่นใช้เส้นทางรถไฟนี้ได้ประมาณ 11 เดือน จนเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2487 เครื่องบินบินมาทิ้งระเบิดทำลายหัวรถจักร ทางรถไฟ เรือเสบียง และเรือบรรทุกอาวุธที่รับขนถ่ายจากขบวนรถไฟ ถูกระเบิดจมน้ำที่คลองละอุ่นที่ยังมีซากเห็นได้ในปัจจุบัน
อ.จุฬายังเล่าต่ออีกว่า ระหว่างสงคราม เครื่องบินพันธมิตรมาทิ้งระเบิดหลายครั้ง และกราดยิงด้วยปืนกลบริเวณสถานีรถไฟ รางรถไฟสายชุมพร-ละอุ่น ค่ายทหารญี่ปุ่นที่เขาฝาชีจึงได้รับความเสียหายมาก ชาวบ้านที่บริเวณสถานีวังไผ่เสียชีวิตจำนวนมาก
ก่อนที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม (กองทัพญี่ปุ่นเสนอยอมแพ้สงครามเมื่อ 10 สิงหาคม 2488) ในวันที่ 15 มิถุนายน 2488 ทหารญี่ปุ่นได้ทำการรื้อถอนทางรถไฟสายนี้บางส่วน โดยแจ้งต่ออนุกรรมการฝ่ายไทยว่า เพื่อนำรางไปซ่อมแซมทางรถไฟบางตอนที่ถูกระเบิดเสียหายทางใต้ ครั้นเมื่อสงครามยุติ ทหารกองกำลังสหประชาชาติได้เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในไทย เมื่อ 19 สิงหาคม 2488 และรื้อถอนรางรถไฟสายนี้

อ.จุฬาเล่าเสริมตอนท้ายว่า เคยมีชาวญี่ปุ่นที่เคยเป็นทหารคุมการก่อสร้างทางรถไฟสมัยนั้นกลับมาเยี่ยมชมอุโมงค์และรำลึกถึงความหลังที่สุดแสนลำเค็ญในพื้นที่ชุมพรและระนอง ล่าสุดผู้เขียนได้ประสานงานกับสถานทูตญี่ปุ่นใกรุงเทพฯให้ทราบข้อมูลเกร็ดประวัติศาสตร์ชิ้นนี้ อันอาจจะเป็นความร่วมมือเชิงสัญลักษณ์ต่อไป

เล่ามาทั้งหมดนี้ เพื่อเป็นตำนานให้ชนรุ่นหลังทราบนะครับ ว่าญี่ปุ่นเคยมาสร้างทางรถไฟในประเทศไทยแล้วครับ

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/06/2017 10:18 am    Post subject: Reply with quote

นักข่าวพลเมือง : สำรวจอุโมงค์-หลุมหลบภัย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (23 มิ.ย. 60)
ThaiPBS Published on Jun 23, 2017


https://www.youtube.com/watch?v=uVQDLY4_VVw
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/11/2017 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

แผนที่ทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี

Arrow https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1409817922464389
Arrow https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1409818115797703
Arrow https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1409817915797723
Arrow https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1409817925797722
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2017 12:10 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
แผนที่ทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี

Arrow https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1409817922464389
Arrow https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1409818115797703
Arrow https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1409817915797723
Arrow https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1409817925797722


มันน่าเอาข้อมูลไปให้ สนข. เขาพิจารณาด้วยน่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2018 1:18 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นก็พูดถึงทางรถไฟสาย ชุมพร - เขาฝาชีเหมือนกัน
http://www.kyoto-seika.ac.jp/researchlab/wp/wp-content/uploads/kiyo/pdf-data/no27/david.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2020 10:55 am    Post subject: Reply with quote

"ทางรถไฟสายมรณะแห่งที่ 2" ผมขอเรียกเส้นทางนี้ว่าเช่นนั้น เพราะว่าถ้าย้อนไปเมื่อ พ.ศ.2487 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟสายมรณะขึ้นที่เมืองกาญเพื่อจะไปสู่ประเทศพม่า (ตอนนั้นอังกฤษยึดพม่าอยู่ ญี่ปุ่นต้องการไปรบกับอังกฤษ) โดยใช้เชลยศึกจำนวนมากมายหลายสัญชาติ รวมทั้งเส้นทางจากชุมพร ไปคลองละอุ่น ก็สร้างโดยน้ำมือของเชลยศึกเช่นกันกับที่เมืองกาญ มีเชลยล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่หลายคนมักไม่รู้ว่าญี่ปุ่นได้สร้างเส้นทางรถไฟจากชุมพร ไปยังคลองละอุ่น รวมระยะทาง 90 กม. ซึงแบ่งเป็น 7 สถานี ได้แก่ สถานีวังไผ่, สถานีท่าสาร, สถานีปากจั่น, สถานีทับหลี, สถานีกระบุรี, สถานีคลองลำเลียง, สถานีเขาฝาชี เพื่อขนอาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ไปสถานีเขาฝาชี เพื่อถ่ายลงเรือที่คลองละอุ่น เพื่อใช้ส่งไปพม่าผ่านลำน้ำกระบุรี เมื่อสร้างเสร็จ แต่ใช้ได้เพียง 11 เดือน กองทัพพันธมิตรได้ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดทำลายหัวรถจักร และเรือบรรทุกอาวุธของญี่ปุ่น ที่คลองละอุ่น จนญี่ปุ่นประกาศแพ้สงครามในเวลาต่อมา เส้นทางรถไฟสายชุมพร-ละอุ่น ได้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับทางรถไฟสายกาญจนบุรีในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพาตั้งแต่ต้นจนสงครามยุติลง แต่ปรากฏว่ามีคนไทยน้อยมากที่รู้จักเส้นทางรถไฟสายชุมพร-กระบุรี-คลองละอุ่น หรือที่รู้จักชื่อว่าทางรถไฟสายคอคอดกระ วันนี้จากที่ได้ไปสำรวจยังพอพบร่องรอยของเส้นทางบ้าง แม้เวลาผ่านไปหลายสิบปี จะหลงเหลือเพียงแค่ตอหม้อสะพานก็ตาม แต่ก็ยังโชคดีที่ได้เจอมันครับ จริงๆยังพอมีอีกบ้างทั้งถ้ำที่ญี่ปุ่นเจาะผ่านเขา และคูน้ำเหมือนที่ช่องเขาขาด แต่ติดในที่ของชาวบ้านเลยไม่ได้เข้าไปครับ นี่เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในวันที่เกิดสงคราม
https://www.facebook.com/notenikoncp/posts/10222814393687336?__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 13/04/2021 9:15 pm    Post subject: Reply with quote


เส้นทางรถไฟที่หายสาบสูญ”คอคอดกระ” (ชุมพร-ระนอง)
https://www.youtube.com/watch?v=MYu9AV7oN6I
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2024 7:17 am    Post subject: Reply with quote

อวดระนอง
12 ม.ค. 67 06:24 น.

อุโมงค์-หลุมหลบภัย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และทางรถไฟประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 .
ปากอุโมงค์นั้นเป็นทางเข้าหลุมหลบภัยอยู่ที่ใต้คันดิน หน้ารั้วโรงเรียนกระบุรีวิทยา ห่างจากถนนเพชรเกษม อ.กระบุรี จ.ระนอง เพียง 20 เมตร ภายอุโมงค์ถูกขุดเป็นรูปโดมลักษณะครึ่งวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 2.5 เมตร และสูง 2.5 เมตร สามารถบรรจุคนได้ 10-15 คน ส่วนผนังด้านในสุด เป็นช่องอุโมงค์ ขนาดกว้าง 0.5 เมตร สูง 1.50 เมตร ขับรถผ่านไปแวะชมกันได้ครับ อยู่ข้างทางเลย 🚘
แผนที่ https://goo.gl/maps/ReQCjBNT4MVSX57s8 🚘

https://www.facebook.com/eaksalasotphoto/posts/1329724854376566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7
Page 7 of 7

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©