Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 30/09/2017 11:27 am Post subject:
ลุ้นนิคมฯอุดรคืนชีพอาคมรับศึกษาแผนต่อรางจ่อศูนย์กระจายสินค้า
ฐานเศรษฐกิจ 30 September 2017
นิคมฯอุดรมีสิทธิฟื้น รมว.คมนาคมยํ้าร.ฟ.ท.ศึกษาต่อรางจ่อศูนย์กระจายสินค้าเชื่อมคอนเทนเนอร์ ยาร์ด หนองตะไก้ หวังส่งสินค้าอีสานตอนบนไปยังท่าเรือนํ้าลึกภาคตะวันออก
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด เจ้าของผู้ดำเนินการโครงการ นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต่อรางรถไฟไปยังพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนั้น ได้รับข้อมูลว่า ภาคเอกชนได้ลงทุนที่ดินและการปรับปรุงพื้นที่ไปแล้วประมาณ 2,000 ล้านบาท และมีสิ่งที่จะต้องลงทุนอีกประมาณ 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้ภาคเอกชนผู้ลงทุนต้องการได้ความชัดเจนของ ร.ฟ.ท. ในการทำคอนเทนเนอร์ ยาร์ด (CY) ส่วนฝ่ายเอกชนผู้ลงทุนโครงการ ได้แบ่งพื้นที่โครงการเอาไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อจัดทำเป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้า(DC) ออกไปจากนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยมีงบลงทุนประมาณ 40 ล้านบาท
โครงการคอนเทนเนอร์ ยาร์ด ที่บริเวณที่ดินของการรถไฟที่สถานีหนองตะไก้ เพื่อรองรับ ในอนาคตให้เป็นจุดแปลี่ยนขนถ่ายสินค้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ไปยังท่าเรือ นํ้าลึกที่ภาคตะวันออกโดยตรง เชื่อว่าการขนส่งทางรถไฟจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่าการขนส่งในระบบอื่นๆ ขณะนี้ก็มีการใช้พื้นที่ของโครงการ CY เป็นที่ขนถ่ายสินค้าบางชนิดบ้างแล้ว และจะมีการขยายพื้นที่ออกไปให้เต็มรูปแบบตามที่ได้มีการศึกษาเอาไว้แล้ว
นายอาคม กล่าวต่อไปว่า การสร้างคอนเทนเนอร์ ยาร์ด ที่ สถานีหนองตะไก้นี้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนถ่ายสินค้าอยู่แล้วทั้งโครงการเหมืองแร่โปแตช นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี และยังมีสินค้าจากจังหวัดต่างๆ ของภาคอีสานตอนบนอีกด้วย จึงมอบหมายให้ ร.ฟ.ท.ทำการศึกษาโครงการต่อขยายรางจากบริเวณคอนเทนเนอร์ ยาร์ดเข้าไปจ่อกับพื้นที่ของเอกชนระยะทาง 1.8 กม. ซึ่งเป็นการลงทุนของการรถไฟเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานของโครงการรถไฟรางคู่ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มลงมือดำเนินงานในปี 2561 และเสร็จพร้อมกับโครงการดังกล่าวด้วย โดยจะทำการเสนอโครงการรวมกันไปทั้งรถไฟรางคู่และ CY ไปพร้อมกันเลย ส่วนศูนย์DC ในโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ทราบว่าเพิ่งลงมือกันเมื่อปี 2559 จึงต้องบูรณาการทำการศึกษากันอีกรอบหนึ่ง
การที่ภาคเอกชนได้มีการขอความชัดเจนต่อโครงการ การลงทุนของการรถไฟฯ โดยเฉพาะโครงการทำ CY เนื่องจากเอกชนผู้ลงทุนโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี จะได้นำเอาไปใช้ในการทำการตลาดซึ่งการประชุม กรอ.กลุ่มจังหวัดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ได้บทสรุปว่าจะใช้เวลาศึกษาร่วมกันเป็นเวลา 6 เดือน อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.ต้องการทราบจำนวนของสินค้าที่จะขนถ่ายออกมาพื้นที่ของนิคมว่ามีมากน้อยเพียงใด เป็นสินค้าประเภทใด ถ้ามีปริมาณมากพอในการลงทุนการรถไฟก็สามารถลงทุนได้ หรือหากว่าไม่มีจำนวนสินค้าขนถ่ายมากพอ ก็อาจจะให้ฝ่ายเอกชนรับความเสี่ยงภายในนิคมอุตสาหกรรมก็เป็นไปได้ ซึ่งในหลักการก็ไม่มีการขัดข้องแต่
อย่างใด
รมว.คมนาคม กล่าวต่อไปว่า ร.ฟ.ท.ยังได้เร่งดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมใน 2 โครงการด้วยกันคือ 1.โครงการรถไฟทางคู่ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ส่วนช่วงขอนแก่น-หนองคาย กำลังที่จะมีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี 2.โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ซึ่งในระยะแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ได้มีการลงนามในสัญญาไปแล้ว จึงได้
ขอให้การรถไฟฯเริ่มทำการศึกษาเพิ่มเติมระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ไปเลย ซึ่งทั้ง 2 โครงการดังกล่าวนั้น จะผ่านที่สถานีหนองตะไก้ และมีความเชื่อมโยงกันทั้ง 2 โครงการ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,300 วันที่ 28 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
Posted: 02/10/2017 11:08 am Post subject:
รฟท.ปัดฝุ่นTOR ประมูลซื้อหัวจักร50คัน ปรับสเปกเปิดกว้างชงบอร์ดต.ค.นี้
2 ตุลาคม 2560 05:37:00
รฟท.ปรับ TOR เตรียมประมูลซื้อหัวจักร 50 คัน วงเงินกว่า 6 พันล.รอบใหม่ เปิดกว้างให้ร่วมประมูลมากราย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ต้องยกเลิกเหตุมียื่นประมูลรายเดียว เร่งชงบอร์ด เคาะTOR ในต.ค.ส่วนการเช่าหัวรถจักร หวั่นไม่คุ้ม บอร์ดสั่งเปรียบเทียบต้นทุนกับวิธีซื้อ ประกอบการตัดสินใจ
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้รฟท.อยู่ระหว่างปรับปรุงร่าง TOR โครงการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotive) น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา จำนวน 50 คัน ซึ่งเป็นการเริ่มต้นใหม่ และดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 คาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.พิจารณาได้ในเดือนต.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอต่อคณะกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (ซุปเปอร์บอร์ดจัดซื้อจัดจ้าง) ต่อไป
โดยหลักๆ จะมีการปรับปรุงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขที่ทำให้เปิดกว้าง ให้มีการเข้าร่วมประมูลได้มากรายที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้นำร่าง TOR ประกาศในเวปไซด์เพื่อรับฟังความคิดเห็นมาแล้ว ซึ่งได้นำข้อมูลมาปรับปรุง ส่วนหนึ่ง ส่วนราคากลาง 6,240 ล้านบาท นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจาก เป็นการดำเนินโครงการภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้เคยอนุมติไว้
สำหรับการโครงการเช่าหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า 50 คันนั้น นายอานนท์กล่าวว่า บอร์ดรฟท.ยังมีความกังวลในเรื่องความคุ้มค่า จึงให้ทำรายละเอียดเปรียบเทียบระหว่าง การเช่า กับรูปแบบการซื้อ ทั้งค่าใช้จ่าย ค่าซ่อมบำรุง ใหม่ทั้งหมด ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกระยะ จึงจะประเมินได้ว่าจะมีการเช่าหรือไม่
รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการซื้อหัวรถจักร 50คัน ก่อนหน้านี้ รฟท.ได้เปิดประมูล ที่ วงเงิน 6,151 ล้านบาท แต่ปรากฎว่ามีผู้ยื่นประมูลเพียง 1 ราย ทำให้ต้องยกเลิกประมูลเนื่องจากกเกรงว่าจะไม่โปร่งใส และได้เตรียมประมูลใหม่ราคากลาง 6,240 ล้านบาท แต่มีการจัดตั้งซุปเปอร์บอร์ดจัดซื้อฯ และมีพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯใหม่ จึงต้องเริ่มต้นโครงการใหม่
ส่วนการเช่าหัวจักร จำนวน 50 คันนั้น มีเป้าหมายเพื่อนำมาขนส่งสินค้าเป็นเวลา 15 ปี รวมการซ่อมบำรุงคิดเป็นมูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านบาท ตามการศึกษา ได้ประเมินอัตราเช่าวันละ 48,721 บาท/วัน/คัน
ด้านนายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถรฟท.กล่าวว่า การปรับปรุง TOR โครงการจัดซื้อหัวรถจักร 50คัน ใกล้เสร็จแล้ว โดยฝ่ายเทคนิคได้พิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้มีการเปิดกว้างมากที่สุด ซึ่ง จะนำเสนอบอร์ดรฟท.ได้ในการประชุมกลางเดือนต.ค.นี้ จากนั้น จะเร่งนำร่าง TOR ขึ้นเวป รฟท.เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน หัวรถจักรที่ใช้งานได้จริงประมาณ 120-130 คัน ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะหัวรถจักรเหล่านั้นมีอายุการใช้งานนาน 40-50 ปี มีค่าซ่อมบำรุงค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงต้องจัดหาของใหม่มาทดแทน ซึ่งตามแผนจะจัดหาหัวรถจักรรวมแล้ว 100 คัน แบ่งเป็นการเช่า 50 คัน และซื้อ 50 คันคิดเป็นวงเงินรวมราว 2 หมื่นล้านบาท
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 03/10/2017 8:06 am Post subject:
สถานีรถไฟชุมพร ได้รางวัลเป็นศูนย์ราชการสะดวก GECC
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชุมพร
วันที่ข่าว : 30 กันยายน 2560
นายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ราชการสะดวก (Government Easy Contact Center : GECC) ณ สถานีรถไฟชุมพร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร พร้อมกับแสดงความยินดี ที่สถานีรถไฟชุมพร ได้ผ่านการรับรองการประเมินมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก GECC และได้รับโล่จากนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งการประเมินดังกล่าวเป็นการรับรองหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน โดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกที่มีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนที่มาติดต่อราชการกับหน่วยงานของรัฐ ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน สะดวกรวดเร็ว และเข้าถึงง่าย
นายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายให้ทุกกระทรวง กรม และจังหวัด รวมทั้งรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้มี ศูนย์ราชการสะดวก (Government Easy Contact Center : GECC) เพื่อเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้เกิดการให้บริการทีมีประสิทธิภาพ พร้อมกับสร้างความเชื่อมั่นให้แกประชาชนที่เดินทางมาติดต่อราชการงานของรัฐ
สำหรับในการดำเนินการ นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการอำนวยการศูนย์ราชการสะดวก โดยในปี พ.ศ.2559 คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ราชการสะดวกได้เปิดให้หน่วยงานของรัฐสมัครขอรับรองมาตรฐานการให้บริการศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ซึ่งในครั้งนั้นมีหน่วยงานของรัฐสมัครขอรับการรับรองมาตรฐาน จำนวนทั้งสิ้น 119 ศูนย์ ซึ่งได้มีการลงพื้นที่เพื่อตรวจประเมิน จำนวน 68 ศูนย์ คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ราชการสะดวกได้พิจารณาให้รับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก จำนวน 41 ศูนย์
โดยในปี 2560 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เสนอให้สถานีรถไฟชุมพร เป็นสถานีที่ให้บริการประชาชนที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวก โดยมีมาตรฐาน ระบบงาน เชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน ส่งมอบการบริการด้วยใจ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงง่าย ประชาชนมีความพึงพอใจต่อบริการของภาครัฐวิสาหกิจการขนส่ง จนได้รับโล่รางวัล และมาตรฐานการให้บริการศูนย์ราชการสะดวก GECC ประจำปี 2560
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : วิทยา ศรีมาลา
Rewriter : วสันต์พรรษ จำเริญนุสิต
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://nwnt.prd.go.th
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 03/10/2017 9:28 am Post subject:
สหภาพรถไฟร้องรัฐแก้คนขาด ทำงานควงกะหวั่นเกิดอุบัติเหตุ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 3 ต.ค. 2560 07:50
นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในองค์กรการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ขณะนี้ว่า รัฐบาลและกระทรวงคมนาคมต้องรีบยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ปัญหาโดยด่วน เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติงานของพนักงานรถไฟตกต่ำแล้ว ยังอาจเป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในด้านการเดินรถ เกิดอันตรายต่อผู้โดยสารได้
โดยขณะนี้แม้ว่าสหภาพฯ จะพิจารณาเห็นว่า รัฐบาลปัจจุบันมีความตั้งใจที่จะเข้ามาปฏิรูประบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างจริงจังมากกว่ายุคอื่นๆ โดยมีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่มีความเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศระยะ 8 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2565 รัฐบาลได้มีการเน้นการลงทุนให้เกิดโครงการรถไฟทางคู่ใหม่ระยะแรกถึง 10 เส้นทาง ระยะสองอีก 12 เส้นทาง ขณะนี้ก็เริ่มก่อสร้างไปแล้ว 2 เส้นทาง ซึ่งขณะนี้กำลังประมูลจัดซื้อจัดจ้างอีก 5 เส้นทาง การเร่งรัดรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟฟ้าเชื่อมสนามบิน หรือแอร์พอร์ตลิงค์ ตลอดจนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เชื่อมประเทศที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ แต่โครงการเหล่านี้จะใช้บุคลากรจากไหนหากไม่เร่งสร้างในวันนี้
"ปัญหาใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นคือแผนในการพัฒนาบุคลากร หรือคนเพื่อมาทำงานรองรับระบบราง ที่ลงทุนมูลค่านับล้านล้านบาท กลับไม่มีความชัดเจนท่ามกลางปัญหาปัจจุบันที่ ร.ฟ.ท.มีปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากร ส่งผลกระทบเกิดปัญหาตามมา ทุกวันนี้นายสถานีหลายคนต้องปฏิบัติงานควงกะตลอดวันตลอดคืน ทำหน้าที่ทุกอย่างในสถานี ตั้งแต่ขายตั๋ว ยันล้างห้องน้ำ แค่นี้ก็หมดเวลาไปวันๆแล้ว ไม่ต้องคิดกันมากเลยว่า หากรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง สร้างเสร็จจะเอาบุคลากรที่ไหนมาทำงาน"
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลอัตรากำลังของ ร.ฟ.ท. ปัจจุบัน ตามแผนงานมีความต้องการบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานด้านต่างๆที่ 15,000 คน แต่ในความเป็นจริงกลับเหลือพนักงานปฏิบัติหน้าที่ได้เพียง 11,000 คน.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 03/10/2017 12:28 pm Post subject:
NBT SURAT#แหลงข่าวเช้านี้ 3 ต.ค.60 : ชุมพร - สถานีรถไฟชุมพร ได้รางวัลเป็นศูนย์ราชการสะดวก
ข่าว NBT สุราษฎร์ธานี Published on Oct 2, 2017
รายการนี้ผลิตและเผยแพร่โดย
สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์
โทร.0 7735 5537
https://www.youtube.com/watch?v=b1uZDU2cZFo
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 03/10/2017 6:36 pm Post subject:
เพิ่ม"บุคลากรรถไฟ"3หมื่นคนอีก4 ปี
เดลินิวส์ อังคารที่ 3 ตุลาคม 2560 เวลา 16.17 น.
การรถไฟฯ เตรียมเสนอครม.เพิ่มบุคลากรรถไฟ 4,000 ทดแทนคนเกษียณ เผยอีก4 ปีต้องการคนทำงานรถไฟเพิ่ม30,000 คน รองรับรถไฟทางคู่ ความเร็วสูง
เมื่อวันที่3ต.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.)ออกมาระบุว่ารฟท.เข้าสู่ภาวะขาดแคลนบุคลากรจำนวนมากจนทำให้ชั่วโมงการทำงานของนายสถานีมากกว่า 10 ชั่วโมง และอาจสุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยงานบริการตลอดจนปริมาณไม่เพียงพอรองรับโครงการระบบรางที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น
ด้านนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมในฐานะผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟฯอยู่ระหว่างเสนอเรื่องเข้าสู่กระทรวงคมนาคม หลังจากผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟท.เพื่อขอแก้มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 ก.ค.41 ที่กำหนดให้สามารถรับพนักงานใหม่เพิ่มได้ 5% ของพนักงานที่เกษียณอายุราชการ ซึ่งในในปีนี้มีคนรถไฟที่เกษียณอายุราชการประมาณ300กว่าคน ทั้งนี้จากการศึกษานั้นรฟท.ต้องการเพิ่มบุคลากรอีกราว 4,000 คนเพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ รวมถึงรถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมืองที่กำลังก่อสร้าง อย่างไรก็ตามถ้าหากครม.มีมติเห็นชอบได้ในปลายปีนี้ การรถไฟฯจะเร่งดำเนินการเพิ่มอัตราคนรถไฟในปี 61 จำนวน 500 คน ซึ่งรวมถึงบัณฑิตจบใหม่ของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟที่รอบรรจุอีก176 คนด้วย ก่อนทยอยเพิ่มให้ครบตามเป้าหมาย 4,000 คนต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า ตามแผนฟื้นฟูกิจการของการรถไฟฯตั้งเป้าไว้ว่า จะขยายแผนเดินรถ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ดังนั้นจึงมีแผนเพิ่มจำนวนรถไฟเป็น 450 ขบวน จากเดิม 250 ขบวน จึงต้องการบุคลากรด้านรถไฟอีกประมาณ 30,000 คนในอีก 4 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันมีพนักงานเพียง 11,000 คน ซึ่งก็หมายความว่าการรถไฟฯขาดแคลนคนรถไฟอยู่ประมาณ 20,000 คน อย่างไรก็ตามความคืบหน้าด้าน การก่อสร้างศูนย์ผลิตบุคลากรระบบราง (Excellent center)พื้นที่กว่า 100 ไร่ ให้กับโรงเรียนวิศวรรมรถไฟ วงเงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาทนั้นขณะนี้อยู่ระหว่าง จ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาแนวทางจัดตั้งสถาบันและพัฒนาหลักสูตรคาดว่าจะได้ตัวที่ปรึกษาภายในปี60 ก่อนใช้เวลาศึกษาราว 10 เดือน คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างราว 5 ปี
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 04/10/2017 8:03 am Post subject:
ชงครม.เพิ่มบุคลากรรถไฟ 4,000 คนรองรับงานทางคู่
โพสต์ทูเดย์ 04 ตุลาคม 2560 เวลา 07:43 น.
คมนาคม เตรียม ชงครม.เพิ่มบุคลากรรถไฟ 4,000 คนรองรับงานทางคู่ ตั้งเป้าปี 61 รับเพิ่ม 500 คนพร้อมเร่งศึกษาแนวทางจัดตั้งสถาบันหมื่นล้านหวังปั้นบุคลากรป้อนตลาด
จากกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.)ออกมาระบุว่ารฟท.เข้าสู่ภาวะขาดแคลนบุคลากรจำนวนมากจนทำให้ชั่วโมงการทำงานของนายสถานีมากกว่า 10 ชั่วโมงและอาจสุ่มเสี่ยงต่อความปลอดภัยงานบริการตลอดจนปริมาณไม่เพียงพอรองรับโครงการระบบรางที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น</p><p>นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมในฐานะผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้รฟท.อยู่ระหว่างเสนอเรื่องเข้าสู่กระทรวงคมนาคมหลังจากผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด)รฟท.เพื่อขอแก้มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 ที่กำหนดให้สามารถรับพนักงานใหม่เพิ่มได้ 5% ของพนักงานที่เกษียณอายุราชการ โดยจากการศึกษานั้นรฟท.ต้องการเพิ่มบุคลากรอีกราว 4,000 คนเพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่รวมถึงรถไฟความเร็วสูงและรถไฟชานเมืองที่กำลังก่อสร้าง อย่างไรก็ตามถ้าหากครม.มีมติเห็นชอบได้ในปลายปีนี้ หลังจากนั้นรฟท.จะเร่งดำเนินการเพิ่มอัตรากำลังพลในปี 2561 จำนวน 500 คน ซึ่งรวมถึงบัณฑิตจบใหม่ของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟที่รอบรรจุตำแหน่งอยู่ 176 คนด้วย ก่อนทยอยเพิ่มให้ครบตามเป้าหมาย 4,000 คนต่อไป
รายงานข่าวจากรฟท.ระบุว่า ตามแผนฟื้นฟูกิจการของ รฟท. ตั้งเป้าไว้ว่า จะขยายกำลังเดินรถ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ดังนั้นจึงมีแผนเพิ่มจำนวนรถไฟเป็น 450 ขบวน จากเดิม 250 ขบวน จึงต้องการบุคลากรด้านรถไฟอีกราว 30,000 คนในอีก4ปีข้างหน้า จากปัจจุบันมีพนักงานเพียง 11,000 คน เท่ากับว่าขาดแคลนอยู่เกือบ 20,000 คน อย่างไรก็ตามความคืบหน้าด้าน การก่อสร้างศูนย์ผลิตบุคลากรระบบราง (Excellent center)พื้นที่กว่า 100 ไร่ ให้กับโรงเรียนวิศวรรมรถไฟ วงเงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาทนั้นขณะนี้อยู่ระหว่าง จ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาแนวทางจัดตั้งสถาบันและพัฒนาหลักสูตรคาดว่าจะได้ตัวที่ปรึกษาภายในปีนี้ก่อนใช้เวลาศึกษาราว 10 เดือน คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างราว 5 ปีบนพื้นที่ของรฟท.
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44053
Location: NECTEC
Posted: 04/10/2017 12:05 pm Post subject:
สหภาพรถไฟร้องรัฐแก้คนขาด ทำงานควงกะหวั่นเกิดอุบัติเหตุ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
3 ตุลาคม 2560 เวลา 07:50
Note: กลัวแต่ว่ากระทรวงการคลังจะใช้อำนาจของเจ้าหนี้ที่มักเป็นเจ้าชีวิตของลูกหนี้ว่า ให้คนงานหาคนทำงานได้ผลดีเท่ากะคนงานร้อยคนหนะสิครับ - ไม่พ้นต้องใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเข้าช่วยแน่นอน
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 05/10/2017 6:34 am Post subject:
การรถไฟฯ เตรียมเสนอเพิ่มบุคลากรรถไฟอีก 3 หมื่นคนในอีก 4 ปีข้างหน้า | ข่าวช่อง 8
ข่าวช่อง 8 Published on Oct 3, 2017
การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมเสนอ ครม.ขอเพิ่มบุคลากรรถไฟ 4,000 เพื่อนำมาทดแทนคนเกษียณ พร้อมเผยอีก 4 ปี ข้างหน้า ต้องการคนทำงานรถไฟเพิ่มอีก 30,000 คน เพื่อรองรับรถไฟทางคู่ และ รถไฟความเร็วสูง
https://www.youtube.com/watch?v=CoPmbtzRAUs
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47427
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 11/10/2017 11:28 am Post subject:
งานหิน พิชิต อัคราทิตย์ ล้างหนี้รถไฟ-รถเมล์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 11 ตุลาคม 2560 - 10:42 น.
สัมภาษณ์พิเศษ
จากนักการเงิน พิชิต อัคราทิตย์ ถูก รัฐบาล คสช. ดึงตัวนั่งเป็นประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) สางหนี้แสนล้านการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จากนั้นไม่นาน ได้รับการโปรโมตจากรัฐบาลทหารรั้งเก้าอี้ใหญ่ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมคุมงานขนส่ง ระบบราง และทางน้ำ
ถึงวันนี้กว่า 9 เดือนที่ พิชิต ในวัย 61 ปี นั่งบัญชาการใต้ชายคากระทรวงเศรษฐกิจเกรดเอ ปฏิบัติภารกิจสุดหิน ปลดแอกหนี้ 2 แสนล้านบาท ของ ร.ฟ.ท.และ ขสมก. ที่แบกกันมานานนับทศวรรษ ให้สำเร็จจะเป็นไปได้หรือไม่ รัฐมนตรีช่วยพิชิต เปิดใจให้สัมภาษณ์พิเศษ ประชาชาติธุรกิจ
Q : การแก้หนี้ของการรถไฟฯ
หลักใหญ่ต้องหยุดขาดทุน จัดการหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท นำทรัพย์สินมีอยู่ทั่วประเทศ มีมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาทมาบริหารจัดการให้มีรายได้เพิ่ม จะตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารจัดการ มีรถไฟถือหุ้น 100% ซึ่งมีที่ดิน 39,000 ไร่
มูลค่า 300,000 ล้านบาท ที่ไม่ใช้เดินรถสามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ให้ได้ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 5% จากเดิมปีละกว่า 3,000 ล้านบาท เป็น 1 หมื่นล้านบาท
การตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ผ่านคณะอนุกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) รอเข้าคณะกรรมการ คนร.ชุดใหญ่วันที่ 11 ต.ค.นี้ ใน 2 ปี (2561-2562) จะตั้งบริษัทให้เสร็จ ดึงคนนอกเป็นมืออาชีพมาเป็นผู้บริหาร จากนั้นตั้งพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ นำสินทรัพย์ 1 ใน 3 ขายเข้ากองทุน จะปลดหนี้แสนล้านได้ใน 5 ปีตามที่ คนร.กำหนด หากสำเร็จใน 30 ปี การรถไฟฯจะมีรายได้ 630,000 ล้านบาท
Q : จะเริ่มได้เมื่อไร
ปีหน้าจะเปิดประมูลที่ดินแปลง A สถานีบางซื่อ 35 ไร่ จากนั้นสถานีมักกะสัน 497 ไร่ ที่ถูกกำหนดเป็นเกตเวย์ของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี ซึ่งอีอีซีถือว่าเป็นลูกค้าของรถไฟ ส่วนจะพัฒนาโดยเอกชนรายเดียวที่ได้สัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หรือแยกประมูล รอคณะกรรมการอีอีซีสรุป
สถานีแม่น้ำ 227 ไร่ อยู่ใกล้กับที่ดินการท่าเรือฯตรงคลองเตย 2,300 ไร่ ให้ 2 หน่วยงานหารือร่วมกันพัฒนาจะได้เกิดประโยชน์ทั้งคู่ ปัจจุบันทั้งรถไฟและการท่าเรือฯได้รับผลตอบแทนจากที่ดินน้อยมากแค่ 1% อีกทั้งยังมีที่ดินต่างจังหวัดที่มีศักยภาพ เช่น สถานีเชียงใหม่ หัวหิน สงขลา หาดใหญ่ หรือแม้แต่ย่านรัชดาภิเษก อาจจะต้องปรับอัตราค่าเช่าใหม่
ขณะเดียวกัน รถไฟต้องปรับการเดินรถที่เป็นธุรกิจหลักให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มรายได้จากการเดินรถจากปัจจุบันอยู่ที่ 5,000-6,000 ล้านบาท จัดตารางเดินรถและเปิดเส้นทางขนส่งสินค้าใหม่รับรถไฟทางคู่จะเสร็จปี 2563-2564
Q : ความเป็นไปได้ที่รถไฟจะเดินสายสีแดง
เป็นข้อเสนอของรถไฟต่อ คนร.จะตั้งบริษัทลูกบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน หมือนแอร์พอร์ตลิงก์ ยังไม่สรุป แต่ก็พิจารณาหลายรอบแล้ว มีข้อท้วงติงเยอะ เรื่องความเสี่ยงในการขาดทุน เพราะปีแรกเปิดบริการจะมีผู้โดยสาร 80,000 เที่ยวคนต่อวัน และจะขาดทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี
Q : ความคืบหน้าแผนฟื้นฟู ขสมก.
ยังไม่ผ่านการพิจารณา คณะกรรมการ คนร.ให้ทำเป็น action plan เสนอที่ประชุมใหญ่วันที่ 11 ต.ค.นี้ ปัจจุบัน ขสมก.ขาดทุน 5,000 ล้านต่อปี มีภาระหนี้กว่า 100,000 ล้านบาท หลักการใหญ่ที่เคยคุยกันต้องลดค่าใช้จ่ายบุคลากรปีละ 4,000 ล้านบาท ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและซ่อมบำรุงปีละ 1,700-1,800 ล้านบาท ลดดอกเบี้ย 3,000 ล้านบาทต่อปี หากลดค่าใช้จ่ายกระเป๋ารถเมล์ได้ครึ่งหนึ่งและซื้อรถใหม่จะมีกำไร ปัจจุบัน ขสมก.กำลังติดตั้งระบบอีทิกเก็ต1,600 คัน
Q : แผนเออร์ลี่กระเป๋ารถเมล์จ่ายชดเชยให้คนละ 1 ล้าน
ไม่น่าจะมากขนาดนั้น เป็นข้อเสนอของ ขสมก. ยังไม่ยุติ ตามแผนจะดำเนินการให้เสร็จ 2 ปี (2561-2562) จำนวน 4,000 คน ใช้เงิน 5,000 ล้านบาท
Q : ซื้อรถเมล์ใหม่กี่คัน
ในแผนฟื้นฟูจะซื้อ 3,000 คัน ในนี้มีรถเมล์ NGV 489 คัน วงเงิน 4,020 ล้านบาท ในวันที่ 29 พ.ย.นี้จะได้ผู้ชนะประมูลพร้อมส่งมอบรถ 20 คันแรกใน 40 วัน ที่เหลือส่งมอบ 120 วัน ขณะเดียวกัน ขสมก.กำลังรีไวส์จัดซื้อรถใหม่ในระยะยาวจะใช้ระบบไหน เช่น ไฮบริด ไฟฟ้า ดีเซล หรือผสมผสานกัน
Q : การหารายได้อื่น ๆ
นำที่ดินอู่จอดรถ 6 แห่งพัฒนาเชิงพาณิชย์ ให้เอกชนรับสิทธิ์พัฒนา 20-30 ปี มี 2 แห่งที่จะดำเนินการได้ คือ อู่บางเขน 11 ไร่ และมีนบุรี 10 ไร่ ปีหน้าจะเปิดประมูล อีก 4 แห่ง คือ แสมดำ รังสิต พระประแดง และบางบัวทอง ยังคงใช้เป็นอู่จอดรถ
Q : การปรับตัวของ บขส.สู้โลว์คอสต์
ให้ขยายธุรกิจขนส่งสินค้าและบรรจุภัณฑ์ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น สปป.ลาว กัมพูชา ส่วนสถานีขนส่ง อาจจะมีบางแห่งนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ เช่น สถานีเอกมัย
Q : แผนย้ายสถานีขนส่งไปหมอชิต
ต้องให้เสร็จใน 6 ปี จะไปใช้พื้นที่ตรงหมอชิตเก่าที่กรมธนารักษ์จะพัฒนาคอมเพล็กซ์ จัดสรรพื้นที่ 1 แสนตารางเมตรให้ บขส.ใช้เป็นสถานีจอดรับ-ส่งคน ส่วนสถานีขนส่งปัจจุบันจะลดขนาดเป็นจุดจอดรถระยะสั้น
Q : การเดินหน้าไฮสปีดเชื่อมอีอีซี
จะเห็นภาพชัดในปี 2561 ปลายปีนี้จะเริ่มประกาศทีโออาร์ ให้เอกชนลงทุนทั้งโครงการ รอผลศึกษาจากรถไฟถึงรูปแบบการเดินรถเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อตามนโยบายของอีอีซี
Q : แผนลงทุนแหลมฉบังเฟส 3
ภายในเดือน มิ.ย. 2561 รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA จะผ่าน โครงการนี้การท่าเรือฯจะลงทุน 54,000 ล้านบาท สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน จะใช้เวลา 5 ปี เมื่อถึงปีที่ 4 จะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนรับสัมปทานบริหารระยะยาว ใช้เงินลงทุนอีก 88,000 ล้านบาท
อยากให้การท่าเรือฯปรับบทบาทเป็นผู้บริหารเองแทนการให้สัมปทานเอกชน จะได้มีองค์ความรู้เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เพราะธุรกิจท่าเรือเป็นธุรกิจระหว่างประเทศ ไม่ใช่ธุรกิจในประเทศ การท่าเรือฯต้องออกไปทำตลาดต่างประเทศด้วย เหมือนกับผู้บริหารพอร์ตใหญ่ ๆ ของจีน เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ ต้องทำให้ได้แบบนั้น
Q : การลงทุนโครงการใหญ่
ตามแผนปี 2559-2560 มีเงินลงทุนกว่า 2.3 ล้านล้านบาท กำลังประมูลก่อสร้าง เงินก่อสร้างจะเริ่มทยอยเข้าสู่ระบบ หลังเซ็นสัญญา อย่างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ปีนี้ประมูลเสร็จ ปีหน้าทั้งปีงบจะเริ่มเข้าระบบเศรษฐกิจ ซึ่งนักลงทุนไทยและต่างประเทศจะเห็นว่ามีความแน่นอนในเรื่องเม็ดเงินในอีกหลายปีข้างหน้า
ภาครัฐลงทุนเองไม่ถึง 15% หวังว่าจีดีพีจะกระตุ้นโดยภาครัฐอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีเอกชนด้วย ในอีกหลายปี การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในแผนเร่งด่วน 2.3 ล้านล้านบาท จะทำให้ขนาดจีดีพีใหญ่ขึ้นมากกว่าเงินลงทุนถึง 2.5 เท่า เป็นผลกระทบอันแรกที่ได้เห็นแน่นอน ส่วนอีอีซีต้องใช้เวลา 4-5 ปี รอการก่อสร้างถนน รถไฟ ท่าเรือ ให้เสร็จ
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group