RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311896
ทั่วไป:13570762
ทั้งหมด:13882658
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สนข.และ วสท.พัฒนามาตรฐานระบบราง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สนข.และ วสท.พัฒนามาตรฐานระบบราง

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46844
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/03/2018 1:32 pm    Post subject: สนข.และ วสท.พัฒนามาตรฐานระบบราง Reply with quote

สนข. และ วสท.ผนึกความร่วมมือ MOU พัฒนามาตรฐานระบบรางไทย..ต่อยอดสร้างมาตรฐานระบบรางอาเซียน เผยศักยภาพไทยก้าวเป็นฮับอาเซียน
ข่าวทั่วไป ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2561 12:44:03 น.

กรุงเทพฯ--15 มี.ค.--เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกับ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เผยจากแผนการลงทุนของประเทศไทยในโครงสร้างพื้นฐานระบบรางปี 2018 -2040 รวม 23 โครงการ มูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านบาทนั้น ส่งผลให้ไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนามาตรฐานระบบรางและทรัพยากรมนุษย์ของประเทศตั้งแต่วันนี้ ผ่านการต่อยอดมาตรฐานระบบรางอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อเชื่อมระบบคมนาคมอย่างไร้รอยต่อ ขณะที่โครงการลงทุนระบบรางหลายรูปแบบได้กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กรุงเทพและเมืองต่างๆ แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีมาตรฐานของประเทศไทยเองเลย สนข. และ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จึงได้ร่วมลงนามความร่วมมือ(MOU) ทางวิชาการและวิชาชีพวิศวกรรมระบบขนส่ง เพื่อสร้างมาตรฐานระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย เพราะไทยมีศักยภาพเพียงพอที่ก้าวสู่การเป็น Hub ระบบรางของอาเซียนได้ นอกจากนี้ในเดือนพฤศจิกายน 2561 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนา ASEAN Rail Standardization ครั้งที่ 2 ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2561 อีกด้วย

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงโครงการศึกษาและจัดทำคู่มือการออกแบบ ก่อสร้างและบำรุงรักษางานโครงสร้างทางรถไฟ และมาตรฐานโครงสร้างทางรถไฟว่า สืบเนื่องจากแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของกระทรวงคมนาคมที่มุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพโครงข่ายระบบขนส่งทางราง เพื่อให้มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน จึงได้มีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งทางรางคิดเป็นมูลค่ามหาศาล ปัจจุบันระบบขนส่งทางรางของประเทศยังขาดมาตรฐาน และหลักการออกแบบ การก่อสร้างและการบำรุงรักษาโครงสร้างทางรถไฟที่เหมาะสมต่อการใช้งานและ/หรือการปฏิบัติ ส่งผลทำให้โครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศต?องอ้างอิงมาตรฐานจากต่างประเทศที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละโครงการ ขาดความเป็นเอกภาพของการดำเนินงานออกแบบ ก่อสร้างและบำรุงรักษา ซึ่งอาจเป็นปัจจัยความท้าทายสำคัญในการยกระดับคุณภาพการให้บริการระบบขนส่งทางรางของประเทศในอนาคต อาทิ ระดับคุณภาพความปลอดภัย คุณภาพการให้บริการ รวมถึงคุณภาพเชิงวิศวกรรมที่ต้องดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

สำหรับการจัดทำมาตรฐานโครงสร้างทางรถไฟ คู่มือการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟ และคู่มือบำรุงรักษาโครงสร้างทางรถไฟ เป็นผลจากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบจากการศึกษามาตรฐานของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างและลักษณะเฉพาะและการใช้งานของประเทศนั้นๆ พิจารณาร่วมกับมาตรฐานที่ได้ดำเนินการใช้อยู่เดิมในประเทศ จากผลการศึกษากรอบโครงสร้างมาตรฐานจะอ้างอิงแนวทางมาตรฐานยุโรป (European Norm) เนื่องจากมีความเหมาะสมกับการนำไปใช้งานทั้งในด้านโครงสร้างมาตรฐานที่มีความชัดเจนและครอบคลุม น่าเชื่อถือ มีการใช้งานมายาวนานภายใต้ขั้นตอนการปรับปรุงให้มีความทันสมัย มีความยืดหยุ่นไม่ปิดกั้นการพัฒนาเทคโนโลยี เน้นการใช้หลักการออกแบบภายใต้พื้นฐานของศักยภาพการใช้งานจริง (Performance Based Design) นำข้อดีของมาตรฐานต่างๆมาใช้อ้างอิงร่วม เพื่อประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมต่อการใช้งานทั้งการออกแบบก่อสร้างและบำรุงรักษา

มาตรฐานโครงสร้างทางรถไฟ แบ่งออกเป็น 10 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานการแบ่งประเภททางรถไฟ, มาตรฐานเขตโครงสร้างทางรถไฟ, มาตรฐานการออกแบบและวางแนวเส้นทาง, มาตรฐานการออกแบบทางรถไฟแบบมีหินโรยทาง, มาตรฐานการออกแบบทางรถไฟแบบไม่มีหินโรยทาง, มาตรฐานรางเชื่อมยาว, มาตรฐานองค์ประกอบทางรถไฟ, มาตรฐานตำแหน่งเปลี่ยนผ่านบนทางรถไฟ, มาตรฐานความปลอดภัยบนทางรถไฟ และมาตรฐานระบบระบายน้ำบนทางรถไฟ

ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่าถึงบทบาทของ วสท. ในด้านการจัดทำมาตรฐานว่า ตลอดหลายทศวรรษ วสท. ได้มีบทบาทด้านการพัฒนามาตรฐานและข้อกำหนดทางวิศวกรรมที่ใช้ในงานก่อสร้างและแนวทางปฏิบัติงานทางวิศวกรรม และบำรุงรักษาระบบขนส่งทางรางในประเทศไทย ที่ผ่านมารัฐบาลเห็นความสำคัญและได้ลงทุนปฏิรูประบบขนส่งทางรางและการเชื่อมต่อเพื่อคุณภาพชีวิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ขณะนี้ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกำลังก่อสร้างระบบรางรถไฟฟ้า 6 โครงการ และ 2 โครงการในต่างจังหวัดที่จะเริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายกรุงเทพ-โคราช และในอนาคตโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น สายกรุงเทพ-พิษณุโลก ทั้งนี้การพัฒนายกระดับคุณภาพความปลอดภัยทั้งก่อน-ระหว่าง-หลังก่อสร้างเสร็จ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ได้ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สสปท), สำนักงานประกันสังคม จัดฝึกอบรมเรื่อง "คู่มือใหม่ความปลอดภัยในงานก่อสร้างระบบราง" ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยในการก่อสร้างและให้วิศวกรผู้ควบคุมงานและแรงงาน และเป็นผู้พัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในหน่วยงานของตนเองได้ในอนาคต

ซึ่งก็สอดคล้องกับความร่วมมือ MOU ในครั้งนี้ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปแบบการจัดการศึกษา สายวิชาการ สายวิชาชีพ และฝึกอบรมเพื่อพัฒนาส่งเสริมการทำงานบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ต่องานวิศวกรรม สาระสำคัญของความร่วมมือ (MOU) ครอบคลุมประเด็นดังนี้ 1) ความร่วมมือด้านความรับผิดชอบทางสังคม (CSR) 2) การสนับสนุนวิชาการและวิชาชีพด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวกับงานพัฒนาบุคลากรทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ครอบคลุมงานก่อสร้าง งานสิ่งแวดล้อม งานความปลอดภัย และอื่นๆ สร้างมาตรฐานวิชาชีพในการทำงานของบุคลากรด้านงานวิศวกรรมระบบราง 3) การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพวิศวกรรมระหว่างทั้งสององค์กร เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน 4) การสนับสนุนและพัฒนาให้บุคลากรด้านวิศวกรรมระบบรางมีความรู้ความสามารถ โดยจะตั้งคณะกรรมการร่วม หรือ คณะทำงานร่วมเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของความร่วมมือ การดำเนินกิจกรรม อาทิ การฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ในการพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค, การจัดทำมาตรฐานงานวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมระบบราง ช่วยเหลือและให้ข้อแนะนำด้านวิศวกรรมและความปลอดภัย

ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ประธานคณะกรรมการระบบราง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ กล่าวถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของทุกชาติในภูมิภาคอาเซียน ทำให้ในรอบทศวรรษนี้หลายประเทศจึงวางแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในภูมิภาคอาเซียนรวมกันถึงกว่า 6 ล้านล้านบาท อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ประเทศไทย เป็นต้น โดยต่างก็ตั้งเป้าที่จะเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านคมนาคมขนส่งของประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น ด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่มีความปลอดภัย สะดวก ประหยัดและคุ้มค่า รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องภายใต้การรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศผู้ผลิต อย่างไรก็ตามในภูมิภาคอาเซียนยังต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญร่วมกันในหลายด้าน อาทิ การเดินทางเชื่อมต่อกับภูมิภาคด้วยระบบรางที่ยังขาดช่วง (Missing Link) และในแต่ละประเทศต่างก็อ้างอิงมาตรฐานต่างกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบในการเดินทางโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Interoperability) ตลอดจนการขาดอำนาจต่อรองในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศผู้ผลิต

ทั้งนี้หากประเทศในอาเซียนร่วมมือกันภายใต้การลงทุนมหาศาลจะถือเป็นโอกาสในการดึงดูดประเทศเจ้าของเทคโนโลยีในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมระบบรางของโลกได้ในอนาคต ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศในอาเซียนต้องร่วมมือกันในการพัฒนามาตรฐานกลางระบบรางของอาเซียนขึ้น โดยเมื่อปี พ.ศ. 2559 ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ The 1st ASEAN Rail Standardization ที่ประเทศเกาหลีใต้ และเป็นที่น่ายินดีในปลายปี 2561 นี้ ประเทศไทยโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ The 2nd ASEAN Rail Standardization โดยจัดในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2561 ระหว่างวันที่ 1-3 พ.ย. 2561 ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทอง โดยมีนานาประเทศเข้าร่วมแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นในการวางแผนสร้างมาตรฐานร่วมกัน เพื่อการเชื่อมกันอย่างไร้รอยต่อภายในภูมิภาค เพื่อประโยชน์ของประชาชน สังคมและเศรษฐกิจอาเซียนร่วมกัน ดังคำขวัญของอาเซียนที่ว่า "One Community Many Opportunities"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©