View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 10/05/2018 3:20 pm Post subject:
บีทีเอส บางหว้า-ตลิ่งชัน ไม่คืบ ติด EIA-ไร้ที่ดินสร้างสถานีจ่ายไฟ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 10 May 2018 - 11:53 น.
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต
เป็นรถไฟฟ้าอีกหนึ่งสายทางที่อยู่ในความสนใจของประชาชนอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วง บางหว้า-ตลิ่งชัน มี กทม.-กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ผลักดันโครงการ สถานะของโครงการล่าสุด
จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ และการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ซึ่งล่าช้าไปจากเดิมจะให้แล้วเสร็จในปี 2558 เนื่องจากยังติดปัญหาด้านการขอใช้พื้นที่บางส่วนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิดความล่าช้า ขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เร่งดำเนินการแล้ว
สำหรับแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายสายสีลม ตากสิน-เพชรเกษม ที่สถานีบางหว้า จากนั้นไปตามแนวเกาะกลางถนนราชพฤกษ์ ผ่านทางแยกตัดถนนบางแวก (ซอยจรัญฯ 13) แยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4แล้วยกข้ามทางแยกถนนบรมราชชนนี ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกที่อยู่ในแนวรถไฟสายใต้ มาสิ้นสุดบริเวณทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี)
มี 6 สถานี ได้แก่
1.สถานีบางแวก อยู่บริเวณปากทางเข้าซอยราชพฤกษ์ 6
2.สถานีบางเชือกหนัง อยู่บริเวณจุดตัดถนนบางแวกและซอยจรัญสนิทวงศ์ 13
3.สถานีบางพรมอยู่บริเวณจุดตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4
4.สถานีอินทราวาส อยู่บริเวณด้านหน้าโครงการเดอะเซอร์เคิล
5.สถานีบรมราชชนนี อยู่บริเวณจุดตัดถนนบรมราชชนนี และ
6.สถานีตลิ่งชัน อยู่บริเวณหน้าซอยราชพฤกษ์ 24
แหล่งข่างจาก กทม.กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเบื้องต้นรถไฟฟ้าสายนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณ 15,000 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานกว่า 9,000 ล้านบาท และค่าติดตั้งระบบการเดินรถ 5,000 ล้านบาท ส่วนการเวนคืนที่ดินจะไม่มีเนื่องจากสร้างบนเกาะกลางถนนราชพฤกษ์
ปัญหาหลักทำให้การศึกษาความเป็นไปได้และการทำอีไอเอล่าช้า มาจากสาเหตุหลักคือ การหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีจ่ายไฟให้กับโครงการ เดิมจะใช้พื้นที่ของกรมทางหลวงชนบทย่านราชพฤกษ์ในการก่อสร้าง แต่กรมทางหลวงชนบทไม่ให้ เพราะผิดวัตถุประสงค์การเวนคืนที่ดิน จะต้องนำพื้นที่นี้มาสร้างถนนเท่านั้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า ดังนั้นโครงการจึงต้องหาพื้นที่ใหม่สำหรับสร้างสถานีจ่ายไฟ ในเบื้องต้นมองไว้ 2 แห่ง คือ 1.บริเวณพุทธมณฑลสาย 4 เป็นที่ดินของสำนักการโยธา กทม.เวนคืนมาสร้างถนน และ 2.บริเวณระหว่างถนนราชพฤกษ์ ตัดเข้าถนนบรมราชชนนี ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา หากสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าบริเวณนี้ จะสามารถจ่ายไฟให้กฟน.นำไปใช้ประโยชน์ได้ด้วยหรือไม่ หากเจรจาตกลงกันได้ จะร่วมลงทุนก่อสร้างต่อไป
ทั้งนี้ กทม.มีแผนจะเสนอโครงการนี้ให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) บรรจุไว้ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือ M-MAP2 อีกด้วย หลังผลการศึกษาและอีไอเอแล้วเสร็จในปีนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยบรรเทาการจราจรฝั่งธนบุรี และเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ ๆ ในเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชันได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สาย 4 สี มีสายสีเขียว ช่วงถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินถึงบางหว้า, สายสีน้ำเงิน ช่วงท่าพระถึงบางแค, สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อถึงตลิ่งชัน และสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชันถึงดินแดง
โดยเฉพาะ สถานีตลิ่งชัน มีที่ว่างรอการพัฒนาอยู่ประมาณ 300 ไร่ จะสามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัยมารับกับรถไฟฟ้าสายต่าง ๆซึ่ง กทม.เตรียมจะปรับสีผังเมืองรวมบริเวณนี้ใหม่เป็นพื้นที่สีแดงและสีส้ม จากปัจจุบันเป็นพื้นที่สีเขียวลายขาวกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำและเกษตรกรรม แต่จากปัญหาอุปสรรคระหว่างทางกว่าโครงการจะฉลุย คนฝั่งธนฯคงต้องร้องเพลงรอกันอีกหลายปี
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 04/06/2018 9:24 am Post subject:
แก้คอขวดรถไฟลอยฟ้า ตากสิน เลื่อนยาว-ติด EIA
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 June 2018 - 08:58 น.
โยนกันวุ่น - นโยบายขยายรางรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีตากสิน จากรางเดี่ยวเป็นรางคู่ คุยกันมาหลายปียังไม่มีข้อยุติ ปัญหาหลักไม่สามารถหาเจ้าภาพรับภาระลงทุน 1,100 ล้านและทำ EIA
กทม.ย้ำชัดไม่รับภาระขยายรางสถานีสะพานตากสิน มูลค่า 1.1 พันล้าน ลั่นให้เร่งดำเนินการปีนี้ ด้านบีทีเอสยังแบ่งรับแบ่งสู้ เผยโครงการเลื่อนสร้างยาว ติดทำอีไอเอ
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ได้เจรจากับบริษัท ระบบขนส่งกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสสายปัจจุบัน ให้รับภาระค่าก่อสร้างขยายรางรถไฟฟ้าสถานีสะพานตากสินทั้งหมด 1,100 ล้านบาทแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเสนอให้ที่ประชุมสภา กทม. พิจารณา เนื่องจาก กทม.จะไม่นำเงินงบประมาณที่ได้จากภาษีประชาชนมาดำเนินการ คาดว่าจะเริ่มสร้างได้ภายในปี 2561
ที่ผ่านมามีการต่อรองกับบีทีเอสซีมาโดยตลอด ตั้งแต่ขอให้ กทม.ออกค่าก่อสร้างทั้งหมด เพื่อจ้างให้บีทีเอสซีดำเนินการก่อสร้าง ต่อมาก็มีการต่อรองให้ กทม.ออกค่าก่อสร้างครึ่งหนึ่ง เราก็ยืนยันกลับไปทุกครั้งว่า งบประมาณส่วนนี้แม้แต่สลึงหนึ่งก็จะไม่ออก ส่วนเขาจะไปจ้างใครมาก่อสร้างก็เรื่องของเขา จะบ่นว่างบประมาณที่ต้องใช้สูงก็เรื่องของเขา เมื่อเป็นหน้าที่ต้องไปทำมาให้จบ เราจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ แต่ถ้าเราต้องออกเงินก่อสร้างให้ก็จบเหมือนกัน คือไม่ต้องทำ พล.ต.อ.อัศวินกล่าว
นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการ กทม. เปิดเผยว่า แบบก่อสร้างเบื้องต้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ไม่มีข้อขัดข้องที่ กทม.จะทุบสะพานสาทรออกข้างละ 1.8 เมตร เพื่อขยายรางรถไฟสร้างเป็นทางคู่ให้ขบวนรถสามารถวิ่งสวนทางกันได้ โดยจะมีการสร้างชานชาลาเพิ่มเติมด้วย จะใช้เงินก่อสร้าง 1,100 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 3 ปี ในระหว่างก่อสร้างจะไม่มีการปิดสถานีสะพานตากสิน เพราะเป็นสถานีที่มีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เมื่อสร้างเสร็จพื้นที่บริเวณนี้จะเป็นศูนย์คมนาคมครบวงจรต่อเชื่อมการเดินทางทั้งทางรถ ราง และเรือ รองรับการเดินทางไปยังย่านธุรกิจอย่างสาทรและบางรัก
อย่างไรก็ตาม ในแผนเดิมจะเริ่มก่อสร้างในเดือน พ.ค. 2561 แต่ตอนนี้ยังติดปัญหาเจรจากับบีทีเอส เรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เนื่องจาก กทม.ในฐานะเจ้าของสัมปทาน ต้องการให้บีทีเอสออกค่าก่อสร้างทั้งหมด แต่การเจรจาก็ยังไม่ได้ข้อยุติ หากตกลงกันไม่ได้เตรียมตั้งคณะกรรมการพิจารณาข้อตกลงร่วมกัน ประกอบไปด้วย ตัวแทนบีทีเอส 2 คน กทม. 2 คน และจะร่วมกันคัดเลือกกรรมการกลางขึ้นมาอีก 3 คน เพื่อให้ได้ข้อยุติต่อไป
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.บีทีเอสซี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปร่วมกับ กทม.ถึงเรื่องค่าก่อสร้าง อยู่ระหว่างการเจรจา ทั้งนี้ยังมีเวลาดำเนินการ เนื่องจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มีหนังสือมาที่ กทม.ว่า การขยายสถานีสะพานตากสินจะต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ยังไม่รู้ว่าจะสามารถดำเนินการได้เมื่อไหร่
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 31/07/2018 1:02 am Post subject:
กทม.เปิดเส้นทางเดินเรือใหม่ บริการฟรี คลองภาษีเจริญ หนุนนโยบาย ระบบ ล้อ ราง เรือ
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 29 กรกฎาคม 2561 14:04
ปรับปรุง: 29 กรกฎาคม 2561 14:38
กรุงเทพมหานคร เปิดเส้นทางเดินเรือใหม่ จากคลองบางกอกใหญ่ เชื่อมคลองภาษีเจริญ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว จากท่าเรือสะพานตากสิน (สถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า) ถึงท่าเรือวัดทองศาลางาม โดยให้บริการฟรี ซึ่งยังมีประชาชนมาใช้บริการไม่มากนัก เนื่องจากเป็นวันหยุดยาว
วันนี้ (29 ก.ค.) กรุงเทพมหานคร เปิดทดลองเดินเรือเส้นทางใหม่ ตั้งแต่ท่าเรือสะพานตากสิน-เพชรเกษม บางหว้า คลองภาษีเจริญ ถึง ท่าเรือวัดกำแพงบางจาก คลองบางกอกใหญ่ ตลาดคลองบางหลวง โดยไม่เก็บค่าโดยสาร ตามนโยบายการส่งเสริมการเดินเรือในคลองของกรุงเทพมหานคร
นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า การทดลองเดินเรือเส้นทางท่าเรือสะพานตากสิน-เพชรเกษม คลองภาษีเจริญ ถึง ท่าเรือวัดกำแพงบางจาก คลองบางกอกใหญ่ เป็นประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานครในการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางน้ำ ซึ่งเพิ่มทางเลือกในการเดินทางและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ทั้งในด้านการขนส่งมวลชนและการเดินทางเชิงการท่องเที่ยว
อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาและเพิ่มขยายโครงข่ายระบบคมนาคมการสัญจรทางน้ำให้มากขึ้น และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายการเดินทางสาธารณะระบบอื่นๆ ล้อ ราง เรือ ตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ในวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ที่ท่าเรือสะพานตากสิน-เพชรเกษม และท่าเรือวัดกำแพงบางจาก โดยเรือจะออกทุก 30 นาที ซึ่งให้เริ่มทดลองเดินเรือตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 25/10/2018 9:26 pm Post subject:
เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์ : รถไฟฟ้าสายสีเขียว (บางหว้า-ตลิ่งชัน) ยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการเดินทาง
ออนไลน์เมื่อ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ : เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์
เซกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12 ฉบับ 3410 หน้า 4
ระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) และบริษัทกรุงเทพธนาคมจำกัดหรือเคทีอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายสีลม ตอนที่ 3 ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชันซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นขอรับฟังผลการพิจารณาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อนที่จะเสนอคณะกรรมการบริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.)และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร่งผลักดันต่อไป
รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเส้นทางนี้นับเป็นอีกหนึ่งเส้นทางระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมในการเร่งเปิดให้บริการเพราะสามารถเชื่อมเข้าถึงย่านพาณิชยกรรมสำคัญอย่างสีลม สยาม และสุขุมวิทได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว เป็นแนวเส้นทางที่ผ่านพื้นที่ย่านที่อยู่อาศัย ชุมชน สถานศึกษา และการพาณิชย์ จากพื้นที่เขตตลิ่งชันและภาษีเจริญที่ปัจจุบันมีความเจริญแล้วอย่างมากจึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำไปพัฒนาระบบการให้บริการเดินทางและเร่งส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางมาใช้ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลกันมากขึ้น ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯฝั่งตะวันตกเพื่อเพิ่มทางเลือกการเดินทางที่มีประสิทธิภาพแก่ประชาชน
แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับโรงจอดปัจจุบันของรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่บริเวณสถานีบางหว้า วิ่งไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชพฤกษ์ โดยใช้พื้นที่เกาะกลางถนน ผ่านทางแยกตัดถนนบางแวกช่วงซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 และทางแยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 แล้วยกระดับข้ามทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี และทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตกไปสิ้นสุดที่บริเวณทางลาดลงของจุดใกล้ๆกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ช่วงด้านหน้าซอยราชพฤกษ์ 24 รวมระยะทาง 7.5 กิโลเมตร จำนวน 6 สถานี ได้แก่
สถานีบางแวก
สถานีบางเชือกหนัง
สถานีบางพรม
สถานีอินทราวาส
สถานีบรมราชชนนี และ
สถานีตลิ่งชัน
โครงการนี้ใช้พื้นที่เกาะกลางของถนนราชพฤกษ์ ไม่มีการเวนคืน สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีบางหว้าโดยไม่ต้องเปลี่ยนรถไฟฟ้า เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงินช่วงหัวลำโพง-บางแคที่บางหว้าและสายสีแดงที่สถานีตลิ่งชัน จึงเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ส่งเสริมการเดินทางและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่รอบโครงการโดยเฉพาะจุดรอบสถานีที่มีพื้นที่ติดกับรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ตลิ่งชันให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถพัฒนาแนวเส้นทางให้ไปถึงรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ที่บริเวณถนนรัตนาธิเบศร์ ในอนาคตได้อีกด้วย
รถไฟฟ้าเส้นทางนี้ตามผลการศึกษาพบว่ามีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(Net Present Value :NPV) เท่ากับ 18,549 ล้านบาท มีอัตราส่วนระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ต่อค่าใช้จ่าย(Benefit Cost Ratio :B/C Ratio เท่ากับ 2.37 และมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการ (Economic Internal Rate of Return :EIRR) เท่ากับ 25.61%
เมื่อได้รับอนุมัติให้ดำเนินการคงต้องมาจับตามองการว่าพื้นที่รัศมีโดยรอบสถานีระยะ 500 เมตรจะเกิดการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างไรบ้างสำหรับการพัฒนาความเจริญของการพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัยของแต่ละสถานีที่จะสนองความเจริญของเมืองในโซนกรุงเทพมหานครได้มากน้อยแค่ไหน สำหรับอีกหนึ่งเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนไปสู่โซนกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกหรือรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ให้บริการในปัจจุบันไปถึงบางหว้าแล้วยังมีสายสีนํ้าเงินและสายสีแดงเชื่อมโยงให้ได้รับความสะดวกด้านการเดินทางมากขึ้นนั่นเอง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 01/07/2019 8:14 pm Post subject:
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/693828084389007
เพจ โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure wrote: สรุปรายละเอียดโครงการก่อสร้างป้ายหยุดรถไฟ วุฒากาศ เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สถานีวุฒากาศ
วันนี้ที่จากข่าวของกรมราง ที่จัดทีมงานไปดูหน้างานสถานที่เพื่อก่อสร้างป้ายหยุดรถไฟ วุฒากาศ บริเวณ กม ที่ 4 ของทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย เพื่อเชื่อมต่อรถกับรถไฟฟ้า BTS สายสีลม สถานีวุฒากาศ ซึ่งเป็นการพัฒนาจุดเชื่อมต่อเพื่อพัฒนารถไฟเดิมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ก่อนอื่นต้องขอบคุณ ทีมงานของกรมรางที่ทำงานได้ฉับไว พอผมส่งข้อมูลให้ ก็ติดต่อกลัาเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม และเชิญผมไปดูหน้างานด้วย ซึ่งขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างมาก ที่เห็นปัญหาของประชาชนและพร้อมแก้ไขปัญหาในทันที
ต้องบอกก่อนว่าโครงการป้ายหยุดรถไฟวุฒากาศ ไม่ใช่ผมเป็นคนคิดคนแรกอย่างแน่นอน เคยมีการศึกษาในสมัยที่จะสร้างศูนย์คมนาคมตากสิน ก็เอาตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งหลักในการก่อสร้างสถานีรถไฟวุฒากาศ และเชื่อมต่อกับ BTS วุฒากาศ
ข้อเสนอนี้ได้ถูกเสนอล่าสุด ในปี 58 จากหน่วยงานภายในของ รฟท ที่ดูแลทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย ก็เสนอของบเพื่อก่อสร้าง ป้ายหยุดรถไฟวุฒากาศ นี้ แต่เรื่องก็ได้หายไปจนผมได้ไปแทงเรื่องนี้ในเพจขึ้นมาอีกครั้งนึงครับ
รายละเอียดปัจจุบันนี้ เส้นทาง สายวงเวียนใหญ่-มหาชัย
- มีระยะทาง 32 กิโลเมตร
- มีรถไฟอยู่ทั้งหมด 4 ขบวน
- ให้บริการตลอดวัน ไป-กลับทั้งหมด 34 เที่ยว
- ช่วงเวลา ให้บริการ เที่ยวแรก ออกจากมหาชัย 4:30 น. เที่ยวสุดท้าย ออกจากวงเวียนใหญ่ 20:00 น.
- ใช้เวลาเดินทางจากวงเวียนใหญ่ ไปถึง มหาชัย 50 นาที เมื่อเทียบกับทางถนน ในชั่วโมงเร่งด่วน ต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง
- มีผู้โดยสารเฉลี่ย 9,000 คน/วัน
- ค่าโดยสารรถไฟธรรมดา 10 บาท และรถปรับอากาศ 25 บาท
รายละเอียดการก่อสร้าง ขออ้างอิงข้อมูลเดิมของผู้ดูแลเส้นทางนี้ มาเป็นข้อมูลเบื้องต้นนะครับ
- พื้นที่ก่อสร้างชานชลาป้ายหยุดรถไฟ จะก่อสร้างเริ่มต้น บริเวณใกล้กับทางลักผ่านใต้ต่างระดับ ทางทิศเหนือ ด้านมุ่งหน้าสถานีตลาดพลู ทอดยาวประมาณ 100 เมตร มาจบที่บริเวณ เลยทางลักผ่านด้านทิศใต้ประมาณ 20 เมตร
- ชานชลาของป้ายหยุดรถไฟ จะเป็นรูปแบบป้าายหยุดรถไฟ ซึ่งใช้แผ่นปูนสำเร็จในการปูพื้นชานชลา อาจจะไม่มีหลังคา เนื่อจาก ใช้พื้นที่ ใต้ต่างระดับ รัชดา-ราชพฤกษ์ เป็นหลังคา กันแดด กันฝน
- การหยุดเพิ่มที่ป้ายหยุดรถนี้ ทำให้รถไฟทั้งสายใช้เวลาเพิ่มขึ้น เพียง 2 นาที ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้สำหรับการเดินรถชานเมืองอยู่แล้ว
- การประเมินมูลค่าการก่อสร้างเบื้องต้น ประมาณ 1 ล้าน บาท
- พื้นที่เดิมที่ก่อสร้างเป็นสถาที่กองหมอนคอนกรีต Dual Block เก่าที่รื้อเปลี่ยนมาเป็นหมอน Mono block ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ระยะทางจากทางลงบันไดเลื่อนของ BTS ถึงตำแหน่งก่อสร้างป้ายหยุดรถไฟ เพียง 150 เมตร มี 1 จุดข้างถนน เป็นทางม้าลาย หากอนาคต มีผู้บริการมากอาจจะมีการขยาย Sky Walk ของ BTS วุฒากาศ ข้ามถนนมาฝั่งทางรถไฟด้วย และอาจจะมีการติดไฟส่องสว่างบนฟุตบาท เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารที่เดินมาขึ้นรถด้วย
- การประชาสัมพันธ์ อาจจะขอให้ กทม ประสานงานกับ BTS เพื่อประกาศจุดเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย ที่สถานีนี้
สิ่งที่ผมคาดหวังจากการเพิ่มจุดจอดตรงนี้ หวังว่า รถไฟสายนี้จะได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่เปลี่ยนจากการการขนส่งในรูปแบบอื่นมาใช้รถไฟแทน ซึ่งอาจจะมีผู้โดยสาร เพิ่มขึ้นหลายพันคนต่อวันจากการเพิ่มจุดจอดตรงนี้ก็ได้ครับ
ปล. ผมว่า Meeting แรกของเพจผมจะเป็นการไปชมป้ายหยุดรถไฟ วุฒากาศ เนี่ยแหละ แล้วนั่งรถไฟไปเที่ยวมหาชัยกันครับ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 30/08/2019 9:14 pm Post subject:
ความคืบหน้าการก่อสร้างป้ายหยุดรถวุฒากาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2562
ปัจจุบันฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการขนย้ายหมอนคอนกรีตทั้งสองข้างทางรถไฟ จำนวนประมาณ 5,000 ท่อน ออกจากพื้นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างคณะกรรมการ ดำเนินการประกวดราคา เพื่อก่อสร้างป้ายหยุดรถวุฒากาศ พร้อมติดตั้งไฟส่องสว่าง ซึ่งคาดว่าจะลงนามและเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือนกันยายน 2562 และคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2562
https://www.facebook.com/421508948626055/posts/485888995521383/
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 15/05/2020 9:00 am Post subject:
Wisarut wrote: Mongwin wrote: เรื่องการเชื่อมต่อสถานี BTS วงเวียนใหญ่ ตลาดพลูและวุฒากาศ กับทางรถไฟสายมหาชัยนี้ ดูแล้วจุดเชื่อมต่อใต้ถนนราชพฤกษ์นี่แหละ สะดวกคุ้มค่าที่สุด เพราะจุดอื่น ๆ ระยะทางค่อนข้างไกล ดังนี้ครับ
รฟท.วงเวียนใหญ่ - BTS วงเวียนใหญ่ ระยะทาง 900 เมตร
รฟท.ตลาดพลู - BTS ตลาดพลู ระยะทาง 900 เมตร
รฟท. คลองต้นไทร - BTS วุฒากาศ ระยะทาง 1,100 เมตร
ใต้ถนนราชพฤกษ์ - BTS วุฒากาศ ระยะทาง 400 เมตร
สงสัยต้องให้ชาวบ้านที่ได้ประโยชน์โดยตรงเป็นผู้ผลักดันกระมังครับ
----
ตั้งเป็นสถานีหรือที่หยุดรถวุฒากาศ สายมหาชัยซะเลยจะเป็นไร
ออ ตอนที่ผ่านจากสถานีบางหว้าถึงสถานีตลาดพลูเห็นเจดีย์เหลี่ยมขาว ของวัดปากน้ำภาษีเจริญมาแต่ไกลเลยหละครับ
ตอนนี้ที่หยุดรถ วุฒากาศชักเป็นรูปเป็นร่างอย่างเห็นได้ชัด เหลืองานระบบไฟฟ้าส่องสว่าง กับตีเส้นปลอดภัย งานนี้ทนเปียกฝนและแดดเผาหน่อย
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3045028372210754&set=a.2789611361085791&type=3&theater
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/929494347489045?__tn__=H-R
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 10/07/2020 7:34 am Post subject:
ส.ค.นี้เปิดบริการที่หยุดรถไฟ'วุฒากาศ'
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
แจ่มว้าวเชื่อมรถไฟฟ้าแค่150เมตร
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ก่อสร้างที่หยุดรถไฟวุฒากาศเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากประชาชนเรียกร้องมายัง ขร. จำนวนมาก เพื่อขอที่หยุดรถไฟวุฒากาศ ของรถไฟชานเมืองสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย ตั้งอยู่บริเวณจุดกลับรถใต้สะพานต่างระดับรัชดา-ราชพฤกษ์ ระหว่างสถานีรถไฟตลาดพลู และที่หยุดรถคลองต้นไทร จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนได้อย่างมาก โดยเฉพาะที่ต้องการเดินทางเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้ผู้โดยสารที่เดินทางมากับขบวนรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย หากจะเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส ต้องลงรถไฟที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ และเดินทางต่อเพื่อไปขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีวงเวียนใหญ่ ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 800 เมตร แต่หากเปิดใช้ที่หยุดรถไฟวุฒากาศ จะทำให้ผู้โดยสารลงที่หยุดรถนี้ และเดินเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีวุฒากาศได้เพียง 150 เมตร มั่นใจว่าจะ จูงใจประชาชนหันมาใช้ขนส่งสาธารณะมากขึ้น อย่างไรก็ตามในวันที่ 28 ก.ค. 63 ขร. พร้อมเจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่ไปปลูกต้นไม้บริเวณที่หยุดรถดังกล่าว และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาด้วย
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า รฟท. ใช้งบประมาณก่อสร้างที่หยุดรถไฟวุฒากาศ ประมาณ 1 ล้านบาท โดยใช้เสายกพื้นสูง และปูด้วยแผ่นพื้นปูนทั้ง 2 ข้างขนาบไปกับรางรถไฟ ไม่ได้ก่อสร้างตัวสถานี จึงใช้เวลาดำเนินการไม่มาก นอกจากนี้ยังติดไฟส่องสว่างตลอด 2 ข้างทาง เพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่มาใช้บริการด้วย อย่างไรก็ตามคาดว่า จะเปิดใช้บริการได้ประมาณเดือน ส.ค.นี้ ซึ่งการหยุดรับ-ส่ง ผู้โดยสารที่จุดหยุดรถไฟวุฒากาศนี้ จะทำให้เวลาการเดินทางของรถไฟชานเมืองสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย เพิ่มขึ้นเพียง 2 นาที.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 23/10/2020 3:50 pm Post subject:
เปิดที่หยุดรถวุฒากาศ 23 ต.ค. 63
การเดินทางจากมหาชัยสู่ใจกลางเมืองจะสะดวกยิ่งขึ้น กับจุดเชื่อมต่อรถไฟ รฟท. กับ รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม
"ที่หยุดรถไฟวุฒากาศ"
เชื่อมต่อจากรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีวุฒากาศ (S11) ทางออก 4
เริ่มให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2563 เป็นต้นไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
call center การรถไฟแห่งประเทศไทย หมายเลข 1690
สถานีรถไฟตลาดพลู 02 465 1204
สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ 02 465 2017
https://www.facebook.com/BTSSkyTrain/posts/3504716976240559
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 11/05/2024 4:34 pm Post subject:
คลองภาษีเจริญ รถไฟฟ้าสถานีบางหว้า - วัดปากน้ำ Khlong Phasi Charoen (พ.ค.67)
ัvnp story
May 11, 2024
https://www.youtube.com/watch?v=PlJNeb59vF8
คลองภาษีเจริญ รถไฟฟ้าสถานีบางหว้า - วัดปากน้ำ Khlong Phasi Charoen (พ.ค.67)
บรรยากาศริมคลองภาษีเจริญ ช่วงbtsบางหว้า - วัดปากน้ำ ระยะทาง 1.30 กม.
คลองภาษีเจริญ เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ไปเชื่อมแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร รวมความยาว 28 กิโลเมตร
ไหลผ่านเขตภาษีเจริญ เขตบางแค และเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
โครงการเดินเรือในคลองภาษีเจริญ เป็นโครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางน้ำเชื่อมต่อระบบล้อ ราง เรือ ตามนโยบายของรัฐบาล
กรุงเทพมหานคร โดยกรุงเทพธนาคม ได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 60 จำนวนท่าเรือ 15 ท่า จากท่าเรือประตูน้ำภาษีเจริญจนถึงท่าเรือเพชรเกษม 69 เชื่อมต่อการเดินทางไปยังรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง bts และ mrt สถานีบางหว้า และได้หยุดให้บริการเดินเรือในคลองภาษีเจริญ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 เนื่องจาก กทม.ต้องการใช้พื้นที่ก่อสร้างเขื่อน และทางกรุงเทพธนาคม ต้องหาพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและจุดเติมน้ำมันใหม่
วัดปากน้ำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ อายุกว่า 300 ปี สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งอยู่ริมคลองหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม
เนื่องจากวัดตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่าน ที่แยกไปจากคลองบางหลวงอีกทีหนึ่ง ชื่อของวัดจึงถูกเรียกขานตามตำบลที่ตั้งว่า วัดปากน้ำ
Khlong Phasi Charoen: Bang Wa Station to Wat Pak Nam Temple (May 2024)
Atmosphere along the Phasi Charoen Canal, from Bang Wa BTS Station to Wat Pak Nam Temple (Distance: 1.30 km)
Khlong Phasi Charoen originates at the confluence of Bangkok Yai and Bang Khun Si Canals, eventually joining the Tha Chin River at Don Kai Dee Subdistrict in Samut Sakhon Province. With a total length of 28 kilometers, the canal flows through the districts of Phasi Charoen, Bang Khae, and Nong Khaem in Bangkok, and Krathum Baen District in Samut Sakhon Province.
The Phasi Charoen Canal boat service project was initiated to develop water transportation routes integrating water, rail, and road systems, aligning with government policy. Operated by Bangkok Thanakom, the service commenced in 2017 with 15 piers, from Pratunam Phasi Charoen Pier to Phetkasem Pier 69, connecting to the BTS and MRT Bang Wa stations. However, navigation services on the Phasi Charoen Canal were discontinued on January 1, 2022, due to the Bangkok Metropolitan Administration's dam construction project. Bangkok Thanakom is currently seeking a new maintenance center and refueling point.
Wat Pak Nam, a royal monastery over 300 years old, dates back to the mid-Ayutthaya period. Situated along Khlong Luang (Bangkok Yai Canal), the temple's name, "Wat Pak Nam," is derived from its location at the mouth of Khlong Dan, which branches off from Khlong Bang Luang.
Back to top