View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48171
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 27/08/2018 5:58 pm Post subject: |
|
|
ชง 1.5 แสนล้าน แก้รถติดเกษตร เปิด PPP ประมูลโมโนเรลพ่วง ด่วนขั้น3
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 26 August 2018 - 21:54 น.
สนข.ชง คจร.เคาะ 1.5 แสนล้านแก้รถติดเกษตร-นวมินทร์ ผุดโมโนเรลสายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี พ่วงทางด่วนขั้นที่ 3 ยืดแนวเชื่อมศรีรัช-วงแหวนตะวันตก-ตะวันออก ดึงเอกชนร่วม PPP รัฐจ่ายค่าเวนคืน เผยราคาที่ดินแพงหูฉี่ ดันค่าเวนคืนพุ่ง 1.5 หมื่นล้าน
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ผลศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เงินลงทุน 112,505 ล้านบาท และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือทดแทน N1 และส่วนต่อขยาย N2 เชื่อมวงแหวนตะวันออก เงินลงทุน 37,966 ล้านบาท ขณะนี้เสร็จแล้วจะสรุปผลศึกษาให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาภายในปีนี้
โดยที่ปรึกษาเสนอให้สร้างทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วนเพื่อแก้ปัญหาการจราจรบนถนนเกษตร-นวมินทร์ จะใช้เงินลงทุนรวม 150,471 ล้านบาท ซึ่งทางด่วนพร้อมสร้างมากที่สุด เพราะใช้ตอม่อเดิม 281 ต้นก่อสร้าง จะสร้างเสร็จในปี 2567 ขณะที่รถไฟฟ้าทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะต้องใช้เวลาออกแบบรายละเอียด และคัดเลือกเอกชนมาลงทุนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เหมือนสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2568
แผนก่อสร้างทั้ง 2 โครงการจะทำระบบฐานรากไปพร้อมกันลดปัญหาจราจร การลงทุนจะให้เอกชนร่วม PPP ทั้ง 2 โครงการ กำลังศึกษาจะเป็น net cost หรือ gross cost แต่แนวโน้มจะเป็นรูปแบบสัมปทาน หรือ PPP net cost รัฐเวนคืนที่ดิน ส่วนเอกชนลงทุนก่อสร้างและรับสัมปทานบริหารโครงการ
แหล่งข่าวกล่าวว่า รูปแบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) ก่อสร้างเป็นทางยกระดับ มีระยะทาง 22.1 กม. 20 สถานี แนวจะเริ่มบริเวณแยกแครายเชื่อมต่อกับสายสีม่วงและสีชมพู ผ่านจุดตัดทางด่วนศรีรัช แยกพงษ์เพชร บางเขน เกษตร ไปตามแนว ถ.เกษตร-นวมินทร์ ผ่านแยกลาดปลาเค้า เสนา จุดตัด ถ.สุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางด่วนรามอินทรา-
อาจณรงค์ ถ.นวมินทร์ เลี้ยวขวาไปตามแนว ถ.นวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว ศรีบูรพา แฮปปี้แลนด์ บางกะปิ สิ้นสุดที่จุดตัด ถ.พ่วงศิริ กับ ถ.รามคำแหง มีสถานีเชื่อมกับรถไฟฟ้า 7 สาย มีสีม่วง สีชมพู สีแดง สีเขียว สีเทา สีส้ม และสีเหลือง คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 218,547 เที่ยวคน/วัน มีอาคารจอดแล้วจรที่ใกล้สถานีลำสาลี เนื้อที่ 7 ไร่ จอดได้ 2,000 คัน และศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) 44 ไร่ อยู่ระหว่างหาพื้นที่ จากเดิมอยู่บริเวณจุดตัดทางด่วนเป็นที่ดินของเอกชนที่จะร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) พัฒนาเป็นเดโป้ของสายสีเทา ล่าสุด กทม.ไม่ให้ใช้พื้นที่ร่วมกัน แต่เนื่องจากที่ดินย่านเกษตร-นวมินทร์มีราคาแพง อาจจะให้เอกชนที่มีที่ดินอยู่แล้วร่วมกันพัฒนาเป็นรูปแบบเชิงพาณิชย์ หรือ TOD
ส่วนทางด่วนมีระยะทาง 17.2 กม. สร้างเป็นทางยกระดับ แนวเริ่มต้นแยกรัชวิภาจะเชื่อมกับโทลล์เวย์และทางด่วนศรีรัช-วงแหวนตะวันตก (ทดแทน N1) เลาะไปตามถ.วิภาวดีรังสิต เลี้ยวขวาที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ไปตามถนนเลียบคลองบางเขน ยกข้าม ถ.พหลโยธิน เลี้ยวขวาไปตามแนวคลองบางบัว ผ่านวัดบางบัว เข้าถนนผลาสินธุ์ เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.เกษตร-นวมินทร์ ผ่านแยกลาดปลาเค้า เสนา จุดตัดทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ แยกนวลจันทร์ นวมินทร์ สิ้นสุดที่วงแหวนตะวันออก
ทั้ง 2 โครงการมีค่าเวนคืน 15,895 ล้านบาท เพราะราคาที่ดินแพง เฉลี่ย 2-3 แสนบาท/ตร.ว. แบ่งเป็นค่าเวนคืนรถไฟฟ้า 9,518 ล้านบาท มีเวนคืนที่ดิน 19.4 ไร่ ทางขึ้น-ลงสถานี 24.7 ไร่ อาคารจอดจร 2.21 ไร่ เดโป้ 40-50 ไร่ และสิ่งก่อสร้าง 180 หลัง อยู่แนวรถไฟฟ้า 43 หลัง เดโป้ 1 หลัง ทางขึ้น-ลงสถานี 119 หลัง และอาคารจอดจร 17 หลัง ทางด่วนมีค่าเวนคืน 6,377 ล้านบาท ที่ดินรวม 16.79 ไร่ และสิ่งปลูกสร้าง 35 หลัง |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48171
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 28/08/2018 6:17 am Post subject: |
|
|
นายกฯสั่งทำแผนเวนคืนรถไฟฟ้าล่วงหน้า หวังแก้ปัญหาปั่นกระแสเพิ่มราคา
เผยแพร่: 27 ส.ค. 2561 18:41 โดย: MGR Online
นายกสั่งคุมเข้ม อุบัติเหตุระหว่างก่อสร้างโมโนเรลสีชมพูและสีเหลือง เร่งรับเหมาคืนผิวจราจร ให้การบ้าน คมนาคมทำแผนเวนคืน แก้ปัญหาปั่นราคาที่ดินก่อนก่อสร้าง คาดเสร็จปลายปี 64 เปิดให้บริการต้นปี 65 ค่าโดยสาร 16-42 บาท ด้าน รฟม.ชงบอร์ด 31 ส.ค. เคาะผลศึกษาต่อสีชมพูเข้าเมืองทองฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเริ่มการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงว่า รัฐบาลให้ความสนใจเร่งรัดติดตามความก้าวหน้าเพื่อให้ทั้งสองโครงการนี้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
เพื่อหวังบรรเทาปัญหาการจราจรอย่างเร่งด่วน โดย รถไฟฟ้าทั้ง 2สายเป็นโครงการนำร่องภายใต้นโยบาย PPP Fast Track ของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการให้มีความรวดเร็ว รวมทั้งเปิดโอกาสให้เอกชนได้เข้าร่วมในโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ต่างๆ ร่วมกับภาครัฐ เพื่อลดภาระด้านงบประมาณและหนี้สาธารณะของประเทศ
ขอให้โครงการนี้เป็นตัวอย่าง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถลงทุนทุกโครงการทั้งหมดได้ วันนี้ต้องช่วยรัฐบาลระวังในเรื่องของพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯด้วย จะต้องมีการใช้จ่ายงบประมาณในวงเงินสัดส่วนที่กำหนด
ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามทำให้เกิดความเชื่อมั่นให้ได้ว่าวันข้างหน้าจะต้องไม่เกิดเรื่องราวที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกในอนาคต
เมื่อมีโครงการจะเกิดปัญหา เรื่องราคาที่ดินเพิ่ม 5-10 เท่า กระทบต่อการดำเนินโครงการ และอาจส่งผลต่อการก่อสร้างที่จะล่าช้าออกไป ดังนั้น ขอให้กระทรวงคมนาคม คิดแผนงานที่จะดำเนินโครงการเสนอรัฐบาลต่อไป นอกจากนี้ ขอให้เน้นเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ ในพื้นที่ก่อสร้าง มีกำหนดเวลาการทำงานที่แน่นอน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ค่าการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อดำเนินโครงการสายสีเหลืองและสีชมพูนั้น อยู่ในกรอบวงงบประมาณตามแนวเส้นทาง มีทั้งที่ดินของเอกชนและหน่วยงานราชการ คือ คือ กรมทางหลวง(ทล.) แลกรุงเทพมหานคร(กทม.) ซึ่ง ได้ส่งมอบ 100% แล้ว ส่วนที่ดินของเอกชนจะเวนคืนตามข้อกฎหมาย
ซึ่งมีขั้นตอนกำหนดไว้ ตั้งแต่การปรองดอง เพื่อจัดซื้อ หากไม่ตกลง ก็จะเป็นการใช้พ.ร.ฎ.เวนคืน ต่อไปหากไม่ตกลงกันอีก ก็มีขั้นตอนให้อุทธรณ์ ส่วนค่าชดเชย เป็นไปตามราคาตลาด ของกรมที่ดิน แต่ขอให้เป็นราคาที่ซื้อขายจริง บางทีเป็นการเปลี่ยนมือเจ้าของเพื่อปรับราคา
ทั้งนี้ นายกฯได้ให้นโยบายเรื่องความปลอดภัยในการก่อสร้าง ทั้งผู้ปฏิบัติงานและประชาชน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย และเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และ หากก่อสร้างเสร็จต้องรีบคืนผิวจราจร อย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง จะมีระบบตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม ซึ่งจะเป็นระบบกลางที่เชื่อมการเดินทางของรถไฟฟ้าทุกสาย เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก ซึ่งณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2561 สายสีชมพู มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 3.10% ส่วน สายสีเหลือง มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธา 5.07% โดยก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน เสร็จปลายปี 2564 ทดสอบระบบรถ เปิดทางการต้นปี 2565 อัตราค่าโดยสาร 16-42 บาท
***รฟม.ชงบอร์ด 31 ส.ค. เคาะผลศึกษาต่อขยายสีชมพูเข้าเมืองทองฯ
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่'ประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินกำหนดในพ.ร.บ.เวนคืนไว้3 ขั้นตอน ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ตั้งคณะกรรมการอุทธณ์ค่าทดแทน หากยังไม่พอใจค่าชดเชย ก็สามารถฟ้องศาลได้อีก
ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว สำโรง(แยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึง แยกรัชโยธิน)ระยะทาง 2.6 กม. เพื่อเชื่อมต่อกับสายสีเขียวเหนือ บอร์ด รฟม.เห็นชอบแล้ว เตรียมเสนอคมนาคม และคณะกรรมการ PPP คาดใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ส่วนต่อสายสีชมพู แจ้งวัฒนะ-เมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร จะเสนอ บอร์ด รฟม.วันที่ 31ส.ค.พิจารณาผลการศึกษา |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44511
Location: NECTEC
|
Posted: 28/08/2018 11:47 am Post subject: |
|
|
ชงรถไฟฟ้าสีส้มศูนย์วัฒน์-บางขุนนนท์ 1.4 แสนล. และต่อขยายสีชมพู ให้บอร์ดรฟม. ไฟเขียว 31 ส.ค.
วันที่ 27 สิงหาคม 2561 - 16:25 น.
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด รฟม.วันที่ 31 ส.ค. นี้ รฟม. เตรียมที่จะนำเสนอ 2 โครงการให้บอร์ดพิจารณาอนุมัติ คือ
1. ผลการศึกษาแผนการร่วมทุน (พีพีพี) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 1.3-1.4 แสนล้านบาท ซึ่งจะรวมงานบริหารการเดินรถรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทางระยะเวลารวม 30 ปี และ
2. โครงการส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าโนโนเรล สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี
ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ นั้น หากบอร์ด เห็นชอบรฟม. จะต้องส่งเสนอเรื่องต่อให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และเสนอให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) อนุมัติให้มีการนำเส้นทางต่อขยายไปบรรจุในแผนแม่บทคมนาคมขนส่งต่อไป
สำหรับส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง จากแยกรัชดา-ลาดพร้าว-แยกรัชโยธินนั้น ปัจจุบันได้ผ่านการอนุมัติจากบอร์ด รฟม. แล้ว อยู่ระหว่างเสนอนำเสนอให้กระทรวงคมนาคม และคจร. พิจารณาอนุมัติ เพื่อบรรจุภายใต้แผนแม่บทคมนาคมขนส่ง เช่นเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ชนะการประมูลโมโนเรลทั้ง 2 สายทาง เป็นกลุ่มร่วมทุน คือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture:BSR JV) ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS), บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44511
Location: NECTEC
|
Posted: 28/08/2018 9:12 pm Post subject: |
|
|
ตรึงค่าทางด่วนอีก 5 ปี เร่งสร้างรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลคู่ทางด่วน
เซกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค
ออนไลน์เมื่อ 28สิงหาคม 2561 -
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12 ฉบับ 3395 ระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม 2561 -
บอร์ดกทพ.ไฟเขียวตรึงค่าทางด่วน 5 ปีประเภทรถ 4 ล้อแต่เก็บเพิ่มรถใหญ่บางด่านพร้อมมีแผนลดราคาบัตรอีซี่พาสพร้อมเล็งเชื่อมทางด่วนเอกมัย-รามอินทรากับกาญจนาภิเษก มีลุ้นประมูลทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลและก่อสร้างไปพร้อมกัน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่าเพื่อการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาจราจรตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและการคืนประโยชน์สู่ประชาชนบอร์ดกทพ.ได้เห็นชอบให้คงราคาค่าผ่านทางด่วนไปอีก 5 ปีสำหรับประเภทรถ 4 ล้อ แต่จะมีการปรับราคาบางด่านของรถขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีแผนลดราคาบัตรอีซี่พาส โดยอยู่ระหว่างการปรับระบบซอฟต์แวร์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 เดือนนี้เพื่อให้รถผ่านด่านได้เร็วขึ้น
ล่าสุดได้ทำรีเวิร์สเลน (เลนพิเศษ) ให้ผู้ใช้รถได้รับความสะดวกมากขึ้น อีกทั้งยังมีแนวคิดก่อสร้างทางด่วนเชื่อมกทม.ฝั่งตะวันออกกับถนนกาญจนาภิเษกให้เส้นทางสามารถเชื่อมถึงกันได้อย่างสะดวกมากขึ้น ส่วนการก่อสร้างทางด่วนสายเหนือช่วงที่ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนนั้นโครงการจะเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจจากนั้นแนวจะอ้อมด้านหลังผ่านคลองบางบัว คลองบางเขนแล้วเลียบขนานไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิตจนถึงทางแยกต่างระดับรัชวิภา รวมระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร
สุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
เหล่านี้เป็นโครงการคืนความสุขให้ประชาชน โดยเฉพาะโครงการทำวีีเวิร์สเลนสามารถลดปริมาณรถจอดรอระยะทางยาว 13 กิโลเมตรเหลือ 9 กิโลเมตร จะเน้นดำเนินการทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นต่อเนื่องกันไป อีกทั้งยังจะนำโครงการลงทุนรูปแบบกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) เป็นโครงการ นำร่องกับการก่อสร้างทางด่วนเส้นทางพระราม 3-ดาวคะนอง-กาญจนาภิเษกต่อไป
ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่าได้เปิดรับฟังความเห็นประชาชนรอบที่ 3 ของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม) โดยได้กำชับให้ออกแบบเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด กระทบเวนคืนน้อยที่สุด ซึ่งจะพัฒนาโครงการควบคู่กันไปกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N1 N2 และส่วนเชื่อม ต่อถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกที่มีการก่อสร้างเสาตอม่อเตรียมไว้แล้วบนถนนประเสริฐ มนูกิจ(ถนนเกษตรฯ-นวมินทร์) ของ กทพ.เนื่องจากแนวสายทางคร่อมกันจึงต้องมีการปรับแผนก่อสร้างให้สอดคล้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านการจราจรโดยจะทำระบบฐานรากไปพร้อมกัน โดยระบบทางด่วนสายเหนือจะเปิดให้บริการในปี 2567 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลจะเปิดให้บริการในปี 2568
ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
ในส่วนโครงการก่อสร้างนั้นจะแยกกันประมูลสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลเมื่อเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เรียบร้อยแล้วจะโอนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าภาพรับดำเนินการต่อไปโดยจะเป็นการนำเสนอเข้าสู่กระบวน การปฏิบัติตามหลักการของการร่วมทุนพีพีพีทั้ง 2 โครงการ
ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลอยู่ในเส้นทางที่มีแนวการเติบโตในพื้นที่สูงมากโดยมีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามากถึง 7 สายคือจุดสถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว(บีทีเอส) สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสีส้ม โดยจะมีการก่อสร้างอาคารจอดแล้วจรที่แยกบางกะปิเพื่อส่งเสริมให้ใช้ระบบขนส่งมวลชน
แนวเส้นทางเริ่มจากแยกแครายมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรับแยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตรฯ ต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดลาดปลาเค้า แยกเสนาฯ จัดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์แล้วเลี้ยวขวาลงไป ทางทิศใต้ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้ แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหงระยะทาง 22 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44511
Location: NECTEC
|
Posted: 04/09/2018 3:15 pm Post subject: |
|
|
เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์ : รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) ความสะดวก 7 จุดเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้า
เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์
โดย : โต๊ะข่าวคมนาคม
เชกชั่น : เศรษฐกิจมหภาค
ออนไลน์เมื่อ: 3 กันยายน 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 12 ฉบับ 3397 ระหว่างวันที่ 2-5 สิงหาคม 2561
สรุปผลการศึกษาเป็นรอบที่ 3 (รอบสุดท้าย) ไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเส้นทางนี้ โดยเบื้องต้นกระบวนการอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าภาพรับไปดำเนินการก่อสร้างและบริหารจัดการโครงการดังกล่าว
โดยในการประชุมคจร.ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีมติเห็นชอบรูปแบบการพัฒนาทั้งรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลช่วงแคราย-มีนบุรี(บึ่งกุ่ม) และทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 ถึงส่วนเชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก และส่วนทดแทน N1 เนื่องจากเห็นว่าแนวถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนงามวงศ์วาน และถนนประเสริฐมนูกิจ(เกษตรฯ-นวมินทร์) เป็นแนวเชื่อมพื้นที่ฝั่งตะวันตกกับพื้นที่ฝั่งตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอกเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและโลจิสติกส์ของประเทศที่สามารถเชื่อมไปถึงมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี และมอเตอร์เวย์เส้นกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด
แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เริ่มต้นจากแยกแคราย จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพู ณ จุดสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนงามวงศ์วาน ผ่านจุดตัดทางพิเศษศรีรัช แยกพงษ์เพชร แยกบางเขน แยกเกษตรฯ ไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านจุดตัดลาดปลาเค้า แยกเสนาฯ จุดตัดถนนสุคนธสวัสดิ์ จุดตัดทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) จุดตัดทางหลวง 350 จุดตัดถนนนวมินทร์ แล้วเลี้ยวขวาลงไปทางทิศใต้ ตามแนวถนนนวมินทร์ ผ่านแยกโพธิ์แก้ว แยกศรีบูรพา แยกแฮปปี้แลนด์ แยกบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่จุดตัดถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง รวมระยะทาง 22 กิโลเมตร จำนวน 20 สถานี
รถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 7 สายดังนี้คือ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี(รถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีม่วง) สถานีบางเขน(สายสีแดง) สถานีแยกเกษตรฯ (สายสีเขียว) สถานีฉลองรัช (สายสีเทา) สถานีลำสาลี (สายสีเหลืองและสีส้ม) ให้ประชาชนเลือกใช้ระบบขนส่งมวลชนได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น โดยจะมีอาคารจอดแล้วจรที่แยกบางกะปิ
โครงการดังกล่าวนี้แนวเส้นทางจะมีทางด่วนคร่อมไปเกือบตลอดแนวในช่วงถนนประเสริฐมนูกิจ โดยช่วงที่ผ่านมาถนนวิภาวดีรังสิตจะมีแนวเส้นทางเชื่อมต่อได้กับทางยกระดับอุตราภิมุข-ทางพิเศษศรีรัช-ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก ณ จุดต่างระดับรัชวิภา โดยแนวโครงการทางด่วนที่คร่อมรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลนี้จะเริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านแนวคลองบางบัว คลองบางเขน แล้วเลียบขนานไปตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต จนถึงทางแยกต่างระดับรัชวิภา
โดยทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้านั้นนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสนข.ยืนยันว่าจะให้มีการก่อสร้างไปพร้อมๆกันในการจัดทำฐานรากเพื่อลดปัญหาการจัดการพื้นที่ก่อสร้างให้กระทบจนเกิดปัญหาจราจร ส่วนการประชุมจะไม่พร้อมกัน โดยคาดว่าทางด่วนจะเปิดให้บริการได้ในปี 2567 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีนํ้าตาลจะเปิดให้บริการในปี 2568 ดังนั้นคงต้องมีลุ้นว่าโครงการไหนจะเกิดก่อน-หลัง และจะมีอุปสรรคปัญหาช่วงการประมูลหรือก่อสร้างให้ล่าช้าอีกหรือไม่ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44511
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48171
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 12/09/2018 5:36 pm Post subject: |
|
|
เตรียมจัดบัตรแมงมุมขึ้นรถไฟฟ้า ครบวงจรในปี62
กรุงเทพธุรกิจ 12 กันยายน 2561
ผู้ช่วยโฆษกกลาโหม เผย "พล.อ.ประวิตร" เตรียมจัดบัตรแมงมุม 4.0 ขึ้นรถไฟฟ้าครบวงจรในปี62
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 12 ก.ย.61 ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.หญิงพรชนก อ่ำพันธุ์ ผู้ช่วยโฆษกกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินคณะที่ 5 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ถึงความคืบหน้าการดำเนินการระบบตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุม ว่า ปัจจุบันมีบัตรแมงมุม 2.0 ที่ออกโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถใช้ได้กับรถเมล์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) นอกจากนี้ยังบัตรแมงมุม 2.5 ที่สามารถใช้ได้กับรถไฟฟ้ามหานคร (เอ็มอาร์ที) ทั้งสายสีม่วงและสีน้ำเงิน
ร.ต.หญิงพรชนก กล่าวอีกว่า โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ได้เชิญชวนให้ประชาชนอัพเกรดปรับบัตรแมงมุม 2.0 ให้เป็นบัตรแมงมุม 2.5 ได้ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค. 30 ก.ย. 2561 ส่วนในอนาคตจะมีการพัฒนาควบรวมให้เป็นบัตรแมงมุม 4.0 ซึ่งสามารถใช้ร่วมได้ทั้งรถเมล์ ขสมก. และรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที รวมถึงจะมีความชัดเจนในเดือน ธ.ค. นี้ ว่าจะใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสด้วยได้หรือไม่ ขณะที่ในเดือน ม.ค. 62 จะมีการพัฒนาบัตรให้ใช้ได้กับการเดินทางระบบราง ระบบเรือโดยสาร รวมถึงรถไฟฟ้าแอรพอร์ตเรลลิงก์ และจะมีการประเมินทุก 6 เดือน โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถใช้บัตรใบเดียวได้กับการเดินทางทุกระบบในเดือน ธ.ค. 62 ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ได้กำชับให้การดำเนินการมีความชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการจราจร |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44511
Location: NECTEC
|
Posted: 13/09/2018 11:41 am Post subject: |
|
|
รัฐบาลตั้งเป้าบัตรแมงมุม ครอบคลุมการเดินทางทุกระบบในปี 2562
วันที่ 12 กันยายน 2561 เวลา - 15:02 น.
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 12 กันยายน ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.หญิงพรชนก อ่ำพันธุ์ ผู้ช่วยโฆษกกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินคณะที่ 5 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ถึงความคืบหน้าการดำเนินการระบบตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุม ว่า ปัจจุบันมีบัตรแมงมุม 2.0 ที่ออกโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถใช้ได้กับรถเมล์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบัตรแมงมุม 2.5 ที่สามารถใช้ได้กับรถไฟฟ้ามหานคร (เอ็มอาร์ที) สายสีม่วงและสีน้ำเงิน โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เชิญชวนให้ประชาชนอัพเดตปรับบัตรแมงมุม 2.0 ให้เป็นบัตรแมงมุม 2.5 ได้ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 30 กันยายน 2561 ส่วนในอนาคตจะมีการพัฒนาควบรวมให้เป็นบัตรแมงมุม 4.0 ซึ่งสามารถใช้ร่วมได้ทั้งรถเมล์ ขสมก. และรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที รวมถึงจะมีความชัดเจนในเดือนธันวาคม 2561 ว่าจะใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสด้วยได้หรือไม่ ขณะที่ในเดือนมกราคม 2562 จะมีการพัฒนาบัตรให้ใช้ได้กับการเดินทางระบบราง ระบบเรือโดยสาร รวมถึงรถไฟฟ้าแอรพอร์ตเรลลิงก์ และจะมีการประเมินทุก 6 เดือน โดยตั้งเป้าว่าจะสามารถใช้บัตรใบเดียวได้กับการเดินทางทุกระบบในเดือนธันวาคม 2562 ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ได้กำชับให้การดำเนินการมีความชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนและเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการจราจร |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44511
Location: NECTEC
|
Posted: 13/09/2018 11:43 am Post subject: |
|
|
สนข. ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการ "ระบบตั๋วร่วม" เพื่อเป็นมาตรฐานการเดินทางในระบบขนส่งมวลชน
27 สิงหาคม 2561 -
สนข. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อเป็นมาตรฐานการเดินทางในระบบขนส่งมวลชน
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายให้จัดทำระบบตั๋วร่วม (Mangmoom Card) เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนของประชาชน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบรรเทาปัญหาจราจรแออัดในตัวเมือง ทั้งนี้ เพื่อบูรณาการระบบตั๋วร่วมได้อย่างสมบูรณ์แบบ จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการระบบขนส่งมวลชนในการร่วมให้บริการระบบตั๋วร่วมและการจัดเก็บค่าโดยสาร ซึ่งต้องอาศัยกลไกด้านกฎหมาย ในการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงาน การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องและขอบเขตความร่วมมือการให้บริการของระบบตั๋วร่วม รวมถึงหลักเกณฑ์การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วมและระบบขนส่งสาธารณะ
นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า การที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมจะเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วมและระบบขนส่งสาธารณะ ประชาชนและผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวก รวดเร็ว และได้รับผลประโยชน์จากการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งสาธารณะตามอัตราค่าโดยสารร่วมที่กำหนด และยังได้รับสิทธิประโยชน์ในการได้รับส่วนลดค่าเดินทางหรือค่าบริการต่าง ๆ อีกทั้ง ผู้ประกอบการระบบขนส่งสาธารณะจะได้รับความสะดวกจากระบบตั๋วร่วมจากการลดการใช้งานตั๋วโดยสารเที่ยวเดียว ลดต้นทุนในการดำเนินการบริหารจัดการบัตรโดยสาร และลดความเสี่ยงจากการทุจริตในการบริหารจัดการ เพื่อการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม อัตราค่าโดยสารร่วม และการเชื่อมต่อระบบกับผู้ประกอบการ เป็นมาตรฐานเดียวกัน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จึงดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ซึ่งการดำเนินงานและการบังคับใช้ข้อกำหนดหลักเกณฑ์ และมาตรฐานตั๋วร่วมต่าง ๆ จะเกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งทุกสาขา ทั้งผู้ประกอบการภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้ง การบริหารจัดการบัตรโดยสารร่วมให้สามารถใช้บริการนอกภาคการขนส่ง โดยร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ประกอบไปด้วยทั้งหมด 6 หมวด ดังนี้
หมวด 1 คณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม เพื่อกำหนดองค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วมและอำนาจหน้าที่ อันประกอบด้วย กำหนดนโยบายการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม กำหนดมาตรการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและข้อกำหนดต่าง ๆ
หมวด 2 การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ให้กรมการขนส่งทางราง เป็นหน่วยงานกำกับดูแลการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม มีหน้าที่กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผล การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมและการดำเนินงานของบริษัทบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และผู้ให้บริการ ภาคขนส่งให้เป็นไปตามมาตรฐานและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หมวด 3 การดำเนินงานในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อกำหนดให้บริษัทบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม มีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม บำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม และบริหารศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง
หมวด 4 กองทุนบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เพื่อกำหนดให้จัดตั้งกองทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนในการดำเนินงาน การพัฒนา และการส่งเสริมเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม รวมทั้งการอุดหนุนประชาชนผู้ใช้บริการระบบตั๋วร่วมหรือระบบขนส่ง และการส่งเสริมการใช้ระบบตั๋วร่วมหรือระบบขนส่ง
หมวด 5 การพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต เพื่อกำหนดให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วมมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตการประกอบกิจการของบริษัทบริหารจัดการตั๋วร่วม
หมวด 6 บทกำหนดโทษ เพื่อให้มีการกำหนดโทษ เมื่อมีผู้กระทำความผิด
นายชัยวัฒน์ กล่าวตอนท้ายว่า ปัจจุบัน กระทรวงคมนาคมนำเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รวบรวมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสนอร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเข้าสู่กระบวนการตามหลักการและแนวทางการจัดทำ และการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ คาดหวังว่าการใช้งานระบบตั๋วร่วมในระบบขนส่งสาธารณะจะเป็นการอำนวยสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นการเดินทางที่ประหยัดเวลา ประหยัดค่าเดินทาง และสนับสนุนการลดการใช้เงินสดเพื่อเข้าสู่สังคมไร้เงินสด Cashless Society ตามนโยบายของภาครัฐ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44511
Location: NECTEC
|
Posted: 14/09/2018 10:09 am Post subject: |
|
|
เล็งนำบัตรคนจนมาใช้เรือด่วนฯ-รถร่วม ขสมก.-บขส.
ศุกร์ที่ 14 กันยายน 2561 เวลา 09.41 น.
สนข. เผย ภาคเอกชนสนนำระบบตั๋วร่วมมาให้บริการในระบบขนส่งสาธารณะ คาดปี 61 มีความชัดเจนเปิดให้ประชาชนผู้ถือบัตรคนจน ขึ้นเรือด่วนเจ้าพระยา-รถร่วม ขสมก. รถร่วม บขส.
นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา ได้ประชุมหารือ และถ่ายทอดนโยบายและกำหนดแผนการนำระบบตั๋วร่วม (อีทิคเก็ต) มาใช้ในการเดินทางในภาคขนส่งสำหรับบริการรถโดยสารประจำทาง และเรือโดยสาร โดยมีเจ้าหน้าที่ สนข. และผู้แทนจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด และสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์โดยสาร เข้าร่วมประชุม ซึ่งการประชุมหารือครั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางและเรือโดยสารมีความพร้อมในการเข้าร่วมรับชำระค่าโดยสารผ่านบัตรตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมและสามารถวางแผนการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับแผนการนำระบบอีทิคเก็ตมาใช้ในการเดินทางในภาคขนส่งได้อย่างเหมาะสมต่อไป
นางวิไลรัตน์ กล่าวต่อว่า ผลการประชุมผู้ประกอบการภาคเอกชนได้ให้ความสนใจในการจะนำระบบอีทิคเก็ตมาให้บริการ และเข้าร่วมโครงการระบบตั๋วร่วม โดยเปิดให้ประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐขยายนำมาใช้กับระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เรือด่วนเข้าพระยา รถร่วม ขสมก. และรถร่วมบริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) ตอนนี้เอกชนมีความพร้อม หลังจากนี้ทุกหน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กรมเจ้าท่า (จท.) ที่กำกับดูแลเรือด่วนพระยา กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ที่กำกับดูแลรถร่วม ขสมก. และ บขส. ที่กำกับดูแลรถร่วม บขส. โดยภาคเอกชนต้องแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าร่วมระบบตั๋วร่วมมายังหน่วยงานที่กำกับดูแล เพื่อดำเนินการ ขณะเดียวกัน รฟม. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลระบบ ตอนนี้พร้อมดำเนินการด้านเทคโนโลยี คาดว่าภายในปี 61 จะมีความชัดเจนในการเปิดให้ประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนำมาใช้กับระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นการให้บริการของภาคเอกชนมากขึ้น หลังจากที่ปัจจุบันได้เปิดให้ประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐการนำมาใช้กับบริการระบบขนส่งสาธารณะในภาครัฐแล้ว อาทิ รถไฟ บขส. และ รถไฟฟ้า. |
|
Back to top |
|
 |
|