View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 12/09/2018 5:08 am Post subject:
ขบวนพิเศษจากกรุงเทพฯ มาลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ ท่างกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่นและประทับใจ
11 ก.ย. 2561
นักท่องเที่ยวกลุ่มแฮชจากทั่วโลก จำนวน 270 คน เดินทางด้วยรถไฟขบวนพิเศษจากกรุงเทพฯ มาลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ ท่างกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่นและประทับใจ ก่อนที่จะทำกิจกรรมวิ่งและเดินเพื่อออกกำลังกายประเภทไม่มีการแข่งขัน สร้างสีสันและบรรยากาศการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ให้กับเมืองหาดใหญ่ ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อฉลองครบรอบ 80 ปี กลุ่มแฮชกลุ่มนี้
วันนี้ 11 ก.ย. 61 ที่สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ และเจ้าหน้าที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ รวมทั้งชมรมแฮชหาดใหญ่ และชมรมแฮชสงขลา ได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจากทั่วโลก จำนวน 270 คน ในนามของกลุ่ม HASH RUMBLE BACK TO MOTHER HASH ที่เดินทางด้วยรถไฟขบวนพิเศษที่ 985 กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ มาลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่
เพื่อท่องเที่ยวในอำเภอหาดใหญ่ และร่วมกันทำกิจกรรมแฮช ซึ่งเป็นการวิ่งและเดินเพื่อออกกำลังกายประเภทไม่มีการแข่งขัน แต่ต้องช่วยกัน เพื่อให้สู่จุดหมายปลายทาง โดยไม่ซ้ำเส้นทางเดิม ซึ่งกิจกรรมจะจัดขึ้นที่ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ ในช่วงเย็นของวันนี้
ซึ่งบรรยากาศการต้อนรับเป็นไปอย่างอบอุ่น โดยมีการจัดขบวนกลองยาวต้อนรับทันทีที่ลงจากรถไฟ พร้อมกับคล้องพวงมาลัยดอกมะลิ และจัดขบวนรถสองแถวมารับนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังที่พัก และสถานที่จัดกิจกรรม ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก
ดร.ไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เปิดเผยว่า นักท่องเที่ยวกลุ่ม HASH RUMBER BACK TO MOTHER HASH เริ่มต้นเข้ามาท่องเที่ยว และจัดกิจกรรมวิ่งและเดิน โดยเริ่มจากจังหวัดเชียงใหม่ กรุงเทพฯ พัทยา หัวหิน เรื่อยมาจนถึงอำเภอหาดใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่จะเดินทางต่อไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นต้นกำหนดของกลุ่มแฮชกลุ่มนี้ เพื่อร่วมวิ่งและเดินในโอกาสครบรอบ 80 ปี ของการตั้งกลุ่มแฮชกลุ่มนี้ขึ้นมา นอกจากนี้ ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ และสร้างสีสันการท่องเที่ยวของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในรูปแบบใหม่ให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอีกด้วย
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : สุธิดา พฤกษ์อุดม
ผู้เรียบเรียง : วสันต์พรรษ จำเริญนุสิต
แหล่งที่มา : สวท.สงขลา
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
Posted: 12/09/2018 10:26 am Post subject:
ครม. ไฟเขียวเงินอุดหนุน ขสมก.-รฟท. 5,585 ล้านบาท
วันที่ 11 กันยายน 2561 - 19:41 น.
ครม.อุ้ม ขสมก.-รฟท. ดันภาระชดเชยพุ่งเฉียดทะลุเพดาน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 12 กันยายน 2561 - 09:20 น.
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2561 เห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2562 แก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รวม 5,585 ล้านบาท โดยให้ ขสมก. และ รฟท. รายงานภาระที่รัฐต้องรับชดเชย ต่อสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เพื่อจัดเก็บข้อมูลยอดคงค้างค่าใช้จ่ายและการสูญเสียรายได้ในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามมาตรา 28 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังของรัฐ ต่อไป
ทั้งนี้ การให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะดังกล่าวแยกเป็นเงินอุดหนุนแก่ ขสมก. 2,251.64 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าข้อเสนอที่ ขสมก. เสนอมา 3,277.28 ล้านบาท ซึ่งเหตุผลที่คณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะได้พิจารณาปรับลดก่อนเสนอต่อครม.นี้ คือ การตัดเงินอุดหนุนบริการในส่วนรถสาธารณะ เนื่องจากการให้บริการดังกล่าวนั้นไม่มีหลักฐานชัดว่า ขสมก. ถูกควบคุมราคาค่าโดยสารทำให้ไม่สอดคล้องกับนิยามการอุดหนุนทางการเงินตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ
นอกจากนี้ ให้ ขสมก. วางแผนการประมาณการรายได้ให้เป็นรูปธรรมโดยเฉพาะรายได้ที่จะมาจากระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) ส่วนเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้แก่ รฟท. อยู่ที่ 3,333.37 ล้านบาท โดยคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจปรับลดจากที่ รฟท. เสนอที่ 7,598.85 ล้านบาท โดยพิจารณาลดลงจากต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ ครม. ได้เห็นชอบรับภาระการลงทุนของ รฟท. ไปหมดแล้ว ต้นทุนค่าเสื่อมราคาส่วนใหญ่ก็เป็นค่าเสื่อมราคาของโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลรับภาระแล้ว ต้นทุนดอกเบี้ยรัฐบาลก็รับภาระไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังรายงานว่า ณ วันที่ 24 ส.ค. 2561 ยอดคงค้างค่าใช้จ่ายและการสูญเสียรายได้ในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการต่างๆ ของรัฐอยู่ที่ 857,431 ล้านบาท หรือ 29.6% ของงบประมาณประจำปี 2561 และเมื่อรวมภาระการชดเชย 2 หน่วยงาน จะทำให้สัดส่วนภาระการชดเชยอยู่ที่ 29.8% ซึ่งภายใต้มาตรา 28 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังของรัฐนั้น ค่าใช้จ่ายและการสูญเสียรายได้ในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการต่างๆ จะต้องอยู่ที่ไม่เกิน 30% ของงบประมาณประจำปี
ครม.เคาะ5.5พันล้าน อุ้ม "ขสมก.-รฟท." จี้ทำ3เรื่องแก้ปัญหาสภาพคล่อง
วันที่ 11 กันยายน 2561 -
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 11 กันยายน 2561 มีมติเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2562 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 2,251.644 ล้านบาท และเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2562 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 3,333.371 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ รวม 2 รัฐวิสาหกิจวงเงินรวมกว่า 5.5 พันล้านบาท
โดยครม. ให้ ขสมก. และ รฟท. รายงานภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ ในการดำเนินกิจกรรมมาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังทราบ เพื่อจะได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลยอดคงค้างให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้การประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย ต้นทุนของการให้บริการสาธารณะ ในการขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะของขสมก.และรฟท.เป็นไปอย่างเหมาะสม สามารถสะท้อนรายได้และต้นทุนที่แท้จริงของการให้บริการสาธารณะได้อย่างถูกต้อง เห็นควรให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไปนี้
1.ให้ขสมก.และรฟท. เร่งจัดทำต้นทุนมาตรฐานเพื่อใช้ในการกำกับดูแลอัตราค่าโดยสารและคุณภาพการให้บริการให้แล้วเสร็จโดยด่วน ตามที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้มีมติมอบหมายไว้ ซึ่งครม.ได้มีมติรับทราบตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 และ 4 เมษายน 2560 ด้วยแล้ว ทั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลต้นทุนมาตรฐานดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนบริการสาธารณะของคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะต่อไป
2.ให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจที่เข้าข่ายต้องขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2554 รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพการณ์จริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
3.ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการจัดทำข้อตกลงการให้บริการสาธารณะและเบิกจ่ายเงินอุดหนุนบริการสาธารณะให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเพื่อลดปัญหาการขาดสภาพคล่องของรัฐวิสาหกิจและภาระดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาให้บริการสาธารณะ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 24/09/2018 7:27 pm Post subject:
ส.ตะกร้อ แจงเส้นโคราชก่อสร้างเยอะ จัดทุกชาตินั่ง รถไฟ เพื่อความปลอดภัย
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 24 กันยายน 2561 - 15:48 น.
จากกรณีที่สมาคมกีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักที่จัดให้นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทุกชาติ ที่เข้าร่วมในศึกเซปักตะกร้อชิงแชมป์โลก ชิงถ้วยพระราชทาน คิงส์คัพ ครั้งที่ 33 ที่ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 23-30 ก.ย. เดินทางด้วยการนั่งรถไฟ แทนที่จะเป็นรถโดยสารปรับอากาศ
ล่าสุด เสธ.จารึก พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ นายกสมาคมกีฬาตะกร้อ และรองประธานและเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เผยว่า เราดูแล และอำนวยความสะดวกทุกชาติเป็นอย่างดีมาตลอด ตั้งแต่จัดรถไปรับที่สนามบิน จองที่พักโรงแรมให้เรียบร้อย เพียงแต่เหตุที่ต้องให้นั่งรถไฟ เพราะเราคำนึงถึงความปลอดภัยของทุกคนเป็นหลัก
การแข่งขันครั้งนี้มี 29 ชาติเข้าร่วม มีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ มากถึง 700 กว่าคน ลองคิดดูว่าเราต้องใช้รถบัสในการเดินทางกี่คัน ประกอบกับเส้นทางที่จะเดินทางไปนครราชสีมาช่วงนี้มีการปรับปรุงถนน และการก่อสร้างเยอะ หากเกิดอุบัติเหตุกับรถคันใดคันหนึ่งขึ้นมาประเทศชาติจะเสื่อมเสียชื่อเสียง ผมจึงเลือกใช้รถไฟแบบเหมาขบวนซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุด และเราก็ใช้วิธีการนี้มาตั้งนานแล้ว ดังนั้นใครจะพูดอย่างไรก็พูดไป แต่ผมขอคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก นายกสมาคมกีฬาตะกร้อ กล่าว
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่าสมาคมตะกร้อฯได้สอบถามไปยังนักกีฬาญี่ปุ่น ที่โพสต์อินสตราแกรม เกี่ยวกับการเดินทางบนรถไฟ ซึ่งได้รับคำตอบว่าทีมได้โพสต์แบบติดตลก และต้องการให้เห็นบรรยากาศในเมืองไทยเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจะต่อว่าแต่อย่างใด
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
Posted: 25/09/2018 10:04 am Post subject:
รฟท.เล็งกลางปี 63 เปิดใช้ตั๋วดิจิทัล
24 กันยายน 2561 - 08:30
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ปีงบประมาณปี 62 รฟท. ได้ขอรับจัดสรรงบประมาณวงเงิน 300 ล้านบาท มาใช้ดำเนินโครงการจ้างพัฒนาระบบจำหน่ายตั๋วโดยสารและสำรองที่นั่ง ระบบ D-ticket หรือตั๋วดิจิทัล ซึ่งเป็นตั๋วระบบใหม่ที่รองรับการจำหน่าย ตั๋วได้ทุกช่องทาง ทั้งจำหน่ายภายในสถานี ซื้อผ่านออนไลน์ ซื้อผ่านโมบายแอปพลิเคชัน รวมถึงจะมีการจัดทำระบบการจำหน่ายตั๋วโดยสารบนรถไฟผ่านคอมพิวเตอร์มือถือแบบพกพา หรือ Handheld Computer กรณีที่ผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางด้วย ส่วนระบบการชำระเงินค่าโดยสารก็จะมีความสะดวกและหลากหลายมากขึ้น โดยสามารถชำระเป็นเงินสด หรือชำระผ่านบัญชีธนาคารออนไลน์ได้ทันที
เบื้องต้น รฟท. จะบริหารจัดการระบบการจัดจำหน่ายตั๋ว D-ticket เอง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากที่สุด เพราะหากอนาคตเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง รฟท.จะได้สามารถปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างรวดเร็วทันสถานการณ์ ซึ่งหากใช้วิธีจ้างหรือให้สัมปทานบริษัทเอกชนเข้ามาบริหารระบบจัดจำหน่ายตั๋ว เอกชนอาจจะไม่ยอมลงทุนเพิ่มเพื่อปรับปรุงระบบการจัดจำหน่ายให้ทันสมัยเพราะมองว่าเป็นปัญหาภาระต้นทุน ทั้งนี้ ระบบ D-ticket จะยังไม่สามารถรองรับบัตรแมงมุมของกระทรวงคมนาคม เนื่องจากสถานีรถไฟทั่วประเทศไม่ได้ออกแบบเป็นระบบปิด แต่เป็นระบบเปิดโล่งที่ผู้โดยสารสามารถเดินเข้าถึงตัวรถได้ทุกทิศทาง.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 26/09/2018 8:23 pm Post subject:
สร.รฟท.เร่งคมนาคมเพิ่มอัตรากำลัง
เดลินิวส์ พุธที่ 26 กันยายน 2561 เวลา 18.21 น.
อาคมแจง สร.รฟท.ได้เร่งรัดขออัตรากำลังเพิ่มให้แล้ว เหตุโครงการรฟท.มีมากจึงจำเป็นต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้นเพื่อให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่รับปากแล้วเสร็จภายในปีนี้
เมื่อเวลา 9.30 น.วันที่ 26 ก.ย. ที่กระทรวงคมนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ภายหลังให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เข้าพบ ว่า สร.รฟท.ได้มาติดตามข้อเรียกร้องที่เคยยื่นเสนอให้กระทรวงคมนาคมไปเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ในเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มอัตรากังลังของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ความคืบหน้าการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง และเร่งรัดการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินของ รฟท. โดยในส่วนของการเพิ่มอัตรากำลังนั้นกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการอยู่ระหว่างขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล และปรับปรุงเอกสาร เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา ซึ่งจะเร่งรัดให้เร็วที่สุด เนื่องจากเรื่องนี้มีความสำคัญจึงจำเป็นต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน( ก.พ. ) และสำนักงานคณะกรรมนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เพื่อให้มั่นใจว่าทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าขณะนี้โครงการของ รฟท.มีจำนวนมาก บุคลากรจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่แก้ปัญหาตั้งแต่วันนี้ที่อัตรากำลังถูกคุมด้วยเป้าหมายกำลังคนภาครัฐก็จะทำให้การบริการที่เพิ่มขึ้นของ รฟท.ไม่สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้ ดังนั้นก่อนจะส่งเรื่องไปยังครม.ต้องทำให้เกิดความชัดเจนและไม่มีข้อคำถามตามมา
นายอาคม กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการจัดตั้งกรมราง และจัดตั้งบริษัทลูกบริหารสินทรัพย์ก็อยู่ระหว่างการดำเนินการเช่นกัน ส่วนจะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับรฟท.ด้วยว่าจะทำข้อมูลให้กระทรวงคมนาได้ในเวลาเท่าไหร่ เพราะบางเรื่องที่กระทรวงขอข้อมูลไปแล้วให้ส่งกลับภายใน 1 สัปดาห์ก็ล่าช้าไปถึง 2 สัปดาห์ก็มีจึงพยายามติดตามอยู่ อย่างไรก็ตามการดำเนินการทุกเรื่องจะเสร็จเรียบร้อยภายในปีนี้หรือไม่นั้นยังไม่สามารถตอบได้ แต่ได้พยายามเร่งรัดทุกเรื่องอย่างเร็วที่สุดแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อเรียกร้องของสร.รฟท.คือ ขอให้กระทรวงคมนาคมทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำหนดให้ รฟท. สามารถรับพนักงานใหม่เพิ่มได้5%จากพนักงานที่เกษียณอายุในแต่ละปี ให้สามารถเพิ่มจำนวนบุคลากรรถไฟได้ 4,000-5,000 คน จากที่ปัจจุบันขาดแคลนอยู่ 7,000 คน เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมือง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
Posted: 27/09/2018 9:49 am Post subject:
สร.รฟท.เร่งคมนาคมเพิ่มอัตรากำลัง
พุธที่ 26 กันยายน 2561 เวลา 18.21 น
อาคมแจง สร.รฟท.ได้เร่งรัดขออัตรากำลังเพิ่มให้แล้ว เหตุโครงการรฟท.มีมากจึงจำเป็นต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้นเพื่อให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่รับปากแล้วเสร็จภายในปีนี้
เมื่อเวลา 9.30 น.วันที่ 26 ก.ย. ที่กระทรวงคมนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ภายหลังให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เข้าพบ ว่า สร.รฟท.ได้มาติดตามข้อเรียกร้องที่เคยยื่นเสนอให้กระทรวงคมนาคมไปเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ในเรื่องเกี่ยวกับการเพิ่มอัตรากังลังของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ความคืบหน้าการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง และเร่งรัดการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินของ รฟท. โดยในส่วนของการเพิ่มอัตรากำลังนั้นกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการอยู่ระหว่างขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล และปรับปรุงเอกสาร เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา ซึ่งจะเร่งรัดให้เร็วที่สุด เนื่องจากเรื่องนี้มีความสำคัญจึงจำเป็นต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน( ก.พ. ) และสำนักงานคณะกรรมนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เพื่อให้มั่นใจว่าทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าขณะนี้โครงการของ รฟท.มีจำนวนมาก บุคลากรจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่แก้ปัญหาตั้งแต่วันนี้ที่อัตรากำลังถูกคุมด้วยเป้าหมายกำลังคนภาครัฐก็จะทำให้การบริการที่เพิ่มขึ้นของ รฟท.ไม่สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพได้ ดังนั้นก่อนจะส่งเรื่องไปยังครม.ต้องทำให้เกิดความชัดเจนและไม่มีข้อคำถามตามมา
นายอาคม กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องการจัดตั้งกรมราง และจัดตั้งบริษัทลูกบริหารสินทรัพย์ก็อยู่ระหว่างการดำเนินการเช่นกัน ส่วนจะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับรฟท.ด้วยว่าจะทำข้อมูลให้กระทรวงคมนาได้ในเวลาเท่าไหร่ เพราะบางเรื่องที่กระทรวงขอข้อมูลไปแล้วให้ส่งกลับภายใน 1 สัปดาห์ก็ล่าช้าไปถึง 2 สัปดาห์ก็มีจึงพยายามติดตามอยู่ อย่างไรก็ตามการดำเนินการทุกเรื่องจะเสร็จเรียบร้อยภายในปีนี้หรือไม่นั้นยังไม่สามารถตอบได้ แต่ได้พยายามเร่งรัดทุกเรื่องอย่างเร็วที่สุดแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อเรียกร้องของสร.รฟท.คือ ขอให้กระทรวงคมนาคมทบทวนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำหนดให้ รฟท. สามารถรับพนักงานใหม่เพิ่มได้5%จากพนักงานที่เกษียณอายุในแต่ละปี ให้สามารถเพิ่มจำนวนบุคลากรรถไฟได้ 4,000-5,000 คน จากที่ปัจจุบันขาดแคลนอยู่ 7,000 คน เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมือง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44058
Location: NECTEC
Posted: 28/09/2018 10:31 am Post subject:
น่าชื่นชมพนักงานรฟท.ช่วยเหลือ1ชีวิต
27 กันยายน 2561
27ก.ย.61 เวลาประมาณ 13.38น. นายสถานีหัวหมากกระโดดช่วยผลักชายที่ยืนขวางกลางทางรถไฟให้รอดพ้นจากเหตุอันตรายในระหว่างที่ขบวนรถธรรมดา 368 (ชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ) กำลังเข้าสถานีหัวหมากที่ความเร็วไม่มากนัก
ป.ล. ขอชื่นชมพนักงาน รฟท. ท่านนี้ ที่มีสายตาเฉียบคม และจิตใจช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีครับ
Credit: Suphalerk Soodyodprasert
ชื่นชม! นายสถานีหัวหมากใจเด็ด ผลักชายยืนขวางรถไฟ คาดอยากฆ่าตัวตาย (ชมคลิป)
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 12:59
ปรับปรุง: วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 15:18
หนุ่มโพสต์ชื่นชมนายสถานีหัวหมาก เข้าช่วยเหลือชายรายหนึ่งยืนขวางกลางรางรถไฟ นายสถานีรถไฟได้เข้าผลักและช่วยเหลือไว้ได้ทัน คาดว่าชายรายดังกล่าวอยากฆ่าตัวตาย
เมื่อวันที่ 27 ก.ย. มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก Suphalerk Soodyodprasert ได้โพสต์คลิปวิดีโอความยาว 0.23 วินาที โดยเกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญขึ้นบริเวณสถานีรถไฟหัวหมาก ถนนศรีนครินทร์ แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ ขณะรถไฟขบวนรถธรรมดาที่ 368 ต้นทางชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพฯ กำลังเข้าจอดสถานีรถไฟหัวหมาก แต่ปรากฏว่ามีชายรายหนึ่งยืนขวางกลางรางรถไฟ ทันใดนั้นนายสถานีรถไฟได้เข้าผลักและช่วยเหลือไว้ทันได้ คาดว่าชายรายดังกล่าวอยากฆ่าตัวตาย
ด้านผู้โพสต์ระบุว่า น่าชื่นชมพนักงาน ร.ฟ.ท. ช่วยเหลือ 1 ชีวิต 27 ก.ย. 61 เวลาประมาณ 13.38 น. นายสถานีหัวหมากกระโดดช่วยผลักชายที่ยืนขวางกลางทางรถไฟให้รอดพ้นจากเหตุอันตราย ในระหว่างที่ขบวนรถธรรมดา 368 (ชุมทางฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ) กำลังเข้าสถานีหัวหมากที่ความเร็วไม่มากนัก ป.ล. ขอชื่นชมพนักงาน ร.ฟ.ท.ท่านนี้ ที่มีสายตาเฉียบคม และจิตใจช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีครับ
นาทีชีวิต!นายสถานีรถไฟหัวหมากช่วยชายกำลังยืนขวางทางรถไฟ
หมวดข่าว:ในประเทศ
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 15:39:17 น.
ชื่นชม! นายสถานีรถไฟหัวหมาก ที่ช่วยเหลือชายยืนขวางทางรถไฟได้อย่างปลอดภัย เผยชายดังกล่าวมีลักษณะปกติ และตนดีใจที่ได้ช่วยเหลือให้เขารอด ปลอดภัย
กรณีที่มีผู้โพสต์ชื่นชม นายสถานีรถไฟหัวหมาก กระโดดช่วยผลักชายที่ยืนขวางกลางรางรถไฟให้รอดพ้นจากอันตราย ระหว่างที่ขบวนรถไฟธรรมดา 368 กำลังจะเข้าสถานีหัวหมาก
ทีมข่าวลงพื้นที่สถานีรถไฟหัวหมาก เขตสวนหลวง พบกับเจ้าหน้าที่ที่เอาใจใส่กับงานในหน้าที่ ที่ปรากฏในคลิปนั้น คือ นายคมกฤช มีเหม็ง นายสถานีรถไฟหัวหมาก ชี้ให้ดูจุดเกิดเหตุ ซึ่งเวลาตรงกันกับเวลาเกิดเหตุเมื่อวาน ที่เวลา 13.36 น.ขณะที่กำลังออกไปปฎิบัติหน้าที่บนสถานี เพื่อให้สัญญาณธงเขียว เพื่ออนุญาตให้ขบวนรถที่ 368 ที่วิ่งมาจากฉะเชิงเทราเข้า กทม.แต่เมื่อขบวนรถไฟ ได้ชะลอความเร็วเพื่อเข้าจอดที่สถานีนั้น ได้สังเกตุเห็นชายอายุประมาณ 40 ปี สวมกางเกงขายาว ใส่เสื้อแขนยาวสีดำ สะพายเป้ผ้า ลงไปยืนขวางรางรถไฟ ขณะที่รถไฟอยู่ห่างเพียง 20 เมตร เท่าที่สังเกตชายดังกล่าว ตั้งใจจะให้รถไฟชน จึงตัดสินใจวิ่งไปผลักให้พ้นรางรถไฟ แต่เมื่อเข้าไปสอบถามทำแบบนี้ทำไม ชายคนนั้นตอบกลับมาว่า ไม่มีอะไร จากนั้นก็หนีหายไป
นายคมกฤช บอกว่า ย้ายมาประจำที่สถานีหัวหมากได้ 6 ปี เจอเหตุการณ์แบบนี้หลายครั้ง มีทั้งตักเตือน ว่ากล่าว ฉุดกระชาก ให้ออกพ้นรางรถไฟ
https://www.youtube.com/watch?v=mKIl4h6HDqU&feature=youtu.be Last edited by Wisarut on 28/09/2018 8:23 pm; edited 2 times in total
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 28/09/2018 5:34 pm Post subject:
รถไฟฝีมือคนไทย สร้างศักยภาพส่งเสริมเพื่อการส่งออก
ฐานเศรษฐกิจ 28 September 2018
คำสบประมาทที่ว่า รถไฟคนไทยทำไม่ได้หรอก คงจะถูกลบล้างไปได้แล้วเมื่อวันนี้คนไทยกลุ่มหนึ่งสามารถสร้างรถไฟฝีมือคนไทยได้สำเร็จด้วยการสั่งสมประสบการณ์ของการซ่อมเรือรบขนาดใหญ่มานานของบริษัท ปิ่นเพชร มารีน จำกัด และได้รับความไว้วางใจให้เข้ารับงานซ่อมบำรุงขบวนรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จนกระทั่งเมื่อสบช่องโอกาสทางธุรกิจเมื่อร.ฟ.ท.เปิดโครงการดัดแปลงรถโบกี้ไฟฟ้าจำนวน 8 คันวงเงินกว่า 133 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ที่ผ่านมาเพื่อเปลี่ยนจากรถเก่าที่จอดทิ้งมานานให้กลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติอีกครั้ง
ปัจจุบัน โบกี้ผลิตไฟฟ้าปรับอากาศต้นแบบ หรือ โบกี้รถไฟต้นแบบฝีมือคนไทย คันแรกภายใต้การดำเนินงานของบริษัทกิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด รถไฟฝีมือคนไทย แต่ใช้มาตรฐานของยุโรปเสร็จเรียบร้อย
ความสำเร็จในครั้งนี้ต้องยกเครดิตให้กับ เมธัส เลิศเศรษฐการ ที่สามารถพลิกประสบการณ์ของการซ่อมเรือรบขนาดใหญ่มาสู่การซ่อมบำรุงรถไฟคันเก่าให้นำกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง อีกทั้งยังต่อยอดไปสู่การยกระดับศักยภาพวงการรถไฟไทยในด้านอื่นๆได้อีกด้วยเนื่องจากร.ฟ.ท.ยังมีแผนใช้งบปี 2562 ว่าจ้างสร้างเพิ่มอีก 12 คันอีกทั้งยังมีความต้องการอีกไม่น้อยกว่า 100 คันเพื่อให้บริการทั่วประเทศผ่านระบบโครงข่ายรถไฟทางคู่
มีความร่วมมืออย่างไร
ทั้งนี้นายเมธัส เลิศเศรษฐการ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัทปิ่นเพชร มารีน จำกัด ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ ฐานเศรษฐกิจ ถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า เพราะได้พันธมิตรที่ดีจากหลายฝ่ายมาระดมองค์ความรู้ผนวกเข้ากับประสบการณ์ในการซ่อมบำรุงเรือรบขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนทางด้านเครื่องกลมาปรับใช้จนสามารถสร้างรถไฟฝีมือคนไทยได้สำเร็จ คิดเป็นราคาประมาณคันละ 12.5 ล้านบาท (ตํ่ากว่าราคากลางที่กำหนดไว้คันละ 16 ล้านบาท) แตกต่างจากรถไฟนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูงเกือบคันละ 70 ล้านบาท
ประกอบกับปริมาณจำนวนน้อยเพียง 8 คันบริษัทผู้ผลิตรถไฟชั้นนำของโลกย่อมไม่สนใจแน่ๆเพราะคงเห็นว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งรัฐบาลไทยยังมีนโยบายให้เกิดการผลิตในประเทศไทย จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนของคนไทย ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้เกิดขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรที่ดีอย่างผู้บริหาร.ฟ.ท.ที่เปิดโอกาสให้คนไทยได้แสดงศักยภาพ ตลอดจน ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา หัวหน้าโครงการออกแบบ วิเคราะห์และทดสอบ รถโบกี้ไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (รถไฟ บฟก.ป.) และผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย ดร.ทรงศักดิ์ สุธาสุประดิษฐ์ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญโครงการออกแบบวิเคราะห์และทดสอบ รถไฟ บฟก.ป. ตลอดจนพันธมิตรที่ดีด้านเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศอีกหลายคนที่ระดมผลงานวิจัยไปสู่ภาคปฏิบัติด้านการผลิตได้สำเร็จ
เพิ่มเพื่อน
นายเมธัส ยังได้ชี้ให้เห็นถึงข้อดีของรถไฟพาวเวอร์คาร์ฝีมือคนไทยอีกว่า จากการทดสอบเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่สามารถลดค่าเชื้อเพลิงไปได้กว่า 1.5 หมื่นบาท จึงจะช่วยลดภาระหัวรถจักรให้สามารถยืดอายุการทำงานได้ ไม่ต้องติดเครื่องเพื่อปั่นไฟในช่วงเวลาจอดหรือหยุดรถ ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ลดการสึกหรอ อีกทั้งยังสามารถสลับเปลี่ยนไปยังขบวนอื่นๆได้ทันที ส่งผลให้ลดเสียงรบกวนในตู้โดยสารได้อย่างดีอีกด้วย
โดยส่วนใหญ่จะใช้โครง สร้างรถ JR คันเก่าที่นำเข้าจากญี่ปุ่นมาดัดแปลงใหม่ในช่วงล่าง แล้วเสริมโครงโบกี้ให้แข็งแรง โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่เริ่มต้นพัฒนาล้วนต้องใช้ผลงานวิจัยจากในประเทศและต่างประเทศผสมผสานกัน องค์ความรู้จากแหล่งต่างๆถูกระดมมาใช้เกิดเป็นความท้าทายเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จที่คาดหวังไว้และสามารถผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของโลกที่กำหนดไว้ได้จริง
ถ้าเราสร้างรถไฟเองไม่ได้ก็อย่าไปถามถึงว่าจะเก่งเรื่องการซ่อมบำรุงได้อย่างไร แต่วันนี้ได้พันธมิตรที่จะเข้ามาช่วยเหลือประเทศไทยจำนวนมาก จึงเป็นกำลังใจและโอกาสที่จะเริ่มต้นขึ้นในประเทศไทยให้รัฐบาลไทยได้เร่งให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อไป
แนวทางต่อยอดโครงการ
สำหรับกระบวนการผลิตชิ้นส่วนต่างๆของรถไฟฝีมือคนไทยครั้งนี้วัสดุบางส่วนนั้นยังต้องใช้การนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศ เพียงแต่จะต้องนำมาปรับใช้ให้ได้หลากหลายซึ่งเล็งเห็นว่ารถไฟเจนเซตยังมีแนวโน้มความต้องการด้านการตลาด จึงสามารถผลิตนำไปใช้งานและส่งออกแข่งกับต่างประเทศได้อีกด้วย ดังนั้นปมปัญหาเรื่องเหล็กต้นน้ำในวันนี้จึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป เนื่องจากการคิดและวางแผนออกแบบผลิตเองเป็นความสำคัญที่สุด
รถไฟคันแรกที่บริษัทสร้างขึ้นนี้ใช้เทคโนโลยีทรานส์เฟอร์จากต่างประเทศราคาถูกมามากลองผิดลองถูกเป็นระยะกว่า 1 ปีกว่าจะรู้ไลน์การผลิตที่ชัดเจนโดยเตรียมผลักดันไปสู่การใช้นวัตกรรม และจะขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยในเรื่องนี้ต่อไป
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3403 หน้า 12 ระหว่างวันที่ 23-26 ก.ย.2561
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47455
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 28/09/2018 5:35 pm Post subject:
รถไฟฝีมือคนไทย สร้างศักยภาพส่งเสริมเพื่อการส่งออก
ฐานเศรษฐกิจ 28 September 2018
คำสบประมาทที่ว่า รถไฟคนไทยทำไม่ได้หรอก คงจะถูกลบล้างไปได้แล้วเมื่อวันนี้คนไทยกลุ่มหนึ่งสามารถสร้างรถไฟฝีมือคนไทยได้สำเร็จด้วยการสั่งสมประสบการณ์ของการซ่อมเรือรบขนาดใหญ่มานานของบริษัท ปิ่นเพชร มารีน จำกัด และได้รับความไว้วางใจให้เข้ารับงานซ่อมบำรุงขบวนรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จนกระทั่งเมื่อสบช่องโอกาสทางธุรกิจเมื่อร.ฟ.ท.เปิดโครงการดัดแปลงรถโบกี้ไฟฟ้าจำนวน 8 คันวงเงินกว่า 133 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ที่ผ่านมาเพื่อเปลี่ยนจากรถเก่าที่จอดทิ้งมานานให้กลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติอีกครั้ง
ปัจจุบัน โบกี้ผลิตไฟฟ้าปรับอากาศต้นแบบ หรือ โบกี้รถไฟต้นแบบฝีมือคนไทย คันแรกภายใต้การดำเนินงานของบริษัทกิจการร่วมค้า ไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด รถไฟฝีมือคนไทย แต่ใช้มาตรฐานของยุโรปเสร็จเรียบร้อย
ความสำเร็จในครั้งนี้ต้องยกเครดิตให้กับ เมธัส เลิศเศรษฐการ ที่สามารถพลิกประสบการณ์ของการซ่อมเรือรบขนาดใหญ่มาสู่การซ่อมบำรุงรถไฟคันเก่าให้นำกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง อีกทั้งยังต่อยอดไปสู่การยกระดับศักยภาพวงการรถไฟไทยในด้านอื่นๆได้อีกด้วยเนื่องจากร.ฟ.ท.ยังมีแผนใช้งบปี 2562 ว่าจ้างสร้างเพิ่มอีก 12 คันอีกทั้งยังมีความต้องการอีกไม่น้อยกว่า 100 คันเพื่อให้บริการทั่วประเทศผ่านระบบโครงข่ายรถไฟทางคู่
มีความร่วมมืออย่างไร
ทั้งนี้นายเมธัส เลิศเศรษฐการ กรรมการรองผู้จัดการ บริษัทปิ่นเพชร มารีน จำกัด ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ ฐานเศรษฐกิจ ถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า เพราะได้พันธมิตรที่ดีจากหลายฝ่ายมาระดมองค์ความรู้ผนวกเข้ากับประสบการณ์ในการซ่อมบำรุงเรือรบขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนทางด้านเครื่องกลมาปรับใช้จนสามารถสร้างรถไฟฝีมือคนไทยได้สำเร็จ คิดเป็นราคาประมาณคันละ 12.5 ล้านบาท (ตํ่ากว่าราคากลางที่กำหนดไว้คันละ 16 ล้านบาท) แตกต่างจากรถไฟนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูงเกือบคันละ 70 ล้านบาท
ประกอบกับปริมาณจำนวนน้อยเพียง 8 คันบริษัทผู้ผลิตรถไฟชั้นนำของโลกย่อมไม่สนใจแน่ๆเพราะคงเห็นว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งรัฐบาลไทยยังมีนโยบายให้เกิดการผลิตในประเทศไทย จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนของคนไทย ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้เกิดขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรที่ดีอย่างผู้บริหาร.ฟ.ท.ที่เปิดโอกาสให้คนไทยได้แสดงศักยภาพ ตลอดจน ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา หัวหน้าโครงการออกแบบ วิเคราะห์และทดสอบ รถโบกี้ไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (รถไฟ บฟก.ป.) และผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย ดร.ทรงศักดิ์ สุธาสุประดิษฐ์ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญโครงการออกแบบวิเคราะห์และทดสอบ รถไฟ บฟก.ป. ตลอดจนพันธมิตรที่ดีด้านเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศอีกหลายคนที่ระดมผลงานวิจัยไปสู่ภาคปฏิบัติด้านการผลิตได้สำเร็จ
เพิ่มเพื่อน
นายเมธัส ยังได้ชี้ให้เห็นถึงข้อดีของรถไฟพาวเวอร์คาร์ฝีมือคนไทยอีกว่า จากการทดสอบเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่สามารถลดค่าเชื้อเพลิงไปได้กว่า 1.5 หมื่นบาท จึงจะช่วยลดภาระหัวรถจักรให้สามารถยืดอายุการทำงานได้ ไม่ต้องติดเครื่องเพื่อปั่นไฟในช่วงเวลาจอดหรือหยุดรถ ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ลดการสึกหรอ อีกทั้งยังสามารถสลับเปลี่ยนไปยังขบวนอื่นๆได้ทันที ส่งผลให้ลดเสียงรบกวนในตู้โดยสารได้อย่างดีอีกด้วย
โดยส่วนใหญ่จะใช้โครง สร้างรถ JR คันเก่าที่นำเข้าจากญี่ปุ่นมาดัดแปลงใหม่ในช่วงล่าง แล้วเสริมโครงโบกี้ให้แข็งแรง โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่เริ่มต้นพัฒนาล้วนต้องใช้ผลงานวิจัยจากในประเทศและต่างประเทศผสมผสานกัน องค์ความรู้จากแหล่งต่างๆถูกระดมมาใช้เกิดเป็นความท้าทายเพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จที่คาดหวังไว้และสามารถผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของโลกที่กำหนดไว้ได้จริง
ถ้าเราสร้างรถไฟเองไม่ได้ก็อย่าไปถามถึงว่าจะเก่งเรื่องการซ่อมบำรุงได้อย่างไร แต่วันนี้ได้พันธมิตรที่จะเข้ามาช่วยเหลือประเทศไทยจำนวนมาก จึงเป็นกำลังใจและโอกาสที่จะเริ่มต้นขึ้นในประเทศไทยให้รัฐบาลไทยได้เร่งให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อไป
แนวทางต่อยอดโครงการ
สำหรับกระบวนการผลิตชิ้นส่วนต่างๆของรถไฟฝีมือคนไทยครั้งนี้วัสดุบางส่วนนั้นยังต้องใช้การนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศ เพียงแต่จะต้องนำมาปรับใช้ให้ได้หลากหลายซึ่งเล็งเห็นว่ารถไฟเจนเซตยังมีแนวโน้มความต้องการด้านการตลาด จึงสามารถผลิตนำไปใช้งานและส่งออกแข่งกับต่างประเทศได้อีกด้วย ดังนั้นปมปัญหาเรื่องเหล็กต้นน้ำในวันนี้จึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป เนื่องจากการคิดและวางแผนออกแบบผลิตเองเป็นความสำคัญที่สุด
รถไฟคันแรกที่บริษัทสร้างขึ้นนี้ใช้เทคโนโลยีทรานส์เฟอร์จากต่างประเทศราคาถูกมามากลองผิดลองถูกเป็นระยะกว่า 1 ปีกว่าจะรู้ไลน์การผลิตที่ชัดเจนโดยเตรียมผลักดันไปสู่การใช้นวัตกรรม และจะขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยในเรื่องนี้ต่อไป
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3403 หน้า 12 ระหว่างวันที่ 23-26 ก.ย.2561
Back to top