RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312072
ทั่วไป:13682313
ทั้งหมด:13994385
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 322, 323, 324 ... 490, 491, 492  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2018 8:36 pm    Post subject: Reply with quote

จะไม่ให้เหตุการณ์เงียบ! การรถไฟแจ้งความล่ามือปาหินใส่ขบวนรถ
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 31 ต.ค. 2561 เวลา 19:08 น.

Click on the image for full size

การรถไฟแจ้งความดำเนินคดีคนร้ายปาก้อนหินใส่ขบวนรถไฟสายลงใต้ระหว่างวิ่งผ่าน จ.ประจวบฯ

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. นายฐากูร อินทรชม ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวถึงเหตุการณ์รถไฟขบวนรถด่วนที่ 86 นครศรีธรรมราช-กรุงเทพ ถูกคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้ก้อนหินขว้างใส่ บริเวณระหว่างสถานีดอนทราย-ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา จนส่งผลให้ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ 1 รายนั้น การรถไฟแจ้งความดำเนินคดีที่ สภ.ทับสะแก แล้ว โดยมีการประสานของให้เจ้าหน้าที่ส่งสายตรวจดูแลความเรียบร้อยในจุดที่เคยเกิดเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายซ้ำขึ้นอีก

นายฐากูร ย้ำว่า การรถไฟจะไม่ยอมให้เหตุการณ์นี้เงียบหายไปเด็ดขาด และขอความร่วมมือให้ผู้พบเห็นช่วยแจ้งเบาะแสมาได้ที่การรถไฟ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนอกจากสร้างความเสียหายต่อการรถไฟและทรัพย์สินทางราชการ ยังเป็นคดีอาญาเนื่องจากส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร

ทั้งนี้ ผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บการรถไฟได้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเยียวยาแล้ว

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2018 7:44 am    Post subject: Reply with quote

ปาหินใส่รถไฟถูกหน้าอกหญิงบาดเจ็บ | 31-10-61 | ไทยรัฐนิวส์โชว์
Thairath Published on Oct 31, 2018

หญิงป่วยเป็นโรคหัวใจ ถูกมือดี ปาหินขนาดใหญ่กว่ากำปั้น ขณะนั่งรถไฟกลางดึก โดนหน้าอก เจ็บหนัก เหตุเกิดก่อนถึงสถานี ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามเจ้าหน้าที่รถไฟ เพื่อขอความช่วยเหลือ ก็เพิกเฉย ต้องทนนั่งเจ็บ บนรถไฟ 6 ชั่วโมง จนถึงกรุงเทพฯ ลูกถึงพาไปหาหมอ


https://www.youtube.com/watch?v=KTwGStHKueg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2018 4:45 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จะไม่ให้เหตุการณ์เงียบ! การรถไฟแจ้งความล่ามือปาหินใส่ขบวนรถ
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 31 ต.ค. 2561 เวลา 19:08 น.
ปาหินใส่รถไฟถูกหน้าอกหญิงบาดเจ็บ | 31-10-61 | ไทยรัฐนิวส์โชว์
Thairath Published on Oct 31, 2018


ร.ฟ.ท.แจ้งความเอาผิดมือปาหินช่วงทับสะแก พร้อมดูแลผู้โดยสารที่บาดเจ็บเต็มที่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 31 ตุลาคม 2561 เวลา 16:47
ปรับปรุง: 31 ตุลาคม 2561 เวลา 18:14



การรถไฟฯ สั่งแจ้งความดำเนินคดีคนร้ายปาก้อนหินใส่ขบวนรถไฟ ช่วงสถานีดอนทราย-ทับสะแก จ.ประจวบฯ ทำให้มีผู้โดยสารบาดเจ็บ 1 ราย ยันมาตรการดูแลความปลอดภัย รับผิดชอบผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บอย่างเต็มที่ตามระเบียบ พร้อมขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ตำรวจจัดชุดตระเวนจุดสุ่มเสี่ยงป้องกันเหตุซ้ำสอง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2561 เวลา 00.08 น. ร.ฟ.ท.ได้รับรายงานแจ้งเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้ก้อนหินขว้างใส่ขบวนรถไฟ ขบวนรถด่วนที่ 86 นครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ ขณะทำขบวน ระหว่างสถานีดอนทราย-ทับสะแก ส่งผลให้ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ 1 ราย คือ นางรัตยา ประหารภาพ อายุ 44 ปี ถือตั๋วโดยสารขบวนรถด่วนที่ 86 (วันที่ 27 ตุลาคม 2561) บ้านส้อง-ชุมทางบางซื่อ ได้รับบาดเจ็บที่บริเวณหน้าอกมีอาการบวม แดงช้ำ โดยเบื้องต้นยังไม่ทราบสาเหตุของการกระทำของคนร้ายที่แน่ชัด

นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ร.ฟ.ท.เปิดเผยว่า การรถไฟฯ ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีภูธรทับสะแกได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณจุดเกิดเหตุเพื่อเร่งหาสาเหตุและผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี

ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นการกระทำที่ร้ายแรงและเข้าข่ายความผิดทางอาญา ผู้ได้รับบาดเจ็บและการรถไฟฯ ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรทับสะแกแล้วเพื่อให้เร่งดำเนินการจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดีให้ถึงที่สุด พร้อมกับขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ส่งชุดสายตรวจดูแลความเรียบร้อยในจุดที่เคยเกิดเหตุคนร้ายนำของแข็งหรือก้อนหินขว้างปาใส่ขบวนรถไฟ หรือจุดสุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในทุกพื้นที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายซ้ำขึ้นอีก

“การรถไฟฯ จะไม่ยอมให้เหตุการณ์นี้เงียบหายไปเด็ดขาด และขอความร่วมมือให้ผู้พบเห็นสามารถช่วยแจ้งเบาะแสมาได้ที่การรถไฟฯ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมทั้งให้ช่วยคอยตักเตือนและแนะนำให้บุคคลใกล้ชิดอย่าทำพฤติกรรมเช่นนี้เด็ดขาด เพราะนอกจากเป็นคดีอาญาแล้ว ยังสร้างความเสียหายต่อการรถไฟฯ และทรัพย์สินทางราชการ และที่สำคัญกระทบต่อความปลอดภัยของผู้โดยสารที่ต้องมาเสี่ยงอันตรายจากเหตุที่ไม่สมควรเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจให้เกิดความหวาดกลัวในการเดินทางอีกด้วย”

การรถไฟฯ ได้คำนึงถึงความปลอดภัยด้านสวัสดิภาพในการเดินทางของผู้โดยสารอย่างเต็มที่ การรถไฟฯ มีระเบียบว่าด้วยการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้เสียหายที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในการรถไฟฯ สำหรับคุ้มครองการเดินทางของผู้โดยสาร และเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่บนขบวนรถ

เหตุการณ์ครั้งนี้ผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับความคุ้มครองดูแลค่ารักษาพยาบาลทุกอย่างจนกว่าจะหายเป็นปกติ หรือหากเป็นเหตุการณ์อื่นที่ร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนรถไฟหรือที่เกิดจากรถไฟจะได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนถึงรายละ 300,000 บาท ในส่วนของการดูแลเยียวยาด้านจิตใจ ในเบื้องต้นการรถไฟฯ ได้อำนวยความสะดวกในการเดินทาง และส่งเจ้าหน้าที่ร่วมมอบกระเช้าให้แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ พร้อมทั้งได้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเยียวยาในกรณีดังกล่าวแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2018 10:45 am    Post subject: Reply with quote

ทุ่มหมื่นล้านสร้าง4ท่าเรือบก
พุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เวลา 18.00 น.

สนข. เผยผลศึกษาแผนแม่บทท่าเรือบกเหมาะสม 4 จังหวัด วงเงินลงทุนรวมหมื่นล้านบาท นำร่องฉะเชิงเทรา คาดเริ่มก่อสร้างปี 63-64


เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ที่โรงแรมพลูแมนคิงเพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนาครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอผลการศึกษา และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องงานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคว่า จากผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่เหมาะสมจะพัฒนาท่าเรือบกมี 4 จังหวัด ได้แก่

ฉะเชิงเทรา,
นครราชสีมา,
ขอนแก่น และ
นครสวรรค์

แต่ละแห่งใช้พื้นที่ 1,000-1,800 ไร่ อยู่ในแนวริมทางรถไฟ คาดว่าใช้เงินลงทุน ทั้งการจัดหาที่ดิน และก่อสร้างรวมประมาณ 10,000 ล้านบาท

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่ที่เหมาะสมใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย

1. อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 70 กิโลเมตร (กม.)
2.อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา-ท่าเรือแหลมฉบัง 320 กม.
3.อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น-ท่าเรือแหลมฉบัง 550 กม. และ
4.อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์-ท่าเรือแหลมฉบัง 370 กม.

ทั้งนี้การลงทุนจะเป็นในรูปแบบรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน (พีพีพี) โดยรัฐจะจัดหาที่ดิน ซึ่งต้องดูความเหมาะสม เพราะใช้พื้นที่จำนวนมาก อาจเป็นพื้นที่ที่มีอยู่แล้ว หรือต้องเวนคืนเพิ่มเติม ส่วนเอกชนทำหน้าที่บริหารจัดการ

นายสราวุธ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นจะเริ่มก่อสร้างท่าเรือบกที่ จ.ฉะเชิงเทราก่อน เพราะมีความพร้อมอยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (อีอีซี) มีรถไฟทางคู่ และจะช่วยแก้ปัญหาจราจรในสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบังได้ คาดว่าจะเปิดประมูลการก่อสร้างท่าเรือบก จ.ฉะเชิงเทราได้ปลายปี 62 และเริ่มก่อสร้างปี 63-64 จากนั้นจะก่อสร้างท่าเรือบกที่ จ.นครราชสีมา, จ.ขอนแก่น และ จ.นครสวรรค์ต่อไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ทางรางไปยังท่าเรือแหลมฉบังแค่ 6% หากมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่แล้วเสร็จ และมีท่าเรือบก จะช่วยให้ขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นเป็น 30%

นายสราวุธ กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้ต้องนำข้อเสนอแนะที่ได้จากการสัมมนามาปรับปรุงให้เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ให้แล้วเสร็จใน 2 สัปดาห์ ก่อนเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาภายในเดือน พ.ย.61 จากนั้นในเดือน ธ.ค.61จะเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ไปดำเนินการเปิดประมูลรูปแบบลงทุนพีพีพีต่อไป.

//-------------------------
ชู 4 จังหวัด ผุดท่าเรือบกเชื่อมการค้าชายแดน เพิ่มสัดส่วนขนส่งทางรางเข้า ทลฉ.เป็น 30%
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เวลา 14:44
ปรับปรุง: พุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15:38




สนข.เตรียมสรุปผลศึกษาแผนพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เล็งพื้นที่ฉะเชิงเทรา-นครราชสีมา-ขอนแก่น-นครสวรรค์ เล็งพัฒนา Boarder Logistics Park รวบรวม-กระจายสินค้า เชื่อมการค้าชายแดนกับท่าเรือแหลมฉบัง เพิ่มการขนส่งทางรางจาก 5.5% เป็น 30% ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ของกลุ่ม CLMV

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมสัมมนา ครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง งานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ของภูมิภาค ว่าจากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมจะพัฒนาท่าเรือบก ประกอบด้วย

จังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.บ้านโพธิ์)
จังหวัดนครราชสีมา (อ.สูงเนิน)
จังหวัดขอนแก่น (อ.น้ำพอง) และ
จังหวัดนครสวรรค์ (อ.พยุหะคีรี)

โดยเสนอให้มีการพัฒนา Boarder Logistics Park เพื่อรวบรวมและกระจายสินค้าและเพิ่มมูลค่าที่จังหวัดชายแดน ที่จังหวัดหนองคาย มุกดาหาร เชียงราย ตาก สระแก้ว และสงขลา เป็นต้น ซึ่งจะมีการเชื่อมโยงกันด้วยระบบโครงข่ายคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ

โดยผ่านมา สนข.ได้ลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อหารือหรือพบปะกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 2 ครั้ง การสัมภาษณ์เชิงลึกกว่า 40 หน่วยงาน และได้มีการจัดสัมมนาประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปแล้ว 1 ครั้ง เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามารับรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการตั้งแต่ขั้นตอนศึกษา การวางแผนโครงการ เพื่อให้การดำเนินการตัดสินใจในการดำเนินโครงการฯ เป็นไปด้วยความโปร่งใส ชอบธรรม และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม

ในครั้งนี้ได้มีการนำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการฯ ประกอบด้วย ภาพรวมผลการศึกษา ระเบียบ ข้อกำหนด ความตกลงระหว่างประเทศ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและลอจิสติกส์ แนวคิด รูปแบบ มาตรฐานการออกแบบ และการบริหารจัดการ การพัฒนาท่าเรือบก และรับฟังความเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน

โดย สนข.จะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ไปประกอบการจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) ของการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ของภูมิภาคต่อไป

ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบังถือว่าเป็นประตูการค้าหลักของประเทศไทย โดยปี 2560 มีปริมาณคอนเทนเนอร์ผ่านเข้าออกท่าเรือ จำนวน 7.67 ล้านตู้ และรถยนต์ 1.2 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็น 8.64% นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพัฒนาโครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ที่จะเปิดประมูลในเดือนพฤศจิกายน 2561 จะทำให้ท่าเรือแหลมฉบังมีขีดความสามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าได้ถึงปีละ 18 ตู้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณการจราจรบริเวณโดยรอบท่าเรือ แม้ว่ามีสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง หรือไอซีดี ลาดกระบังให้บริการอยู่แล้ว แต่ปริมาณคอนเทนเนอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเต็มความจุ

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาและกำหนดพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาท่าเรือบกให้ชัดเจน เพื่อลดความแออัดบริเวณรอบท่าเรือแหลมฉบัง โดยกระทรวงคมนาคมกำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังจากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 5.5% เพิ่มเป็น 30%

โดยท่าเรือบกที่จะพัฒนานี้ทำหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้าเหมือนท่าเรือ ประกอบด้วย 3 ชนิด ได้แก่
1) ท่าเรือบกใกล้ท่าเรือ (Close Dry Port)
2) ท่าเรือบกระยะกลางประมาณ 300 กม.จากท่าเรือ (Mid-range Dry Port) และ
3) ท่าเรือบกที่ชายแดน (Distant Dry Port)
เพื่อตอบสนองต่อปริมาณการขนส่งสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตในแต่ละพื้นที่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2018 11:55 am    Post subject: Reply with quote

1. หวยออกที่สถานีเนินมะกอก แต่ถ้า ปตท. ขอเลิกเช่าที่รถไฟทำคลังก๊าซธรรมชาติที่หนองปลิง (สถานีนครสวรรค์) เสียแล้ว ก็น่าจะเสนอที่ดินรถไฟที่ หนองปลิง (สถานีนครสวรรค์) ทำ ท่าเรือบกหรือ ICD ดีกว่า
2. หวยออกที่สถานีดอนสินนท์ครับ - งานนี้่ รถขบวนแหลมฉบังต้องจอดพ่วงตู้คอนเทนเนอร์เพิ่ม ที่สถานีดอนสินนท์แน่
3. หวยออกที่ สถา่นีสูงเนินแต่งานนี้ รฟท. อาจแย้งได้ว่าสู้ขยายสถานีกุดจิกเป็น ท่าเรือบก หรือ ICD ไม่ดีกว่าหรือ
4. หวยออกสถานีน้ำพองแต่ รฟท. อาจแย้งว่า น่าจะเอาที่สถานีท่าพระที่ มี CY อยู่มาขยายกิจการต่อเป็นท่าเรือบกหรือ ICD ก็ได้ แต่งานนี้ต้องมีรถ ขบวน 555/556 เดินประจำและ ต้องจอดที่ ท่าพระด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2018 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟจะไปทางไหนโดยสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 9 - 15 พฤศจิกายน 2561
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/2396787450336112
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/11/2018 6:52 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟจะไปทางไหนโดยสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 9 - 15 พฤศจิกายน 2561
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/2396787450336112

รถไฟไทยจะไปทางไหนกันแน่
สยามรัฐออนไลน์ 9 พฤศจิกายน 2561 09:21 เศรษฐกิจ

เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว ผู้เขียนได้ท้วงติงถึงโครงการ EEC และ พรบ. EEC ว่ามีจุดอ่อนอยู่มาก อันจะเป็นช่องทางให้ต่างชาติ โดยเฉพาะจีนเข้ามายึดครองผืนแผ่นดินไทยอย่างเบ็ดเสร็จในอนาคต และผู้เขียนยังได้นำเสนอว่า โดยแท้จริงเราควรพิจารณาทางเลือก หรือสร้างระบบคู่ขนานกับระบบไฮเทคไทยแลนด์ 4.0 ได้ นั่นคืออยู่คู่กันได้แต่ต้องแบ่งเขตให้ชัดเจน ไม่ไปสร้างปัญหาให้กันและกัน ก็มีคนท้วงติงมาทำนองว่าเป็นหลักเศรษฐศาสตร์ที่โบราณดุจไดโนเสาร์เต่าล้านปี

แต่ที่เขาบังอาจว่าล้าสมัยนั้น ผู้เขียนเห็นว่ามันเกินไป เพราะระบบที่ผู้เขียนอ้างถึงว่าจะให้เดินคู่ขนานกับเศรษฐกิจแบบไฮเทคไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และเมืองไทยก็ยังคงต้องเป็นครัวโลก

วันนี้ผู้เขียนก็คงต้องขออนุญาตออกมาท้วงติงเรื่องเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลนี้กำลังริเริ่มในเส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ซึ่งจากข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลเองนั่นแหละว่าจะเก็บค่าโดยสารประมาณ 500 บาทเศษ กทม-โคราช และเมื่อมีการคำนวณค่าใช้จ่ายในการเดินรถแล้วพบว่า แม้มีผู้โดยสารเต็มรถตั้งแต่ต้นทางปลายทาง ก็ยังขาดทุน ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลต้องให้เงินสนับสนุนไปตลอด โดยคาดหวังกันว่าถ้ามีการขยายเส้นทางไปถึงหนองคาย ก็จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นผู้โดยสารจีนที่มาโดยทางรถไฟที่จีนสร้างให้ลาว

คำถามก็คือว่ารถไฟความเร็วสูงที่เราสร้างให้คนไทยนั่งหรือคนจีนนั่ง โดยที่เงินก่อสร้างไทยเป็นคนออกทั้งหมด ด้วยการกู้มาหลายแสนล้าน เอาแค่กทม.-โคราช ถ้าสร้างต่อก็ต้องกู้เพิ่ม แล้วเอาเงินที่ไหนจ่าย ถ้าไม่ใช่ภาษี และรายได้ที่คาดว่าจะได้จากผู้โดยสารจีน ซึ่งมันก็เหมือนกับที่เราต้องการรายได้ได้เพิ่มจากทัวร์จีนแต่มีปัญหา จนต้องส่งรัฐมนตรีไปขอร้องเมื่อเร็วๆนี้ ที่สำคัญจีนเหมาหมดทั้งการก่อสร้างระบบราง ระบบล้อเลื่อน ระบบสัญญาณ โดยจะขนคนเข้ามาก่อสร้าง และอาจจะมาเปิดโรงงานด้วย อันหลังนี่ยังไม่แน่ อาจนำเข้ามา ทั้งหมดก็ได้ดูอย่างนี้ก็ลองไปคิดดู ว่าเราจะได้อะไร เพราะจีนขนเงินกลับประเทศหมด ขณะที่เรารอรับเบี้ยหัวแตกจากค่าโดยสารคนจีนที่จะเข้ามา

ทีนี้ก็ลองมาพิจารณาดูว่าถ้าไม่พัฒนารถไฟความเร็วสูงในขณะนี้ เพราะเรามีปัญหาการเงินที่หนักหน่วง และทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆจากร้อยละ 40 กว่าใกล้ร้อยละ 50 และจะทะลุต่อโดยที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีนี้ไม่ได้นับรวมการค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และหนี้กองทุนฟื้นฟูสถาพันการเงินประมาณ 1 ล้านๆที่โอนตัวเลขไปขึ้นบัญชีไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

เมื่อกลับมาพิจารณาถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ก็พบว่ากว่า 60 ปี การดำเนินกิจการของรถไฟไทยประสบกับการขาดทุนมาโดยตลอด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะเป้าหมายของรถไฟคือการบริการประชาชนที่มีรายได้น้อย งบที่รัฐบาลจัดสรรให้ก็ไม่เพียงพอต่อการพัฒนากิจการรถไฟ แค่งบบำรุงรักษาก็แทบไม่เพียงพอแถมยังมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงกันมาตลอด การทำงานของพนักงานก็มีประสิทธิภาพต่ำ เพราะถือว่าเป็นของหลวง

ที่สำคัญการรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถหารายได้เป็นจำนวนมาก จากที่ดินของรถไฟที่มีจำนวนมากมหาศาล แต่ก็ถูกเบียดบังไปทำสัญญาแบบฉ้อฉล จนรถไฟได้รับรายได้เพียงน้อยนิด ไม่คุ้มค่าของที่ดินที่มีอยู่ ล่าสุดขุมทรัพย์มหาศาลของรถไฟก็คือที่โรงซ่อมและสถานีมักกะสัน ที่อยู่ใจกลางเมือง ก็กำลังจะมีการเบียดบังผลประโยชน์มหาศาลที่ควรตกอยู่กับการรถไฟแห่งประเทศไทย ไปอยู่ในมือนายทุนชาติและอาจพ่วงนายทุนต่างชาติเข้ามาด้วยในนาม EEC หรือเปล่ายังไม่ทราบ

และถ้าการรถไฟแห่งประเทศไทย จะหันมาพัฒนารถไฟความเร็วสูงเสียเอง จะทำได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าโครงสร้างการบริหารของการรถไฟไทยยังไม่อาจก้าวกระโดดไปบริหารได้จนกว่าจะได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและบุคลากร จึงต้องตกอยู่ในมือต่างชาติ และคงหนีไม่พ้นจีน

แต่เราลองมาดูว่าแล้วในบางประเทศเขาเกิดอะไรขึ้น เอาที่เห็นชัดๆคือ สเปน ที่พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงจนมีเครือข่ายเป็นอันดับ 2 ของโลก แพ้จีนประเทศเดียวแล้วพื้นแผ่นดินของสเปนก็เล็กกว่าจีนหลายสิบเท่า ผลที่เกิดขึ้นคือขาดทุนโดยรัฐบาลต้องให้เงินสนับสนุน และในการประเมินผู้โดยสารในตอนแรกๆก็รวมเอานักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไปด้วย เพราะสเปนก็หากินจากรายได้การท่องเที่ยวเป็นอันดับต้นๆของรายได้เข้าประเทศทีเดียว ส่วนประชาชนในท้องถิ่นก็ไม่นิยมโดยสารถไฟความเร็วสูงเพราะมันแพง ผ่านเมืองไหนก็ทำให้เกิดการเก็งกำไรที่ดินพุ่งสูง จนกระทั่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่อาจลงทุนตามได้ ด้วยมีดีมานด์หรือความต้องการที่ต่ำกว่า

ปัจจุบันพบว่าในบางสถานีมีคนรอขึ้นรถไฟไม่ถึงร้อยคน จึงอาจมีการพิจารณาปิดบางสถานี ผลการขาดทุนนี้แม้รัฐบาลจะคอยอุดหนุนก็ตาม แต่มันทำให้สภาพการเงินของรถไฟความเร็วสูงสเปนอยู่ในระดับที่เกือบไม่มีขีดความสามารถในการบำรุงรักษา นี่ยังไม่นับการทำลายระบบนิเวศน์ต่างๆของรถไฟความเร็วสูง เช่น เรื่องเสียงที่ดังเสียดประสาท ซึ่งมีตัวอย่างมาแล้วที่ญี่ปุ่น คือรถไฟหัวกระสุนชิงกังเซนที่วิ่งได้ไม่เกิน 200 เศษ ทั้งๆที่วิ่งได้เร็วกว่านั้น แต่มลภาวะทางเสียงที่ได้รับการร้องเรียนทำให้ไม่อาจวิ่งได้เต็มที่

นอกจากนี้รถไฟความเร็วสูงยังมีคู่แข่งคือ สายการบินต้นทุนต่ำ LOW COST และรถบัส ซึ่งจะต้องเจ๋งกันไปข้างหนึ่ง

ถ้ายังไม่ทำรถไฟความเร็วสูงเพราะจำนวนผู้โดยสารยังไม่เพียงพอที่จะทำให้มีรายได้คุ้มทุน เราควรจะพัฒนารถไฟไทยไปในแนวทางไหน จึงจะเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และกระเป๋าสตางค์ของเรา เนื่องจากรัฐบาลนี้มีแผนงานที่จะลงทุนอีกเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ทรัพยากรเราก็มีอยู่จำกัด จะเอาทุกอย่างคงไม่ได้

เมื่อมองในทุกๆมุมแบบ 360 องศา แล้ว แม้จะมีทางเลือกให้ทำระบบรถไฟที่มีขนาดกว้างของรางแบบมาตรฐาน(ยุโรป) คือกว้าง 1.435 เมตร โดยทำเป็นรางคู่ขนานชุดใหม่ แต่มีข้อจำกัด คือ เรายังมีระบบรางที่กว้าง 1 เมตร (Meter gage) อยู่ ทำให้มีทั้งการลงทุนสูง และการบำรุงรักษาตลอดจนการบริหารที่ต้องมีอะไหล่ การซ่อมบำรุงที่แพงขึ้นมากและไม่อาจแทนกันได้ระหว่าง 2 ระบบ

ที่สำคัญเราไม่อาจยกเลิกระบบเดิมได้ เพราะต้องบริการไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสร้างระบบใหม่เสร็จ

ถ้างั้นมาสร้างรางคู่ในระบบเก่าดีหรือไม่ ซึ่งในขณะนี้ก็กำลังทำอยู่ แต่ให้งบน้อยและทำได้ล่าช้าว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 ปี จึงจะครบตามต้องการ

แต่ระบบเก่ามีข้อจำกัดที่ไม่อาจพัฒนาไปสู่การใช้ระบบรถไฟฟ้าได้ในอนาคต

ทางเลือกที่ควรพิจารณาคือทำระบบรางคู่ 1 เมตรใหม่ ทั้งประเทศที่พร้อมจะใช้ระบบไฟฟ้าได้ ข้อดีคือลงทุนถูกกว่ารางระบบมาตรฐาน 1.435 เมตร มาก และสามารถใช้ระบบการซ่อมบำรุงกับระบบเดิมได้หลายส่วน ที่สำคัญก็อาจแยกส่วนของการให้บริการรถโดยสารกับรถขนสินค้าออกจากกันได้ ด้วยระบบล้อเลื่อนที่เท่ากัน ซึ่งช่างไทยมีความชำนาญอยู่แล้ว

รถไฟในระบบใหม่ที่สามารถวิ่งได้ถึง 160 กม./ชม. ซึ่งก็พอเพียงแล้วสำหรับขนาดพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งความจริงระบบเดิมก็พอทำได้ในความเร็วนี้ แต่ต้องแก้ปัญหาทางตัดผ่านทั้งหลาย และระบบไฟสัญญาณที่มีคุณภาพกว่านี้

อนึ่งค่าโดยสารก็ถูกกว่ารถไฟความเร็วสูงมากทีเดียว ส่วนเรื่องขนาดราง 1 เมตรกับ 1.435 เมตรนั้น ก็จะมีคำถามว่าแล้วจะเชื่อมต่อกับรถไฟจีนอย่างไร คำตอบสำหรับรถขนสินค้าก็ต้องบอกว่าปกติ การวิ่งผ่านแดนเขาคงไม่ให้เราเอารถไฟของเราไปวิ่งตลอดพรมแดนเขาหรอก มันต้องมีการเปลี่ยนถ่ายตรงชายแดน ซึ่งเราก็สามารถใช้เครนในการขนถ่ายสินค้าได้ ในเรื่องคนโดยสารก็คงทำได้ในลักษณะเดียวกัน คงเสียเวลาบ้างแต่ก็ไม่ต้องลงทุนมาก ที่สเปนเขาก็ทำอย่างนี้

ที่เราจะต้องปรับปรุงขนานใหญ่คือ โครงสร้างการบริหารที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตลอดรวมถึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีผลตอบแทนที่คุ้มแต่มีระบบตรวจสอบที่เข้มงวด

อนึ่งการไปมุ่งจะพัฒนาระบบรถไฟแบบเอาทุกอย่างก็จะเป็นการทำลายรถไฟและเป็นภาระต่องบประมาณจำนวนมาก ซึ่งเอามาพัฒนาระบบรถไฟแบบที่เรามีอยู่น่าจะดีกว่า

ประการสุดท้ายควรสร้างระบบที่มีการเชื่อมโยงการขนส่งทั้งทางราง ทางถนน ทางน้ำ และทางอากาศ ให้เป็นเครือข่าย เพราะการขนส่งทางรางแม้ไม่คล่องตัวนัก แต่ต้นทุนการขนส่งต่ำกว่าระบบอื่นๆ โดยเปรียบเทียบยกเว้นการขนส่งทางน้ำ

โอกาสนี้ผู้เขียนต้องขอขอบคุณ ชมรมวิศวฯจุฬาฯ ร่วมปฏิรูปประเทศไทยที่ได้จัดส่งข้อมูลบางส่วนให้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2018 10:48 am    Post subject: Reply with quote

ทางสายมหาชัยเตรียมจะจัดจ้างปรับปรุงทางlสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย อีกครั้งแล้ว หลังจากล่มมาหลายรอบ ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปีครึ่ง วงเงิน 273.552 ล้านบาท ถ้าไม่มีปัญหาในขั้นตอน TOR และการประกวดราคา น่าจะเซ็นสัญญากันได้ภายในเดือน ก.พ. 62 และแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค. 63 ครับ
http://www.railway.co.th/auction/tor/pdf/2561/61721923other.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 13/11/2018 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ทางสายมหาชัยเตรียมจะจัดจ้างปรับปรุงทางlสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย อีกครั้งแล้ว หลังจากล่มมาหลายรอบ ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปีครึ่ง วงเงิน 273.552 ล้านบาท ถ้าไม่มีปัญหาในขั้นตอน TOR และการประกวดราคา น่าจะเซ็นสัญญากันได้ภายในเดือน ก.พ. 62 และแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค. 63 ครับ
http://www.railway.co.th/auction/tor/pdf/2561/61721923other.pdf


ในขั้นต้นมีการปิดเส้นทางรถไฟสายมหาชัย - วงเวียนใหญ่ เพื่อทำการซ่อมแซมและปรับปรุงทางไหมครับ เพราะควรที่จะเปิดหน้าดินของทางรถไฟเดิม ทำการตอกเสาหรืออัดดินใหม่ให้แน่น และทำการวางไม้หมอนใหม่วางรางใหม่ โรยหินคลุก ดีกว่าการเปลี่ยนไม้หมอนและรางใหม่ในแต่ละจุด ระยะเวลาปรับปรุง 1 ปี ผมว่าถ้าให้บริษัทที่ประมูลได้เร่งงานให้เสร็จไวน่าจะได้นะครับ เหมือนเส้นทางสายบ้านแหลม - แม่กลอง ที่ปิดการเดินรถแล้วทำการเปลี่ยนรางใหม่ยกแผงเลยครับ
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44064
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2018 10:25 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯร่วมกับ บมจ.สหการประมูล เปิดขายทอดตลาดล็อตใหญ่ 8 รายการ
13 พฤศจิกายน 2561

ร.ฟ.ท. ร่วมกับบมจ.สหการประมูล เตรียมประมูลขายสิ่งของชํารุดเสียหายเลิกใช้จำนวน 8 รายการด้วยวิธีใส่ราคาทางระบบอิเลคทรอนิคส์ ผู้สนใจเข้าร่วมเสนอราคาได้ในวันที่ 26 พ.ย.นี้

นายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบํารุงรถจักรและล้อเลื่อน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)เปิดเผยว่า ร่วมกับ บมจ.สหการประมูล จัดทําการขายทอดตลาดสิ่งของที่ชํารุดเสียหายเลิกใช้การ ฯ จํานวน 8 รายการ ประกอบด้วย

1.อุปกรณ์เหล็กยึดเหนี่ยวรางและเศษเหล็กเหนียวทั่วไป น้ำหนักรวมประมาณ 1,968,840 กิโลกรัม
2. เศษรางเหล็ก ตัดจําหน่ายไม่ใช้การ น้ำหนักรวมประมาณ 83,352 กิโลกรัม
3. เศษลวดทองแดง น้ำหนักรวมประมาณ 227.12 กิโลกรัม
4. ล้อพร้อมเพลา ขนาด 9x4 ตัดจําหน่ายแล้ว 250 เพลา น้ำหนักรวมประมาณ 225,000 กิโลกรัม
5. น้ำมันหล่อลื่นเก่าใช้งานแล้ว ปริมาณรวม 62,400 ลิตร
6. ถังเปล่า ขนาดจุ 200 ลิตร ไม่ใช้งาน จํานวนรวม 360 ใบ
7. เครื่องจักรกลตัดจําหน่าย เลิกใช้การ 2 เครื่อง น้ำหนักรวมประมาณ 11,270 กิโลกรัม และ
8. ซากแบตเตอรี่ ตัดจําหน่าย เลิกใช้การ จํานวนรวม 565 หม้อ

สำหรับคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมเสนอราคา ต้องเป็นบุคคลธรรมดา หรือร้าน หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนนิติบุคคลไว้กับกระทรวงพาณิชย์ โดยสามารถเข้าลงทะเบียนขอรับเอกสารประกาศเชิญชวนฯ เลขที่ ครข/ปข.08/2561 ได้ที่แผนกสารบรรณและประวัติ ฝ่ายการช่างกล ห้อง 204/1 ชั้น 2 ตึกบัญชาการ ร.ฟ.ท. ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561
นอกจากนี้ต้องเป็นผู้ที่คณะกรรมการกําหนดราคากลาง ขายและส่งมอบสิ่งของที่ชํารุดเสียหายฯ รับรองว่ามีคุณสมบัติถูกต้อง โดยต้องยื่นซองเอกสารหลักฐานให้คณะกรรมการฯตรวจสอบ ณ ศูนย์ลากเลื่อน ห้อง 209 ชั้น 2 ตึกบัญชาการ ร.ฟ.ท.ภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 หลังจากนั้นจะมีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าเสนอราคา ณ ห้องยื่นซองเอกสารฯ หรือทางเว็บไซต์ www.auct.co.th ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561



สำหรับการเข้าดูสถานที่/สิ่งของ ณ ที่จัดเก็บ ผู้ที่ลงทะเบียนรับเอกสารประกาศเชิญชวนฯ เท่านั้นที่จะได้รับอนุญาต และต้องนําสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา และกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องนําสําเนาหนังสือรับรอง การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่กระทรวงพาณิชย์ออกให้พร้อมสําเนาบัตรประชาชนมาแสดงและมอบไว้เป็นหลักฐาน กรณีที่มอบให้บุคคลอื่นทําการแทนต้องมีหนังสือมอบอํานาจที่ติดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมระบุวัตถุประสงค์ที่ให้ทําการแทนกับต้องมีสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบฯ มาแสดงเพิ่มเติมอีกด้วย
“ร.ฟ.ท. จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมเสนอราคาซื้อสิ่งของที่ชํารุดเสียหาย ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ณ บมจ.สหการประมูล ถนนรามคําแหง 39 (เทพลีลา 1)

กรุงเทพมหานคร โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนเข้าเสนอราคา พร้อมวางหลักประกันฯ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 11.00 น. และจะทําการประมูลแข่งราคา ด้วยวิธีใส่ราคาทางระบบอิเลคทรอนิคส์ ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป”
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 322, 323, 324 ... 490, 491, 492  Next
Page 323 of 492

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©