Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 47461
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 16/11/2018 9:57 am Post subject:
รฟท.ชี้แจงคลิปภาพขบวนรถไฟหยุดรอรถยนต์
TNN 24Published on Nov 14, 2018
รฟท.ชี้แจงคลิปภาพขบวนรถไฟหยุดรอรถยนต์ที่ติดล้ำเส้นทางรถไฟ ต้องหยุดรอเพื่อรับ-ส่งผู้โดยสาร ให้เจ้าหน้าที่เคลียร์เส้นทางและปิดเครื่องกั้นถนนก่อน
https://www.youtube.com/watch?v=Zjg0ZPjWglA
Back to top
Air_Reservoir
1st Class Pass (Air) Joined: 31/03/2006 Posts: 2338
Location: บึงกุ่ม, สุไหงโก-ลก
Posted: 16/11/2018 12:49 pm Post subject:
Mongwin wrote: รฟท.ชี้แจงคลิปภาพขบวนรถไฟหยุดรอรถยนต์
TNN 24Published on Nov 14, 2018
ต้องบอกว่าคลิปนี้ดังไกลไปถึงต่างประเทศเลยครับ
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44066
Location: NECTEC
Posted: 16/11/2018 5:20 pm Post subject:
รถไฟฯ เปิดสัมปทานไอซีดีลาดกระบัง เผยซื้อซอง 10 ราย จับตา 30 พ.ย.เปิดชิงดำ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 16 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15:40
ปรับปรุง: 16 พฤศจิกายน 2561 เวลา 16:23
การรถไฟฯ เผย 10 บริษัทแห่ซื้อซองประมูลโครงการบริหารไอซีดี ลาดกระบัง จับตา 30 พ.ย.เปิดยื่นซองชิงดำสัมปทาน 20 ปี
นางสิริมา หิรัญเจริญเวช รองผู้ว่าการกลุ่มยุทธศาสตร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการสรรหาเอกชนเพื่อร่วมลงทุนเป็นผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ลาดกระบัง เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยมีความประสงค์จะให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนและบริหารจัดการโครงการไอซีดี ลาดกระบัง จึงได้ทำการเปิดจำหน่ายเอกสารข้อเสนอร่วมลงทุน โครงการสรรหาเอกชนเพื่อร่วมลงทุนเป็นผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ที่ลาดกระบัง ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 1 พ.ย. 2561 โดยมีบริษัทเอกชนและบุคคลที่ให้ความสนใจเข้าซื้อเอกสาร จำนวน 10 ราย ประกอบไปด้วย
1. บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินัล จำกัด
2. บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท ริเวอร์เอนจิเนียริ่ง จำกัด
4. บริษัท อีสเทิร์น ซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด
5. บริษัท เอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล(ประเทศไทย) จำกัด
6. บริษัท คอนเทนเนอร์ ดีโป้ กรุงเทพ จำกัด
7. นายประกิจ แก้วแกลบ
8. บริษัท ทิฟฟ่า ไอซีดี จำกัด
9. บริษัท บางกอกโมเดอร์น
10. บริษัท วันไฮไลส์ จำกัด กระทำการแทน โดย บริษัทวันไฮไลท์ ประเทศไทย จำกัด
ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้มีการชี้แจงรายละเอียดและตอบคำถามแก่บริษัทที่สนใจเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา โดยกำหนดการรับซองเอกสาร ในวันศุกร์ที่ 30 พ.ย. 2561 ณ ห้องประชุม สถานีรถไฟบางซ่อน การรถไฟแห่งประเทศไทย ถนนประชาชื่น เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. จากนั้นจะประกาศผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนภายใน 45 วัน นับจากวันที่ยื่นซองเอกสารเสนอราคา ที่ฝ่ายบริการสินค้า การรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการร่วมลงทุนประกอบการไอซีดี ลาดกระบัง มีพื้นที่ 647 ไร่ ระยะเวลา 20 ปี มูลค่าประมาณ4 หมื่นล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.เปิดสรรหาเอกชนเพื่อร่วมลงทุนเป็นผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ที่ลาดกระบัง ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งให้การรถไฟฯ เป็นผู้ดำเนินการสรรหาเอกชน เพื่อรับสัมปทานเป็นผู้ประกอบการ ไอซีดี ลาดกระบังใหม่ ตามพระราชบัญญัติให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการบรรจุและแยกตู้สินค้า (Container) ที่มีการนำเข้า หรือการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ลดต้นทุนด้านการใช้พลังงานขนส่งสินค้าตามนโยบายของรัฐ และช่วยลดต้นทุนการในการขนส่งให้ผู้ส่งออกและนำเข้าของต่างประเทศ เนื่องจากระบบเป็นการขนส่งที่ใช้ต้นทุนต่ำ แต่สามารถขนส่งสินค้าได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก มีความปลอดภัย ช่วยลดปัญหาด้านจราจร และช่วยลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44066
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44066
Location: NECTEC
Posted: 19/11/2018 11:28 am Post subject:
รฟท.ขาดคนหนัก จ่อเปิดประมูลงานซ่อมบำรุง
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 เวลา 07:59 น.
รฟท.ห่วงปัญหาบุคลากรไม่พอ ทำเสียโอกาสธุรกิจ เตรียมเปิดประมูลงานซ่อมบำรุงรถไฟมูลค่า 6,000 ล้าน แก้ปัญหา
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44066
Location: NECTEC
Posted: 20/11/2018 5:37 pm Post subject:
วันนี้ (20พ.ย.61) ครม.พิจารณาเรื่อง ขอยกเว้นมาตรการด้านบุคลากรตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เพื่อขอให้ การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถรับพนักงานได้ในกรอบอัตรากำลัง 19,241 อัตรา (พนักงาน 16,660 อัตรา และลูกจ้าง 2,581 อัตรา) ...
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
(28 กรกฎาคม 2541) เฉพาะในส่วนการรับพนักงานในปีแรก ภายในกรอบไม่เกิน 1,904 อัตรา โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับไปปรับกรอบอัตรากำลังและแผนการสรรหาในระยะ 10 ปี ให้เริ่มตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและนำกรอบอัตรากำลังฯ เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจพร้อมกับแผนฟื้นฟูกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2561 2570) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของอัตรากำลังในภาพรวมให้สอดคล้องกับภารกิจตามแผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2561 2570) ก่อนดำเนินการสรรหาพนักงานในปีแรก ทั้งนี้ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย
สำหรับอัตรากำลังในปีต่อ ๆ ไป หากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจพิจารณาแล้วเห็นว่า
การรถไฟแห่งประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มอัตรากำลังเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี (28 กรกฎาคม 2541) ก็ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป
Cr : http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/16945
ครม.ปลดล็อกรถไฟเพิ่มอัตรากำลังได้ แก้วิกฤตขาดคนทำงาน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เวลา 20:18
ปรับปรุง: พุธที่ 21 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10:37
ครม.อนุมัติยกเว้นมติ ครม. 28 ก.ค. 41 ร.ฟ.ท.สามารถรับพนักงานเพิ่มได้ โดยปีแรก (61) ภายในกรอบไม่เกิน 1,904 อัตรา ขณะที่ให้ทำแผนเพิ่มคนช่วงปี 62-70 เสนอ คนร. อนุมัติก่อนเพื่อให้สอดคล้องกับแผนฟื้นฟู ขณะที่ตามแผน ร.ฟ.ท.ต้องการเพิ่มกำลัง 19,241 อัตรา รองรับงานเพิ่ม
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (20 พ.ย.) มีมติเห็นชอบให้ยกเว้นมาตรการด้านบุคลากรตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สามารถรับพนักงานได้ในกรอบอัตรากำลัง ให้มีผลตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยให้ ร.ฟ.ท.จัดทำแผนฟื้นฟูโครงสร้างอัตรากำลัง การใช้เทคโนโลยี และเรื่องต่างๆ เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติอีกครั้ง
ทั้งนี้ ตามแผนของ ร.ฟ.ท.จะรับพนักงานได้ในกรอบอัตรากำลัง 19,241 อัตรา (พนักงาน 16,660 อัตรา และลูกจ้าง 2,581 อัตรา) ขณะที่มติ ครม.ที่เห็นชอบนั้น ให้ ร.ฟ.ท.ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (28 ก.ค. 2541) เฉพาะในส่วนการรับพนักงานในปีแรก ภายในกรอบไม่เกิน 1,904 อัตรา โดยให้ ร.ฟ.ท.รับไปปรับกรอบอัตรากำลังและแผนการสรรหาในระยะ 10 ปี ให้เริ่มตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและนำกรอบอัตรากำลังฯ เสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พร้อมกับแผนฟื้นฟูกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2561-2570) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของอัตรากำลังในภาพรวมให้สอดคล้องกับภารกิจตามแผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2561-2570) ก่อนดำเนินการสรรหาพนักงานในปีแรก
ทั้งนี้ ให้ ร.ฟ.ท.รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย
สำหรับอัตรากำลังในปีต่อๆ ไป หากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจพิจารณาแล้วเห็นว่า ร.ฟ.ท.ยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มอัตรากำลังเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี (28 ก.ค. 2541) ก็ให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินการขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44066
Location: NECTEC
Posted: 21/11/2018 9:33 pm Post subject:
โอน ตลาดนัดจตุจักร ให้ กทม.บริหาร 10 ปี เริ่ม 1 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เวลา - 19:51 น.
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า กระทรวงคมนาคมได้รายงานความคืบหน้าการให้สิทธิบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะให้สิทธิกรุงเทพมหานคร (กทม.) เข้าบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร โดยคิดค่าเช่าที่ดินพื้นที่ทั้งหมด 68 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา ในอัตราค่าเช่าปีละ 169,423,250 บาท ระยะเวลาไม่เกินปี 2571 โดยจะพิจารณาทบทวนค่าเช่าโดยรวมทุก 3 ปี พร้อมโอนสิทธิสัญญาเช่าทั้งหมด 32 สัญญา จาก รฟท.ให้กับ กทม. เข้ามาบริหารจัดการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป
ขณะที่อัตราค่าเช่าแผงค้านั้น กำหนดแผงละ 1,800 บาท จากเดิม 3,157 บาท แต่หากผู้เช่ารายใดยังติดสัญญาเช่าเดิม ให้มีการทบทวน แจ้งข้อจำกัด และจ่ายค่าเช่าเดิมก่อนที่จะต่อสัญญาใหม่กับ กทม. นายพุทธิพงษ์ กล่าว
ครม.สั่งรถไฟเพิ่มคน-คืนตลาดนัดจตุจักรกลับสู่อ้อมกอด กทม.ภายใน 1 ธ.ค.นี้
พร็อพเพอร์ตี้
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เวลา 20:33 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 โดยมี นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงฯ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมอาคารสโมสรและหอประชุมกระทรวงฯ
สรุปผลการประชุม ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ยกเว้นมาตรการด้านบุคลากรตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สามารถรับพนักงานได้ในกรอบอัตรากำลัง ให้มีผลตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยให้ รฟท.จัดทำแผนฟื้นฟู โครงสร้างอัตรากำลัง การใช้เทคโนโลยี และเรื่องต่าง ๆ เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติอีกครั้ง
2. ครม.รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาเซียน สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16 18 กันยายน 2561 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้หัวข้อ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกันของประชาชน และ เมืองอัจฉริยะและโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
3. ครม.รับทราบผลการดำเนินการโอนความรับผิดชอบการบริหารตลาดนัดจตุจักรของ รฟท. ไปเป็นความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 ทั้งนี้ ให้เร่งรัด รฟท.ทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และสัญญาเช่ากับ กทม. ให้ทันภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2561
4. ให้กระทรวงฯ ประสานงานสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตรวจสอบและจัดทำแผนแม่บทของกระทรวงฯ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
5. นายกรัฐมนตรีขอให้ทุกกระทรวงสนับสนุนการเป็นประธานอาเซียน ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมของอาเซียน ในส่วนของกระทรวงฯ ขอให้ประสานกระทรวงการต่างประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนรับทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ
6. ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เร่งรัดดำเนินการเชื่อมต่อระบบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการใช้ในระบบขนส่งมวลชนต่อไป
7. ให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทพิจารณาเพิ่มการใช้ยางพาราในการก่อสร้างทางและโครงการต่าง ๆ จากที่ใช้อยู่ประมาณ 32,560 ตัน หรือ 30% เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ 97,920 ตัน
8. ให้ รฟท.ประสานงานกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วางแผนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากปาล์ม (B10 และ B20) ในระบบขนส่งมวลชน ภายหลังการทดสอบได้ผลดี และให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดทำแผนการใช้งานต่อเนื่องภายหลังการทดสอบตามระยะที่กำหนด โดยคำนึงถึงความประหยัดของค่าใช้จ่ายเป็นสำคัญ
9. ให้กรมทางหลวงและกรมท่าอากาศยานประสานงานกับสำนักงบประมาณเกี่ยวกับงบประมาณการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้การดำเนินการโครงการไม่หยุดชะงัก เช่น โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่ กาญจนบุรี โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานแม่สอดและเบตง เป็นต้น
10. ให้กรมเจ้าท่ากำกับดูแลเฝ้าระวังเข้มงวดความสะดวกปลอดภัยในช่วงเทศกาลลอยกระทงทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด และให้ ขสมก. อำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน Last edited by Wisarut on 22/11/2018 5:53 pm; edited 2 times in total
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44066
Location: NECTEC
Posted: 22/11/2018 5:50 pm Post subject:
รถไฟฯ รับพนักงานเพิ่ม 1,904 อัตรา ลั่นกลางปี62 เปิดสมัครล็อตแรก 952 คน แก้ขาดแคลน
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 - 17:52 น.
รถไฟฯ รับพนักงานเพิ่ม 1,904 อัตรา ลั่นกลางปี62 เปิดรับสมัครล็อตแรก 952 คน หลังครม. ปลอดล็อกให้รับเพิ่ม รองรับทางคู่
รถไฟฯ รับพนักงานเพิ่ม นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา เห็นชอบให้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2541 โดยให้สามารถเปิดรับพนักงานได้เพิ่มเติมในปีแรก ภายในกรอบไม่เกิน 1,904 อัตรานั้น รฟท. จะเร่งดำเนินการปรับปรุงแผนปรับกรอบอัตรากำลังและแผนการสรรหาพนักงานในระยะ 10 ปี ให้มีความสอดรับกับข้อเท็จจริงตามข้อเสนอแนะของครม.
จากนั้นจะนำกรอบอัตรากำลังและแผนฟื้นฟูกิจองค์กรปี 2561-2570 เสนอให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณาความเหมาะสมของอัตรากำลังในภาพรวมอีกครั้ง เพื่อให้รฟท. สามารถเปิดรับพนักงานจำนวน 1,904 อัตราได้ภายในปี 2562 รองรับการให้บริการโครงการรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้าง
มติ ครม. ที่ให้ รฟท. รับพนักงานเพิ่มได้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของรฟท. ได้มาก เนื่องมติ ครม. เดิมปี 2541 ห้ามรับคน ทำให้ รฟท. ขาดแคลนพนักงาน กว่า 8,000 อัตรา พนักงานที่มีความขาดแคลน และจำเป็นต้องมีการพิจารณาเร่งเปิดรับอย่างเร่งด่วนจะมีด้วยกันหลายหน่วย อาทิ พนักงานหน่วยธุรกิจการเดินรถ หน่วยธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน นายวรวุฒิกล่าว
รายงานจากรฟท. แจ้งว่า รฟท. ขอปรับเพิ่มอัตรากำลังจากประมาณ 14,000 กว่าคนในปัจจุบัน เป็น 19,000 คน ภายใน 10 ปี แต่ครม. ครม.อนุมัติล็อตแรกแค่ 1,904 คน เพราะมองว่ารฟท. ยังอยู่ในแผนฟื้นฟู ต้องใช้จ่ายเงินอย่างระวัดระวัง
ขณะนี้รฟท. ยังรับพนักงาน 1,904 คนเลยไม่ได้ เพราะครม.มีเงื่อนไข สั่งการให้รฟท. ไปปรับปรุงแผนอัตรากำลังในช่วง 10 ปีใหม่ และให้นำกลับมาเสนอ ให้ คนร. พิจารณาก่อน คาดว่าจะเสนอแผนให้ คนร. พิจารณาได้ภายในเดือนธ.ค. นี้ หากคนร. อนุมัติ คาดว่าจะเปิดรับสมัครได้ช่วงกลางปี 2562 ปีแรกประมาณ 952 คน และปี 2563 อีก 952 คน โดยจะเร่งรับตำแหน่งที่ขาดแคลนมากก่อนคือ ได้แก่ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานวิศวกร พนักงานกลุ่มการเดินรถ โดยเฉพาะพนักงานขับรถ นายสถานี รวมถึงช่วงซ่อมบำรุง
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44066
Location: NECTEC
Posted: 23/11/2018 10:35 am Post subject:
รถไฟฟ้าเส้นทางขอนแก่น-แหลมฉบังพลิกโฉมการขนส่งสินค้าด้วยระบบราง
ออนไลน์เมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ใน หน้า 23-24 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,419 วันที่ 22 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมาคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ดร.ฟ.ท.) ก็ได้เห็นชอบผลศึกษาให้เอกชนร่วมลงทุนรถไฟใช้ระบบไฟฟ้าขนส่งสินค้า ขอนแก่น-แหลมฉบัง ระยะทางกว่า 516 กม. คาดใช้งบไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าขนสินค้าได้กว่า 3.8 ล้านตัน/ปี โดยหลังจากนี้จะเร่งส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เพื่อดำเนินการพ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯต่อไป
โครงการนี้วัตถุประสงค์เพื่อประหยัดการลงทุนของภาครัฐจึงต้องนำเสนอเข้าสู่พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2556 โดยได้มีการศึกษารองรับไว้หลายรูปแบบแต่เมื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) จะพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมต่อไป
รถไฟฟ้าเพื่อการขนส่งสินค้าเส้นทางขอนแก่นแหลมฉบัง ถือได้ว่าเป็นอีกโครงการที่เปิดให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนเดินรถไฟฟ้าในเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยโดยพบว่ากลุ่มบริษัทบีทีเอสฯและกลุ่มบริษัท
ทีพีไอโพลีนฯแสดงความสนใจลงทุนโครงการดังกล่าว โดยถือว่าเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ประการสำคัญหากรัฐต้องลงทุนมหาศาลปัจจุบันนี้รัฐยังไม่มีความพร้อมโดยเฉพาะหลายโครงการที่เกิดขึ้นพร้อมกันก็จะเกิดไม่ได้เนื่องจากปัจจัยการลงทุนจำนวนมหาศาลนั่นเอง
เบื้องต้นบอร์ด ร.ฟ.ท. เห็นชอบให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐจะลงทุนในส่วนของการจัดสรรที่ดินแนวเส้นทางเพื่อก่อสร้างอู่จอดและซ่อมบำรุง พร้อมทั้งลงทุนระบบบริหารจัดการ ขณะที่ภาคเอกชนจะเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนในส่วนของงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล งานอู่จอดและซ่อมบำรุงงานก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และการจัดหาหัวรถจักรไฟฟ้า และรถสินค้า
ในส่วนงบประมาณการลงทุนอ้างอิงตามผลการศึกษา พบว่ามีมูลค่ารวม 19,193 ล้านบาท แบ่งออกเป็น งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล 17,250 ล้านบาท งานก่อสร้างอู่จอดและซ่อมบำรุง 1,200 ล้านบาท งานจัดซื้อขบวนรถ 735 ล้านบาท และงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 8 ล้านบาท มีอายุสัมปทานอยู่ที่ 30 ปี พร้อมเงื่อนไขในการต่ออายุสัมปทานได้อีก 30 ปี โดย ร.ฟ.ท. จะได้รับผลตอบแทนสุทธิตลอดอายุสัญญาคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท
คงต้องมีลุ้นกันว่าท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลคสช.จะให้ความสำคัญต่อการยกระดับการขนส่งสินค้าด้วยรถไฟฟ้าหรือไม่ ใครจะเป็นผู้สนใจลงทุนกันแน่ และเอกชนต่างประเทศจะให้ความสนใจมากน้อยแค่ไหนเพราะหากเปิดให้บริการได้เชื่อว่าจะมีส่วนกระตุ้นวงการโลจิสติกส์ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างมาก
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44066
Location: NECTEC
Posted: 29/11/2018 12:15 pm Post subject:
แฉ ร.ฟ.ท.ซื้อรถตรวจรางแพงเกินจริง ติงแก้สเปก-ส่อเอื้อเอกชน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561 เวลา 19:28
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เวลา 11:29
แฉ ร.ฟ.ท.ซื้อรถตรวจรอยร้าวของรางแพงเกินจริง ทำรัฐเสียงบเพิ่มไม่ต่ำกว่า 100 ล้าน แถมแก้สเปกผิดพลาด เหตุเร่งรีบเพื่อเอื้อเอกชน ลืมปรับเงื่อนไข ร้อง ประธานบอร์ด ตรวจสอบหวั่นรับรถแล้วใช้งานไม่ได้
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการตรวจรับรถไฟกึ่งบรรทุกตรวจรอยร้าวของราง ซึ่งพบว่ารถดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อกำหนด และมีปัญหาในการใช้งาน โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2561 ได้มีหนังสือร้องเรียนถึง นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. เพื่อขอให้พิจารณาสั่งการให้การตรวจรับรถดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้อง และปฏิเสธการรับสิ่งของที่มิได้เป็นไปตามรายการจำเพาะทางเทคนิคอันเป็นสาระสำคัญ ส่งคืนสิ่งของให้กับคู่สัญญา
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2556 ฝ่ายการช่างโยธา ร.ฟ.ท.ได้ประกาศสอบราคาเพื่อจัดทำราคากลางในการจัดหา รถตรวจสภาพรอยร้าวของราง จำนวน 1 คัน เป็นเงิน 492 ล้านบาท ต่อมาวันที่ 30 ม.ค. 2558 ได้ประกาศเพิ่มเติมโดยมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญเป็น รถไฟกึ่งบรรทุกตรวจรอยร้าวของราง ชนิด Laser Type Probes ที่สามารถวิ่งบนถนนและบนรางรถไฟได้ ซึ่งมีเพียงโรงงานเดียวที่ผลิตรถชนิดนี้
แสดงให้เห็นถึงเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง เพราะมีผู้ผลิตเพียงรายเดียว ผู้ผลิตรายอื่นไม่สามารถยื่นข้อเสนอเพื่อเปรียบเทียบได้ ขณะที่ไม่ได้มีการปรับราคากลางลง ซึ่งเป็นที่ทราบกันในวงการว่ารถชนิดนี้ราคาถูกกว่าราคากลางที่กำหนดครึ่งหนึ่ง โดยหากเปรียบเทียบกับราคาซื้อรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่มีราคาไม่เกิน 150 ล้านบาท รถไฟกึ่งบรรทุกตรวจรอยร้าวของรางน่าจะมีราคาไม่เกิน 200 ล้านบาท
แต่ ร.ฟ.ท.ตกลงซื้อขายในราคาถึง 487.998 ล้านบาท แพงเกินจริงกว่า 100% และเป็นการขัดวัตถุประสงค์เดิมที่จัดหารถตรวจสภาพรอยร้าวของรางที่วิ่งได้เฉพาะบนรางเท่านั้น
ร.ฟ.ท.ได้ลงนามสัญญากับบริษัท บรอดแคส ดีพอท (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งมีการเซ็นกำกับในสัญญาทุกหน้า และรายการจำเพาะด้านเทคนิค ซึ่งปัจจุบันผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าแล้ว เพื่อรอการตรวจรับ
ทั้งนี้ พบข้อผิดพลาดที่เป็นสาระสำคัญที่สามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุในขณะทำการ ได้แก่ ส่วนขับเคลื่อนบนรางไม่ถูกต้องตามรายการจำเพาะด้านเทคนิค โดยข้อ 5.13 กำหนด โบกี้ชนิด 2 เพลา มีชุดขับเคลื่อน 1 โบกี้ (Driving bogie) และโบกี้ตาม 1 โบกี้ แต่รถที่ส่งมอบเป็นแบบโบกี้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ที่ล้อเหล็กโดยตรง ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด และทำให้เกิดอุบัติเหตุมาแล้วขณะทำการทดลองวิ่งปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2561 บริเวณ กม.11 แต่มีการปกปิดข้อมูลไว้
แหล่งข่าวระบุถึงปัญหาดังกล่าวว่า รถตรวจสภาพรอยร้าวของรางอย่างเดียวจะขับเคลื่อนด้วยเพลาของโบกี้ด้านหัวและท้าย ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดด้านเทคนิคในข้อ 5.13 แต่เมื่อมีการแก้ไข เป็นรถไฟกึ่งบรรทุกตรวจรอยร้าวของรางที่สามารถวิ่งบนถนนและบนรางรถไฟได้ ซึ่งด้านเทคนิคจะต้องขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ที่ล้อเหล็ก ร.ฟ.ท.. จะต้องแก้ไขข้อกำหนดด้านเทคนิคใหม่หรือตัดข้อ 5.13 ออก เพราะเป็นข้อกำหนดสำหรับรถที่วิ่งบนรางอย่างเดียว เมื่อไม่แก้ไขเงื่อนไขให้รอบคอบทำให้เกิดปัญหา ซึ่งผู้บริหารร.ฟ.ท.จะต้องพิจารณาว่าความผิดพลาดเกิดจาก ร.ฟ.ท.เองหรือไม่
เป็นความเร่งรีบที่จะทุจริต และเซ็นสัญญาให้ได้ จนลืมดูรายละเอียดข้อเทคนิคที่ขัดแย้งกันเอง ซึ่งหากพิสูจน์ว่า ร.ฟ.ท.เป็นฝ่ายผิดก็จะทำให้ไม่สามารถปฏิเสธรับรถได้ และต้องเสียงบประมาณแพงเกินจริงไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจัดซื้อและลงนามสัญญาเมื่อ ก.ค. 2559 สมัยที่นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร เป็นผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group