View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
arisona
3rd Class Pass
Joined: 05/08/2008 Posts: 89
|
Posted: 17/07/2013 6:34 pm Post subject: |
|
|
เป็นสาขาที่น่าสนใจดีนะครับ
รับ ป.ตรี ใบที่ 2 รึป่าวครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47212
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
KnGEA4539
3rd Class Pass
Joined: 07/07/2010 Posts: 125
Location: ข.35/36 ข.283 วิศวกรรมขนส่งทางราง สจล
|
Posted: 20/07/2013 12:45 am Post subject: |
|
|
2 สาวแห่งสาขาสุดแสนขาดแคลน คนขวา(ผมสั้น) ไปกลับกับไนท์ทุกวัน แถมข่าวเขียนชื่อผิดด้วย ต้อง เป็นชนิกานต์ 55555 |
|
Back to top |
|
|
Ariya_4543
2nd Class Pass
Joined: 02/04/2008 Posts: 643
Location: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง // สถานีรถไฟหัวลำโพง
|
Posted: 21/07/2013 2:05 am Post subject: |
|
|
เอาคนซ้ายกลับมาด้วยมั่งจิ _________________ Ariya_4404@hotmail.co.th // Ariya_Watthanarungsun (Ariya_4543)
|
|
Back to top |
|
|
Dahlia
1st Class Pass (Air)
Joined: 17/02/2007 Posts: 1030
Location: BKK / NST
|
Posted: 22/07/2013 11:50 pm Post subject: |
|
|
ถือเป็นการเปิดกว้างให้ได้เรียนมากยิ่งขึ้นเลยครับ เยี่ยม.. |
|
Back to top |
|
|
kenshiro
2nd Class Pass (Air)
Joined: 09/09/2006 Posts: 950
|
Posted: 23/07/2013 11:12 am Post subject: |
|
|
มีเปิดรับ ป.โท หรือยังครับ (ได้ข่าวว่ายังไม่จบ ป.ตรี) _________________ [ We R RFT ]
|
|
Back to top |
|
|
Oonza
3rd Class Pass (Air)
Joined: 02/12/2008 Posts: 379
Location: ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
|
Posted: 04/09/2013 10:33 pm Post subject: |
|
|
CivilSpice wrote: | Oonza wrote: | เป็นหลักสูตรที่น่าเรียนจริงๆ ครับ ถ้าจบวิศวะคอมพิวเตอร์แล้วไปเอา"วิศวะเครื่องราง" อีกซักใบจะดีมั้ยน้อ.... ต้องลองถาม "น้องโอโม่แมน" ซะแล้ว.... |
ถ้าจะเอาเครื่องรางหรือพระเครื่อง ลองไปศึกษาได้แถวๆ ท่าพระจันทน์ อิอิ |
สงสัยต้องให้เจ้าถิ่นพาเดินแล้วล่ะครับพี่บอมป์ ฮ่าๆๆๆๆ _________________ ว่าที่เรืออากาศตรีอ้นซ่า....
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47212
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 29/02/2016 8:09 am Post subject: |
|
|
รายงานวันจันทร์-ม.นวมินทร์จับมือ สจล. 4 บิ๊กระบบราง ผลิตเทคนิเชียนรถไฟฟ้า
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 29 ก.พ. 2559 05:01
ปัจจุบันการขนส่งมวลชนระบบรางของประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ในอนาคตประเทศไทยอาจประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านการบริหารจัดการระบบราง เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรเกี่ยวกับด้านเครื่องกล ด้านไฟฟ้า แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญระบบรางโดยเฉพาะ หากไม่มีการวางแผนด้านการผลิตบุคลากรสู่การบริหารจัดการระบบรางที่ดีพอ มีความเป็นไปได้ที่ผลกระทบจะออกมาในรูปแบบวิกฤติขาดแคลนนักบินที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน!!!!!!
เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ดร.พิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น รองอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) มารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด และเกรกอรี โยอันน์ มาทธิว อองจาลแบร์ท รองประธานกรรมการ บริษัท บอมบาร์ดิแอร์ฯ (ประเทศไทย) เพื่อจัดทำหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบรางของวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ดร.พิจิตตกล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายผลิตกำลังคนเพื่อการบริหารจัดการเทคโนโลยีระบบราง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระบบรางมากที่สุดของประเทศได้ให้ความสนใจมาร่วมมือถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง เป็นหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาเทคโนโลยีระบบราง ที่วิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กำหนดเปิดสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2559 นี้
ดร.พิทยา ชินะจิตพันธุ์ ผอ.วิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร เผยว่า ขณะนี้หลักสูตรอยู่ระหว่างเสนอสภามหาวิทยาลัยฯหากผ่านขั้นตอนนี้แล้ว คาดว่าจะสามารถเปิดรับสมัครนักศึกษาเพื่อสอบคัดเลือกเข้าเรียนได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ โดยปีแรกจะรับนักศึกษา 40 คน นักศึกษาจะเรียนด้านวิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้า ที่วิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพฯ จากนั้นในเดือน ส.ค.59 จะใช้พื้นที่ของ สจล.เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนต่อเนื่อง รวมถึงฝึกปฏิบัติการจริงกับบริษัทที่ให้ความร่วมมือจนจบหลักสูตร
วันนี้รถไฟฟ้าสายสีม่วงต้องการบุคลากรเพื่อบริหารจัดการระบบรางกว่า 600 คน ใน 4 กลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย 1.ระบบอาณัติสัญญาณ2.ระบบการเดินรถ 3.การซ่อมบำรุง และ 4.ระบบโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา หลักสูตรที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้จะฝึกสอนเพื่อเป็นผู้ช่วยวิศวกร สามารถทำงานได้ครอบคลุมทั้ง 4 กลุ่มงาน ดร.พิทยากล่าว
ปัจจุบันมี 2 สถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรระดับปริญญาตรีในการบริหารจัดการระบบรางคือ สจล. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการระบบรางต้องการบุคลากรระดับเทคนิเชียน 9,123 คน และต้องการวิศวกร 4,300กว่าคน. |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47212
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 01/04/2019 11:54 am Post subject: |
|
|
สจล.พัฒนาวิศวกรรมระบบราง ลดพึ่งพาต่างชาติ
กรุงเทพธุรกิจ 1 เมษายน 2562
สจล.ชูหลักสูตรวิศวกรรมระบบราง และบุคลากรที่มีศักยภาพด้านระบบรางวิศวกรรมโยธา เครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของไทย
น.ส.ชลิดา อู่ตะเภา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อม และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานนิทรรศการ "ขุมทรัพย์ความรู้
รถไฟความเร็วสูง" โดยศูนย์วิจัยพัฒนา ทดสอบ และถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟ ความเร็วสูงของประเทศไทย (M2RC) สจล. จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30-31 มี.ค. 62 ที่ห้องโถงกลางอาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. เพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านระบบรางและระบบที่เกี่ยวข้อง ให้มีศักยภาพ เทียบเท่ามาตรฐานสากลหรือ ต่างประเทศ เพื่อลดการจ้าง ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ทั้งนี้ภายในงานได้มีการบรรยายหัวข้อ เกี่ยวกับ การตรวจสอบระบบ รางรถไฟความเร็วสูงด้วยวิธีการทดลองแบบไม่ทำลาย ผลกระทบของรถไฟความเร็วสูงต่อระบบส่งจ่ายไฟฟ้า และ อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำในดินต่อ การใช้งานและความเสถียรของคันดินทางรถไฟ
น.ส.ชลิดา กล่าวว่า ตามที่นโยบายรัฐบาลได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน เส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเส้นทางการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจีน ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว สอดรับกับนโยบาย One belt One Road ของจีน โดยประเทศไทยจะเป็นผู้ลงทุน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานจากรถไฟความเร็วปานกลาง เป็นรถไฟความเร็วสูง ที่ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยเส้นทางช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะดำเนินการก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นจะขยายต่อจนถึงหนองคาย เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟของลาว และจีนต่อไป
น.ส.ชลิดา กล่าวต่อไปว่า จากนโยบายดังกล่าว สจล. ซึ่งมีพันธกิจ 3 ด้าน คือ สอน วิจัย และบริการวิชาการ ได้เห็นถึงความสำคัญ และต้องการที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการศูนย์วิจัยพัฒนา ทดสอบ และถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของไทย (M2RC) เนื่องจากเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยมีการเรียนรู้จากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ด้วยการถ่ายทอดและสร้างประสบการณ์จากการใช้เทคโนโลยีต่างประเทศ เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สู่การพึ่งพาตนเองในอนาคตได้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยต้องเร่งดำเนินการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยศึกษาตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ซึ่งใช้กลไกทางพันธสัญญาในการจัดซื้อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ในรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างองค์ความรู้ของตนเองในอนาคต
"จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า กรณีของไทยจะมีความคล้ายคลึงกับประเทศมาเลเซีย คือ สามารถนำลักษณะของ Offset Program มาใช้ในการบริหารโครงการ สิ่งสำคัญ สำหรับประเทศที่ไม่ได้สะสมองค์ความรู้ คือ จะต้องมีหน่วยงานกลางเป็นเจ้าภาพทำหน้าที่บริหารจัดการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาอุตสาหกรรม การวิจัยและพัฒนามาตรฐานและการทดสอบ และการพัฒนาบุคลากร ประกอบกับนโยบายในการลงทุนและพัฒนาระบบรางของรัฐบาล ซึ่งประกอบไปด้วยการลงทุนก่อสร้างในระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล การลงทุนก่อสร้างรถไฟรางคู่ระหว่างเมือง และรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมือง ทำให้ประเทศไทยต้องการกำลังคนที่มีทักษะในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบรางตั้งแต่การวางแผนโครงข่าย การออกแบบด้านวิศวกรรม การวิจัย และผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบราง การก่อสร้างและติดตั้ง ทั้งด้านโยธา งานระบบราง การบำรุงรักษาทั้งระบบ ในโครงการรถไฟที่รัฐบาลจะลงทุน" น.ส.ชลิดา กล่าว
น.ส.ชลิดา กล่าวอีกว่า สจล.มีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของไทย เนื่องจากมีการเรียนการสอน หลักสูตรวิศวกรรมระบบราง มีบุคลากรที่มีศักยภาพด้านระบบรางวิศวกรรมโยธา เครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในด้านโครงสร้างพื้นฐานในงานโยธา ระบบเครื่องกลและระบบไฟฟ้า รวมทั้งพื้นที่สถาบันมีความเหมาะสม เพราะตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟพระจอมเกล้า (สายตะวันออก) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ ซึ่งมีความสะดวกในการขนส่งอุปกรณ์หรือเครื่องมือหรือสินค้า ที่จะนำมาทดสอบระบบได้ และโครงการนี้ยังมีสถาบันอุดมศึกษาพันธมิตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
|
|
Back to top |
|
|
|