View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 21/05/2019 1:38 pm Post subject: ข่าวกรมการขนส่งทางราง (เริ่ม 21 พ.ค. 62) |
|
|
ครม.เคาะ สราวุธ ทรงศิวิไล ผอ.สนข.นั่งเก้าอี้อธิบดีกรมรางคนแรกของประเทศไทย
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 21 May 2019 - 13:03 น.
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายสราวุธ ทรงวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
พันเอกหญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า ที่ประชถมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เห็นชอบแต่งตั้งนายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมการขนส่งทางราง มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
สำหรับประวัติว่าที่อธิบดีคนใหม่ สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มงานในกรมทางหลวงตั้งแต่ปี 2529 เติบโตจนรั้งจำแหน่งรองอธิบดีกรมในปี 2556 จากนั้นถูกโยกมาเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงในปี 2560 จนเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2561ถูกย้ายเป็นผอ.สนข.แทนนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ที่ขึ้นแท่นเป็นปลัดกระทรวงคมนาคม และในที่สุดครม.มีคำสั่งให้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมการขนส่ทางรางคนแรกในที่สุด
Last edited by Mongwin on 24/06/2019 12:14 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 21/05/2019 5:24 pm Post subject: Re: แต่งตั้งอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ข่าว 21 พ.ค. 62) |
|
|
ครม.เคาะ สราวุธ ทรงศิวิไล ผอ.สนข.นั่งเก้าอี้อธิบดีกรมรางคนแรกของประเทศไทย
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 13:03 น.
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายสราวุธ ทรงวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
พันเอกหญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแต่งตั้งนายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ย้ายไปเป็นอธิบดีกรมการขนส่งทางราง มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
สำหรับประวัติว่าที่อธิบดีคนใหม่ สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มงานในกรมทางหลวงตั้งแต่ปี 2529 เติบโตจนรั้งตำแหน่งรองอธิบดีกรมในปี 2556 จากนั้นถูกโยกมาเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงในปี 2560 จนเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2561 ถูกย้ายเป็น ผอ.สนข.แทนนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ที่ขึ้นแท่นเป็นปลัดกระทรวงคมนาคม และในที่สุด ครม.มีคำสั่งให้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมการขนส่งทางรางคนแรกในที่สุด
ไฟเขียว ตั้ง'สราวุธ'นั่งอธิบดีกรมรางคนแรก
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 15:02 น.
21 พ.ค. 2562 รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ระบุว่าที่ประชุม ครม. มีมติแต่งตั้งนายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางรางคนแรกของประเทศไทย ตามที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่กำหนดขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2562) จัดตั้งกรมการขนส่งทางราง และรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว
นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและ จราจร(สนข.) ว่าที่อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (กรมราง)เปิดเผยว่าการจัดตั้งกรมดังกรมถือเป็นภาระกิจหลักที่รัฐบาลชุดนี้ต้องการผลักดันตั้งแต่ช่วงต้นการเข้ามาบริหารประเทศในช่วงปี 2558 เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีการลงทุนเรื่องระบบรางหลายแสนล้านบาท ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าเมืองหลวงและรถไฟความเร็วสูง
อย่างไรก็ตามขณะที่ภารกิจหลักของกรมรางที่จะเข้ามายกระดับงานบริการขนส่งสาธารณะที่เห็นภาพชัดๆคือการตั้งค่าประเมิน KPI ในงานบริการรถไฟฟ้า เช่น แต้มตรงต่อเวลาแต้มความแออัดของผู้โดยสารและแต้มความพึงพอใจเป็นต้น นอกจากนี้จะมีการเข้ามาคุมเรื่องราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะเปิดบริการ นอกจากนี้ยังมีตัว พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม (ฉบับที่..)พ.ศ... ว่าด้วยการ จัดตั้งกรมการขนส่งทางราง และร่างพ.ร.บ.ขนส่งทางราง พ.ศ... ซึ่งอยู่ระหว่างผลักดันบังคับใช้ภายในปีนี้ ทำหน้าที่เป็นกฎหมายให้เอกชนต้องปฎิบัติตาม รวมถึงเรื่องอื่นๆอีกมากมายเกี่ยวกับระบบราง ดังนั้นจฝภาระกิจงานจะครอบคลุม รถไฟ รถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง
แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าและบริษัทเอกชนที่สนใจลงทุนโครงการระบบราชในอนาคตจนทำให้บางฝ่ายเกิดความเกรงกลัวถึงขอบเขตอำนาจของกรมดังกล่าว ทั้งการตั้งค่าประเมินประจำปี KPI ซึ่งจะมาพร้อมบทลงโทษหากไม่ทำตาม เช่นการปรับเงิน หรือการชดเชยค่าใช้จ่ายให้ผู้โดยสาร (payback) ในกรณีรถไฟฟ้าขัดข้องหรือมีการล่าช้าเกิดขึ้น(Delay) เช่นเดียวกับในต่างประเทศ ตลอดจนคุมราคาค่าโดยสารให้มีความเหมาะสม การเร่งรัดโครงการก่อสร้างระบบราง การสร้างกติกาทีมีผลทางกฎหมายให้ปฏิบัติร่วมกัน ตลอดจนการกำหนดเงื่อนไขในการประมูลโครงการเช่น กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบที่ต้องผลิตในประเทศ (local content) เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมทางรางของไทย อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประชาชนผู้ใช้บริการ
ทั้งนี้สำหรับประวัติการศึกษานายสราวุธ ทรงศิวิไลนั้น ปี 2520 2523 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี), ปี 2523 2524 มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ปี 2524 2528 วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปี 2530 2532 วศ.ม. (ขนส่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในส่วนประวัติการทำงานนั้น พ.ศ. 2529 2540 วิศวกรโยธาฝ่ายแผนงานกองบำรุงกรมทางหลวง พ.ศ. 2540 2545 หัวหน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือสำนักบริหารบำรุงทางกรมทางหลวง พ.ศ. 2545 2547 ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานผู้รับจ้าง(งานจดทะเบียนผู้รับเหมา) กรมทางหลวง พ.ศ. 2547 2549
ผู้อำนวยการสำนักงานบำรุงทางธนบุรี(แขวงการทาง) กรมทางหลวง พ.ศ. 2549 2550 ผู้อำนวยการแขวงการทางกรุงเทพ กรมทางหลวง พ.ศ. 2550 2552 ผู้อำนวยการกลุ่มกำหนดกลยุทธ์และแผนงานบำรุงทาง สำนักบริหารบำรุงทาง กรมทางหลวง พ.ศ. 2552 2556 ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงที่8 (นครราชสีมา) กรมทางหลวง พ.ศ. 2556 2557 รองอธิบดีกรมทางหลวง(ฝ่ายวิชาการ) กรมทางหลวง พ.ศ. 2557 2560 รองอธิบดีกรมทางหลวง(ฝ่ายบำรุงทาง) กรมทางหลวง พ.ศ. 2560 2561 ผู้ตรวจราชการกระทรวงกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2561 ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.
ครม.ตั้ง สราวุธ อธิบดีกรมราง คนแรก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 14:45
พ.อ.หญิง ทักษดา ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 พ.ค. มีมติอนุมัติ แต่งตั้ง นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นอธิบดีกรมการขนส่งทางราง คนแรกของประเทศไทย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ทั้งนี้ นายสราวุธนั้น สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มงานในกรมทางหลวงตั้งแต่ปี 2529 โดยตำแหน่งสูงสุดคือรองอธิบดีกรมทางหลวง ก่อนจะย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวง คมนาคม เมื่อปี 2560 และได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้อำนวยการสนข.เมื่อปี 2561
สำหรับกรมการขนส่งทางรางนั้น ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่18) พ.ศ.2562 (จัดตั้งกรมการขนส่งทางราง) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 2562 ต่อมาได้มีการออกประกาศ กฎกระทรวง 3 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยกลุ่มภารกิจ พ.ศ. ... ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สนข. กระทรวงคมนาคม พ.ศ. ...
โดยกรมรางฯ ยังต้องรอ พระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ... ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางราง ที่เป็นเครื่องมือให้กรมรางฯ ในการ การกำกับดูแลมาตรฐานและความปลอดภัยการกำกับการประกอบกิจการทางราง
ซึ่งระหว่างรอ กม.การขนส่งทางราง จะเป็นการเตรียมความพร้อม ได้แก่ ด้านบุคลากร และ สถานที่ตั้งกรมราง ต่อไป
เปิดประวัติ สราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางรางคนแรก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 14:27
ปรับปรุง:วันอังคาร ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, 14:37
หลังจากที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดตั้ง กรมการขนส่งทางราง เพื่อกำกับดูแลระบบขนส่งทางรางทั้งประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน สามารถแข่งขันและเชื่อมต่อการขนส่งรูปแบบอื่นและประเทศเพื่อนบ้านได้
ส่งผลทำให้สำนักงานโครงการพัฒนาระบบรางในสังกัดสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม จะต้องโอนย้ายไปสังกัดส่วนราชการแห่งใหม่ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบรางของประเทศ ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.), การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัทเอกชน จะกลายเป็นผู้ประกอบการ (Operator) อีกที
หลังพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2562 ยกฐานะเป็นกรมการขนส่งทางราง ก็ต้องมีอธิบดีที่จะมาเป็นเจ้ากระทรวงใหม่เอี่ยมแห่งนี้
ในที่สุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2562 มีมติเลือก สราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ สนข. เป็นอธิบดีกรมการขนส่งทางรางคนแรกที่จะมาดูแลระบบขนส่งมวลชนทางราง ตั้งแต่รถไฟฟ้าและรถไฟทั้งประเทศ
นายสราวุธ ทรงศิวิไล เกิดเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2507 จบการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) และวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ขนส่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มต้นรับราชการกรมทางหลวงในตำแหน่งวิศวกรโยธา ฝ่ายแผนงาน กองบำรุง ตั้งแต่ปี 2529 กระทั่งเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักบริหารบำรุงทาง ในปี 2540
ปี 2545 เป็นผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานผู้รับจ้าง (งานจดทะเบียนผู้รับเหมา), ปี 2547 เป็นผู้อำนวยการแขวงการทางธนบุรี, ปี 2549 ผู้อำนวยการแขวงการทางกรุงเทพ
กระทั่งเป็นผู้อำนวยการกลุ่มกำหนดกลยุทธ์และแผนงานบำรุงทาง สำนักบริหารบำรุงทาง ปี 2550 จากนั้นปี 2552 เป็นผู้อำนวยการสำนักทางหลวงที่ 8 (นครราชสีมา)
ปี 2556 เป็นรองอธิบดีกรมทางหลวง ฝ่ายวิชาการ ปี 2557 ย้ายไปอยู่ฝ่ายบำรุงทาง ปี 2560-2561 เป็นผู้ตรวจราชการ กระทรวงคมนาคม กระทั่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (ผอ.สนข.)
อย่างไรก็ตาม กรมการขนส่งทางรางยังไม่เป็นรูปเป็นร่างมากนัก นับจากนี้จัดหาบุคลากร 203 คน แบ่งเป็นข้าราชการ 176 คน และพนักงานราชการ 27 คน ควบคู่ไปกับการออกกฎหมายลูกภายใต้ พ.ร.บ.การขนส่งทางราง
ก่อนที่จะเริ่มเดินหน้าบริหารงานกรมการขนส่งทางราง ประมาณเดือนกันยายนนี้ ต้องดูว่าการรวมศูนย์มาตรฐานรถไฟฟ้า รถไฟ รวมทั้งรถไฟความเร็วสูงในอนาคตจะพลิกโฉมอนาคตการขนส่งระบบรางในไทยมากน้อยแค่ไหน?
//--------------------------------
14 เม.ย.62 เวปไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศ พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2562
... มีผลให้มีการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง นับตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2562 เป็นต้นไป
วิเคราะห์:ใจความสำคัญคือ มาตรา 5 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและ จราจร กระทรวงคมนาคม เฉพาะสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง ไปเป็นของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
หมายความว่า กรมราง เกิดขึ้นได้จากการยกระดับสำนักงานระบบรางของ สนข.ให้เป็นหน่วยงานระดับกรม เทียบเท่า กรมทางหลวง ต่างๆ นั้นเอง
ส่วนการรถไฟแห่งประเทศไทย จะุถูกแปรรูป และมีการจัดตั้งบริษัทลูกอีก 3 บริษัท ที่อยู่ภายใต้การกำกับของ รฟท. ซึ่งตัวองค์กร รฟท. เองจะทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของ 3 บริษัทอีกที มันจะคล่องตัวกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
บ.เดินรถ มีหน้าที่เดินรถ ก็เหมือน รฟท. จ้างเดินรถ รฟท.จะไม่เป็นผู้เดินรถเองแล้ว รฟท.จะกลายเป็น Operator ของรัฐ ที่มีเอกชนมาวิ่งแข่งเหมือนสายการบิน
บ.ซ่อมบำรุง กรมรางจะจ้าง บ.ซ่อมบำรุงมาซ่อมบำรุงทาง สัญญาณ ทั้งหมด ของระบบรถไฟพื้นฐาน
บ.ทรัพย์สิน อันนี้ประโยชน์ของ รฟท.โดยตรง ที่มาดูแลและบริหารที่ดินที่มีเพื่อให้มีรายได้จาก non-core business
รฟท. จะเปลี่ยนจากทั้ง ผู้ควบคุม และผู้บริการ เป็นแค่ผู้บริการอย่างเดียว โดยไม่ต้องลงทุนสร้างทางแล้ว(เพราะกรมรางรับหน้านี่นี้ไป) โมเดลนี้คล้ายอังกฤษ
สรุปง่ายๆ ในรฟท.ฝ่ายใหญ่ๆ จะโดนแปรสภาพเป็น บ.ลูก เพื่อความคล่องตัว และการสร้างระบบการเดินรถไฟให้มีประสิทธิภาพ ไม่ผูกขาด ต้องเกิดการแข่งขันเพื่อให้มีคุณภาพที่ดี ถ้าแข่งกับใครไม่ได้ ยังเป็นเหมือนเดิม ไม่ปรับตัวก็สูญพันธุ์ (ตอนนี้คู่แข่งรฟท มีทั้งสายการบินต้นทุนต่ำและรถทัวร์ที่วิ่งทับเส้นทางกัน)
ส่วนการควบคุมของกรมรางนั้น จะควบคุมระบบขนส่งที่เกียวกับรางทั้งหมดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดตั้งแต่ รฟท รฟม และ รฟฟท
เพิ่มเติมที่ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/049/T_0009.PDF
Last edited by Wisarut on 20/02/2020 10:37 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 23/05/2019 5:55 pm Post subject: |
|
|
"อาคม"สั่งการบ้านอธิบดีกรมรางป้ายแดง เร่งปั้นคนป้อนรถไฟฟ้าสายใหม่
..."สราวุธ"รับมอบนโยบาย งานกรมขนส่งทางราง ชงอกพ.ตั้ง 5 เสือรองรับแผนงาน เร่งจัดสรรบุคคลากรให้เพียงพอปลายเดือน พ.ค. นี้
นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รักษาราชการตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (กรมราง) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ครม.มีมติแต่งตั้งให้ตนดำรงตำแหน่งกรมราง ตนได้เข้าพบนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เพื่อหารือถึงการเตรียมความพร้อมในการทำงานตำแหน่งอธิบดีกรมราง โดยรมว. ได้มอบหมายให้ไปศึกษาดูงานกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) หรือหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวง เช่น กรมการขนส่งทางบก สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เนื่องจาก กพท. ทำหน้าที่กำกับด้านทางอากาศให้ได้ตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) ที่ได้มีการรับรองใช้ทั่วโลก ซึ่งรูปแบบการกำกับจะคล้ายกับกรมราง อาทิ บุคลากร การจัดการภายใน ผู้ประกอบการ เทคนิคต่างๆ ทั้งมาตรฐานตัวรถ
ทั้งนี้ กรมราง ถือเป็นหน่วยงานใหม่ ที่ต้องวางมาตรฐานไว้พอสมควร โดยหลังจากนี้ จะขอความร่วมมือจากต่างประเทศรวมถึงไปศึกษาดูงาน เช่น ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) รวมถึงกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) เพื่อให้ความช่วยเหลือการจัดทำรูปแบบบริหารองค์กรที่ครบถ้วน ขณะเดียวกันในปี 2562 ที่ผ่านมา สนข. ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ศึกษาการออกกฎหมายลูก รองรับกฎหมายการขนส่งทางราง ทำให้การขนส่งทางรางมีการกำกับดูแลให้สมบูรณ์
ในเบื้องต้นกระทรวงคมนาคม จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างสำนักงานของกรมราง ซึ่งตอนนี้ ได้ใช้พื้นที่ของสนข.อยู่ แต่พอมีบุคลากรเพิ่มขึ้น ต้องไปหาสำนักงาน โดยคาดว่าจะเป็นการเช่าก่อน และจะสรุปได้ภายใน 3 เดือน ขณะเดียวกัน กระทรวงจะสนับสนุนด้านระบบไอทีต่างๆ ด้วย เพราะการกำกับดูแลสิ่งสำคัญ คือ ข้อมูลการวิเคราะห์ โดยกระทรวงให้กรมรางฯ ทำเรื่องเสนอเข้ามาพิจารณาการสนับสนุนต่อไปนายสราวุธ กล่าว
นายสราวุธ กล่าวว่า เรื่องบุุคลากรกรมราง จะต้องพัฒนาและเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมบริหารและบริการในระบบโครงข่ายรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการ ซึ่งได้สั่งการให้ไปศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม โดยมอบหมายให้ไปดูงานของหน่วยงานด้านระบบ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส และบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเดินรถและให้บริการ เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละหน่วย รวมทั้งมีโอกาสเข้าร่วมอบรมและสัมมนาในต่างประเทศด้วย
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2313264525387146&set=a.2313261335387465&type=3&theater
Cr : https://www.posttoday.com/economy/589878 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 24/06/2019 12:03 pm Post subject: |
|
|
เปิดภารกิจ "กรมราง" ชูมาตรฐานฉบับเดียวกัน
กรุงเทพธุรกิจ 24 มิ.ย. 62
15 เม.ย.2562 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2562 ให้มีการจัดตั้ง "กรมการขนส่งทางราง" สังกัดกระทรวงคมนาคม นับเป็นก้าวแรกที่บ่งชี้ว่าโครงสร้างพื้นฐานระบบรางไทยกำลังจะมีการผลักดันอย่างจริงจังให้เกิดเป็นมาตรฐานมากขึ้น
เพราะหลังจากนี้ นอกจากจะมีหน่วยงานเจ้าของโครงการ ผู้ดูแลระบบรางโปรเจคต่างๆ อย่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัทเอกชนผู้เดินรถ และพัฒนาระบบรางแล้ว ประเทศไทยจะมีหน่วยงานเป็นผู้กำกับดูแลมาตรฐานของระบบขนส่งทางราง
โดยบทบาทหน้าที่ของกรมการขนส่งทางราง ถูกเขียนไว้ในร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... ระบุไว้ว่าภารกิจสำคัญ แบ่งออกเป็น
1.จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาด้านการขนส่งทางรางของประเทศ
2. กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการขนส่งทางราง ในที่นี้คือการกำหนด มาตรฐานด้านความปลอดภัย มาตรฐานการบำรุงทาง มาตรฐานการประกอบกิจการ และมาตรฐานผู้ประจำหน้าที่
3. กรมการขนส่งทางราง ต้องกำกับดูแลการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง
4. ศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมการขนส่งทางราง
5. ร่วมมือและประสานงานด้านการขนส่งทางรางกับองค์กร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่างประเทศ และ
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกรม หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
สราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางรางคนแรกของประเทศไทย พูดถึงบทบาทของกรมการขนส่งทางรางด้วยว่า กรมการขนส่งทางรางจะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (เรกูเลเตอร์) มีกฎหมายที่ครอบคลุมดูแล และเอาผิดผู้ประกอบการ (โอเปอเรเตอร์) ทั้ง ร.ฟ.ท., รฟม. และเอกชนที่เกี่ยวเนื่องกับขนส่งทางรางทั้งหมด รวมทั้งเพื่อทำให้การบริการระบบรางของไทยมีมาตรฐานเดียวกัน โอเปอเรเตอร์ทุกรายจะต้องผ่านการสอบวัดมาตรฐานจากกรมการขนส่งทางราง
"การทำงานของกรมการขนส่งทางรางจะไม่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น เพราะเราจะเป็นเรกูเลเตอร์ เพื่อกำกับดูแลโอเปอเรเตอร์ระบบรางโดยเฉพาะ ส่วนของการรถไฟฯ ก็จะมีกฎระเบียบของตัวเองในการควบคุมมาตรฐานรถไฟ รฟม.ก็จะมีกฎของตนเองเช่นกัน แต่กฎหมายตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางราง จะครอบคลุมกฎระเบียบเหล่านั้นอีก" สราวุธ กล่าว
อย่างไรก็ดี ระหว่างที่รอพ.ร.บ.กรมการขนส่งทางรางมีผลบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าจะประกาศไม่เกินปีนี้กรมฯ อยู่ระหว่างเร่งร่างกฎหมายลูก เพื่อบรรจุเป็นรายละเอียดปลีกย่อยของ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ซึ่งจะมีประมาณ 40 - 50 ฉบับ เช่น รายละเอียดกฎระเบียบของการสอบใบขับขี่รถไฟ กฎระเบียบของการเก็บค่าใช้บริการรางรถไฟ โดยภายหลัง พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ ก็จะสามารถบังคับใช้กฎหมายลูกได้ทันที ภายใน 90 - 180 วัน
ภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ฉายภาพว่า เมื่อ พ.ร.บ.กรมการขนส่งทางรางมีผลบังคับใช้ สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไป คือประเทศไทยมีมาตรฐานควบคุมระบบขนส่งทางรางฉบับเดียวกัน เพราะทุกวันนี้โอเปอเรเตอร์ทุกรายไม่ว่าจะเป็น ร.ฟ.ท. หรือผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้า อย่างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม (BEM) และบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ก็ต่างมีมาตรฐาน กฎระเบียบควบคุมการทำงานของตนเอง
โดยหลังจากนี้ กรมการขนส่งทางราง จะเป็นเรกูเลเตอร์สำคัญ ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตขับขี่รถไฟ และรถไฟฟ้าต่างๆ ในไทย ซึ่งผู้ขับขี่จะต้องมีการสอบมาตรฐานของกรมการขนส่งทางราง ทำให้โอเปอเรเตอร์ที่หลากหลายในปัจจุบัน แม้จะต่างคนต่างบริหารโครงการของตนเอง แต่ก็จะมีมาตรฐานการเดินรถเหมือนกัน รวมทั้งกรมการขนส่งทางราง ก็จะเป็นหน่วยงานสำคัญในการกำกับดูแลมาตรฐาน กฎระเบียบการทำงานของโอเปอเรเตอร์ระบบรางทุกราย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
"ส่วนตัวมองว่าปัจจุบันที่มีเอกชนเดินรถ เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่แต่ละบริษัทกำหนด ก็น่าจะสามารถนำมาตรฐาน ใบรับรองเหล่านี้ไปยื่นขอใบขับขี่ใหม่จากกรมการขนส่งทางรางได้เลย โดยที่ไม่ต้องสอบ แต่ผู้ที่จะเข้ามาเดินรถในอนาคต จะต้องผ่านเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ของ รฟม. และไปยื่นขอใบขับขี่ใหม่" ภคพงษ์ กล่าว
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของระบบขนส่งทางราง ยังมีประเด็นของการเปิดแชร์แทร็ก หรือการใช้ทางรถไฟร่วมกันซึ่งอนาคตอาจจะเปิดให้เอกชนเข้ามาใช้สิทธิเดินรถไฟขนส่งสินค้า หาก ร.ฟ.ท.มีความถี่ในการใช้ทางรถไฟในบางเส้นทางน้อยเป็นช่องทางดึงรายได้จากเอกชนมาหนุน ร.ฟ.ท.ให้หลุดจากองค์กรขาดทุน และพัฒนาคุณภาพรถไฟไทยมากขึ้น |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 25/06/2019 10:25 am Post subject: |
|
|
ข่าวเด่น 25 มิ.ย. 62 จับตา วงเสวนา "ผ่าปัญหากรมราง"
Timeline ข่าวเด่น
อังคารที่ 25 มิถุนายน 2562
ฐานเศรษฐกิจ"รวบรวมสถานการณ์ข่าวที่จะเกิดขึ้นในรอบวันอังคารที่ 25 มิ.ย. 62 ไฮไลต์ที่น่าสนใจวันนี้อยู่ที่เวที เสวนาหัวข้อ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... กับอนาคตระบบการขนส่งทางรางของรัฐ จะเป็นอย่างไร? ณ อาคาร Student Center (ตึก 5) ที่ชั้น 2 ห้อง ออดิทรอเลียม มหาวิทยาลัยรังสิต จ.ปทุมธานี เวลา 09.00 น. โดยวิทยากร อาทิ คุณอานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต คุณสุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ - นักวิชาการด้านกฎหมาย คุณสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์/ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) คุณอาทิตย์ โกวิทวรางกรู กลุ่มเครือข่ายมักกะสัน ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อํานวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดําเนินการเสวนาโดย คุณเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา2535และ ผู้อํานวยการสถาบันสังคมประชาธิปไตยไทย โดยประเด็นที่ต้องจับตาคือยังมีข้อกังวลของสหภาพการรถไฟฯ ที่แม้เห็นด้วยกับการมีกรมการขนส่งทางราง เพื่อมากำหนดมาตรฐานกิจการที่เกี่ยวกับระบบรางทั้งหมด แต่ก็มีข้อกังวลบ้างคือ เมื่อมีกรมรางเกิดขึ้น ภาวะการแข่งขันจะเกิดขึ้น เพราะ ร.ฟ.ท.จะกลายเป็นผู้ประกอบการรายหนึ่ง ไม่ใช่ผู้กำกับดูแลเหมือนในอดีต และอนาคตอาจจะมีผู้ประกอบการเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามาแข่งขันก็ได้ โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างจะเสียเปรียบเอกชน เพราะการของบยังเป็นรูปแบบราชการ ล่าช้ากว่าระบบของเอกชน อีกประเด็นหนึ่งคือ เรื่องกรรมสิทธิ์ในการจัดการทรัพยากรของการรถไฟ เช่น การพัฒนาที่ดิน ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่า เมื่อกรมรางเกิดขึ้นแล้ว ร.ฟ.ท.จะต้องนำทรัพยากรที่เคยมีมาถ่ายโอนไปให้กรมรางมากแค่ไหน หรือบทบาทขององค์กรจะเหลือแค่เดินรถเพียงอย่างเดียว จึงอยากให้กรมรางทำหน้าที่เป็นเรกูเรเตอร์ โดยที่ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารภายในของ ร.ฟ.ท. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 01/07/2019 3:27 pm Post subject: |
|
|
"กรมรางฯ" ลงพื้นที่จุดเชื่อมต่อรถไฟสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย กับ สถานีรถไฟฟ้า BTS วุฒากาศ
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันนี้ (1 ก.ค. 62) ข้าราชการกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงพื้นที่จุดเชื่อมต่อรถไฟสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย กับ สถานีรถไฟฟ้า BTS วุฒากาศ เพื่อดูความเหมาะสมในการติดตั้งป้ายหยุดรถไฟ ไฟส่องสว่าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการเดินทางด้วยระบบการขนส่งทางราง
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/452079568902326 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 04/07/2019 3:42 pm Post subject: |
|
|
ขร. หารือ JICA ด้านระบบรางระหว่างไทยและญี่ปุ่น
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานการประชุมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างไทยและญี่ปุ่น พร้อมด้วยนายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ข้าราชการ ผู้แทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ Mr.Takashi BABA ผู้อำนวยการแผนก 4 กองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานใหญ่ JICA ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พร้อมคณะ โดยการประชุมได้มีการนำเสนอข้อมูลความคืบหน้าการดำเนินโครงการด้านระบบรางในประเทศไทย จากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย ความคืบหน้าโครงการ M-MAP 2 โดยผู้แทน ขร. ความคืบหน้าการดำเนินโครงการ Bang Sue Smart City โดยผู้แทน สนข. ความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า โดย ผู้แทน รฟม. และ ความคืบหน้าการพัฒนาระบบรางของ รฟท. โดยผู้แทนจาก รฟท. ทั้งนี้ JICA จะนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างไทยและญี่ปุ่นต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/453568145420135 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 08/07/2019 4:35 pm Post subject: |
|
|
"กรมราง" ให้การต้อนรับ "มทร.อีสาน" พร้อมหารือการพัฒนากำลังคนระบบราง
วันนี้ (8 ก.ค. 62) นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ให้การต้อนรับคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น (มทร.อีสาน) พร้อมทั้งหารือเรื่องแนวทางในการพัฒนากำลังคนด้านระบบราง โดยมีการนำเสนอหลักสูตรวิศวกรรมระบบราง โครงการร้อยแก่นสารสินธุ์ (Railway Innopolis) ตามแผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น และโครงการพัฒนาระบบรถแทรม (Tram) ภายในมหาวิทยาลัยและบริเวณรอบบึงแก่นนคร จาก มทร.อีสาน ทั้งนี้ ขร. รับทราบผลการดำเนินงานด้านระบบรางของมหาวิทยาลัยฯ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/455958948514388 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 09/07/2019 6:55 pm Post subject: |
|
|
กรมการขนส่งทางรางเยี่ยมชมการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม(สายสีม่วง)
วันนี้ (วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม2562) นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง เยี่ยมชมการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม(สายสีม่วง) ช่วงเตาปูน - คลองบางไผ่ โดยดูการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้า สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ที่สถานีเตาปูน นั่งขบวนรถไฟฟ้าช่วงเตาปูน - คลองบางไผ่ เยี่ยมชมศูนย์ควบคุมการเดินรถ ศูนย์ซ่อมบำรุง และเครื่องขับรถไฟฟ้าจำลอง (Train Simulater) ที่คลองบางไผ่ โดยมีเจ้าหน้าที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ
เพิ่มเติมที่ : https://www.facebook.com/421508948626055/posts/456524998457783/ |
|
Back to top |
|
|
|