RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311913
ทั่วไป:13578101
ทั้งหมด:13890014
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 358, 359, 360 ... 486, 487, 488  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2020 2:48 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ จับมือ ธ.กรุงไทย ร่วมสร้างสังคมไร้เงินสด จัดโปรฯ เติมความหวานในเทศกาลวาเลนไทน์
วันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563,

การรถไฟฯ จับมือ ธ.กรุงไทย ติดตั้งเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ (EDC) กว่า 140 เครื่องที่จุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร 56 สถานีทั่วประเทศ พัฒนาระบบรับชำระค่าตั๋วโดยสารรถไฟออนไลน์ด้วย Krungthai Payment Gateway พร้อมร่วมฉลองเทศกาลแห่งความรัก จัดโปรโมชั่นรับเครดิตเงินคืน สูงสุด 120 บาท เมื่อชำระค่าตั๋วโดยสารผ่านกรุงไทย NEXT เป๋าตัง หรือบัตรเดบิตกรุงไทยวีซ่าทุกประเภทครบทุก 300 บาท
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแผนงาน “สังคมรถไฟยุคใหม่ ไม่ใช้เงินสด” เพิ่มประสิทธิภาพการรับชำระเงินจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบรางของประเทศให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โดยได้ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ติดตั้งเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ (EDC) กว่า 140 เครื่อง ที่จุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร 56 สถานีทั่วประเทศ

สำหรับ การรับชำระค่าตั๋วโดยสารด้วยการสแกน QR Code ผ่าน Mobile Banking รวมทั้งบัตรวีซ่า และมาสเตอร์การ์ดของทุกธนาคารทั่วโลก และสะดวกมากยิ่งขึ้นด้วยช่องทางจองตั๋วออนไลน์ที่เชื่อมต่อระบบชำระเงินผ่าน Krungthai Payment Gateway ให้ลูกค้าสามารถเลือกชำระเงินได้ทั้งบัตรเดบิตและบัตรเครดิตวีซ่า มาสเตอร์การ์ด เจซีบี และยูเนียนเพย์ ของทุกธนาคาร



นอกจากนี้ ธนาคารกรุงไทย ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดโปรโมชั่นพิเศษต้อนรับเทศกาลเดือนแห่งความรัก สำหรับผู้โดยสารที่ชำระเงินค่าตั๋วโดยสาร ทุก 300 บาท จะได้รับเครดิตเงินคืน 60 บาท สูงสุด 120 บาท รวมทั้งสิ้น 1,200 สิทธิ์ ระหว่างวันที่ 14 – 29 กุมภาพันธ์ 2563 ด้วยการสแกน QR Code ผ่านแอปพลิเคชั่น กรุงไทย NEXT เป๋าตัง และบัตรเดบิตกรุงไทย วีซ่าทุกประเภท ผ่านเครื่อง EDC ที่จุดจำหน่ายตั๋วโดยสารสถานีรถไฟ หรือจองผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยบัตรเดบิตกรุงไทย วีซ่าทุกประเภท พร้อมยกเว้นค่าธรรมเนียมการชำระเงินสำหรับลูกค้าที่ใช้บัตรเดบิตกรุงไทย

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่งานบริการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ธนาคารกรุงไทย หมายเลขโทรศัพท์ 02-111-1111 หรือ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์การรถไฟฯ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง

รถไฟไร้เงินสด! ร.ฟ.ท.ผนึกแบงก์กรุงไทย ติดเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ 140 จุด จ่ายค่าตั๋ว
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 14:28 น.

รถไฟไร้เงินสด! ร.ฟ.ท.ผนึกแบงก์กรุงไทย ติดเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ 140 จุด จ่ายค่าตั๋ว
การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย ติดตั้งเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ (EDC) กว่า 140 เครื่องที่จุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร 56 สถานีทั่วประเทศ และพัฒนาระบบรับชำระค่าตั๋วโดยสารรถไฟออนไลน์ด้วย Krungthai Payment Gateway พร้อมร่วมฉลองเทศกาลแห่งความรัก จัดโปรโมชั่นรับเครดิตเงินคืน สูงสุด 120 บาท เมื่อชำระค่าตั๋วโดยสารผ่านกรุงไทย NEXT เป๋าตัง หรือบัตรเดบิตกรุงไทยวีซ่าทุกประเภทครบทุก 300 บาท


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดทำแผนงาน “สังคมรถไฟยุคใหม่ ไม่ใช้เงินสด” เพิ่มประสิทธิภาพการรับชำระเงินจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบรางของประเทศให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

รถไฟไร้เงินสด! ร.ฟ.ท.ผนึกแบงก์กรุงไทย ติดเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ 140 จุด จ่ายค่าตั๋ว

โดยได้ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ติดตั้งเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ (EDC) กว่า 140 เครื่อง ที่จุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร 56 สถานีทั่วประเทศ สำหรับการรับชำระค่าตั๋วโดยสารด้วยการสแกน QR Code ผ่าน Mobile Banking รวมทั้งบัตรวีซ่า และมาสเตอร์การ์ดของทุกธนาคารทั่วโลก และสะดวกมากยิ่งขึ้นด้วยช่องทางจองตั๋วออนไลน์ที่เชื่อมต่อระบบชำระเงินผ่าน Krungthai Payment Gateway ให้ลูกค้าสามารถเลือกชำระเงินได้ทั้งบัตรเดบิตและบัตรเครดิตวีซ่า มาสเตอร์การ์ด เจซีบี และยูเนียนเพย์ ของทุกธนาคาร

นอกจากนี้ ธนาคารกรุงไทย ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดโปรโมชั่นพิเศษต้อนรับเทศกาลเดือนแห่งความรัก สำหรับผู้โดยสารที่ชำระเงินค่าตั๋วโดยสาร ทุก 300 บาท จะได้รับเครดิตเงินคืน 60 บาท สูงสุด 120 บาท รวมทั้งสิ้น 1,200 สิทธิ์ ระหว่างวันที่ 14 – 29 กุมภาพันธ์ 2563 ด้วยการสแกน QR Code ผ่านแอปพลิเคชั่น กรุงไทย NEXT เป๋าตัง และบัตรเดบิตกรุงไทย วีซ่าทุกประเภท ผ่านเครื่อง EDC ที่จุดจำหน่ายตั๋วโดยสารสถานีรถไฟ หรือจองผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยบัตรเดบิตกรุงไทย วีซ่าทุกประเภท พร้อมยกเว้นค่าธรรมเนียมการชำระเงินสำหรับลูกค้าที่ใช้บัตรเดบิตกรุงไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46885
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2020 5:23 pm    Post subject: Reply with quote

คัดสรรผู้ว่า รฟท.ส่อวุ่น! พนักงานรถไฟเรียกร้องเปิดเผยวิสัยทัศน์
กรุงเทพธุรกิจ 16 กุมภาพันธ์ 2563

การคัดสรรผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่อเค้าวุ่น หลังกลุ่มพนักงานรถไฟออกมาเรียกร้องให้มีการเปิดเผยวิสัยทัศน์ต่อสาธารณะ เพื่อความโปร่งใส

ภายหลังที่บอร์ดรถไฟที่มีนายจิรุฒ วิศาลวิจิตรเป็นประธาน ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการสรรหาผู้ว่าการรถไฟฯว่าได้ผู้ที่มีคะแนนสูงสุดประมาณ 90 คะแนนจาก 100 คะแนน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในขณะที่บุคคลภายในได้คะแนนเป็นลำดับ 2 คะแนนห่างกันประมาณ 2-3 คะแนน และสื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวว่านายนิรุฒ มนีพันธุ์ จ่อนั่งผู้ว่า รฟท.คนใหม่

แหล่งข่าวจากการรถไฟฯกล่าวว่า หลังจากที่สื่อมวลชนเสนอข่าวก่อให้เกิดความสงสัยในหมู่พนักงานรถไฟอย่างมากเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางถึงความไม่ชอบมาพากลในการคัดสรรในครั้งนี้ทั้งในหมู่พนักงานและสื่อออนไลน์ บ้างก็ว่ามีใบสั่งจากการเมืองและเป็นไปไม่ได้ที่คนนอกจะได้คะแนนมากกว่าบุคคลภายในซึ่งมีผู้สมัคร 2 คน เพราะในใบประกาศรับสมัครคุณสมบัติประจำตำแหน่งมีความชัดเจนว่าต้องเป็นผู้มีความรู้จัดเจนเกี่ยวกับการรถไฟ การขนส่ง วิศวกรรม พาณิชยกรรม การเศรษฐกิจ หรือการเงิน มีวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนากิจการรถไฟ ให้เจริญก้าวหน้า มีความทันสมัย สามารถตอบสนองความต้องการขนส่งระบบรางทั้งภายในและระหว่างประเทศ

แต่เมื่อไปดูคุณสมบัติบุคคลที่ปรากฏเป็นข่าวคือนายนิรุฒิ มณีพันธุ์ ที่จะมานั่งเป็น ผู้ว่า รฟท.คนใหม่นั้นทำงานและมีความรู้ด้านกฏหมายไม่ได้มีคุณสมบัติตามที่ประกาศไว้แต่อย่างใด จึงทำให้เกิดคำถามและเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากพนักงานรถไฟว่า จะมีคะแนนเหนือกว่าผู้สมัครที่เป็นบุคคลภายในได้อย่างไร จึงเรียกร้องต่อประธานคณะกรรมการ "ให้เปิดเผยหลักฐานการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครทุกคนเปิดเผยต่อสาธารณะ" เพื่อความโปร่งใส

นอกจากนี้ แหล่งข่าวยังทราบมาว่า สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) จะเปิดแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ในวันพุธที่ 19 กุมภาพันธํ 2563 ซึ่งตรงกับวันประชุมใหญ่ที่สมาชิกและผู้แทนจะเดินทางมาร่วมประชุมทั่วประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46885
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2020 3:27 pm    Post subject: Reply with quote

ลูกหม้อแพ้ทางนายแบงก์ “นิรุฒ” ผงาดผู้ว่าฯรถไฟคนที่ 29 ภารกิจพิเศษ “เข็นลงทุนแสนล้าน”
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 - 13:52 น.

ลูกหม้อแพ้ทางนายแบงก์ “นิรุฒ” ผงาดผู้ว่าฯรถไฟคนที่ 29 ภารกิจพิเศษ “เข็นลงทุนแสนล้าน”
ไม่เกิน มี.ค.นี้ คงได้เห็นโฉมหน้าผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คนที่ 29 หลังเว้นช่วงไปนับจากรัฐบาลทหารมีคำสั่ง คสช. เด้ง “วุฒิชาติ กัลยาณมิตร” เข้ากรุไปช่วยงานที่สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2560

กว่า 2 ปีที่ผ่านมา องค์กรเก่าแก่อายุ 123 ปี ต้องใช้บริการตัวสำรองมารันงานคนแรก “อานนท์ เหลืองบริบูรณ์” ศิษย์เลิฟของ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ที่ให้มารันประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

จากนั้นแต่งตั้ง “วรวุฒิ มาลา” ลูกหม้อจากรองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน นั่งรักษาเบอร์หนึ่งเพิ่มอีกตำแหน่งนับตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. 2561 จนสามารถปิดดีลไฮสปีดกว่า 2.2 แสนล้านสำเร็จ


พลันที่การเมืองผลัดใบจากยุค “รัฐบาล คสช.” สู่ “พรรคภูมิใจไทย” ได้ตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ใหม่ยกชุด มี “จิรุตม์ วิศาลจิตร” อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธาน พร้อมสั่งการเปิดสรรหาผู้ว่าการตัวจริง มานั่งรันงานต่อทันที มี “อำนวย ปรีมนวงศ์” อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ และหนึ่งในกรรมการบอร์ด ร.ฟ.ท. เป็นประธานคัดเลือก

มีผู้ชิงเก้าอี้ 4 คน ระหว่าง 2 ลูกหม้อ “ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์” รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน และ “จเร รุ่งฐานีย” รองผู้ว่าการกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ที่ว่ากันว่าได้แรงสนับสนุนจากประธานสหภาพการรถไฟฯ ซึ่งเป็นคู่เขย

ในขณะที่มีม้าตีนปลายเป็นคนนอก2 คน คือ “นิรุฒ มณีพันธ์” อดีตผู้บริหารแบงก์กรุงไทยกับ “พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา” อดีตบิ๊กแอร์พอร์ตลิงก์ ร่วมแข่ง

จึงไม่แปลกที่จะเห็น “สาวิทย์ แก้วหวาน” ประธานสหภาพฯ จะเดินสายยื่นหนังสือคัดค้านต้านคนนอกมานั่งเก้าอี้นี้ หลังมีกระแสข่าวหนาหู คนนอกได้คะแนนสูงสุด

“งานรถไฟต้องได้ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ รู้ลึกและรู้จริง เข้ามาบริหารงานรถไฟ จึงยังจำเป็นจะต้องเป็นคนในเท่านั้น ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่คนนอกจะมารู้มากกว่าคนใน หากการสรรหาครั้งนี้โปร่งใสต้องเปิดเผยคะแนน” ประธานสหภาพฯย้ำ

ผลการสรรหาแบหราในห้องประชุมบอร์ดทั้ง 4 คน ได้คะแนนไล่เลี่ยกัน ห่างกันแค่ 2-3 คะแนน ว่ากันว่า “นิรุฒ” มือกฎหมายและอดีตบิ๊กกรุงไทย ซึ่งมีความแนบแน่นกับคนเยาวราช ได้คะแนนสูงสุด

ซึ่ง “จิรุตม์” ประธานบอร์ดออกมาย้ำว่า “ผลการสรรหาเสร็จแล้ว และบอร์ดพิจารณาเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีการพิจารณาคะแนนและข้อเสนอของสหภาพฯมาพิจารณาร่วมด้วย แต่ยังไม่สามารถบอกชื่อผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 90 คะแนนได้ เพราะยังไม่ครบกระบวนการ ยังต้องเสนอให้คณะกรรมการค่าตอบแทนต่อรองค่าจ้าง เสนอให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรีพิจารณา คาดว่าเร็วสุด 1 เดือนจะจบ”

ขณะที่ “นายอำนวย” กล่าวเสริมว่า เสนอชื่อไปคนเดียว หากต่อรองไม่ได้ จะเชิญผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 2 มาเจรจาต่อไป ส่วนข้อกังวลว่าไม่ใช่คนใน ได้ดูหมดทุกด้านครบทุกมิติ คนมาบริหารรถไฟต้องมีพื้นฐานการบริหารงานวิศวโยธาโครงการขนาดใหญ่ และด้านยุทธศาสตร์ การเงิน การคลัง การบริหารหนี้สินกว่า 1 แสนล้านบาทให้รถไฟ ต้องดูเป็นภาพรวม ไม่ใช่เก่งระบบรางอย่างเดียว

“คนใน คนนอก มีข้อดี-ข้อเสียเหมือนกัน ซึ่งก็มีหลายหน่วย มีคนนอกมาเป็นผู้บริหาร เช่น การบินไทย”

ภารกิจเฉพาะหน้าผู้ว่าการการรถไฟฯคนใหม่ นอกจากฟื้นคดีโฮปเวลล์ ปลดแอกหนี้เฉียด 2 แสนล้านบาท ยังต้องสปีดงบฯลงทุนนับแสนล้านบาท ที่ “รัฐบาลประยุทธ์” อัดให้เต็มสตรีม หวังเป็นเรือธงขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ

นอกจากเร่งงานเก่า-ไฮสปีด ซี.พี.ให้รุดหน้าตามสัญญา ในปี 2563 มีแผนลงทุน 13 โครงการ วงเงิน 491,986 ล้านบาท ได้แก่ สายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางผ่าน ครม.เมื่อปี 2562 ได้แก่ รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202.18 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6,645.03 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง รวมระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

ทางคู่เฟส 2 จำนวน 9 เส้นทาง วงเงิน 415,646.9 ล้านบาท ได้แก่ ปากน้ำโพ-เด่นชัย 59,399.8 ล้านบาท เด่นชัย-เชียงใหม่ 54,470.02 ล้านบาท ขอนแก่น-หนองคาย 25,842 ล้านบาท จิระ-อุบลราชธานี 36,683 ล้านบาท ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 23,080 ล้านบาท สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา 56,114.26 ล้านบาท หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 7,864.49 ล้านบาท บ้านไผ่-นครพนม 66,848.33 ล้านบาท และเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 85,345 ล้านบาท

ยังมีพลิกที่ดินในกรุ 39,419 ไร่ มูลค่า 3 แสนล้าน สร้างรายได้ในระยะยาว อาทิ ย่านสถานีกลางบางซื่อ 1,100 ไร่ สถานีแม่น้ำ 227 ไร่ โรงแรมหัวหิน 72 ไร่ ไม่ใช่ปล่อยให้เช่าเป็นเบี้ยหัวแตกเหมือนที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2020 9:52 am    Post subject: Reply with quote

18 ก.พ.63 เช้านี้ ขบวน109 (กรุงเทพ-เชียงใหม่) ดีเซล4138 ช้า360 นาที(6 ชม.) เหตุรอดับเพลิงไหม้ข้างทางรถไฟและช้าสะสม

...เมื่อ17 ก.พ.63 เวลา21.11 น ขบวน109 ผ่านสถานีห้วยเกตุช้า 88 นาที ต่อมาเวลา 21.23 น.ได้รับแจ้งจากนายสถานีห้วยเกตุ (อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร) ว่า ข.109 ขณะทำขบวนถึง สทล.327/13-15 ระหว่างสถานีห้วนเกตุ-หัวดง มีไฟไหม้ข้างทางไม่สามารถทำขบวนผ่านไปได้ โดย ข.109 หยุดอยู่ที่ เกิดเหตุ จากนั้น เวลา 22.55 น. ข.109 ได้ทำการถอยรถจากที่เกิดเหตุกลับมาที่สถานีห้วยเกตุ ถึงสถานีห้วยเกตุเวลา23.05 น. ช้า202 นาที เพิ่มระหว่างตอน114 นาที...รอเจ้าหน้าดับเพลิงมาทำการระงับเหตุเพลิงไหม้ข้างทาง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2852877144759212&set=a.2791568790890048&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2020 10:12 am    Post subject: Reply with quote

ลูกหม้อแพ้ทางนายแบงก์ “นิรุฒ” ผงาดผู้ว่าฯรถไฟคนที่ 29 ภารกิจพิเศษ “เข็นลงทุนแสนล้าน”
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 - 13:52 น.

ลูกหม้อแพ้ทางนายแบงก์ “นิรุฒ” ผงาดผู้ว่าฯรถไฟคนที่ 29 ภารกิจพิเศษ “เข็นลงทุนแสนล้าน”
ไม่เกิน มี.ค.นี้ คงได้เห็นโฉมหน้าผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คนที่ 29 หลังเว้นช่วงไปนับจากรัฐบาลทหารมีคำสั่ง คสช. เด้ง “วุฒิชาติ กัลยาณมิตร” เข้ากรุไปช่วยงานที่สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2560

กว่า 2 ปีที่ผ่านมา องค์กรเก่าแก่อายุ 123 ปี ต้องใช้บริการตัวสำรองมารันงานคนแรก “อานนท์ เหลืองบริบูรณ์” ศิษย์เลิฟของ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ที่ให้มารันประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

จากนั้นแต่งตั้ง “วรวุฒิ มาลา” ลูกหม้อจากรองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน นั่งรักษาเบอร์หนึ่งเพิ่มอีกตำแหน่งนับตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. 2561 จนสามารถปิดดีลไฮสปีดกว่า 2.2 แสนล้านสำเร็จ


พลันที่การเมืองผลัดใบจากยุค “รัฐบาล คสช.” สู่ “พรรคภูมิใจไทย” ได้ตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ใหม่ยกชุด มี “จิรุตม์ วิศาลจิตร” อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นประธาน พร้อมสั่งการเปิดสรรหาผู้ว่าการตัวจริง มานั่งรันงานต่อทันที มี “อำนวย ปรีมนวงศ์” อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ และหนึ่งในกรรมการบอร์ด ร.ฟ.ท. เป็นประธานคัดเลือก

มีผู้ชิงเก้าอี้ 4 คน ระหว่าง 2 ลูกหม้อ “ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์” รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน และ “จเร รุ่งฐานีย” รองผู้ว่าการกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ที่ว่ากันว่าได้แรงสนับสนุนจากประธานสหภาพการรถไฟฯ ซึ่งเป็นคู่เขย

ในขณะที่มีม้าตีนปลายเป็นคนนอก2 คน คือ “นิรุฒ มณีพันธ์” อดีตผู้บริหารแบงก์กรุงไทยกับ “พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา” อดีตบิ๊กแอร์พอร์ตลิงก์ ร่วมแข่ง

จึงไม่แปลกที่จะเห็น “สาวิทย์ แก้วหวาน” ประธานสหภาพฯ จะเดินสายยื่นหนังสือคัดค้านต้านคนนอกมานั่งเก้าอี้นี้ หลังมีกระแสข่าวหนาหู คนนอกได้คะแนนสูงสุด

“งานรถไฟต้องได้ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ รู้ลึกและรู้จริง เข้ามาบริหารงานรถไฟ จึงยังจำเป็นจะต้องเป็นคนในเท่านั้น ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่คนนอกจะมารู้มากกว่าคนใน หากการสรรหาครั้งนี้โปร่งใสต้องเปิดเผยคะแนน” ประธานสหภาพฯย้ำ

ผลการสรรหาแบหราในห้องประชุมบอร์ดทั้ง 4 คน ได้คะแนนไล่เลี่ยกัน ห่างกันแค่ 2-3 คะแนน ว่ากันว่า “นิรุฒ” มือกฎหมายและอดีตบิ๊กกรุงไทย ซึ่งมีความแนบแน่นกับคนเยาวราช ได้คะแนนสูงสุด

ซึ่ง “จิรุตม์” ประธานบอร์ดออกมาย้ำว่า “ผลการสรรหาเสร็จแล้ว และบอร์ดพิจารณาเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีการพิจารณาคะแนนและข้อเสนอของสหภาพฯมาพิจารณาร่วมด้วย แต่ยังไม่สามารถบอกชื่อผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 90 คะแนนได้ เพราะยังไม่ครบกระบวนการ ยังต้องเสนอให้คณะกรรมการค่าตอบแทนต่อรองค่าจ้าง เสนอให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรีพิจารณา คาดว่าเร็วสุด 1 เดือนจะจบ”

ขณะที่ “นายอำนวย” กล่าวเสริมว่า เสนอชื่อไปคนเดียว หากต่อรองไม่ได้ จะเชิญผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 2 มาเจรจาต่อไป ส่วนข้อกังวลว่าไม่ใช่คนใน ได้ดูหมดทุกด้านครบทุกมิติ คนมาบริหารรถไฟต้องมีพื้นฐานการบริหารงานวิศวโยธาโครงการขนาดใหญ่ และด้านยุทธศาสตร์ การเงิน การคลัง การบริหารหนี้สินกว่า 1 แสนล้านบาทให้รถไฟ ต้องดูเป็นภาพรวม ไม่ใช่เก่งระบบรางอย่างเดียว

“คนใน คนนอก มีข้อดี-ข้อเสียเหมือนกัน ซึ่งก็มีหลายหน่วย มีคนนอกมาเป็นผู้บริหาร เช่น การบินไทย”

ภารกิจเฉพาะหน้าผู้ว่าการการรถไฟฯคนใหม่ นอกจากฟื้นคดีโฮปเวลล์ ปลดแอกหนี้เฉียด 2 แสนล้านบาท ยังต้องสปีดงบฯลงทุนนับแสนล้านบาท ที่ “รัฐบาลประยุทธ์” อัดให้เต็มสตรีม หวังเป็นเรือธงขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ

นอกจากเร่งงานเก่า-ไฮสปีด ซี.พี.ให้รุดหน้าตามสัญญา ในปี 2563 มีแผนลงทุน 13 โครงการ วงเงิน 491,986 ล้านบาท ได้แก่ สายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทางผ่าน ครม.เมื่อปี 2562 ได้แก่ รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202.18 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6,645.03 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง รวมระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

ทางคู่เฟส 2 จำนวน 9 เส้นทาง วงเงิน 415,646.9 ล้านบาท ได้แก่ ปากน้ำโพ-เด่นชัย 59,399.8 ล้านบาท เด่นชัย-เชียงใหม่ 54,470.02 ล้านบาท ขอนแก่น-หนองคาย 25,842 ล้านบาท จิระ-อุบลราชธานี 36,683 ล้านบาท ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 23,080 ล้านบาท สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา 56,114.26 ล้านบาท หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 7,864.49 ล้านบาท บ้านไผ่-นครพนม 66,848.33 ล้านบาท และเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 85,345 ล้านบาท

ยังมีพลิกที่ดินในกรุ 39,419 ไร่ มูลค่า 3 แสนล้าน สร้างรายได้ในระยะยาว อาทิ ย่านสถานีกลางบางซื่อ 1,100 ไร่ สถานีแม่น้ำ 227 ไร่ โรงแรมหัวหิน 72 ไร่ ไม่ใช่ปล่อยให้เช่าเป็นเบี้ยหัวแตกเหมือนที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2020 12:53 am    Post subject: Reply with quote

เส้น / ทาง / ราง / ชีวิต ก๋วยเตี๋ยวปลารถไฟราชบุรี
17 กุมภาพันธ์ 2020
รื่อง สุนันทา จันทร์หอม
ภาพ กิตติคุณ ขุนทอง

ก๋วยเตี๋ยวปลารถไฟราชบุรี สดๆ ใหม่ๆ ขายที่สถานีรถไฟราชบุรีแห่งเดียว

Scene 1
ภายใน / รถไฟตู้ที่ ๗ ขบวนรถเร็วที่ ๑๗๑ (นครปฐม) /
บ่าย ๒ โมงครึ่ง

“ที่นี่สถานีนครปฐม ที่นี่สถานีนครปฐม ขบวนรถที่จอดเทียบชานชาลาที่ ๑ เป็นขบวนรถเร็วที่ ๑๗๑ รับส่งผู้โดยสารสถานีต้นทางกรุงเทพฯ ปลายทางสถานีสุไหงโก-ลก ผู้โดยสารกรุณาเก็บสัมภาระของท่านเข้าที่ให้เรียบร้อย…”

“ก๋วยเตี๋ยวราช-รีจ้า ก๋วยเตี๋ยวราช-รีเร้ววววว…”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2020 10:41 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ลูกหม้อแพ้ทางนายแบงก์ “นิรุฒ” ผงาดผู้ว่าฯรถไฟคนที่ 29 ภารกิจพิเศษ “เข็นลงทุนแสนล้าน”
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 - 13:52 น.


เปิดภารกิจ ‘นิรุฒ’ ว่าที่ผู้ว่าการฯ รฟท. ดัน 24 เมกะโพรเจกต์-สางหนี้ 1.6 แสนล.
สำนักข่าวอิสรา
เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563

"...แต่ทว่าภารกิจที่รอ ‘นิรุฒ’ อยู่ เรียกได้ว่า ‘สุดหิน’ ยิ่งกว่าหลายเท่านัก ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันแผนฟื้นฟูกิจการ รฟท. การแก้ปัญหาหนี้สินของรฟท.ที่สูงถึง 1.6 แสนล้านบาท และการผลักดันโครงการลงทุนของรฟท.ที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท ให้ลุล่วงตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม..."

อีกไม่นานเกินรอ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะมีผู้ว่าการฯ ‘ตัวจริงเสียงจริง’ เสียที

หลัง ‘วุฒิชาติ กัลยาณมิตร’ โดนคำสั่งม.44 เด้งพ้นจากตำแหน่งเดือน ก.พ.2560 ส่งผลให้ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา งานของ รฟท.ถูกขับเคลื่อน โดยรักษาการผู้ว่าการ รฟท. ถึง 2 คน คือ ‘อานนท์ เหลืองบริบูรณ์’ รองอธิบดีกรมทางหลวงในขณะนั้น และ ‘วรวุฒิ มาลา’ รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการ รฟท.คนปัจจุบัน

โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา บอร์ด รฟท. ที่มีมติเห็นชอบให้ ‘นิรุฒ มณีพันธ์’ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย และเลขานุการธนาคารกรุงไทย และเคยเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย เป็นผู้ว่าการ รฟท.คนใหม่

แม้ว่าการ ‘ข้ามห้วย’ เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ รฟท. อย่างเป็นทางการของ ‘นิรุฒ’ ยังต้องใช้เวลาอีก 1 เดือน หรือประมาณเดือนมี.ค.นี้ แต่เพียงก้าวแรกที่ย่างก้าวแรกที่ ‘นิรุฒ’ ก็ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากภายในองค์กรทันที หลังสหภาพ รฟท. (สร.รฟท.) ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน การแต่งตั้ง ‘คนนอก’ เข้ามาเป็นผู้ว่าการ รฟท.คนใหม่

“สร.รฟท.ต้องการผลักดันให้ผู้สมัครคนในที่มี 2 คน เป็นผู้ว่าการ รฟท. เพราะจะสามารถสานต่อทำงานได้ดีกว่าคนนอก เพราะเข้าใจเทคนิคของการทำงานเกี่ยวกับรถไฟ อีกทั้งปัจจุบันยังมีโครงการสำคัญที่อยู่ระหว่างขับเคลื่อน หากเป็นคนในได้เป็นผู้ว่าการ จะทำให้งานเดินหน้าต่อเนื่อง” ภิญโญ เรือนเพ็ชร รองประธานสร.รฟท.ระบุ

แน่นอนว่าการฝ่าแรงต้านภายในองค์กร รฟท. อาจไม่ใช่เรื่องลำบากยากเย็นนัก สำหรับ ‘นิรุฒ’ อีกทั้ง ‘นิรุฒ’ มีความคุ้นเคยกับองค์การขนาดใหญ่มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นแบงก์ใหญ่อันดับต้นๆของประเทศ และ ‘เจ้าจำปี’ บริษัท การบินไทย สายการบินแห่งชาติ

แต่ทว่าภารกิจที่รอ ‘นิรุฒ’ อยู่ เรียกได้ว่า ‘สุดหิน’ ยิ่งกว่าหลายเท่านัก ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันแผนฟื้นฟูกิจการ รฟท. การแก้ปัญหาหนี้สินของรฟท.ที่สูงถึง 1.6 แสนล้านบาท และการผลักดันโครงการลงทุนของรฟท.ที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท ให้ลุล่วงตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม


“งานหลักๆที่ต้องส่งมอบเป็นเรื่องแผนการฟื้นฟู รฟท. ที่ต้องทำให้สำเร็จ ซึ่งมีหลายแผน เช่น การก่อสร้างรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีกลางบางซื่อ ตั้งบริษัทลูกบริษัททรัพย์สิน รฟท. ตั้งบริษัทลูกเพื่อเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง ทำระบบไอที ถ้าไม่ทำต่อก็ฟื้นฟูไม่ได้” วรวุฒิ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)

วรวุฒิ ย้ำว่า “อีกปัญหาสำคัญจัดการ คือ หนี้สินของรฟท. ซึ่งจะสัมพันธ์กับการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินและที่ดินของรฟท. แต่ก็ต้องใช้เวลา เพราะที่ดินที่นำมาพัฒนานั้น กว่าจะได้ผลประโยชน์จะต้องใช้เวลา เราจึงต้องการ ‘มืออาชีพ’ เข้ามา เพราะผมเอง รถไฟเองความรู้ใม่ถึง ต้องอาศัยภาคเอกชนที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามา”

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วรวุฒิ กล่าวว่า ในส่วนเนื้องานก่อสร้างนั้น ได้เรียกผู้ออกแบบมาหารือ รวมทั้งเร่งรัดการรื้อย้ายสาธารณูปโภคให้เป็นไปตามแผน ‘ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ’ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานส่งมอบพื้นที่ฯ ได้ประชุมกันหลายครั้งแล้ว ก็เห็นและปัญหาขึ้นมาบนโต๊ะหมดแล้ว

เมื่อถามว่า หลังจากส่งมอบงานให้ผู้ว่าการ รฟท.คนใหม่แล้ว จะต้องทำหน้าที่เป็น ‘พี่เลี้ยง’ หรือไม่ วรวุฒิ กล่าวว่า “อย่าเรียกว่าพี่เลี้ยงเลย เอาเป็นว่ามีงานอะไรก็ต้องส่งมอบไป ส่วนบอร์ดรฟท.ก็ทราบอยู่แล้วว่า อะไรเป็นอะไร ต้อง Carry on (ดำเนินการ) กันต่อไป ซึ่งผมเองจะเกษียณอายุในเดือนก.ย.2563”

ส่วนกรณีที่สหภาพฯ รฟท.ออกมาเคลี่อนไหวผู้ว่าการ รฟท.คนนอกนั้น วรวุฒิ บอกว่า “จริงๆแล้วเขาบอกว่า เป็นใครก็ได้ที่อยู่ในกระบวนการสรรหา เพียงแต่จุดยืนของเขาอยากได้คนใน และยืนยันว่าจะไม่มีปัญหาการทำงาน ถ้าเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แต่ถ้าไม่ช่วย ก็ต้องคุยกัน เพราะสหภาพฯเอง ก็มีความตั้งใจแก้ปัญหาของรฟท.เช่นกัน”

วรวุฒ ทิ้งท้ายว่า “การแก้ไขปัญหาของรฟท. ต้องใช้เวลา และไม่ใช่แค่เจเนอเรชั่นเดียว เจเนอเรชั่นเดียวไม่พอ แต่ต้องแก้ปัญหาต่อเนื่องกันไป”

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณารายงานประจำปี ปีงบ 2562 พบว่า ณ วันที่ 30 ก.ย.2561 รฟท.มีผลขาดทุนสะสม 168,863 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นผลการขาดทุนสะสมที่ยังไม่ได้รับการชดเชยจากรัฐบาลเป็นเงิน 160,363 ล้านบาท ในขณะที่ผลขาดทุนรายปีของรฟท.อยู่ที่ 1-2 หมื่นล้านบาท และบางปีเพิ่มไปถึง 2.8 หมื่นล้านบาท


ในขณะที่โครงการสำคัญๆที่ต้อง รฟท.ต้องเร่งรัดก่อสร้าง เปิดประมูล และผลักดันโครงการให้ครม.อนุมัติตามแผน 44 โปรเจกต์ พบว่ามีวงเงินสูงถึง 1.15 ล้านล้านบาท ไม่รวมการจัดซื้อหัวรถจักรและระบบอาณัติสัญญามูลค่าหลายหมื่นล้าน

ประกอบด้วย โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ วงเงินรวมทั้งสิ้น 622,491 ล้านบาท
รถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 7 โครงการ ได้แก่
ถนนจิระ - ขอนแก่น มูลค่า 23803 ล้านบาท
แก่งคอย - คลอง 19 - ฉะเชิงเทรา มูลค่า 10524 ล้านบาท
มาบกระเบา - ถนนจิระ มูลค่า 24181 ล้านบาท
ลพบุรี - ปากน้ำโพ มูลค่า 18961 ล้านบาท
นครปฐม - หัวหิน มูลค่า 15718 ล้านบาท
หัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ มูลค่า 5807 ล้านบาท
ประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร มูลค่า 12457 ล้านบาท

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 224544 ล้านบาท
โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มูลค่า 179143 ล้านบาท
รถไฟฟ้าชานเมือง (รถไฟฟ้า) สายสีแดง 2 ช่วง ได้แก่
ช่วงบางซื่อ-รังสิต มูลค่า 93950 ล้านบาท
ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 13133 ล้านบาท
และ งานเดินรถ ไฟฟ้าสายแดงทั้งระบบ

ส่วนโครงการที่เตรียมเปิดประมูลและผลักดันให้ครม. เห็นชอบ ได้แก่
รถไฟชานเมือง (รถไฟฟ้า) สายสีแดง 4 ช่วง คือ
ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต มูลค่า 6570 ล้านบาท
ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา มูลค่า 10202 ล้านบาท
ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช มูลค่า 6645 ล้านบาท
ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และ บางซื่อ-หัวหมาก มูลค่า 44157 ล้านบาท

รถไฟทางคู่สายใหม่ 2 โครงการ คือ
ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มูลค่า 85345 ล้านบาท และ
ช่วงบางไผ่-มุกดาหาร-นครพนม มูลค่า 66848 ล้านบาท

รถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 493,149 ล้านบาท ได้แก่
ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย
ช่วงสายเด่นชัย-เชียงใหม่
ช่วงขอนแก่น-หนองคาย
ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี
ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี
ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา
ช่วงชุมทางหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์


นอกจากนี้ ในส่วนการจัดการทรัพย์สิน โดยเฉพาะที่ดินของรฟท.ที่มี 39,428.97 ไร่ ซึ่งรวมถึงที่ดินอยู่ในกลางเมือง 3 แปลง ได้แก่ ที่ดินนิคมรถไฟ กม.11 ที่ดินสถานีแม่น้ำ และที่ดินบริเวณสถานีกลางบางซื่อ โดยรฟท.จะต้องเข้าไป ‘บริหารสัญญา’ เพื่อให้มีรายได้มา ‘ล้าง’ ผลขาดทุนสะสมที่รฟท.มีอยู่ นอกเหนือจากการได้รับเงินอุดหนุนรายปีจากรัฐบาล

นี่คือภารกิจที่ว่าที่ผู้ว่าการ รฟท.คนใหม่ จะต้องเข้าไปผลักดันให้ลุล่วง และเป็นบทพิสูจน์ฝีมือ 'นิรุฒ มณีพันธ์'
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2020 10:58 am    Post subject: Reply with quote

CP-BTS ชิงสัมปทานรอบใหม่ ประมูลเดินรถสินค้า แหลมฉบัง-หนองคาย
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 - 09:05 น.

การรถไฟฯดึงเอกชนลงทุน PPP เดินรถขนส่งสินค้าด้วยระบบไฟฟ้า ประเดิมสาย “หนองคาย-แหลมฉบัง” ระยะทาง 676 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้าน รัฐชดเชยงานระบบไฟฟ้า 2 หมื่นล้าน แลกส่วนแบ่งรายได้ตลอดสัมปทาน 30-50 ปี เผยบิ๊กธุรกิจสนใจ ทั้ง บีทีเอส บีอีเอ็ม ซี.พี. ปตท. ทีพีไอ


นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้าและรักษาการกลุ่มกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ร.ฟ.ท.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนรัฐและเอกชน 2562 โครงการเดินรถขนส่งสินค้าทางรถไฟด้วยระบบไฟฟ้า เส้นทางหนองคาย-ขอนแก่น-บัวใหญ่-แก่งคอย-คลอง 19-แหลมฉบัง ระยะทาง 676 กม. วงเงิน 26,000 ล้านบาท รองรับรถไฟทางคู่สายตะวันออกและสายอีสานที่กำลังสร้างในเฟส 1 และ 2 จะสร้างจากขอนแก่น-หนองคาย เชื่อมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังไปยัง สปป.ลาวและจีนตอนใต้

“รูปแบบลงทุนจะเหมือนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เอกชนจะหาเงินลงทุนให้ก่อน รัฐจะชำระคืนในส่วนของค่างานระบบไฟฟ้า 21,000 ล้านบาท และจัดเวลาเดินรถพร้อมคนขับให้ เพราะปัจจุบัน ร.ฟ.ท.เดินรถสินค้าอยู่แล้ว แต่จะให้เอกชนเดินรถช่วงเวลาอื่น ส่วนเอกชนจะลงทุนซื้อหัวรถจักรไฟฟ้า ล้อเลื่อน แคร่ขนสินค้าและศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) 5,000 ล้านบาท แบ่งรายได้ให้ ร.ฟ.ท.ตลอดอายุสัมปทานเดินรถ 30-50 ปี ซึ่งเอกชนที่ให้รัฐชดเชยเงินน้อยที่สุดจะได้รับคัดเลือก”

สุจิตต์ เชาว์ศิริกุล
สุจิตต์ เชาว์ศิริกุล
นายสุจิตต์กล่าวว่า ร.ฟ.ท. มีแผนจะเดินรถด้วยระบบไฟฟ้าทั่วประเทศอยู่แล้ว แต่การให้เอกชนมาลงทุนโครงการจะทำให้เกิดได้เร็วขึ้น เนื่องจากใช้เงินลงทุนสูง และเอกชนมีความคล่องตัวมากกว่าในการทำการตลาดที่จะดึงคนมาใช้บริการขนส่งสินค้ามากขึ้น เนื่องจากหลังเปิดใช้รถไฟทางคู่แล้ว จะทำให้ความต้องการขนส่งสินค้าทางรถไฟเพิ่มขึ้น

วันที่ 19 ก.พ. 2563 จัดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (market sounding) ได้เชิญเอกชนกว่า 30 รายเข้าร่วม เช่น บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บมจ.ปตท. กลุ่ม ซี.พี. บมจ.ทีพีไอ โพลีน เป็นต้น เพื่อนำความคิดเห็นของเอกชนไปสรุปเป็นผลการศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้ จากนั้นจะเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท. กระทรวงคมนาคม คณะกรรมการ PPP เมื่อได้รับอนุมัติจะจัดทำรายละเอียด PPP เพื่อเปิดประมูลในปี 2564 ตั้งเป้าจะให้แล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการในปี 2568

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อปี 2559 บีทีเอสเคยเสนอกระทรวงคมนาคม จะลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ ติดตั้งระบบและเดินรถขนส่งสินค้าด้วยระบบไฟฟ้าจากขอนแก่น-แก่งคอย-แหลมฉบัง ระยะทาง 510 กม. ด้วยวงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท ระยะสัมปทาน 50 ปี แต่ที่่ผ่านมาภาครัฐไม่ได้เดินหน้าต่อ จนล่าสุด ร.ฟ.ท.มาศึกษา PPP โครงการใหม่และต่อขยายจากขอนแก่น-หนองคาย เพื่อจูงใจเอกชนมากขึ้น

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า บริษัทมีความสนใจในโครงการ ก่อนหน้านี้ เคยเสนอแผนการลงทุนโครงการให้คมนาคมพิจารณาแล้ว เป็นเส้นทางจากแหลมฉบัง-ขอนแก่น ทั้งนี้ขอดูรายละเอียดเงื่อนไขในทีโออาร์ก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2020 1:53 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
CP-BTS ชิงสัมปทานรอบใหม่ ประมูลเดินรถสินค้า แหลมฉบัง-หนองคาย
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 - 09:05 น.

ต้นปี’64 รถไฟฯ เล็งเปิดประมูลเอกชนร่วมทุนเดินรถไฟขนสินค้า เส้น ‘หนองคาย-แหลมฉบัง’ 3 หมื่นล้าน
เศรษฐกิจ
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 - 21:34 น.
ประมูลปีหน้ารถไฟหนองคาย-แหลมฉบัง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - EEC
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563

ร.ฟ.ท. นัดเอกชนหารือ โครงการรถไฟหนองคาย-แหลมฉบัง หลังร่วมลงทุนแบบ PPP คาดเริ่มประมูลเร็วสุดปี 64

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟ (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการโครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถขนส่งสินค้า (เส้นทางหนองคาย - แหลมฉบัง) ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นโครงการศึกษาการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) โดยให้เอกชนร่วมพัฒนาระบบเดินรถด้วยไฟฟ้า (Rail Electrification) และบริการจัดการขนส่งสินค้าทางรถไฟเส้นทางหนองคาย-แหลมฉบัง มูลค่าลงทุน 3 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ปี 2564 ให้บริการจริงปี 2569 “การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการขนส่งสินค้าด้วยระบบราง จึงได้จัดการประชุมการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) ต่อโครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถขนส่งสินค้า (เส้นทางหนองคาย – แหลมฉบัง)” เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดของการศึกษาโครงการให้หน่วยงานธุรกิจภาคเอกชน

พร้อมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนต่อการศึกษาโครงการ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดการดําเนินงานโครงการในภาพรวมการรถไฟฯ ได้มีโครงการที่จะเปลี่ยนจากการใช้รถจักรดีเซล (Diesel Electric Locomotive) และรถดีเซลราง (Diesel Multiple Unit: DMU) ในปัจจุบัน ไปเป็นรถจักรไฟฟ้าและ Electric Multiple Unit (EMU) เพื่อขนส่งผู้โดยสารและสินค้า โดยได้ทําการศึกษาความเหมาะสมการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าในเส้นทางคู่ 4 เส้นทาง เมื่อปี 2554 ทั้งนี้ ผลการศึกษาได้เสนอแนะว่า การเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมในการพัฒนามากที่สุด เพื่อลดภาระการลงทุนในส่วนของการรถไฟฯ ที่จะต้องเป็นผู้รับภาระเอง และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การขนส่งทางราง ให้สามารถพัฒนาเป็นระบบขนส่งหลักของประเทศ การรถไฟฯ จึงดําเนินการศึกษาการให้เอกชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการลงทุนและให้บริการขนส่งสินค้า ในเส้นทางหนองคาย-แหลมฉบัง (ระยะทางรวมประมาณ 683 กิโลเมตร) มูลค่าการลงทุนระยะ เริ่มแรกประมาณ 26,400 ล้านบาท (30,000 ล้านบาท ตลอดโครงการ) แบ่งเป็น ภาครัฐลงทุนระบบ OCS (Overhead Catenary System) ในขณะที่ภาคเอกชนลงทุนรถจักรไฟฟ้า รถบรรทุกสินค้า(แคร่) และอู่จอด และซ่อมบํารุง รวมทั้ง การพัฒนาระบบรางเพิ่มเติม (ถ้ามี) นายวรวุฒิฯ กล่าวต่อว่า จากผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางการเงิน (Financial Feasibility) สามารถสรุปได้ว่า การรถไฟฯ ควรเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนในงานโครงสร้างพื้นฐานของระบบเดินรถด้วยไฟฟ้า ในขณะที่ภาคเอกชนผู้ร่วมลงทุนเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนในขบวนรถ และงานอู่จอดและซ่อมบำรุง รวมถึงเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรูปแบบการร่วมลงทุน PPP Net Cost ซึ่งจะให้ผลประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และสามารถพัฒนาการขับเคลื่อนการขนส่งทางราง โครงการนี้สามารถให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 22 โดยการรถไฟฯ จะได้ประโยชน์จากการพัฒนาทางคู่เป็นระบบไฟฟ้าเพื่อการเดินรถในอนาคต และได้รับผลตอบแทนจากเอกชนตามสัญญา นอกจากนั้น โครงการนี้จะช่วยลดมลพิษทางอากาศ ลดเวลาในการขนส่ง และเพิ่มสัดส่วนในการขนส่งทางรางสูงขึ้น ตามนโยบายหลัก ของกระทรวงคมนาคม ดังนั้น หากโครงการได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) แล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลได้เร็วที่สุดต้นปี 2564 และจะเปิดให้บริการปี 2569 โดยระยะเวลาของสัญญา ร่วมลงทุน ไม่น้อยกว่า 30 ปี ด้วยรูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost ซึ่งจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการพัฒนาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการขนส่งระบบรางของประเทศได้เป็นอย่างดี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43723
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2020 12:03 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
CP-BTS ชิงสัมปทานรอบใหม่ ประมูลเดินรถสินค้า แหลมฉบัง-หนองคาย
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 - 09:05 น.

ต้นปี’64 รถไฟฯ เล็งเปิดประมูลเอกชนร่วมทุนเดินรถไฟขนสินค้า เส้น ‘หนองคาย-แหลมฉบัง’ 3 หมื่นล้าน
เศรษฐกิจ
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 - 21:34 น.
ประมูลปีหน้ารถไฟหนองคาย-แหลมฉบัง
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - EEC
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563



ร.ฟ.ท.จ่อนำร่องเปิดเอกชนร่วมขนส่งสินค้า “หนองคาย-แหลมฉบัง” มูลค่า 3 หมื่นล้าน

โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 - 17:30
ปรับปรุง: วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 -18:25
รฟท. ซาวด์เสียงเอกชนเดินรถขนส่งสินค้า หนองคาย-แหลมฉบังมูลค่า 3 หมื่นล้าน
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 09:27 น.

Click on the image for full size


ร.ฟ.ท.เตรียมสรุปแผน เปิด PPP เอกชนร่วมลงทุน เดินรถขนส่งสินค้าเส้นทาง “หนองคาย-แหลมฉบัง” 683 กม. มูลค่า 3 หมื่นล้าน สัมปทาน 30 ปี คาดประมูลได้ปี 2564

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน (Market Sounding) ต่อโครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถขนส่งสินค้า (เส้นทางหนองคาย-แหลมฉบัง) วันที่ 19 ก.พ. ว่า ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการโครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถขนส่งสินค้า (PPP) ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่างๆ จากผู้แทนจากหน่วยงานองค์กรธุรกิจภาคเอกชน นักลงทุน และสื่อมวลชน เข้าร่วมการสัมมนากว่า 100 คน

โดยการศึกษาการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) นั้น เป็นการให้เอกชนร่วมพัฒนาระบบเดินรถด้วยไฟฟ้า (Rail Electrification) และบริการจัดการขนส่งสินค้าทางรถไฟเส้นทางหนองคาย-แหลมฉบัง ระยะทางรวมประมาณ 683 กิโลเมตร มีมูลค่าลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) พิจารณา และเปิดประมูลได้ปี 2564 ให้บริการจริงปี 2569

ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้มีโครงการที่จะเปลี่ยนจากการใช้รถจักรดีเซล (Diesel Electric Locomotive) และรถดีเซลราง (Diesel Multiple Unit : DMU) ในปัจจุบันไปเป็นรถจักรไฟฟ้า และ Electric Multiple Unit (EMU) เพื่อขนส่งผู้โดยสารและสินค้า โดยได้ทำการศึกษาความเหมาะสมการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าในเส้นทางคู่ 4 เส้นทาง เมื่อปี 2554

โดยผลการศึกษาได้เสนอแนะว่า การเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสมในการพัฒนามากที่สุด เพื่อลดภาระการลงทุนในส่วนของการรถไฟฯ ที่จะต้องเป็นผู้รับภาระเอง และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การขนส่งทางราง ให้สามารถพัฒนาเป็นระบบขนส่งหลักของประเทศ จึงได้ดำเนินการศึกษาการให้เอกชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการลงทุนและให้บริการขนส่งสินค้า ในเส้นทางหนองคาย-แหลมฉบัง (ระยะทางรวมประมาณ 683 กิโลเมตร) มูลค่าการลงทุนระยะ เริ่มแรกประมาณ 26,400 ล้านบาท (30,000 ล้านบาท ตลอดโครงการ) แบ่งเป็น ภาครัฐลงทุนระบบ OCS (Overhead Catenary System) ในขณะที่ภาคเอกชนลงทุนรถจักรไฟฟ้า รถบรรทุกสินค้า (แคร่) และอู่จอด และซ่อมบำรุง รวมทั้งการพัฒนาระบบรางเพิ่มเติม

จากผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางการเงิน (Financial Feasibility) สรุปได้ว่า ร.ฟ.ท.ควรเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนในงานโครงสร้างพื้นฐานของระบบเดินรถด้วยไฟฟ้า ในขณะที่ภาคเอกชนผู้ร่วมลงทุนเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนในขบวนรถ และงานอู่จอดและซ่อมบำรุง รวมถึงเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรูปแบบการร่วมลงทุน PPP Net Cost ซึ่งจะให้ผลประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และสามารถพัฒนาการขับเคลื่อนการขนส่งทางราง และมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 22% ระยะเวลาของสัญญาร่วมลงทุนไม่น้อยกว่า 30 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 358, 359, 360 ... 486, 487, 488  Next
Page 359 of 488

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©