RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312032
ทั่วไป:13627120
ทั้งหมด:13939152
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การเดินรถสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การเดินรถสมัยสงครามมหาเอเซียบูรพา
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2016 7:16 pm    Post subject: Reply with quote

วิดีโอภาพทางรถไฟสายมรณะ
http://www.iwm.org.uk/collections/item/object/1060033314
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47113
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2016 8:51 am    Post subject: Reply with quote

ระเบิดลงสถานีปากน้ำโพ
Arrow https://www.awm.gov.au/collection/SUK13523/

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47113
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2016 8:52 am    Post subject: Reply with quote

ระเบิดลงสถานีปากตะโก
Arrow https://www.awm.gov.au/collection/P02491.342

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47113
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/08/2016 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

ระเบิดลงย่านสถานีชุมพร และพิษณุโลกครับ
Arrow http://www.rquirk.com/159files/Thomas/Thomas9.jpg

ที่มา : http://www.rquirk.com/159files/Thomas/Thomas%20Album.html

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2020 10:46 am    Post subject: Reply with quote

๒ เมษายน ๖๓ นี้ เป็นวันครบรอบ ๗๕ ปี การทิ้งระเบิดในท้องที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีเมื่อปี ๒๔๘๘ (1945) ปีสุดท้ายของสงครามมหาเอเชียบูรพา รวมถึงทางรถไฟด้วย นับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวแก่งคอยอย่างมิรู้ลืม
ในโอกาสนี้ทางเพจ Wartime Asia เอเชียยามสงครามจึงขอนำเสนอเหตุการณ์ทิ้งระเบิดที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ผ่านบันทึกความทรงจำของพลเอก กฤช ปุณณกันต์ นายทหารม้าอาวุโสผู้ล่วงลับ เป็นเรื่องราวที่ พล อ.กฤชได้ประสบด้วยตนเอง เมื่อครั้งมียศพันโท

โดยพล อ.กฤชได้เขียนเป็นบทความชื่อ “ข้าพเจ้าเคยเห็นกรุงแตก” ตีพิมพ์ลงในหนังสือ “อนุสรณ์ ๕๐ ปี สุวรรณสมโภช ๒๔๗๗ - ๒๕๒๗” ซึ่งเป็นหนังสือที่ระลึกนักเรียนนายร้อยรุ่น ๒๔๗๗ โดยทางเพจจะได้เล่าเนื้อหาของบันทึกโดยสังเขปต่อไปนี้

ปี ๒๔๘๘ (1945) พันโท กฤช ปุณฃณกันต์ (ยศขณะนั้น) ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ฯ (ม.พัน ๑ รอ.) ซึ่งในเวลานั้นมาตั้งหน่วยสนามอยู่ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นกองพันขึ้นตรงต่อกองทัพที่ ๒ (ท.๒) อันเป็นกองทัพที่ตั้งขึ้นใหม่สังกัดกองทัพบกสนาม มีพลโท หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) เป็นแม่ทัพ

อำเภอแก่งคอยตั้งอยู่พื้นที่เทือกเขาดงพญาเย็น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ – พังเหย มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน มีทางรถไฟสายอีสานผ่านอำเภอนี้ มีโรงจักรซ่อมรถไฟตั้งอยู่ที่นี่ และเป็นจุดที่รถไฟสายอีสานกับสายภาคกลางต้องพักคอยกัน ก่อนข้ามเทือกเขาดงพญาเย็น อันเป็นประตูเชื่อมเข้าสู่ภาคอีสาน มีเส้นทางเกวียนเชื่อมต่อกับตัวจังหวัดสระบุรี (ปัจจุบันคือถนนมิตรภาพ) และเชื่อมกับอำเภอบ้านนาและอำเภอนครนายก สภาพแวดล้อมโดยรวมเป็นป่าดงอันกว้างขวางทั้งบนเทือกเขาและพื้นราบ

ผู้คนทำไร่ข้าวหาของป่าในพื้นที่ปลาในลำแควป่าสัก มีการล่องเรือค้าขายจากแม่น้ำป่าสักไปจนถึงแม่น้ำแม่กลองแถบบางช้าง มีกองนายฮ้อยต้อนวัวจากอีสานข้ามเทือกเขาดงพญาเย็น เมื่อว่างจากงานผู้คนทั่วไปนิยมเล่นรำโทน และมีนักเลงโจรผู้ร้ายอยู่ทั่วไป ม.พัน ๑ รอ. จึงจัดทหารตรวจจับอาวุธชายฉกรรจ์ชาวบ้านร่วมด้วย และการที่กองทหาร ม.พัน ๑ รอ. มาตั้งที่อำเภอแก่งคอยก็ได้เกิดความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตำรวจ ข้าราชการพลเรือน และประชาชนโดยทั่วไป

อย่างไรก็ตามภารกิจหลักของ ม. พัน ๑ รอ. คือการป้องกันปีกของกองทัพที่ ๒ ทางด้านรอยต่อภาคกลางและภาคอีสาน การตัดเส้นทางคมนาคมคือชุมทางรถไฟบริเวณแก่งคอย-ปากช่องเพื่อแบ่งแยกกองทัพญี่ปุ่นในภาคกลางและภาคอีสานของประเทศไทย และการโจมตีโฉบฉวยต่อกองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่น ที่เขาชะโงก อำเภอนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และค่ายเชลยศึกที่เขาพระพุทธฉาย จังหวัดสระบุรี โดยอาศัยภูมิประเทศอันเป็นป่าเขาซึ่งช่วยให้กองทหารม้าฝ่ายไทยได้เปรียบ

รวมทั้งตัว พ.ท.กฤช ปุณณกันต์ได้ลักลอบส่งข่าวและนัดแผนการกับเชลยศึกสัมพันธมิตรที่ค่ายเชลยเขาพระพุทธฉาย เพื่อให้ร่วมกับทหารไทยทำการลุกฮือปล้นค่ายเชลยของญี่ปุ่นที่นั่น

เมื่อถึงวันที่ ๒ เมษายน ๒๔๘๘ (1945) วันนั้นเป็นวันอาทิตย์ผู้คนจะพากันเข้ามาแก่งคอยเพื่อเดินเกี่ยวตลาดกลาง แต่ในเวลา ๑๖.๐๐ น. พ.ท.กฤช ปุณกันต์ได้ยินเสียงเครื่องบินสี่เครื่องยนต์ ไม่นานนักก็ได้เห็นเป็นเครื่องบิน B – 24 บินมาเป็นหลายฝูงในระยะที่ต่ำมาก จนเห็นเครื่องบินได้อย่างชัดเจน สามารถเห็นท้องเครื่องบินเปิดช่องมีลูกระเบิดทยอยถูกปล่อยจากในท้องเครื่องบิน เห็นจังหวะที่ลูกระเบิดกระทบหลังคาบ้าน เห็นวัสดุต่าง ๆ ลอยฟุ้งในอากาศ ทั้งหลังคาบ้าน เสาเรือน ถังสองร้อยลิตร

ทุกคนต้องช่วยหลบภัยกันเองไม่มีใครช่วยใครได้ ปีนกลหนักประจำกองพันถูกห้ามไม่ให้ตอบโต้ เพราะระยะปืนต่อต้านเครื่องบินไม่ถึง จะกลายเป็นการชี้เป้าภาคพื้นดินอย่างไร้ประโยชน์ ตัว พ.ท.กฤชยืนพิงต้นมะขามใหญ่หลบภัยทางอากาศที่นั่น

ที่ต้นมะขามใหญ่ พ.ท.กฤชนับจำนวนเครื่องบินได้ ๔๒ เที่ยว แต่ไม่อาจจะนับจำนวนเครื่องบินได้ แต่ละเที่ยวนับลูกระเบิดได้ ๑๒ ลูก มีเพียงเที่ยวที่ ๔๒ ที่ขนระเบิดมา ๘ ลูก จึงเท่ากับว่าการทิ้งระเบิดที่แก่งคอยซึ่งมีพื้นที่เพียงไม่กี่ตารางกิโลเมตรทั้งหมดนี้ใช้ระเบิดถึง ๕๐๐ ลูก ด้านไปเสียสามลูก (ทราบเพราะขุดขึ้นมาได้ในภายหลัง) น้ำหนักลูกละ ๒๕๐ ปอนด์ (ลูกละ ๑๑๓.๓๙ กิโลกรัม)

พ.ท.กฤชระบุว่าการทิ้งระเบิดที่แก่งคอยมีความรุนแรงกว่าที่กรุงเทพฯ อย่างมากมาย เพราะแม้ที่กรุงเทพฯ จะมีการทิ้งระเบิดบ่อยครั้งกว่าที่แก่งคอย แต่พื้นที่กรุงเทพฯ กว้างขวางกว่าที่แก่งคอย ความเสียหายจึงไม่กระจุกตัวเท่ากับที่แก่งคอย นอกจากนี้ที่กรุงเทพฯ ยังมีปืนต่อสู้อากาศยาน (ปตอ.) จึงทำให้เครื่องบินทิ้งระเบิดต้องบินขึ้นสูง ผิดกับที่แก่งคอยซึ่งไม่มี ปตอ. เครื่องบินจึงบินในระยะต่ำ

เมื่อตกเย็น ๑๘.๐๐ น. การทิ้งระเบิด ๔๒ เที่ยวบินสิ้นสุดลง พ.ท.กฤชได้ขี่จักรยานเข้าตัวอำเภอแก่งคอย ได้เห็นความพังพินาศของแก่งคอย บ้านเรือน ร้านตลาด สถานีรถไฟเป็นเหยื่อพระเพลิง ท้องฟ้าสว่างราวกลางวันเพราะไฟที่ลุกไหม้

อากาศในเมืองแก่งคอยจึงร้อนจนแสบเนื้อแสบตัว ผู้คนอยู่ในสภาพน่าสังเวช ที่รอดชีวิตก็ถามหาสมาชิกครอบครัว ญาติมิตร บางรายมีเลือดเต็มตัว ขาแหว่ง หน้าฉีก เสียงผู้บาดเจ็บครวญครางดังระงมทั่วเมือง

ที่อัศจรรย์คือ ม.พัน ๑ รอ. กลับปลอดภัยไม่ถูกระเบิด พ.ท.กฤช ปุณณกันต์ ผบ.ม.พัน ๑ รอ. จึงใช้กองทหารหุงหาอาหารแจกชาวบ้าน ใช้พื้นที่ทหารเป็นที่พักพิงผู้บาดเจ็บ ขอรถบรรทุกทางจังหวัดและกองทัพที่ ๒ พาผู้บาดเจ็บสาหัสไปโรงพยาบาลอานันทมหิดล ลพบุรี สร้างที่พักพิงชั่วคราวให้แก่ประชาชน จัดกำลังทหารรักษาความปลอดภัยเมืองแก่งคอย ไม่ให้มีโจรผู้ร้ายมาปล้นเมืองซ้ำเติมที่ถูกทิ้งระเบิดได้

ที่สำคัญที่สุดทหารได้กลายเป็น “สัปเหร่อชั่วคราว” ฝังศพผู้เสียชีวิตนับ ๘๐ คน (ไม่นับผู้ที่เสียชีวิตกลางทาง) ก่อนที่จะฌาปนกิจในเวลาต่อมา ศพที่ฝังนั้นกองพะเนินเทินทึกชวนสยดสยอง ต้องให้ทหารผู้ฝังศพหาเหล้าเถื่อนมากินย้อมใจก่อนสำเร็จหน้าที่

สรุปได้ว่า ม.พัน ๑ รอ. ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งตำรวจ ประชาสงเคราะห์ มหาดไทย และสัปเหร่อในห้วงวิกฤตินี้

ต่อมา พ.ท.กฤช ปุณณกันต์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดสัมพันธมิตรจึงมาทิ้งระเบิดแก่งคอย แล้วทำไมที่ตั้ง ม.พัน ๑ รอ. ที่วัดตาลเดี่ยวจึงพ้นภัยทางอากาศมาได้ นึกทบทวนได้ว่าก่อนนั้นสองวันมีรถไฟบรรทุกกองทหารญี่ปุ่น ๕๐๐ นายแวะพักที่สถานีแก่งคอย เข้าใจว่ามีการรายงานของหน่วยใต้ดินต่อสัมพันธมิตร จนได้ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดรถไฟ แต่เว้นไว้ไม่ทำลายค่ายทหารไทย เพื่อใช้เป็นกำลังต่อสู้ญี่ปุ่นต่อไป
https://www.facebook.com/WartimeAsia/posts/1388290441373443

https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2948989165148009
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2020 4:15 pm    Post subject: Reply with quote

รำลึก 77 ปี การเปิดทางรถไฟสายมรณะที่เสร็จสมบูรณ์
Wartime Asia เอเชียยามสงคราม
17 ตุลาคม 2563 เวลา 7:00

ทุ่งหญ้าเวิ้งว้าง พื้นที่รองรับน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ ใกล้แม่น้ำรันตี อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี คืออดีตสถานีรถไฟนิเถะ ( 二ーケ ) ย่านรถไฟอันกว้างขวาง ของกรมรถไฟทหาร สังกัดกลุ่มกองทัพบกภาคทิศใต้ (Southern Expedition Army Group) แห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา (2484 - 2488)
มีขนาดเทียบเท่าสถานีธนบุรี (บางกอกน้อย) เคยมีสะพานรถไฟข้ามห้วย ทั้งสะพานหลัก สะพานเบี่ยง (สำรองเมื่อสะพานหลักถูกทิ้งระเบิด) มีสามแยกกลับหัวรถจักร
เคยมีอาคารใหญ่น้อยเรียงราย ที่อาจเป็นคลังหรือกองบัญชาการทางทหาร
บัดนี้เหลือแต่ทุ่งหญ้าเวิ้งว้าง มีหญ้าขึ้นสูงท่วมตัวคน หากเข้าหน้าน้ำมันจะเป็นที่รองรับน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ เหลือไม้หมอนรถไฟจมโคลน 4 - 5 ท่อน เหลือคันทางรถไฟพร้อมหินปูคละหินลำห้วย
แน่นอนว่ามันต้องคร่าชีวิตทหารญี่ปุ่นนับร้อย เชลยฝรั่งนับพัน กรรมกรเอเชียนับหมื่น เพื่อหวังชัยชนะของญี่ปุ่นบั้นปลายสงครามมหาเอเชียบูรพา ที่สุดท้ายได้สลายหายไปอย่างรวดเร็ว
พวกเราได้เดินตามรอยซากย่านรถไฟท่ามกลางฝน ต้องฝ่าหนาม ต้องมีคนฟันหญ้าเบิกทาง มีแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศทั้งเก่าและใหม่เป็นเครื่องนำทาง ด้วยเวลา 2 ชั่วโมงเศษ
พวกเราค้นหาประวัติศาสตร์จากซากที่แทบไม่เหลืออะไร กลายเป็นผู้ไม่รู้ที่มืดแปดด้าน แล้วต้องช่วยกันเดาทีละเล็กทีละน้อย จากความรู้เดิมของแต่ละคนที่ต่างกัน มันยังไม่ใช่ความรู้สมบูรณ์
การเดินลุยฝน ลุยหนาม ลื่นล้ม เรายังเจ็บ ยังกลัว ยังหนาวเหน็บไม่สบายตัว
แล้วบรรดาเชลยฝรั่ง เชลยเมืองขึ้น กรรมกรเอเชีย แม้ทหารญี่ปุ่น จะเจ็บปวดทุกข์ทนกว่าเรากี่ร้อยกี่พันเท่า เกินที่จะคาดเดาได้
ความน่าสนใจคือ
1.ทำไมกองทหารรถไฟญี่ปุ่นจึงต้องมาสร้างฐานใหญ่โตกลางป่าเขาสังขละบุรีเช่นนี้
2.ภูมิประเทศสังขละบุรี มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์สงครามของญี่ปุ่นในเอเชียอาคเนย์อย่างไร หากจำแนกตามช่วงปีคือ 1942 - 1944 และ 1944 - 1945
นอกจากนี้สำหรับพวกเรา ที่ฝ่าฝนลำบากศึกษาเรื่องนี้ เพื่อเรียนรู้โศกนาฏกรรมที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นอีก เรียนรู้ความตายความทรมานที่เปล่าประโยชน์
จนทำให้กองรถไฟทหารขนาดใหญ่ ได้สูญสลายไม่เหลือแม้ความทรงจำ
คลิปนี้ถ่ายไว้เมื่อเสาร์วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2563 ก่อนสถานการณ์โควิด19 เกิดการตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2020 4:17 pm    Post subject: Reply with quote

ทางรถไฟสายมรณะที่หายไปในพื้นที่สถานีท่ากิเลน และเหมืองหินที่นำไปใช้ก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะ ตอนที่ 1
Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ
21 ตุลาคม 2563 เวลา 10:10

ก่อนอื่นเลย จริงๆละช่วงนี้ผมจะไปสำรวจสังขละอีกรอบในวันที่ 22-24 แต่ด้วยสถาการณ์โควิดตามแนวชายแดนพม่ายังไม่น่าไว้วางใจ ผมจึงยกเลิกไปก่อน

ผมมีเวลาว่างเลยเอาแผนที่มาดู ปรากฎว่า ในแผนที่เก่าแถวสถานีท่ากิเลนมีจุดน่าสนใจ
แผนที่เก่าระบุว่ามีรางรถไฟ แยกออกมาจากทางใต้ของสถานีท่ากิเลน เป็นรูปตัว J สองตัว
ก่อนที่จะลงสำรวจผมได้หาข้อมูลการมีอยู่ของรางรถไฟเส้นนี้ จากทางแผนที่ดาวเทียม พบว่ามีร่องรอยเป็นแนวอยู่ครับ เห็นค่อนข้างชัดเจน

บางคนเข้าใจว่าแนวตามถนนหลักเข้าหมู่บ้าน แต่ไม่ใช่นะครับ อยู่ห่างจากถนนหลักไปทางตะวันออกหน่อยหนึ่ง เมื่อได้ข้อมูลแล้วผมจึงลองสอบถามไปยัง อบต. ตำบลสิงห์ครับ โดยโทรไปหาสำนักงาน อบต.เลย ที่ผมโทรไปหา อบต. เพราะว่าทางรถไฟนั้นผ่านในแถบบริเวณพื้นที่ทำการของ อบต.สิงห์ ผมจึงเชื่อมั่นว่าต่องมีคนรู้เรื่องนี้แน่นอน
โทรไปเจ้าหน้าที่ผู้หญิงรับสาย ผมก็อธิบายเรื่องราวของตัวผมให้ฟังก่อน และสอบถามไปว่าตรง อบต. เคยมีทางรถไฟผ่านหรือไม่ คำตอบคือไม่มี ผมยังถามย้ำไปเจ้าหน้าที่ก็ยังคงบอกว่าไม่มี แต่เจ้าหน้าที่ก็ดีนะครับ เขาได้ให้เบอร์ท่านนายอำเภอแก่ผม ผมจึงโทรไปถามท่านนายอำเภอ คำตอบที่ได้จากท่านนายอำเภอคือมีทางรถไฟมาจริง แต่คนที่จะรู้ดีแน่ๆ คือ อดีตกำนันบุญสม ประทีป อายุ 76 ปี ผมจึงได้ขอเบอร์อดีตกำนันบุญสม มาจากท่านนายอำเภอ และก็ได้โทรไปหาทางอดีตกำนันบุญสม
ท่านกำนันบุญสมได้บอกรายละเอียดทางรถไฟที่แยกออกมาอย่างครบถ้วนเลยครับ ซึ่งตรงตามแนวทางรถไฟที่ผมได้ศึกษาตามแผนที่ google map รวมถึงแผนที่เก่า เอามาเทียบกัน
ทางอดีตกำนันบุญสม ท่านเกิดปี 1945 ปีที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามพอดี ตอนท่านเด็กๆจึงได้เห็นซากค่ายญี่ปุ่นหรือทางรถไฟต่างๆพอสมควรครับ
ผมได้สอบถามเพิ่มเติมกับทางกำนันว่ารถไฟเข้ามาในพื้นที่นี้ทำไม ท่านตอบว่าคงมาเอาน้ำที่แม่น้ำแควน้อยไปใส่หัวรถจักรไอน้ำ อีกทางหนึ่งผมได้สอบถามสเตฟาน เพื่อนชาวต่างชาติที่มีความสนใจทางรถไฟสายมรณะ เขาให้ข้อมูลผมมาว่า รถไฟไปเอาหิน Ballast หรือหินรองราง
ข้อมูลที่ได้นั้นแย้งกันแต่ผมคิดว่าไม่เป็นไรยังไงคงได้ลงไปดูของจริง
ผมจึงได้นัดกับอดีตกำนันบุญสม วันที่ 20 ตุลาคม 2020 เพื่อสำรวจ เดี๋ยวตอนที่2 ผมจะอธิบายว่าผมไปเจออะไรมาบ้างนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2020 12:14 am    Post subject: Reply with quote

รำลึก 77 ปี การเปิดทางรถไฟสายมรณะที่เสร็จสมบูรณ์
ทุ่งหญ้าเวิ้งว้าง พื้นที่รองรับน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ ใกล้แม่น้ำรันตี อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี คืออดีตสถานีรถไฟนิเถะ ( 二ーケ ) ย่านรถไฟอันกว้างขวาง ของกรมรถไฟทหาร สังกัดกลุ่มกองทัพบกภาคทิศใต้ (Southern Expedition Army Group) แห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา (2484 - 2488)
มีขนาดเทียบเท่าสถานีธนบุรี (บางกอกน้อย) เคยมีสะพานรถไฟข้ามห้วย ทั้งสะพานหลัก สะพานเบี่ยง (สำรองเมื่อสะพานหลักถูกทิ้งระเบิด) มีสามแยกกลับหัวรถจักร
เคยมีอาคารใหญ่น้อยเรียงราย ที่อาจเป็นคลังหรือกองบัญชาการทางทหาร
บัดนี้เหลือแต่ทุ่งหญ้าเวิ้งว้าง มีหญ้าขึ้นสูงท่วมตัวคน หากเข้าหน้าน้ำมันจะเป็นที่รองรับน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ์ เหลือไม้หมอนรถไฟจมโคลน 4 - 5 ท่อน เหลือคันทางรถไฟพร้อมหินปูคละหินลำห้วย
แน่นอนว่ามันต้องคร่าชีวิตทหารญี่ปุ่นนับร้อย เชลยฝรั่งนับพัน กรรมกรเอเชียนับหมื่น เพื่อหวังชัยชนะของญี่ปุ่นบั้นปลายสงครามมหาเอเชียบูรพา ที่สุดท้ายได้สลายหายไปอย่างรวดเร็ว
พวกเราได้เดินตามรอยซากย่านรถไฟท่ามกลางฝน ต้องฝ่าหนาม ต้องมีคนฟันหญ้าเบิกทาง มีแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศทั้งเก่าและใหม่เป็นเครื่องนำทาง ด้วยเวลา 2 ชั่วโมงเศษ
พวกเราค้นหาประวัติศาสตร์จากซากที่แทบไม่เหลืออะไร กลายเป็นผู้ไม่รู้ที่มืดแปดด้าน แล้วต้องช่วยกันเดาทีละเล็กทีละน้อย จากความรู้เดิมของแต่ละคนที่ต่างกัน มันยังไม่ใช่ความรู้สมบูรณ์
การเดินลุยฝน ลุยหนาม ลื่นล้ม เรายังเจ็บ ยังกลัว ยังหนาวเหน็บไม่สบายตัว
แล้วบรรดาเชลยฝรั่ง เชลยเมืองขึ้น กรรมกรเอเชีย แม้ทหารญี่ปุ่น จะเจ็บปวดทุกข์ทนกว่าเรากี่ร้อยกี่พันเท่า เกินที่จะคาดเดาได้
ความน่าสนใจคือ
1.ทำไมกองทหารรถไฟญี่ปุ่นจึงต้องมาสร้างฐานใหญ่โตกลางป่าเขาสังขละบุรีเช่นนี้
2.ภูมิประเทศสังขละบุรี มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์สงครามของญี่ปุ่นในเอเชียอาคเนย์อย่างไร หากจำแนกตามช่วงปีคือ 1942 - 1944 และ 1944 - 1945
นอกจากนี้สำหรับพวกเรา ที่ฝ่าฝนลำบากศึกษาเรื่องนี้ เพื่อเรียนรู้โศกนาฏกรรมที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นอีก เรียนรู้ความตายความทรมานที่เปล่าประโยชน์
จนทำให้กองรถไฟทหารขนาดใหญ่ ได้สูญสลายไม่เหลือแม้ความทรงจำ
คลิปนี้ถ่ายไว้เมื่อเสาร์วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2563 ก่อนสถานการณ์โควิด19 เกิดการตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์
และขอขอบคุณแอดมินเพจ Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ ที่ชักชวนนัดหมาย และพาสำรวจพื้นที่ครับ
https://www.facebook.com/WartimeAsia/posts/1559866037549215
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2020 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
หนองปลาดุก กม. 0 + 000 (64 + 046.55 กม.จากสถานีธนบุรี 80+096.55 กม.จากกรุงเทพ)
กงม้า (คอนม้า) กม. 2 + 000
บ้านโป่งใหม่ กม. 5 + 180
ลูกแก กม. 13 + 380
ท่าเรือน้อย กม. 25 + 890
ท่าม่วง กม. 36 + 900
เขาดิน กม. 43 + 154
กาญจนบุรี (ปากแพรก) กม. 50 + 320
สะพานท่ามะขามที่ กม. 56 + 255.1 ยาว 346.40 เมตร
เขาปูน กม. 57 + 545
วังลาน กม. 68 + 454
บ้านเก่า (บ้านเขา) กม. 87 + 904
ท่ากิเลน กม. 97 + 904
อ้ายหิต (อารูหิตา, ลุ่มสุ่ม) กม. 108 + 140
วังโพ กม. 114 + 040
วังใหญ่ กม. 124 + 850
ท่าเสา (น้ำตก) กม. 130 + 300
ท้องช้าง กม. 139 + 050
ถ้ำผี กม. 147 + 520 (สูงสุด)
หินตก กม. 155 + 030
กันนิ้ว กม. 161 + 400 (ช่องเขาขาด ช่องไฟนรก)
ไทรโยค กม. 167 + 660
กิ่งไทรโยค กม. 171 + 720
ริ่นถิ่น กม. 180 + 530
กุยแซง กม. 190 + 480
หินดาด กม. 197 + 750
ปรังกะสี กม. 208 + 110
ท่าขนุน (ทองผาภูมิ) กม. 218 + 150
น้ำโจนใหญ่ กม. 229 + 140
ท่ามะเยี่ยว (ท่ามะยอ) กม. 236 + 800
ตำรองผาโท้ กม. 244 + 190
เกริงไกร กม. 250 + 130
กองโกยท่า (แก่งคอยท่า) กม. 262 + 580
ทิมองท่า กม. 273 + 060
นิเก (สังขละบุรี) กม. 281 + 880
ซองกะเลีย กม. 294 + 020
สะพานข้ามแม่น้ำซองกะเลีย กม. 294 + 418 ยาว 90 เมตร
จันการายา กม. 303 + 630 (ด่านพระเจดีย์สามองค์ฝั่งพม่า)
อังกานัง กม. 310 + 630
เกียนโด กม. 319 + 880
สะพานไม้ข้ามแม่น้ำเมกาซา กม. 319 + 798 ยาว 56 เมตร (ลำน้ำแม่กษัตริย์)
สะพานไม้ข้ามแม่น้ำซามีที กม. 329 + 678 ยาว 75 เมตร
อาปาลอง กม. 332 + 090
สะพานข้ามแม่น้ำอาปาลอง กม. 333 + 258.20 เป็นสะพานคอนกรีตยาว 50 เมตร
อาปาไร กม. 337 + 250
เมซารี กม. 342 + 830
เมซารีบูน กม. 348 + 660
ลองชี กม. 353 + 770
ตังซึน กม. 357 + 600
ตังบายา กม. 361 + 900
อานากุย กม. 369 + 060
สะพานอานากุย กม. 369 + 839.5 ยาว 60 เมตร
เบกุตัง กม. 374 + 480
เรโบ กม. 384 + 590
กองโนกอย กม. 391 + 021
ราเบา กม. 396 + 300
เวกาเร กม. 406 + 390
ตังเบียวซายาใหม่ กม. 409 + 790
ตังเบียวซายา กม. 414 + 916


เล่าเรืองทางรถไฟสายมรณะที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/SaraStoryHDz/posts/3700998203319135
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43921
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2020 6:31 pm    Post subject: Reply with quote

ใครจะไปนึกว่า ทางรถไฟสายมรณะ (ทางรถไฟสายไทยพม่าในภาษาญี่ปุ่น - Tai–Men-Rensetsu-Tetsudou (泰緬連接鉄道)) คือส่วนหนึ่งของเมกะโปรเจกต์ "ทางรถไฟสายมหาเอเชียบูรพา" ของจักรวรรดิญี่ปุ่น!!!

ในปี ค.ศ.1920 รัฐบาลแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น (大日本帝国) ได้มีการก่อตั้ง "กระทรวงกิจการรถไฟ" (鐵道省/The Ministry of Railways ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า เท็ตสึโดโช Tetsudōshō) เพื่อทำหน้าที่วางแผน ก่อสร้าง บำรุงรักษา ให้บริการระบบโครงข่ายการคมนาคมทางรถไฟทั้งภายในประเทศญีปุ่่น และเขตยึดครองของญี่ปุ่นในสมัยนั้น ทั้งเกาหลี ไต้หวัน และบางส่วนของคาบสมุทรเหลียวตง ซึ่งการก่อตั้งกระทรวงกิจการรถไฟนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งจะต้องมีการก่อสร้างโครงข่ายการคมนาคมเพื่อเชื่อมต่อดินแดนต่างๆที่ญี่ปุ่นยึดครองทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเข้าด้วยกัน
ภายหลังตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นเริ่มขยับขยายอาณาเขตเข้าสู่แผ่นดินจีนมากขึ้น ทั้งแมนจูเรีย เข้ามาจนถึงดินแดนหัวเป่ยทางภาคเหนือของจีน ประชิดปักกิ่ง จนกระทั่งหลังกรณีสะพานมาร์โคโปโลในปี ค.ศ.1937 นำมาสู่สงครามจีน - ญี่ปุ่นอย่างเต็มรูปแบบ จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มมีการก่อสร้างและเชื่อมต่อทางรถไฟในเขตยึดครองของตนจากเกาหลี สู่แมนจูเรีย ถึงหัวเป่ย และเริ่มวางแผนก่อสร้างทางรถไฟข้ามทะเลเหลืองจากกรุงโตเกียวของจักรวรรดิญี่ปุ่นเพื่อเชื่อมกับทางรถไฟเหล่านี้
ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นส่งทหารเข้าโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ของสหรัฐอเมริกา และยกพลขึ้นบกทั่วเอเชีย เปิดฉากสงครามมหาเอเชียบูรพาในปี ค.ศ.1941 ญี่ปุ่นจึงวางแผนขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อดินแดนในเขตยึดครองของญี่ปุ่นทั้งภูมิภาคเอเชีย โดยมีศูนย์กลางที่โตเกียว โดยมีการจัดทำ "รายงานว่าด้วยทางรถไฟสายมหาเอเชียบูรพา" (大東亜縦貫鉄道に就て) ในปี ค.ศ.1942 โดยรายงานฉบับนี้ได้เสนอแนวโครงข่ายทางรถไฟมหาเอเชียบูรพาสามสายหลักๆ ได้แก่

1. โครงข่ายทางรถไฟหมายเลข 1 (第1縱貫鐵道群) หรือทางรถไฟสายโตเกียว - โชนัน (東京~昭南島間)สายนี้จะเริ่มต้นจากกรุงโตเกียว(東京 ) ไปยังชิโมโนเซกิ(下關) จากนั้นจะข้ามทะเลเหลืองไปที่เมืองปูซาน(釜山) ของเกาหลี ไปถึงเฟิ่งเทียน [มุกเดน] (奉天) หรือเมืองเสิ่นหยาง (沈阳市) ในแมนจูเรีย จากนั้นไปยังนครเทียนจิน(天津) - ปักกิ่ง(北京) - ฮั่นโข่ว(漢口) - เหิงโจว(衡州) - กุ้ยหลิน(桂林) - หลิ่วโจว(柳州) - หนานหนิง(南宁) - ด่านเจิ้นหนานกวน(鎮南關 ชายแดนจีน - เวียดนาม) เข้าสู่ซอมกุก( 村局/Xóm Cục)ในเวียดนาม ถึงเมืองท่าแขก (他曲) ในแขวงคำม่วนของลาว ข้ามมายังฝั่งไทยสู่ อ.กุมภวาปี (公抱哇比 ) จ.อุดรธานี เข้าสู่ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทยถึงกรุงเทพ จากนั้นเข้าสู่ทางรถไฟสายใต้ของไทยจนถึงปาดังเบซาร์(巴东勿刹) สิ้นสุดที่เกาะโชนัน (昭南島) หรือสิงคโปร์ ทั้งนี้ จะมีทางรถไฟแยกจากเทียนจินไปถึงเมืองนานกิง(南京) และเชื่อมทางรถไฟย่อยจากนางาซากิ(长崎市) ถึงเซี่ยงไฮ้(上海市) ด้วย

2.โครงข่ายทางรถไฟหมายเลขสอง (เชื่อมโยงกับทางรถไฟสายหลักที่ 1 คือสายโตเกียว - โชนัน 第2縱貫鐵道群(1縱貫鐵道的支線)สายนี้จะแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเริ่มจากกรุงเทพ - บ้านโป่ง - ตันบูซายัด(タンビサヤ) ในประเทศพม่า - ย่างกุ้ง(仰光) - จิตตะกอง (吉大港 เดิมเป็นดินแดนของอินเดีย ปัจจุบันคือนครหลวงของบังคลาเทศ) ซึ่ง "ทางรถไฟสายมรณะ" ที่เชื่อมระหว่างสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ในทางรถไฟสายใต้ของไทย ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ถึงตันบูซายัดของพม่า ก็คือส่วนหนึ่งในโครงข่ายทางรถไฟสายนี้ ส่วนที่สอง เริ่มจากฉางซา(长沙市) - ฉางเต๋อ(常德市) - คุนหมิง(昆明市) เข้าสู่เมืองหล่าเสี้ยว(臘戍) ในรัฐฉาน ถึงเมืองมัณฑะเลย์(曼德勒) สิ้นสุดที่จิตตะกองเช่นกัน

3. โครงข่ายทางรถไฟหมายเลขสาม หรือทางรถไฟสายมิตรภาพญี่ปุ่น - เยอรมัน(第3縱貫鐵道群(與日本同盟的德國間連結)) แบ่งเป็นสามสายย่อย ได้แก่
สายที่ 1 เริ่มจากโตเกียว - ชิโมโนะเซกิ - ปูซาน - เฟิ่งเทียน [มุกเดน] (奉天) - ฮาร์บิน(哈尔滨) - หม่านโจวหลี่(满洲里市) - อีร์คุสต์(Иркутск) - มอสโคว์ สิ้นสุดที่กรุงเบอร์ลินของเยอรมัน
สายที่ 2 เริ่มจากโตเกียว - โกเบ(神户市) ข้ามทะเลเหลืองมาที่เทียนจิน - จางเจียโข่ว( 張家口) - เปาโถว(包頭) - ซู่โจว(肃州) - อันซี(安西) - ฮามี่(哈密) ในซินเจียง - คัชการ์(喀什) - คาบูล(喀布尔) - แบกแดด(巴格达) - อิสตันบูล(伊斯坦堡) สิ้นสุดที่เบอร์ลิน
สายที่ 3 เริ่มจากโตเกียว - นางาซากิ - เซี่ยงไฮ้ - คุนหมิง - ย่างกุ้ง - กัลกัตตา(加尔各答) - อิสลามาบัด(白沙瓦) - คาบูล - แบกแดด - อิสตันบูล ถึงเบอร์ลิน
ทั้งหมดนี้คือแผนการก่อสร้างและเชื่อมโยงโครงข่าย "ทางรถไฟสายมหาเอเชียบูรพา" (大東亞縱貫鐵道) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การสร้างอาณาจักรวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา เพื่อการครองความเป็นใหญ่ของจักรวรรดิญี่ปุ่นในยุคสงครามโลกครั้งที่สองนั่นเองครับ

https://board.postjung.com/1178271


Last edited by Wisarut on 27/02/2023 11:23 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
Page 7 of 10

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©