RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311914
ทั่วไป:13579028
ทั้งหมด:13890942
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 365, 366, 367 ... 486, 487, 488  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2020 5:08 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อุดรธานีเดินหน้า 'นิคมฯกรีน' รฟท.จับเข่า-ปักหมุดจุดเชื่อมราง
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2563


เนื้อข่าวมาแล้วครับ:
อุดรธานีเดินหน้า‘นิคมฯกรีน’รฟท.จับเข่า-ปักหมุดจุดเชื่อมราง
หน้าธุรกิจ / ภูมิภาค
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 12:50 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 24
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,564
วันที่ 9 - 11 เมษายน 2563

รฟท.จับเข่าคุยผู้บริหารนิคมฯกรีน ภาคเอกชนและตัวแทนจังหวัด อุดรฯ ปักหมุดจุดเชื่อมต่อรางไปสถานีหนองตะไก้ ตามที่เอกชนร้องขอ หอการค้าอุดรฯ ขอทำโลคัลโรด 11 กิโลเมตรถึงตัวเมืองด้วย ชี้ต้องเร่งลงทุนฟื้นเศรษฐกิจ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2020 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
กรมควบคุมโรคผนึกรพ.รถไฟ ลงสแกนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่โรงงานมักกะสัน
ไทยโพสต์ 08 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 12:02 น.
https://www.youtube.com/watch?v=7_ZxXB3FKfM

ด่วน! พนักงานโรงซ่อมรถไฟ 67 รายเข้าข่ายกักตัว
เศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย
08 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:13:54


รมว.คมนาคมแจงรถไฟหยุดวิ่งไม่ได้ ขอมีสติเรียนรู้โควิด
ศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563 เวลา 11.14 น.
“ศักดิ์สยาม”ลงพื้นที่โรงงานมักกะสัน หลังพบพนักงานติดเชื้อโควิด ลั่นรถไฟเปรียบเป็นเส้นเลือดใหญ่ของการคมนาคมหยุดไม่ได้ เตือนทุกคนมีสติ เรียนรู้ ปฏิบัติตามที่หมอแนะนำ



เมื่อวันที่ 10 เม.ย. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.กระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่โรงงานมักกะสัน ฝ่ายช่างกล เพื่อตรวจเยี่ยมพนักงาน และ ลูกจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ โรงงานมักกะสัน ฝ่ายช่างกล โดยนายศักดื์สยาม กล่าวว่า ที่ตนมาดูเป็นโรงซ่อมการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 100 กว่าปีแล้ว ที่มาเยี่ยมเพราะได้รับทราบข้อมูลจากฝ่ายบริหารว่ามีพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงนี้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรคได้เข้ามาดูแลนำผู้ที่ติดเชื้อไปเข้ารับการรักษาพยาบาล และมีการคัดกรอง สอบสวนเกี่ยวกับการติดเชื้อของโรค และจะต้องมีผู้ที่จะไปกักตัวเฝ้าดูอาการด้วย สิ่งเหล่านี้ทางกรมควบคุมโรคได้ดำเนินการตามมาตรการโดยเคร่งครัด และประสานกับการรถไฟในการฉีดยาฆ่าเชื้อ 2 รอบ



รมว.คมนาคม กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 นายกรัฐมนตรี และนายอนุทิน ชาญวีรกุล รมว.สาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เมื่อทราบข่าวก็กำชับให้มาดูแลเพื่อให้สามารถกลับสู่สถานการณ์ปกติได้ ตนมาที่นี้อยากจะมาดูและให้กำลังใจพี่น้องการรถไฟที่โรงซ่อมแห่งนี้

สิ่งที่เห็นพี่น้องมีกำลังใจเข้มแข็ง ยังได้ยินเสียงการทำงาน การซ่อมรถไฟ คิดว่าสิ่งเหล่านี้ถ้าช่วยกันในการปฏิบัตืตามคำแนะนำ หลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค แนะนำเราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน และสาธารณสุขได้จัดอุปกรณ์ที่จะใช้ในการป้องกัน การแพร่ระบาด ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย แจลล้านมือ มาให้กับพนักงานโรงซ่อมการรถไฟ และสามารถนำไปมอบให้กับญาติพี่น้องของพนักงานการรถไฟที่อยู่ในบริเวณโรงซ่อมฯ



เมื่อถามว่า กังวลหรือกลัวการแพร่ระบาดไวรัสโควิดที่เกิดขึ้นในขณะนี้หรือไม่ และมีมาตรการป้องกันอย่างไร รมว.คมนาคม กล่าวว่า เมื่อเกิดปัญหาใดขึ้นขอให้มีสติ เรียนรู้ ปฏิบัติตามที่ หมอ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ รมว.สาธารณสุข ให้คำแนะนำคิดว่าไม่มีเรื่องอะไรที่เราต้องวิตกกังวล

ตนเชื่อว่า ถ้าเรารู้ว่าติดเชื้อแล้วไปหาหมอ ทำร่างกายให้แข็งแรง เราน่าจะผ่านเรื่องนี้ไปได้ ถามว่าวิตกกังวลกับเรื่องนี้หรือไม่ วิตกกังวล คือ กลัว ในเรื่องของการที่เราไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในเรื่องของการทำตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติไว้ ถ้าทำตามอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง โอกาสการติดเชื้อลดลง

ถ้าติดจริง ๆ ไปหาหมอโอกาสรอด ดูจากสถิติน่าจะดีที่สุดในโลก เมื่อจบสถานการณ์อาจจะเป็นอันดับ 1 ของโลกในการดูแลรักษาก็ได้ แต่จะสำเร็จหรือไม่ทุกคนต้องร่วมมือกัน อย่ากังวลต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย 



ต่อข้อถามว่า การรถไฟได้ตั้งรับสถานการณ์โควิดอย่างไร นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า จัดขบวนรถไฟเท่าที่จำเป็น เพราะการที่เราเคลื่อนที่น้อยที่สุด เคลื่อนย้ายคนน้อยที่สุด จะลดการแพร่ระบาด ยกเว้นพี่น้องประชสชนที่ต้องเดินทางด้วยความจำเป็น ตรงนี้การรถไฟได้มีการวิเคาาะห์อยู่แล้ว ว่าจะจัดขบวนขนาดไหน ถามว่าเราจะหยุดได้หรือไม่ หยุดไม่ได้ เพราะการรถไฟเป็นเส้นเลือดใหญ๋ในการเดินทางของประเทศไทย แต่จะทำอย่างไร

ตนได้เรียนแล้วว่า สถานการณ์แบบนี้ทุกคนต้องเข้าใจและรู้จักวิธีการที่จะอยู่ รู้จักวิธีการที่จะต้องอำนวยความสะดวกของตัวเองลง  ถ้าพวกเรารักษาวินัยในเรื่องเหล่านี้ พบว่าตัวเองอาจจะมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง จะเป็นหรือไม่เป็นต้องรีบไปหาหมอ สิ่งเหล่านี้จะดีขึ้น 



วันนี้สถานการณ์อย่างนี้กระทบหมด ไม่ใช่เฉพาะการรถไฟอย่างเดียว กระทรวงคมนาคม หรือกระทรวงต่าง ๆ กระทบหมดในการดำรงชีวิต ต้องเข้าใจว่าสุขภาพต้องมาก่อน ถ้าเราไม่มีสุขภาพที่ตีให้ทำะไรก็ตาม สุดท้ายเราก็ไม่ได้ใช้ หลังสถานการณ์นี้จบลง

ผมเชื่อว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานนโยบาย การจัดทำโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับการรถไฟ จะส่งผลให้การบริการที่ดีขึ้นกับพี่น้องประชาชนไม่ว่า เรื่องรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง ทุกอย่างดำเนินการอยู่อย่างเป็นระบบ สิ่งเหล่านี้ประชาชนทุกคนต้องมีกำลังใจและมีระเบียบวินัยในการที่จะต่อสู้โควิด 19 ไปด้วยกัน

ส่งที่อยากจะฝากให้พนักงานการรถไฟก็คือ การดูเรื่องความสะอาด สถานที่ต่างๆ ขบวนรการต่าง ๆ จัดระยะห่าง การนั่ง การยืน พนักงานการรถไฟต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับโควิด-19 เรื่องการบริการอย่าทำอะไรในเรื่องของความเสี่ยง เรื่องที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ เชื่อว่าการรถไฟมีพื้นที่การดูแลทั้งประเทศ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ เราจะผ่านไปด้วยกันอย่างเชื่อมั่น เราจะรอดจากเรื่องนี้ไปด้วยกัน ผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

“ศักดิ์สยาม” ยันพร้อมดูแลพนักงานรถไฟหลัง “ช่างซ่อมมักกะสัน” ติดโควิด-19
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 10 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 15:11
ปรับปรุง: 10 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 15:36

“ศักดิ์สยาม” ลงพื้นที่โรงงานมักกะสัน ให้กำลังใจพนักงาน ร.ฟ.ท.หลังพบติดเชื้อโควิด-19 ขณะที่มีผู้ใกล้ชิดเสี่ยงสูง อีก 24 ราย ส่งตรวจรอผลวันนี้ เผยอย่าตื่นตระหนกและไม่ประมาท ยันไม่หยุดบริการ พร้อมเดินหน้าฟื้นฟูและก่อสร้างรถไฟทางคู่ตามแผน

วันนี้ (10 เม.ย.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงพื้นที่โรงงานมักกะสันเพื่อตรวจเยี่ยมให้กำลังใจพนักงานและลูกจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หลังจากที่พบมีพนักงานในโรงงานมักกะสันติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 1 คน พร้อมจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น แจกหน้ากากอนามัย 2,500 ชิ้น และเจลแอลกอฮอล์ขวดเล็ก 2,500 ขวด และขวดใหญ่ 100 ขวด ที่ได้รับมอบจากกระทรวงสาธารณสุข ให้แก่พนักงาน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รัฐบาล กระทรวงคมนาคม และผู้บริหารร.ฟ.ท.ห่วงใยสุขภาพของพนักงาน ร.ฟ.ท.ทุกคนที่ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บริการประชาชน และพร้อมให้ความช่วยเหลือ ซึ่งพนักงานในโรงงานมักกะสันมีไม่น้อยกว่า 800 คน และยังมีครอบครัวที่พักอาศัยในพื้นที่ด้วย ซึ่งกรณีที่มีพนักงานในโรงงานมักกะสันติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 1 คนนั้น และขอให้อย่าตื่นตระหนก และให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ทำตามข้อแนะนำของกรมควบคุมโรคติดต่อ และกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดและไม่ประมาท

ทั้งนี้ รถไฟเป็นบริการขนส่งที่สำคัญ เป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ และแม้จะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่การเดินรถไม่สามารถหยุดได้ จึงมีการจัดเดินรถเท่าที่จำเป็น เพื่อให้บริการสำหรับประชาชนที่มีความจำเป็นเดินทาง ซึ่งยังมีประมาณ 1,500-2,000 คนต่อวัน

“ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ใช้วิกฤตจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคฯ เป็นโอกาสทองจากการหยุดเดินขบวนรถ เพื่อทำการซ่อมแซม และปรับปรุงขบวนรถที่ชำรุดให้สามารถกลับมาให้บริการประชาชนได้สมบูรณ์อีกครั้ง”

อย่างไรก็ตาม ให้เน้นการดำเนินการด้านการคัดกรอง COVID-19 การใช้บริการระบบขนส่ง 7 ขั้นตอน คือ 1) คัดกรองประชาชน ผู้ปฏิบัติงาน ผู้โดยสาร ก่อนเข้าอาคารที่พักผู้โดยสาร 2) คัดกรองผู้โดยสารก่อนเข้าไปในยานพาหนะ 3) คัดกรองผู้โดยสาร ผู้ปฏิบัติงาน ก่อนออกจากอาคารที่พักผู้โดยสาร 4) เมื่อพบผู้มีอาการป่วย ดำเนินการตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 5) เว้นระยะห่างในจุดจำหน่ายตั๋ว จัดที่นั่งบนยานพาหนะ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 6) แนะนำผู้โดยสารสวมหน้ากากอนามัย และแว่นตาตลอดการเดินทาง และ 7) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลให้กระทรวงคมนาคมทราบทุกวัน

นายศักดิ์สยามกล่าวต่อว่า ร.ฟ.ท.จะต้องมีความพร้อมที่จะกลับมาให้บริการเต็มรูปแบบภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ยุติ ซึ่งขณะนี้นโยบายในการฟื้นฟูกิจการรถไฟ การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง และการปรับปรุงประสิทธิภาพอื่นๆ ยังคงดำเนินการต่อไปอย่างเป็นระบบ ขอให้พนักงานร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

นายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า หลังจากพบพนักงานรถไฟติดโควิด-19 ซึ่งเป็นพนักงานตำแหน่งช่างฝีมือ สังกัดส่วนซ่อมบำรุงรถดีเซลรางปรับอากาศส่วนล่าง โรงงานมักกะสัน ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานเขตราชเทวี โรงพยาบาลหัวเฉียว และโรงพยาบาลจุฬาฯ มีการ สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วย เพื่อสืบย้อนหลังกลับไปหาผู้ใกล้ชิด กลุ่มเสี่ยง และมีการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรค ภายในโรงงานมักกะสัน และบ้านพักพนักงานทั้งหมดที่มี 651 ครัวเรือน

จากการคัดกรองผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 49 ราย มีผู้มีความเสี่ยงสูง 24 ราย (เป็นคนในบ้านพักรถไฟ 10 ราย พนักงานรถไฟ 14 ราย) และพบมีผู้เสี่ยงต่ำ 25 ราย (เป็นพนักงานรถไฟ) โดยได้เก็บตัวอย่างกลุ่มเสี่ยงสูง 24 รายส่งตรวจแล้ว และจะทยอยทราบผลเบื้องต้นบางรายภายในวันนี้ (10 เม.ย.)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 12/04/2020 1:43 am    Post subject: Reply with quote

พบหมอด่วน! ผู้โดยสารรถไฟท้องถิ่น “ตันหยงมัส” ร่วมโบกี้ชายติด “โควิด-19”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 11 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 11:10
ปรับปรุง: 12 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 11:40




การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า กรณีที่มีข่าวว่าสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสพบมีชายไทยอายุ 57 ปี เป็นผู้ป่วย COVID-19 รายที่ 22 ของจังหวัดนราธิวาส จากการสอบประวัติการเดินทางพบว่าเดินทางเข้าประเทศไทยที่สนามบินเมื่อวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563 แล้วเดินทางต่อโดยขบวนรถด่วนสปรินเตอร์ (กรุงเทพฯ-ยะลา) วันที่ 21 มีนาคม 2563 และเดินทางต่อโดยขบวนรถธรรมดาเที่ยวนครศรีธรรมราช-ตันหยงมัส นั้น

การรถไฟฯ ได้ทำการสอบทานข้อมูลกับสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบสวนการเดินทางที่ถูกต้องของผู้ป่วยได้ดังนี้

1. ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 57 ปี มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนราธิวาส
2. ผู้ป่วยเดินทางโดยขบวนรถเร็วที่ 171 (กรุงเทพฯ-สุไหงโก-ลก) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563
จากสถานีกรุงเทพ ปลายทางสถานียะลา เป็นรถนอนชั้นที่ 2 นอนปรับอากาศ คันที่ 16 ถึงสถานียะลา
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2563 แล้วเดินทางต่อโดยขบวนรถโดยสารท้องถิ่นที่ 451 (นครศรีธรรมราช-สุไหงโก-ลก) วันเดียวกัน จากสถานียะลา-ตันหยงมัส

การรถไฟฯ ได้ส่งรายชื่อผู้โดยสารที่ร่วมเดินทางในขบวนรถเร็วที่ 171 (กรุงเทพฯ-สุไหงโก-ลก) ในวันดังกล่าวให้สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ เนื่องจากการโดยสารของผู้ป่วยกับขบวนรถโดยสารท้องถิ่นที่ 451 (นครศรีธรรมราชฯ-สุไหงโก-ลก) เป็นขบวนรถที่ไม่มีการสำรองที่ จึงไม่มีรายชื่อผู้โดยสารให้สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพื่อตรวจสอบ

สำหรับการทำความสะอาดตู้โดยสารดังกล่าว การรถไฟฯ ได้สั่งให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ ขบวนรถโดยสารในเส้นทางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การรถไฟฯ ได้งดการให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563 ทั้งขบวนรถเร็วที่ 171 และขบวนรถโดยสารท้องถิ่นที่ 451

การรถไฟฯ จึงขอให้ประชาชนที่เดินทางร่วมในขบวนรถเร็วที่ 171 (กรุงเทพฯ-สุไหงโก-ลก) ในวันที่ 21 มีนาคม 2563 และขบวนรถท้องถิ่นที่ 451 ระหว่างสถานียะลา-ตันหยงมัส ในวันที่ 22 มีนาคม 2563 เข้ารับการตรวจสอบตามขั้นตอนที่สาธารณสุขจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง

สำหรับมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น การรถไฟฯ ได้มีการคัดกรองการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนใช้บริการที่สถานีรถไฟทุกครั้ง หากพบอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ขอให้ผู้โดยสารหลีกเลี่ยงการเดินทาง หากจําเป็นต้องเดินทางขอให้มีใบรับรองแพทย์แสดง และกรอกแบบประเมินและรับรองตนเองเพื่อคัดกรองและยืนยันตนก่อนการเดินทาง และมาตรการ Social Distancing กับขบวนรถ เพื่อให้มีระยะห่างที่ปลอดภัยต่อการแพร่กระจายเชื้อในขบวนรถไฟ

นอกจากนี้ ได้ขอความร่วมมือในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ เช่น ผู้ใช้บริการที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโรคประจําตัว และกลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา ควรงดการเดินทาง เว้นแต่บุคคลกลุ่มดังกล่าวมีความจําเป็นตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563

ผู้โดยสารร่วมขบวนกรุงเทพ-สุไหงโก-ลกตรวจสอบด่วน
หน้า เศรษฐกิจมหภาค - EEC
11 เมษายน พ.ศ. 2563 เวลา 13:37 น.

ร.ฟ.ท.ชี้แจงกรณี ผู้ป่วย COVID – 19 รายที่ 22 ของจังหวัดนราธิวาส พบประวัติเดินทางโดยรถไฟแจ้งประชาชนที่เดินทางร่วมมากับขบวนรถดังกล่าว ขอให้ตรวจสอบตามขั้นตอนกับสาธารณสุขจังหวัด ตามที่สื่อมวลชนได้เสนอข่าว กรณีสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสพบว่ามีชายไทยอายุ 57 ปี เป็นผู้ป่วย COVID-19 รายที่ 22 ของจังหวัดนราธิวาส จากการสอบประวัติการเดินทางพบว่า เดินทางเข้าประเทศไทยที่สนามบิน เมื่อวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563 แล้วเดินทางต่อโดยขบวนรถด่วนสปรินเตอร์ (กรุงเทพ – ยะลา) วันที่ 21 มีนาคม 2563 และเดินทางต่อโดยขบวนรถธรรมดาเที่ยวนครศรีธรรมราช – ตันหยงมัส นั้น รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ได้ทำการสอบถามข้อมูลกับสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบสวนการเดินทางที่ถูกต้องของผู้ป่วยได้ดังนี้1. ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 57 ปี มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนราธิวาส2. ผู้ป่วยเดินทางโดยขบวนรถเร็วที่ 171 (กรุงเทพ – สุไหงโก-ลก) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563จากสถานีกรุงเทพ ปลายทางสถานียะลา เป็นรถนอนชั้นที่ 2 นอนปรับอากาศ คันที่ 16 ถึงสถานียะลาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2563 แล้วเดินทางต่อโดยขบวนรถโดยสารท้องถิ่นที่ 451 (นครศรีธรรมราช – สุไหงโกลก) วันเดียวกัน จากสถานียะลา – ตันหยงมัส สำหรับการดำเนินการของการรถไฟฯ1. ส่งรายชื่อผู้โดยสารที่ร่วมเดินทางในขบวนรถเร็วที่ 171 (กรุงเทพ – สุไหงโกลก) ในวันดังกล่าวให้สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป2. เนื่องจากการโดยสารของผู้ป่วยกับขบวนรถโดยสารท้องถิ่นที่ 451 (นครศรีธรรมราช – สุไหงโกลก) เป็นขบวนรถที่ไม่มีการสำรองที่ จึงไม่มีรายชื่อผู้โดยสารให้กับสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสเพื่อตรวจสอบ3. สำหรับการทำความสะอาดตู้โดยสารดังกล่าวการรถไฟฯ ได้สั่งให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื่อโรคตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ขบวนรถโดยสารในเส้นทางใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การรถไฟฯ ได้งดการให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563 ทั้งขบวนรถเร็วที่ 171 และขบวนรถโดยสารท้องถิ่นที่ 451 ทั้งนี้ร.ฟ.ท.จึงขอให้ประชาชนที่เดินทางร่วมในขบวนรถเร็วที่ 171 (กรุงเทพ – สุไหงโก-ลก) ในวันที่ 21 มีนาคม 2563 และขบวนรถท้องถิ่นที่ 451 ระหว่างสถานียะลา – ตันหยงมัส ในวันที่ 22 มีนาคม 2563 เข้ารับการตรวจสอบตามขั้นตอนที่สาธารณสุขจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม มาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น การรถไฟฯ ได้มีการคัดกรองการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนใช้บริการที่สถานีรถไฟทุกครั้ง หากพบอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ขอให้ผู้โดยสารหลีกเลี่ยงการเดินทาง หากจําเป็นต้องเดินทางขอให้มีใบรับรองแพทย์แสดง และกรอกแบบประเมินและรับรองตนเองเพื่อคัดกรองและยืนยันตนก่อนการเดินทาง และมาตรการ Social Distancing กับขบวนรถ เพื่อให้มีระยะห่างที่ปลอดภัยต่อการแพร่กระจายเชื้อในขบวนรถไฟ นอกจากนี้ ได้ข้อความร่วมมือในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ เช่น ผู้ใช้บริการที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโรคประจําตัว และกลุ่มเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา ควรงดการเดินทาง เว้นแต่บุคคลกลุ่มดังกล่าวมีความจําเป็นตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/04/2020 10:15 am    Post subject: Reply with quote

'ผู้ว่าฯ'สั่งประชาชนไปรับของแจก 'สถานีรถไฟยะลา'รายงานตัวด่วน!
พฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2563 เวลา 09.18 น.

ผู้ว่ายะลา สั่งกลุ่มประชาชนเบียดเสียดรับแจกข้าวสารที่‘สถานีรถไฟยะลา’รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นการด่วน เพื่อเข้ารับการคัดกรอง"โควิด-19"

เมื่อวันที่16 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา (ผวจ.ยะลา) ในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดยะลา ออกประกาศจังหวัดยะลา เรื่อง รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กรณีประชาชนเข้ารับสิ่งของบริเวณหน้าสถานีรถไฟยะลาในลักษณะแออัดเบียดเสียด” มีเนื้อหาระบุว่า

จากกรณีที่พนักงานสถานีรถไฟยะลาได้ระดมทุนซื้อข้าวสาร อาหารแห้ง และแจกจ่าย ให้แก่พี่น้องประชาชน เมื่อวันที่ 14  เมษายน 2563 ณ สถานีรถไฟยะลา เพื่อช่วยเหลือและบรรเทา ความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) จากการแจกจ่ายสิ่งของดังกล่าวมีประชาชนมารอรับสิ่งของที่จะแจกจ่าย เป็นจำนวนมากในลักษณะแออัดเบียดเสียดซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค

เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จึงขอให้ผู้ที่ไปร่วมรับสิ่งของดังกล่าว ไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยด่วน ประกาศ ณ วันที่ 15  เมษายน พ.ศ.2563 นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดยะลา... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/regional/769263
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/04/2020 11:59 am    Post subject: Reply with quote

เซ็นจ้าง “นิรุฒ มณีพันธ์” นั่งผู้ว่าฯรถไฟคนใหม่ เริ่มงาน24เม.ย. รื้อคดีโฮปเวลล์-เร่งฟื้นฟู-สู้โควิด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 16 เมษายน 2563 - 11:09 น.

วันนี้ 16 เมษายน 2563 เวลา 08.30 น. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดพิธีลงนามสัญญาว่าจ้าง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนใหม่ โดยมี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการรถไฟฯ เป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้าง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนที่ 29 อย่างเป็นทางการ

ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้นำเสนอ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 โดยกระทรวงการคลังได้เจรจาอัตราค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์อื่นๆ เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว




สำหรับนายนิรุฒ มณีพันธ์ จบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงเกียรตินิยมอันดับสอง, จบเนติบัณฑิตไทย, ปริญญาโท 2 ใบทางด้านกฎหมายจาก Howard University, Washington D.C. USA และ Temple University, Philadelphia USA อีกทั้งเป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ก่อนจะมาเป็นผู้ว่าการรถไฟฯ เคยดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ผู้บริหารสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย และเลขานุการธนาคารกรุงไทย และเคยเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย

และหลังจากลงนามในสัญญาว่าจ้างแล้ว และจะเข้ารับหน้าที่ในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 โดยมีภารกิจที่ต้องรีบดำเนินการตอนนี้ คือ การป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการและพนักงานของการรถไฟฯ ที่ต้องทำงานบนขบวนรถไฟและสถานี ซึ่งไม่สามารถใช้มาตรการทำงานจากที่บ้านได้

และลำดับต่อไปจะเข้าพบพนักงานรถไฟ และสหภาพรถไฟก่อน เพื่อทำความรู้จัก และรับฟังปัญหาอุปสรรคในการทำงาน โดยเป้าหมายที่สำคัญ คือ การเข้ามาดูแลปรับปรุงสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ที่พนักงาน รถไฟฯ ควรจะได้รับ



“ผมในฐานะที่เข้ามาทำหน้าที่ผู้ว่าการรถไฟฯ ต้องการให้พนักงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากพนักงานถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะผลักดันการรถไฟฯ ให้เดินหน้าต่อไปได้ และพนักงานยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการหารายได้และขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้บริการด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั่วประเทศอีกด้วย” นายนิรุฒกล่าวและว่า

ผมไม่ได้รู้สึกหนักใจกับปัญหาภาวะการขาดทุน เนื่องจากเป้าหมายในการทำงานก็ต้องการเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว โดยขอเวลาศึกษารายละเอียดของแผนฟื้นฟู และจะเข้ามาเริ่มงานในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 ทันที เพราะมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการมากมาย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอยู่ในตอนนี้

หลังจากทำพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้างเสร็จ นายจิรุตม์มอบนโยบายเกี่ยวกับคดีความของการรถไฟฯ ที่มีกับบริษัท โฮปเวลล์ ที่สำนักงานอาณาบาลของการรถไฟฯ ร่วมกับกระทรวงคมนาคม ดำเนินการอยู่ ซึ่งขอให้เร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อภาครัฐอันเนื่องมาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562

โดยมีการกำหนดแนวทางการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไว้เป็น 2 แนวทาง รวมทั้งการเร่งรัดดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการของ รฟท. ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่สำคัญ 6 ด้าน คือ

โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โครงการที่กำลังจะก่อสร้าง ด้านการจัดหารถจักรและล้อเลื่อน ด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินของการรถไฟฯ ด้านการบริหารจัดการองค์กรและด้านการพัฒนาระบบ IT ให้มีความสมบูรณ์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2020 4:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'ผู้ว่าฯ'สั่งประชาชนไปรับของแจก 'สถานีรถไฟยะลา'รายงานตัวด่วน!
พฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2563 เวลา 09.18 น.
https://www.dailynews.co.th/regional/769263


จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (15 เม.ย.) นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดยะลา ได้ออกประกาศด่วน ขอให้ประชาชนที่ไปรับของแจกที่สถานีรถไฟยะลาเข้ารายงานตัวเพื่อรับการตรวจคัดกรองไวรัสโควิด-19 ในสถานพยาบาลใกล้บ้านด่วนที่สุดนั้น

นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ตนได้สอบถามข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวไปยังนายสถานีรถไฟยะลา ซึ่งก็ได้รับคำชี้แจงว่า เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ประจำสถานียะลาได้รวมตัวกันทำกิจกรรมจิตอาสา ระดมเงินซื้อสิ่งของมาบริจาคให้แก่ประชาชนบริเวณหน้าสถานีรถไฟ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พนักงานจัดขึ้นเป็นการส่วนตัว ไม่ใช่กิจกรรมขององค์กร

ในวันดังกล่าวพบว่า มีประชาชนจำนวนมาก มายืนรอรับสิ่งของในลักษณะแออัดยัดเยียด โดยไม่มีการจัดระเบียบเรื่องการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และจัดทำขั้นตอนการคัดกรองโควิด-19 ตามที่ทางการกำหนด ทั้งๆ ที่ยะลาเป็นจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ทำให้ทางจังหวัดประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงในการแพร่ระบาดของโควิด-19

ดังนั้น จึงได้สั่งการให้สารวัตรเดินรถแขวงหาดใหญ่ ซึ่งดูแลรับผิดชอบสถานียะลา ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงด่วนต่อนายสถานียะลา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมดังกล่าว โดยจะต้องสอบว่า การที่นายสถานีและเจ้าหน้าที่รถไฟยะลาจัดกิจกรรมดังกล่าวมีการขออนุญาตใช้สถานที่ถูกต้องตามขั้นตอนหรือไม่ และการดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือไม่ หากพบว่ามีความผิดจะต้องดำเนินการลงโทษต่อไป

“ผมเข้าใจว่าพนักงานทุกคนอยากทำดี ใจบุญ ได้ร่วมกันบริจาคเงินมาซื้อของแจกของให้ประชาชนผู้ที่เดือดร้อน แต่การทำกิจกรรมจะต้องมีการขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนว่าจะใช้สถานที่ กรณีนี้ไม่แน่ใจว่าขออนุญาตใช้พื้นที่สถานีหรือไม่ ที่สำคัญเป็นกิจกรรมที่ทำกันแบบส่วนตัวด้วย ทำกันเอง และไม่มีระบบป้องกันการแพร่ระบาดโรคด้วย ทำให้ประชาชนที่เข้ามารอรับแจกของยืนรอคิวแออัดยัดเยียดมากๆ เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อมาก คาดว่าภายใน 1 สัปดาห์จะสรุปผลสอบข้อเท็จจริงได้” นายฐากูรกล่าว
https://www.thebangkokinsight.com/335593/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2020 5:37 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นจ้างผู้ว่ารถไฟฯ คนที่ 29 “นิรุฒ มณีพันธ์”
พฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2563

เซ็นจ้าง “นิรุฒ มณีพันธ์” นั่งผู้ว่าฯรถไฟคนใหม่ เริ่มงาน24เม.ย. รื้อคดีโฮปเวลล์-เร่งฟื้นฟู-สู้โควิด
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน 2563 เวลา 11:09 น.



วันนี้ 16 เมษายน 2563 เวลา 08.30 น. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดพิธีลงนามสัญญาว่าจ้าง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนใหม่ โดยมี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานกรรมการรถไฟฯ เป็นผู้ลงนามในสัญญาว่าจ้าง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คนที่ 29 อย่างเป็นทางการ

ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้นำเสนอ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 โดยกระทรวงการคลังได้เจรจาอัตราค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์อื่นๆ เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว




สำหรับนายนิรุฒ มณีพันธ์ จบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงเกียรตินิยมอันดับสอง, จบเนติบัณฑิตไทย, ปริญญาโท 2 ใบทางด้านกฎหมายจาก Howard University, Washington D.C. USA และ Temple University, Philadelphia USA อีกทั้งเป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ก่อนจะมาเป็นผู้ว่าการรถไฟฯ เคยดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ผู้บริหารสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย และเลขานุการธนาคารกรุงไทย และเคยเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย

และหลังจากลงนามในสัญญาว่าจ้างแล้ว และจะเข้ารับหน้าที่ในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 โดยมีภารกิจที่ต้องรีบดำเนินการตอนนี้ คือ การป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการและพนักงานของการรถไฟฯ ที่ต้องทำงานบนขบวนรถไฟและสถานี ซึ่งไม่สามารถใช้มาตรการทำงานจากที่บ้านได้

และลำดับต่อไปจะเข้าพบพนักงานรถไฟ และสหภาพรถไฟก่อน เพื่อทำความรู้จัก และรับฟังปัญหาอุปสรรคในการทำงาน โดยเป้าหมายที่สำคัญ คือ การเข้ามาดูแลปรับปรุงสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ที่พนักงาน รถไฟฯ ควรจะได้รับ



“ผมในฐานะที่เข้ามาทำหน้าที่ผู้ว่าการรถไฟฯ ต้องการให้พนักงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากพนักงานถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะผลักดันการรถไฟฯ ให้เดินหน้าต่อไปได้ และพนักงานยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการหารายได้และขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้บริการด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั่วประเทศอีกด้วย” นายนิรุฒกล่าวและว่า

ผมไม่ได้รู้สึกหนักใจกับปัญหาภาวะการขาดทุน เนื่องจากเป้าหมายในการทำงานก็ต้องการเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว โดยขอเวลาศึกษารายละเอียดของแผนฟื้นฟู และจะเข้ามาเริ่มงานในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 ทันที เพราะมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการมากมาย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอยู่ในตอนนี้

หลังจากทำพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้างเสร็จ นายจิรุตม์มอบนโยบายเกี่ยวกับคดีความของการรถไฟฯ ที่มีกับบริษัท โฮปเวลล์ ที่สำนักงานอาณาบาลของการรถไฟฯ ร่วมกับกระทรวงคมนาคม ดำเนินการอยู่ ซึ่งขอให้เร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อภาครัฐอันเนื่องมาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562

โดยมีการกำหนดแนวทางการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไว้เป็น 2 แนวทาง รวมทั้งการเร่งรัดดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการของ รฟท. ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่สำคัญ 6 ด้าน คือ

โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
โครงการที่กำลังจะก่อสร้าง
ด้านการจัดหารถจักรและล้อเลื่อน
ด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินของการรถไฟฯ
ด้านการบริหารจัดการองค์กรและ
ด้านการพัฒนาระบบ IT ให้มีความสมบูรณ์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43729
Location: NECTEC

PostPosted: 21/04/2020 1:15 am    Post subject: Reply with quote

ประกวดราคาจ้างติดตั้ง Automatic Train Protection ETCS level 1 Trainborne Equipment – Supply and installation พร้อมชุดอะไหล่สำหรับติดตั้งบนรถจักรดีเซลไฟฟ้า จำนวน ๕๗ ชุด ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
วงเงินงบประมาณ/ราคากลาง : 491,853,000.00 บาท
http://procurement.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=631271433
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/04/2020 7:27 pm    Post subject: Reply with quote

“นิรุฒ มณีพันธ์” จากนายแบงก์นั่งผู้ว่าการรถไฟ รื้อโครงสร้างคน-ที่ดิน-หนี้ 2 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 21 เมษายน 2563 - 10:10 น.

Click on the image for full size

หลังไร้ตัวจริงมารันงานกว่า 2 ปี ในที่สุดคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย มี “จิรุตม์ วิศาลจิตร” อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นั่งเป็นประธาน ได้จดปากกาเซ็นสัญญาจ้าง “นิรุฒ มณีพันธ์” มือกฎหมายและอดีตนายแบงก์ เป็นผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยคนที่ 29 อย่างเป็นทางการด้วยเงินเดือน 390,000 บาท เมื่อวันที่ 16 เม.ย. พร้อมเริ่มงาน 24 เม.ย.นี้

นับเป็นคนนอกคนที่ 3 ต่อจาก “ประภัสร์ จงสงวน” และ “วุฒิชาติ กัลยาณมิตร” ที่ข้ามห้วยมาบริหารรัฐวิสาหกิจเก่าแก่ 123 ปี ที่มีหนี้ติดตัวเพิ่มขึ้นตามอายุจนใกล้แตะ 2 แสนล้านบาท

พลันที่ชื่อ “นิรุฒ” ผงาดนั่งเป็นใหญ่ มีเสียงกังขาจะสามารถพลิกฟื้น “ร.ฟ.ท.” ให้พ้นจากสภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวได้มากน้อยสักแค่ไหน ท่ามกลางการเมืองต่างขั้วในรัฐบาลและความแตกแยกภายในองค์กรด้วยกันเอง

สำหรับ “นิรุฒ” มีดีกรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เกียรตินิยมอันดับสอง จบเนติบัณฑิตไทย คว้าปริญญาโท 2 ใบทางด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Temple University เป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Click on the image for full size

ก่อนจะผงาดเป็นผู้ว่าการการรถไฟฯ เคยดำรงตำแหน่งรองเอ็มดีสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย และเลขานุการธนาคารกรุงไทย และรองเอ็มดีสายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บมจ.การบินไทย

“นิรุฒ” กล่าวว่า พร้อมเริ่มงานวันที่ 24 เม.ย.นี้ เพราะมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการอีกมาก โดยเฉพาะการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการและพนักงานของ ร.ฟ.ท.ที่ต้องทำงานบนขบวนรถไฟและสถานี เพราะไม่สามารถทำงานที่บ้านได้

จากนั้นจะเดินสายพบพนักงานและสหภาพรถไฟ เพื่อทำความรู้จัก รับฟังปัญหาอุปสรรคในการทำงาน โดยเฉพาะการดูแลปรับปรุงสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ที่พนักงานควรจะได้รับ

“ผมเข้ามาเป็นผู้ว่าการการรถไฟฯ ต้องการให้พนักงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะพนักงานถือเป็นหัวใจสำคัญจะผลักดันการรถไฟฯให้เดินหน้าต่อไปได้ และยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการหารายได้ ขับเคลื่อนองค์กร ให้บริการด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั่วประเทศอีกด้วย”

“นิรุฒ” ย้ำเสียงหนักแน่น “ผมไม่ได้รู้สึกหนักใจกับปัญหาภาวะการขาดทุน เพราะเป้าหมายการทำงานต้องการเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว โดยขอเวลาศึกษารายละเอียดของแผนฟื้นฟู”

ขณะที่ประธานบอร์ดการรถไฟฯได้มอบนโยบายให้ผู้ว่าการป้ายแดง เร่งสางคดีโฮปเวลล์ ที่สำนักงานอาณาบาล ร.ฟ.ท. ร่วมกับกระทรวงคมนาคมดำเนินการอยู่ โดยให้เร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อภาครัฐ อันเนื่องมาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2562 กำหนดแนวทางการชำระหนี้ตามคำพิพากษา 2 แนวทาง

รวมทั้งการเร่งรัดดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการของ ร.ฟ.ท. ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางทั้งโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างกำลังจะก่อสร้าง จัดหารถจักรและล้อเลื่อน บริหารจัดการทรัพย์สิน บริหารจัดการองค์กรและพัฒนาระบบไอทีให้มีความสมบูรณ์

การที่ “บอร์ด” เร่งฟื้นฟูรถไฟให้เป็นไปตามแผน เพราะถ้าไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะทำให้หนี้ที่ปัจจุบันมียอดสะสมกว่า 1.4 แสนล้านบาท พุ่งทะยานไปถึง 1.9 แสนล้านบาท ถ้าหากยังบริหารสไตล์เดิม ไม่ลุกขึ้นมา “เปิด-ปรับ-เปลี่ยน” ปฏิวัติภาพลักษณ์องค์กรโอกาสที่รถไฟไทยจะเป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียน ในปี 2570 คงเป็นได้แค่ฝัน

ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีภารกิจด้านงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากการที่ “รัฐบาล” โหมลงทุนระบบรางเพื่อขับเคลื่อนการลงทุน เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟสแรกกว่า 1 แสนล้านบาท

ยังเหลืองานก่อสร้าง 5 เส้นทาง จะทยอยเสร็จ 2564-2565 ซึ่งเป็นงานเฉพาะหน้าผู้ว่าการการรถไฟฯคนใหม่ ต้องสปีดการใช้งบฯลงทุนที่ “รัฐบาลประยุทธ์” อัดให้เต็มสตรีมให้เป็นไปตามแผนงาน ให้เงินหมุนเข้าระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว ควบคู่กับการเสริมกำลังคนให้เข้าไปรองรับงานที่เพิ่มพูนขึ้น

อีกภารกิจสำคัญ สางปัญหาเก่าที่ค้างคาให้จบโดยเร็ว ไม่ว่าการเคลียร์พื้นที่วางตอม่อ “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ที่กลุ่ม ซี.พี.ทุ่มเงินสร้างกว่า 2 แสนล้าน รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-โคราช ยังติดรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้เดินหน้าเซ็นสัญญาครบตลอดสาย

เร่งอัดฉีดเงินอีกกว่า 1.1 หมื่นล้าน ปิดจ็อบงานก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” เปิดให้บริการในเดือน ม.ค. 2564 ได้ตามเป้า

ขณะที่งานใหม่รอกดปุ่มประมูลปีนี้ มีสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ได้แก่ รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202.18 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6,645.03 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง รวมระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

รถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 9 เส้นทาง วงเงิน 415,646.9 ล้านบาท ได้แก่ ปากน้ำโพ-เด่นชัย 59,399.8 ล้านบาท เด่นชัย-เชียงใหม่ 54,470.02 ล้านบาท ขอนแก่น-หนองคาย 25,842 ล้านบาท จิระ-อุบลราชธานี 36,683 ล้านบาท ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 23,080 ล้านบาท สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา 56,114.26 ล้านบาท หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 7,864.49 ล้านบาท บ้านไผ่-นครพนม 66,848.33 ล้านบาท และเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 85,345 ล้านบาท

การสร้างรายได้เพิ่มจากการพัฒนาที่ดินในกรุ 39,419 ไร่ มูลค่า 3 แสนล้าน ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งย่านสถานีกลางบางซื่อ 1,100 ไร่ สถานีแม่น้ำ 227 ไร่ โรงแรมหัวหิน 72 ไร่ หลังคิดและพูดกันมานานหลายปีดีดัก

เป็นภารกิจโหดหิน รอพิสูจน์ฝีมือผู้ว่าการการรถไฟฯคนที่ 29 กำลังจะเริ่มต้นนับจากนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46889
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/04/2020 7:28 pm    Post subject: Reply with quote

“นิรุฒ มณีพันธ์” จากนายแบงก์นั่งผู้ว่าการรถไฟ รื้อโครงสร้างคน-ที่ดิน-หนี้ 2 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 21 เมษายน 2563 - 10:10 น.

Click on the image for full size

หลังไร้ตัวจริงมารันงานกว่า 2 ปี ในที่สุดคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย มี “จิรุตม์ วิศาลจิตร” อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นั่งเป็นประธาน ได้จดปากกาเซ็นสัญญาจ้าง “นิรุฒ มณีพันธ์” มือกฎหมายและอดีตนายแบงก์ เป็นผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยคนที่ 29 อย่างเป็นทางการด้วยเงินเดือน 390,000 บาท เมื่อวันที่ 16 เม.ย. พร้อมเริ่มงาน 24 เม.ย.นี้

นับเป็นคนนอกคนที่ 3 ต่อจาก “ประภัสร์ จงสงวน” และ “วุฒิชาติ กัลยาณมิตร” ที่ข้ามห้วยมาบริหารรัฐวิสาหกิจเก่าแก่ 123 ปี ที่มีหนี้ติดตัวเพิ่มขึ้นตามอายุจนใกล้แตะ 2 แสนล้านบาท

พลันที่ชื่อ “นิรุฒ” ผงาดนั่งเป็นใหญ่ มีเสียงกังขาจะสามารถพลิกฟื้น “ร.ฟ.ท.” ให้พ้นจากสภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวได้มากน้อยสักแค่ไหน ท่ามกลางการเมืองต่างขั้วในรัฐบาลและความแตกแยกภายในองค์กรด้วยกันเอง

สำหรับ “นิรุฒ” มีดีกรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เกียรตินิยมอันดับสอง จบเนติบัณฑิตไทย คว้าปริญญาโท 2 ใบทางด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Temple University เป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Click on the image for full size

ก่อนจะผงาดเป็นผู้ว่าการการรถไฟฯ เคยดำรงตำแหน่งรองเอ็มดีสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย และเลขานุการธนาคารกรุงไทย และรองเอ็มดีสายทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บมจ.การบินไทย

“นิรุฒ” กล่าวว่า พร้อมเริ่มงานวันที่ 24 เม.ย.นี้ เพราะมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการอีกมาก โดยเฉพาะการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการและพนักงานของ ร.ฟ.ท.ที่ต้องทำงานบนขบวนรถไฟและสถานี เพราะไม่สามารถทำงานที่บ้านได้

จากนั้นจะเดินสายพบพนักงานและสหภาพรถไฟ เพื่อทำความรู้จัก รับฟังปัญหาอุปสรรคในการทำงาน โดยเฉพาะการดูแลปรับปรุงสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ที่พนักงานควรจะได้รับ

“ผมเข้ามาเป็นผู้ว่าการการรถไฟฯ ต้องการให้พนักงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะพนักงานถือเป็นหัวใจสำคัญจะผลักดันการรถไฟฯให้เดินหน้าต่อไปได้ และยังเป็นฟันเฟืองสำคัญในการหารายได้ ขับเคลื่อนองค์กร ให้บริการด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั่วประเทศอีกด้วย”

“นิรุฒ” ย้ำเสียงหนักแน่น “ผมไม่ได้รู้สึกหนักใจกับปัญหาภาวะการขาดทุน เพราะเป้าหมายการทำงานต้องการเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว โดยขอเวลาศึกษารายละเอียดของแผนฟื้นฟู”

ขณะที่ประธานบอร์ดการรถไฟฯได้มอบนโยบายให้ผู้ว่าการป้ายแดง เร่งสางคดีโฮปเวลล์ ที่สำนักงานอาณาบาล ร.ฟ.ท. ร่วมกับกระทรวงคมนาคมดำเนินการอยู่ โดยให้เร่งดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อภาครัฐ อันเนื่องมาจากคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2562 กำหนดแนวทางการชำระหนี้ตามคำพิพากษา 2 แนวทาง

รวมทั้งการเร่งรัดดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการของ ร.ฟ.ท. ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางทั้งโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างกำลังจะก่อสร้าง จัดหารถจักรและล้อเลื่อน บริหารจัดการทรัพย์สิน บริหารจัดการองค์กรและพัฒนาระบบไอทีให้มีความสมบูรณ์

การที่ “บอร์ด” เร่งฟื้นฟูรถไฟให้เป็นไปตามแผน เพราะถ้าไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะทำให้หนี้ที่ปัจจุบันมียอดสะสมกว่า 1.4 แสนล้านบาท พุ่งทะยานไปถึง 1.9 แสนล้านบาท ถ้าหากยังบริหารสไตล์เดิม ไม่ลุกขึ้นมา “เปิด-ปรับ-เปลี่ยน” ปฏิวัติภาพลักษณ์องค์กรโอกาสที่รถไฟไทยจะเป็นผู้ให้บริการระบบรางของรัฐที่ดีที่สุดในอาเซียน ในปี 2570 คงเป็นได้แค่ฝัน

ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีภารกิจด้านงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากการที่ “รัฐบาล” โหมลงทุนระบบรางเพื่อขับเคลื่อนการลงทุน เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟสแรกกว่า 1 แสนล้านบาท

ยังเหลืองานก่อสร้าง 5 เส้นทาง จะทยอยเสร็จ 2564-2565 ซึ่งเป็นงานเฉพาะหน้าผู้ว่าการการรถไฟฯคนใหม่ ต้องสปีดการใช้งบฯลงทุนที่ “รัฐบาลประยุทธ์” อัดให้เต็มสตรีมให้เป็นไปตามแผนงาน ให้เงินหมุนเข้าระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว ควบคู่กับการเสริมกำลังคนให้เข้าไปรองรับงานที่เพิ่มพูนขึ้น

อีกภารกิจสำคัญ สางปัญหาเก่าที่ค้างคาให้จบโดยเร็ว ไม่ว่าการเคลียร์พื้นที่วางตอม่อ “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ที่กลุ่ม ซี.พี.ทุ่มเงินสร้างกว่า 2 แสนล้าน รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-โคราช ยังติดรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้เดินหน้าเซ็นสัญญาครบตลอดสาย

เร่งอัดฉีดเงินอีกกว่า 1.1 หมื่นล้าน ปิดจ็อบงานก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง “ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต” เปิดให้บริการในเดือน ม.ค. 2564 ได้ตามเป้า

ขณะที่งานใหม่รอกดปุ่มประมูลปีนี้ มีสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง ได้แก่ รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202.18 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 6,645.03 ล้านบาท สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง รวมระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

รถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 9 เส้นทาง วงเงิน 415,646.9 ล้านบาท ได้แก่ ปากน้ำโพ-เด่นชัย 59,399.8 ล้านบาท เด่นชัย-เชียงใหม่ 54,470.02 ล้านบาท ขอนแก่น-หนองคาย 25,842 ล้านบาท จิระ-อุบลราชธานี 36,683 ล้านบาท ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 23,080 ล้านบาท สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา 56,114.26 ล้านบาท หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 7,864.49 ล้านบาท บ้านไผ่-นครพนม 66,848.33 ล้านบาท และเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 85,345 ล้านบาท

การสร้างรายได้เพิ่มจากการพัฒนาที่ดินในกรุ 39,419 ไร่ มูลค่า 3 แสนล้าน ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้งย่านสถานีกลางบางซื่อ 1,100 ไร่ สถานีแม่น้ำ 227 ไร่ โรงแรมหัวหิน 72 ไร่ หลังคิดและพูดกันมานานหลายปีดีดัก

เป็นภารกิจโหดหิน รอพิสูจน์ฝีมือผู้ว่าการการรถไฟฯคนที่ 29 กำลังจะเริ่มต้นนับจากนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 365, 366, 367 ... 486, 487, 488  Next
Page 366 of 488

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©