View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 08/10/2020 7:50 am Post subject: |
|
|
คมนาคมแฮปปี้ขยี้1.5แสนล.
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563
เบิกจ่ายทะลุ80%กระตุ้นเศรษฐกิจ ศักดิ์สยามปลื้มเกินเป้าปี64ขอ90%
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 63 ของ 13 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม วงเงิน 1.97 แสนล้านบาทว่า ได้รับรายงานจากกองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนัก งานปลัดกระทรวงคมนาคมว่า ภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณปี 63 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเบิกจ่ายได้ 1.57 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณ 80.11% ถือ ว่าสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ 78.6% สาเหตุที่เบิกจ่ายได้สูงขึ้นเนื่องจากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะกรมทางหลวง(ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เบิกจ่ายงบฯ ได้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ทำให้ภาพรวมสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ถึง 1.22 แสนล้านบาท คิดเป็น 77.30% สูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 74%
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาการเบิกจ่ายงบประมาณย้อนหลังไป 10 ปีพบว่า ในปี 54-57 กระทรวงคมนาคมมีภาพรวมการเบิกจ่ายได้น้อยมากอยู่ที่ประมาณ 60% แต่ในปี 59-60 กระทรวงคมนาคม เบิกจ่ายงบประมาณได้สูงมากกว่า 90% เป็นอันดับ 2 ของประเทศ ส่วนปี 61-62 เบิกจ่ายได้ลดลงจากปี 59-60 โดยอยู่ที่ประมาณ 78% ขณะที่การเบิกจ่ายปี 63 อยู่ที่ประมาณ 78% ใกล้เคียงกับการเบิกจ่ายงบประมาณปี 62 ซึ่งอยู่ที่ 78.30% อย่างไรก็ตามตั้งเป้าว่าการเบิกจ่ายงบประมาณปี 64 จะต้องกลับมาเหมือนกับปี 59-60 โดยภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณของกระทรวงคมนาคมอยู่ที่กว่า 90%
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่าต้องขอบคุณทุกหน่วยงานที่ช่วยกันเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯ โดยมอบให้กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดฯ จัดทำตารางเปรียบเทียบการเบิกจ่ายงบฯ ปี 63 ของกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงอื่น ๆ ด้วย เพื่อจะได้ทราบว่าอยู่อันดับใดของประเทศทั้งนี้ไม่ได้เน้นว่ากระทรวงคมนาคมต้องชนะเลิศแต่เนื่องจากเราเป็นกระทรวงที่รับผิดชอบเรื่องการลงทุน หากกเบิกจ่ายงบฯ ได้จำนวนมากและทำได้ถึง 100% จะทำให้เม็ดเงินลงไปช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้มากขอให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณต่อไปแต่ต้องดำเนินการโดยยึดทั้งระเบียบกฎหมาย และธรรมาภิบาลเพราะหากทำไม่ถูกต้องก็ต้องถูกดำเนินคดี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการเบิกจ่ายงบปี 63 เป็นรายหน่วยงาน พบว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เบิกจ่ายได้ 100% ประมาณ 309 ล้านบาท, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 99.77% ประมาณ 1.25 หมื่นล้านบาท, สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) 94.72% ประมาณ 537 ล้านบาท, กรมการขนส่งทางราง (ขร.) 93.41% ประมาณ 61.5 ล้านบาท กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) 90% ประมาณ 3.1 พันล้านบาท สำนักงานปลัด 83.63% ประมาณ 468 ล้านบาท
กรมทางหลวงชนบท (ทช.) 82.9% ประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท, กรมเจ้าท่า (จท.) 81.1% ประมาณ 3.3 พันล้านบาท, กรมทางหลวง (ทล.) 78.63% ประมาณ 8.3 หมื่นล้านบาท, การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 77.76% ประมาณ 1.05 หมื่นล้านบาท, องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 75.13% ประมาณ 3.9 พันล้านบาท, สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เบิกจ่ายได้ 67.5% ประมาณ 202 ล้านบาท และกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เบิกจ่ายได้ 40.72% ประมาณ 2.1 พันล้านบาท. |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43734
Location: NECTEC
|
Posted: 08/10/2020 6:07 pm Post subject: |
|
|
แชร์สนั่นโซเชียล : วินาทีรอดชีวิตถูกรถไฟทับ
ห้องข่าวภาคเที่ยง
วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563
คลิปจากกล้องวงจรปิด บริเวณชานชาลา สังเกตที่คุณยายคนที่เราวงกลมสีแดงไว้กำลังเดินข้ามรางรถไฟ เพื่อจะมาอีกฝั่งหนึ่ง ประจวบเหมาะกับที่รถไฟกำลังจะเคลื่อนเข้าชานชาลาพอดิบพอดี ยายแกก็ก้มหน้าก้มตาเดินอยู่อย่างนั้นไม่รู้ว่าแกไม่เห็นรถไฟ ไม่ได้ยินเสียงวูดเตือน หรือเพราะรีบเร่งเดินให้ข้ามพ้นรางรถไฟก่อนที่รถไฟจะมาถึงกันแน่ นายสถานีที่ยืนอยู่จุดนั้นเผอิญเหลือบไปเห็นเข้าพอดีเลยรีบคว้าตัวยายเอาไว้แล้วก็พาเดินข้ามรางรถไฟอย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่ารอดอย่างหวุดหวิดเลย ถ้านายสถานีไม่เข้ามาช่วยบอกเลยว่าคุณยายเสี่ยงโดนรถไฟเฉี่ยวชนหรือทับได้เลย
เพจ เจ๊ม้อยV+ นำคลิปนี้มาโพสต์ บอกว่า "โชคดีที่คว้าตัวไว้ทัน ขอชื่นชมนายคมกฤช มีเหม็ง นายสถานีรถไฟหัวหมาก ที่เข้าชาร์จช่วยเหลือผู้โดยสารสูงอายุที่กำลังจะเดินข้ามทางรถไฟเพื่อไปขึ้นอีกชานชาลา ในขณะที่ขบวนธรรมดาที่ 280 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก-กรุงเทพฯ กำลังเข้าสู่สถานีรถไฟหัวหมาก คอยสังเกตความปลอดภัยของผู้โดยสาร เห็นคนแก่ตาฝ้าฟาง คงไม่ทันสังเกตรถไฟ แถมนายสถานีคนนี้ยังเคยช่วยผู้โดยสารมาหลายครั้งจนเป็นข่าวโด่งดังมาแล้ว"
ชาวเน็ตก็แห่คอมเมนต์ว่าดูคลิปแล้วเป็นวินาทีชีวิตจริงๆ ต้องขอบคุณนายสถานีที่ไม่ละเลยและคอยดูแลผู้โดยสารอย่างเต็มที่แบบนี้
กระแสชื่นชมเยอะขนาดนี้ ทีมข่าว 7HD ของเราก็เลยบุกไปที่สถานีรถไฟหัวหมาก ตามหานายสถานีฮีโรที่ถูกพูดถึงกันเลย ซึ่งนายสถานีก็เล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่าวันนั้นตนยืนสังเกตความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารเป็นปกติ ทีนี้มีคุณยายท่านหนึ่ง อายุประมาณ 60 -70 ปี กำลังเดินข้ามรางรถไฟมา ขณะที่รถไฟก็กำลังจะเข้าสถานีพอดี ตนก็ตะโกนเรียกยายให้ระวังๆ แต่ยายก็เหมือนไม่ได้ยินอาจจะมีอาการหูตึงและสายตาไม่ดี ตอนนั้นเลยรีบคว้าตัวยายฉุดให้พ้นออกจากรางทันที แถมยังบอกอีกว่าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก ไม่ใช่แค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งคนหนุ่มสาวและเด็กเล็กๆ ก็มี บางทีคลาดสายตาผู้ปกครองเด็กก็ชอบมาวิ่งเล่นบริเวณชานชาลาเลยไม่ทันได้ระวังว่ารถไฟมา แล้วก็เคยมีเคสที่ถึงกับเสียชีวิตมาแล้วด้วย ฝากเตือนไปยังผู้โดยสารทุกคนที่มาใช้บริการสถานีรถไฟ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ให้ระมัดระวังและตั้งใจฟังสัญญาณเตือนรถไฟ พร้อมทั้งมองซ้ายมองขวาให้ดีก่อนจะตัดสินใจเดินข้ามรางรถไฟ ไม่เสี่ยงวิ่งข้ามในระยะกระชั้นชิดอย่างเด็ดขาด เพียงเสี้ยววินาทีอาจเกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3456297607750493 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43734
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43734
Location: NECTEC
|
Posted: 08/10/2020 6:30 pm Post subject: |
|
|
เอกชนสร้างจุดขนถ่ายตู้สินค้าทางรางเจ้าแรกในสงขลา ที่สถานีรถไฟบางกล่ำ
พฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2563 เวลา 06:30 น.
บริษัท บัวเพชรโลจิสติกส์ จำกัด บริษัทเอกชนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนด้านการขนส่งโลจิสติกส์กับการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เช่าที่ดินของของการรถไฟสร้างลานขนถ่ายตู้สินค้าคอนเทนเนอร์เป็นแห่งแรกในจังหวัดสงขลา ที่หน้าสถานีรถไฟบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เพื่อสนองนโยบายของรัฐ ในการให้บริการขนส่งทางรางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ลดการแออัดการจราจรทางถนน สามารถขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ผ่านระบบรางของการรถไฟไปได้ทั่วโลก
พุธที่ 7 ตุลาคม 2563 พิธีเปิดใข้ลานขึ้น-ลงตู้สินค้า (Container Yard) ย่านสถานีบางกล่ำ จ.สงขลา เป็นวันแรก เพื่อขนส่งไป klang port และท่าเรือปีนัง สินค้าส่วนใหญ่เป็น particle board parawood (ไม้ยางพารา) ผลิตภัณฑ์ยางพารา
CY บางกล่ำ-บริษัทเอกชนเป็นผู้ลงทุน
...การดำเนินโครงการพัฒนาลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (Container Yard : CY) ที่สถานีรถไฟบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เนื่องจากบริษัทฯ เล็งเห็นว่าควรเร่งดำเนินการก่อสร้างโดยเร่งด่วน โดยแบ่งโครงการเป็น 3 ระยะ
1) ระยะที่ 1 โครงการเร่งด่วน ก่อสร้างชานบรรทุกชั่วคราว แต่มีมาตรฐานตามหลักวิศวกรรม สามารถ เริ่มทำการขนถ่ายสินค้าทางรถไฟได้ทันที ภายใน 30 วัน ซึ่งบริษัทฯ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน และเริ่มทดลองขนส่งสินค้าในวันที่ 6/10/63 ที่ผ่านมา
2) ระยะที่ 2 การปรับปรุงลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อสต็อคตู้คอนเทนเนอร์เปล่าในปริมาณที่เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการบรรจุสินค้าและจัดส่งตู้สินค้าไปยังท่าเรือปลายทาง
#ย่านสินค้าประกอบด้วย
1) อาคารควบคุมทางเข้า-ออก (Control Gate)
2) อาคารสำนักงานย่านสินค้า
เพื่ออำนวยความสะดวกผู้เข้ามาติดต่อใช้งานในพื้นที่
3) ชาน Load สินค้าขึ้นรถไฟ ตามมาตรฐาน CY. สากล เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
4) อาคารที่พักชั่วคราว และห้องน้ำ สำหรับผู้มาติดต่อและเจ้าหน้าที่ประจำ
3) ระยะที่ 3 ขยายราง /ชาน บรรทุก ให้สามารถรองรับขบวนสินค้า และการขนถ่ายได้ เต็มขบวน 30 - 40 บทต.(BCF.) และ ปรับลานกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์เปล่า และตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้า เพื่อรอ Load ส่งปลายทาง ให้มีมาตรฐานตามหลักวิศวกรรม และมาตรฐานสิ่งแวดล้อม และมีระบบระบายน้ำที่สมบูรณ์แบบ และติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย และ ฝ่ายดูแลความปลอดภัย ตลอด 24 ชม.
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3457106221002965
Last edited by Wisarut on 08/10/2020 9:38 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43734
Location: NECTEC
|
Posted: 08/10/2020 8:24 pm Post subject: |
|
|
การรถไฟ เปลี่ยนรูปแบบการจัดหาแคร่ขนคอนเทนเนอร์ (บทต.) จากจัดซื้อเป็นเช่า (PPP) เพื่ออะไร??
เผยแพร่: 8 ตุลาคม 2563 เวลา 19:42
วันนี้ขอเอาข่าว การยกเลิกแผนการจัดซื้อแคร่ขนคอนเทนเนอร์ (บทต.) มาฝาก และตั้งขอสังเกต ว่าทำไมการรถไฟถึงมาเปลี่ยนรูปแบบการจัดหาแคร่ขนคอนเทนเนอร์ (บทต.) จากการชื้อเป็นการเช่า/PPP แทน
ก่อนอื่นต้องขอเท้าความก่อน ตามแผนการฟื้นฟูการรถไฟ ช่วง 2562-2576
การรถไฟได้มีการวางแผนจัดซื้อรถ และปรับปรุงอุปกรณ์ให้ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสาร และลูกค้าในการขนสินค้า
ซึ่งก็มีโครงการที่ได้เดินหน้าเป็นรูปเป็นร่างแล้วคือ การจัดหารถจักร 50 คัน ที่พึ่งเซ็นสัญญากับ CRRC ไป
ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1014581642313648/?extid=0&d=n
ซึ่งในแผนเร่งด่วน การรถไฟก็จะมีแผนการจัดหาแคร่ขนคอนเทนเนอร์ (บทต.) จำนวน 965 คัน เพื่อใช้ในการให้บริการขนส่งสินค้าภายในประเทศ
อย่างที่หลายๆคนทราบ การขนส่งสินค้าเป็นแหล่งรายได้หลักของการรถไฟ และน่าจะเป็นธุรกิจเดียวของการรถไฟที่ยังมีผลกำไรอยู่
ข่าวเมื่อเดือนที่ผ่านมา
ทางผู้ว่ารถไฟก็ได้ออกมาให้ข่าว ว่าจะมีการจัดหาแคร่ขนคอนเทนเนอร์ (บทต.) จำนวน 965 คัน เพื่อมาเสริมศักยภาพ ในด้านการขนส่งสินค้า และเพิ่มรายได้ให้แก่การรถไฟ
โดยโครงการจัดหาแคร่สินค้า 965 คัน จะเป็นแผนเร่งด่วนเพื่อให้ทันกับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 7 เส้นทางที่จะแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 65
เนื่องจากเมื่อทางคู่แล้วเสร็จ จะมีสถานีเก็บและกระจายตู้สินค้า (CY) เพิ่มจำนวนมากตามแนวเส้นทางคู่ เพื่อรองรับการให้บริการขนส่งสินค้าทางคอนเทเนอร์
โครงการนี้ รฟท. จะใช้เงินลงทุนในการจัดหาประมาณ 2-2.2 พันล้านบาท
โดยขณะนี้ได้เสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาเห็นชอบแล้ว หากเห็นชอบจะเสนอขอความเห็นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตั้งเป้าหมายที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติภายในปีนี้ และเปิดประมูลภายในปี 64 และเริ่มทยอยรับมอบลอตแรกในปี 65
รายละเอียดจากข่าวตามลิ้งค์นี้
https://www.dailynews.co.th/economic/796183
แต่!!!!! ความงง อยู่ที่ว่า ข่าวล่าสุด เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมา
รฟท.เบรกซื้อ แคร่รถขนสินค้า 965 คัน 2.3 พันล้าน-หาวิธีใหม่ลดภาระงบคาดเช่า-เอกชนร่วมทุน ???
ซึ่งจากรายละเอียดในข่าวคือ
รฟท.ได้ขอเรื่องคืนกลับจากกระทรวงคมนาคมแล้วเพื่อนำมาศึกษาทบทวนแนวทางอื่นที่เหมาะสมกว่าวิธีการลงทุนจัดซื้อเอง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาระของรฟท.และภาระงบประมาณรัฐบาล
ทั้งนี้ เนื่องจากการพิจารณาจากหลายปัจจัย ทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลมีภาระในการใช้จ่ายงบประมาณในการดูแลประชาชน ประกอบกับเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมเดินรถ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้รางมากขึ้น
สำหรับโครงการจัดซื้อรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า 965 คัน คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เห็นชอบภายใต้หลักการแผนฟื้นฟูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้ารองรับการดำเนินงานในอนาคต ซึ่งขณะนั้นยังไม่เกิดโรคโควิด-19 แต่ขณะนี้แผนงานบางเรื่องจะต้องปรับให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป ขณะที่เดิมรถไฟจะจัดซื้อรถขนส่งสินค้า แต่ต้องดูเรื่องความพร้อมเงินลงทุนที่อาจมีไม่มาก ดังนั้นการหารถใหม่อาจไม่จำเป็นต้องซื้ออย่างเดียว ยังมีรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถทำได้
รายละเอียดจากข่าวตามลิ้งค์นี้
https://ibusiness.co/detail/9630000101833
ผมขอสรุปง่ายๆ คือ
การรถไฟเปลี่ยนรูปแบบการจัดหาแคร่ขนสินค้า จากการซื้อ เป็นรูปแบบอื่น เช่น เช่าหรือ ppp เปิดให้เอกชนเข้ามาให้บริการแทน
ซึ่งมันเป็นความย้อนแย้งมากๆ เลยคือ การรถไฟรู้ว่าธุรกิจขนสินค้าเป็นธุรกิจที่มีลูกค้าต้องการ และหารายได้มีกำไรได้
แต่จะต้องไปเช่าแคร่ของเอกชนในการให้บริการรถไฟ???
ผมเลยขอตั้งข้อสังเกตว่า
- การรถไฟมีแผนการจัดซื้อแคร่รถไฟอยู่ ทำไมต้องรื้อแผนในเมื่อรู้อยู่แล้วว่า ซื้อมายังไงก็กำไร มีคนรอใช้อยู่เยอะมาก พร้อมกับการเปิด ลานกองเก็บคอนเทนเนอร์ (CY) ของโครงการทางคู่ที่กำลังสร้างอยู่
- แคร่ขนคอนเทนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้ซับซ้อน ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษในการซ่อมแซมอะไร ทำไมต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็นการเช่า ถ้าเช่าหัวรถจักร ซึ่งมีการซ่อมบำรุง และมีเทคโนโลยีพัฒนาไปเยอะ ผมยังพอเข้าใจได้
- มูลค่าการจัดซื้อแคร่ แค่ 2,200 ล้านบาท ซึ่งถ้าเทียบกับโครงการอื่นๆของรัฐบาล ที่ทำอยู่ถือว่าเป็นมูลค่าที่น้อยมาก แต่สร้างประโยชน์ทั้งด้านการขนส่ง การลดมลพิษ การรถจราจรบนท้องถนน และลดการขาดทุนของการรถไฟลงได้ ทำไมถึงต้องเปลี่ยนรูปแบบ??
- ในอนาคตจะมีการเปิดให้เอกชนมาร่วมเดินรถบนทางรถไฟ ซึ่งเป็นเปิดการแข่งขันระหว่าง การรถไฟและเอกชน แต่การรถไฟมาหักขาตัวเองไม่ให้แข่งขันได้ มันหมายความว่าอย่างไร??
- โครงการนี้อยู่ในแผนการผลิตภายในประเทศเป็นโครงการแรก ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตชิ้นส่วน และประกอบอุตสาหกรรมรางภายในประเทศ (local content) ถ้าการรถไฟยกเลิก แล้วเมื่อไหร่มันจะเกิดขึ้นได้
ทั้งหมดนี้ ผมขอตั้งเป็นข้อสังเกตนะครับ ในฐานะคนรักรถไฟ และติดตามการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศมาระดับนึง
ไม่ได้ชี้ไปที่ใคร หรือจะไปบอกว่าใครผิด
แต่ผมมองว่าการยกเลิกการจัดซื้อแคร่ขนคอนเทนเนอร์ รอบนี้มีผลเสียมหาศาล ตั้งแต่แผนการพัฒนา logistics ในประเทศ แผนการพัฒนารถไฟ ไปจนถึงแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศเลย |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43734
Location: NECTEC
|
Posted: 09/10/2020 9:53 pm Post subject: |
|
|
9 ต.ค. 2563 รับแจ้งจากนายสถานีบางพระ ว่าเมื่อเวลา12.20 น. มีเสาไฟฟ้าล้มกีดขวางทางขึ้น-ล่อง ที่เสาโทรเลขที่125 ระหว่างสถานีบางพระ ชุมทางศรีราชา ขบวนรถไม่สามารถผ่านได้ ประกาศปิดทางตั้งแต่เวลา 12.15 น. รอเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ายกอุปกรณ์
...ต่อมาเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าถึงที่เกิดเหตุเมื่อเวลา 12.50 น.แจ้งรอรถยก/ประกัน ยังไม่สามารถประมาณการเปิดทางได้
- ขบวนรถรอการเปิดทาง
1) ข.838 ถึงชุมทางศรีราชา 12.49 น. ช้า 224 นาที
2) ข.841 ถึงสถานีบางพระ 12.40 น.ช้า 215 นาที
3) ข.843 ผ่านพานทอง12.50 น.จะรอการเปิดทาง ที่สถานีชลบุรี
4) ข.847 ออกฉะเชิงเทรา 12.44 น.จะรอการเปิดทาง ที่ พานทอง
Update....เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าได้ทำการแก้ไขยกเสาไฟฟ้าพร้อมสายไฟออกพ้นทางได้เมื่อเวลา 13.30 น. และเจ้าหน้าที่โยธาตรวจสภาพทางรถไฟไม่มีความเสียหาย จึงสามารถเปิดทางรถไฟขึ้น - ล่อง ได้เมื่อเวลา 13.35 น.
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3462637067116547 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43734
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/10/2020 9:51 am Post subject: |
|
|
เตรียมยกระดับสถานีรถไฟนาประดู่ เป็นสถานีรถไฟขนส่ง จชต. ศอ.บต. หารือ การรถไฟ นาประดู่ ปรับพื้นที่รองรับการขนส่งสินค้าเบื้องต้น เพื่อให้บริการภาคเอกชนและปชช.
ศอ.อต. 12/10/2020 at 8:37 PM
วันนี้ (12 ตุลาคม 2563) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ลงพื้นที่สถานีรถไฟนาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เพื่อหารือยกระดับสถานีรถไฟนาประดู่ ให้เป็นสถานีรถไฟขนส่งจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สอดรับกับการพัฒนาเมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมีนายพงศักดิ์ บุญสุข ผู้อำนวยการปฏิบัติการเดินรถภาค 4 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่การรถไฟ และนายชาญชัย เกียรติศักดิ์โสภณ นกยกเทศมนตรี ต.นาประดู่ ร่วมหารือ เพื่อปรับเปลี่ยนสถานีรถไฟนาประดู่ให้รองรับกับการขนส่งสินค้าของภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่
พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เผยว่า การพัฒนาเมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ดำเนินการสนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการขนส่งจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรองรับการจำหน่ายและส่งออกสินค้า โดยเฉพาะการขนส่งด้วยระบบราง ซึ่งมีการหารือในเบื้องต้นร่วมกับหน่วยงานหลายภาคส่วนในพื้นที่และส่วนกลาง เนื่องจากมีผู้ประกอบการมีความประสงค์ใช้ระบบรางในการขนส่งผลผลิตและสินค้า โดยแจ้งความจำนงตั้งแต่ปีที่ 2562-2563 หลายราย เพราะเป็นระบบการขนส่งใช้งบประมาณที่ภาคเอกชนรับได้ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการยกระดับสถานีรถไฟภาคใต้เพื่อให้กลับมามีบทบาท เป็นกระดูกสันหลังของภาคใต้อีกครั้ง โดยการรถไฟก็มีแผนงานในการยกระดับสถานีนาประดู่ในระดับหนึ่งแล้ว จึงสอดรับกับนโยบายของศอ.บต. และรัฐบาล ในการปรับปรุงให้เป็นสถานีและลานยกขนส่งสินค้า คาดว่าจะปรับปรุงแล้วเสร็จก่อนปีใหม่ 2564 เนื่องจากรัฐบาลเร่งดำเนินการเพื่อให้การค้าการลงทุนในพื้นที่เดินหน้า ซึ่งการรถไฟเป็นจุดสำคัญในการขนส่งที่ผู้ประกอบการรับได้ เนื่องมีค่าบริการขนส่งที่ต่ำกว่าค่าขนส่งในระบบอื่น
การพัฒนาในพื้นที่ขณะนี้ดำเนินการในหลายด้าน แต่มีปัญหาเรื่องการขนส่งเป็นหลักเพราะไม่มีท่าเรือ ซึ่งประเทศไทยมีประตูขนส่งด้วยเรือเพียง 2 ประตู คือ คลองเตย กับ แหลมฉบัง และคาดว่า จ.สงขลา จะเป็นประตูที่ 3 เร็วๆ นี้ แต่ขณะเดียวกันการขนส่งระบบรางก็ต้องยกระดับควบคู่กันไป ซึ่งเชื่อว่า สถานีนาประดู่จะเป็นจุดเปลี่ยนอีกจุดหนึ่ง จะเป็นภาพลักษณ์ใหม่ในการขนส่งสินค้าในพื้นที่ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว
ขณะที่นายพงศักดิ์ บุญสุข ผู้อำนวยการปฏิบัติการเดินรถภาค 4 เผยว่า การรถไฟเตรียมการเรื่องยกระดับสถานีนาประดู่เป็นสถานีขนส่งสินค้าก่อน ศอ.บต. มีความประสงค์ยกระดับ และปรับปรุง จึงเป็นนโยบายที่สอดรับกันในการพัฒนาในครั้งนี้ โดยสถานีมีความพร้อมหลายด้าน ทั้งมาตรฐานของราง บุคลากร และพื้นที่เพื่อปรับเป็นลนยกขนส่งสินค้า เป็นต้น
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46896
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 13/10/2020 9:52 am Post subject: |
|
|
เตรียมยกระดับสถานีรถไฟนาประดู่ เป็นสถานีรถไฟขนส่ง จชต. ศอ.บต. หารือ การรถไฟ นาประดู่ ปรับพื้นที่รองรับการขนส่งสินค้าเบื้องต้น เพื่อให้บริการภาคเอกชนและปชช.
ศอ.อต. 12/10/2020 at 8:37 PM
วันนี้ (12 ตุลาคม 2563) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ลงพื้นที่สถานีรถไฟนาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เพื่อหารือยกระดับสถานีรถไฟนาประดู่ ให้เป็นสถานีรถไฟขนส่งจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้สอดรับกับการพัฒนาเมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมีนายพงศักดิ์ บุญสุข ผู้อำนวยการปฏิบัติการเดินรถภาค 4 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่การรถไฟ และนายชาญชัย เกียรติศักดิ์โสภณ นกยกเทศมนตรี ต.นาประดู่ ร่วมหารือ เพื่อปรับเปลี่ยนสถานีรถไฟนาประดู่ให้รองรับกับการขนส่งสินค้าของภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่
พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. เผยว่า การพัฒนาเมืองต้นแบบ 3 เหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ดำเนินการสนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการขนส่งจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรองรับการจำหน่ายและส่งออกสินค้า โดยเฉพาะการขนส่งด้วยระบบราง ซึ่งมีการหารือในเบื้องต้นร่วมกับหน่วยงานหลายภาคส่วนในพื้นที่และส่วนกลาง เนื่องจากมีผู้ประกอบการมีความประสงค์ใช้ระบบรางในการขนส่งผลผลิตและสินค้า โดยแจ้งความจำนงตั้งแต่ปีที่ 2562-2563 หลายราย เพราะเป็นระบบการขนส่งใช้งบประมาณที่ภาคเอกชนรับได้ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการยกระดับสถานีรถไฟภาคใต้เพื่อให้กลับมามีบทบาท เป็นกระดูกสันหลังของภาคใต้อีกครั้ง โดยการรถไฟก็มีแผนงานในการยกระดับสถานีนาประดู่ในระดับหนึ่งแล้ว จึงสอดรับกับนโยบายของศอ.บต. และรัฐบาล ในการปรับปรุงให้เป็นสถานีและลานยกขนส่งสินค้า คาดว่าจะปรับปรุงแล้วเสร็จก่อนปีใหม่ 2564 เนื่องจากรัฐบาลเร่งดำเนินการเพื่อให้การค้าการลงทุนในพื้นที่เดินหน้า ซึ่งการรถไฟเป็นจุดสำคัญในการขนส่งที่ผู้ประกอบการรับได้ เนื่องมีค่าบริการขนส่งที่ต่ำกว่าค่าขนส่งในระบบอื่น
การพัฒนาในพื้นที่ขณะนี้ดำเนินการในหลายด้าน แต่มีปัญหาเรื่องการขนส่งเป็นหลักเพราะไม่มีท่าเรือ ซึ่งประเทศไทยมีประตูขนส่งด้วยเรือเพียง 2 ประตู คือ คลองเตย กับ แหลมฉบัง และคาดว่า จ.สงขลา จะเป็นประตูที่ 3 เร็วๆ นี้ แต่ขณะเดียวกันการขนส่งระบบรางก็ต้องยกระดับควบคู่กันไป ซึ่งเชื่อว่า สถานีนาประดู่จะเป็นจุดเปลี่ยนอีกจุดหนึ่ง จะเป็นภาพลักษณ์ใหม่ในการขนส่งสินค้าในพื้นที่ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าว
ขณะที่นายพงศักดิ์ บุญสุข ผู้อำนวยการปฏิบัติการเดินรถภาค 4 เผยว่า การรถไฟเตรียมการเรื่องยกระดับสถานีนาประดู่เป็นสถานีขนส่งสินค้าก่อน ศอ.บต. มีความประสงค์ยกระดับ และปรับปรุง จึงเป็นนโยบายที่สอดรับกันในการพัฒนาในครั้งนี้ โดยสถานีมีความพร้อมหลายด้าน ทั้งมาตรฐานของราง บุคลากร และพื้นที่เพื่อปรับเป็นลนยกขนส่งสินค้า เป็นต้น
|
|
Back to top |
|
|
|