View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/07/2021 8:16 am Post subject: พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง |
|
|
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๖๔
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/046/T_0015.PDF
Last edited by Mongwin on 14/07/2021 8:42 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/07/2021 8:16 am Post subject: |
|
|
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/07/2021 8:17 am Post subject: |
|
|
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/07/2021 8:17 am Post subject: |
|
|
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/07/2021 8:18 am Post subject: |
|
|
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 14/07/2021 6:01 pm Post subject: Re: พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง |
|
|
กรมรางเปิดตัวสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบราง ลุยผลิตชิ้นส่วน-รถไฟ EV ในประเทศ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:29 น.
ปรับปรุง: 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:29 น.
ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (สกร.) กรมรางเดินหน้าศูนย์ศึกษา วิจัย นวัตกรรม พัฒนาความรู้ระบบรางของไทย ตั้งเป้าผลิตชิ้นส่วนและผลิตรถไฟ EV ต้นแบบในประเทศ
กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2564 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป
สำหรับเหตุผลในการประกาศพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรางอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงต้องพึ่งพาองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศเป็นหลัก ดังนั้น เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบรางได้อย่างยั่งยืนและลดการพึ่งพาต่างประเทศ
จึงควรจัดตั้งหน่วยงานในประเทศที่มีหน้าที่ศึกษา วิจัย เปรียบเทียบเทคโนโลยีระบบราง และประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยีระบบรางเพื่อใช้ในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ พร้อมทั้งบริหารจัดการงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบรางและการขนส่งทางราง ตลอดจนการรับ แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และส่งเสริมอุตสาหกรรมในระบบการขนส่งทางราง รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบราง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้นมา
โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (สกร.) จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง สร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง และจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการสนับสนุนอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศอย่างแท้จริง
มีเป้าหมายเร่งด่วน คือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศ (Local Content) ได้ตามนโยบาย Thai First การวิจัยเพื่อสร้างรถไฟ EV ต้นแบบครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมกับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการอื่นๆ ในอนาคต
ในส่วนของเรื่องทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการ จะมีเงินประเดิม เงินอุดหนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนจากการให้บริการของสถาบันวิจัยฯ และดอกผลรายได้จากทรัพย์สิน โดยสถาบันวิจัยฯ จะมีแนวทางในการจัดองค์การในแบบศูนย์ความเป็นเลิศในแต่ละด้าน เช่น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟความเร็วสูง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟขนส่งสินค้า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าในเมือง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาบุคลากรระบบราง และศูนย์ความเป็นเลิศด้านข้อมูลระบบราง เป็นต้น
ซึ่งแต่ละศูนย์จะเน้นการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และหน่วยงานผู้ใช้เทคโนโลยี เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมระบบรางให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมต่อไป
โดยภายหลังการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 แล้ว คณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางตามบทเฉพาะกาล อันประกอบด้วย ปลัดกระทรวงคมนาคม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และอธิบดีกรมการขนส่งทางราง จะร่วมกันประชุมหารือในวาระแรกเริ่มเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันฯ และการสรรหาเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานยังสถาบันฯ ต่อไป
ดีเดย์! ต.ค.นี้ เปิดตัวทางการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง เร่งวิจัย ชิ้นส่วนรางผลิตภายในประเทศ-สร้างรถไฟ EV ต้นแบบ
เผยแพร่: 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
กรมรางฯ เปิดตัว สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ลุ้น ปลัดคมนาคม เคาะแต่งตั้ง รักษาการผอ.สถาบัน ในการประชุมคณะกรรมการนัดแรกภายใน 1-2 เดือน พ่วงสรรหาเจ้าหน้าที่เบื้องต้น 80 คน คาดสถาบันเปิดทางการภายใน ต.ค.นี้ ก่อนเร่งวิจัยชิ้นส่วนรางให้ผลิตภายในประเทศ สนองนโยบาย Thai First-วิจัยสร้างรถไฟ EV ต้นแบบ
รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ตามที่เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2564 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป หรือ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป เนื่องจากการที่ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรางอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงต้องพึ่งพาองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศเป็นหลัก
ดังนั้น เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบรางได้อย่างยั่งยืนและลดการพึ่งพาต่างประเทศ จึงควรจัดตั้งหน่วยงานในประเทศที่มีหน้าที่ศึกษา วิจัย เปรียบเทียบเทคโนโลยีระบบราง และประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อใช้ในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ พร้อมทั้งบริหารจัดการงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบรางและการขนส่งทางราง ตลอดจนการรับ แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และส่งเสริมอุตสาหกรรมในระบบการขนส่งทางราง รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบราง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้นมา
*** เร่งตั้ง ผอ.สถาบันฯ เปิดสถาบันฯ ทางการ ต.ค.นี้ ***
รายงานข่าวจาก ขร. ระบุอีกว่า ภายหลังการประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564 แล้ว คณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางตามบทเฉพาะกาลตามมาตรา 45 โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันประชุมหารือในวาระแรก เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (รักษาการในช่วงแรกเริ่ม) ซึ่งคาดว่า จะประชุมภายใน 1-2 เดือนนี้ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการสรรหาผู้อำนวยการฯ ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจาฯ ต่อไป
นอกจากนี้ ในการประชุมนัดแรกนั้น จะมีการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถาบันฯ และการสรรหาเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานยังสถาบันฯ ในระยะแรกเริ่ม (ปีที่ 1 หรือประมาณ 6 เดือน) จำนวน 80 คน แบ่งเป็น ผู้บริหารระดับสูง 3 คน, ผู้บริหารระดับกลาง 9 คน, ผู้บริหารระดับต้น 14 คน, ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน, ผู้ปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพระดับสูง 14 คน และผู้ปฏิบัติงานประเภทวิชาชีพระดับต้น 31 คน และจะเพิ่มในปีที่ 2 อีก 46 คน รวมมีบุคลากรและเจ้าหน้าที่ 126 คน อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะมีการพิจารณาหาสถานที่ เพื่อจัดตั้งอาคารของสถาบันฯ โดยในเบื้องต้น จะเป็นการเช่า โดยกระบวนการทั้งหมดนั้น จะแล้วเสร็จ และมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) อย่างเป็นทางการใน ต.ค. 2564 ตามแผน
*** ภารกิจด่วนเร่งวิจัยผลิตชิ้นส่วนในประเทศ-รถไฟ EV ต้นแบบ ***
สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางนั้น จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง สร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง และจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและการสนับสนุนอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายเร่งด่วน คือ การวิจัยชิ้นส่วนในระบบรางเพื่อให้สามารถผลิตรถไฟในประเทศ (Local Content) ได้ตามนโยบาย Thai First การวิจัยเพื่อสร้างรถไฟ EV ต้นแบบครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมกับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการอื่นๆ ในอนาคต
ในส่วนของเรื่องทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการจะมีเงินประเดิม เงินอุดหนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน ค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนจากการให้บริการของสถาบันวิจัยฯ และดอกผลรายได้จากทรัพย์สิน โดยสถาบันวิจัยฯ จะมีแนวทางในการจัดองค์การในแบบศูนย์ความเป็นเลิศในแต่ละด้าน เช่น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟความเร็วสูงศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟขนส่งสินค้า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าในเมือง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาบุคลากรระบบราง และศูนย์ความเป็นเลิศด้านข้อมูลระบบราง เป็นต้น ซึ่งแต่ละศูนย์จะเน้นการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และหน่วยงานผู้ใช้เทคโนยี เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมระบบรางให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมต่อไป
|
|
Back to top |
|
|
|