View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 09/09/2021 7:52 am Post subject: นำเข้ารถดีเซลราง KiHa 183 JR Hokkaido 17 คัน และ Hamanasu |
|
|
เก่าของเขาแต่ใหม่ของเรา การรถไฟฯ เตรียมนำเข้ารถดีเซลรางมือสองจากญี่ปุ่น 17 คัน
เผยแพร่: 9 ก.ย. 2564 04:39 ปรับปรุง: 9 ก.ย. 2564 04:39 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
การรถไฟแห่งประเทศไทย ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ขนย้ายรถดีเซลราง JR Hokkaido จากประเทศญี่ปุ่น 17 คันมายังประเทศไทย ได้ผู้ชนะแล้ว เคาะราคาที่ 42.25 ล้านบาท พบเป็นรถมือสอง ให้ฟรีแต่ต้องเสียค่าขนส่งเอง
วันนี้ (9 ก.ย.) รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งว่า ได้ออกประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ขนย้ายรถดีเซลราง JR Hokkaido จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 17 คัน กำหนดราคากลาง 42.5 ล้านบาท โดยพบว่าได้เลือกให้ บริษัท ดอยโกร โพรเจค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ขนย้าย เป็นเงินทั้งสิ้น 42.25 ล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการถอดโบกี้ออกจากรถไฟ และรวมค่าภาษีนำเข้าและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ตามสัญญาเลขที่ พด.025/2564
รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า สำหรับรถไฟมือสอง JR Hokkaido ที่จะนำเข้ามาในประเทศไทย เป็นรถดีเซลราง (DMU) รุ่น KiHa 183 (คีฮา 183) ของบริษัทรถไฟฮอกไกโด (JR Hokkaido) ในภูมิภาคฮอกไกโด ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น นำมาให้บริการครั้งแรกในปี 2524 ภายในเป็นห้องโดยสารปรับอากาศ ปัจจุบันถูกปลดระวางและจอดทิ้งไว้ ก่อนหน้านี้บริษัทรถไฟฮอกไกโด ได้มอบรถไฟมือสองดังกล่าวให้กับการรถไฟฯ มาตั้งแต่ปี 2559 แต่ต้องออกค่าขนส่งและบำรุงรักษาเอง
ก่อนหน้านี้การรถไฟฯ ได้รับขบวนรถไฟมือสอง รุ่นฮะมะนะสึ (Hamanasu) เฉพาะรถนั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัทรถไฟฮอกไกโด เพื่อนำมาดัดแปลงทำเป็นรถไฟเพื่อการท่องเที่ยว มาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2559
Last edited by Mongwin on 07/03/2024 2:30 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 09/09/2021 10:14 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณมากครับพี่หนุ่ม |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
Posted: 10/09/2021 10:51 am Post subject: |
|
|
ให้สิ้นสงสัย!! ดราม่ารถไฟบริจาค17คันใช้งบซ่อม314ล้าน
*เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับJRเดือนหน้า(ต.ค.)ถึงไทย
*ค่าขน42ล้าน+ปรับสภาพคันละ16ล้าน(รวม314ล้าน)
*รถให้บริการตึงตัวใช้เดินรถโดยสาร-ขบวนท่องเที่ยว
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2996334380588060
สยบดราม่า ร.ฟ.ท.ยันรถไฟมือ 2 ญี่ปุ่นให้ไทยสภาพดี คาดนำมาวิ่งส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 10 กันยายน 2564 เวลา 00:06 น.
ปรับปรุง: 10 กันยายน 2564 เวลา 00:06 น.
ร.ฟ.ท. ระบุรถไฟมือ 2 ที่ญี่ปุ่นบริจาคให้ไทย อยู่ในสภาพดี สามารถนำมาใช้งานได้ คาดว่าจะนำตู้โดยสารดังกล่าวมาใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว หลังเกิดกระแสดราม่าอย่างกว้างขวางในโลกโซเชียลว่า การนำรถไฟมือ 2 ดังกล่าวเข้ามา เป็นการนำขยะ เศษเหล็กมาทิ้งที่เมืองไทย
จากกรณี ญี่ปุ่นบริจาครถไฟมือ ญี่ปุ่นบริจาครถไฟมือ 2 อายุ 40 ปี จำนวน 17 คัน ให้ไทยฟรี ซึ่งได้เกิดกระแสดราม่าในโลกโซเชียลตามมาว่า การนำรถไฟมือ 2 ดังกล่าวเข้ามา เป็นการนำขยะ เศษเหล็กมาทิ้งที่เมืองไทย
หลังจากนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ออกมาชี้แจงผ่านเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อสยบกระแสดราม่าดังกล่าว ดังนี้
การรถไฟฯ ชี้แจงกรณีเตรียมขนย้ายรถดีเซลรางจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 17 คัน มาใช้งาน
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงกรณีการออกประกาศจัดจ้างขนย้ายรถดีเซลรางจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 17 คัน เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 เพื่อนำตู้โดยสารดังกล่าวมาปรับปรุงและใช้งาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยระบุว่าเรื่องดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างการถไฟแห่งประเทศไทย และ บริษัท JR Hokkaido ในการส่งมอบให้กับประเทศไทยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี้ การรถไฟฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเท่านั้น
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบสภาพตู้รถโดยสารในเบื้องต้นอยู่ในสภาพดี สามารถนำมาใช้งานได้ แม้จะเป็นตู้โดยสารที่ถูกปลดระวางในปี 2559 แต่ก็ได้รับการดูแลบำรุงรักษาเป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อการรถไฟฯ ได้รับตู้โดยสารดังกล่าวมา ก็จะเข้าไปตรวจสอบด้านความปลอดภัย และนำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และระบบของการรถไฟฯ เบื้องต้น คาดว่าจะนำตู้โดยสารดังกล่าวมาใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
ก่อนหน้านี้ การรถไฟฯ เคยได้รับตู้โดยสารรถไฟจากประเทศญี่ปุ่น (บริษัท JR-West) เพื่อใช้ในกิจการรรถไฟมาแล้ว โดยนำมาปรับปรุงและดัดแปลงเป็นรถโดยสาร และรถจัดเฉพาะ เช่น รถ SRT Prestige รถประชุมปรับอากาศ ฯลฯ ให้บริการแก่ประชาชน โดยสามารถสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ และส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ ด้วยความสัมพันธ์อันดีระหว่างการรถไฟฯ กับ JR Hokkaido ในความร่วมมือด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาระบบราง การพัฒนาบุคคลากร และเทคโนโลยี เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับการรถไฟฯ ซึ่งความร่วมมือระหว่างการรถไฟฯ และ JR Hokkaido ในครั้งนี้เป็นความร่วมมือในการมอบตู้โดยสารเป็นครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกได้ส่งมาให้ประเทศไทยแล้ว จำนวน 10 ตู้ เมื่อเดือนตุลาคม 2561 และอยู่ระหว่างกระบวนการปรับปรุงดัดแปลงเพื่อใช้สำหรับเป็นขบวนรถด้านการท่องเที่ยวแล้ว โดยการออกแบบนั้น ใน 1 ขบวน มีตู้โดยสาร 5 คัน แบ่งเป็นรถนั่งทั่วไป 3 คัน รถสำหรับครอบครัว 1 คัน และรถพักผ่อน 1 คัน ซึ่งการออกแบบและสีสันจะเป็นไปตามลักษณะของเส้นทางที่ให้บริการของรถไฟท่องเที่ยวขบวนนั้น ๆ โดยสามารถนำออกให้บริการได้ในช่วงประมาณปี 2565 พร้อมยืนยันการประกาศจัดซื้อจัดจ้างขนย้ายตู้โดยสารดังกล่าว เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการรถไฟฯ ทุกประการ.
รถไฟมือ 2 รุ่น KiHa 183 ที่ญี่ปุ่นบริจาคให้ไทย 17 คัน
รถไฟมือ 2 รุ่น KiHa 183 ที่ญี่ปุ่นบริจาคให้ไทย 17 คัน
สำหรับรถไฟมือ 2 ที่ญี่ปุ่นบริจาคให้ประเทศไทย เป็นรถดีเซลราง (DMU) รุ่น KiHa 183 (คีฮา 183) ของบริษัทรถไฟฮอกไกโด (JR Hokkaido) ในภูมิภาคฮอกไกโด ซึ่งที่ผ่านมาอาจมีคนไทยหลายคนที่ไปเที่ยวญี่ปุ่นเคยนั่งรถไฟขบวนนี้ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่าง ๆ
รถไฟรุ่นนี้นำมาให้บริการครั้งแรกในปี 2524 ภายในเป็นห้องโดยสารปรับอากาศ ปัจจุบันถูกปลดระวางและจอดทิ้งไว้ ซึ่งถึงแม้จะบริจาคให้ไทย แต่เราต้องออกค่าขนส่งและบำรุงรักษาเอง
โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ประกาศผลจัดซื้อจัดจ้าง เคาะราคาค่าขนย้ายรถไฟมือสองดังกล่าว เป็นจำนวนเงิน 42.5 ล้านบาท (เป็นราคารวมค่าใช้จ่าย ภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดแล้ว ตามสัญญาเลขที่ : พด.025/2564) ซึ่งทาง ร.ฟ.ท.ได้เลือกบริษัท ดอยโกร โพรเจค (ประเทศไทย) จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินการ
รู้จัก JR Hokkaido KiHa 183 รถไฟผู้จุดกระแสความ ดราม่า ในวันนี้
9 กันยายน 2564 เวลา 23:47 น.
📌 อ่านบทความนี้พร้อมชมภาพประกอบที่ >> https://bit.ly/3BWPvnt
.
ถ้าไม่นับข่าวการเมืองวันนี้ คงจะมีอีกหนึ่งข่าวที่เป็นกระแสอย่างมากโดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ กับการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นที่ "การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท." จะนำรถไฟมือสองของญี่ปุ่นเข้ามา ซึ่งเป็นรถดีเซลรางปลดระวางเมื่อปี 2559 จาก "JR Hokkaido" จำนวน 17 คัน ในราคากลาง 42,500,000 บาท ซึ่งแม้ว่าญี่ปุ่นจะยกรถไฟให้ฟรีๆ แต่ฝั่งไทยก็ต้องมีค่าดำเนินการขนย้ายมาเองทั้งสิ้น
.
ซึ่งสังคมก็คงตั้งคำถามว่า รฟท. ไปรับเศษเหล็กที่ญี่ปุ่นไม่ใช้แล้วเข้ามาทำไม? ไม่มีปัญญาซื้อใหม่หรืออย่างไร? ชอบรับแต่ของเหลือที่เขาไม่เอาแล้วไม่ต้องเสียค่าทำลายสินะ? ส่งเศษขยะมาให้ไทยแทนนั่นแหละ และคอมเมนต์อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งก็คนเข้าไปรุมด่า จนการรถไฟฯ ต้องออกแถลงการณ์ชี้แจงตามมา ซึ่งก็อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละคนว่าจะเข้าใจในข้อมูลได้มากน้อยขนาดไหน
.
แต่ในบทความนี้คงจะไม่กล่าวถึงเรื่องราวที่เป็นกระแสโต้เถียงกัน แต่จะพาไปรู้จักว่า รถไฟรุ่นดังกล่าวมีความน่าสนใจอย่างไร และเคยใช้งานในเส้นทางใดบ้าง รวมทั้งตอบคำถามที่ว่า ประเทศไทยไม่ซื้อรถไฟใหม่ๆ เข้ามาเลยเหรอ?
.
🔵 KiHa 183 สายถึกแห่งเกาะเหนือ ผู้ไม่กลัวอากาศสุดขั้ว
.
รถไฟดีเซลรางต้นเรื่องคือ "JR Hokkaido KiHa 183 Series" เป็นรถดีเซลประเภทด่วนพิเศษที่พัฒนาโดย "การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น หรือ Japanese National Railways (JNR)" มีวัตถุประสงค์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวิ่งในเส้นทางบนเกาะฮอกไกโด ทางตอนเหนือของประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศแสนทรหดในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นมันจึงมีความถึก และทนทานสูงเป็นจุดเด่น เพราะฤดูหนาวของฮอกไกโดนั้นเรียกได้ว่าอากาศหนาวเย็นรุนแรงสุดขั้วจริงๆ
.
แต่ก็มีอีกสายคือ JR Kyushu เกาะใหญ่ทางตอนใต้ของประเทศที่รถไฟรุ่นนี้ถูกใช้เป็นรถไฟนำเที่ยวเส้นทางไปชมภูเขาไฟอาโสะ หรือ 'Aso boy' ซึ่งให้บริการจากสถานี Kumamoto - Miyaji
.
จุดกำเนิดของ KiHa 183 เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เมื่อ JNR มองเห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนรถไฟรุ่น "KiHa 80" ที่ใช้มานานจนเก่าแก่ และเริ่มเสื่อมสภาพเนื่องจากความหนาวเย็นสุดขั้วของฤดูหนาวในฮอกไกโด จึงมีการพัฒนารถไฟรุ่นใหม่ทั้งหมด ทั้งการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก และห้องโดยสารที่ยกระดับความสวยงามทันสมัยในยุคนั้น พร้อมกับตั้งชื่อรุ่นว่า KiHa 183
.
โฉมของ KiHa 183 ถูกออกแบบสร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี 1979 1991 โดยบริษัทร่วมทุนต่างๆ มากมาย รวมถึง Fuji Heavy Industries (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Subaru Corporation), Hitachi และ Niigata Tekkō ซึ่ง KiHa 183 เป็นรถรางดีเซลคันแรกที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในภูมิภาคฮอกไกโด ทำความเร็วสูงสุดที่ 110 กม./ชม. พร้อมคุณสมบัติเพิ่มเติมที่ช่วยให้สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็นสุดขั้วทางตอนเหนือของญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี
.
ดีไซน์ของตัวรถไม่ได้ออกแบบให้แยกออกหรือเชื่อมต่อกับขบวนรถไฟอื่น และมีท้ายรถที่มีการออกแบบให้จมูกลาดเอียงโดยไม่มีประตูเดินผ่าน ซึ่งการออกแบบให้จมูกลาดเอียงก็เพื่อป้องกันหิมะไม่ให้เกาะติดกับด้านหน้าและด้านหลังของรถไฟ
.
KiHa 183 มีเครื่องยนต์ 220 แรงม้า แต่บางคันก็มีเครื่องยนต์ถึง 450 แรงม้า ขณะนี้ขบวนรถที่มีปลายจมูกแหลมเอียงทั้งสองด้านกำลังยกเลิกการให้บริการ แต่ก็ยังสามารถเห็นได้ในขบวนแบบรถด่วนพิเศษ Okhotsk ที่เหลืออยู่ไม่มาก
.
สำหรับ KiHa 183 ชุดแรก เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 บนเส้นทางที่ผ่านเมืองโอโซระ - ฮกไก - ทะเลโอค็อตสค์ และเมืองโฮคุโตะบนเส้นทางสายเซกิโช ระหว่างสถานีมินามิชิโตเซะ ในเมืองชิโตเซะ ถึงสถานีชินโตกุ เมืองคามิกาวะ หลังจากนั้นก็มีการผลิตเพิ่มเพื่อใช้ในเส้นทางอื่นๆ เพิ่มเติมในอีกไม่กี่ปีต่อมา
.
🔵 ใช้เวลาถึง 15 ปีในการทยอยปลดระวาง เพราะความอึด ถึก พังยาก
.
รถไฟรุ่นนี้ถือว่าเป็นรุ่นที่สร้างรากฐานให้กับการพัฒนารถไฟซีรีย์ใหม่ๆ ของ JR Hokkaido และด้วยจำนวนรถที่มีอยู่มากเพราะผลิตออกมาใช้งานเยอะ ทำให้การทยอยยุติให้บริการของรถไฟรุ่นดังกล่าวเป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งใช้เวลานานถึง 15 ปี นับตั้งแต่ที่เริ่มปลดระวางประมาณปี 2001 2016
เนื่องจากรถไฟรุ่นนี้มีอายุช่วงเวลาการใช้งานที่ยาวนานมาก แถมมีความทนทานสูง ไม่พังง่าย และสมรรถนะยังดีเยี่ยม แม้จะผ่านการใช้งานและการซ่อมบำรุงมานับครั้งไม่ถ้วนก็ตาม เรียกได้ว่าเป็นสายถึกแห่งเกาะเหนือก็ว่าได้
.
แม้จะถึก ทน แต่การเป็นรถไฟจากเมืองหนาวที่วิ่งลุยหิมะมาทั้งชีวิต ก็มีความน่ากังวลในเรื่องของอะไหล่ในระยะยาวเช่นกัน เพราะถ้าหากมีการยุติให้บริการทั้งหมด ก็เท่ากับว่าอะไหล่ก็จะถูกหยุดผลิตไปด้วย และการขาดแคลนอะไหล่สำหรับรถไฟคือปัญหาอย่างยิ่งเมื่อถึงรอบของการซ่อมบำรุง
.
สิ่งที่ รฟท. มักชอบทำคือ การยำอะไหล่จากที่ต่างๆ เอามาทดแทนซึ่งแน่นอนว่ามันไม่เหมือนกับอะไหล่แท้ๆ ของรุ่นรถไฟนั้นๆ อยู่แล้ว แต่ก็ทดแทนได้เป็นบางส่วนแบบชั่วคราวไป ถ้าหาอ่ไหล่ไม่ได้ก็จอดตายซากนิ่งๆ ไว้รอวันผุ
.
แม้ว่าจะมีการดัดแปลงรถ KiHa 183 หลายคันเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์อื่นๆ ในระบบรถไฟของ JR Hokkaido ซึ่งส่วนใหญ่เปิดให้บริการในยุคหลังๆ บนเส้นทางจากสถานี Hakodate, Kushiro, Naebo และ Sapporo ขณะที่รถบางส่วนจะถูกส่งมอบมาให้กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งเมียนมาร์และประเทศไทย
.
โดยปกติแล้วการบำรุงรักษารถไฟของญี่ปุ่นค่อนข้างดีมาก แม้ว่ารถไฟคันนั้นจะให้บริการมายาวนานหลายสิบปี แต่สภาพทั้งตัวถัง เครื่องยนต์ ระบบขับเคลื่อน และห้องโดยสารยังคงเหมือนใหม่ สะอาดเนี้ยบตามมาตรฐานญี่ปุ่น ดังนั้นแม้ว่าจะวิ่งมานับล้านๆ กิโลเมตร แต่เชื่อว่าสภาพทั้งภายนอกและภายในยังคงใหม่ไม่ต่างจากวันแรกที่ออกจากโรงงาน
.
หากรถไฟที่ถึงคราวต้องปลดระวางเพราะมีรถไฟรุ่นใหม่ๆ เข้ามาทดแทน หรือจำเป็นต้องยุติการให้บริการลง ชะตาชีวิตรของมันก็มีสองทางให้เลือกคือ การทำลายทิ้งโดยเครื่องบดอัดแล้วนำวัสดุที่รีไซเคิลได้กลับมาใช้ใหม่ เช่น อะลูมิเนียม หรืออีกทางก็คือการส่งมอบให้กับประเทศกำลังพัฒนานำไปชุบชีวิตเพื่อใช้งานต่อ ซึ่งรถไฟโดยอายุจริงๆ แล้วสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 50 ปี ถ้าหากดูแลบำรุงรักษาอย่างดี ซึ่งในหลายประเทศของยุโรปก็ยังใช้รถไฟรุ่นเดียวกับที่รถไฟไทยใช้งาน หนึ่งในรุ่นที่ทุกคนรู้จักกันดีคือ "British Rail Class 158" หรือที่เรียกกันติดปากว่า รถด่วนสปรินเตอร์ ที่ให้บริการในไทยตั้งแต่ปี 1991 จนถึงปัจจุบันก็ร่วมๆ เกือบ 30 ปี และในประเทศอังกฤษที่เป็นต้นกำเนิดของรถด่วนสปรินเตอร์ ก็ยังให้บริการเช่นกันในทุกวันนี้
.
🔵 ทำไมรับแต่ของมือสอง ของใหม่ทำไมไม่ซื้อ?
.
ที่จริงแล้วรถไฟของไทยมีทั้งที่รถซื้อใหม่ และรถไฟมือสอง ซึ่งรถไฟมือสองส่วนใหญ่แล้วจะนำเข้ามาในรูปแบบของตู้โดยสารเป็นหลัก ซึ่งก็มาจากประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน โดยก่อนหน้านี้การรถไฟฯ เคยได้รับตู้โดยสารรถไฟจาก JR-West แล้วนำมาปรับปรุงและดัดแปลงเป็นรถโดยสาร และรถจัดเฉพาะ เช่น รถ SRT Prestige รถประชุมปรับอากาศ และรถโดยสาร ซึ่งบอกเลยว่าสวยกว่ารถไฟที่มีอยู่ทุกขบวนในไทยเวลานี้อีก
.
🔹️ ถามว่ามีรถที่นำเข้ามาแล้วจำเป็นต้องมาใช้งานแค่ในประเทศไทยอย่างเดียวหรือไม่?
.
คำตอบคือ 'ไม่' เพราะรถมือสองจากญี่ปุ่นก็เคยใช้ไทยเป็นเหมือนกับทางผ่านเพื่อการขนย้ายไปยังประเทศเพื่อนบ้านเช่น กัมพูชา เนื่องจากท่าเรือของไทยมีศักยภาพในการรับสินค้าขนาดใหญ่แบบนี้ได้กว่าท่าเรือของประเทศตัวเอง ดังนั้นรถไฟมือสองจากแดนซามูไร ก็ต้องผ่านท่าเรือแหลมฉบังก่อน แล้วค่อยเดินทางไปต่อยังจุดหมายปลายทางของมัน
.
🔹️ แล้วมีรถไฟมือสองที่นำเข้ามาในไทยแล้วจอดทิ้งไว้เฉยๆ จนหญ้าขึ้น เถาวัลย์พันรอบคันหรือไม่?
.
คำตอบคือ "มี" ซึ่งเป็นรถไฟล็อตก่อนหน้านั้นเมื่อ 5 ปีแล้ว โดยเป็นตู้โดยสารปรับอากาศ Hamanasu Blue Train รุ่น OHA 14/SUHAFU 14 จาก JR Hokkaido เช่นกัน จำนวน 10 คัน ที่นำเข้ามาตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งตอนนี้จอดจมกอหญ้าอยู่ที่ สถานีรถไฟชุมทางศรีราชา ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะได้นำมาปรับปรุงเพื่อใช้งานเมื่อไหร่ จอดนิ่งๆ ผุๆ พังๆ อยู่ก็มีหลายคันเช่นกัน
.
สำหรับรถไฟใหม่มือหนึ่งนั้นก็เคยนำเข้ามาแล้วก่อนหน้านี้คือ ขบวนรถไฟด่วนพิเศษ (CNR) นำเข้าจากประเทศจีน ที่ให้บริการใน 4 เส้นทาง คือ
.
🔹️ เส้นทาง อุตราวิถี กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ
🔹️ เส้นทาง อีสานวัตนา กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ
🔹️ เส้นทาง อีสานมรรคา กรุงเทพ-หนองคาย-กรุงเทพ
🔹️ เส้นทาง ทักษิณารัถย์ กรุงเทพ-หาดใหญ่-กรุงเทพ
.
เข้าประจำการตั้งแต่ปี 2559 และวิ่งให้บริการในตู้โดยสารแบบชั้น 2 และชั้น 1
.
นอกจากนี้ในปีหน้ายังมีรถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่จำนวน 50 คัน วงเงิน 6,500 ล้านบาท ผลิตโดยบริษัท CRRC QISHUYAN CO., LTD. ผู้ผลิตรถจักรชั้นนำจากประเทศจีน จะเริ่มทะยอยส่งมอบเข้ามาประมาณเดือนกุมภาพันธุ์ปีหน้า ซึ่งรถจักรดีเซลไฟฟ้าลอตแรกจะมาก่อน 20 คัน ซึ่งสมรรถนะของมันในการลากจูงขนส่งผู้โดยสารทำความเร็วได้สูงสุดสำหรับรถไฟที่ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสำหรับขนส่งสินค้าใทำความเร็วสูงสุด 70 กม./ชม.
.
ส่วนหัวรถจักรอีก 30 คันที่เหลือคาดว่าจะส่งมอบทั้งล็อตได้ในเดือนมีนาคม ปี 2023
.
ก็ถือซะว่าได้พามารู้จักกับ KiHa 183 กันแบบคร่าวๆ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ซึ่งไม่ได้เกี่ยวว่าจะดราม่าไม่ดราม่า จะนำเข้ามาหรือไม่นำเข้ามาก็ตาม แต่อย่างน้อยก็ให้รู้ว่ารถไฟรุ่นนี้มีลักษณะจำเพาะอย่างไร และด้วยคุณสมบัติของมันที่ทำให้หลายคนสนใจที่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ รถไฟมือสองของเหลือจากประเทศอื่นๆ นั่นเอง
.
📌 อ่านบทความนี้พร้อมชมภาพประกอบที่ >> https://bit.ly/3BWPvnt
.
แหล่งอ้างอิง
https://bit.ly/3twNfQP
https://bit.ly/3l2p3Ss
https://bit.ly/3E5ax59
. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 11/09/2021 10:38 am Post subject: |
|
|
ชอบแนวการถ่ายทำของช่อง 鉄道風景写真チャンネル
คลิปล่างสุดที่พี่หนุ่มนำมาให้ชมครับ
บรรยายละเอียดดี ถึงการเดินทางมาถ่ายทำ และสภาวะต่าง ๆ ของการถ่ายภาพ ความเร็วชัตเตอร์ หน้ากล้อง ISO ฯลฯ
มีบ่นด้วยว่า มาคราวที่แล้ว ยังเข้าไปถ่ายทำได้สะดวก รอบนี้ทำไมห้ามเข้าเสียแล้ว
และปิดท้ายว่า ตากไอเค็มทะเลอยู่แบบนี้ เดี๋ยวสนิมกิน พังหมด |
|
Back to top |
|
|
|