RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312050
ทั่วไป:13637351
ทั้งหมด:13949401
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวการประมูล จัดซื้อรถจักร รถพ่วงใหม่ของ รฟท. (เริ่มปี 2555)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวการประมูล จัดซื้อรถจักร รถพ่วงใหม่ของ รฟท. (เริ่มปี 2555)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50, 51  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2022 6:20 am    Post subject: Reply with quote

เปิดรหัสรถจักรใหม่'5201-5250'พลิกโฉมรถไฟไทย...
Source - เดลินิวส์
Sunday, February 06, 2022 04:02
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตัดริบบิ้นรับมอบ "รถจักรดีเซลไฟฟ้า" (Diesel Electric Locomotive) ใหม่ ส่งตรงจากประเทศจีน ลอตแรก 20 คัน จาก กิจการร่วมค้า เอสเอฟอาร์ ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างบริษัท ซานโฟโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ริเวอร์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

ตามโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนัก กดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่ จำนวน 50 คัน วงเงิน 6,525 ล้านบาท ที่สถานีรถไฟศรีราชา จ.ชลบุรี เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา ปิดภารกิจที่ดำเนินการมานับสิบปี กว่าที่ รฟท. จะได้รถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. กล่าวว่า รถจักรดีเซลไฟฟ้าที่รับมอบครั้งนี้ เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่ คุณภาพสูง ผลิตโดย บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน (CRRC Qishuyan) ผู้ผลิตรถจักรดีเซลชั้นนำของประเทศจีน และมีเครื่องยนต์ที่ผลิตจากประเทศเยอรมนี เพื่อนำมาใช้ทดแทนรถจักรเดิมที่มีอายุการใช้งานอย่างยาวนาน โดยบางคันมีการใช้งานมากกว่า 50 ปี จึงถือเป็นการพลิกโฉมการให้บริการครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของการรถไฟฯ ที่จะช่วยให้มีรถจักรเพียงพอต่อการให้บริการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าได้มากขึ้น เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ที่ทยอยเปิดใช้งานในอนาคต
    'รถจักรดังกล่าวจะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี เพราะถือเป็นรถจักรที่มีความทันสมัย มีโครงสร้างภายนอกที่แข็งแรง และมีสมรรถนะการใช้งานที่ดีกว่าเดิม ช่วยให้การขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร มีความรวดเร็ว ปลอดภัย รวมถึงช่วยสร้างโอกาสในการหารายได้ของ รฟท. ตลอดจนเสริมศักยภาพการขนส่งทางรางให้กับประเทศไทยได้เป็นอย่างดีด้วย"
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า การได้รับรถจักรดีเซลไฟฟ้าใหม่ เป็นความสำเร็จเบื้องต้นของ รฟท. แต่หลังจากนี้สิ่งที่เราต้องพิสูจน์ต่อไปคือ จะนำรถเหล่านี้มาเพิ่มศักยภาพในการให้บริการได้อย่างไร โดยเฉพาะปัจจุบันที่การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารเน้นระบบรางมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโจทย์สำคัญว่า รฟท. จะสามารถใช้โอกาสนี้ได้อย่างเต็มที่หรือไม่

หัวรถจักรถือเป็นเครื่องมือทำมาหากินที่สำคัญ หากเก่าทรุดโทรม และไม่จัดหามาเพิ่ม จะทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางราง ที่ขณะนี้ รฟท. กำลังเร่งดำเนินการอยู่ อาทิ โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1, รถไฟทางคู่สายใหม่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม และโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จะใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่

จุดเด่นของรถจักรดีเซลไฟฟ้าถูกออกแบบและผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีกำลังสูงสุดของเครื่องยนต์ 3,263 แรงม้า (2,400 กิโลวัตต์) มีสมรรถนะในการลากจูงขบวนรถโดยสารได้ความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง(ชม.) และลากจูงขบวนรถสินค้าที่ความเร็วสูงสุด 70 กม.ต่อชม. นอกจากนี้มีการติดตั้งระบบห้ามล้ออัตโนมัติ (Automatic Train Protection - ATP) รองรับกับมาตรฐาน ETCS level 1 : (European Train Control System: ETCS) รวมถึงมีเครื่องยนต์รถจักรผลิตจากประเทศเยอรมนี ซึ่งมีค่ามาตรฐานในการปล่อยควันไอเสียต่ำตามมาตรฐานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนได้ติดตั้งระบบกล้อง CCTV เพื่อบันทึกเหตุการณ์ด้านหน้ารถจักรและเครื่องพ่วง เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการเดินรถอีกด้วย

ด้าน นายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่า รฟท. กล่าวว่า หลังจากนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนทดสอบสมรรถนะ และระบบต่าง ๆ อาทิ ระบบเครื่องยนต์, ไฟฟ้า, เบรก และความปลอดภัย โดยทดสอบทีละคันทั้ง 20 คัน จะไม่ใช้วิธีสุ่มตรวจ ซึ่งจะตรวจสอบทั้งแบบรถจักรอยู่กับที่ และรถจักรเคลื่อนที่ ด้วยการลากรถสินค้าและรถโดยสาร

เงื่อนไขการตรวจรับรถ ต้องมีการทดสอบทั้งวิ่งรถเปล่า และลากขบวนรถโดยสาร โดยเฉพาะเส้นทางเชียงใหม่ด้วย เพื่อทดสอบการเคลื่อนที่แบบขึ้นเขา ทั้งนี้คาดว่าจะทดสอบแล้วเสร็จ และสามารถนำมาใช้ลากจูงขบวนรถได้ในเดือน พ.ค. 65 สำหรับการใช้หัวรถจักรของ รฟท.นั้น ก่อนเกิดโควิด-19 อยู่ที่ประมาณ 250 หัวต่อวัน

ในส่วนของรถจักรดีเซลไฟฟ้า ลอตที่ 2 อีก 30 คัน คาดว่ากิจการร่วมค้า เอสเอฟอาร์ จะสามารถส่งมอบให้ รฟท. ได้ในปลาย ปี 65 เบื้องต้น รฟท. จะนำรถจักรดีเซลไฟฟ้าลอตแรก มาใช้งานกับขบวนรถโดยสารก่อน สามารถขึ้นให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อได้ด้วย

รถจักรสามารถลากจูงตู้รถโดยไม่ต้องใช้รถพ่วง 2 หัวเหมือนในปัจจุบัน ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันได้มาก โดยลากจูงโบกี้บรรทุกตู้สินค้า (บทต.) ได้ 33 คัน 2,100 ตัน และรถตู้โดยสาร 13 คัน 550 ตัน นอกจากนี้มีจุดเด่นที่ต่างจากรถจักรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาทิ มีระบบห้ามล้ออัตโนมัติ (ATP) มาตรฐานควบคุมรถไฟของยุโรป(ETCS) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินรถมากขึ้น

นายศิริพงศ์ กล่าวด้วยว่า การรับมอบรถจักรใหม่ครั้งนี้เกิดขึ้นในรอบ 7 ปี ก่อนหน้านี้ รฟท. ได้รับมอบรถจักร U-20 มีน้ำหนักกดเพลา 20 ตัน เพื่อใช้ลากจูงสินค้า เมื่อปี 58 หลังจากนั้นก็ยังไม่มีการรับมอบหัวรถจักรใหม่อีกเลย

รถจักรดีเซลไฟฟ้าใหม่ นอกจากมีสมรรถนะที่ยอดเยี่ยมแล้ว ยังออกแบบรูปลักษณ์ที่มีความทันสมัย ด้วยโทนสีแดง เทา และริ้วขาวเล็กน้อย สื่อถึงอัตลักษณ์ตัวตนของ รฟท. ได้เป็น อย่างดี โดยหลายคนมองว่าคล้ายกับอุลตร้าแมน ทั้งนี้ รฟท. กำหนดหมายเลขรุ่นประจำรถจักรคือ 5201 ถึง 5250 ตามลำดับ ซึ่งเป็นเลขที่รันต่อจากรถจักรรุ่นก่อนหน้านี้ U-20 ที่มีเลขรหัส 5101-5120

พลิกโฉมรถไฟไทย ด้วย "รถจักรดีเซลไฟฟ้า"...อุลตร้าแมน รหัสใหม่ 5201-5250.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 7 ก.พ. 2565 (กรอบบ่าย)


ซินหัวเสนอข่าว ไทยรับมอบ “หัวรถจักรไฟฟ้า” ฝีมือจีน ชุดแรก 20 คัน
เดลินิวส์ 6 กุมภาพันธ์ 2565 15:51 น.
ต่างประเทศ

หน่วยงานการรถไฟไทยรับมอบหัวรถจักรดีเซลชุดแรก ซึ่งผลิตโดยบริษัท ไชน่า เรลเวย์ โรลลิง สต็อก คอร์เปอเรชัน (ซีอาร์อาร์ซี) ชีซู่เยี่ยน จำกัด อย่างเป็นทางการ

สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ว่าหัวรถจักรเครื่องยนต์ดีเซล แบบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ชุดแรก 20 คัน เป็นส่วนหนึ่งของคำสั่งซื้อหัวรถจักรรวม 50 คัน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งถือเป็นคำสั่งซื้อหัวรถจักรครั้งใหญ่ที่สุดในคราวเดียว

ด้าน นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวในพิธีรับมอบ ณ สถานีรถไฟศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า รฟท.ทำงานอย่างแข็งขันในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศ เพื่อทำให้ไทยมีระบบรางอันทันสมัยยิ่งขึ้น

หัวรถจักรดีเซลชุดใหม่จะช่วยให้รฟท. สามารถดำเนินการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ที่รวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการบริการของระบบรถไฟไทย


ขณะที่ ซีอาร์อาร์ซี ชีซู่เยี่ยน ให้ข้อมูลว่า หัวรถจักรชุดนี้ถูกปรับแต่งตามความต้องการของรฟท. โดยมีความเร็วในการเดินรถสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง.

ข้อมูล : XINHUA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2022 11:35 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:



ซินหัวเสนอข่าว ไทยรับมอบ “หัวรถจักรไฟฟ้า” ฝีมือจีน ชุดแรก 20 คัน
เดลินิวส์ 6 กุมภาพันธ์ 2565 15:51 น.

XINHUA


นี่ครับที่มาของข่าว:

เมื่อวันศุกร์ (4 ก.พ.) หน่วยงานการรถไฟไทยรับมอบหัวรถจักรดีเซลชุดแรก ซึ่งผลิตโดยบริษัท ไชน่า เรลเวย์ โรลลิง สต็อก คอร์เปอเรชัน (ซีอาร์อาร์ซี) ชีซู่เยี่ยน จำกัด อย่างเป็นทางการ
https://www.xinhuathai.com/vdo/261223_20220205

การรถไฟฯ เปิดสเปค “อุลตร้าแมน” หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าน้องใหม่ของไทย
หน้าเศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันเสาร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 11:25 น.

การรถไฟฯ เปิดสเปค “อุลตร้าแมน” หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าน้องใหม่ของไทย ที่มาพร้อมความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม. เพิ่มศักยภาพด้านการเดินทางและการขนส่ง

หลังเผยโฉม “หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า” รุ่นล่าสุด (CDA5B1) หรือที่ใครๆ ต่างพากันเรียกว่า “อุลตร้าแมน” ด้วยลักษณะหัวรถจักรที่มีสีแดง-เทา คล้ายกับชุดของอุลต้ราแมน หัวรถจักรรุ่นนี้ผลิตโดย บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน (CRRC Qishuyan) ประเทศจีน โดยหัวรถจักรที่การรถไฟฯ ตั้งเป้าจะนำมาเป็นกำลังสำคัญเพื่อเสริมทัพศักยภาพรถไฟไทย ให้แข็งแกร่งทั้งในด้านการขนส่งและสนับสนุนการท่องเที่ยวทางรางให้คึกคักมากยิ่งขึ้น ซึ่งเซ็นสัญญาซื้อขายไว้จำนวน 50 คัน มูลค่า 6,525 ล้านบาท

การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เซ็นสัญญาสั่งซื้อ ไปเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 กับ กิจการร่วมค้าเอสเอฟอาร์ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูล และทำการจัดส่ง“ หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า” ล็อตแรก เมื่อช่วงปลายเดือน มกราคม 2565 ที่ผ่านมาแล้วจำนวน 20 คัน ส่วนในล็อตที่ 2 อีก 30 คัน คาดว่าน่าจะถึงประเทศไทยประมาณเดือน ก.พ. 2566 หรือช่วงต้นปีหน้า


ทำไมต้องซื้อหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า?



ปัจจุบันหัวรถจักรของการรถไฟฯ มีอายุการใช้งานมาอย่างยาวนาน วิ่งให้บริการทุกวัน ทำให้หัวรถจักรบางคันเริ่มเสื่อมสภาพและชำรุด จนทำให้ต้องหยุดให้บริการไปบ้างในบางส่วน ส่งผลให้ขบวนรถที่นำไปให้บริการประชาชนมีไม่เพียงพอ การสั่งซื้อหัวรถจักรใหม่นี้จะมีส่วนสำคัญยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่พี่น้องประชาชน โดยจะทดแทนคันที่ต้องหยุดให้บริการชั่วคราว ทั้งยังเป็นการสนับสนุนศักยภาพการเพิ่มรายได้ของการรถไฟฯอีกทางด้วย



สเปคแน่น สมรรถนะดีกว่าเดิม !

แน่นอนว่าหัวรถจักรใหม่นี้มีสมรรถนะการใช้งานดีกว่าเดิมมาก โดยคุณสมบัติหลักๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของรถไฟ คือมีกำลังของเครื่องยนต์สูงสุดที่ 3,263 แรงม้า (2,400 kW) ทำให้สามารถลากจูงขบวนรถโดยสารน้ำหนัก 550 ตัน ได้ความเร็วสูงสุดที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และหากต้องลากจูงขบวนรถโดยสารน้ำหนัก 1,000 ตัน สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่หากมีการบรรทุกสินค้าที่น้ำหนักถึง 2,100 ตัน จะทำความเร็วสูงสุดได้ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

การรถไฟฯ เปิดสเปค “อุลตร้าแมน” หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าน้องใหม่ของไทย


นอกจากนี้ ยังมีระบบห้ามล้อ ผลิตจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แบบ Electronic air brake system จากเดิมรถจักรในปัจจุบันใช้แบบ Pneumatic air brake system ซึ่งทำให้การซ่อมบำรุงรักษาที่ง่ายขึ้นกว่ารถจักรแบบเก่า



ทั้งนี้ถึงหัวรถจักรจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลแต่มีค่ามาตรฐานการปล่อยควันไอเสียต่ำ ตามมาตรฐาน UIC IIIA / EU Stage IIIA และสามารถรองรับการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันไบโอดีเซล จนถึง B20ได้ เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ตามนโยบายของภาครัฐ อีกทั้งรูปแบบแคร่รถจักร Co-Co (เป็นรูปแบบ 6 เพลา ชุดละ 3 เพลา ) ทำให้สามารถวิ่งบนเส้นทางมาตรฐานของการรถไฟฯได้อย่างแน่นอน



สำหรับตำแหน่งพนักงานขับรถ (พขร.) อยู่ทางด้านขวาของตัวรถ รวมทั้งติดตั้งระบบกล้อง CCTV เพื่อบันทึกเหตุการณ์ด้านหน้ารถจักรและเครื่องพ่วง


หัวรถใหม่ล็อตแรกจะนำไปวิ่งเส้นทางไหนก่อน?



ในประเด็นนี้ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจรับ เช็คสภาพและความสมบูรณ์ต่างๆ ของเครื่องยนต์ อะไหล่ ทั้ง 20 คันแล้ว จะมีกระบวนการให้พนักงานขับรถ ทดสอบขับ โดยคาดว่าจะนำไปวิ่งให้บริการในเส้นทางรถไฟทางไกล เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และเสริมศักยภาพในการหารายได้ของการรถไฟฯ ตลอดจนสเปคหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าดังกล่าวยังรองรับการขยายโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางรางอื่นๆ โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ที่จะทยอยเปิดให้บริการประชาชนในอนาคต



อย่างไรก็ตามหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าในล็อตที่ 2 หรือ อีกจำนวน 30 คันที่เหลือ ทางบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน (CRRC Qishuyan) จะเริ่มทำการผลิต(Manufacturing) ในช่วงเดือนมีนาคม 2565 หลังจากนั้นจะจัดส่งให้กับการรถไฟภายใน 915 วัน นับถัดจากวันที่ลงนามในสัญญาฯ หรือภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และการรถไฟฯยังมีแผนที่จะจัดซื้อตู้โดยสารใหม่ เพื่อนำมาจัดสรรให้สอดคล้องกับความต้องการ และทดแทนตู้โดยสารเก่าที่เริ่มเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน



โครงการจัดหาหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าในครั้งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของการรถไฟฯ โดยเป้าหมายสำคัญนอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่พี่น้องประชาชน ให้ได้รับความปลอดภัย และสะดวกสบายในการใช้ระบบขนส่งทางรางแล้ว ยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนผลักดันเศรษฐกิจฐานราก กระตุ้นการท่องเที่ยว และการเดินทางด้วยระบบรางให้คึกคัก จนนำไปสู่การสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

เปิดโฉมใหม่ รถจักรดีเซลไฟฟ้า "อุลตร้าแมน" เริ่มให้บริการ พ.ค.นี้
หน้าเศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 11:51 น.

รฟท.ได้ฤกษ์รับมอบหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่ น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่ เฟส1 ราว 20 คัน เล็งทดสอบระบบ เปิดให้บริการพ.ค.นี้ เตรียมแผนส่งมอบเฟส 2 ปลายปีนี้ หวังเพิ่มประสิทธิภาพขนส่งทางราง
ad
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่ ระยะที่ 1 จำนวน 20 คัน จากกิจการร่วมค้า เอสเอฟอาร์ ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างบริษัท ซานโฟโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ริเวอร์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เบื้องต้นจะมีการทดสอบระบบอาณัติสัญญาณและด้านความปลอดภัย ก่อนเปิดให้บริการภายในเดือนพ.ค.นี้ ส่วนระยะที่ 2 เหลืออีก 30 คัน คาดว่าส่งมอบภายในสิ้นปี 2565 โดยรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นนี้เป็นรถจักรดีเซลที่มีลักษณะภายนอกคล้ายกับอุลตร้าแมน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าและรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น

"การส่งมอบครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการและสร้างรายได้ของการรถไฟฯ โดยถือเป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่นใหม่ คุณภาพสูง ที่ผลิตโดยบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ซิชูเยียน (CRRC Qishuyan) ผู้ผลิตรถจักรดีเซลชั้นนำของประเทศจีน และมีเครื่องยนต์ที่ผลิตจากประเทศเยอรมนี ซึ่งจะนำมาใช้ทดแทนรถจักรเดิมที่มีอายุการใช้งานมายาวนาน และบางคันมีการใช้งานมากกว่า 50 ปี จึงถือเป็นการพลิกโฉมการการให้บริการครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง การได้มาซึ่งหัวรถจักรในครั้งนี้ จะช่วยให้การรถไฟฯ มีรถจักรเพียงพอต่อการให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าได้มากขึ้น เพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ที่ทยอยเปิดใช้งานในอนาคต"

ที่ผ่านมา รฟท. ได้มีการเปิดประกวดราคา และลงนามในสัญญาในโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่ จำนวน 50 คัน วงเงิน 6,525 ล้านบาท กับกิจการร่วมค้า เอสเอฟอาร์ ไปเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563

สำหรับจุดเด่นของรถจักรดีเซลไฟฟ้าดังกล่าว ได้ถูกออกแบบและผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีสมรรถนะในการลากจูงขบวนรถโดยสารได้ความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และลากจูงขบวนรถสินค้าที่ความเร็วสูงสุด 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้ มีการติดตั้งระบบห้ามล้ออัตโนมัติ (Automatic Train Protection - ATP) รองรับกับมาตรฐาน ETCS level 1 : (European Train Control System: ETCS) รวมถึง มีเครื่องยนต์รถจักร ผลิตจากประเทศเยอรมนี ซึ่งมีค่ามาตรฐานในการปล่อยควันไอเสียต่ำตามมาตรฐานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีกล้อง CCTV ตรวจจับกรณีเกิดอุบัติเหตุและระบบแจ้งเตือนด้านความปลอดภัย ตลอดจนได้ติดตั้งระบบกล้อง CCTV เพื่อบันทึกเหตุการณ์ด้านหน้ารถจักรและเครื่องพ่วงเพื่อยกระดับความปลอดภัยในการเดินรถอีกด้วย


Last edited by Wisarut on 07/02/2022 12:36 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2022 11:41 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการจัดหารถดีเซลรางใหม่ติดแหง็ก ”สภาพัฒน์”
*184 คัน 1.4 หมื่นล้านบริการประชาชนขาดแคลน
*ให้แจงไม่จบไม่สิ้นล้มแผนเปิดประมูลกลางปี 63
*เพิ่มรถเชิงสังคม216คันแทนรถเก่ารับรถไฟทางคู่
*เร่งศึกษารถไฟEVแคร่ขนสินค้า975คันยังไม่เคาะ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3106826139538883
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/04/2022 8:25 am    Post subject: Reply with quote

เก่า30ปีแก่มากขึ้นเขาไม่ไหว
Source - เดลินิวส์
Thursday, April 21, 2022 07:59

พิเศษดีเซลรางกทม.เชียงใหม่ รอรถใหม่ยังไม่ยุบต้องพ่วง 3 ตู้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา มีประชาชนหลายรายส่งคำถามผ่านกล่องข้อความ(Inbox) ของเพจเฟซบุ๊ก "ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" พร้อมแสดงความคิดเห็น และให้ช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกระแสข่าวว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะยุบการเดินรถด่วนพิเศษดีเซลราง ขบวนที่ 7 กรุงเทพ-เชียงใหม่ และขบวนที่ 8 เชียงใหม่-กรุงเทพ จริงหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่อยากให้ยุบการเดินรถขบวนนี้และหากยุบจริง รฟท. ควรแจ้งให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้าจะได้เตรียมตัวและไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการเดินทาง

จากการสอบถาม รฟท. ได้รับข้อมูลเบื้องต้นว่า ไม่ได้ยุบขบวนที่ 7/8 และคงเป็นไปไม่ได้ที่จะยกเลิกเดินรถขบวนเหล่านี้ ยังเปิดเดินรถตามปกติ แต่ยอมรับว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีการพ่วงตู้เข้าไปอีก 1 ตู้ จาก 3 ตู้เป็น 4 ตู้ ทำให้เห็นปัญหาทางเทคนิคด้านควบคุมการเดินรถ โดยเฉพาะช่วงขึ้นเขาจะขึ้นไม่ค่อยไหว เส้นทางนี้เป็นทางขึ้นเขาเกือบ 100 กิโลเมตร (กม.) รถมีอายุใช้งานนาน 27-28 ปีแล้ว ถือเป็นรถที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างสูง ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่จะทำให้รถสามารถให้บริการเดินรถต่อได้ก็คือพ่วงตู้ 3 ตู้เหมือนเดิม

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ปกติแล้วรถดีเซลรางจะมีอายุใช้งานประมาณ 30 ปี บนสมมุติฐานที่จะต้องไม่นำมาใช้เดินรถแบบ หนัก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่รถดีเซลรางจะใช้เดินรถระยะทางไม่เกิน 500 กม. ขณะที่เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ มีระยะทางประมาณ 750 กม. จึงถือว่าค่อนข้างหนัก ขณะนี้การจัดหารถใหม่ 184 คัน ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณา จึงไม่มีรถมาทดแทน ต้องใช้รถเดิมไปก่อน หากจะยกเลิกเส้นทางนี้ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นเส้นทางที่มีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก และเป็นขบวนรถที่ตอบโจทย์การเดินทางด้วยระบบรางที่เชื่อมเมืองเข้าด้วยกัน

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ผู้โดยสารส่วนใหญ่ของขบวนที่ 7/8 ไม่ใช่กลุ่มที่เดินทางจากต้นทางกรุงเทพฯ ถึงปลายทางเชียงใหม่ แต่เป็นกลุ่มที่ขึ้นลงระหว่างทางจำนวนมาก อาทิ กรุงเทพ-นครสวรรค์, พิษณุโลก-อุตรดิตถ์ และอุตรดิตถ์-ลำปาง เป็นต้น หากจะให้เดินรถเฉพาะรถด่วนพิเศษ "อุตราวิถี" ขบวนที่ 9/10 กรุงเทพ-เชียงใหม่กรุงเทพ เพียงอย่างเดียวก็ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ เพราะเวลาเดินรถของขบวนที่ 9 ออกจากกรุงเทพฯ ช่วงเย็น จะไปถึงจังหวัดระหว่างทาง อาทิ นครสวรรค์ และลำปาง ค่อนข้างดึก ไม่มีผู้โดยสารช่วงเวลานั้นอยู่แล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรถด่วนพิเศษดีเซล รางขบวนที่ 7/8 มีระยะทาง 751 กม. เป็นรถไฟชั้น 2 รถดีเซล รางนั่งปรับอากาศ-ชนิดแดวู โดยขบวนที่ 7 ออกจากกรุงเทพฯ (สถานีหัวลำโพง) เวลา 08.30 น. ถึงเชียงใหม่ 19.30 น. ส่วน ขบวนที่ 8 ออกจากเชียงใหม่ เวลา 08.50 น. ถึงกรุงเทพ 19.25 น. อัตราค่าโดยสาร 641 บาท.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 22 เม.ย. 2565 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/04/2022 8:51 pm    Post subject: Reply with quote

เก่า30ปีแก่มากขึ้นเขาไม่ไหว
Source - เดลินิวส์
Thursday, April 21, 2022 07:59

พิเศษดีเซลรางกทม.เชียงใหม่ รอรถใหม่ยังไม่ยุบต้องพ่วง 3 ตู้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา มีประชาชนหลายรายส่งคำถามผ่านกล่องข้อความ(Inbox) ของเพจเฟซบุ๊ก "ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" พร้อมแสดงความคิดเห็น และให้ช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกระแสข่าวว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะยุบการเดินรถด่วนพิเศษดีเซลราง ขบวนที่ 7 กรุงเทพ-เชียงใหม่ และขบวนที่ 8 เชียงใหม่-กรุงเทพ จริงหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่อยากให้ยุบการเดินรถขบวนนี้และหากยุบจริง รฟท. ควรแจ้งให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้าจะได้เตรียมตัวและไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการเดินทาง

จากการสอบถาม รฟท. ได้รับข้อมูลเบื้องต้นว่า ไม่ได้ยุบขบวนที่ 7/8 และคงเป็นไปไม่ได้ที่จะยกเลิกเดินรถขบวนเหล่านี้ ยังเปิดเดินรถตามปกติ แต่ยอมรับว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีการพ่วงตู้เข้าไปอีก 1 ตู้ จาก 3 ตู้เป็น 4 ตู้ ทำให้เห็นปัญหาทางเทคนิคด้านควบคุมการเดินรถ โดยเฉพาะช่วงขึ้นเขาจะขึ้นไม่ค่อยไหว เส้นทางนี้เป็นทางขึ้นเขาเกือบ 100 กิโลเมตร (กม.) รถมีอายุใช้งานนาน 27-28 ปีแล้ว ถือเป็นรถที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างสูง ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่จะทำให้รถสามารถให้บริการเดินรถต่อได้ก็คือพ่วงตู้ 3 ตู้เหมือนเดิม

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ปกติแล้วรถดีเซลรางจะมีอายุใช้งานประมาณ 30 ปี บนสมมุติฐานที่จะต้องไม่นำมาใช้เดินรถแบบ หนัก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่รถดีเซลรางจะใช้เดินรถระยะทางไม่เกิน 500 กม. ขณะที่เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ มีระยะทางประมาณ 750 กม. จึงถือว่าค่อนข้างหนัก ขณะนี้การจัดหารถใหม่ 184 คัน ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณา จึงไม่มีรถมาทดแทน ต้องใช้รถเดิมไปก่อน หากจะยกเลิกเส้นทางนี้ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นเส้นทางที่มีผู้โดยสารใช้บริการจำนวนมาก และเป็นขบวนรถที่ตอบโจทย์การเดินทางด้วยระบบรางที่เชื่อมเมืองเข้าด้วยกัน

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ผู้โดยสารส่วนใหญ่ของขบวนที่ 7/8 ไม่ใช่กลุ่มที่เดินทางจากต้นทางกรุงเทพฯ ถึงปลายทางเชียงใหม่ แต่เป็นกลุ่มที่ขึ้นลงระหว่างทางจำนวนมาก อาทิ กรุงเทพ-นครสวรรค์, พิษณุโลก-อุตรดิตถ์ และอุตรดิตถ์-ลำปาง เป็นต้น หากจะให้เดินรถเฉพาะรถด่วนพิเศษ "อุตราวิถี" ขบวนที่ 9/10 กรุงเทพ-เชียงใหม่กรุงเทพ เพียงอย่างเดียวก็ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ เพราะเวลาเดินรถของขบวนที่ 9 ออกจากกรุงเทพฯ ช่วงเย็น จะไปถึงจังหวัดระหว่างทาง อาทิ นครสวรรค์ และลำปาง ค่อนข้างดึก ไม่มีผู้โดยสารช่วงเวลานั้นอยู่แล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรถด่วนพิเศษดีเซล รางขบวนที่ 7/8 มีระยะทาง 751 กม. เป็นรถไฟชั้น 2 รถดีเซล รางนั่งปรับอากาศ-ชนิดแดวู โดยขบวนที่ 7 ออกจากกรุงเทพฯ (สถานีหัวลำโพง) เวลา 08.30 น. ถึงเชียงใหม่ 19.30 น. ส่วน ขบวนที่ 8 ออกจากเชียงใหม่ เวลา 08.50 น. ถึงกรุงเทพ 19.25 น. อัตราค่าโดยสาร 641 บาท.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 22 เม.ย. 2565 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 21/04/2022 8:59 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
โพสต์ซ้ำครับ เอาลิงก์นี้แทน

ยังไม่ยุบจ้าา! แต่เก่า 30 ปีแก่มากกกกขึ้นเขาไม่ไหว
*รถด่วนพิเศษดีเซลรางขบวน 7/8 กทม.-เชียงใหม่
*ตอบโจทย์เดินทางระบบรางเชื่อมเมืองเข้าด้วยกัน
*ลุ้นรฟท.จัดหารถมาใหม่ต้องพ่วงแค่3ตู้รอเกษียณ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/537899367787302
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/03/2023 7:27 am    Post subject: Reply with quote

จัดรถไฟปรับอากาศ184คัน1.4หมื่นล.
Source - เดลินิวส์
Tuesday, March 07, 2023 05:45

ขร.แนะรฟท.ลุยเพื่อประชาชน

รถเก่าเสียบ่อย-จบปัญหาดีเลย์

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้ ขร. จะลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์อีกรอบ ตามข้อเสนอแนะของ ขร. ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างแก้ไข รวมถึงข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่ ขร. ตรวจพบภายหลังเปิดให้บริการรถไฟทางไกล กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ ที่สถานีกลางฯ ครบ 1 เดือน

ปัญหาที่แก้ไขแล้ว มีดังนี้
1.ติดตั้งจอแสดงข้อมูลสถานะขบวนรถ บริเวณพื้นที่พักคอยผู้โดยสาร ทั้งแบบจอติดตั้งบนฝ้าเพดาน และติดตั้งระดับพื้นแสดงข้อมูลขบวนรถไฟ ชานชาลา และเวลาที่ขบวนรถไฟออกจากสถานีตามเวลาจริง (Real time)
2. ปรับปรุงจอแสดงข้อมูลตารางเวลาเดินรถบริเวณประตู 4 (จอใหญ่) มีข้อมูลตารางเวลาเดินรถภาษาไทย สลับภาษาอังกฤษ
3. เปิดให้ผู้โดยสารขึ้นชานชาลาได้จากบริเวณทิศใต้ของสถานีอำนวยความสะดวกผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเชื่อมต่อการเดินทาง
4.แก้ไขป้ายด้านข้างขบวนรถไฟ ซึ่งสะกดชื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ผิด
5.ปรับปรุงป้ายให้ข้อมูลการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงบริเวณภายในสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
6.เพิ่มเก้าอี้พักคอยบริเวณที่นั่งพักคอยบนชั้น 1 รองรับผู้โดยสารได้เพียงพอ และ
7.รถไฟเข้าชานชาลาตรงเวลามากขึ้น ทำให้ไม่มีการสะสมของผู้โดยสารบริเวณชั้นพักคอย และทำให้การสะสมของควันในชั้นชานชาลาน้อยลง ทั้งนี้การตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ PM 10 ภายในสถานีกลางฯ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร)

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาที่อยู่ระหว่างแก้ไข ได้แก่
1.วินรถจักรยานยนต์ไม่มีราคาแสดงให้ชัดเจน
2.ป้ายสายรถประจำทาง ยังเป็นป้ายชั่วคราวที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก
3.ขาดการประชาสัมพันธ์เรื่องรถ shuttle bus รับ-ส่ง
4. ขาดเก้าอี้พักคอยบริเวณรอรถโดยสารประจำทาง และ
5.บริเวณร้านอาหาร มีโต๊ะ และเก้าอี้ไม่เพียงพอสำหรับผู้มาทานอาหาร

ส่วนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากการที่ ขร. ลงพื้นที่ติดตามเมื่อครบ 1 เดือน มีดังนี้
1.ควรติดตั้งราวกันตกเพื่อป้องกันผู้ใช้ทางเท้าพลัดตกอุโมงค์ทางลอด เข้าที่จอดรถยนต์สถานีกลางฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ต่างระดับ และมีความสูงหลายเมตร
2. ติดตั้งเครื่องตรวจตั๋วโดยสารบริเวณพื้นที่พักคอย เพื่อตรวจตั๋วโดยสารได้รวดเร็วขึ้น และ
3.แก้ไขหมายเลขป้ายประตูสถานี ไม่ถูกต้อง

ในส่วนของปัญหาขบวนล่าช้ากว่ากำหนด (ดีเลย์) พบว่า มีสถิติที่ดีขึ้นต่อเนื่อง บางวันไม่มีปัญหาดีเลย์เลย ขร. ให้ข้อคิดเห็นเรื่องการแก้ปัญหาว่าปัจจุบันรถจักร และรถไฟในความรับผิดชอบของ รฟท. มีอายุการใช้งานมานาน ส่งผลให้มีรถไฟขัดข้องบ่อยครั้ง ประกอบกับ รฟท. มีรถหมุนเวียนไม่เพียงพอ ทำให้รถไฟเกิดความล่าช้า จึงขอให้ รฟท. เร่งจัดหารถโดยสารปรับอากาศ เพื่อให้บริการเชิงพาณิชย์ 184 คัน โดยปรับปรุงข้อมูลตามความเห็นสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้เป็นปัจจุบัน และเสนอกระทรวงคมนาคมอีกครั้งตามขั้นตอนก่อน

นำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป รวมถึงจัดหารถโดยสารอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหารถไฟหมุนเวียนไม่เพียงพอ และรองรับรถไฟทางคู่ที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ นอกจากนี้ควรบำรุงรักษารถจักร และรถไฟที่มีอยู่ตามรอบการซ่อมบำรุง ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน หากบุคลากรซ่อมบำรุงไม่เพียงพอ ควรรับบุคลากรเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับจำนวนรถ หรือพิจารณาจ้างเหมาซ่อมบำรุงจากภายนอก เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระงานของเจ้าหน้าที่ การจ้างเหมาซ่อมบำรุง ให้รับประกันผลงานซ่อม

รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการจัดหารถโดยสารดีเซลรางปรับอากาศ 184 คัน พร้อมอะไหล่ วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท รฟท. ยังจัดให้เป็นรถที่ใช้พลังงาน 2 ระบบทั้งเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล และไฟฟ้า (Bi-Mode Multiple Unit : BMU) ส่วนนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่มุ่งเน้นให้จัดซื้อรถโดยสารดีเซลรางใหม่ในรูปแบบขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (EV on Train) จากการพิจารณาเบื้องต้นพบว่า ควรรอดูความชัดเจนในการให้บริการเชิงพาณิชย์รถไฟ EV ของต่างประเทศก่อนจึงพิจารณานำมาใช้ในประเทศไทย เนื่องจากรถไฟไฟฟ้าใช้งบลงทุนสูง.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 มี.ค. 2566 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/03/2023 10:59 am    Post subject: Reply with quote

“กรมขนส่งทางราง” เคลียร์ปมดราม่าสั่งเบรกรถไฟอีวี 50 คัน
ฐานเศรษฐกิจ 11 มีนาคม 2566

“กรมขนส่งทางราง” โต้ ปมสั่งเบรกรถไฟอีวี 50 คัน ยันไม่เป็นความจริง สั่งการถไฟ เร่งจัดหารถโดยสารปรับอากาศ 184 คัน ให้บริการประชาชน เหตุรถโดยสารไม่พียงพอ
รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยถึงกรณีกรมฯสั่งเบรก จัดหารถไฟ EV 50 คัน นั้นยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะกรมฯไม่เคยสั่งชะลอการจัดหารถดังกล่าว โดยที่ผ่านมา กรมฯได้สนับสนุนการศึกษาการใช้เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า เพื่อ Decarbonization ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษ รวมทั้งผลักดันเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางขึ้นในประเทศไทย รวมทั้งช่วยสนับสนุนการใช้วัสดุภายในประเทศ โดยใช้หลักการ “Thai First : ไทยทำ ไทยใช้”เพื่อให้เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางโดยคนไทย เป็นการพึ่งพาตนเอง ให้เกิดการพัฒนาระบบรางที่อย่างยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาโดยตลอด

ส่วนการเร่งจัดหารถโดยสารปรับอากาศ 184 คันนั้น ขณะนี้กรมฯได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งจัดหารถโดยสารปรับอากาศ จำนวน 184 คัน เพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการติดตามการบริการและการเดินทางระบบรางของประชาชนอยู่เสมอ และรับทราบถึงความเดือดร้อนจากการที่รถโดยสารไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ รวมทั้งเร่งจัดหารถโดยสารอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหารถไฟหมุนเวียนไม่เพียงพอ และรองรับรถไฟทางคู่ที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จ

“ระหว่างที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้รถเดิมที่มีอยู่ ให้ รฟท. ดำเนินการบำรุงรักษารถจักรและรถไฟ ตามรอบการซ่อมบำรุง ให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ สะดวกและปลอดภัย”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47206
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/05/2023 7:45 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรถไฟ เห็นชอบ จัดซื้อแคร่รถขนสินค้า 946 คัน วงเงิน 2.459 ล้านบาท
วันพฤหัสบดี ที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 19:17 น. isranews

บอร์ดรถไฟ เห็นชอบ จัดซื้อแคร่รถขนสินค้าจำนวน 946 คัน วงเงิน 2,459.97 ล้านบาทแล้ว หลังถูก ‘คมนาคม’ ตีกลับให้ศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง ‘เช่า/ซื้อ/ใช้เอาท์ซอร์ซ’ เปิดไทม์ไลน์ได้ ครมใหม่ จ่อเสนอทันที คาดใช้เวลา 6-7 เดือนหลังจากนั้นในการประกวดราคา

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.มีมติเห็นชอบการจัดซื้อรถโบกี้บรรทุกสินค้า (บทต.) โดยกำหนดให้นำชิ้นส่วนภายในประเทศและต่างประเทศมาประกอบภายในประเทศ จำนวน 946 คัน วงเงิน 2,459.97 ล้านบาท

จากเดิมที่โครงการนี้ถูกตีกลับให้ไปศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการซื้อ การเช่า และให้หน่วยงานภายนอก (เอาท์ซอร์ซ) เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่ง รฟท.ศึกษาแล้วและได้รายงานกลับไปว่า การซื้อมีความคุ้มค่ามากกว่า โดยคำนึงถึงจำนวนเส้นทางรถไฟหทางคู่ที่กำลังขยายเส้นทางมากขึ้น, จุดศูนย์กลางในการกระจายสินค้า ซึ่งศูนย์กลางอยู่ที่สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD: Inland Container Depot) ลาดกระบัง ก่อนจะมีการกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ และที่สำคัญ ยังอยู่ในมาตรการส่งเสริมการใช้สินค้าภายในประเทศ ( Local content) ของกระทรวงคมนาคมด้วย ซึ่งระบุให้ใช้ไม่น้อยกว่า 40% โดยมีการใช้ของต่างประเทศเพียงแค่การผลิตโบกี้รองรับน้ำหนักสินค้าเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังประหยัดต้นทุนในการทำศูนย์ซ่อมบำรุงด้วย เพราะ รฟท.มีศูนย์ซ่อมที่ได้รับมาตรฐานอยู่แล้ว

หลังจากนี้ จะส่งเรื่องกลับที่กระทรวงคมนาคม ก่อนจะไปที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในท้ายที่สุด ซึ่งคาดว่าในการฟอร์มคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่ช่วง 2-3 เดือนนี้น่าจะไม่มีปัญหาอะไร โดยหากมีการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรกเมื่อไหร่ ก็น่าจะเสนอได้ทันที หลังจาก ครม.เห็นชอบก็จะเข้าสู่ขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน ก็ได้ตัวผู้รับจ้าง


อีก 2 ปี! รถโบกี้ขนสินค้ามา 946 คัน บอร์ด รฟท. ให้จัดซื้อ 2,459 ล้าน
เดลินิวส์ 19 พฤษภาคม 2566 7:24 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

บอร์ด รฟท. ไฟเขียวใช้เงินกู้จัดซื้อ “รถโบกี้บรรทุกสินค้า” 946 คัน 2,459 ล้าน ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 40% เตรียมชงคมนาคม-ครม. เคาะ คาดอีก 2 ปีได้ใช้บริการ ช่วยเพิ่มรายได้ให้ รฟท. หนุนนโยบายรัฐเปลี่ยนโหมดขนส่งสินค้าจากถนนสู่ราง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. ซึ่งมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เป็นประธานว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติจัดซื้อรถโบกี้บรรทุกสินค้า(บทต.) หรือแคร่ขนสินค้า 946 คัน วงเงิน 2,459 ล้านบาท โดยให้นำชิ้นส่วนภายในประเทศ และต่างประเทศมาประกอบภายในประเทศ ในสัดส่วนร้อยละ 40:60 ซึ่งหลังจากนี้ รฟท. จะเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป เบื้องต้นคาดว่าหาก ครม. เห็นชอบจะใช้กระบวนการในการประกวดราคา(ประมูล) ประมาณ 6-7 เดือน และคาดว่าจะได้ บทต. ภายในประมาณ 2 ปีหลังจากนี้

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า บอร์ด รฟท. เคยมีมติอนุมัติให้จัดซื้อ บทต. ตั้งแต่ปี 63 แต่เมื่อส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม ได้ให้ รฟท. กลับไปพิจารณาทำการศึกษาอีกครั้งว่าการใช้วิธีการเช่า และวิธีการซื้อ วิธีการใดมีความคุ้มค่าทางการเงินมากกว่ากัน ซึ่งได้ข้อสรุปว่า การซื้อมีความคุ้มค่ามากกว่า โดยการจัดซื้อ บทต. ในครั้งนี้ จะใช้วิธีกู้เงิน ไม่ได้ใช้งบประมาณของแผ่นดิน และนำรายได้ที่ได้รับไปชำระเงินกู้ อย่างไรก็ตาม บทต. ทั้ง 946 คันนี้ นอกจากจะมาช่วยเพิ่มรายได้ด้านการขนส่งสินค้าให้กับ รฟท. ซึ่งเป็นรายได้ที่ดีกว่าธุรกิจด้านอื่นแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้การขนส่งสินค้าเปลี่ยนโหมดจากถนนมาเป็นทางรางมากขึ้นด้วย

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน รฟท. มี บทต. อยู่ประมาณ 1,308 คัน ขณะที่ภาคเอกชนเริ่มสนใจในการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟมากขึ้น เพราะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการได้มาก โดยที่ผ่านมามีเอกชนใช้บริการขนส่งสินค้าหลากหลายประเภท อาทิ เหล็ก, ทุเรียน, ยางพารา และเกลือ เป็นต้น อย่างไรก็ตามขณะนี้มีเอกชนบางรายสนใจที่จะจัดหาพื้นที่เพื่อทำย่านกองเก็บตู้สินค้าคอนเทนเนอร์(CY) ด้วยตนเอง และทำรางรถไฟมาเชื่อมกับทางรถไฟของ รฟท. โดยการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นการเอื้อเอกชน เอกชนสามารถทำได้ ซึ่งมีระเบียบที่ทางเอกชนจะต้องจ่ายค่าเชื่อมรางให้กับรฟท.ด้วย ซึ่งก็จะเป็นอีกหนึ่งรายได้ให้ รฟท.

นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า สำหรับในแง่ของการบำรุงรักษา บทต. นั้น มั่นใจว่า รฟท. มีความพร้อมในด้านนี้ มีทั้งโรงซ่อม และบุคลากร ที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการจัดซื้อ บทต. นั้น ไม่ใช่เป็นการซื้อครั้งแรก จึงทำให้รฟท. มีประสบการณ์ในการดูแลบำรุงรักษาอยู่แล้ว และสเปคของ บทต. ที่ รฟท. ได้เคยจัดซื้อมาในช่วงที่ผ่านมานั้น มีการต้องเข้าซ่อมบำรุงน้อยมาก ดังนั้นปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การซ่อมบำรุงดูแลรักษา แต่อยู่ที่การตอบสนองนโยบายรัฐเรื่องการขนส่งสินค้า ซึ่งไม่เพียงขนส่งในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) แต่ต้องเชื่อมไปยังมาเลเซีย และจีนด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43960
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2023 10:44 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บอร์ดรถไฟ เห็นชอบ จัดซื้อแคร่รถขนสินค้า 946 คัน วงเงิน 2.459 ล้านบาท
วันพฤหัสบดี ที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 19:17 น. isranews

อีก 2 ปี! รถโบกี้ขนสินค้ามา 946 คัน บอร์ด รฟท. ให้จัดซื้อ 2,459 ล้าน
เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 7:24 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์


ดูนี่ก็ได้ :

รฟท.ลุยซื้อแคร่ขนสินค้า 946 คันกว่า 2.45 พันล้าน ผลศึกษาชี้คุ้มค่ากว่าเช่า เตรียมชง ครม.ใหม่ไฟเขียว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ ที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 07:45 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 07:45 น.

162


บอร์ด รฟท.ไฟเขียวจัดซื้อแคร่ขนส่งสินค้า 946 คัน วงเงิน 2.45 พันล้านบาท ชงคมนาคม ยืนยันซื้อดีและคุ้มค่ากว่าเช่า คาดเสนอ ครม.ชุดใหม่ในปีนี้เพื่อทดแทนแคร่เก่า รองรับทางคู่ช่วยขยายตลาดขนส่งสินค้าสร้างรายได้เพิ่ม

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน วันที่ 18 พ.ค. 2566 มีมติเห็นชอบการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้า (บทต.) โดยกำหนดให้นำชิ้นส่วนภายในประเทศและต่างประเทศมาประกอบภายในประเทศจำนวน 946 คัน วงเงิน 2,459.97 ล้านบาท โดยหลังจากนี้ จะสรุปข้อมูลรายละเอียดโครงการเสนอกลับไปที่กระทรวงคมนาคมพิจารณา และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่อนุมัติตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้า ดังกล่าวเป็นโครงการเดิมที่ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2563 บอร์ด รฟท.ได้เคยมีมติเห็นชอบ ให้ดำเนินการจัดซื้อ โดยกระทรวงคมนาคมได้มีความเห็นว่าให้พิจารณาแนวทางอื่นๆ เปรียบเทียบเพิ่มเติมกับแนวทางจัดซื้อ เช่น ใช้เอาต์ซอร์ส หรือการเช่าดำเนินการ ดังนั้น รฟท.จึงได้นำโครงการกลับมาศึกษาทบทวน และสรุปการศึกษาพบว่ารูปแบบการจัดซื้อมีความคุ้มค่าในการดำเนินการมากที่สุด

โดยการเช่าดำเนินการพบว่าเอกชนผู้ให้เช่าต้องจัดหาแคร่สินค้า และบริการซ่อมบำรุง ซึ่งจะมีค่าลงทุนโรงซ่อมที่ค่อนข้างสูง จะส่งผลให้ค่าเช่าต่อชั่วโมงมีวงเงินสูงกว่าที่ รฟท.จัดซื้อ เนื่องจาก รฟท.มีศักยภาพในการซ่อมบำรุงเอง อีกทั้งประเมินว่าแคร่สินค้าจะมีวาระการซ่อมไม่มากเท่ารถโดยสารหรือรถจักร เพราะไม่มีเครื่องยนต์ และระบบไม่ซับซ้อน และสามารถบริหารจัดการ หมุนเวียนการใช้งานได้เกิดประสิทธิภาพมากกว่า

ผู้ว่าฯ รฟท.กล่าวว่า ปัจจุบัน รฟท.มีแคร่สินค้าจำนวน 1,380 คัน ซึ่งการจัดหาแคร่สินค้าจำนวน 946 คันนั้นเป็นไปตามยุทธศาสตร์แผนฟื้นฟู รฟท. โดยเป็นการนำมาทดแทนของเก่าที่มีสภาพชำรุด และขยายการรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางรางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรายได้จาก ธุรกิจสินค้ามีกำไรที่ดีมากกว่าด้านผู้โดยสาร แต่ รฟท.มีแคร่สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งเพื่อรองรับรถไฟทางคู่ที่กำลังจะแล้วเสร็จในหลายเส้นทาง รวมถึงการจัดหาหัวรถจักรเข้ามา ภาพรวมจะทำให้ขีดความสามารถในการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มและสร้างรายได้เพิ่มให้รฟท.

จากการเปรียบเทียบรูปแบบการจัดหาระหว่างวิธีการซื้อของอะไรจำนวน 946 คัน กับรูปแบบการเข้าพร้อมกันซ่อมแซมบำรุงรักษาจำนวน 860 คัน โดยพบว่าในการจัดซื้อมีราคาเฉลี่ยคันละ 2.6 ล้านบาทมีค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลา 30 ปีประกอบด้วยเงินลงทุนวงเงิน 2,459.97 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ยเงินกู้จำนวน 1,771.33 ล้านบาท และค่าซ่อมบำรุง 4,318.52 ล้านบาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,549.83 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อปี 244.28 ล้านบาท

กรณีเช่าดำเนินการซ่อมแซมบำรุงรักษาในอัตราค่าเช่าวันละ 1,300 บาทต่อคัน และ 2,250 บาทต่อคันจะมีค่าใช้จ่ายตลอดโครงการระยะ 30 ปีประมาณ 12,242.1 ล้านบาท และ 21,188.25 ล้านบาทตามลำดับ หรือเฉลี่ยต่อปี เท่ากับ 360.06 ล้านบาท และ 623.18 ล้านบาท

“หลังจากนี้จะเสนอเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อยืนยันว่า การซื้อคุ้มค่า ส่วนวงเงินจัดซื้อเป็นไปตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบจากปี 2563 โดยหลังจาก ครม.อนุมัติจะใช้เวลาจัดซื้อจัดจ้างประมาณ 7-8 เดือน โดยมีเงื่อนไขประกอบในประเทศและใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ (Local Content) 40% ส่วนอีก 60% เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น โบกี้ ซึ่งไทยยังผลิตไม่ได้ โดยจะเป็นการกู้เงินมาจัดซื้อ และใช้รายได้ชำระคืนเงินกู้ คาดจะใช้เวลาจัดหาและได้รถใน 2 ปี”
https://mgronline.com/business/detail/9660000046266

รออีก 2 ปีรถโบกี้ขนสินค้ารฟท.ถึงจะมาอีก 946 คัน
*บอร์ดรฟท.ผ่านแล้วให้กู้เงินจัดซื้อ 2,459 ล้าน
*ชงคมนาคมเสนอรัฐบาลชุดใหม่ต้องลุ้นไฟเขียว
*ส่วนรถดีเซลราง184คันเพิ่งตอบคำถามสภาพัฒ

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/793684525542117
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50, 51  Next
Page 49 of 51

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©