View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
Posted: 26/06/2022 5:45 pm Post subject: |
|
|
โรงงานมักกะสัน ถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จำนวน 5 ครั้ง
ดังนี้.-
✈💣ครั้งที่ 1 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2487 เวลา 23.00 น.
เครื่องบินจากสนามบินแคนดี้ ซีลอน จำนวนหลายเครื่อง ทิ้งลูกระเบิดโรงงานมักกะสันได้รับความเสียหายมาก สัญญาณปลอดภัยดังเวลา 02.00 น.เศษ
✈💣ครั้งที่ 2 วันที่ 5 มิถุนายน 2487 เวลา 11.00 -13.00 น.
เครื่องบินประมาณ 50 เครื่อง ทะยอยเข้าโจมตีพระนครอย่างหนัก โรงงานมักกะสันถูกทิ้งระเบิดในครั้งนี้ด้วย ได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้น
✈💣ครั้งที่ 3 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2487 เวลา 21.00 น.เศษ
เครื่องบิน 4 เครื่องยนต์ จำนวนหลายเครื่อง ทิ้งลูกระเบิดทำลายโรงงานมักกะสันพังยับเยิน สัญญาณปลอดภัยดัง เวลา 01.00 น. เป็นการถูกต้องที่กรมรถไฟได้สั่งย้ายวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้ออกไปจากโรงงานก่อนแล้ว
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2487 เวลา 02.30 น.
เครื่องบิน 4 เครื่องยนต์อีก 1 ชุด มาถ่ายภาพโรงงานมักกะสันขณะถูกไฟไหม้
✈💣ครั้งที่ 4 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2487 เวลา 10.00 น.
เครื่องบินประมาณ 50 เครื่อง ทะยอยเข้าโจมตีพระนคร และทิ้งระเบิดโรงงานมักกะสันซ้ำเติม
✈💣ครั้งที่ 5 วันที่ 2-3 มีนาคม 2488 เวลา 00.25 - 02.25 น.
เครื่องบิน B24 จำนวนมากทิ้งระเบิดโรงงานมักกะสัน เกิดไฟไหม้อาคารที่เหลืออยู่
https://www.facebook.com/pichet.chamneam/posts/8201948203152506 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
Posted: 03/07/2022 8:22 pm Post subject: |
|
|
อาณาจักรรถไฟไทย รุ่น ยุงกัด
พายุเข้าตลอดๆ นะครับ แม้วันงานฝนไม่ตก แดดไม่ร้อน แต่ความชุ่มชื้นทำให้บางพื้นที่ในโรงงานมักกะสัน ชุมไปด้วยยุงขอรับ^ ^ .. รัตนโกสิเนหาขอขอบคุณการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอขอบคุณ คุณไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย, รองผู้ว่าการฯ ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์, คุณพงษ์เทพ เปรมประทิน, คุณแฮม แฟนพันธุ์แท้รถไฟไทย และเพื่อนๆ กองร้อยตะลุยด่านรถไฟที่น่ารักทุกท่าน
ปล. เรามีแฟนเพจ ลูกทัวร์อายุ 9 ขวบแล้วนะครับ น้องตุลตังค์ และน้องออโต้ ดูรูปรองสุดท้ายครับ^ https://www.facebook.com/Rattanakosineha/posts/5575994685785732
อาณาจักรรถไฟไทย รอบวันที่ 24 ก.ค. นี้ เต็มแล้ว และเปิดเพิ่มแล้วในวันที่ 6 สิงหาคมนี้ครับ รายละเอียด
https://www.facebook.com/Rattanakosineha/posts/5538484302870104 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43921
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2023 8:17 am Post subject: |
|
|
ติงแผนย้าย"รง.มักกะสัน" สั่งเทียบทำเลอื่นก่อนเคาะ
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, June 23, 2023 05:49
ติงแผนย้าย'รง.มักกะสัน'สั่งเทียบทำเลอื่นก่อนเคาะ
ผู้จัดการรายวัน 360 - "บอร์ด รฟท." ติงผลศึกษาย้าย "รง.มักกะสัน" ไป "เขา ชีจรรย์-สุพรรณฯ" สั่งเปรียบเทียบอีก 2 แห่ง "ช่องแค-ลำนารายณ์" ประเมินความคุ้มค่า ชี้ทำเลที่ดินราคาสูงนำมาพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มดีกว่าทำ รง.
ผู้จัดการรายวัน360 - "บอร์ด รฟท." ติงผลศึกษาย้าย "รง.มักกะสัน" ไป "เขาชีจรรย์- สุพรรณฯ" สั่งเปรียบเทียบอีก 2 แห่ง "ช่องแคลำนารายณ์" ประเมินความคุ้มค่า ชี้ทำเลที่ดินราคาสูงนำมาพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มดีกว่า ทำ รง.
วานนี้ (22 มิ.ย.) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟท.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาผลการศึกษาการคัดเลือกพื้นที่โรงงานมักกะสันแห่งใหม่ แต่ยังไม่ เห็นชอบผลการศึกษาดังกล่าว เนื่องจากยังมีประเด็นคำถาม และต้องการข้อมูลเพิ่ม จึงให้ที่ปรึกษาไปทำข้อมูลเพิ่มเติม ให้รอบด้าน ทั้งในมิติของการเปรียบเทียบกับพื้นที่ อื่นๆ มิติของความพึงพอใจของประชาชนในแต่ละพื้นที่ มิติด้านความคุ้มค่าในการลงทุน มิติด้านการขนส่ง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการงานของ รฟท.ในอนาคต และให้นำเสนอบอร์ดอีกครั้งในการประชุมเดือน ก.ค. 66
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า บอร์ดเห็นด้วยในหลักการ ย้ายโรงซ่อมบำรุงออกจากมักกะสัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าสูงและมีความคับแคบ ปัจจุบันพื้นที่มักกะสันเหมาะในการนำมาพัฒนาสามารถสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ให้ รฟท.ได้ ในขณะที่ เห็นว่าโรงงานซ่อมบำรุงสามารถ อยู่นอกเขต กทม. ภายในรัศมี 200 กม. และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ โดย ที่ปรึกษา นำเสนอ ผลการศึกษาพื้นที่ 2 แห่ง 1.พื้นที่บริเวณสถานีชุมทางเขาชีจรรย์ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีพื้นที่ประมาณ 454 ไร่ 3 งาน 27 ตารางวา มูลค่าลงทุนประมาณ 8,234.22 ล้านบาท ได้คะแนนเหมาะสมมากที่สุด และ 2.พื้นที่บริเวณสถานีสุพรรณบุรี ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มีพื้นที่ประมาณ 240 ไร่ ได้คะแนนลำดับ 2 ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน มีมูลค่าลงทุนประมาณ 8,129.72 ล้านบาท
นายนิรุฒ เปิดเผยอีกว่า บอร์ดสอบถามถึงพื้นที่อื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ของ รฟท. เช่น บริเวณ สถานีช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และบริเวณสถานีรถไฟลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ซึ่งมูลค่าที่ดินของแต่ละแห่งอาจจะไม่สูง และอยู่ในหุบเขา อาจจะไม่สะดวกในการขนส่ง ซึ่งที่ปรึกษาจะกลับไปทำข้อมูลเพิ่ม เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบ กับพื้นที่เขาชีจรรย์ และสุพรรณบุรี ซึ่งเห็นว่าทำเลที่ดินมีมูลค่ามากกว่า และอาจไม่เหมาะกับการนำมาทำโรงซ่อม เพราะหากพัฒนาเชิงพาณิชย์จะได้มูลค่าเพิ่มสูงกว่า รวมถึงให้นำข้อมูลโรงงานซ่อมบำรุงรถไฟของต่างประเทศมาเปรียบเทียบด้วย.
ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 23 มิ.ย. 2566 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47111
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/06/2023 8:40 am Post subject: |
|
|
บอร์ดรฟท.ติงผลศึกษาย้ายรง.มักกะสันไปเขาชีจรรย์ สั่งเปรียบเทียบความคุ้มค่าทำเลช่องแค, ลำนารายณ์
ผู้จัดการออนไลน์ 22 มิ.ย. 2566 18:20 น.
บอร์ดรฟท.ติงผลศึกษาย้ายโรงงานมักกะสันไปเขาชีจรรย์ หรือ สุพรรณบุรีสั่งเปรียบเทียบอีก 2 แห่งช่องแค, ลำนารายณ์ประเมินความคุ้มค่า การขนส่งและรื้อย้าย ชี้ทำเลที่ดินราคาสูงควรนำมาพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มเหมาะกว่า
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.วันที่ 22 มิ.ย. ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาผลการศึกษาการคัดเลือกพื้นที่โรงงานมักกะสันแห่งใหม่ แต่บอร์ด ยังไม่เห็นชอบผลการศึกษาดังกล่าว เนื่องจากยังมีประเด็นคำถาม และต้องการข้อมูลเพิ่ม จึงให้ที่ปรึกษาไปทำข้อมูลเพิ่มเติม ให้รอบด้าน ทั้งในมิติของการเปรียบเทียบกับพื้นที่ อื่นๆ มิติของความพึงพอใจของประชาชนในแต่ละพื้นที่ มิติด้านความคุ้มค่าในการลงทุน มิติด้านการขนส่ง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการงานของรฟท.ในอนาคต และให้นำเสนอบอร์ดอีกครั้งในการประชุมเดือน ก.ค. 2566
ทั้งนี้ บอร์ดเห็นด้วยในหลักการ ย้ายโรงซ่อมบำรุงออกจากมักกะสัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าสูงและมีความคับแคบ ปัจจุบันพื้นที่มักกะสันเหมาะในการนำมาพัฒนาสามารถสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ให้รฟท.ได้ ในขณะที่ เห็นว่าโรงงานซ่อมบำรุงสามารถ อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ภายในรัศมี 200 กม. และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ไร่
โดย ที่ปรึกษา นำเสนอ ผลการศึกษาพื้นที่ 2 แห่ง 1. พื้นที่บริเวณสถานีชุมทางเขาชีจรรย์ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีพื้นที่ประมาณ 454 ไร่ 3 งาน 27 ตารางวา มูลค่าลงทุนประมาณ 8,234.22 ล้านบาท ได้คะแนนเหมาะสมมากที่สุด 2. พื้นที่บริเวณสถานีสุพรรณบุรี ต. รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มีพื้นที่ประมาณ 240 ไร่ ได้คะแนนลำดับสอง ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน มีมูลค่าลงทุนประมาณ 8,129.72 ล้านบาท
นายนิรุฒกล่าวว่า บอร์ดรฟท.สอบถาม ถึงพื้นที่อื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ของรฟท.ในระยะไม่เกิน 200 กม.จากกทม. และมีขนาดพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ เช่น บริเวณ สถานีช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ซึ่งห่างจากกทม. ประมาณ 180 กม. และ บริเวณสถานีรถไฟลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ระยะทางจากกทม. ราว 100 กม. มูลค่าที่ดินของแต่ละแห่ง อาจจะไม่สูง และอยู่ในหุบเขา อาจจะไม่สะดวกในการขนส่ง ซึ่งที่ปรึกษา จะกลับไปทำข้อมูลเพิ่ม เพื่อนำมาข้อมูลมาเปรียบเทียบกับ เขาชีจรรย์ และสุพรรณบุรี ซึ่งเห็นว่าทำเลที่ดิน มีมูลค่ามากกว่า
บอร์ดต้องการข้อมูลรอบด้าน เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่หากต้องมีโรงงานรถไฟไปอยู่ตรงนั้น มีความเห็นอย่างไร นอกจากนี้ ต้องดูเรื่องพนักงานรถไฟที่จะต้องทำงานที่โรงงานแห่งใหม่ การขนย้าย การทำงานของรฟท.ในอนาคต มีค่าใช้จ่าย ต้นทุน เป็นอย่างไร ราคาที่ดินหากสูง ก็เห็นว่า ไม่ควรนำมาทำโรงซ่อม เพราะหากพัฒนาเชิงพาณิชย์ จะได้มูลค่าเพิ่มสูงกว่า รวมถึงให้นำข้อมูล โรงงานซ่อมบำรุงรถไฟ ของต่างประเทศมาเปรียบเทียบด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมบอร์ดครั้งหน้า คาดว่าจะได้ข้อสรุปในการย้ายโรงงานมักกะสันไปแห่งใหม่เป็นที่ใด และหลังจากบอร์ดเห็นชอบจะดำเนินการจัดทำแผนการย้าย ระยะเวลา วงเงินดำเนินการที่ชัดเจน และตั้งงบประมาณดำเนินการต่อไป โดยการรื้อย้ายจะแบ่งเป็นเฟส
ทั้งนี้ รฟท.ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา กิจการค้าร่วม KUSIP ซึ่งประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บริษัท ยูทิลิตี้ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท อินฟรา กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท โปรคอนเซ็ป เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ศึกษา โครงการศึกษาความเหมาะสมงานซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ออกแบบรายละเอียด โรงงานมักกะสันแห่งใหม่ พร้อมจัดทำแผนการรื้อย้ายและจัดทำเอกสารประกวดราคา เพื่อประเมินความเหมาะสมในขั้นตอนการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพ สำหรับพัฒนางานซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อนของ โรงงานมักกะสันแห่งใหม่ในอนาคต
Last edited by Mongwin on 23/06/2023 8:47 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
|