Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311914
ทั่วไป:13579929
ทั้งหมด:13891843
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570
Goto page 1, 2, 3 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46892
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2022 7:51 am    Post subject: แผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570 Reply with quote

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมสมองและให้ข้อคิดเห็นในการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมสมองและให้ข้อคิดเห็นในการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ. 2566 - 2570 งานจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566 - 2570 และแผนปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2566 - 2570 เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมี นางสาวรัชนีพร ธิติทรัพย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ส่วนราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ณ ห้องราชดำเนิน โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพมหานคร

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ กล่าวว่า ในช่วง 5 ปีแรกของยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย และแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะที่ 1 (พ.ศ.2563 - 2565) รัฐบาลและกระทรวงฯ ได้ผลักดันการพัฒนาระบบการคมนาคมและขนส่งทุกรูปแบบทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ทั้งในส่วนของการวางนโยบาย แผนงาน การพัฒนาและการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการ การปฏิบัติการและอำนวยความสะดวก รวมทั้งการควบคุมและการกำกับดูแล เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน เอเชีย และภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกได้ แต่ด้วยบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ สภาพภูมิอากาศ ภาวะสงคราม สงครามการค้า ราคาน้ำมันที่ผันผวน การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปทั้งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร การขยายตัวของเมือง รวมทั้งการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ดิจิทัล และนวัตกรรม ได้ส่งผลกระทบต่อระบบการคมนาคมขนส่งของประเทศ ภารกิจ หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงฯ เป็นอย่างมาก ดังนั้น ในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว จึงควรยึดกรอบของแผนระดับ 1 แผนระดับ 2 และยุทธศาสตร์การคมนาคมขนส่งของไทยในระดับ 20 ปี รวมถึงความสอดคล้องและสนับสนุนแผนระดับ 3อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม เพื่อทำการวิเคราะห์ภาพรวมทิศทางการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในระยะ 5 ปี (2566 - 2570) และระยะต่อเนื่อง ให้มีความสอดคล้องกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อปิดจุดอ่อนและเสริมสร้างจุดแข็งของการดำเนินงานที่ผ่านมาให้เป็นแผนปฏิบัติการที่บูรณาการและสามารถเชื่อมโยงกับแผนระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ แผนการดำเนินงานและความก้าวหน้าของการศึกษาโครงการ รวมทั้งระดมสมองและรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ส่วนราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มาใช้ประกอบการศึกษาโครงการต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแผนงาน/โครงการ เพื่อใช้กำกับดูแล และติดตามการดำเนินงานของกระทรวงฯ ในทุกมิติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ให้สอดรับกับการดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) และยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทใหม่ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศไทยในช่วง 5 ปี จากนี้ต่อไป

https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57922
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46892
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2022 7:54 am    Post subject: สกู๊ปหน้า 1 : เปิดพิมพ์เขียว คมนาคมไทย ชิงศูนย์กลางอาเซียน Reply with quote

สกู๊ปหน้า 1 : เปิดพิมพ์เขียว คมนาคมไทย ชิงศูนย์กลางอาเซียน
มติชน วันที่ 14 สิงหาคม 2565 - 07:17 น.

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นหนึ่งเสาหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยภาครัฐ ที่ต้องมีการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล และเวลาในการก่อสร้างหรือติดตั้งระบบให้สมบูรณ์พร้อมใช้งานถือเป็นเรื่องสำคัญ ไม่แค่อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายคนหรือสิ่งของเท่านั้น ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ด้วย

ดังนั้น การตีกรอบแผนการดำเนินการด้านคมนาคม ถือเป็นอีกเรื่องสำคัญ

ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐ และภาคเอกชน จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมสมอง และให้ข้อคิดเห็นในการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570 ซึ่งเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมสมอง และให้ข้อคิดเห็นในการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570 งานจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ.2566-2570 และแผนปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2566-2570 เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวในการเปิดประชุมว่า ในช่วง 5 ปีแรกของยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย และแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะที่ 1 (2563-2565) รัฐบาล และกระทรวงได้ผลักดันการพัฒนาระบบการคมนาคม และขนส่งทุกรูปแบบทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ทั้งในส่วนของการวางนโยบาย แผนงานการพัฒนา และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการ การปฏิบัติการและอำนวยความสะดวก รวมทั้งการควบคุม และการกำกับดูแล เพื่อเป้าหมายในการพัฒนา และขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เอเชีย และภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้

แต่ด้วยบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ สภาพภูมิอากาศ ภาวะสงคราม สงครามการค้า ราคาน้ำมันที่ผันผวน การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปทั้งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร การขยายตัวของเมือง รวมทั้งการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ดิจิทัล และนวัตกรรม ได้ส่งผลกระทบต่อระบบการคมนาคมขนส่งของประเทศ ภารกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของกระทรวงฯ เป็นอย่างมาก

ดังนั้น ในการจัดทำแผนปฏิบัติการนี้ จึงควรยึดกรอบของแผนระดับ 1 แผนระดับ 2 และยุทธศาสตร์การคมนาคมขนส่งของไทยในระดับ 20 ปี รวมถึงความสอดคล้องและสนับสนุนแผนระดับ 3 อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม เพื่อทำการวิเคราะห์ภาพรวมทิศทางการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในระยะ 5 ปี (2566-2570) และระยะต่อเนื่อง ให้มีความสอดคล้องกับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อปิดจุดอ่อนและเสริมสร้างจุดแข็งของการดำเนินงานที่ผ่านมาให้เป็นแผนปฏิบัติการที่บูรณาการและสามารถเชื่อมโยงกับแผนระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

โดยรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ได้ชี้แจงรายละเอียดโครงการ แผนการดำเนินงานและความก้าวหน้าของการศึกษาโครงการ รวมทั้ง ระดมสมองและรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ส่วนราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มาใช้ประกอบการศึกษาโครงการต่างๆ

ซึ่งจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแผนงาน/โครงการ เพื่อใช้กำกับดูแล และติดตามการดำเนินงานของกระทรวงฯ ในทุกมิติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รวมทั้งส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ให้สอดรับกับการดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566-2570) และยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (2561-2580) และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทใหม่ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้สามารถตอบสนองความต้องการของประเทศไทยในช่วง 5 ปี จากนี้ต่อไป

ผลการศึกษาจะสรุปภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ทำเป็นแผนปฏิบัติการเร่งด่วน หรือแอ๊กชั่นแผน ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2566-2570 เพื่อให้แต่ละหน่วยงาน นำไปเป็นดัชนีจัดลำดับความสำคัญของโครงการออกมาเป็นแผนเร่งด่วน 5 ปีที่คมนาคมจะเดินหน้าต่อไปให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนพัฒนาของสภาพัฒนาฉบับที่ 13 ด้วย ซึ่งอาจจะมีทั้งการสานต่อโครงการเก่าที่ยังไม่สำเร็จใน 5 ปีที่ผ่านมา และโครงการใหม่ที่หน่วยงานอาจจะนำเสนอเข้ามาบรรจุไว้ในแผนเร่งด่วนนี้ นายอานนท์กล่าว

เมื่อพลิกดูแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมในปี 2565 มีวงเงินลงทุน 1.4 ล้านล้านบาท ครบถ้วนทุกมิติ บก ราง น้ำอากาศ เป็นโครงการเซ็นสัญญาไปแล้ว 516,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 974,000 ล้านบาท เมื่อทุกโครงการเดินตามแผนจะรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

จากข้อมูลของคมนาคมล่าสุด แต่ละโครงการมีความคืบหน้าไปค่อนข้างมาก ขณะที่หลายโครงการมีการลงทุนต่อเนื่อง และต้องใช้เวลาดำเนินการ ด้วยเป็นโครงการขนาดใหญ่และใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง

เมื่อเจาะลึกรายมิติ เริ่มจาก ทางราง การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นหัวใจการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดและลดปัญหามลพิษ ตามแผนแม่บทมี 14 สี 27 เส้นทาง ระยะทาง 554 กม. เปิดให้บริการแล้ว 7 สี 11 เส้นทาง รวมระยะทาง 212 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 4 สี 4 เส้นทาง รวมระยะทาง 114 กม. ทยอยเปิดบริการปี 2566-2571 ได้แก่ สายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ล่าสุดกำลังเปิดประมูลก่อสร้างสายสีส้มช่วงตะวันตกและเดินรถตลอดสายจากช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี

ส่วนรถไฟทางคู่อยู่ระหว่างเร่งเฟสแรกให้แล้วเสร็จในปี 2566 ได้แก่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, นครปฐม-หัวหิน, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ยังมี 2 สายใหม่เริ่มงานก่อสร้าง คือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม และเตรียมขออนุมัติ อีก 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,483 กม. จะทำให้ประเทศไทยมีรถไฟทางคู่มากกว่า 3,200 กม.ทั่วประเทศ

ด้าน รถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน กำลังเร่งก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ- นครราชสีมา และเดินหน้าส่วนต่อขยาย ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เช่นเดียวกับไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ในปีนี้และเริ่มตอกเข็มปีหน้า


ทางถนน โครงการไฮไลต์มีมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี จะสร้างเสร็จในปี 2565 เปิดบริการในปี 2566

ทางน้ำ มีโครงการพัฒนาท่าเรือที่สำคัญ 2 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F จะเพิ่มขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบังจาก 11 ล้านตู้ต่อปี เป็น 18 ล้านตู้ต่อปี จะแล้วเสร็จปี 2568 และ พัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 ปัจจุบันกำลังถมทะเล จะเพิ่มขีดความสามารถท่าเรือจาก 16 ล้านตันต่อปี เป็น 31 ล้านตันต่อปี จะเปิดบริการปี 2569

ทางอากาศ ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ สนามบินสุวรรณภูมิ ให้รองรับผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี จะเปิดให้บริการในปี 2566 และกำลังเปิดหน้าดินก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภา ทำให้รองรับผู้โดยสารจาก 3 ล้านคนต่อปี เป็น 15.9 ล้านคนต่อปี ในปี 2567 ช่วยรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี

ไม่เพียงเท่านั้น คมนาคม ยังมีแผนจะพัฒนาโครงข่ายรองรับอนาคต ผ่านโครงการ MR-MAP เป็นการพัฒนาโครงข่ายมอเตอร์เวย์ คู่ขนานไปกับรถไฟทางคู่ 10 เส้นทาง เชื่อมแนวเหนือใต้ แนวตะวันออก-ตะวันตก และแนววงแหวน รวมถึงกำลังเร่งรัด โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง รองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทย และอันดามัน เพื่อลดความแออัดของช่องแคบมะละกา และจะเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางน้ำที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน และผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางน้ำที่สำคัญในอนาคต

ต้องติดตามประโยชน์สูงสุดของการลงทุน และความฝันประเทศไทยจะคว้าการเป็นศูนย์กลางคมนาคมด้านใดด้านหนึ่งได้แค่ไหน

เพราะวันนี้ทุกประเทศในอาเซียน ต่างก็ประกาศตัวเป็นศูนย์กลางทางคมนาคม ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะทางถนน ทางน้ำ ทางทะเล ทางราง หรือทางอากาศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46892
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2022 7:59 am    Post subject: Reply with quote

https://www.facebook.com/sod.mot/posts/431656169004750

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46892
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/08/2022 6:21 am    Post subject: Reply with quote

"คมนาคม" เซทแผนลงทุนระยะ 2 (ปี66-70)
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, August 22, 2022 03:40

เร่งไฮสปีด-คิกออฟ MR-MAP และ "แลนด์บริดจ์"

ชู "บิ๊กโปรเจกต์" ดันไทยศูนย์กลางภูมิภาค

โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยที่ผ่านมา มีโครงการลงทุนทั้งในส่วนของภาครัฐ และการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วน โดยกระทรวงคมนาคม ได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านคมนาคมเป็นแผนปฏิบัติการระยะที่ 1 (พ.ศ.2563-2565) เป็นกรอบทิศทางการดำเนินงาน และกำหนดแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในทุกมิติ

ซึ่งแผนระยะที่ 1 จะสิ้นสุดในปี 2565 กระทรวงคมนาคม จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) ซึ่งจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแผนงาน / โครงการต่างๆ เพื่อใช้กำกับดูแล และติดตามการดำเนินงานในทุกมิติ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ให้สอดรับกับการดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) และยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กรอบแนวทางในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รวมทั้งสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทใหม่ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประเทศไทยในช่วง 5 ปีต่อจากนี้

ซึ่งได้มีการระดมสมองและรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มาใช้ประกอบการ จัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมพ.ศ.2566-2570 โดยจะสรุปในเดือน พ.ย. 2565

"อานนท์ เหลืองบริบูรณ์" รองปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าในช่วง 5 ปีแรกของยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย และแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะที่ 1 (พ.ศ.2563-2565) รัฐบาลและกระทรวงฯ ได้ผลักดันการพัฒนาระบบการคมนาคมและขนส่งทุกรูปแบบทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ทั้งในส่วนของการวางนโยบาย แผนงาน การพัฒนาและการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการ การปฏิบัติการและอำนวยความสะดวก รวมทั้งการควบคุมและการกำกับดูแล เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เอเชีย และภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้

แต่ด้วยบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ สภาพภูมิอากาศภาวะสงคราม สงครามการค้า ราคาน้ำมันที่ผันผวน การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปทั้งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร การขยายตัวของเมือง รวมทั้งการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ดิจิทัล และนวัตกรรม ได้ส่งผลกระทบต่อระบบการคมนาคมขนส่งของประเทศ ภารกิจ หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงฯ เป็นอย่างมาก

การจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 จึงควรยึดกรอบยุทธศาสตร์การคมนาคมขนส่งของไทยในระดับ 20 ปี รวมถึงความสอดคล้องและสนับสนุน ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมเพื่อทำการวิเคราะห์ภาพรวมทิศทางการพัฒนา ระบบคมนาคมขนส่งในช่วงปี 2566-2570 และระยะต่อเนื่อง ให้มีความสอดคล้องกับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อปิดจุดอ่อนและเสริมสร้างจุดแข็งของการดำเนินงานที่ผ่านมา

ภารกิจคมนาคม 4 มิติ

"สะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล"
จากภารกิจของกระทรวงคมนาคม ทางถนน ทางราง ทางน้ำทางอากาศ คือ "สะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล" ซึ่งแผนปฏิบัติการ ระยะที่ 1 มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาพื้นฐานเร่งด่วน และวางรากฐานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ของไทยให้บรรลุเป้าหมายการขนส่งที่ยั่งยืน โดยจัดการให้บริการที่ทั่วถึง, ใส่ใจสิ่งแวดล้อม, มีประสิทธิภาพ มุ่งใช้เทคโนโลยีและ มีความโปร่งใส

โดยเป้าหมายตัวชี้วัด การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ โลจิสติกส์ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) ภายใต้ยุทธศาตร์ชาติ 20 ปีได้แก่ 1. ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ น้อยกว่า 11% 2. การขนส่งสินค้าทางราง ต่อปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมด 7% 3. สัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในเขต กทม.และปริมณฑลต่อการเดินทางทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 10% และเมืองหลักในภูมิภาค ไม่น้อยกว่า 40% 4. อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ที่กระทรวงคมนาคม รับผิดชอบ ที่ 12 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน

หลักยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ในระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) จะดำเนินการต่อเนื่องจากระยะที่ 1 โดยยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมทั้งในเมืองหลัก 6 แห่งในภูมิภาค การพัฒนาระบบรางระหว่างเมืองเพื่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ให้แล้วเสร็จตามแผนแม่บทระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนและให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟและรถไฟฟ้า (TOD) รวมไปถึงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่ส่งเสริมระบบโลจิสติกส์และการพัฒนาพื้นที่เฉพาะเช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งที่ ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่นการพัฒนาโครงข่ายระบบราง ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การจัดหารถโดยสารประจำทางที่ใช้พลังงานไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนเอง และการเข้าถึงระบบขนส่งของคนทุกกลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุคนพิการ และผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะให้มีการให้บริการที่เป็นมาตรฐานสากล มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่คนทุกกลุ่ม

"ระบบราง-มอเตอร์เวย์ ต้องพัฒนาต่อเนื่อง"
ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้เกิด โครงข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจ ซึ่งแต่ละโครงการมีความคืบหน้า ค่อนข้างมาก และหลายโครงการเป็นการลงทุนต่อเนื่อง แผนระยะกลางและแผนระยะยาว ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินงาน ซึ่งในปี 2565 ประเทศไทยจะมีโครงการลงทุนทั้งทางบก ทางถนน ทางราง ทางน้ำและทางอากาศ ในวงเงินสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท ประกอบด้วยโครงการที่ได้ลงนามสัญญาแล้ว 516,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 974,000 ล้านบาท

ไฮไลต์ยังคงเป็นการลงทุนระบบราง ตามแผนแม่บทการพัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จะมีระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 554 กม. โดยเปิดให้บริการแล้ว 11 สาย ระยะทาง 212 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 4 สายได้แก่ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีแผนจะเปิดให้บริการในต้นปี 2566, สายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มีแผนจะเปิดให้บริการเดือนธันวาคม 2568 และสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุน / อยู่ในขั้นตอนประมูล /เตรียมเสนอขออนุมัติดำเนินการ อีก 5 สาย ได้แก่ สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ / สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ / สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง/ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช / สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ลงทุนทางคู่ เปาหมายปฎิรูประบบรถไฟไทย

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ถือเป็นการปฏิรูประบบรถไฟทั่วประเทศเพื่อรองรับการขนส่งสินค้า ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศ อยู่ระหว่างเร่งรัดการก่อสร้างระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จ 5 เส้นทาง ประกอบด้วย ลพบุรีปากน้ำโพ /มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ / นครปฐม-หัวหิน / หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ / ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร หลังจากดำเนินการแล้วเสร็จ จะทำให้มีทางคู่เพิ่มขึ้นเป็น 1,111 กม.

และเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ 2 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ / บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทางรวม 678 กม. วงเงินรวม 128,378 ล้านบาท

และผลักดันโครงการทางคู่ ระยะที่ 2 อีก 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,483 กม. วงเงินรวมกว่า 266,975 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนศึกษา และทยอยเสนอขออนุมัติดำเนินการซึ่งเมื่อแล้วเสร็จทั้งหมดตามแผน จะทำให้ประเทศไทยมีเส้นทางรถไฟทางคู่มากกว่า 3,200 กม. ทั่วประเทศ เติมเต็มโครงข่ายรถไฟทางคู่ ส่งเสริมให้เกิดการขนส่งสินค้าผ่านระบบราง จากจำนวน 10 ล้านตัน/ปี เป็น 20 ล้านตัน/ปี และกระตุ้นให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวหันมาใช้รถไฟในการเดินทางเพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านคน/ปี เป็น 80 ล้านคน/ปี

รถไฟความเร็วสูง เชื่อมท่องเที่ยว-การค้า"ไทย อาเซียน และจีน"

มาที่รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-จีน กำลังก่อสร้าง ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) 253 กม. งบลงทุน 179,412 ล้านบาทเปิดบริการในปี 2570-2571 ช่วงที่ 2 (นครราชสีมา-หนองคาย) ระยะทาง 356 กม. ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทารายงานการวิเคราะห์ผล กระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และระยะที่ 3 จากหนองคาย-เวียงจันทน์ ระยะทาง 16 กม. ซึ่งจะมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ อยู่ระหว่างเจรจาเตรียมออกแบบสะพาน

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. ยังอยู่ในแผนดำเนินการเร่งรัดแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯและการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่จะช่วยส่งเสริมในด้านการค้า การขนส่งและช่วยพัฒนาการท่องเที่ยว กระจายรายได้ไปสู่ชุมชนเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ยังมีไฮสปีด เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการลงทุน และแผนระยะกลาง 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กม. / พิษณุโลกเชียงใหม่ 288 กม. สถานะอยู่ระหว่างหาข้อสรุปรูปแบบการลงทุน และ แผนระยะยาว 2 เส้นทางได้แก่ หัวหิน-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 424 กม. และ / สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 335 กม. อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนความเหมาะสม

ทางถนน จะมีการลงทุนมอเตอร์เวย์ M 5 ต่อขยายยกระดับ อุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ระยะทาง 22 กม. มูลค่า 28,700 ล้านบาท / M 9 วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 36 กม.มูลค่า 56,035 ล้านบาท โดยใช้รูปแบบการ ร่วมลงทุนกับเอกชน และ M7 ต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 1.92 กม. วงเงิน 4,508ล้านบาท เส้นทางนี้รัฐลงทุนเอง

ทางน้ำ เร่งรัดการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ในส่วนท่าเทียบเรือ F เพิ่มขีดความสามารถรองรับตู้สินค้าจาก 11 ล้านตู้/ปี เป็น 18 ล้านตู้/ปี รองรับการขยายตัวของปริมาณเรือขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้น มีเป้าหมายเปิดให้บริการปี 2568,พัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา เป็น Smart Port ,พัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เป็นศูนย์การขนถ่ายสินค้าตู้คอนเทนเนอรผื จากรถบรรทุกสู่รถไฟ มีพื้นที่ศักยภาพ4 แห่ง ได้แก่ ขอนแก่น นครราชสีมา นครสวรรค์ และฉะเชิงเทรา โดยรูปแบบรัฐร่วมทุนเอกชน

ทางอากาศ เร่งรัดการก่อสร้างขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก สนามบินสุวรรณภูมิ รับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคนต่อปี /พัฒนาสนามบินดอนเมือง เฟส 3 รองรับผู้โดยสาร 40 ล้านคน/ ปี วงเงินลงทุน 32,292 ล้านบาท / พัฒนาสนามบินภูเก็ต เฟส 2 รองรับผู้โดยสาร 18 ล้านคนต่อปีจากเดิม 12.5 ล้านคนต่อปี

ดันแผน MR MAP / แลนด์บริดจ์ "ชุมพร-ระนอง" คิกออฟปี 66 เสริมแกร่งศก.ปท.ไทยดันฮับภูมิภาค

"ปัญญา ชูพานิช" ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่าการทำแผนพัฒนาโครงการคมนาคมในระยะที่ 2 ช่วงปี 2566-2570 ภายใต้แผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในส่วน สนข.นั้น จะนำโครงการที่มีตามแผนระยะที่ 1 และโครงการใหม่มาประมวล โดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลความต้องการในกลุ่มจังหวัดทั้ง 5 ภาค เพื่อนำมาวิเคราะห์ และจัดทำแผนโครงการ โดยปรับไทม์ไลน์ จัดเฟส แผนการดำเนินงาน และการลงทุน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนไป

"แผนปฏิบัติการระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) จะยังมุ่งเน้น การพัฒนาโครงข่ายทางบก ราง น้ำ อากาศ ที่เป็นโครงการต่อเนื่อง โดยจะเพิ่มการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง (MR MAP) และโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่ง ทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง) ที่คาดว่าจะดำเนินการในช่วง 5 ปีต่อจากนี้"
ส่วนโครงการไฮสปีด "สายเหนือและสายใต้" จะมีการทบทวนและปรับไทม์ไลน์ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป ซึ่งล่าสุดฝ่ายมาเลเซียแจ้งความประสงค์ที่ต้องการจะเชื่อมต่อ "ไฮสปีด" กับประเทศไทย ที่ "ปาดังเบซาร์" ต่อมายัง "หาดใหญ่" เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งไปยัง สปป.ลาว และจีน ส่วนรถไฟทางคู่ มาเลเซีย ต้องการเชื่อมต่อรถไฟกับไทยที่ "สุไหงโก-ลก" ซึ่งรฟท.มีความพร้อมในการเชื่อมต่อ เนื่องจากมีเส้นทางรถไฟเดิมอยู่ แต่ไม่ได้ใช้งานมานาน ส่วนหัวจักร ขบวนรถ ทางรฟท. มีความพร้อม ซึ่งทามาเลเซียมองว่าจะเป็นอีกเส้นทางขนส่งสินค้ารถไฟ เชื่อม มาเลย์ ไทย ลาว จีน

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นอกเหนือจากการ ส่งออก และการท่องเที่ยว ฯลฯ และยังดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาอีกด้วย รวมไปถึงเกิดการสร้างงานจ้างแรงงานมีการ กระจายรายได้ไปทั่วประเทศ และเมื่อโครงการสำเร็จตามเป้าหมาย จะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการไทย ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในทุกมิติ

แต่ต้องยอมรับว่า บางโครงการมีมูลค่าการลงทุนสูงหลายแสนล้านบาท เช่น MR -Map และแลนด์บริดจ์ การที่นักลงทุนข้ามชาติจะตัดสินใจคงไม่ง่ายและอาจต้องใช้เวลา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ทุกประเทศต้องการฟืนเศรษฐกิจหลังโควิค ดังนั้นการจัดการเรื่องกฎระเบียบ กติกา และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐที่ช่วยอำนวยความสะดวก เป็นอีกปัจจัยที่จะกระตุ้น และจูงใจนักลงทุนและทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมของอาเซียนได้ตามเปาหมาย!!!

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 22 ส.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43731
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2022 10:01 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
"คมนาคม" เซทแผนลงทุนระยะ 2 (ปี66-70)
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 03:40 น.


ลิงก์มาแลวครับ

“คมนาคม” เซตแผนลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ ระยะ 2 (ปี 66-70) เร่งไฮสปีด-คิกออฟ MR-MAP และ "แลนด์บริดจ์" ดันไทยศูนย์กลางภูมิภาค
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:00 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:00 น.
Click on the image for full size

โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยที่ผ่านมามีโครงการลงทุนทั้งในส่วนของภาครัฐ และการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยรัฐบาลได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) กำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วน โดยกระทรวงคมนาคมได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านคมนาคม เป็นแผนปฏิบัติการ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 -2565) เป็นกรอบทิศทางการดำเนินงาน และกำหนดแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในทุกมิติ

ซึ่งแผนระยะที่ 1 จะสิ้นสุดในปี 2565 กระทรวงคมนาคมจึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และแผนงาน/โครงการต่างๆ เพื่อใช้กำกับดูแล และติดตามการดำเนินงานในทุกมิติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลและความโปร่งใสให้สอดรับกับการดำเนินงานตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) และยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กรอบแนวทางในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รวมทั้งสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทใหม่ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประเทศไทยในช่วง 5 ปีต่อจากนี้

ทั้งนี้ ได้มีการระดมสมองและรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ส่วนราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง นำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มาใช้ประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม พ.ศ. 2566-2570 โดยจะสรุปในเดือน พ.ย. 2565

“อานนท์ เหลืองบริบูรณ์” รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในช่วง 5 ปีแรกของยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย และแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) รัฐบาลและกระทรวงฯ ได้ผลักดันการพัฒนาระบบการคมนาคมและขนส่งทุกรูปแบบทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ทั้งในส่วนของการวางนโยบาย แผนงาน การพัฒนาและการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการ การปฏิบัติการและอำนวยความสะดวก รวมทั้งการควบคุมและการกำกับดูแล เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เอเชีย และภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้

แต่ด้วยบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น สภาพภูมิอากาศ ภาวะสงคราม สงครามการค้า ราคาน้ำมันที่ผันผวน การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปทั้งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร การขยายตัวของเมือง รวมทั้งการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ดิจิทัล และนวัตกรรม ได้ส่งผลกระทบต่อระบบการคมนาคมขนส่งของประเทศ ภารกิจ หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงฯ เป็นอย่างมาก

การจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 จึงควรยึดกรอบยุทธศาสตร์การคมนาคมขนส่งของไทยในระดับ 20 ปี รวมถึงความสอดคล้องและสนับสนุน ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม เพื่อทำการวิเคราะห์ภาพรวมทิศทางการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในช่วงปี 2566-2570 และระยะต่อเนื่อง ให้มีความสอดคล้องกับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อปิดจุดอ่อนและเสริมสร้างจุดแข็งของการดำเนินงานที่ผ่านมา



@ ภารกิจคมนาคม 4 มิติ "สะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล"

จากภารกิจของกระทรวงคมนาคม ทางถนน ทางราง ทางน้ำ ทางอากาศ คือ “สะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล” ซึ่งแผนปฏิบัติการ ระยะที่ 1 มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาพื้นฐานเร่งด่วน และวางรากฐานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยให้บรรลุเป้าหมายการขนส่งที่ยั่งยืน โดยจัดการให้บริการที่ทั่วถึง, ใส่ใจสิ่งแวดล้อม, มีประสิทธิภาพ มุ่งใช้เทคโนโลยีและมีความโปร่งใส

โดยเป้าหมายตัวชี้วัด การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้แก่ 1. ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ น้อยกว่า 11% 2. การขนส่งสินค้าทางราง ต่อปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมด 7% 3. สัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในเขต กทม.และปริมณฑลต่อการเดินทางทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 10% และเมืองหลักในภูมิภาคไม่น้อยกว่า 40% 4. อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนที่กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ ที่ 12 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน

หลักยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) จะดำเนินการต่อเนื่องจากระยะที่ 1 โดยยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งในเมืองหลัก 6 แห่งในภูมิภาค การพัฒนาระบบรางระหว่างเมืองเพื่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ให้แล้วเสร็จตามแผนแม่บทระบบขนส่งทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟและรถไฟฟ้า (TOD) รวมไปถึงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่ส่งเสริมระบบโลจิสติกส์และการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบขนส่งที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาโครงข่ายระบบราง ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การจัดหารถโดยสารประจำทางที่ใช้พลังงานไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนเอง และการเข้าถึงระบบขนส่งของคนทุกกลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมระบบขนส่งสาธารณะให้มีการให้บริการที่เป็นมาตรฐานสากล มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่คนทุกกลุ่ม



@ “ระบบราง-มอเตอร์เวย์ ต้องพัฒนาต่อเนื่อง”

ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อให้เกิดโครงข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจ ซึ่งแต่ละโครงการมีความคืบหน้าค่อนข้างมาก และหลายโครงการเป็นการลงทุนต่อเนื่อง แผนระยะกลางและแผนระยะยาว ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินงาน ซึ่งในปี 2565 ประเทศไทยจะมีโครงการลงทุนทั้งทางบก ทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ในวงเงินสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย โครงการที่ได้ลงนามสัญญาแล้ว 516,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 974,000 ล้านบาท

ไฮไลต์ยังคงเป็นการลงทุนระบบราง ตามแผนแม่บทการพัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 554 กม. โดยเปิดให้บริการแล้ว 11 สาย ระยะทาง 212 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง 4 สาย ได้แก่ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีแผนจะเปิดให้บริการในต้นปี 2566, สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี มีแผนจะเปิดให้บริการเดือนธันวาคม 2568 และสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ

อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุน อยู่ในขั้นตอนประมูล เตรียมเสนอขออนุมัติดำเนินการอีก 5 สาย ได้แก่ สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ, สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์, สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช, สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

@ ลงทุนทางคู่ เป้าหมายปฏิรูประบบรถไฟไทย

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ถือเป็นการปฏิรูประบบรถไฟทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศ อยู่ระหว่างเร่งรัดการก่อสร้างระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จ 5 เส้นทาง ประกอบด้วย ลพบุรี-ปากน้ำโพ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ นครปฐม-หัวหิน หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร หลังจากดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้มีทางคู่เพิ่มขึ้นเป็น 1,111 กม.

และเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ 2 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ, บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทางรวม 678 กม. วงเงินรวม 128,378 ล้านบาท

และผลักดันโครงการทางคู่ ระยะที่ 2 อีก 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,483 กม. วงเงินรวมกว่า 266,975 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนศึกษา และทยอยเสนอขออนุมัติดำเนินการ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จทั้งหมดตามแผนจะทำให้ประเทศไทยมีเส้นทางรถไฟทางคู่มากกว่า 3,200 กม. ทั่วประเทศ เติมเต็มโครงข่ายรถไฟทางคู่ ส่งเสริมให้เกิดการขนส่งสินค้าผ่านระบบรางจากจำนวน 10 ล้านตัน/ปี เป็น 20 ล้านตัน/ปี และกระตุ้นให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวหันมาใช้รถไฟในการเดินทางเพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านคน/ปี เป็น 80 ล้านคน/ปี



@ รถไฟความเร็วสูง เชื่อมท่องเที่ยว-การค้า "ไทย อาเซียน และจีน"

มาที่รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-จีน กำลังก่อสร้าง ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) 253 กม. งบลงทุน 179,412 ล้านบาท เปิดบริการในปี 2570-2571 ช่วงที่ 2 (นครราชสีมา-หนองคาย) ระยะทาง 356 กม. ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และระยะที่ 3 จากหนองคาย-เวียงจันทน์ ระยะทาง 16 กม. ซึ่งจะมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ อยู่ระหว่างเจรจาเตรียมออกแบบสะพาน

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. ยังอยู่ในแผนดำเนินการเร่งรัดแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ และการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่จะช่วยส่งเสริมในด้านการค้า การขนส่ง และช่วยพัฒนาการท่องเที่ยว กระจายรายได้ไปสู่ชุมชนเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีไฮสปีดเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการลงทุน และแผนระยะกลาง 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กม., พิษณุโลก-เชียงใหม่ 288 กม. สถานะ อยู่ระหว่างหาข้อสรุปรูปแบบการลงทุน และแผนระยะยาว 2 เส้นทาง ได้แก่ หัวหิน-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 424 กม. และสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 335 กม. อยู่ระหว่างศึกษาทบทวนความเหมาะสม

ทางถนน จะมีการลงทุนมอเตอร์เวย์ M5 ต่อขยายยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ระยะทาง 22 กม. มูลค่า 28,700 ล้านบาท, M9 วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง ระยะทาง 36 กม. มูลค่า 56,035 ล้านบาท โดยใช้รูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน และ M7 ต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 1.92 กม. วงเงิน 4,508 ล้านบาท เส้นทางนี้รัฐลงทุนเอง

ทางน้ำ เร่งรัดการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ในส่วนท่าเทียบเรือ F เพิ่มขีดความสามารถรองรับตู้สินค้าจาก 11 ล้านตู้/ปี เป็น 18 ล้านตู้/ปี รองรับการขยายตัวของปริมาณเรือขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้น มีเป้าหมายเปิดให้บริการปี 2568, พัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา เป็น Smart Port, พัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เป็นศูนย์การขนถ่ายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ จากรถบรรทุกสู่รถไฟ มีพื้นที่ศักยภาพ 4 แห่ง ได้แก่ ขอนแก่น นครราชสีมา นครสวรรค์ และฉะเชิงเทรา โดยรูปแบบรัฐร่วมทุนเอกชน

ทางอากาศ เร่งรัดการก่อสร้างขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก สนามบินสุวรรณภูมิ รับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคนต่อปี, พัฒนาสนามบินดอนเมือง เฟส 3 รองรับผู้โดยสาร 40 ล้านคน/ปี วงเงินลงทุน 32,292 ล้านบาท, พัฒนาสนามบินภูเก็ต เฟส 2 รองรับผู้โดยสาร 18 ล้านคนต่อปีจากเดิม 12.5 ล้านคนต่อปี



@ ดันแผน MR MAP/แลนด์บริดจ์ “ชุมพร-ระนอง” คิกออฟปี 66 เสริมแกร่ง ศก.ปท.ไทยดันฮับภูมิภาค

“ปัญญา ชูพานิช” ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า การทำแผนพัฒนาโครงการคมนาคมในระยะที่ 2 ช่วงปี 2566-2570 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในส่วน สนข.นั้นจะนำโครงการที่มีตามแผนระยะที่ 1 และโครงการใหม่มาประมวล โดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลความต้องการในกลุ่มจังหวัดทั้ง 5 ภาค เพื่อนำมาวิเคราะห์ และจัดทำแผนโครงการ โดยปรับไทม์ไลน์ จัดเฟส แผนการดำเนินงาน และการลงทุน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนไป

“แผนปฏิบัติการระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) จะยังมุ่งเน้นการพัฒนาโครงข่ายทางบก ราง น้ำ อากาศ ที่เป็นโครงการต่อเนื่อง โดยจะเพิ่มการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง (MR MAP) และโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (แลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง) ที่คาดว่าจะดำเนินการในช่วง 5 ปีต่อจากนี้”

ส่วนโครงการไฮสปีด “สายเหนือและสายใต้” จะมีการทบทวนและปรับไทม์ไลน์ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป ซึ่งล่าสุด ฝ่ายมาเลเซียแจ้งความประสงค์ที่ต้องการจะเชื่อมต่อ "ไฮสปีด" กับประเทศไทย ที่ "ปาดังเบซาร์" ต่อมายัง "หาดใหญ่" เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งไปยัง สปป.ลาว และจีน ส่วนรถไฟทางคู่ มาเลเซีย ต้องการเชื่อมต่อรถไฟกับไทยที่ "สุไหงโก-ลก" ซึ่งรฟท.มีความพร้อมในการเชื่อมต่อ เนื่องจากมีเส้นทางรถไฟเดิมอยู่ แต่ไม่ได้ใช้งานมานาน ส่วนหัวจักร ขบวนรถ ทาง รฟท.มีความพร้อม ซึ่งทางมาเลเซียมองว่าจะเป็นอีกเส้นทางขนส่งสินค้ารถไฟ เชื่อมมาเลย์ ไทย ลาว จีน

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นอกเหนือจากการส่งออก และการท่องเที่ยว ฯลฯ และยังดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาอีกด้วย รวมไปถึงเกิดการสร้างงาน จ้างแรงงาน มีการกระจายรายได้ไปทั่วประเทศ และเมื่อโครงการสำเร็จตามเป้าหมายจะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการไทย ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในทุกมิติ

แต่ต้องยอมรับว่าบางโครงการมีมูลค่าการลงทุนสูงหลายแสนล้านบาท เช่น MR -Map และแลนด์บริดจ์ การที่นักลงทุนข้ามชาติจะตัดสินใจคงไม่ง่ายและอาจต้องใช้เวลา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ทุกประเทศต้องการฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด ดังนั้น การจัดการเรื่องกฎระเบียบ กติกา และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐที่ช่วยอำนวยความสะดวก เป็นอีกปัจจัยที่จะกระตุ้น และจูงใจนักลงทุนและทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมของอาเซียนได้ตามเป้าหมาย!!!
https://mgronline.com/business/detail/9650000080209
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43731
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2022 11:42 am    Post subject: Reply with quote


'เดินหน้า' Mega Project เฟส 2 ไฮไลท์'ระบบราง' !
https://www.youtube.com/watch?v=Hiypqx1KeLo

Mongwin wrote:
สกู๊ปหน้า 1 : เปิดพิมพ์เขียว คมนาคมไทย ชิงศูนย์กลางอาเซียน
มติชน วันที่ 14 สิงหาคม 2565 - 07:17 น.



Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
"คมนาคม" เซทแผนลงทุนระยะ 2 (ปี66-70)
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 03:40 น.


ลิงก์มาแลวครับ

“คมนาคม” เซตแผนลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ ระยะ 2 (ปี 66-70) เร่งไฮสปีด-คิกออฟ MR-MAP และ "แลนด์บริดจ์" ดันไทยศูนย์กลางภูมิภาค
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:00 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 07:00 น.


https://mgronline.com/business/detail/9650000080209
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43731
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2022 10:02 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เช็กงานโปรเจคท์คมนาคม “สงขลา” ย้ำก่อสร้างต้องปลอดภัย!
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันเสาร์ ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:27 น.

“ศักดิ์สยาม” ลงพื้นที่ “สงขลา” เช็กความคืบหน้าโปรเจคท์คมนาคม ลุยสร้าง “สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา” เชื่อมสงขลา-พัทลุง อีไอเอผ่านแล้ว เริ่มสร้างปีหน้า เปิดบริการปี 69 เดินเครื่องพัฒนาถนน ทล.-ทช. เข็นรถไฟทางคู่ “สุราษฎร์ฯ-สงขลา/หาดใหญ่-ปาดังฯ” เข้า ครม. เร่งทบทวนแผนฯ พัฒนาสนามบินหาดใหญ่ ย้ำงานก่อสร้างต้องให้ความสำคัญความปลอดภัยประชาชนเป็นลำดับแรก

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงกระทรวงคมนาคม เพื่อติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่จังหวัดสงขลา พร้อมทั้งเร่งรัดการดำเนินโครงการสำคัญของกระทรวงฯ ประกอบด้วย มิติด้านการพัฒนาทางถนน โครงการสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา เชื่อมระหว่าง อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา กับ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ความยาว 7,000 เมตร เชื่อมต่อถนนสายหลักระหว่างถนนเพชรเกษม (ทล.4) กับถนนทางหลวงหมายเลข 408 ช่วยลดระยะทางการเดินทางระหว่างจังหวัด จาก 80 กิโลเมตร (กม.) เหลือประมาณ 7 กม. และใช้เป็นเส้นทางอพยพประชาชนหากเกิดภัยพิบัติได้ รวมทั้งช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา ปัจจุบันรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ผ่านความเห็นชอบแล้ว มีกำหนดเริ่มก่อสร้างปี 66 และเปิดบริการปี 69

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาทางถนนสำคัญในพื้นที่ จ.สงขลา อาทิ การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง ทล. 42 บ้านคลองแงะ-จุดผ่านแดนสุไหงโก-ลก ตอนบ้านโตนนท์-บ้านลำชิง ขยายจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร (ไปกลับข้างละ 2 ช่องจราจร) ระยะทาง 10.72 กม. ซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ จ.สงขลา และปัตตานี เชื่อมต่อไปยังด่านชายแดนอำเภอสุโหงโก-ลก ประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้า 8.87% คาดว่าจะแล้วเสร็จ และเปิดบริการภายในปี 67 รวมทั้งยังมีแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงในอนาคตกว่า 113 กม., โครงข่ายทางหลวงชนบท เช่น ถนนสาย สข.4009 แยก ทล.4083-บ้านกระแสสินธุ์ จ.สงขลา สนับสุนนการท่องเที่ยวชายทะเลชายฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย (Thailand Rivera) และบริเวณรอบทะเลสาบสงขลา กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 66, โครงการศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบถนนเลี่ยงเมืองสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งโลจิสติกส์ อำนวยความสะดวกการค้าการลงทุนการท่องเที่ยว


นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า กระทรวงคมนาคมยังได้ดำเนินการศึกษาแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง (MR-MAP) ที่ประกอบด้วย ถนนมอเตอร์เวย์และทางรถไฟอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางในพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทย ส่งเสริมการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง มีเส้นทางสำคัญผ่านพื้นที่จังหวัดสงขลาคือ MR 1 ช่วงเชียงราย-นราธิวาส พร้อมทั้งเดินหน้าพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภท เชื่อมโยงสถานีขนส่งผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานหาดใหญ่ พื้นที่ตัวเมือง อำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง ให้มีความครอบคลุมเป็นโครงข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการบริการประชาชนเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย


นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ขณะที่มิติการพัฒนาระบบราง กระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนารถไฟทางคู่ในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีเส้นทางในแผนระยะเร่งด่วน (ระยะที่ 1) 7 เส้นทาง 993 กม. และในแผนระยะกลาง (ระยะที่ 2) ที่อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีเส้นทางสำคัญผ่านพื้นที่ จ.สงขลา ได้แก่ 1. สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 339 กม. และ 2. หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 48 กม. ส่วนมิติการพัฒนาทางน้ำ อาทิ การก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จในปี 64 สามารถแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รักษาวิถีชีวิตการประกอบอาชีพประมง และส่งเสริมการท่องเที่ยว


โครงการขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเล 11 ร่องน้ำ เพื่อป้องกันการกัดเซาะ ลดปัญหาอุทกภัยระดับรุนแรง โดยมีแผนดำเนินการแล้วเสร็จเดือน ก.ย.65 และโครงการในอนาคต อาทิ โครงการขุดลอกร่องน้ำสงขลา (ร่องนอก) ซึ่งเป็นร่องน้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นเส้นทางเดินเรือสินค้าเพื่อเข้าเทียบท่าท่าเรือสงขลา อยู่ระหว่างจัดทำแบบ และการก่อสร้างขุดลอกร่องน้ำร่องกลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง และมิติการพัฒนาทางอากาศ ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร 2.5 ล้านคนต่อปี มีแผนการพัฒนา เช่น ขยายลานจอดรถ ก่อสร้างอาคารจอดรถ อาคารผู้โดยสาร อาคารคลังสินค้าหลังใหม่ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค ปัจจุบันอยู่ระหว่างทบทวนแผนแม่บท และกำหนดระยะเวลาโครงการ


นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมดำเนินงานก่อสร้างทุกโครงการ โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของประชาชนเป็นลำดับแรก รวมทั้งความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และดำเนินการตามมาตรการ และแนวปฏิบัติระยะยาว สำหรับโครงการก่อสร้างของกระทรวงคมนาคมทั้งหมด รวมถึงสอบถามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และความคิดเห็นขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดทำโครงการและงบประมาณลงพื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุด

พร้อมทั้งเน้นย้ำให้การดำเนินงานในทุกส่วน โดยเฉพาะกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด รวมถึงจัดทำ checklist เพื่อติดตามการขับเคลื่อนการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 66 ให้เป็นไปตามแผนงานต่อไป และให้ใช้วิธีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมให้ทันสมัย และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43731
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2022 12:20 am    Post subject: Reply with quote



มาแล้วงบ'66 รฟท.ทุ่มค่าเวนคืนสร้างเส้นทางรถไฟ พร้อมอัปเดตก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือ-สายอีสาน
https://www.youtube.com/watch?v=HrliNWuRbGU
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46892
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/09/2022 11:36 am    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม เปิดประชุมการขนส่งของเอเปค ชูแนวคิดขนส่งเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 กันยายน 2565 - 11:24 น.

“ศักดิ์สยาม” เปิดการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งของเอเปค ครั้งที่ 52 ชูวิสัยทัศน์ “การขนส่งที่ไร้รอยต่อ อัจฉริยะ และยั่งยืน” ขายโครงการ Land Bridge แก่คณะทำงาน

วันที่ 14 กันยายน 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเปิดการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งของเอเปค ครั้งที่ 52 (the 52nd APEC Transportation Working Group : TPTWG52) ภายใต้เป้าหมายหลัก คือ การขนส่งที่ไร้รอยต่อ อัจฉริยะ และยั่งยืน”(Seamless, Smart and Sustainable Transportation) เพื่ออำนวยความสะดวกการค้า การลงทุน และฟื้นฟูความเชื่อมโยงด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจเอเปคและระดับโลก

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งของเอเปค ครั้งที่ 52 (the 52nd APEC Transportation Working Group : TPTWG52) ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2565 ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ ภายใต้เป้าหมายหลัก “การขนส่งที่ไร้รอยต่อ อัจฉริยะ และยั่งยืน” (Seamless, Smart and Sustainable Transportation) ซึ่งการประชุมด้านการขนส่งของเอเปค ครั้งที่ 52 มีสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคเข้าร่วมประชุมทั้งรูปแบบ Online และ Onsite

การประชุมด้านการขนส่งของเอเปคครั้งนี้ ถือเป็นเป็นเวทีสำคัญในการหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 สาขา คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทางอากาศ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและระบบขนส่งอัจฉริยะ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทางบก และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทางน้ำ เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งในมิติบก น้ำ ราง และอากาศ เสริมสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานและโอกาสในการเติบโตและฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ซึ่งเน้นการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด BCG Economy และการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาค ซึ่งที่ประชุมได้มีการหารือและรับรองแผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของเอเปค ปี 2565-2568 (TPTWG Strategic Action Plan 2022-2025) ซึ่งจะเป็นกรอบการทำงานและแนวทางในการพัฒนาแผนงานประจำปีและกิจกรรมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญใน 4 สาขา รวมถึงโครงการต่าง ๆ ในกรอบเอเปคด้านการขนส่ง เพื่อบรรลุตามวิสัยทัศน์ปุตราจายาภายใต้กรอบเอเปค ปี ค.ศ. 2040 ที่มุ่งสร้างเขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต ยืดหยุ่น และสันติสุข เพื่อความรุ่งเรืองของประชาชนและคนรุ่นหลัง

กระทรวงคมนาคมได้จัดแสดงนิทรรศการเพื่อนำเสนอโครงการสำคัญของกระทรวงคมนาคมที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเชื่อมโยงในเขตเศรษฐกิจเอเปคด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่เชื่อมต่อการเดินทางทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้อย่างสะดวก ไทยจึงมีความพร้อมและศักยภาพที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างเขตเศรษฐกิจในการเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาค ผ่านการเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงสายเอเชียที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่เพื่อนบ้านบนพื้นทวีปเอเชียได้อย่างสะดวกผ่านการเชื่อมต่อโครงข่ายทางรถไฟในภูมิภาคผ่านเส้นทางรถไฟไทย-ลาว-จีน และสามารถเชื่อมต่อไปถึงรัสเซียและยุโรป

การเชื่อมต่อทางอากาศผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของท่าอากาศยานนานาชาติของไทยเพื่อรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบินจากทั่วโลก ส่งเสริมให้การเดินทางทางอากาศระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปค มีประสิทธิภาพและความหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการเชื่อมต่อทางน้ำ ซึ่งไทยมีท่าเรือแหลมฉบัง ที่เป็นท่าเรืออันเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระดับภูมิภาค และยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับความต้องการในการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น

ในการนี้กระทรวงคมนาคมได้จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อรับรองผู้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 สาขา ซึ่งภายในงานมีการสร้างบรรยากาศการบรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรีไทย การโชว์งานจักสานที่แสดงศิลปะวัฒนธรรมไทยสอดคล้องกับตราสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ปี 2565 รวมถึงการแสดงโขนรามเกียรติ์เพื่อสื่อสารถึงความร่วมมือระหว่างกันของเขตเศรษฐกิจเอเปคที่มีความแข็งแกร่งและแน่นแฟ้น

ในโอกาสพิเศษนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กล่าวเปิดตัวและนำเสนอวีดิทัศน์โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (Southern Landbridge) ซึ่งจะเป็นเส้นทางเดินเรือใหม่ของโลก เป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งและเศรษฐกิจใหม่ทางทะเลที่เป็น Transshipment การขนส่งสินค้าของภูมิภาค โดยสามารถเชื่อมการขนส่งกับเส้นทางมอเตอร์เวย์ และทางรถไฟ คู่ขนานแนวเส้นทางร่วมกันตามแผนบูรณาการมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ (MR-MAP) สร้างความเชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจใน APEC อย่างไร้รอยต่อเพื่อการเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล (OPEN. CONNECT. BALANCE.)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43731
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2022 4:35 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ศักดิ์สยาม เปิดประชุมการขนส่งของเอเปค ชูแนวคิดขนส่งเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 กันยายน 2565 - 11:24 น.



“ศักดิ์สยาม”โชว์พัฒนา”แลนด์บริดจ์”เวทีเอเปคเร่งชงครม.ในปีนี้ ชูต้นแบบสิงคโปร์ตั้ง”โฮลดิ้ง”รัฐร่วมทุนสายเรือ
หน้า คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 14 กันยายน 2565 - 13:00 น.
ปรับปรุง: วันที่ 14 กันยายน 2565 - 13:00 น.

Click on the image for full size
“ศักดิ์สยาม” โชว์โปรเจ็กต์”แลนด์บริดจ์"เวทีคณะทำงานเอเปค เตรียมสรุปแผนธุรกิจเสนอครม. เดินหน้าโรดโชว์ปี 66 ชูโมเดลต้นแบบ “สิงคโปร์”พัฒนาท่าเรือทูอัส ตั้งบริษัทโฮลดิ้ง รัฐถือหุ้น 40% ชี้ไทยทำเลได้เปรียบศูนย์กลางอาเซียน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3 ... 12, 13, 14  Next
Page 1 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©