View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/09/2022 10:07 am Post subject: สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ไทย-ลาว-จีน
กรมขนส่งทางรางถกแผนเชื่อมรถไฟไทย - ลาว - จีน ดันหนองคายฮับการขนส่ง
กรุงเทพธุรกิจ 17 ก.ย. 2564 เวลา 9:25 น.
กรมขนส่งทางรางถกเส้นทางเชื่อมรถไฟไทย - ลาว - จีน ดันสถานีหนองคายขึ้นแท่นฮับรองรับการขนส่ง รับเปิดบริการไฮสปีดครบเส้นทาง กรุงเทพฯ - หนองคาย ภายในปี 2571
กรมการขนส่งทางราง จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ครั้งที่ 1/2564 โดยมีนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธาน พร้อมด้วยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือ เพื่อจัดทำข้อเสนอในการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ และนำไปสู่การพิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยในการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ต่อไป
โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าข้ามแดน ผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ พร้อมมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาจัดขบวนรถรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่สถานีท่านาแล้งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นำไปสู่การเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศต่อไป อีกทั้งได้มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศไทย ดังนี้
แนวเส้นทาง
- โครงการรถไฟจีน ลาว เตรียมเปิดดำเนินการในวันชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยเส้นทางรถไฟลาว-จีน มีระยะทางประมาณ 420 กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด 31 สถานี เริ่มต้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน เชื่อมต่อที่เมืองบ่อเต็น สปป. ลาว และมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดหนองคาย
- โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. กำหนดเปิดให้บริการ ปี 2569 สำหรับระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย มีระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบรายละเอียด โดยมีกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2571 โดยเตรียมหารือร่วมกันสามฝ่ายเพื่อเตรียมการเดินรถเชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน ต่อไป
การเตรียมความพร้อมของฝ่ายไทยในการเชื่อมโยงทางรถไฟไทย ลาว จีน
ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีน - ลาว ไว้ 2 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 คือ การพัฒนาสถานีหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดยให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง อีก 1 แปลงเป็นพื้นที่ส่วนกลาง
ระยะที่ 2 คือ
- การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ซึ่งอยู่ห่างจากสะพานเดิมประมาณ 30 เมตร โดยเป็นสะพานรถไฟที่มีทั้งทางขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร โครงสร้างสะพานจะเป็นรูปแบบสะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องก่อสร้างโดยวิธีคานยื่นสมดุล
- การจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับศูนย์ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) สามารถรองรับการแลกเปลี่ยนสินค้าจากรถไฟที่เข้ามาจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาวและจีน โดย ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังของลานขนถ่ายสินค้า สำหรับกองเก็บตู้สินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงาน, คลังสินค้า และอาคารประกอบอื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงศูนย์เอ๊กซเรย์ตู้สินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการแบบ One-Stop Service
ประโยชน์ของเส้นทางรถไฟเชื่อมจีน ลาวมายังชายแดนหนองคาย
- ด้านการค้าไทยจะสามารถส่งออกสินค้าไปลาวและจีนได้เพิ่มขึ้น อาทิสินค้าอุปโภค บริโภค และโดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางการเกษตรไปยังประเทศจีนนั้นใช้เวลานาน โดยเฉพาะผลไม้ไทยเป็นผลไม้เมืองร้อน มีอายุการเก็บรักษาสั้น การขนส่งที่ใช้เวลานานจะทำให้เกิดการเน่าเสียของสินค้า ดังนั้นการเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟลาว - จีน จึงเป็นผลดีต่อสินค้าเกษตร ให้สามารถกระจายไปยังมณฑลต่างๆ ของจีนได้อย่างทั่วถึงในระยะอันสั้น
- ในด้านการบริการและการท่องเที่ยว คาดว่านักท่องเที่ยวจีนและลาวจะมาเที่ยวไทยได้สะดวกขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนธุรกิจบริการ อาทิกลุ่มบริการสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล นวดแผนไทย เนื่องจากความเชื่อมั่นในคุณภาพ และมาตรฐานสาธารณสุขของไทย รวมถึง กลุ่มร้านอาหาร และโรงแรม เนื่องจากราคาสินค้าและบริการถูก รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มของไทยเป็นที่นิยมของทั้งชาวจีนและลาว ที่จะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยในการค้าขายผ่านแนวเส้นทางดังกล่าว
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/09/2022 10:08 am Post subject:
เปิดแผนเชื่อมรถไฟ ไทย-ลาว-จีน เร่งสร้างสะพานข้ามน้ำโขงแห่งที่2 | TNN ข่าวค่ำ | 14 ม.ค. 65
Jan 14, 2022
TNN Online
ไทยเร่งเดินหน้าแผนเชื่อมการขนส่งทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยของบกลางเพื่อออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ และเร่งดำเนินการก่อสร้าง เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งและพัฒนาเศรษฐกิจไทย ด้านรถไฟขนส่งระหว่าง จีน-ลาว ซึ่ง เปิดให้บริการครบ 1 เดือน สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ราว 670,000 เที่ยว และสินค้าราว 170,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 500 ล้านหยวน (ราว 78.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ )
https://www.youtube.com/watch?v=8hr72Nob77I
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/09/2022 10:08 am Post subject:
🚉 ไทยเตรียมก่อสร้างสะพานข้ามโขงแห่งใหม่ พัฒนาสถานีหนองคายรองรับรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันท์น
Sep 17, 2021
Pr-Pro MassComm Channel
https://www.youtube.com/watch?v=XFb1PCBx1bg
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ครั้งที่ 1/2564 ได้พิจารณาการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าข้ามแดน ผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ พร้อมมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาจัดขบวนรถรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่สถานีท่านาแล้งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นำไปสู่การเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศต่อไป อีกทั้งได้มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศไทย ดังนี้
แนวเส้นทาง
- โครงการรถไฟจีน ลาว เตรียมเปิดดำเนินการในวันชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยเส้นทางรถไฟลาว-จีน มีระยะทางประมาณ 420 กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด 31 สถานี เริ่มต้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน เชื่อมต่อที่เมืองบ่อเต็น สปป. ลาว และมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดหนองคาย
- โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. กำหนดเปิดให้บริการ ปี 2569 สำหรับระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย มีระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบรายละเอียด โดยมีกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2571 โดยเตรียมหารือร่วมกันสามฝ่ายเพื่อเตรียมการเดินรถเชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน ต่อไป
การเตรียมความพร้อมของฝ่ายไทยในการเชื่อมโยงทางรถไฟไทย ลาว จีน
ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีน - ลาว ไว้ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 คือการพัฒนาสถานีหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดยให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง อีก 1 แปลงเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ระยะที่ 2 คือ
- การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ซึ่งอยู่ห่างจากสะพานเดิมประมาณ 30 เมตร โดยเป็นสะพานรถไฟที่มีทั้งทางขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร โครงสร้างสะพานจะเป็นรูปแบบสะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องก่อสร้างโดยวิธีคานยื่นสมดุล
- การจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับศูนย์ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) สามารถรองรับการแลกเปลี่ยนสินค้าจากรถไฟที่เข้ามาจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาวและจีน โดย ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังของลานขนถ่ายสินค้า สำหรับกองเก็บตู้สินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงาน, คลังสินค้า และอาคารประกอบอื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงศูนย์เอ๊กซเรย์ตู้สินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการแบบ One-Stop Service
ประโยชน์ของเส้นทางรถไฟเชื่อมจีน ลาวมายังชายแดนหนองคาย
- ด้านการค้าไทยจะสามารถส่งออกสินค้าไปลาวและจีนได้เพิ่มขึ้น อาทิสินค้าอุปโภค บริโภค และโดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางการเกษตรไปยังประเทศจีนนั้นใช้เวลานาน โดยเฉพาะผลไม้ไทยเป็นผลไม้เมืองร้อน มีอายุการเก็บรักษาสั้น การขนส่งที่ใช้เวลานานจะทำให้เกิดการเน่าเสียของสินค้า ดังนั้นการเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟลาว - จีน จึงเป็นผลดีต่อสินค้าเกษตร ให้สามารถกระจายไปยังมณฑลต่างๆ ของจีนได้อย่างทั่วถึงในระยะอันสั้น
- ในด้านการบริการและการท่องเที่ยว คาดว่านักท่องเที่ยวจีนและลาวจะมาเที่ยวไทยได้สะดวกขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนธุรกิจบริการ อาทิกลุ่มบริการสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล นวดแผนไทย เนื่องจากความเชื่อมั่นในคุณภาพ และมาตรฐานสาธารณสุขของไทย รวมถึง กลุ่มร้านอาหาร และโรงแรม เนื่องจากราคาสินค้าและบริการถูก รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มของไทยเป็นที่นิยมของทั้งชาวจีนและลาว ที่จะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยในการค้าขายผ่านแนวเส้นทางดังกล่าว
ขอบคุณข้อมูลและภาพจากกรมการขนส่งทางราง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/09/2022 10:13 am Post subject:
เตรียมสร้างสะพานรถไฟแห่งใหม่ ไทย-ลาว-จีน
Sep 17, 2022
Thai PBS News
สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีสุดท้ายของรถไฟไทย ก่อนจะเดินรถไปสิ้นสุดที่สถานีท่านาแล้งในลาว แม้ลาว-จีนจะสร้างระบบมาเชื่อมที่สถานีท่านาแล้งแล้ว แต่ขนาดรางของไทยและของประเทศเพื่อนบ้านไม่สอดคล้องกัน จึงต้องวางแนวทางจัดการทั้งระยะสั้นและระยะยาว
https://www.youtube.com/watch?v=1vpqq-Zjuj4
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 05/10/2022 10:50 am Post subject:
เตรียมเยือนเวียงจันทน์หารือวางแนวเชื่อมทางรถไฟ
สำนักข่าวไทย 05/10/2565 09:22
ทำเนียบรัฐบาล 5 ต.ค.-รองโฆษกรัฐบาล เผย อนุทิน เตรียมนำทีมไทยแลนด์เยือนเวียงจันทน์ 6-7 ต.ค.นี้ หารือผู้แทน สปป ลาว วางแนวเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่าง 2 ประเทศ
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 6-7 ต.ค. 65 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย-ลาวและจีน จะนำคณะทีมไทยแลนด์ ประกอบด้วยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง กรมทางหลวง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนหน่วยงานจากกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชน เดินทางไปร่วมประชุมกับผู้แทนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ระหว่างไทยกับสปป.ลาว ช่วงหนองคาย เวียงจันทน์ทั้ง 2 ฝ่ายจะหารือกันทั้งในส่วนของการเชื่อมโยงผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า แนวทางการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ตลอดจนการร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านคมนาคมทางถนน ทางรถไฟ โลจิสติกส์ และการบินพลเรือน นอกจากนี้จะเดินทางไปศึกษาดูการดำเนินงานและรับฟังข้อมูลการดำเนินงานของโครงการเวียงจันทน์โลจิสติกส์ปาร์ค (Vientiane Logistics Park : VLP) ซึ่งเป็นพื้นที่การบริหารจัดการการสินค้าที่ขนส่งระหว่างสปป.ลาวและจีนโดยเส้นทางรถไฟ เพื่อเป็นข้อมูลการวางแผนงานการเชื่อมต่อขนส่งสินค้าที่จะมายังประเทศไทยในอนาคต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้เตรียมพื้นที่สำหรับการพัฒนาศูนย์ขนส่งและกระจายสินค้าในพื้นที่จังหวัดหนองคายแล้ว ได้แก่ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่สถานีนาทา โดยอยู่ภายใต้การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่2 (นครราชสีมา-หนองคาย) นอกจากนี้ คณะฯ ยังมีกำหนดการรับฟังข้อมูลการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว พร้อมเยี่ยมชม Control Room และทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ ไปยังสถานีหลวงพระบาง
สำหรับโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นแผนงานของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบราง เพื่อสนับสนุนเส้นทางการขนส่งสินค้า ยกระดับการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ไปยังภูมิภาคและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในระยะต่อไปจะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อรองรับทั้งการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การขนส่งต่าง ๆ ตามแนวเส้นทาง เกิดงานและอาชีพอีกจำนวนมากตามมา โดยปัจจุบันโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน อยู่ระหว่างการพัฒนา ระยะที่1 (กรุงเทพฯ -นครราชสีมา) ระยะทาง 250.77 กม. มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2569 มีคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย-ลาว และจีน รวมถึงคณะของกระทรวงคมนาคมติดตามความคืบหน้าโครงการและรายงานให้รัฐบาลรับทราบอย่างต่อเนื่อง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว.-สำนักข่าวไทย
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 06/10/2022 7:50 am Post subject:
ส่องแผนเปิดเส้นทาง รถไฟไทย-ลาว คืบหน้าถึงไหน-เปิดให้บริการเมื่อไร
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 06 ต.ค. 2565 เวลา 7:00 น.
รฟท. เปิดแผนคืบหน้าสร้าง รถไฟไทย-ลาว เชื่อมระบบขนส่งทางราง 3 ประเทศ เผยเปิดให้บริการได้เมื่อไร มีแนวเส้นทางไหนบ้าง
สำหรับโครงการรถไฟจีน-ลาว ที่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา เป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างนครคุนหมิงกับนครหลวงเวียงจันทน์ ที่จะส่งเสริมการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างลาวกับจีนให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดหนองคาย โดยเส้นทางรถไฟดังกล่าวมีความสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เมื่อมีการเชื่อมต่อโครงข่ายโดยสมบูรณ์จากจีน ลาว มายังไทย ซึ่งขณะนี้ไทยได้มีแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟเวียงจันทน์ ด้วยการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคายให้สามารถรองรับการขนส่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าการดำเนินงานรถไฟไทย-ลาว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมการประชุมกลุ่มย่อยในรายละเอียดสำหรับการเดินรถดังกล่าว ได้แก่ ด้านค่าโดยสารหรือประเด็นอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้อง ล่าสุดรฟท.และการรถไฟลาว ได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 และ 9 สิงหาคม 2565 และมีมติเห็นชอบให้สถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีระหว่างประเทศเช่นเดิม โดยการรถไฟลาวจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ มาอบรม พนักงานขับรถและพนักงานรักษารถ คาดอบรมเสร็จเรียบร้อยแล้วภายในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 พร้อมการยืนยันการใช้ทางก็จะดำเนินการเปิดเดินรถต่อไป
ทั้งนี้แผนเปิดขบวนรถโดยสารของรถไฟไทย-ลาวระยะเร่งด่วน (ปี 2566) จะขยายต้นทาง/ปลายทางของขบวนรถที่ให้บริการในปัจจุบัน ในฝั่งลาว จากสถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีบ้านคำสะหวาด จำนวน 4 ขบวนต่อวัน (ไป-กลับ) เริ่มให้บริการกลางปี2566 ส่วนแผนระยะกลาง (ปี 2567) จะขยายสถานีต้นทางและสถานีปลายของขบวน ในฝั่งไทย จากสถานีหนองคาย เป็น สถานีอุดรธานี จำนวน 4 ขบวนต่อวัน (ไป-กลับ) และเปิดเดินขบวนรถระหว่าง สถานีนครราชสีมา บ้านคำสะหวาด จำนวน 2 ขบวนต่อวัน (ไป-กลับ) ขณะที่แผนระยะยาว (ปี 2568 เป็นต้นไป) จะจัดขบวนรถโดยสารทางไกล ระหว่างสถานีบางซื่อพัทยา สถานีบ้านคำสะหวาด จำนวน 2 ขบวนต่อวัน (ไป-กลับ)
สำหรับแนวเส้นทางรถไฟไทย-ลาว ดังนี้
1.สถานีนาทา
2.สถานีหนองคาย
3.สถานีท่านาแล้ง
4.สถานีเวียงจันทร์บ้านคำสะหวาด
โดยแนวเส้นทางจะผ่านท่าเรือบก ท่านาแล้ง ,ย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) ที่ท่านาแล้ง และจุดเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้า ท่านาแล้ง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 06/10/2022 1:04 pm Post subject:
อนุทินศักดิ์สยาม นำทีมลงพื้นที่ สปป.ลาว ถกรถไฟเชื่อมขนส่ง 2 ประเทศ
ไทยโพสต์ 6 ตุลาคม 2565 เวลา 12:48 น.
อนุทินศักดิ์สยามขนทัพผู้แทนรัฐบาลไทย ลงพื้นที่ สปป.ลาว หารือโครงการเชื่อมต่อรถไฟ ช่วงหนองคายเวียงจันทน์ เชื่อมโยงด้านการขนส่งระหว่าง 2 ประเทศพร้อมกางแผนเชื่อมโยงทางรถไฟไทยลาวจีน ยันไฮสปีดกรุงเทพฯ-โคราช เปิดใช้ปี 69 ส่วนเฟส 2 ถึงหนองคาย เตรียมให้บริการปี 71
6 ต.ค.2565-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ 6 ต.ค. 2565นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุมหารือกับ นายเวียงสะหวัด สีพันดอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่ง การค้าการลงทุนของ สปป.ลาว เกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคายเวียงจันทน์ โดยมีนางสาวจิรัสยา พีรานนท์ อุปทูตประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวียงจันทน์ เข้าร่วมประชุมด้วย
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมร่วมกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว ในครั้งนี้ เป็นการประชุมสำคัญที่ทั้งประเทศไทย และสปป.ลาว ได้เห็นชอบร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เป็น หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ทั้งนี้ ประเทศไทยยืนยันว่า ต้องการจะส่งเสริมและสานต่อมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกัน โดยทั้ง 2 ประเทศต่างเป็น บ้านใกล้เรือนเคียง ที่ดี พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงและคล้ายคลึงกัน ทั้งด้านภาษาวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ขณะเดียวกัน การเปิดให้บริการโครงการรถไฟลาวจีน ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมนครหลวงเวียงจันทน์กับคุนหมิงนั้น จะส่งเสริมการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างลาวและจีนให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
นายอนุทิน กล่าวอีกว่า รัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะทำให้การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคายและเวียงจันทน์เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้ง 2 ประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ อีกทั้งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายได้ร่วมกันหารืออย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับทั้ง 2 ประเทศ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้ง 2 ฝ่าย นำผลการหารือไปปฏิบัติเพื่อให้การเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมมีความคืบหน้าและเกิดผลประโยชน์สูงสุดสุดร่วมกัน โดยเฉพาะการพัฒนาการประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้อาเซียนเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน และเชื่อว่าอาเซียนที่มีความเป็นปึกแผ่นจะเป็นอาเซียน ที่มีพลังและสามารถมีบทบาทสำคัญในประเด็นระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลต่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคนี้ต่อไป
ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมตระหนักถึงความสำคัญของโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟ ไทยลาวจีน เพื่อรองรับการเดินทางและขนส่งระหว่างประเทศ และถือเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่ยั่งยืน ที่จะสร้างโอกาสให้ทั้งสองประเทศในการส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก
โดยในขณะนี้ฝ่ายไทยได้มีแผนเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟเวียงจันทน์ ด้วยการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคาย ให้สามารถรองรับการขนส่งสินค้าผ่านสะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 1 ได้ ซึ่งการหารือร่วมกันในวันนี้ เป็นนิมิตหมายอันดีที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงร่วมกันที่จะพัฒนาและปรับปรุงความร่วมมือด้านการคมนาคมทั้ง 4 มิติ เพื่อที่การเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศ จะมีความคืบหน้าและบรรลุเป้าหมาย ตามที่ผู้นำของทั้ง 2 ฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกัน
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน มีแผนการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน มีรายละเอียด ดังนี้
1.แผนการก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการปี2569,โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมาหนองคาย อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน EIA คาดว่าเปิดให้บริการปี 2571,โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่นหนองคาย ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร (กม.) สถานีทั้งหมด 15 สถานี คาดว่าจะสามารถนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในปี 2565
2.การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพาน
ได้แก่ การบริหารจัดการสะพานเดิมระหว่างรอการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ โดยเพิ่มขบวนรถขาไป 7 ขบวนและขากลับ 7 ขบวน รวม 14 ขบวน รองรับขบวนละ 25 แคร่ โดยกรมทางหลวง (ทล.) ทำการทดสอบการรับน้ำหนักรถไฟ ในระดับU20 เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสะพาน
และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ใกล้กับสะพานเดิมที่มีอยู่ ห่างประมาณ 30 เมตร มีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน และทางขนาด 1 เมตร ปัจจุบันได้ข้อตกลงว่าฝ่ายไทยและฝ่ายลาวจะร่วมลงทุนค่าใช้จ่ายร่วมกันในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย โดยกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้กรมทางหลวงดำเนินการออกแบบสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ให้สามารถรองรับรถยนต์ด้วย
ทั้งนี้ ทล. ได้ปรับการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study : FS Study) และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) และระยะที่ 2 งานออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) และงานศึกษาทบทวนผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งขณะนี้ ทล. ได้ประกาศร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR ) สำหรับการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ
3.การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้า โดยแนวทางพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้าของฝั่งไทยลาว เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคายเวียงจันทน์ แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะเร่งด่วน การพัฒนาย่านสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า การเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีนลาว โดยมีการพัฒนาสถานีหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยเพิ่มรถไฟ จาก 4 ขบวนต่อวันเป็น 14 ขบวนต่อวัน และเพิ่มจากขบวนละ 12 แคร่ เป็น 25 แคร่ โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง
ทั้งนี้ รฟท. ได้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานยกขนสินค้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกรมศุลกากรดำเนินการขอออกประกาศใช้พื้นที่บริเวณสถานีหนองคายเป็นพื้นที่ตรวจปล่อย จำนวน 46,800 ตารางเมตร โดย รฟท. อยู่ระหว่างพิจารณาแบ่งพื้นที่คงเหลือ จากการใช้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยออกเป็น 5 แปลง พื้นที่แปลงละ 11,200 ตารางเมตร เพื่อออกประกาศเชิญชวนจำนวน 4 แปลง และกันไว้เป็นพื้นที่ส่วนกลาง 1 แปลง โดยจะกำหนดราคาค่าเช่าตามระเบียบต่อไป
ระยะยาว การพัฒนาพื้นที่นาทาเพื่อเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า (เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต) พัฒนาพื้นที่ย่านสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย ให้สามารถรองรับการขนส่งจากจีนลาว และส่งออกไปยัง สปป.ลาว
ปัจจุบัน รฟท. อนุมัติให้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย โดยคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จในปี 2565
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 43714
Location: NECTEC
Posted: 06/10/2022 1:48 pm Post subject:
ส่อง 3 เมกะโปรเจ็กต์ รุกเส้นทางขนส่งสินค้าไทย-ลาว-จีน
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
05 ตุลาคม 2565 เวลา 13:07 น.
รฟท. เผยคืบหน้าไฮสปีดไทย-จีน เร่งสร้าง 10 สัญญา ลุ้นลงนามต่ออีก 3 สัญญา เล็งเปิดประมูลเฟส2 ช่วงนครราชสีมา หนองคาย ภายในปี 66 เตรียมพัฒนาสถานีหนองคาย 80ไร่ เชื่อมขนส่งสินค้าทางรถไฟไทย-ลาว-จีน
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร หนองคาย (ไฮสปีดไทย จีน) ทั้ง 14 สัญญา ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอลงนาม 3 สัญญาทั้งนี้ตามแผนจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมทั้งทดสอบเดินรถเสมือนจริงได้ในปี 2569 เป็นเวลา 6 เดือน ก่อนจะเปิดให้บริการประชาชนต้นปี 2570
สำหรับ 3 สัญญาที่อยู่ระหว่างรอลงนามสัญญานั้น อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินงาน ประกอบด้วย สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.2 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาจากศาลปกครองสูงสุด ในกรณีที่เอกชนยื่นฟ้องผลการพิจารณาคุณสมบัติการประมูล
ส่วนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กิโลเมตร อยู่ในขั้นตอนการเจรจาแก้ไขร่างสัญญาระหว่างทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และกลุ่มซีพี เพื่อดำเนินการลงทุนพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนในโครงการไฮสปีดไทย - จีน และไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน
ขณะที่สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร ขณะนี้ รฟท.ได้ประสานไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อให้ความเห็นของเจรจาข้อเสนอจากเอกชนที่ประมูลและยื่นข้อเสนอเป็นรายที่ 2 เนื่องจากเอกชนรายที่ 1 ไม่ยืนราคาตามที่เสนอไว้
รายงานข่าวจากรฟท.กล่าวต่อว่า รฟท.มีแผนที่จะพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา หนองคาย ปัจจุบันรฟท.ได้ดำเนินการออกแบบแล้วเสร็จ ซึ่งอยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะดำเนินการประกวดราคาและก่อสร้างภายในปี 2566 เปิดให้บริการปี 2571
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา หนองคาย วงเงินลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาท มีระยะทาง 356 กิโลเมตร ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่ หลังสถานีนครราชสีมจุดสิ้นสุดที่ ริมแม่น้ำโขง ฝั่งไทย ระยะทางทั้งสิ้น 356 กิโลเมตร สถานีทั้งหมด 5 สถานี ประกอบด้วย 1. สถานีบัวใหญ่ 2. สถานีบ้านไผ่ 3. สถานีขอนแก่น 4. สถานีอุดรธานี 5. สถานีหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 2 แห่ง ที่นาทา และเชียงรากน้อย,ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Base) 4 แห่ง ที่บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา,ย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่ง ที่นาทา
นอกจากนี้รฟท.ได้เตรียมความพร้อมในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ระหว่างไทย-ลาว-จีน โดยเป็นการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางรถไฟข้ามแดนช่วงหนองคาย เวียงจันทน์ ในระยะเร่งด่วน ซึ่งเป็นการพัฒนาสถานีหนองคาย พื้นที่ 80ไร่รูปแบบการดำเนินการ (พื้นที่ส่วนกลาง) เบื้องต้นรฟท. จะสร้างถนนหินคลุกในพื้นที่ย่านสถานีหนองคาย เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างไทย ลาว จีน ปัจจุบัน รฟท. ได้ปรับปรุงพื้นที่ย่านยกขนสินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้วและดำเนินการตรวจวัดพื้นที่ร่วมกันระหว่าง รฟท.และกรมศุลกากร ขณะนี้รฟท.อยู่ระหว่างจัดหางบประมาณในการก่อสร้างรั้วเพื่อจัดทำพื้นที่อารักขาตามระเบียบของกรมศุลกากร และ รฟท. จะจัดสรรพื้นที่ส่วนที่เหลือใหม่เพื่อออกประกาศให้เช่าต่อไป
ทั้งนี้รูปแบบการเดินรถไฟจะปรับเพิ่มขบวนรถขนส่งสินค้า จำนวน 14 เที่ยว (ไป-กลับ) และขนส่งสินค้าขบวนละ 25แคร่ สามารถรองรับในการขนส่งสินค้าเพิ่มขี้นจากแบบเดิมถึง 8เท่า ส่วนการแบ่งพื้นที่บริเวณสถานีหนองคายให้เอกชนเช่าเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าและติดตั้งเครื่อง X-ray โดยกรมศุลกากรดำเนินการขอออกประกาศเป็นพื้นที่ตรวจปล่อย จำนวน 46,800 ตารางเมตร ซึ่งรฟท.อยู่ระหว่างพิจารณาแบ่งพื้นที่คงเหลือจากการใช้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อย เป็น 5 แปลง แบ่งเป็น พื้นที่แปลงละ 11,200 ตารางเมตร เพื่อออกประกาศเชิญชวน จำนวน 4 แปลง และกันไว้เป็นพื้นที่ส่วนกลาง 42,016 ตารางเมตร จำนวน 1 แปลง โดยจะกำหนดราคาค่าเช่าตามระเบียบการรถไฟ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 07/10/2022 6:30 am Post subject:
ขยับใกล้รถไฟไทย-ลาว-จีน
Source - เดลินิวส์
Friday, October 07, 2022 04:32
อนุทิน-ศักดิ์สยามชื่นมื่น
เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุมหารือกับนายเวียงสะหวัด สีพันดอน รมว.โยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่ง การค้า การลงทุนของ สปป.ลาว เกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์
นายอนุทิน กล่าวว่า เป็นการประชุมสำคัญที่ทั้งประเทศ ไทย และ สปป.ลาว ได้เห็นชอบร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์ให้เป็น "หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน" เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน ถือเป็นการยืนยันคำหมายมั่นของประเทศไทยที่ต้องการส่งเสริมและสานต่อมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกันทำให้การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคายและเวียงจันทน์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งสองประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ด้านนายศักดิ์สยาม กล่าวว่า แผนเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน อาทิ 1.แผนก่อสร้างของการรถไฟ แห่งประเทศไทย (รฟท.) โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดบริการปี 69, โครงการรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดว่าเปิดบริการปี 71, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 167 กม. 15 สถานี จะเสนอ ครม. ในปี 65
2.การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟ และการใช้สะพาน ระหว่างรอก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ เพิ่มขบวนรถขาไป 7 ขบวนและขากลับ 7 ขบวน รวม 14 ขบวน และเพิ่มจากขบวนละ 12 แคร่เป็น 25 แคร่ โดยกรมทางหลวง (ทล.) ทดสอบการรับ น้ำหนักรถไฟเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสะพาน สะพานแห่งใหม่ห่างสะพานเดิม 30 เมตร มีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน และทางขนาด 1 เมตร และรองรับรถยนต์ด้วย ปัจจุบันได้ข้อตกลงว่าฝ่ายไทยและฝ่ายลาวจะร่วมลงทุนค่าใช้จ่ายร่วมกันในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย
3.การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้าแนวทางพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้าของฝั่งไทย-ลาว เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยระยะเร่งด่วนจะพัฒนาย่านสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้าพื้นที่ 80 ไร่ ระยะยาว พัฒนาพื้นที่ย่านสถานีรถไฟนาทา รองรับการขนส่งจากจีน-ลาว และส่งออกไป สปป.ลาว
สำหรับแผนเปิดขบวนรถโดยสารแบ่งเป็น 3 ระยะ แผนเร่งด่วน (ปี 66) ขยายต้นทาง/ปลายทางฝั่งลาวจากสถานีท่านาแล้งเป็นสถานีบ้านคำสะหวาด (วันละ 4 ขบวน) เริ่มให้บริการกลางปี 66 ระยะกลาง (67) ขยายต้นทาง/ปลายของฝั่งไทย จากสถานีหนองคาย เป็น สถานีอุดรธานี (วันละ 4 ขบวน ) เปิดขบวนรถสถานีนครราชสีมา-บ้านคำสะหวาด (วันละ 2 ขบวน) แผนระยะยาว (68 ) จัดขบวนรถโดยสารทางไกลระหว่างสถานีบางซื่อ/พัทยา-สถานีบ้านคำสะหวาด (วันละ 2 ขบวน).
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 7 ต.ค. 2565
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 46872
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 07/10/2022 6:36 am Post subject:
"อนุทิน-ศักดิ์สยาม"เยือนลาว ถกแก้คอขวดเชื่อมรถไฟ
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, October 07, 2022 04:51
'อนุทิน-ศักดิ์สยาม'เยือนลาวถกแก้คอขวดเชื่อมรถไฟ
วานนี้ ( 6 ต.ค.) ณ โรงแรม Muong Thanh Luxury Vientiane Hotel สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และคณะ ผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุมหารือกับ นายเวียงสะหวัด สีพันดอน รมว.กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่ง การค้าการลงทุน และโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และได้เข้าเยี่ยมชมการบริหารจัดการเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ด้วย
นายอนุทิน กล่าวว่า ประเทศไทยและ สปป.ลาว ได้เห็นชอบร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะทำให้การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคายเวียงจันทน์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งสองประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายนำผลการหารือไปปฏิบัติเพื่อให้การเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมมีความคืบหน้าและเกิดผลประโยชน์สูงสุดสุดร่วมกัน
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า โครงการเวียง จันทน์โลจิสติกส์ปาร์ก (Vientiane Logistics Park : VLP) มีความสำคัญในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน และระบบโลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้าข้ามแดน รวมถึงเป็นการใช้ประโยชน์จากการเปิดใช้รถไฟลาว-จีน ที่จะช่วยขยายการค้าการลงทุนระหว่างไทย-ลาว ซึ่งวันนี้ เอกชนไทยได้เข้าร่วมหารือซึ่งทำให้รับทราบถึงแนวทางและวิสัยทัศน์ของ สปป.ลาว ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในระบบโลจิสติกส์ ของไทย รวมไปถึงการพัฒนาการเชื่อมโยงกับโครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge) ชุมพร-ระนองให้เป็นรูปธรรมอีกด้วย
นายศักดิ์สยาม กล่าวเสริมว่า โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ณ สปป.ลาว เพื่อพัฒนาโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟไทย-ลาว-จีน ขณะนี้ฝ่ายไทยมีแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อด้วยการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคายให้สามารถรองรับการขนส่งสินค้าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ได้ โดยการขนส่งผ่านสะพานเดิม เพิ่ม จาก 4 ขบวนต่อวัน เป็น 14 ขบวนต่อวัน และเพิ่มจากขบวนละ 12 แคร่ เป็น 25 แคร่ สำหรับการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟ ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วง กทม.-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการปี 2569, โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน EIA คาดว่าเปิดให้บริการปี 2571 และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทางประมาณ 167 กม. สถานีทั้งหมด 15 สถานี คาดว่าจะสามารถนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในปี 2565
นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงรายละเอียดด้านการคมนาคมเพื่อรองรับการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างไทย-ลาว-จีน ว่า ฝ่ายลาวมีความยินดีที่ให้ฝ่ายไทยดำเนินการศึกษาแนวทางการก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ทั้งในรูปแบบสะพานรถไฟและรถยนต์ โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาผลการศึกษาร่วมกันต่อไป ซึ่งในเบื้องต้นฝ่ายลาวเสนอว่าสะพานรถไฟ และรถยนต์ควรแยกออกจากกัน ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟลาว ได้มีมติเห็นชอบให้สถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีระหว่างประเทศเช่นเดิม โดยการรถไฟลาวจะจัดส่งเจ้าหน้าที่มาอบรม พนักงานขับรถ/พนักงานรักษารถ เมื่ออบรมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมการยืนยันการใช้ทางก็จะดำเนินการเปิดเดินรถต่อไป
รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับแผนการเปิดเดินขบวนรถโดยสาร แบ่งเป็น 3 ระยะ รายละเอียดดังนี้ แผนระยะเร่งด่วน (ปี 2566) ขยายต้นทาง/ปลายทางของขบวนรถที่ให้บริการในปัจจุบัน ในฝั่งลาว จากสถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีบ้านคำสะหวาด (วันละ 4 ขบวน ไป - กลับ) เริ่มให้บริการกลางปี 2566, แผนระยะกลาง (ปี 2567) ขยายต้นทาง/ปลายของขบวน ในฝั่งไทย จากสถานีหนองคาย เป็น สถานีอุดรธานี (วันละ 4 ขบวน ไป - กลับ) เปิดเดินขบวนรถระหว่าง สถานีนครราชสีมา - บ้านคำสะหวาด (วันละ 2 ขบวน ไป - กลับ) และแผนระยะยาว (ปี 2568 เป็นต้นไป) จัดเดินขบวนรถโดยสารทางไกล ระหว่างสถานีบางซื่อ/พัทยา - สถานีบ้านคำ สะหวาด (วันละ 2 ขบวน ไป-กลับ)
"จะมีการพัฒนาบริเวณสถานีหนองคายที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดย รฟท.ได้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานยกขนสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ กรมศุลกากรดำเนินการขอออกประกาศใช้พื้นที่บริเวณสถานีหนองคายเป็นพื้นที่ตรวจปล่อย จำนวน 46,800 ตารางเมตร ซึ่ง รฟท. อยู่ระหว่างพิจารณาแบ่งพื้นที่" นายศักดิ์สยาม ระบุ.
ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 7 ต.ค. 2565
https://mgronline.com/business/detail/9650000095928
Back to top