RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311773
ทั่วไป:13493365
ทั้งหมด:13805138
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 466, 467, 468 ... 568, 569, 570  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46375
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/10/2022 8:34 pm    Post subject: Reply with quote

อธิบดีกรมรางเผยยุทธศาสตร์ใช้รถไฟความเร็วสูงกระจายความเจริญ ควบคู่สร้างเมืองใหม่
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 29 ตุลาคม 2565 - 15:17 น.

ดร.พิเชฐ อธิบดีกรมรางเผยยุทธศาสตร์รถไฟความเร็วสูงไทยใช้กระจายความเจริญ สร้างเมืองใหม่ หวังเชื่อมต่อโครงข่ายในระดับภูมิภาค

วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุม “IHRA Forum 2022” ซึ่งจัดโดยสมาคมรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ (International High-speed Rail Association : IHRA) เป็นการประชุมระดับนานาชาติที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี เพื่อหารือและแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (HSR) ในเชิงกลยุทธ์และการหาแนวทางเพื่อการพัฒนาให้ “รถไฟความเร็วสูง” เข้ามาแทนที่ “การรถไฟแบบเดิม”

โดยมีการร่วมศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม สู่การวิจัยและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ต่างๆ โดยการนำหลักการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุและรูปแบบของระบบรถไฟความเร็วสูงที่มีประสิทธิภาพเข้ามาใช้งาน เช่น การขนส่งด้วยความเร็วสูง ปริมาณความจุที่มากขึ้น ความถี่ต่อขบวนที่สูงขึ้น ความทันสมัยและเทคโนโลยีที่ดี มีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือระดับโลก และเป็นระบบขนส่งหลักที่เชื่อมต่อทุกที่ไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต โดยการประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนจากนานาประเทศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 ตุลาคม 2565 ณ เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น

ดร.พิเชฐ กล่าวในตอนหนึ่งว่า การพัฒนา HSR เป็นไปตามยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบราง เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายระบบรางในประเทศและในภูมิภาค ให้เป็นระบบการเดินทางและขนส่งหลักของประเทศ กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค พัฒนาเมืองใหม่ และลดต้นทุนโลจิสติกส์ด้านการขนส่งของประเทศ

รัฐบาลจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาระบบรางให้เป็นระบบการเดินทางและขนส่งของประเทศ โดยพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อการเดินทางและขนส่ง และบูรณาการร่วมกับระบบคมนาคมอื่น ซึ่งวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่สำคัญของการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง คือการกระจายความเจริญของเมืองไปสู่ภูมิภาค การพัฒนาเมืองใหม่ และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี โดยการพัฒนาแนวเส้นทางโครงข่าย HSR เชื่อมต่อพื้นที่ศักยภาพ เช่น แหล่งท่องเที่ยว และพัฒนาเส้นทางรถไฟทางคู่ เชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม แหล่งเกษตรกรรม

รองรับการเดินทางเชื่อมต่อไร้รอยต่อ ที่จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งของภูมิภาค ไปยังประเทศต่างๆ จึงเป็นยุทธศาสตร์และความท้าทายสำคัญในการพัฒนาระบบรางและ HSR เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางและลดต้นทุนโลจิสติกส์ด้านการขนส่งของประเทศ


ซึ่งระบบ HSR เป็นระบบใหม่ของประเทศไทย จำเป็นต้องพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน (การก่อสร้าง) การบริหารจัดการต่างๆ (การให้บริการเดินรถ การจัดตั้งองค์กรกำกับและให้บริการ) และการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งการพัฒนาผลประโยชน์ทั้งหมดอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาเมืองใหม่ การกระจายความเจริญไปสู่เมืองภูมิภาค เป็นต้น เพื่อให้เป็นระบบที่มีความสอดคล้อง ครอบคลุม เพื่อรองรับการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดร.พิเชฐ กล่าวในตอนท้าย

ทั้งนี้ สมาคมรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ (International High-speed Rail Association : IHRA) เป็นองค์กรแห่งการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในยุโรปและเอเชีย โดยใช้หลักการหลีกเลี่ยงความผิดพลาด และวางแนวทางระบบโลจิสติกส์และความปลอดภัยทั้งหมด เพื่อสร้างเป็นมาตรฐานการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (HSR) ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2014 มีเป้าหมายหลักเพื่อการพัฒนารถไฟความเร็วสูงให้เกิดขึ้นทั่วโลก มุ่งเน้นความร่วมมือกันระหว่างประเทศ มีการแบ่งปันข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ เพื่อร่วมมือกันสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

เพราะ “รถไฟความเร็วสูง” ไม่ได้เป็นเพียง “ระบบขนส่งความเร็วสูง” เท่านั้น แต่จะเป็นระบบที่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของผู้คน ตลอดจนประเทศและภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่ที่ต้องการการเดินทางที่มีความสะดวก และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีความปลอดภัย เป็นระบบขนส่งหลักที่เชื่อมต่อทุกที่ไว้ด้วยกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46375
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2022 7:44 am    Post subject: Reply with quote

เริ่มแล้วHIAสถานีอยุธยา6เดือน
Source - เดลินิวส์
Monday, October 31, 2022 04:11

เม.ย.66 จบส่งยูเนสโก อัพไฮสปีดเทรน 15.5%

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า รฟท. ส่งหนังสือแจ้งมหาวิทยาลัยศิลปากรให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) เพื่อจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สิน ทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา วงเงิน 33.45 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 6 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน เม.ย.66 เพื่อเสนอรายงานให้องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) รับทราบต่อไป

ทั้งนี้รายงาน HIA จะศึกษา และประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่เกิดจากโครงการรถไฟไฮสปีดบริเวณสถานีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อกำหนดแนวทาง และมาตรการลดผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง โดยสถานีอยุธยาอยู่ในงานสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของการก่อสร้างโครงการรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ- นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ยังเดินหน้า อย่างต่อเนื่อง ภาพรวมได้ผลงาน 15.5% ปัจจุบันปัญหาต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลงแล้ว อาทิ ขาดแคลนแรงงาน และการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่ยังติดปัญหาการเข้าพื้นที่บางส่วนของหน่วยงานราชการ คาดว่าจะจบเร็ว ๆ นี้ ส่วนการเวนคืนที่ดินชาวบ้าน อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการ คาดว่า รฟท. จะได้รับที่ดินพื้นที่แรกต้นปี 66

โครงการฯ ยังเหลืออีก 3 สัญญาที่ต้องเร่งลงนามกับผู้รับจ้าง เพราะหากล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อแผนงานภาพรวมได้ โดย 3 สัญญาประกอบด้วย สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.2 กม. อยู่ระหว่างรอการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดที่มีการฟ้องร้องกันในขั้นตอนการประมูล ฝ่ายอาณาบาล รฟท. กำลังเร่งทำคำขอแถลงต่อศาลถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ รฟท. ต้องดำเนินการในสัญญานี้

สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง 15.2 กม. อยู่ระหว่างแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยบริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ผู้รับสัมปทานโครงการฯจะเป็นผู้ก่อสร้างงานโครงสร้างร่วมในช่วงที่มีแนวเส้นทางทับซ้อนกัน ตามมาตรฐานของรถไฟไฮสปีดไทย-จีน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างต้นปี 66

และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว 13.3 กม. อยู่ระหว่างกรมบัญชีกลางพิจารณาว่า รฟท. สามารถลงนามกับ บริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด ผู้รับจ้างได้หรือไม่ เนื่องจากบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ผู้ชนะประมูลในสัญญาแต่บริษัทฯ ไม่ยืนราคา รฟท. จึงเชิญผู้เสนอราคาต่ำสุดลำดับที่ 2 มาเจรจาราคา แต่ไม่มา จึงต้องเชิญผู้เสนอราคาต่ำสุดลำดับ ที่ 3 ได้แก่ บริษัท บุญชัยพาณิชย์ฯ มาเจรจาราคา ตั้งเป้าหมายว่าภายในเดือน พ.ย. 65 ต้องได้ข้อสรุปหากไม่ได้ต้องเร่งเปิดประมูลสัญญาที่ 4-5 ใหม่

ส่วนความคืบหน้าอีก 11 สัญญานั้น แล้วเสร็จ 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม., อยู่ระหว่างก่อสร้าง 9 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. คืบหน้า 94.44% คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 66, สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง 12.2 กม. คืบหน้า 4.16%, สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง 26.1 กม. คืบหน้า 13.93%, สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด 37.4 กม. คืบหน้า 38.20%, สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา 12.3 กม. คืบหน้า 2.36%, สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร 21.8 กม. คืบหน้า 0.08%

สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กม. คืบหน้า 4.08%, สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.6 กม. คืบหน้า 0.13% และสัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย 12.9 กม. คืบหน้า 27.92%, ลงนามสัญญาแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย อยู่ระหว่างทำเข็มทดสอบ และเร่งเวนคืนที่ดิน คาดว่าจะได้พื้นที่เดือน ก.พ.66 และเริ่มก่อสร้าง ทั้งนี้รฟท. ตั้งเป้าหมายโครงการรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 1 ซึ่งเริ่มก่อสร้างเมื่อปี 60 แล้วเสร็จ และทดสอบเดินรถเสมือนจริงได้ในปี 69 ก่อนเปิดบริการจริงต้นปี 70.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 31 ต.ค. 2565

Dailynews - ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
31 ต.ค. 65 22:37 น.

เริ่มแล้วHIA“สถานีอยุธยา”รถไฟไฮสปีดกทม.-โคราช
*จ้าง 33ล้าน 6เดือนเม.ย.66จบส่งรายงานยูเนสโก
*อัพเดทงานก่อสร้าง15.5%เหลือ3สัญญายังติดปม
*รอศาลปกครอง-แนวเส้นทางซ้อน-เลือกราคาต่ำ3

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/669439457966625


Last edited by Mongwin on 01/11/2022 7:06 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43425
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2022 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
อธิบดีกรมรางเผยยุทธศาสตร์ใช้รถไฟความเร็วสูงกระจายความเจริญ ควบคู่สร้างเมืองใหม่
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 29 ตุลาคม 2565 เวลา 15:17 น.



“กรมราง” บินด่วนประชุม IHRA Forum 2022 ลุยพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันที่ 30 ตุลาคม 2565 เวลา 9:40 น.

“กรมราง” ร่วมประชุม “IHRA Forum 2022” หวังพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (HSR) เชื่อมต่อการเดินทาง ลดต้นทุนโลจิสติกส์ ขึ้นแท่นระบบขนส่งหลักมีประสิทธิภาพทั่วโลก

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า กรมฯในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุม “IHRA Forum 2022” ซึ่งจัดโดยสมาคมรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ (International High-speed Rail Association : IHRA) เป็นการประชุมระดับนานาชาติที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี เพื่อหารือและแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (HSR) ในเชิงกลยุทธ์และการหาแนวทางเพื่อการพัฒนาให้ “รถไฟความเร็วสูง” เข้ามาแทนที่ “การรถไฟแบบเดิม”

“กรมราง” บินด่วนประชุม IHRA Forum 2022 ลุยพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง



ทั้งนี้การร่วมศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม สู่การวิจัยและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ต่างๆ โดยการนำหลักการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุและรูปแบบของระบบรถไฟความเร็วสูงที่มีประสิทธิภาพเข้ามาใช้งาน เช่น การขนส่งด้วยความเร็วสูง ปริมาณความจุที่มากขึ้น ความถี่ต่อขบวนที่สูงขึ้น ความทันสมัยและเทคโนโลยีที่ดี มีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือระดับโลก และเป็นระบบขนส่งหลักที่เชื่อมต่อทุกที่ไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต โดยการประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนจากนานาประเทศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 30 ตุลาคม 2565 ณ เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น



ขณะเดียวกันการพัฒนา HSR เป็นไปตามยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบราง เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายระบบรางในประเทศและในภูมิภาค ให้เป็นระบบการเดินทางและขนส่งหลักของประเทศ กระจายความเจริญไปสู่ภูภาค พัฒนาเมืองใหม่ และลดต้นทุนโลจิสติกส์ด้านการขนส่งของประเทศ รัฐบาลจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ ที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาระบบรางให้เป็นระบบการเดินทางและขนส่งของประเทศ โดยพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อการเดินทางและขนส่ง และบูรณาการร่วมกับระบบคมนาคมอื่น ซึ่งวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่สำคัญของการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง คือการกระจายความเจริญของเมืองไปสู่ภูมิภาค การพัฒนาเมืองใหม่ และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี


“กรมราง” บินด่วนประชุม IHRA Forum 2022 ลุยพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง

ส่วนการพัฒนาแนวเส้นทางโครงข่าย HSR เชื่อมต่อพื้นที่ศักยภาพ เช่น แหล่งท่องเที่ยว และพัฒนาเส้นทางรถไฟทางคู่ เชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม แหล่งเกษตรกรรม รองรับการเดินทางเชื่อมต่อไร้รอยต่อ ที่จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งของภูมิภาค ไปยังประเทศต่างๆ จึงเป็นยุทธศาสตร์และความท้าทายสำคัญในการพัฒนาระบบรางและ HSR เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางและลดต้นทุนโลจิสติกส์ด้านการขนส่งของประเทศ


สำหรับระบบ HSR เป็นระบบใหม่ของประเทศไทย จำเป็นต้องพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน (การก่อสร้าง) การบริหารจัดการต่างๆ (การให้บริการเดินรถ การจัดตั้งองค์กรกำกับและให้บริการ) และการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งการพัฒนาผลประโยชน์ทั้งหมดอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาเมืองใหม่ การกระจายความเจริญไปสู่เมืองภูมิภาค เป็นต้น เพื่อให้เป็นระบบที่มีความสอดคล้อง ครอบคลุม เพื่อรองรับการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ทั้งนี้สมาคมรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ (International High-speed Rail Association : IHRA) เป็นองค์กรแห่งการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในยุโรปและเอเชีย โดยใช้หลักการหลีกเลี่ยงความผิดพลาด และวางแนวทางระบบโลจิสติกส์และความปลอดภัยทั้งหมด เพื่อสร้างเป็นมาตรฐานการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (HSR) ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2014 มีเป้าหมายหลักเพื่อการพัฒนารถไฟความเร็วสูงให้เกิดขึ้นทั่วโลก มุ่งเน้นความร่วมมือกันระหว่างประเทศ มีการแบ่งปันข้อมูล ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ เพื่อร่วมมือกันสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เพราะรถไฟความเร็วสูง ไม่ได้เป็นเพียงระบบขนส่งความเร็วสูง เท่านั้น แต่จะเป็นระบบที่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของผู้คน ตลอดจนประเทศและภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่ที่ต้องการการเดินทางที่มีความสะดวก และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีความปลอดภัย เป็นระบบขนส่งหลักที่เชื่อมต่อทุกที่ไว้ด้วยกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46375
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2022 2:53 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 3-5 เดือน ตุลาคม 2565
กิจการร่วมค้า SPTK
Nov 1, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=UqeRqFOdCt0

'สนข.' กางแผนพัฒนา TOD 1.9 พันไร่ รุกไฮสปีด-ทางคู่
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, November 02, 2022 05:42

"สนข." เปิดแผนพัฒนา TOD พื้นที่ 1.9 พันไร่ บูมเส้นทางไฮสปีด- รถไฟทางคู่ เล็งชงคมนาคมเคาะภายในปีนี้ เล็งทบทวนร่างพ.ร.บ.ใหม่ หลังสศช.ตีกลับสั่งศึกษาใช้กฎหมาย เดิมให้รอบคอบ ลุ้นท้องถิ่นเปิดประมูล PPP ดึงเอกชนร่วมทุน

การขยายโครงข่ายรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง นอกจากเชื่อมการเดินทางระหว่างเมืองแล้ว ยังต้องใช้พื้นที่รอบสถานีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามแผนพัฒนา พื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ต่อเรื่องนี้ นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ที่ผ่านมาสนข.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของโครงการฯ ซึ่งใช้ระยะเวลาศึกษาราว 2 ปี ปัจจุบันบริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างสรุปผลการศึกษาโครงการฯ เพื่อเสนอต่อสนข. หลังจากนั้นจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคม ภายในปีนี้ และจะเสนอต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ภายในต้นปี 2566

"จากผลการศึกษาโครงการฯ จะดำเนินการจัดแผนพัฒนาระยะสั้น-ระยะกลาง-ระยะยาว ซึ่งจะนำร่องพัฒนาโครงการ 3 จังหวัด ประกอบด้วย สถานีรถไฟอยุธยา, สถานีรถไฟขอนแก่น และสถานี รถไฟชลบุรี โดยสถานีที่นำร่องนั้นจะพัฒนาพื้นที่โดยรอบในรูปแบบมิกซ์ยูสควบคู่การพัฒนารถไฟทางคู่และโครงการรถไฟความเร็วสูงซึ่งสนข.พยายามให้ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถใช้ประโยชน์จากสถานีโดยรอบได้มากที่สุด ทั้งนี้สาเหตุที่สนข.เลือกพัฒนาทั้ง 3 จังหวัด เนื่องจากเป็นสถานีที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งเป็นประตูที่เชื่อมโยงสู่ภาคอีสานและภาคตะวันออก"

หากสศช.พิจารณาเห็นชอบแล้วเสร็จ จะเสนอผู้ที่มีอำนาจหรือคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการฯ หรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสศช.เป็นผู้พิจารณาด้วยว่าจะให้สนข.เสนอต่อหน่วยงานใดเพื่ออนุมัติโครงการฯต่อไป ส่วนการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) TOD นั้น ที่ผ่านมาสนข.ได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เบื้องต้น ทางสศช.ให้ความคิดเห็นว่าหากมีกฎหมายเดิมที่สามารถบังคับใช้ร่วมกับโครงการฯดังกล่าวได้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องออกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) TOD เพิ่มเติม แต่ถ้าในกรณีที่กฎหมายเดิมไม่สามารถบังคับใช้ร่วมกับรายละเอียดของโครงการฯในบางประเด็นได้ก็ควรดำเนินการ

ขณะนี้สนข.อยู่ระหว่างเร่งศึกษาและทบทวนในเรื่องนี้ด้วย คาดว่าจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอต่อสศช.พิจารณาพร้อมกับผลการศึกษาการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ทั้งนี้สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) TOD เกี่ยวข้องกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการ รวมทั้งรายละเอียดวิธีการพัฒนาของโครงการฯ

นอกจากนี้รูปแบบการร่วมลงทุนของโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) เบื้องต้นจากผลการศึกษาสนข.จะใช้รูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ระยะเวลา 30 ปี โดยผู้ที่รับผิดชอบดูแลโครงการฯจะเป็นอำนาจของหน่วยงานในท้องถิ่น ซึ่งไม่ใช่กระทรวงคมนาคม ทั้งนี้หากหน่วยงานท้องถิ่นมีความสนใจจะดำเนินการโครงการฯในรูปแบบ PPP จะต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ด้วย

สำหรับแผนศึกษา TOD ทั้ง 3 แห่ง รวมพื้นที่ 1,943 ไร่ ดังนี้ 1. สถานีรถไฟขอนแก่น พื้นที่ 837 ไร่ เป็น TOD ศูนย์ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เป็นศูนย์ กลางเมืองขอนแก่นแห่งใหม่ ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างผสมผสานมีการเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่ชุมชนเดิมและชุมชนใหม่ เพิ่มพื้นที่สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เชื่อมกับสถานีรถไฟความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้สถานีรถไฟขอนแก่น ได้แบ่งการพัฒนาตามแนวทางของ TOD ได้เป็น 8 โซน โซนที่ 1 ย่านสถานีรถไฟทางคู่และรถไฟความ เร็วสูง, ที่พักเจ้าหน้าที่ ฯลฯ ด้านโซนที่ 2 ย่านพาณิชยกรรมและศูนย์กลาง TOD จุดเปลี่ยนถ่ายเชื่อมต่อการเดินทางหน้าสถานี เหมาะพัฒนาแบบผสมผสานเป็นอาคารศูนย์การค้า ฯลฯ โซนที่ 3 ย่านที่พักอาศัยและส่งเสริมอัตลักษณ์พื้นถิ่น เช่น คอนโดมิเนียมที่มีความสูงไม่เกิน 8 ชั้น ผสมผสานกับพื้นที่พาณิชยกรรมเดิม เชื่อมต่อกับส่วนสถานีรถไฟด้วยทางเดินเท้าทางจักรยาน ส่วนโซนที่ 4 ย่านประตูเมืองขอนแก่น-ศูนย์กลางธุรกิจ และ MICE ด้วยที่ตั้งที่มีศักยภาพเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟ 2 สถานี และเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูง เหมาะแก่การพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสานเป็นอาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม โรงแรมหรู อุตสาหกรรม MICE และที่พักอาศัยชั้นดี

ด้านโซนที่ 5 ย่านพัฒนานวัตกรรมและที่พักอาศัยคนรุ่นใหม่ ศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรม กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเบา SME และโซนที่ 6 ศูนย์กลางพาณิชกรรมระดับภูมิภาค ศูนย์กลางพาณิชยกรรมทั้งศูนย์การค้าระดับภูมิภาค ศูนย์ค้าปลีก ฯลฯ โซนที่ 7 ย่านการศึกษา-พักอาศัยและการพัฒนาแบบผสมผสาน เป็นที่ตั้งสถานศึกษาเดิมในพื้นที่ติดถนน พัฒนาแบบผสมผสานเป็นสำนักงาน พาณิชย กรรม และโซนที่ 8 ย่านชุมชนเมือง เน้นการพัฒนาเป็นที่พักอาศัย ที่มีคุณภาพของชุมชนเมืองและชุมชนเดิมในพื้นที่ ทั้งศูนย์การค้า ร้านค้าปลีก สำนักงานและโรงแรมที่พัก

2. สถานีรถไฟอยุธยา พื้นที่ 206 ไร่ เป็น TOD ศูนย์กลางเมืองภาคกลาง ตัวแทนกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้สอดคล้องกลมกลืนกัน ระหว่างความเป็นเมืองเก่ากับความทันสมัย เน้นการเชื่อมต่อพื้นที่สถานีความเร็วสูงที่จะเป็นศูนย์กลางเมืองใหม่เข้ากับพื้นที่ชุมชนเมืองเดิมด้วยสะพานทางเดินข้ามแม่น้ำ ท่าเรือข้ามฟาก และระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมพื้นที่สาธารณะภายในเมืองด้วยโครงข่ายพื้นที่สีเขียว ทางจักรยาน ทางเท้า และทางยกระดับ รักษาสมดุลของการอนุรักษ์และพัฒนา

นอกจากนี้ สถานีรถไฟ อยุธยาแบ่งพื้นที่ TOD เป็น 5 โซน โซนที่ 1 ย่านสถานีรถไฟทางคู่และสถานี รถไฟความเร็วสูง มีอาคารสถานี, อาคารสำนักงาน ที่พัก,เจ้าหน้าที่ โซนที่ 2 ย่านพาณิชยกรรมรองรับการค้าและบริการขนาดใหญ่ริมถนนโรจนะ เช่น ศูนย์การค้าหรือศูนย์ค้าปลีก โรงแรม ศูนย์การ ประชุมสัมมนา และคอนโดมิเนียม ด้านโซนที่ 3 ย่านผสมผสานพาณิชยกรรมรองรับศูนย์กลางการค้าและบริการท่องเที่ยว (High Street Retail) และอพาร์ตเมนต์ให้เช่ารองรับนักท่องเที่ยว ส่วนโซนที่ 4 ย่านผสมผสานพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย และโซนที่ 5 ย่านที่พักอาศัยชั้นดี สำหรับผู้ที่ต้องการอยู่อาศัยในอยุธยาระยะยาว

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 3 - 5 พ.ย. 2565


Last edited by Mongwin on 03/11/2022 7:14 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43425
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2022 10:51 am    Post subject: Reply with quote


ล่าสุด งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร แบ่งเป็นงานก่อสร้าง
ทางวิ่งระดับดิน 6.7 กิโลเมตร
ทางวิ่งยกระดับ 4.2 กิโลเมตร
พร้อมอาคารศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง
ความคืบหน้า 94.44%
คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2566
เครดิตภาพ ตะลอนไปทั่ว
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1455231188312968&id=100014783023170

https://www.youtube.com/watch?v=UMma7_1Mt_k
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46375
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2022 11:59 am    Post subject: Reply with quote

2 พย.65 อัปเดตทางรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ช่วง สระบุรี-รังสิต
รถไฟไทย
Nov 6, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=lvfRvR_5htY


โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง งานโยธา ช่วงนวนคร-บ้านโพ
3 พ.ย. 65

ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ เดือนตุลาคม 2565

https://fb.watch/gz10NDdneC/


2 พย.65 อัปเดตทางรถไฟความเร็วสูง ทางรถไฟทางคู่ สายอิสาน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ช่วง มวกเหล็ก-สระบุรี
Nov 5, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=ki66xCGrddU


เร่งเครื่องรถไฟไทย-จีน ศักดิ์สยามยันเปิดใช้ปี69
Source - ไทยโพสต์
Tuesday, November 08, 2022 03:06

ราชดำเนิน * "ศักดิ์สยาม" อัปเดตรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟสแรก กรุงเทพฯ-โคราช คืบหน้า 15% เล็ง ขยายสัญญา 2.3 มูลค่า 5 หมื่นล้าน เหตุงานโยธาช้ากว่าแผน ตั้งเป้าเปิดให้บริการปี 69

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 30 ร่วมกับนายหลิน เนี่ยนซิว รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (NDRC) ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานครนครราชสีมา)

ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีการหารือความคืบหน้าโครงการระยะที่ 1 งานโยธา 14 สัญญา โดยปัจจุบัน มีความคืบหน้า 15% ล่าช้ากว่าแผน ที่กำหนดที่จะต้องแล้วเสร็จ 37% เนื่องจากโควิด-19 รวมถึงปัญหาการรอ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค เช่น เสาไฟฟ้าแรงสูง สายไฟฟ้า ท่อประปา ท่อน้ำมัน ท่อก๊าซ เป็นต้น

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมระบุต่อว่า การขยายระยะเวลาสัญญา 2.3 สัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากรของโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-จีน วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท จากเดิมสิ้นสุดสัญญาใน มี.ค.2569 แต่ด้วยงานโยธามีความล่าช้ากว่าแผน จึงจะมีการขยายสัญญาเพิ่มเติมออกไปอีก

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว หรือในระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-โคราช คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569 ในส่วนของระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. วงเงิน 2.5 แสนล้าน แบ่งเป็น ทางรถไฟระดับพื้นดิน 185 กม. และทางรถไฟยกระดับ 171 กม.นั้น คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการหลังระยะที่ 1 ประมาณ 3-4 ปี หรือในปี 2572-2573.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 8 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46375
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/11/2022 6:24 am    Post subject: Reply with quote

"ศักดิ์สยาม" ถก คกก.ร่วมรถไฟไทย-จีน เร่งแบบ "หนองคาย-เวียงจันทน์" ดันสะพานใหม่เชื่อม "สิงคโปร์-คุนหมิง"
เผยแพร่: 7 พ.ย. 2565 18:55
ปรับปรุง: 7 พ.ย. 2565 18:55
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม” และ "หลิน เนี่ยนซิว" ประชุม คกก.รถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 30 อัปเดตก่อสร้างไฮสปีด “กรุงเทพ-นครราชสีมา -หนองคาย” เตรียมนัด 3 ฝ่าย "ไทย-ลาว-จีน" แก้ปัญหาขนส่ง "หนองคาย-เวียงจันทน์" พร้อมดันสะพานใหม่เชื่อมทะลุสิงคโปร์-คุนหมิง

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และนายหลิน เนี่ยนซิว รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (NDRC) เป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 30 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง กรมทางหลวง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 30 ถือเป็นก้าวที่สำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพระบบโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในอนาคต โดยกระทรวงคมนาคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงโครงการรถไฟความเร็วสูง ระหว่างไทย-จีน และการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟ ไทย-ลาว-จีน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่ยั่งยืน รวมถึงเพื่อผลักดันการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทย-จีน ให้มีความคืบหน้าและบรรลุเป้าหมายตามที่ผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกัน

ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ไทย-จีน ครั้งที่ 30 ได้มีข้อสรุปร่วมกันใน 5 ประเด็น ดังนี้

1. ฝ่ายไทยได้นำเสนอความก้าวหน้างานโยธาโครงการฯ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร โดยฝ่ายจีนได้รับทราบว่า งานโยธาส่วนใหญ่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยทั้งสองฝ่ายจะใช้ความพยายามอย่างสูงสุดเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงาน

2. ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะดำเนินความร่วมมือโครงการฯ ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของไทย โดยฝ่ายไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าและแผนการดำเนินการโครงการฯ ระยะที่ 2 ว่าปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดงานโยธาแล้วเสร็จ

3. ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่าง "หนองคาย-เวียงจันทน์" และเห็นชอบว่า ควรให้มีการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย ลาว และจีน ในทุกระดับ โดยคำนึงถึงกำหนดการที่มีความเหมาะสมสำหรับทั้งสามฝ่ายเป็นสำคัญ เพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการลดอุปสรรค และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์และการขนส่งระหว่างสามประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

4. ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับแผนการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงใหม่ โดยฝ่ายไทยแจ้งว่าอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของการสร้างสะพานรถไฟและรถยนต์แห่งใหม่ ภายหลังจากศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ ฝ่ายไทยจะเริ่มออกแบบรายละเอียดต่อไป โดยฝ่ายจีนจะมีส่วนร่วมในการประสานงานและสนับสนุนผลักดันโครงการให้มีความก้าวหน้า และทั้งสองฝ่ายเห็นควรให้มีการเชื่อมต่อทางรถไฟเส้นทางสิงคโปร์-คุนหมิงโดยเร็ว โดยเฉพาะการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างไทย-ลาว-จีน

5. ทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าที่ด่านตรวจชายแดน และเสนอให้มีความพยายามดำเนินการให้มีการขนส่งสินค้าได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทเน่าเสียง่าย

ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 31 ภายหลังการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย ลาว และจีน เกี่ยวกับโครงการรถไฟเชื่อมต่อระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ต่อไป เพื่อให้เกิดพัฒนาความเชื่อมโยงระบบรางระหว่างภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมอันจะนำมาสู่ประโยชน์ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46375
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/11/2022 3:29 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับหน้าดิน โล่งไปเยอะ ชุมชนบุญร่มไทร #train
Take Photo ถ่ายไปเรื่อย
Nov 8, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=WP9evqJrKw4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46375
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/11/2022 8:48 am    Post subject: Reply with quote

อัปเดตข่าวรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน เฟส 1 ปลายเดือนตุลาคม 2565
KritInfra
Nov 8, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=Vyh9ebnllZk
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43425
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2022 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
"ศักดิ์สยาม" ถก คกก.ร่วมรถไฟไทย-จีน เร่งแบบ "หนองคาย-เวียงจันทน์" ดันสะพานใหม่เชื่อม "สิงคโปร์-คุนหมิง"
เผยแพร่: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 18:55 น.
ปรับปรุง: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 18:55 น.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศักดิ์สยาม ประชุมร่วมรถไฟไทย-จีน เล็งขยายโครงข่ายสู่มาเลเซียและสิงคโปร์
ในประเทศ
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 18:58 น.


ศักดิ์สยามเผยหลังการประชุม คกก. ร่วมรถไฟไทย-จีน หารือความคืบหน้าสร้างสะพานมิตภาพไทย-ลาวแห่งใหม่ เล็งขยายโครงข่ายสู่สิงคโปร์

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และนายหลิน เนี่ยนซิว รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (NDRC) เป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 30 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบการประชุมทางไกล

ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย จึงได้ผลักดันให้เกิดการส่งเสริมความเชื่อมโยงภายในประเทศไทย อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และอาเซียน จึงเร่งรัดการดำเนินการความร่วมมือรถไฟไทย-จีนโดยมีเป้าหมายหลักในการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังตามนโยบายของรัฐบาล



นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 30 ถือเป็นก้าวที่สำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพระบบโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในอนาคต

โดยกระทรวงคมนาคมได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงโครงการรถไฟความเร็วสูง ระหว่างไทย-จีน และการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟ ไทย-ลาว-จีน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่ยั่งยืน รวมถึงเพื่อผลักดันการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทย-จีน ให้มีความคืบหน้าและบรรลุเป้าหมายตามที่ผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันซึ่งมีข้อสรุปสําคัญจากการประชุม ดังนี้




1. ฝ่ายไทยได้นำเสนอความก้าวหน้างานโยธาโครงการ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา โดยฝ่ายจีนได้รับทราบว่างานโยธาส่วนใหญ่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยทั้งสองฝ่ายจะใช้ความพยายามอย่างสูงสุดเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามแผนงาน

2. ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะดำเนินความร่วมมือโครงการ ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคายภายใต้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของไทย โดยฝ่ายไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าและแผน การดำเนินการโครงการ ระยะที่ 2 (นครราชสีมา-หนองคาย) ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดงานโยธาแล้วเสร็จ

Advertisement

3. ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์และเห็นชอบว่าควรให้มีการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย ลาว และจีน ในทุกระดับ โดยคำนึงถึงกำหนดการที่มีความเหมาะสมสำหรับทั้งสามฝ่ายเป็นสำคัญ เพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการลดอุปสรรค และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์และการขนส่งระหว่างสามประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน



4. ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับแผนการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงใหม่ ฝ่ายไทยแจ้งว่าอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของการสร้างสะพานรถไฟและรถยนต์แห่งใหม่ ภายหลังจากศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ ฝ่ายไทยจะเริ่มออกแบบรายละเอียดต่อไป โดยฝ่ายจีนจะมีส่วนร่วมในการประสานงานและสนับสนุนผลักดันโครงการให้มีความก้าวหน้า และทั้งสองฝ่ายเห็นควรให้มีการเชื่อมต่อทางรถไฟเส้นทางสิงคโปร์-คุนหมิงโดยเร็ว โดยเฉพาะการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างไทย-ลาว-จีน

5. ทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าที่ด่านตรวจชายแดน และเสนอให้มีความพยายามดำเนินการให้มีการขนส่งสินค้าได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทเน่าเสียง่าย

ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบกําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 31 ภายหลังการประชุมไตรภาคีระหว่างไทย ลาว และจีน เกี่ยวกับโครงการรถไฟเชื่อมต่อระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ต่อไปเพื่อให้เกิดพัฒนาความเชื่อมโยงระบบรางระหว่างภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมอันจะนำมาสู่ประโยชน์ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 466, 467, 468 ... 568, 569, 570  Next
Page 467 of 570

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©