RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311903
ทั่วไป:13575387
ทั้งหมด:13887290
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ระบบขนส่งมวลชน หาดใหญ่ - สงขลา
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ระบบขนส่งมวลชน หาดใหญ่ - สงขลา
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 41, 42, 43
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2022 1:50 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่มีงบ!! โมโนเรลหาดใหญ่ 1.7 หมื่นล้าน
*สคร.สั่ง อบจ.สงขลาหาเงินสร้างเอง
*ดับฝันอีก 1 สายรถไฟฟ้าต่างจังหวัด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/555290462714859
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2022 6:57 am    Post subject: Reply with quote

เลิกทั้งหมดรถไฟฟ้า5จังหวัด
Source - เดลินิวส์
Tuesday, November 01, 2022 04:47

รื้อศึกษารื้อศึกษาเปลืองงบ

นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบโครงการที่เหมาะสม สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง (รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลมอบหมาย รฟม. ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาฯ ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

นายสาโรจน์ กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนโครงการซึ่งแต่เดิมเป็นรถไฟฟ้ารางเบา (Tram) พบว่า มูลค่าการลงทุนสูง รายได้จากการเดินรถไม่เพียงพอต่อค่าเดินรถ และบำรุงรักษา (O&M) ประกอบกับกระทรวงคมนาคมมี นโยบายให้ รฟม. ศึกษาและพิจารณาแนวทางการใช้รถไฟฟ้า ล้อยางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหลักในภูมิภาค จึงมอบหมาย ที่ปรึกษาทบทวนการออกแบบเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน และวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินโครงการ และทางเลือกรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ที่เป็นไปได้มากที่สุด เพื่อเสนอขอความเห็นชอบกระทรวงคมนาคมต่อไป

ด้านนายวุฒิชัย พรรณเชษฐ์ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า การทบทวนครั้งนี้เป็นการศึกษารายละเอียดความเหมาะสมเบื้องต้นในส่วนที่จำเป็น อาทิ คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร, แผนการเดินรถเบื้องต้น, รูปแบบแนวเส้นทางโครงการ, ประมาณการวงเงินลงทุน, รายได้ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน ในส่วนของแนวเส้นทางโครงการเพื่อลดต้นทุนได้ปรับรูปแบบจากเดิมผสมระหว่างใต้ดินและระดับดิน (จากแยกกองกำลังผาเมืองถึงแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่) ระยะทาง 15.7 กม.16 สถานี เป็นระดับดินตลอดเส้นทาง 16.7 กม. 16 สถานี

เดิมเป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็ก ประเภท Tram วิ่งบนราง การทบทวนครั้งนี้มีรูปแบบที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย 1.รถรางไฟฟ้าล้อเหล็ก (Steel Wheel Tram) 2.รถรางไฟฟ้าล้อยาง (Tire Tram) และ 3.รถโดยสารไฟฟ้าประจำทางด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT) พบว่ารถไฟฟ้าล้อยางระดับดินตลอดแนวเส้นทางเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากค่าลงทุนงานก่อสร้างและเครื่องจักร ค่าบำรุงรักษา และดำเนินการค่าเวนคืนที่ดินและชดเชยสิ่งปลูกสร้าง และผลกระทบสิ่งแวดล้อมช่วงการก่อสร้างน้อยกว่าระบบอื่น ๆ

นายวุฒิชัย กล่าวต่อว่า รถไฟฟ้าล้อยางระดับดินมีวงเงินลงทุน 10,024 ล้านบาท รถไฟฟ้าล้อเหล็กทั้งระดับดินและใต้ดินวงเงิน 26,595 ล้านบาท คาดว่าจะศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น รายงานอีไอเอและรายงาน PPP แล้วเสร็จเดือน ธ.ค. 65 พิจารณารูปแบบการลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถเดือน ม.ค.66-ม.ค. 67 เสนอ ครม. อนุมัติ ม.ค. 67 คัดเลือกเอกชน PPP ส.ค. 67-ส.ค. 68 เริ่มงานก่อสร้าง ก.ย. 68 และเปิดบริการเดือน ธ.ค. 71

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ไม่นานผลการศึกษาของรฟม.ระบุถึงการไม่คุ้มทุนของโครงการแทรมนครราชสีมา (โคราช) เสนอเปลี่ยนเป็น BRT ขณะที่แทรมภูเก็ตให้เปลี่ยนเป็น ART (รถเมล์ไฟฟ้าล้อยาง) เช่นกัน ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ส่วนแทรมขอนแก่นและโมโนเรลหาดใหญ่ จ.สงขลา ครม. มอบท้องถิ่นดำเนินการ แต่ทั้ง 2 จังหวัดยัง ไม่มีเงินลงทุน มีแนวโน้มที่จะสรุปได้ว่าต้องล้มโครงการรถไฟฟ้าใน 5 จังหวัดไปก่อน.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 พ.ย. 2565 (กรอบบ่าย)

Dailynews - ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
31 ต.ค. 65 13:28 น.
ลาก่อน!!! ความฝันรถไฟฟ้า 5 จังหวัดใหญ่ล้มทั้งหมด
*ยกเลิก “แทรมเชียงใหม่”เปลี่ยนเหล็กเป็นล้อยาง
*รฟม.รื้อศึกษารื้อศึกษาสนองนโยบาย”ศักดิ์สยาม”
*ปรับเส้นทาง ”อุโมงค์เป็นวิ่งระดับดินตลอดสาย”
*เหตุผลหลักลดต้นทุนเริ่มก่อสร้างปี 68 เปิดปี 71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/669157191328185
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/12/2022 6:04 am    Post subject: Reply with quote

'โมโนเรลหาดใหญ่'เลื่อนไปเรื่อยๆ
Source - เดลินิวส์
Tuesday, December 20, 2022 04:04
ศึกษาพัฒนาพื้นที่สถานี หาเงินลงทุน1.7หมื่นล้าน

รายงานข่าวแจ้งว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา ได้ทำรายงานแจ้งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อให้ทราบแล้วว่า อบจ.สงขลา เตรียมศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี (TOD) บริเวณคอหงส์ ซึ่งเป็นพื้นที่ราชพัสดุประมาณ 500 ไร่ เพื่อสนับสนุนโครงการระบบขนส่งมวลชนโดยระบบราง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่มีรูปแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) หาดใหญ่ เส้นทาง คลองหวะสถานีรถตู้ ระยะทาง 12.54 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท หลังจาก สคร. มอบให้ อบจ.สงขลา ปรับแผนดำเนินงาน โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ หากไม่มีงบกลางจากรัฐบาล อบจ.สงขลา จะมีแนวทางดำเนินงานเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า อบจ.สงขลา ไม่สามารถใช้แนวทางเงินกู้เพื่อดำเนินโครงการนี้ได้ เพราะหน่วยงานท้องถิ่นมีเพดานเงินกู้ต้องไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่ มีวงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท ทำให้ต้องตัดแนวทางการกู้เงินออกไป และต้องหาแนวทางอื่นแทน

เบื้องต้นจึงมีแนวคิดจะใช้วิธีให้เอกชนผู้ชนะประมูลโครงการได้สิทธิพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี (TOD) บริเวณคอหงส์ด้วย หลังจากอบจ.สงขลา รายงานแนวทางไปยัง สคร. ยังไม่มีหนังสือตอบกลับ หรือเชิญไปหารือเรื่องนี้เพิ่มเติมแต่อย่างใด คาดว่า สคร. คงรอดูผลการศึกษาการพัฒนา TOD ก่อน

อบจ.สงขลา จะลงนามกับบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการพัฒนา TOD ภายในเดือน ม.ค. 66 และใช้เวลาดำเนินการ จนแล้วเสร็จประมาณ 8 เดือน เบื้องต้นช่วง 5-6 เดือน หรือประมาณเดือน พ.ค. 66 น่าจะได้เห็นตัวเลขผลตอบแทนการลงทุน และส่งรายงานตัวเลข พร้อมรายละเอียดเบื้องต้นแจ้งเพิ่มเติมให้ สคร. พิจารณา หากเห็นชอบแนวทาง อบจ.สงขลา จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และพยายามเปิดประมูลให้ได้ภายในปลายปี 66

รายงานข่าว แจ้งด้วยว่า ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่ ยังคงมีอยู่ แต่ต้องชะลอออกไปจากแผน เดิม เพราะงบประมาณที่จะใช้ก่อสร้างยังไม่ชัดเจน ว่าจะได้ข้อสรุปแบบใด เรื่องนี้คง ต้องเร่งให้ได้ข้อสรุป เพราะขณะนี้รายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) 1 ปีแล้ว หากยังล่าช้าอีไอเอจะหมดอายุภายในประมาณ 5 ปี (ภายในปี 69) ต้องทำอีไอเอใหม่ จะยิ่งทำให้โครงการล่าช้า

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ยืนยันว่าแม้ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องเงินที่จะนำมาใช้ก่อสร้าง แต่ อบจ.สงขลา ยังไม่มีการพับแผน และจะไม่ปรับรูปแบบของรถไฟฟ้า เพื่อลดวงเงินโครงการฯ เพราะหากปรับเป็นรูปแบบอื่น จะต้องเสียเวลาศึกษาใหม่ทั้งหมด จากการสอบถามเบื้องต้นไปยังภาคเอกชนต่าง ๆ พบว่ายังมีเอกชนหลายรายสนใจร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่ ที่จะให้สิทธิเอกชนพัฒนา TOD ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษารถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่แล้วเสร็จเป็นจังหวัดแรก ก่อนรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ภูเก็ตและแทรมนครราชสีมา และส่งมอบผลการศึกษาให้ อบจ.สงขลาที่เสนอตัวดำเนินโครงการเองโดยผ่านกระทรวงมหาดไทย แต่เดิมวางเป้าหมายก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่ในต่างจังหวัดเป็นสายแรกตั้งแต่ปี 62 แต่ติดปัญหางบประมาณจึงเลื่อนแผนงานไปเรื่อย ๆ.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 20 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 28/12/2022 2:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'โมโนเรลหาดใหญ่'เลื่อนไปเรื่อยๆ
Source - เดลินิวส์
Tuesday, December 20, 2022 04:04
ศึกษาพัฒนาพื้นที่สถานี หาเงินลงทุน1.7หมื่นล้าน
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 20 ธ.ค. 2565


ลิงก์มาแล้วครับ
ยังไม่ล้ม “โมโนเรลหาดใหญ่” แต่เลื่อนไปเรื่อยๆๆ
*อบจ.สงขลาไม่มีเงินค่าก่อสร้าง 1.7 หมื่นล้าน
*ศึกษาพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีอีก8เดือน
*จูงใจเอกชนให้สิทธิ์สัมปทาน”คอหงส์”500ไร่
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/709217410655496
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 02/03/2023 12:12 pm    Post subject: Reply with quote

แม้รถไฟคือกระดูกสันหลังของการพัฒนา แต่ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดระบบราชการแบบรวมศูนย์ ทำให้สถานีรถไฟหาดใหญ่ไม่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเมืองเท่าที่ควร
wecitizensthailand
9 ธันวาคม 2565
“พ่อผมทำงานที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นก็ตามมาด้วยพี่ชาย ส่วนผมทำงานบริษัทเอกชน แต่ก็เติบโตมากับชุมชนรถไฟ และคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของคนรถไฟที่นี่ดี

แต่ไหนแต่ไรรถไฟคือกระดูกสันหลังของการพัฒนา และจุดเริ่มต้นของความเจริญของเมืองหาดใหญ่ก็มาจากการตั้งชุมทางรถไฟหาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นระบบราชการรวมศูนย์ การรถไฟจึงแปลกแยกตัวเองจากชุมชนและเมืองพอสมควร กล่าวคือต่อให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคประชาชนมีโครงการพัฒนาเมืองอะไรก็ตาม แต่ถ้าหน่วยงานระดับบนของการรถไฟไม่เอาด้วย หน่วยงานส่วนท้องถิ่นก็จะไม่สามารถร่วมโครงการพัฒนานั้นได้

ด้วยเหตุนี้เมื่อย้อนกลับมามองเฉพาะในหาดใหญ่ จึงเห็นได้ชัดว่าแม้พื้นที่ของสถานีและชุมชนรถไฟที่มีหลายร้อยไร่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นมาก แต่พื้นที่ดังกล่าวกลับดูคล้ายเป็นพื้นที่ปิด ไม่มีการเชื่อมโยงกับเมือง การรถไฟเรามีพื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ แต่ด้วยบรรยากาศบางอย่าง คนหาดใหญ่ก็ไม่ค่อยอยากเข้ามาใช้งาน ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย


เมื่ออาจารย์เจี๊ยบ (สิทธิศักดิ์ ตันมงคล) ชวนผมเข้าร่วมเครือข่ายของโครงการคลองเตยลิงก์ ในฐานะที่ผมพยายามผลักดันแนวคิดเรื่อง smart growth (แนวคิดการวางผังเมืองโดยสร้างความเจริญไปพร้อมกับสุขภาวะที่ดีของคนในเมือง – ผู้เรียบเรียง) อยู่แล้ว และก็มีลักษณะกึ่งๆ เป็นคนในของการรถไฟด้วย จึงเห็นถึงความเป็นไปได้ในการเชื่อมรถไฟเข้ากับเมือง ทำให้รถไฟเป็นหน่วยหนึ่งของการพัฒนาให้หาดใหญ่เป็นเมืองที่น่าอยู่

เพราะหนึ่งในภาพฝันที่ผมและอาจารย์เจี๊ยบเห็นร่วมกันคือการทำให้หาดใหญ่เป็นเมืองเดินได้ ด้วยการร่วมกับภาครัฐพัฒนาสาธารณูปโภคของเมืองที่เอื้อให้คนในเมืองได้เดินเท้าอย่างสะดวก ขณะเดียวกันโครงการพัฒนาขนส่งสาธารณะเลียบคลองเตย ก็มีจุดเริ่มต้นของเส้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟ โครงการนี้จะเดินหน้าต่อไม่ได้เลยถ้าการรถไฟไม่ร่วมด้วย

ผมก็อาศัยความคุ้นเคยในฐานะลูกรถไฟ เข้าทางสหภาพ คือถึงแม้รถไฟจะมีความเป็นราชการรวมศูนย์ แต่ในระดับท้องถิ่นก็มีสหภาพที่มีอำนาจต่อรองกับส่วนกลาง จึงเริ่มผลักดันผ่านสหภาพนี่แหละ ให้เขาสื่อสารกับส่วนกลาง ขณะเดียวกันในสิ่งที่ทำได้เบื้องต้น เช่นการรับฟังข้อเสนอโครงการมาดูว่าเราสามารถปรับอะไรให้สอดรับกับโครงการเขาได้บ้างก็ทำไปก่อน


อย่างที่บอก ถนนหน้าสถานีรถไฟเรามีต้นไม้ใหญ่เยอะ เป็นสวนหย่อมใจกลางเมือง อาจจะเริ่มจากการปรับภูมิทัศน์ตรงนี้ ก่อนพัฒนาให้เป็นทางเดินและพักผ่อน ทำทางลาดเชื่อมพื้นที่ชานชาลามาสู่พื้นผิวถนน ผู้โดยสารลงรถไฟก็จะได้ไม่ต้องยกกระเป๋า ให้การเดินเท้ามันราบรื่นต่อเนื่อง ระหว่างรอรถไฟก็สามารถนั่งพักในสวนนี้ได้

ทั้งนี้ การรถไฟหาดใหญ่กำลังมีแผนจัดทำพิพิธภัณฑ์รถไฟของตัวเองอยู่ด้วย จึงคิดว่าตรงนี้เป็นตัวเชื่อมที่ดีเลยนะ เพราะถ้าคุณปรับปรุงพื้นที่ให้รับไปกับเมือง พิพิธภัณฑ์ตรงนี้ก็จะกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ขณะเดียวกันประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรถไฟและการสร้างเมืองหาดใหญ่ก็จะได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างขึ้น ซึ่งผมยังมองว่าด้วยศักยภาพของบ้านพักรถไฟในพื้นที่หลายหลังซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกับสถานีและยังคงได้รับการดูแลอย่างดี เราจะปรับให้พื้นที่รอบๆ สถานีกลายให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตก็ยังได้

ขณะที่ในระยะยาว เพื่อรองรับกับขนส่งสาธารณะ ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคเอกชนที่จะทำอาคาร park and ride หรืออาคารจอดรถตรงสถานีรถไฟ ช่วยแก้ปัญหาในเมืองไม่มีที่จอดรถ คุณขับเข้ามา จอดตรงนี้ และใช้รถสาธารณะเดินทางต่อ หรือถ้าเดินไปทำธุระก็ได้ เพราะแถวนี้อะไรก็ใกล้กันหมด


หาดใหญ่ถูกพัฒนาด้วย baby boomer มานานครับ ซึ่งเข้าใจได้ว่าธรรมชาติของคนรุ่นผม คือการสะสมความมั่งคั่งและนิยมใช้รถยนต์ส่วนตัว นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ระบบขนส่งสาธารณะของหาดใหญ่มันไม่เกิดเสียที

แต่อย่าลืมว่าทุกวันนี้มันคือยุคของคนเจนใหม่ คนที่ใส่ใจกับการใช้พื้นที่และการขนส่งสาธารณะ มีเด็กรุ่นใหม่ไม่น้อยแบกเป้นั่งรถไฟเที่ยวทั่วประเทศ หรือนั่งจากหาดใหญ่ไปมาเลเซีย ในทางกลับกันนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่จากมาเลเซียก็เลือกนั่งรถไฟมาเที่ยวหาดใหญ่ และหลายคนก็คิดถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านการเดินเท้าตามตรอกซอกซอยในเมือง เศรษฐกิจของเมืองต่อไปจะขับเคลื่อนด้วยเทรนด์นี้

และที่สำคัญเมืองที่มีความน่าอยู่อย่างแท้จริงก็ต้องอาศัยองค์ประกอบเหล่านี้ การมีพื้นที่สีเขียวพร้อมพรั่ง การเดินเท้าไปทำธุระใกล้บ้านได้อย่างสะดวกและปลอดภัย และการมีขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพโดยคนในเมืองพึ่งพารถส่วนตัวให้น้อยที่สุด ผมคิดว่าถ้าเราร่วมมือกันทุกฝ่าย หาดใหญ่มีศักยภาพจะพัฒนาไปถึงจุดที่ว่าได้”

วรพงศ์ ราคลี
แอดมินเพจ Smart Growth Hat Yai
https://www.facebook.com/groups/hatyaithinktank/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2023 9:13 pm    Post subject: Reply with quote

"สามารถ" ชู 4 เมกะโปรเจ็กต์ ดันหาดใหญ่ เชื่อมไทย-เชื่อมโลก

ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 เ
”
ทีมเศรษฐกิจประชาธิปัตย์ กางแผน 4 เมกะโปรเจ็กต์ หนุนหาดใหญ่ ขึ้นแท่นขุมทองทางเศรษฐกิจ เชื่อมระบบขนส่งคมนาคมในอนาคต
ทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวทีมเศรษฐกิจประชาธิปัตย์สัญจร ครั้งที่ 2 “แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจปลายด้ามขวานไทย” นำโดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรมช.กระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม. ผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคมขนส่งโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการขนาดใหญ่

"สามารถ" ชู 4 เมกะโปรเจ็กต์ ดันหาดใหญ่ เชื่อมไทย-เชื่อมโลก

ม.ร.ว. ศศิพฤนท์ จันทรทัต อดีตซีอีโอ บล. กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยนางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีนายนิพัฒน์ อุดมอักษร ผู้สมัคร ส.ส.สงขลา เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมด้วย ณ โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา



ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม. ผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคมขนส่งโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการขนาดใหญ่กล่าวถึงวิสัยทัศน์ “เร่งเมกะโปรเจกต์ ดันหาดใหญ่ เชื่อมไทย-เชื่อมโลก” ว่า หาดใหญ่มีทำเลยุทธศาตร์ในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภาคใต้ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องขับเคลื่อนหาดใหญ่ด้วยระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันให้หาดใหญ่เป็นขุมทองทางเศรษฐกิจของปลายด้ามขวานไทย โดยพรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในหาดใหญ่ และพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้


1. โมโนเรล คือรถไฟฟ้า ที่วิ่งคร่อมรางโดยใช้รางเดี่ยว หรืออาจจะแขวนห้อยอยู่ใต้รางก็ได้ แต่ที่นิยมใช้กันมากก็คือแบบคร่อมราง โดยหาดใหญ่เช่นเดียวกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ที่มีปัญหารถติดในชั่วโมงเร่งด่วน องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา



สมัยนายนิพนธ์ บุญญามณี เป็นนายก อบจ. จึงได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรลขึ้น โดยระยะที่ 1 มีระยะทางยาว 13 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 16,000 ล้านบาท มี 15 สถานี ประกอบด้วยสถานีควนลัง แยกสนามบิน รถตู้ หาดใหญ่ใน ชุมทางรถไฟหาดใหญ่ ตลาดกิมหยง น้ำพุ หาดใหญ่วิทยาลัย บิ๊กซี คอหงส์ มอ. คลองเรียน เซ็นทรัล คลองหวะ และบ้านพรุ


"สามารถ" ชู 4 เมกะโปรเจ็กต์ ดันหาดใหญ่ เชื่อมไทย-เชื่อมโลก

ระยะที่ 2 จะขยายเส้นทางจากสถานีน้ำพุไปยังถนนลพบุรีราเมศร์ และจากสถานีคอหงส์ไปยังสวนสาธารณะหาดใหญ่ ส่วนระยะที่ 3 จะมีเส้นทางเชื่อมระหว่างสถานีหาดใหญ่ในกับสถานีคลองเรียนโดยวิ่งผ่านโรงเรียนพัฒนศึกษาและศูนย์การค้าไดอาน่า



โมโนเรลจะไม่ส่งผลกระทบต่อรถตุ๊กตุ๊ก รถสองแถว และวินมอเตอร์ไซค์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ในทางกลับกัน โมโนเรลจะช่วยให้รถตุ๊กตุ๊ก รถสองแถว และวินมอเตอร์ไซค์มีเส้นทางการให้บริการเพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นทางระหว่างแหล่งที่อยู่อาศัยกับสถานีโมโนเรล และเส้นทางระหว่างแหล่งทำงานและสถานศึกษากับสถานีโมโนเรล



“เวลานี้ผมมีผลการศึกษา และแบบเบื้องต้นอยู่ในมือแล้ว การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก็ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะผลักดันให้โมโนเรลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหารถติดในเมืองหาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี”



2. รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ รถไฟทางคู่หมายถึงทางรถไฟที่ประกอบด้วยเหล็กรางรถไฟ 4 ราง หรือใช้เหล็กรางรถไฟ 4 เส้น รถไฟทางคู่จะช่วยประหยัดเวลาการเดินทางและการขนส่งสินค้าได้มาก เพราะรถไฟสามารถวิ่งสวนทางกันได้ ไม่ต้องรอสับหลีกที่สถานี รถไฟทางคู่เปรียบเหมือนกระดูกสันหลังของโครงข่ายรถไฟ พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ริเริ่มโครงการรถไฟทางคู่ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2536

"สามารถ" ชู 4 เมกะโปรเจ็กต์ ดันหาดใหญ่ เชื่อมไทย-เชื่อมโลก

ดร.สามารถ กล่าวต่อว่า พรรคจะเดินหน้าก่อสร้างรถไฟทางคู่ต่อไปให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยจะเร่งผลักดันโครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เพื่อรองรับรถไฟจากประเทศมาเลเซียที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเช่นเดียวกัน



หากมีชาวมาเลเซียนั่งรถไฟนี้มาหาดใหญ่วันละ 2,000 คน หรือปีละ 730,000 คน สมมติว่าคนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาที่อยู่ในหาดใหญ่ 15,000 บาท ก็จะมีเงินหมุนเวียนในหาดใหญ่ปีละประมาณ 11,000 ล้านบาท อีกทั้ง รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ จะช่วยกระตุ้นให้การค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียพุ่งสูงขึ้นจากเดิมในปี พ.ศ. 2565 ที่มีมูลค้าการค้า 660,392 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการค้าชายแดนที่สูงที่สุดของประเทศ



ทั้งนี้รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร มีมูลค่าโครงการประมาณ 6,700 ล้านบาท เส้นทางนี้จะเชื่อมต่อไปสู่กรุงเทพฯ โดยจะบรรจบกับรถไฟทางคู่ที่เวลานี้สร้างมาถึงชุมพรแล้ว เมื่อมีรถไฟทางคู่จากหาดใหญ่ถึงกรุงเทพฯ เวลาการเดินทางจะลดลงจาก 16 ชั่วโมง เหลือเพียง 8-10 ชั่วโมงเท่านั้น ประหยัดเวลาลงได้ครึ่งหนึ่ง



“แบบก่อสร้างเสร็จแล้ว และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก็ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะเร่งรัดให้มีการก่อสร้างโดยเร็ว”



3. มอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา มอเตอร์เวย์เป็นถนนที่รถวิ่งได้เร็ว รถไม่ติด มอเตอร์เวย์ก็เหมือนกับทางด่วนนั่นเอง พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้จัดทำแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ทั่วประเทศ และได้ก่อสร้างมอเตอร์เวย์เส้นทางแรกของประเทศไทยคือเส้นทางกรุงเทพฯ-ชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งพรรคจะเดินหน้าก่อสร้างมอเตอร์เวย์ต่อไป



ดร.สามารถ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จะเร่งผลักดันโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์จตุรทิศ เชื่อมใต้สุดกับเหนือสุด และตะวันตกกับตะวันออกของประเทศไทย ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ



(1) เส้นทางสุไหงโกลก-พัทลุง-ทุ่งสง-นครปฐม ระยะทาง 1,100 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้ทุ่งสงเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าของภาคใต้



(2) เส้นทางด่านแม่สาย/ด่านเชียงของ-เชียงใหม่-บางปะอิน ระยะทาง 853 กิโลเมตร



(3) เส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 710 กิโลเมตร สำหรับมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดานั้น มีระยะทาง 71 กิโลเมตร วงเงิน 40,787 ล้านบาท เริ่มจากบ้านควนทรายทองถึงทางเข้าด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ แบบก่อสร้างเสร็จแล้ว



ขณะที่การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก็ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว กำลังรอหารือเรื่องถนนเชื่อมด่านสะเดาแห่งใหม่-ด่านบูกิตกายูฮิตัมของมาเลเซียในเร็วๆ นี้ เช่นเดียวกับรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ มอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา จะช่วยกระตุ้นให้การค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียพุ่งสูงขึ้นอย่างแน่นอน



ดร.สามารถ กล่าวว่า 4. สะพานเชื่อมเกาะสมุย ตนเป็นผู้ริเริ่มโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะสมุย โดยได้เสนอความเห็นไว้ในเฟซบุ๊กเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 ทั้งนี้ ตนได้เสนอแนวคิดที่จะก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะสมุย ระหว่างบริเวณด้านใต้ของแหลมทาบ (หรือแหลมประทับ) ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของท่าเรือดอนสักและเป็นพื้นที่ใน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ไปที่แหลมหินคมบนเกาะสมุย จะได้แนวสะพานที่เหมาะสมแนวหนึ่ง มีระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร



ทั้งนี้ รูปแบบสะพานควรเป็นสะพานขึง (Cable Stayed Bridge) มีจำนวน 4 ช่องจราจร หรือข้างละ 2 ช่องจราจร หากมีสะพานเชื่อมเกาะสมุยจะใช้เวลาข้ามทะเลแค่เพียงประมาณ 20 นาทีเท่านั้น ต่อไปเมื่อนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในหาดใหญ่แล้วจะไปเที่ยวต่อที่สมุยก็สะดวก ทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาเที่ยวหาดใหญ่มากขึ้น เพราะสามารถเดินทางไปเที่ยวที่อื่นได้ด้วยในระยะเวลาไม่นาน



ขณะเดียวกันรัฐบาลปัจจุบันได้นำแนวคิดนี้มอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไปดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบเบื้องต้น และพรรคประชาธิปัตย์จะติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางของชาวสุราษฎร์ธานี ชาวนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ



ดร.สามารถ กล่าวต่อว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเร่งรัดการก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ด้านคมนาคมขนส่งในเมืองหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อทำให้หาดใหญ่เชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว



นอกจกานี้เพิ่มโอกาสการแข่งขัน เพิ่มโอกาสการทำมาหากินของพี่น้องประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิต ประหยัดค่าใช้จ่ายการเดินทางและการขนส่งสินค้า ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ลดมลพิษ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมรับกระแสโลกในการลดก๊าซเรือนกระจก และฝุ่น PM 2.5

ปชป.ชูเร่งเมกะโปรเจกต์ 4 โครงการไฮไลท์ดันหาดใหญ่เชื่อมไทย-เชื่อมโลก

วันพฤหัสบดี ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566
”
เลือกตั้ง 2566 ทีมเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ ชูเร่งเมกะโปรเจกต์ 4 โครงการไฮไลท์ ดันหาดใหญ่ เชื่อมไทย-เชื่อมโลก
ทีมเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวทีมเศรษฐกิจประชาธิปัตย์สัญจร ครั้งที่ 2 “แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจปลายด้ามขวานไทย” นำโดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรมช.กระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม. ผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคมขนส่งโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการขนาดใหญ่ และ ม.ร.ว. ศศิพฤนท์ จันทรทัต อดีตซีอีโอ บล. กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยนางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีนายนิพัฒน์ อุดมอักษร ผู้สมัคร ส.ส.สงขลา เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ เข้าร่วมด้วย ณ โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ดร.สามารถ กล่าวว่า หาดใหญ่มีทำเลยุทธศาตร์ในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภาคใต้ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องขับเคลื่อนหาดใหญ่ด้วยระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันให้หาดใหญ่เป็นขุมทองทางเศรษฐกิจของปลายด้ามขวานไทย โดยพรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในหาดใหญ่ และพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้

1. โมโนเรล คือรถไฟฟ้า ที่วิ่งคร่อมรางโดยใช้รางเดี่ยว หรืออาจจะแขวนห้อยอยู่ใต้รางก็ได้ แต่ที่นิยมใช้กันมากก็คือแบบคร่อมราง โดยหาดใหญ่เช่นเดียวกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ที่มีปัญหารถติดในชั่วโมงเร่งด่วน องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา สมัยนายนิพนธ์ บุญญามณี เป็นนายก อบจ. จึงได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรลขึ้น

โดยระยะที่ 1 มีระยะทางยาว 13 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 16,000 ล้านบาท มี 15 สถานี ประกอบด้วย สถานีควนลัง แยกสนามบิน รถตู้ หาดใหญ่ใน ชุมทางรถไฟหาดใหญ่ ตลาดกิมหยง น้ำพุ หาดใหญ่วิทยาลัย บิ๊กซี คอหงส์ มอ. คลองเรียน เซ็นทรัล คลองหวะ และบ้านพรุ

ระยะที่ 2 จะขยายเส้นทางจากสถานีน้ำพุไปยังถนนลพบุรีราเมศร์ และจากสถานีคอหงส์ไปยังสวนสาธารณะหาดใหญ่

ส่วนระยะที่ 3 จะมีเส้นทางเชื่อมระหว่างสถานีหาดใหญ่ในกับสถานีคลองเรียน โดยวิ่งผ่านโรงเรียนพัฒนศึกษาและศูนย์การค้าไดอาน่า โมโนเรลจะไม่ส่งผลกระทบต่อรถตุ๊กตุ๊ก รถสองแถว และวินมอเตอร์ไซค์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ในทางกลับกัน โมโนเรลจะช่วยให้รถตุ๊กตุ๊ก รถสองแถว และวินมอเตอร์ไซค์มีเส้นทางการให้บริการเพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นทางระหว่างแหล่งที่อยู่อาศัยกับสถานีโมโนเรล และเส้นทางระหว่างแหล่งทำงานและสถานศึกษากับสถานีโมโนเรล


ดร.สามารถ ให้ความมั่นใจว่า “เวลานี้ผมมีผลการศึกษา และแบบเบื้องต้นอยู่ในมือแล้ว การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก็ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะผลักดันให้โมโนเรลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหารถติดในเมืองหาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี”

2. รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ รถไฟทางคู่หมายถึงทางรถไฟที่ประกอบด้วยเหล็กรางรถไฟ 4 ราง หรือใช้เหล็กรางรถไฟ 4 เส้น รถไฟทางคู่จะช่วยประหยัดเวลาการเดินทางและการขนส่งสินค้าได้มาก เพราะรถไฟสามารถวิ่งสวนทางกันได้ ไม่ต้องรอสับหลีกที่สถานี รถไฟทางคู่เปรียบเหมือนกระดูกสันหลังของโครงข่ายรถไฟ

พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ริเริ่มโครงการรถไฟทางคู่ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2536 และจะเดินหน้าก่อสร้างรถไฟทางคู่ต่อไปให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยจะเร่งผลักดันโครงการรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เพื่อรองรับรถไฟจากประเทศมาเลเซียที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเช่นเดียวกัน หากมีชาวมาเลเซียนั่งรถไฟนี้มาหาดใหญ่วันละ 2,000 คน หรือปีละ 730,000 คน

สมมติว่าคนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาที่อยู่ในหาดใหญ่ 15,000 บาท ก็จะมีเงินหมุนเวียนในหาดใหญ่ปีละประมาณ 11,000 ล้านบาท อีกทั้ง รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ จะช่วยกระตุ้นให้การค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียพุ่งสูงขึ้นจากเดิมในปี พ.ศ. 2565 ที่มีมูลค้าการค้า 660,392 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการค้าชายแดนที่สูงที่สุดของประเทศ

ทั้งนี้รถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร มีมูลค่าโครงการประมาณ 6,700 ล้านบาท เส้นทางนี้จะเชื่อมต่อไปสู่กรุงเทพฯ โดยจะบรรจบกับรถไฟทางคู่ที่เวลานี้สร้างมาถึงชุมพรแล้ว เมื่อมีรถไฟทางคู่จากหาดใหญ่ถึงกรุงเทพฯ เวลาการเดินทางจะลดลงจาก 16 ชั่วโมง เหลือเพียง 8-10 ชั่วโมงเท่านั้น ประหยัดเวลาลงได้ครึ่งหนึ่ง

ดร.สามารถ กล่าวด้วยว่า แบบก่อสร้างเสร็จแล้ว และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก็ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะเร่งรัดให้มีการก่อสร้างโดยเร็ว
3. มอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา มอเตอร์เวย์เป็นถนนที่รถวิ่งได้เร็ว รถไม่ติด มอเตอร์เวย์ก็เหมือนกับทางด่วนนั่นเอง พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้จัดทำแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ทั่วประเทศ และได้ก่อสร้างมอเตอร์เวย์เส้นทางแรกของประเทศไทยคือ เส้นทางกรุงเทพฯ-ชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2537 ซึ่งพรรคจะ เดินหน้าก่อสร้างมอเตอร์เวย์ต่อไป

โดยจะเร่งผลักดันโครงการก่อสร้าง “มอเตอร์เวย์จตุรทิศ” เชื่อมใต้สุดกับเหนือสุด และตะวันตกกับตะวันออกของประเทศไทย ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ

(1) เส้นทางสุไหงโกลก-พัทลุง-ทุ่งสง-นครปฐม ระยะทาง 1,100 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้ทุ่งสงเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าของภาคใต้

(2) เส้นทางด่านแม่สาย/ด่านเชียงของ-เชียงใหม่-บางปะอิน ระยะทาง 853 กิโลเมตร

และ (3) เส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 710 กิโลเมตร

สำหรับมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดานั้น มีระยะทาง 71 กิโลเมตร วงเงิน 40,787 ล้านบาท เริ่มจากบ้านควนทรายทองถึงทางเข้าด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ แบบก่อสร้างเสร็จแล้ว และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก็ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว กำลังรอหารือเรื่องถนนเชื่อมด่านสะเดาแห่งใหม่-ด่านบูกิตกายูฮิตัมของมาเลเซียในเร็วๆ นี้ เช่นเดียวกับรถไฟทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ มอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา จะช่วยกระตุ้นให้การค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียพุ่งสูงขึ้นอย่างแน่นอน

4. สะพานเชื่อมเกาะสมุย ดร.สามารถ กล่าวว่า ตนเป็นผู้ริเริ่มโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะสมุย โดยได้เสนอความเห็นไว้ในเฟสบุ๊กเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560

ทั้งนี้ ตนได้เสนอแนวคิดที่จะก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะสมุย ระหว่างบริเวณด้านใต้ของแหลมทาบ (หรือแหลมประทับ) ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของท่าเรือดอนสักและเป็นพื้นที่ใน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ไปที่แหลมหินคมบนเกาะสมุย จะได้แนวสะพานที่เหมาะสมแนวหนึ่ง มีระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร
รูปแบบสะพานควรเป็นสะพานขึง (Cable Stayed Bridge) มีจำนวน 4 ช่องจราจร หรือข้างละ 2 ช่องจราจร

หากมีสะพานเชื่อมเกาะสมุยจะใช้เวลาข้ามทะเลแค่เพียงประมาณ 20 นาทีเท่านั้น ต่อไปเมื่อนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในหาดใหญ่แล้วจะไปเที่ยวต่อที่สมุยก็สะดวก ทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาเที่ยวหาดใหญ่มากขึ้น เพราะสามารถเดินทางไปเที่ยวที่อื่นได้ด้วยในระยะเวลาไม่นาน

ขณะนี้รัฐบาลปัจจุบันได้นำแนวคิดนี้มอบให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไปดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบเบื้องต้น และพรรคประชาธิปัตย์จะติดตามเร่งรัดการดำเนินโครงการนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางของชาวสุราษฎร์ธานี ชาวนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ

ดร.สามารถ กล่าวทิ้งท้ายว่า โดยสรุป พรรคประชาธิปัตย์จะเร่งรัดการก่อสร้างเมกะโปรเจกต์ด้านคมนาคมขนส่งในเมืองหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อทำให้หาดใหญ่เชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพิ่มโอกาสการแข่งขัน เพิ่มโอกาสการทำมาหากินของพี่น้องประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิต ประหยัดค่าใช้จ่ายการเดินทางและการขนส่งสินค้า ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ลดมลพิษ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมรับกระแสโลกในการลดก๊าซเรือนกระจก และฝุ่น PM 2.5
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/05/2023 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"สามารถ" ชู 4 เมกะโปรเจ็กต์ ดันหาดใหญ่ เชื่อมไทย-เชื่อมโลก
ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566

"ดร.สามารถ" ชวน "นิพัฒน์" ลุยโมโนเรลหาดใหญ่ ลั่น "ประชาธิปัตย์" พร้อมผลักดันให้คนหาดใหญ่ได้ใช้ด่วน
10 พฤษภาคม 2566 17:24 น. สยามรัฐออนไลน์ การเมือง

วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และ นายนิพัฒน์ อุดมอักษร ผู้สมัคร ส.ส. สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เบอร์ 4 เขต 2 ซึ่งประกอบด้วย อ.หาดใหญ่ (เฉพาะ ต. คลองอู่ตะเภา และ ต. หาดใหญ่) ลงพื้นที่ดูเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล พร้อมพบปะพี่น้องประชาชนตลอดแนวเส้นทาง

ดร.สามารถ กล่าวว่า ตนและนายนิพัฒน์มาดูแนวเส้นทางก่อสร้างโมโนเรลในเมืองหาดใหญ่ ระยะทาง 13 กิโลเมตร วงเงิน 16,000 ล้านบาท มี 15 สถานี ประกอบด้วยสถานีควนลัง แยกสนามบิน รถตู้ หาดใหญ่ใน ชุมทางรถไฟหาดใหญ่ ตลาดกิมหยง น้ำพุ หาดใหญ่วิทยาลัย บิ๊กซี คอหงส์ มอ. คลองเรียน เซ็นทรัล คลองหวะ และบ้านพรุ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ผ่านพื้นที่สำคัญหลายแห่ง

จากการพูดคุยกับพี่น้องประชาชนพบว่าทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอใช้โมโนเรล ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายการเดินทาง ลดมลพิษ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 ทุกคนรู้ว่าการใช้โมโนเรลสามารถกำหนดเวลาการเดินทางได้อย่างแม่นยำ เมื่อไหร่ควรมารอที่สถานี เมื่อไหร่จะถึงจุดหมายปลายทาง ทำให้ไม่ผิดเวลานัดหมาย

“ขอให้อดใจรอ หากพรรคประชาธิปัตย์ได้ดูแลกระทรวงคมนาคม จะพยายามผลักดันให้โมโนเรลหาดใหญ่เป็นรูปเป็นร่างในระยะเวลา 4 ปีนี้” ดร.สามารถ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/08/2023 5:50 am    Post subject: Reply with quote

รายงานพิเศษ: อบจ.สงขลา เปิดฟังความเห็น พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรลคอหงส์
Source - สยามรัฐ
Monday, August 07, 2023 05:01

ปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ สงขลา

นายไพเจน มากสุววรณ์ นายกอบจ.สงขลา เป็นประธานในงานแถลงข่าวและประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development TOD) สถานีคอหงส์อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมี นายสุรสิทธิ์ศรีอินทร์ รองนายกอบจ.สงขลา รวมทั้งผู้คณะที่ปรึกษาโครงการ อาทิ ดร.นครินทร์สัทธรรมนุวงศ์ ผู้จัดการโครงการ, นายกานต์พัชราวนิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน และดร.กาญจน์ เพียรเจริญ สถาปนิกโครงการและผู้แทนภาคเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมที่โรงแรม ลีการ์เดส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกอบจ.สงขลา เปิดเผยว่า อบจ.สงขลา เห็นควรดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยเป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่ ที่มีมูลค่ากว่า 17,000 ล้านบาท 12 สถานีระยะทางราว 13 กิโลเมตร โดยมีการร่วมทุนกันทั้งจากรัฐบาล ท้องถิ่น และเอกชน

โดยล่าสุดนั้นผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่ ได้ผ่านการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 เรียบร้อยแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดยคาดว่า น่าจะผ่านการพิจารณาจากสคร. ภายในปี 2567 จากนั้นก็จะเข้าสู่การสรรหาผู้ร่วมลงทุน เพื่อดำเนินการก่อสร้าง และเปิดให้บริการแก่ประชาชนต่อไป ซึ่งหากผ่านการอนุมัติคาดว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายใน 3 ปี

นายกอบจ.สงขลา เผยอีกว่า ในส่วนของโครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล(Transit Oriented Development : TOD)สถานีคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นโครงการต่อเนื่องในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล โดยจะเป็นการพัฒนาในพื้นที่ของกรมธนารักษ์ที่มีศักยภาพและได้รับการจัดสรรพื้นที่เบื้องต้นราว 45 ไร่

ซึ่งการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าก็มีคุณูปการสำคัญ คือ เพื่อดึงดูดผู้คนให้มาใช้ระบบขนส่งมวลชน และสร้างรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ เพื่อนำไปลดต้นทุนจากการลงทุนของภาครัฐในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่ และสามารถดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยจะมีการพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดใหญ่ รองรับทั้งประชาชน และนักท่องเที่ยวได้จำนวนมาก เพื่อให้เป็นแหล่งกิจกรรม และแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ อ.หาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการออกแบบอาคารกิจกรรมประกอบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางโดยระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล รวมทั้งพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแลนด์มาร์กด้านเศรษฐกิจ และศูนย์รวมแหล่งกิจกรรมแห่งใหม่ของ อ.หาดใหญ่ซึ่งมีทั้งอาคารสถานีรถโดยสาร อาคารที่จอดรถ อาคารศูนย์อาหาร อาคารศูนย์การแพทย์ Co-Working Space และสนามวอลเลย์บอลในร่ม อาคารห้างสรรพสินค้าและ โรงแรม 4 ดาว โดยใช้สวนสาธารณะและพื้นที่เปิดโล่งขนาดใหญ่ ในการเชื่อมโยงกับทุกอาคารในบริเวณตรงกลางของโครงการดังกล่าว

ที่มา: นสพ.สยามรัฐ ฉบับวันที่ 7 ส.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43714
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2023 12:23 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รายงานพิเศษ: อบจ.สงขลา เปิดฟังความเห็น พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรลคอหงส์
Source - สยามรัฐ
จันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 05:01 น.

ที่มา: นสพ.สยามรัฐ ฉบับวันที่ 7 ส.ค. 2566

อบจ.สงขลา แถลงข่าวโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สนับสนุนประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดปัญหาจราจรของเมืองหาดใหญ่
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : สุธิดา พฤกษ์อุดม

ผู้เรียบเรียง : วรรณวิไล สนิทผล

แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา
04 สิงหาคม 2566

วันที่ (4 ส.ค. 66) ที่ห้องแกรนด์ คอนเวนชั่น ฮอลล์ บี โรงแรมลี การ์เดนส์ พลาซ่าหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานแถลงข่าวและประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ผู้ที่สนใจลงทุนในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชนทุกแขนงสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กล่าวว่า โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล(Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนโดยระบบรางอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่ดำเนินการศึกษา และผ่านการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ (EIA) ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 เรียบร้อยแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์ โครงการระบบขนส่งมวลชนโดยระบบราง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งเมื่อผ่านขั้นตอนกระบวนการดังกล่าวแล้วเสร็จ จึงจะเข้าสู่การสรรหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อดำเนินการก่อสร้าง และเปิดให้บริการแก่ประชาชนต่อไป โดยคาดว่าจะผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ภายในปี พ.ศ. 2567

สำหรับโครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล(Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นโครงการต่อเนื่องในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล โดยจะเป็นการพัฒนาในพื้นที่ของกรมธนารักษ์ที่มีศักยภาพ

ด้าน ดร.นครินทร์ สัทธรรมนุวงศ์ ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า ในส่วนของภาพรวมเบื้องต้นของโครงการที่ผ่านมาเมืองหาดใหญ่มีปัญหาจราจรเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเราไม่สามารถทำให้เกิดการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้ ก็จะเกิดปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุผลที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาต้องผลักดันนโยบายที่จะทำให้พี่น้องประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กำหนดแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนโดยระบบราง (Monorail) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้พี่น้องประชาชน

อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของโครงการรถไฟฟ้านั้น จำเป็นที่จะต้องมีจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง และเป็นจุดศูนย์รวมผู้โดยสารให้มีทางเลือกในการเดินทางต่อได้ เช่น รถโดยสารสาธารณะอื่น ๆ หรือรถส่วนตัว เพราะรถไฟฟ้าจะไม่สามารถส่งถึงที่หมายได้คนก็จะใช้รถไฟฟ้าน้อยลง และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าก็มีคุณูปการสาคัญ คือ เพื่อดึงดูดคนมาใช้ระบบขนส่งมวลชน และสร้างรายได้จากการพัฒนาพื้นที่เพื่อนำไปลดต้นทุนจากการลงทุนของภาครัฐและสามารถดำเนินโครงการฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะและมีกิจกรรมส่งเสริมการเดินทางอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น พื้นที่สีเขียวสำหรับประชาชน พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

สำหรับการดำเนินการทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น ในปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้ จะทำให้เกิดพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในจังหวัดสงขลา โดยจะเกิดการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งสาธารณะของเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ , เกิดการพัฒนาเมืองที่กระชับ และการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบ ผสมผสานอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ยกระดับคุณภาพชีวิตและกระตุ้น เศรษฐกิจของจังหวัดสงขลา

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ จัดให้มีการแถลงข่าว โดย นายสุรสิทธิ์ ศรีอินทร์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

,ดร.นครินทร์ สัทธรรมนุวงศ์ ผู้จัดการโครงการ และนายกานต์ พัชราวนิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน

หลังจากนั้น เป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ โดย ดร.นครินทร์ สัทธรรมนุวงศ์ ผู้จัดการโครงการ , นายกานต์ พัชราวนิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน, ดร.กาญจน์ เพียรเจริญ สถาปนิกโครงการ ,รศ.ดร.รมิดา พัชราวนิช ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ ผศ.ทรรศนะ บุญอยู่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งและจราจรโดยมี รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ผู้อำนวยการกองผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมให้การต้อนรับ






อบจ.สงขลาหนุนใช้ระบบขนส่งสาธารณะ แถลงจัดศึกษาพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล สถานีคอหงส์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 4 สิงหาคม 2566 เวลา 17:28 น.
ปรับปรุง: 5 สิงหาคม 2566 เวลา 08:25 น.

อบจ.สงขลา หนุนใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ลดปัญหาจราจร
ท้องถิ่น
7 สิงหาคม 2566 เวลา 14:34 น.

อบจ.สงขลา เดินหน้าพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล สถานีคอหงส์ สนับสนุนประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อลดปัญหาจราจรของเมืองหาดใหญ่ คาดโครงการผ่านการพิจารณาจาก สคร. ภายในปีหน้า

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - อบจ.สงขลาแถลงข่าวโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา สนับสนุนประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อลดปัญหาจราจรของเมืองหาดใหญ่

วันที่ (4 ส.ค.) ที่ห้องแกรนด์ คอนเวนชั่น ฮอลล์ บี โรงแรมลีการ์เดนส์ พลาซ่า หาดใหญ่ จ.สงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานแถลงข่าวและประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ผู้ที่สนใจลงทุนในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชนทุกแขนงสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก



นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กล่าวว่า โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนโดยระบบราง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ที่ดำเนินการศึกษา และผ่านการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ (EIA) ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว และปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการระบบขนส่งมวลชนโดยระบบราง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งเมื่อผ่านขั้นตอนกระบวนการดังกล่าวแล้วเสร็จ จึงจะเข้าสู่การสรรหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อดำเนินการก่อสร้าง และเปิดให้บริการแก่ประชาชนต่อไป โดยคาดว่าจะผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ภายในปี พ.ศ.2567

สำหรับโครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นโครงการต่อเนื่องในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล โดยจะเป็นการพัฒนาในพื้นที่ของกรมธนารักษ์ที่มีศักยภาพ



ดร.นครินทร์ สัทธรรมนุวงศ์ ผู้จัดการโครงการกล่าวว่า ในส่วนของภาพรวมเบื้องต้นของโครงการ ที่ผ่านมาเมืองหาดใหญ่มีปัญหาจราจรเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเราไม่สามารถทำให้เกิดการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้ จะเกิดปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุผลที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ต้องผลักดันนโยบายที่จะทำให้พี่น้องประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กำหนดแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนโดยระบบราง (Monorail) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้พี่น้องประชาชน

อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของโครงการรถไฟฟ้านั้นจำเป็นที่จะต้องมีจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง และเป็นจุดศูนย์รวมผู้โดยสารให้มีทางเลือกในการเดินทางต่อได้ เช่น รถโดยสารสาธารณะอื่นๆ หรือรถส่วนตัว เพราะรถไฟฟ้าจะไม่สามารถส่งถึงที่หมายได้ คนจะใช้รถไฟฟ้าน้อยลง และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้ามีคุณูปการสำคัญ คือเพื่อดึงดูดคนมาใช้ระบบขนส่งมวลชน และสร้างรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ เพื่อนำไปลดต้นทุนจากการลงทุนของภาครัฐ และสามารถดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป



โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะ และมีกิจกรรมส่งเสริมการเดินทางอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น พื้นที่สีเขียวสำหรับประชาชน พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

สำหรับการดำเนินการทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น ในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ จะทำให้เกิดพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนใน จ.สงขลา โดยจะเกิดการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งสาธารณะของเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนาเมืองที่กระชับ และการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสานอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ยกระดับคุณภาพชีวิต และกระตุ้นเศรษฐกิจของ จ.สงขลา

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ จัดให้มีการแถลงข่าวโดย นายสุรสิทธิ์ ศรีอินทร์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ดร.นครินทร์ สัทธรรมนุวงศ์ ผู้จัดการโครงการ และนายกานต์ พัชราวนิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน

หลังจากนั้น เป็นการประชุมรับฟังความคิดเห็น โดย ดร.นครินทร์ สัทธรรมนุวงศ์ ผู้จัดการโครงการ นายกานต์ พัชราวนิช ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน ดร.กาญจน์ เพียรเจริญ สถาปนิกโครงการ รศ.ดร.รมิดา พัชราวนิช ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ ผศ.ทรรศนะ บุญอยู่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งและจราจร โดยมีรองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ผู้อำนวยการกองผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมให้การต้อนรับ
https://mgronline.com/south/detail/9660000070218

หาดใหญ่ | แถลงข่าวและประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์
5 สิงหาคม 2566
หาดใหญ่ | แถลงข่าวและประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์

วานนี้ (4/8/66)นายสุรสิทธิ์ ศรีอินทร์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมงานแถลงข่าวและประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development : TOD) สถานีคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา



พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร นายทวีศักดิ์ อรัญดร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เขต 6 อำเภอหาดใหญ่ // นายวรพงศ์ ปราบ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เขต 1 อำเภอเทพา หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้แทนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในงานแถลงข่าว ฯ



ทั้งนี้ ในงานแถลงข่าวและประชุมรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) คณะที่ปรึกษาได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่ โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรล (Transit Oriented Development: TOD) สถานีคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ดังนี้

- ภาพรวมโครงการฯ

- การศึกษาศักยภาพด้านทำเลที่ตั้งและการออกแบบเชิงความคิด (Conceptual Design) ของพื้นที่โครงการ

- การศึกษาความเหมาะสมด้านการตลาดอสังหาริมทรัพย์ และการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการลงทุนโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46870
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/06/2024 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

ผวจ.ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบขนส่งมวลชนหาดใหญ่
Songkhla_Focus 3 มิ.ย. 67

ขนส่งจังหวัดสงขลา เผย “ผู้ว่าฯ สมนึก” ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่ เตรียมนัดหารือกลุ่มเล็กกำหนดแนวทางการขับเคลื่อน ก่อนการประชุมคณะทำงานฯครั้งแรก

นายอนุเทพน์ เกษา ขนส่งจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายสมนึก พรหมเขียว ได้ลงนามประกาศจังหวัดสงขลา เรื่อง การแต่งตั้งคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“ขณะนี้กำลังเวียนคำสั่งไปยังคณะทำงานฯ ทั้ง 53 ท่าน หลังจากนั้น ก็จะประชุมกับหอการค้าจังหวัดสงขลา สภาเศรษฐกิจหาดใหญ่ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปนำเสนอต่อที่ประชุมคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่” นายอนุเทพน์ กล่าว และว่า

เหตุที่ต้องประชุมวงเล็กก่อน ก็เพื่อให้การประชุมคณะทำงานฯ มีแนวทาง แผนงาน กิจกรรม ที่ชัดเจนในการขับเคลื่อน ขณะเดียวกัน ขนส่งจังหวัดได้ สำรวจเส้นทางควบคู่ไปกับที่ผู้ประกอบการต้องการ โดยจะเป็นการทำงานที่ควบคู่กันไประหว่างคณะทำงานฯ กับคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด เพื่อกำหนดเส้นทางรายละเอียดที่เกี่ยวกับกฎหมาย ในขณะที่คณะทำงานฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ร่วมนำเสนอไอเดีย

นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล เลขาธิการสภาเศรษฐกิจหาดใหญ่ กล่าวว่า บทบาท อำนาจหน้าที่ ๆ ต้องทำของคณะทำงานฯ มี 7 ข้อ โดยทางขนส่งจังหวัดสรุปได้เหลือ 6 ข้อ แต่เนื้อหาสาระก็ยังเหมือนเดิมอยู่ “นี่คือสิ่งที่ตั้งใจจะดำเนินการ ซึ่งผมอยากจะย้อนกลับมาว่าแล้วอะไรคือสิ่งที่เราคาดหวังอยากจะเห็น ถ้าไล่เรียงมาก็คือ ระบบขนส่งมวลชน เป็นเครื่องมือเป็นโครงสร้างพื้นฐานอันหนึ่งของเมือง ทีนี้เวลามองหน่วยราชการ เราจะมักจะแบ่งเป็นเรื่อง ๆ ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นบางทีเราได้ระบบมา ซึ่งอาจจะไม่ตอบสนองความต้องการ ฉะนั้น กระบวนการทำงานก็จะต้องทำระหว่างรัฐร่วมกับเอกชน” คือเป็นการทำงานร่วมกัน แล้วให้บทบาทอำนาจ ซึ่งตรงนี้มติครม.ก็ได้กระจายให้กับท้องถิ่นทำได้แล้ว โดยให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดระบบขนส่งมวลชนของตัวเองได้ แต่ก็ยังจะต้องขออนุญาตกับทางขนส่ง ซึ่งถือว่าได้จังหวะที่สอดคล้องกัน

เพราะฉะนั้น ถ้ามีกระบวนการ มีส่วนร่วมทำให้ได้มีการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนแล้วประชาชนก็น่าจะสามารถทำให้ออกแบบระบบที่ตอบสนองความต้องการได้ดีการที่บอกว่า ตอบสนองความต้องการนั้นจริง ๆ แล้วในหลักการตั้งแต่ตัวที่อยู่อาศัยไปจนกระทั่งถึงเป้าหมายที่เราจะไป ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือที่ทำงาน จะต้องสัมพันธ์กันทั้งระบบเช่น เราอาจจะสามารถเดินเท้าออกจากบ้านไปขึ้นรถที่เป็นขนส่งมวลชน แล้วก็ไปยังเป้าหมายที่ต้องการจะไป ซึ่งมันจะไปไม่ถึงโดยตรง แต่จะต้องมีระบบรองรับ เช่น จะมีรถตุ๊ก ๆ หรือรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง มารองรับช่วงต่อ หรือมีทางเท้าที่เดินร่มรื่นไปยังเป้าหมาย ซึ่งนั่นคือ การเดินทางที่ไร้รอยต่อ และเชื่อมโยงกันเป็นระบบ

“ลักษณะนี้ ถามว่าในอดีตมีใครมีหน้าที่คิดมั๊ยมันไม่ชัดเจนว่าใครต้องทำ เพราะฉะนั้น ตรงนี้ ผมจะแทรกแนวคิดเหล่านี้ไปในเรื่องของประกาศแต่งตั้งคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่ ว่ามีหน้าที่ บทบาทต้องทำอย่างนี้ด้วย”

หากเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นต่อคือ จะต้องมีบทบาทในการโปรโมทให้คนลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว แล้วหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน ซึ่งเท่าที่ศึกษามา ไม่พบว่าที่ไหนประสบความสำเร็จในช่วงแรก ๆ เพราะคนที่มีรถส่วนตัวอยู่แล้ว ก็ยังถนัดที่จะใช้รถส่วนตัวอยู่

ดังนั้น ความพยายามที่จะต้องทำอย่างไรให้ตอบโจทย์ แล้วคนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นสิ่งที่ท้าทาย และแน่นอนว่ามักจะขาดทุน ในเมื่อจะขาดทุน จึงต้องทำอะไรที่เป็นการเชิญชวน นอกเหนือจากการออกแบบระบบใหด้ดีแล้ว เช่น ราคาประหยัด หรือบางเมือง เช่น ภูเก็ตทำอยู่คือให้บริการฟรีหรืออย่างเมืองที่ใกล้เคียงกับบ้านเราคือ ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ที่เปิดให้บริการฟรี แล้วก็ใช้รถเมล์ทางต่ำ เป็นอีวี ซึ่งผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือหญิงมีครรภ์สามารถใช้บริการได้สะดวก ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
“กลยุทธต่าง ๆ เหล่านี้เป็นบทบาทหน้าที่ที่เราต้องทำ”

สำหรับการพัฒนาในเมื่อมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องทำอย่างไรที่จะต้องเก็บค่าโดยสารให้ประหยัดหรือฟรี ก็ต้องสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้วย ซึ่งก็แปลว่าถ้ารัฐไม่อุดหนุน หรือไม่ได้ร่วมทุน ก็ต้องหาวิธีการสร้างรายได้ขึ้นมาให้ได้

ถ้าเราดูตัวอย่างที่เขาทำกันทั่วไป เช่น สถานีทั้งหลาย ที่พัฒนาเป็น TOD (Transit Oriented Development) คือ การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชนเล็ก ที่มีลักษณะเป็นย่านการค้าเล็ก ๆ มีร้านค้าให้เช่าเหมือนที่กรุงเทพฯหรือตัวอย่างของจีนที่ทำระบบการเดินทางโดยรถไฟ มีการขอสัมปทานตามแนวเขตทาง ทำให้เกิดรายได้มาหล่อเลี้ยงในการเดินทาง เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถจ่ายเงินได้อย่างประหยัด ก็เห็นว่าโดยภาพรวมบทบาทหน้าที่ของระบบขนส่งมวลชนมีหลายมิติมาก

“นี่เป็นความฝัน แต่ถ้าไม่เขียนไว้ ไม่ได้ เพราะว่าเราอาจจะทำแค่ซิตี้บัส แล้วก็จบ ผมจะแทรกเรื่องพวกนี้เข้าไป เพราะฉะนั้น บทบาทของคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่ ที่ใส่เข้าไปมาจากหลากหลายกลุ่มมาก”
เนื่องจากต้องทำงานในเชิงบูรณาการกัน และแน่นอนกลุ่มรถประจำทาง ที่เป็นสาธาณะและกึ่งสาธารณะเดิมที่อยู่แล้วก็จะให้เข้ามาทำงานตรงนี้

ด้วยเหตุผลคือว่า เขามีอาชีพเดิมอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่เขาจะต่อยอดอาชีพเดิมให้สามารถทำงานได้ เขาควรจะมาร่วมคิดตรงนี้ด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ใครก็ไม่รู้ที่ไม่เข้าใจเขา แล้วมาคิดแทนเขา
เพราะ ฉะนั้น สิ่งที่คาดหวังคือ เราอยากได้การมีส่วนร่วมจากทุกกลุ่ม หรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการเดิมที่ทำอยู่แล้ว ฉะนั้น พวกที่เขาได้สัมปทานเดิมก็จะเข้ามาเป็นคณะทำงานฯชุดนี้ด้วย
“ก็คาดหวังค่อนข้างเยอะ” นายสิทธิศักดิ์ กล่าว


Governor Establishes Working Group to Advance Hat Yai Mass Transit System
Songkhla_Focus, June 3, 2024

Songkhla's provincial transport department announced that Governor Somnuek Promkhieo signed an order on May 17, 2024, to establish a working group dedicated to developing a mass transit system for Hat Yai. The 53-member group will soon meet with the Songkhla Provincial Chamber of Commerce, the Hat Yai Economic Council, and relevant private sector stakeholders to gather input and finalize a plan.

Anuthep Kesa, the provincial transport officer, stated that the initial meetings aim to streamline discussions and ensure clear guidelines, plans, and actions for the working group. This collaborative effort will involve exploring various routes and considering the needs of local businesses. The working group will work in tandem with the Provincial Land Transport Control Committee to address legal aspects, while also contributing ideas to the overall development process.

Sittisak Tanmongkol, secretary-general of the Hat Yai Economic Council, emphasized that the working group's responsibilities encompass a broad range of tasks. He stressed the importance of collaboration between the public and private sectors in designing a system that effectively meets the needs of residents. The ultimate goal is to create a seamless and integrated transportation network that connects homes with destinations such as schools and workplaces. This might involve a combination of public transportation, walking paths, and supplementary services like tuk-tuks or motorbike taxis.

Mr. Tanmongkol acknowledged the challenge of encouraging individuals to switch from personal vehicles to public transportation. He highlighted the importance of incentives, such as affordable fares or even free services, as well as strategies to make public transport accessible to all, including the elderly, disabled, and pregnant women. He also emphasized the need for sustainable funding models, such as transit-oriented development (TOD), where areas around stations are developed to generate income to support the system.

The working group envisions a comprehensive mass transit system that goes beyond simple city buses. It aims to incorporate existing public and semi-public bus services while inviting input from various stakeholders, including current transportation providers. The goal is to foster widespread participation and ensure that the final system caters to the needs of the entire community.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 41, 42, 43
Page 43 of 43

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©