RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311846
ทั่วไป:13543353
ทั้งหมด:13855199
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 257, 258, 259 ... 282, 283, 284  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46659
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/12/2022 9:41 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวงบปี 67 กว่า 4 หมื่นล้านลงทุน 2 หมื่น
6 ธ.ค. 2565 08:36 น.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม.ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นประธาน วันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณประจำปี 2567 วงเงินรวมทั้งสิ้น 49,628.34 ล้านบาท แบ่งเป็นงบทำการ จำนวน 28,589 ล้านบาท งบลงทุน 21,038 ล้านบาท ขั้นตอนต่อไป รฟม.จะเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อจัดส่งรายละเอียดไปยังสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เพื่อจัดทำกรอบงบประมาณประจำปี 2567 สำหรับงบลงทุนโครงการสำคัญที่ดำเนินการในปี 2567 ได้แก่ การก่อสร้างงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 23.6 กม. ประมาณ 16,719 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทางประมาณ 22.57 กม. จ่ายค่าก่อสร้างงานโยธาประมาณ 1,307.79 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2566 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯตั้งกรอบไว้ประมาณ 2,000 ล้านบาท

นายภคพงศ์กล่าวว่า นอกจากนี้จะมีงบลงทุนสำหรับจ่ายค่าเวนคืนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ค่าจ้างเดินรถและใช้คืนค่าลงทุนงานระบบบางส่วน
รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมกรณีขยายความกว้างทางเท้า 1.5 เมตร
รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ รวมถึงค่าเวนคืนและชำระคืนเงินสนับสนุนค่างานโยธาตามสัญญาร่วมลงทุน
รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และ
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง แบ่งจ่าย 10 ปี โดยปี 2566 จะเริ่มใช้คืนค่าก่อสร้างสายสีเหลืองงวดแรก ประมาณ 2,500 ล้านบาท ส่วนปี 2567 ใช้คืนค่าก่อสร้างสายสีเหลืองงวดที่ 2 อีกประมาณ 2,500 ล้านบาท และสายสีชมพู งวดแรกประมาณ 2,200 ล้านบาท นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด รฟม.เห็นชอบการปรับกรอบวงเงินลงทุนในปีงบประมาณ 2566 เพิ่มประมาณ 1,972 ล้านบาท จากกรอบที่ได้รับ 14,254 ล้านบาท รวมเป็น 16,226 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43589
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2022 4:44 pm    Post subject: Reply with quote

ศิริราชคอมเพล็กซ์ บูมฝั่งธนฯ เร่งเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดง-ส้ม
ในประเทศ
วันอาทิตย์ ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา10:19 น.


คอมเพล็กซ์หมื่นล้าน “ศิริราช” เปิดใช้แน่ภายใน 5 ปี ปูทางสร้าง “โรงพยาบาลลอยฟ้า” ครั้งแรกของประเทศ ลงทุนเชื่อม 2 รถไฟฟ้าสายสีแดง-สีส้ม ปลุกทำเลแห่งอนาคต ศูนย์กลางความเจริญการแพทย์แห่งใหม่ย่านฝั่งธนฯ บูม “สถานีธนบุรี-พรานนก” เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยชั้นดี เชื่อมโครงข่ายคมนาคมครบวงจร

“พลิกโฉมที่ดินการรถไฟฯ เพื่อการใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่า เสริมรายได้ สร้างอนาคต” เป็นนโยบายของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีธนบุรี เป็นอีกหนึ่งโครงการใหญ่ที่ทุกฝ่ายต่างให้ความสนใจ เนื่องจากปัจจุบันการใช้ประโยชน์ที่ดินยังขาดแนวทางการควบคุมที่ชัดเจน

ทั้งการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบยังไม่เป็นระเบียบ ทำให้ที่ดิน 147.92 ไร่ ตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านสถานีธนบุรีไปจนถึงบริเวณใกล้ถนนจรัญสนิทวงศ์ มีการใช้ที่ดินได้ไม่เต็มศักยภาพ ขณะที่เมืองเริ่มขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ

ช้าเพราะโควิด
รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า การพัฒนาที่ดินแปลงใหม่ผืนนี้ได้แบ่งเป็น 4 โซน ดังนี้

Zone 1 : พื้นที่ภายใต้การใช้กิจกรรมของ ร.ฟ.ท.เดิม จะเป็นการใช้ประโยชน์ประเภทพื้นที่สถานีธนบุรี, สถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดง, พื้นที่แนวรางรถไฟ และศูนย์ซ่อมบำรุง

Zone 2 : Rented Area เป็นพื้นที่ที่การรถไฟฯ ปล่อยเช่าให้กับเอกชนหรือภาครัฐในการใช้ประโยชน์ ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช, หอพักโรงพยาบาลศิริราช, ปั๊มน้ำมัน, ลานจอดรถ และตลาดศาลาน้ำเย็น

Zone 3 : New Residential and SRT Town พื้นที่โซนที่พักอาศัย รองรับกลุ่มผู้อยู่อาศัยใหม่มี 3 อาคาร คือ ที่พักอาศัยพนักงาน นักศึกษาแพทย์ พนักงาน ร.ฟ.ท. และผู้อยู่อาศัยใหม่ รวมถึงอาคารที่พักอาศัยแพทย์ และพื้นที่สีเขียว ลานกิจกรรมของชุมชน


Zone 4 : Thonburi Railway New Commercial พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นตลาด รองรับกิจกรรมของกลุ่มผู้อยู่อาศัยใหม่ และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่เดิม

แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบ ทำให้แผนพัฒนาที่ดินดังกล่าวล่าช้า แต่ ร.ฟ.ท.ยืนยันว่า การทำงานภายในยังคงดำเนินต่อเนื่อง เพราะเป็นโปรเจ็กต์สำคัญ แต่เกี่ยวโยงกับภาครัฐและเอกชนหลายส่วน จึงต้องใช้เวลา

มั่นใจ 5 ปีเกิดแน่
ล่าสุด ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า พื้นที่ศิริราชมีทั้งหมด 70 ไร่ ขณะนี้ได้ใช้ประโยชน์เต็มทุกพื้นที่แล้ว


ในอนาคตอันใกล้ที่ดินย่านนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมีการพัฒนาพื้นที่ของศิริราชบางส่วน ที่ต่อเชื่อมกับที่ดินการรถไฟฯ บริเวณด้านสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และพื้นที่จอดรถอีก 5 ไร่ จะกลายเป็นสถานีรถไฟศิริราช ซึ่งจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนที่มาจากพุทธมณฑล-ตลิ่งชัน และสายสีส้มที่มาจากศูนย์วัฒนธรรม ลอดอุโมงค์แม่น้ำเจ้าพระยาข้ามมาย่านฝั่งธนบุรี

ซึ่งเมื่อเดือนตุลาคม 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ศิริราชก่อสร้าง โดยอนุมัติวงเงิน 3,800 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารใหม่ ภาพอนาคต เราจะมีโรงพยาบาลอยู่ในคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ จะทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นมากทุกคนไม่ต้องขับรถมา โดยเฉพาะคนที่ช่วยเหลือตัวเองได้อย่างกลุ่มคนรุ่นใหม่จะสามารถโดยสารรถไฟฟ้าเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในทุกด้าน

“คาดว่าอาคารใหม่น่าจะเสร็จในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเป็นอาคารที่มีทั้งศูนย์การตรวจสุขภาพ ฟื้นฟูสมรรถภาพ ศูนย์ผ่าตัดย่อย และไอซียู ถือเป็นโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ที่ตัวอาคารจะตั้งอยู่บนอาคารสถานีรถไฟ ซึ่งเป็นที่แรกในประเทศไทย” ศ.นพ.อภิชาติกล่าวและว่า

ด้านการลงทุน ครม.จะสนับสนุนงบประมาณ 67% จาก 3,800 ล้านบาท อีก 33% ศิริราชจะเป็นผู้จัดหาเงินลงทุนมาดำเนินการร่วมกัน ซึ่งแต่ละปีศิริราชจะลงทุนโดยเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท เพราะเราต้องบริหารตัวเองในแง่ของบริการสาธารณะ ควบคู่กับการเป็น BU หนึ่ง

ตามหลักการลงทุนตอนนี้ ศิริราชได้ออกนอกระบบแล้ว แต่ยังอยู่ภายใต้กำกับของรัฐบาล ซึ่งเคยเป็นหน่วยงานราชการ โดยมีพระราชบัญญัติเป็นของตัวเอง เนื่องจากเป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีพระราชบัญญัติแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

“การทำงานโครงการต่าง ๆ ศิริราชจะล้อไปกับภาครัฐ และต้องผ่านกระบวนตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจคุณภาพต่าง ๆ แต่มีการเปิดช่องว่างให้เราสามารถบริหารภายในได้อย่างคล่องตัว เงินทุกบาททุกสตางค์ของที่นี่ก็คือเงินของประชาชนที่เราต้องดูแลให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด”

เปิดแผนแม่บท
โครงการดังกล่าวออกแบบเสร็จแล้ว โดยได้รับอนุมัติจากสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้มีการปรับใช้ประโยชน์ที่ดินจากปัจจุบันเป็นสีน้ำตาล (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) มีข้อจำกัดสร้างอาคารได้ไม่เกิน 5 ชั้น เป็นพื้นที่สีน้ำเงิน (ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ) เพื่อพัฒนาอาคารสูงได้ ตามแผนจะต้องก่อสร้างอาคารให้เสร็จในปี 2567 แต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 เสียก่อน

ส่วนสายสีแดงจะเปิดให้บริการปี 2566 สายสีส้มเปิดในปี 2569 อีกทั้งมีแผนจะปรับปรุงอาคารผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นศูนย์การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินของประเทศไทยอีก 4,000-5,000 ล้านบาท สร้างอาคารกุมารแพทย์ใหม่ 1,000 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติโครงการอาคารรักษาพยาบาล และสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล งบประมาณรวม 3,851.27 ล้านบาท แบ่งเป็น งบฯลงทุนค่าก่อสร้าง 2,338.27 ล้านบาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 1,400 ล้านบาท และงบฯบุคลากร (หมวดเงินเดือน) 113.01 ล้านบาท

โดยขออนุมัติงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566-2569 จำนวน 2,552.50 ล้านบาท และเงินสมทบจากเงินนอกงบประมาณ จำนวน 1,298.77 ล้านบาท ในลักษณะเป็นเงินอุดหนุน

โครงการนี้เกิดขึ้นโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร.ฟ.ท. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช เพื่อให้เป็นสถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศไทย

โดยพัฒนาจุดเชื่อมโยงการเดินทางโดยรถไฟฟ้าบริเวณโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 2 สถานี คือ สถานีศิริราช รถไฟฟ้าสายสีส้มของ รฟม. และสถานีธนบุรี-ศิริราช รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนของ ร.ฟ.ท. และเพิ่มประโยชน์การใช้งานนอกเหนือจากสถานีรถไฟฟ้าด้วยการบริการรักษาพยาบาล เช่น งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการผู้ป่วยใน งานบริการตรวจผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องพักค้าง เป็นต้น

เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาการเดินทางและลดความแออัดของผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลศิริราช ด้วยการเป็น One Stop Service และ Best Integrated Care

โครงการนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ ร.ฟ.ท. ซึ่งต่อเนื่องกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี-ศิริราช ช่วงเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน เลียบคลองบางกอกน้อย โดยเป็นการเช่าที่ดินของ ร.ฟ.ท. บนพื้นที่ 4.67 ไร่ (7,456 ตารางเมตร) ระยะเวลาเช่า 30 ปี

ลักษณะของโครงการ เป็นการก่อสร้างอาคารสูง 15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น รวมความสูงของอาคารเท่ากับ 81 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 51,853 ตารางเมตร แบ่งเป็น 1.พื้นที่โรงพยาบาล 47,537 ตารางเมตร 2.พื้นที่รถไฟสายสีแดงอ่อน 3,410 ตารางเมตร และ 3.พื้นที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม 906 ตารางเมตร พร้อมพื้นที่จอดรถ 79 คัน ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 32 เดือน รวมระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43589
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2022 11:35 am    Post subject: Reply with quote

เปิดไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้า พ.ย. 65 “สีส้ม” โยธาเสร็จแล้ว 3 สัญญา “ชมพู-เหลือง” เปิดบริการปี 66
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:03 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:03 น.

รฟม.กางแผนงานก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายคืบหน้าทะลุ 95%
วันพฤหัสบดี ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 15:58 น.

รฟม.เปิดแผนงานก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีส้ม ฝั่งตะวันออก คืบ 98.48% สีชมพู คืบ 94% สีเหลือง คืบ 97% เปิดแน่ปี 66 ส่วนสีม่วงใต้คืบ 4.3% ลุยสำรวจโบราณคดีและสาธารณูปโภค

รฟม.เปิดไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้า สิ้น พ.ย. 65 “สีส้มตะวันออก” คืบหน้า 98.48% มี 6 สัญญา เสร็จ 100% แล้ว 3 สัญญา สีชมพู 94% สีเหลือง 97% เปิดแน่ปี 66 ส่วนสีม่วงใต้ 4.3% ลุยสำรวจโบราณคดีและสาธารณูปโภค

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2565 จำนวน 5 โครงการ ได้แก่



1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทางประมาณ 22.57 กม. มีความก้าวหน้างานโยธา 98.48%

โดยสัญญา 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12 มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงาน 100%

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงาน 100%

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงาน 100%

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับช่วงคลองบ้านม้า-สุวินทวงศ์ มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 91.83%

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร มี CKST Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ผลงาน 100%

สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้รับจ้าง ผลงานคืบหน้า 89.54%



2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด เป็นผู้รับสัญญาสัมปทาน ความก้าวหน้างานโยธา 97.73% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 97.72% คิดเป็นความก้าวหน้าโดยรวม 97.73%

3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด เป็นผู้รับสัญญาสัมปทานร่วมลงทุน มีความก้าวหน้างานโยธา 93.85% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 94.12% คิดเป็นความก้าวหน้าโดยรวม 94.00%

4. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี มีความก้าวหน้างานโยธา 10.77% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 4.05% ความก้าวหน้าโดยรวม 8.52%



5. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร ความก้าวหน้างานโยธารวม 4.30% ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจโบราณคดีและสาธารณูปโภค

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มี 6 สัญญา ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ระยะทางประมาณ 4.8 กิโลเมตร มี CKST-PL JOINT VENTURE
เป็นผู้รับจ้าง วงเงิน 19,430 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 3.77%

X

สัญญาที่ 2 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้าฯ ระยะทางประมาณ 2.4 กิโลเมตร มี CKST-PL JOINT VENTURE เป็นผู้รับจ้าง วงเงิน 15,878 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 4.01%

สัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้าฯ-สะพานพุทธ ระยะทางประมาณ 3.1 กิโลเมตร มี ITD-NWR MRT JOINT VENTURE เป็นผู้รับจ้าง วงเงิน 15,109 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 7.00%

สัญญาที่ 4 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง ระยะทางประมาณ 4.1 กิโลเมตร มี บมจ.ยูนิค เป็นผู้รับจ้าง วงเงิน 14,982 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 4.57%

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงดาวคะนอง-ครุใน อาคารจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard) และอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) ระยะทางประมาณ 9.0 กิโลเมตร มี บมจ. อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้าง วงเงิน 13,094.8 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 1.82%

สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนวเส้นทางโครงการ มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้รับจ้าง วงเงิน 3,589 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 5.02%

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/695632142014023



📢Progress of Pink line Monorail on 30 November 2022⚙🚝🥳

1. Pink Line Monorail: Kae Rai - Minburi 🏗

⚙Civil Works : 93.85% done 🚧

🚝Electro-Mechanic and Rolling stock : 94.12% done

Overall progress is 94.00% done



2. Pink Line Monorail Sri Rat - Mueangthong Thani 🏗

⚙Civil Works : 10.77% done 🚧

🚝Electro-Mechanic and Rolling stock : 4.05% done

Overall progress is 8.52% done

https://www.facebook.com/CRSTECONPINKLINE/posts/519556530198079



📢 🚧🚆 Progress of Yellow line Monorail on 30 November 2022 ⚙️🚝🥳

Overall: 97.73% done

⚙Civil Works 97.73% done

🚝Electro-Mechanic and Rolling stock 97.72% done

https://www.facebook.com/CRSTECONYL/posts/518580940302502



Purple Line MRT from Tao Poon to Krunai on 30 November 2022 :



Overall Civil Works is 4.30 % done



Contract 1: Tunnels and subway stations Tao Poon - National Library by CKST Joint Venture + PL - 3.77% done



Contract 2: Tunnels and subway stations National Library - Phan Fah by CKST Joint Venture + PL - 4.01% done



Contract 3: Tunnels and subway stations Phan Fah - Memorial Bridge near Ban Khaek intersection by Italian Thai Development PCL - NWUR MRT - 7.00% done



Contract 4: Tunnels and subway stations Memorial Bridge near Ban Khaek intersection - Dao Khanong by Unique Engineering and Construction PCL - 4.57% done



Contract 5: Elevated tracks and Elevated stations Dao Khanong - Krunai along with Maintenance Center along with Park and Ride by Italian Thai Development PCL - 1.82% done



Contract 6: Platelaying by Italian Thai Development PCL 5.02% done



🟣 Heavy Rail Transit total distance of 23.6 km with 17 stations including 13.6 km subways with 10 subway stations 🚇 and 10 km elevated track with 7 stations 🚆 - the main focus is the survey for archeological sites within Rattaakosin Island along with infrastructure and public utilities.



🟣 4 Park & Ride buildings on both sides of Bang Pakok and Rat Boorana

https://www.facebook.com/MRTPurplelinesouth/posts/144627995020386



Orange Line MRT from Thailand Cultural Center to Suwinthawongse on 30 November 2022 :



Overall Civil Works is 98.48 % done



Contract 1: Tunnels and subway stations Thailand Cultural center - Ram Khamhaeng 12 by CKST Joint Venture - 100% done - Finished



Contract 2: Tunnels and subway stations Ram Khamhaeng 12 - Ram Khamhaeng 34 by CKST Joint Venture - 100 % done - Finished



Contract 3: Tunnels and subway stations Ram Khamhaeng 34 - Klong Ban Mah by Italian Thai Development PCL - 100 % done - Finished



Contract 4: Elevated tracks and Elevated stations Klong Ban Mah - Suwinthawongse by Unique Engineering and Construction PCL - 91.83% done



Contract 5 : Maintenance Center along with Park and Ride by CKST Joint Venture - 100 % done Finished



Contract 6: Platelaying by Unique Engineering and Construction PCL - 89.54% done

https://www.facebook.com/MRTOrangeLineEast/posts/477685051153667
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43589
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2022 1:05 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าพาเหรดขึ้นราคา จับตาค่าเดินทางคนกรุง รับปีใหม่ 2566
ข่าวรอบวัน
วันศุกร์ ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:19 น.



ต้อนรับปีใหม่คนกรุง รถไฟฟ้าพาเหรดขึ้นราคา สายสีแดง-แอร์พอร์ตลิงก์ ยันตรึงราคา อธิบดีกรมรางชี้ตั๋วเดือนช่วยลดค่าครองชีพ

BTS เตรียมขึ้นราคาส่วนสัมปทาน 1 ม.ค. 65
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 บริษัทจะปรับราคาค่าโดยสารที่เรียกเก็บสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสในเส้นทางสัมปทานระยะทาง 23.5 กิโลเมตร 24 สถานี



ได้แก่ สายสุขุมวิท สถานีหมอชิต-สถานีอ่อนนุช และสายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สถานีสะพานตากสิน รวมถึงส่วนต่อขยายสายสีลม สถานีกรุงธนบุรี และสถานีวงเวียนใหญ่ จากราคา 16-44 บาท ปรับเป็น 17-47 บาท

ทั้งนี้ การปรับราคา ค่าโดยสารใหม่นั้น ยังต่ำกว่าเพดานอัตราค่าโดยสารสูงสุดตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งอยู่ในอัตรา 21.52-64.53 บาท

นายสุรพงษ์กล่าวว่า บริษัทได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสมาตั้งแต่ปี 2542 เป็นเวลา 23 ปี มีการปรับราคาเพียง 3 ครั้งเท่านั้น


โดยการปรับราคาครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ปรับจาก 15-42 บาท เป็น 16-44 บาท จนถึงปัจจุบัน ซึ่งผ่านมากว่า 5 ปีแล้ว ที่บริษัทยังไม่ได้มีการปรับราคาค่าโดยสารพื้นฐานที่เรียกเก็บโดยสัญญาสัมปทานกำหนดให้บริษัทสามารถปรับค่าโดยสารที่เรียกเก็บได้ทุก ๆ 18 เดือน โดยไม่เกินเพดานอัตราค่าโดยสารสูงสุด

แต่เนื่องจากบริษัทได้คำนึงถึงผลกระทบของประชาชนจึงได้มีการชะลอการปรับอัตราค่าโดยสารอย่างต่อเนื่อง อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ ผลกระทบจากสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ราคาต้นทุนสินค้า โดยเฉพาะด้านพลังงาน อัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ที่สูงขึ้น อัตราค่าจ้างแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้น


อีกทั้งบริษัทยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านต่าง ๆ เช่น ค่าซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ที่มีจำนวนรถไฟฟ้าให้บริการสูงสุดถึง 98 ขบวน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ทางบริษัทได้พยายามตรึงราคาค่าโดยสารมาโดยตลอด


กทม.อ้อน BTS ยื้อขึ้นค่าโดยสาร
นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) แจ้งขอปรับขึ้นค่าโดยสาร ว่า กรุงเทพมหานครได้พิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบันนี้แล้วเห็นว่า การปรับขึ้นค่าโดยสารดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อประชาชน และเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนในการเดินทางเป็นอย่างมาก


ประกอบกับบริษัทยังมีรายได้ทางอื่น ซึ่งนอกเหนือจากรายได้จากค่าโดยสารเพื่อมาชดเชย อาทิ รายได้จากการประกอบพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณชั้นจำหน่ายตั๋ว รายได้จากการโฆษณา รายได้จากการอนุญาตให้เอกชนก่อสร้างทางยกระดับ เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีและอาคารบุคคลภายนอก

ซึ่งรายได้ดังกล่าวสามารถนำมาช่วยสนับสนุนรายจ่ายจากการดำเนินงานของบริษัทได้ ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือขอความร่วมมือให้บริษัททบทวนและชะลอการปรับ “ค่าโดยสารที่เรียกเก็บ” ออกไปก่อน

กทม.เคยขอเลื่อนขึ้นค่าโดยสารแล้ว 1 ครั้ง
นายวิศณุกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า บริษัท BTSC ได้เคยมีหนังสือแจ้งกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 เพื่อขอปรับขึ้นค่าโดยสารจาก 16-44 บาท เป็น 17-47 บาท ซึ่งการขอปรับค่าโดยสารดังกล่าวไม่เกินเพดานอัตราค่าโดยสารขั้นสูงสุด

แต่กรุงเทพมหานครในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ขอให้บริษัทชะลอการปรับค่าโดยสารออกไปก่อน โดยขอให้บริษัทคำนึงถึงความเดือดร้อนและภาระของประชาชนโดยรวม และขอให้ชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอปรับ “ค่าโดยสารที่เรียกเก็บ”

ต่อมาบริษัทได้มีหนังสือแจ้งกรุงเทพมหานครอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2565 ชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นว่าบริษัทมีรายจ่ายจากการดำเนินโครงการที่เพิ่มสูงขึ้นและได้หารือกับผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (กองทุน)

และมีความเห็นตรงกันว่า เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน บริษัทจึงยินดีที่จะชะลอการปรับ “ค่าโดยสารที่เรียกเก็บ” ไปจนถึงสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 และจะบังคับใช้อัตรา “ค่าโดยสารที่เรียกเก็บ” ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ซึ่งค่าโดยสารใหม่ที่จะเรียกเก็บนั้นอยู่ในอัตรา 17-47 บาท ซึ่งไม่เกินเพดานอัตราค่าโดยสารขั้นสูงสุดที่อาจเรียกเก็บได้ตามสัญญาสัมปทาน

สายสีเขียวส่วนต่อขยายไม่มีการเพิ่มราคา
นายต่อศักดิ์ โชติมงคล ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเปิดเผยว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ซึ่งปัจจุบัน กทม.จัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการจัดเก็บ จะยังไม่มีการขึ้นค่าโดยสารในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน และขอยืนยันว่า กทม.ได้ทำทุกขั้นตอนตามกรอบแห่งกฎหมายและสัญญาในการลดผลกระทบจากปัญหาค่าครองชีพของประชาชน

สายสีทองประกาศขึ้นค่าโดยสารเป็น 16 บาทตลอดสาย
นายประแสง มงคลศิริ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เปิดเผยว่า บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้บริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองระยะที่ 1 (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน) แจ้งปรับอัตราค่าโดยสารจากราคา 15 บาทตลอดสาย เป็น 16 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารโครงการ จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาที่กำหนด โดยจะปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารทุก ๆ 3 ปี

ในส่วนของอัตราค่าโดยสารลดหย่อนยังเป็นอัตราเดิม 8 บาทตลอดสาย สำหรับผู้สูงอายุสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผู้โดยสารทหารผ่านศึกตามกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยยกเว้นค่าโดยสารสำหรับเด็กที่มีความสูงไม่เกิน 90 เซนติเมตร และคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ด้านนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมาบริษัท กรุงเทพธนาคม หรือเคที ทำหนังสือถึง กทม.เรื่องขอปรับอัตราค่าโดยสารขึ้น เป็น 16 บาทตลอดสาย เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2566 ซึ่งตรงกับการปรับอัตราขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ดังนั้นจะเรียกคณะกรรมการเคทีมาประชุม เพื่อขอให้ทบทวนการปรับอัตราค่าโดยสารอีกครั้ง เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน



สายสีน้ำเงินยื้อไม่ไหวหลังผ่อนผัน 6 เดือน
แหล่งข่าวจากบริษัท รถไฟฟ้าและทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในวันที่ 1 มกราคมนี้ ทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะมีการปรับอัตราค่าโดยสาร ซึ่งจากเดิมตามสัญญาสัมปทานทางบริษัทสามารถปรับค่าโดยสารได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่จากการหารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมจึงทำให้มีการขยายเวลาในการปรับอัตราค่าโดยสาร

แต่อย่างไรก็ดี ทางบริษัท รถไฟฟ้าและทางด่วน จำกัด (มหาชน) ยังมี PL Adult Pass หรือตั๋วเดือนให้บริการโดยมีหลายประเภท โดยค่าโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยวเริ่มต้นที่ 20 บาทต่อเที่ยว

ทั้งนี้ จากปัจจุบันอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 17-42 บาท เป็น 17-43 บาท โดยเพิ่มขึ้น 1 บาท สำหรับการเดินทางสถานีที่ 6 9 11 และ 12

รถไฟฟ้าสายสีม่วง
สายสีม่วงขยับราคา
แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รฟม. กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ปัจจุบันมีการจัดเก็บค่าโดยสารในอัตรา 17-42 บาทนั้น จะมีปรับอัตราจัดเก็บค่าโดยสารเป็น 17-43 บาทเช่นเดียวในวันที่ 1 มกราคม 2565

แต่อย่างไรก็ดีจะยังมีตั๋วโดยสารประเภทตั๋วเดือนให้บริการอยู่เช่นเดิม อีกทั้งจะมีตั๋วเดือนซึ่งสามารถใช้เชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ รฟม.ด้วย

รถไฟฟ้าสายสีแดง – แอร์พอร์ตลิงก์ ยันไม่ปรับราคา
นายวศิน วรรณพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจองค์กร บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยประชาชาติธุรกิจว่า ปัจจุบันทางบริษัทยังไม่มีการพิจารณาปรับขึ้นค่าโดยสาร เนื่องจากกังวลถึงผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นของประชาชน โดยยืนยันว่าจะตรึงค่าโดยสารในช่วงราคาเดิมคือ 12-42 บาท

อีกทั้งสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองยังมีบัตรโดยสารประเภทรายเดือนหรือที่เรียกว่าตั๋วเดือนให้บริการ โดยเป็นตั๋วประเภท 30 วัน 30 เที่ยวในราคา 750 บาท ซึ่งจะสามารถช่วยให้การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเฉลี่ยเหลือเพียง 25 บาทต่อเที่ยว

สำหรับการให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์นั้นปัจจุบันยังไม่มีการปรับราคา เนื่องจากทางผู้รับสัมปทานรายใหม่ยังไม่ได้ชำระค่างานโยธาจึงทำให้ทางบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด สามารถคุมค่าโดยสารได้

อธิบดีกรมรางบี้ให้มีตั๋วเดือนลดค่าครองชีพ
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผย “ประขาชาติธุรกิจ” ว่า ในเรื่องอัตราค่าโดยสารนั้น ปัจจุบันการปรับค่าโดยสารเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งไม่มีหน่วยงานของรัฐใดสามารถเข้าไปแทรกแซงได้ อย่างไรก็ดีการปรับค่าโดยสารควรพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจ และปัญหาค่าครองชีพของประชาชนด้วย

ในเบื้องต้นอยากเรียกร้องไปยังผู้ประกอบการให้มีการพิจารณาจัดให้มีตั๋วโดยสารราย 30 วัน หรือที่เรียกติดปากกันว่าตั๋วเดือน โดยให้มีค่าโดยสารเฉลี่ยต่ำกว่าค่าโดยสารในอัตราปกติ เนื่องจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากค่าโดยสารที่สูงขึ้น คือผู้ที่มีการใช้รถไฟฟ้าเป็นประจำในทุกวัน หากมีการพิจารณาให้มีตั๋วเดือนจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องค่าครองชีพได้

สำหรับในระยะยาวนั้นพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง คือคำตอบในการควบคุมเพดานค่าโดยสาร จากเดิมที่ใช้การควบคุมโดยสัญญาสัมปทาน หากพระราชบัญญัติฉบับนี้ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วจะมีการควบคุมกฎหมายฉบับนี้อีกทางหนึ่ง

และข้อดีอีกทางหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้ คือการจัดการกับปัญหาค่าแรกเข้าที่ซ้ำซ้อนระหว่างรถไฟฟ้า ซึ่งจะสามารถช่วยลดปัญหาค่าครองชีพ และกระตุ้นให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43589
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2022 3:35 pm    Post subject: Reply with quote

เลื่อนเปิดบริการ สายสีเหลือง-สายสีชมพู เซ่นพิษโควิด
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10:56 น.


รถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูเลื่อนไปกลางปี 2566

19 ธ.ค.นี้ “คมนาคม” นัดประชุมเตรียมพร้อมรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-สายสีชมพู เล็งปรับดัชนีผู้บริโภค คาดเก็บค่าโดยสาร 15-45 บาท เตรียมชงบอร์ดรฟท.เคาะเก็บค่าแรกเข้าเชื่อมสายสีแดง ฟากบีทีเอสเผยแผนก่อสร้างล่าช้า เหตุโควิด-19 พ่นพิษ กระทบแรงงานก่อสร้างขาดแคลน

ภาครัฐพยายามเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีชมพู ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนสะดวกมากขึ้น ที่ผ่านมาการก่อสร้างติดปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง ส่งผลให้การเปิดให้บริการล่าช้าออกไป



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง เบื้องต้นจะมีการประชุมคณะกรรมการ เตรียมการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูภายในวันที่ 19 ธันวาคม 2565 โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน



ทั้งนี้ปัจจุบันการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (กม.) ความก้าวหน้างานโยธา 93.85% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 94.12% ความก้าวหน้าโดยรวม 94.00% เบื้องต้นมีแผนจะเปิดทดลองให้บริการ สำหรับเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการที่ขอเข้ารับการทดลอง (Control Group Public Trial Run) ตั้งแต่สถานีมีนบุรี-สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 ระยะเวลา 1 เดือนและเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในเดือนสิงหาคม 2566



ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร (กม.) ความก้าวหน้างานโยธา 97.73% ความก้าวหน้างานระบบรถไฟฟ้า 97.72% ความก้าวหน้าโดยรวม 97.73% จะเปิดให้ทดลองให้บริการ สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการที่ขอเข้ารับการทดลอง(Control Group Public Trial Run) ตลอดทั้งสาย ภายในเดือนพฤษภาคม 2566 ระยะเวลา 1 เดือน และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ภายในเดือนมิถุนายน 2566


รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ส่วนอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพู ตามสัญญาร่วมลงทุนฯ ปี 2559 เริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 42 บาท โดยจะมีการปรับตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม (Non-Food & Beverages) ของกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งจะประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์



ทั้งนี้อัตราค่าโดยสารดังกล่าว อาจปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของ CPI ซึ่งก่อนเปิดให้บริการจะมีการปรับอัตราค่าโดยสารโดยใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค 3 เดือน ก่อนวันที่เริ่มให้บริการที่ก่อให้เกิดรายได้ในการปรับอัตราดังกล่าวโดยเมื่อใช้ CPI ปัจจุบันที่ประกาศ คาดว่าจะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะปรับใช้อัตราค่าโดยสารตาม CPI ในเดือนมีนาคม 2566 ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะปรับใช้อัตราค่าโดยสารตาม CPI ในเดือนพฤษภาคม 2566

เลื่อนเปิดบริการ สายสีเหลือง-สายสีชมพู เซ่นพิษโควิด

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ค่าแรกเข้าของโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย จะใช้ค่าโดยสารพื้นฐานอ้างอิงในอัตราเริ่มต้นเป็นค่าแรกเข้าระบบ หากผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟฟ้าสายอื่นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยระบบที่ผู้โดยสารขึ้นก่อนเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า



“กรณีที่ผู้ใช้บริการมีการเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งเป็นโครงข่ายรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มาเชื่อมต่อที่รถไฟฟ้าสายสีชมพู จะถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 14 บาท เพียงครั้งเดียวให้กับผู้ที่ได้รับสัมปทานเดินรถของสายสีม่วง หากมีการเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง จะถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 15 บาทให้กับผู้รับสัมปทานเดินรถของสายสีชมพู”



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ขณะที่การเก็บค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ปัจจุบันยังติดปัญหาการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง มีเจ้าของโครงการคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งไม่ใช่รถไฟฟ้าที่อยู่ในโครงข่ายของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เบื้องต้นจะมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.พิจารณาเห็นชอบการเก็บค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าสายดังกล่าวที่เชื่อมต่อระหว่างกันเพียงครั้งเดียว ภายในเร็วๆนี้



นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีความล่าช้ากว่าแผนหลายปี เนื่องจากติดปัญจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การเข้าพื้นที่ของแรงงานก่อสร้างล่าช้า



“ปัจจุบันบริษัทยังไม่มีแผนเปิดทดลองให้ประชาชนนั่งฟรี ระยะเวลา 3 เดือน เพราะอย่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินไม่ได้มีการเปิดให้ทดลองนั่งฟรีเหมือนกัน แต่จะมีการเปิดทดลองเดินรถเสมือนจริง (Trial run) เบื้องต้นบริษัทต้องดูความพร้อมการก่อสร้างในโครงการฯก่อนว่าสามารถเปิดช่วงใดได้บ้าง”



นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ด้านการประชุมการเตรียมความพร้อมทั้ง 2 โครงการฯในวันที่ 19 ธันวาคมนี้ ตามปกติบริษัทจะมีการเข้าร่วมประชุมด้วย เบื้องต้นคาดว่าในที่ประชุมจะให้บริษัทอัพเดทความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ส่วนอัตราค่าโดยสารจะต้องรอรฟม.พิจารณาจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ก่อนถึงวันที่เปิดให้บริการประมาณ 3 เดือน ตามสัญญาร่วมลงทุน โดยค่าแรกเข้าทั้ง 2 สาย อยู่ที่ 15-16 บาท ขึ้นอยู่กับการประเมินจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ด้วย ส่วนการเก็บค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆที่ไม่ใช่ของรฟม.คาดว่าทางรฟม.จะมีการนัดหารือร่วมกันอีกครั้งเพื่อลดปัญหาการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน

https://www.youtube.com/watch?v=csWz1ilxzvs


เปิดจุดเชื่อมต่อ “สายสีชมพู-สายสีเหลือง” จ่ายค่าแรกเข้า-ค่าโดยสาร เท่าไร
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:19 น.

“คมนาคม” เปิดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีชมพู-สายสีเหลือง เริ่ม 15-45 บาท หลังปรับตามดัชนีราคาผู้บริโภค เผยเปลี่ยนเส้นทาง-เชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย จ่ายค่าแรกเข้าเท่าไร ที่นี่มีคำตอบ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า สำหรับอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรงและโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ตามสัญญาร่วมลงทุนฯ ปี 2559 เริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 42 บาท โดยจะมีการปรับตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม (Non-Food & Beverages) ของกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งจะประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์



ทั้งนี้อัตราค่าโดยสารดังกล่าว อาจปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของ CPI ซึ่งก่อนเปิดให้บริการจะมีการปรับอัตราค่าโดยสารโดยใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค 3 เดือน ก่อนวันที่เริ่มให้บริการที่ก่อให้เกิดรายได้ในการปรับอัตราดังกล่าวโดยเมื่อใช้ CPI ปัจจุบันที่ประกาศ คาดว่าจะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จะปรับใช้อัตราค่าโดยสารตาม CPI ในเดือนมีนาคม 2566 ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะปรับใช้อัตราค่าโดยสารตาม CPI ในเดือนพฤษภาคม 2566



ขณะที่ค่าแรกเข้าของโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย จะใช้ค่าโดยสารพื้นฐานอ้างอิงในอัตราเริ่มต้นเป็นค่าแรกเข้าระบบ หากผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟฟ้าสายอื่นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยระบบที่ผู้โดยสารขึ้นก่อนเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า

“กรณีที่ผู้ใช้บริการมีการเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งเป็นโครงข่ายรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มาเชื่อมต่อที่รถไฟฟ้าสายสีชมพู จะถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 14 บาท เพียงครั้งเดียวให้กับผู้ที่ได้รับสัมปทานเดินรถของสายสีม่วง หากมีการเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง จะถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 15 บาทให้กับผู้รับสัมปทานเดินรถของสายสีชมพู”



รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อว่า ขณะที่การเก็บค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ปัจจุบันยังติดปัญหาการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง มีเจ้าของโครงการคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งไม่ใช่รถไฟฟ้าที่อยู่ในโครงข่ายของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เบื้องต้นจะมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.พิจารณาเห็นชอบการเก็บค่าแรกเข้ารถไฟฟ้าสายดังกล่าวที่เชื่อมต่อระหว่างกันเพียงครั้งเดียว ภายในเร็วๆนี้



สำหรับจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า-ค่าแรกเข้ามาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู


1.เดินทางจากรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง บริเวณสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 17 บาท โดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ที่ได้รับสัมปทานสายสีม่วงจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า



2.เดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีชมพู บริเวณสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 15 บาท โดยบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้ที่ได้รับสัมปทานสายสีชมพูจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า



3.เดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีแดง บริเวณสถานีหลักสี่ ถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 14 บาท ซึ่งเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ดำเนินการเดินรถโดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ในรูปแบบการจ้างเดินรถชั่วคราวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย จะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า เมื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะถูกเก็บค่าแรกเข้าอีกครั้ง จำนวน 15 บาท



4.เดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีชมพู บริเวณสถานีหลักสี่ ถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 15 บาท โดยบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้ที่ได้รับสัมปทานสายสีชมพูจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า เมื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง จะถูกเก็บค่าแรกเข้าอีกครั้ง จำนวน 14 บาท



5.เดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต บริเวณสถานวัดพระศรีมหาธาตุ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพูหรือเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะยังถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 15 บาท โดยบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้ที่ได้รับสัมปทานสายสีชมพูจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า เนื่องจากในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าของและมอบสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ภายใต้กลุ่มบีทีเอส เป็นผู้ดูแลระบบให้บริการการเดินรถทั้งหมด ปัจจุบันยังคงเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรี


จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า-ค่าแรกเข้ามาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

1.เดินทางจากรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน บริเวณสถานีลาดพร้าว ถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 17 บาท โดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ที่ได้รับสัมปทานสายสีน้ำเงินจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า



2.เดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง บริเวณสถานีลาดพร้าว ถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 15 บาท โดยบริษัท อีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้ที่ได้รับสัมปทานสายสีเหลืองจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า



3.เดินทางจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ บริเวณสถานีหัวหมาก ถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 15 บาท เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และมี บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เป็นผู้ให้บริการการเดินรถ ซึ่งเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า


4.เดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง บริเวณสถานีหัวหมาก ถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 15 บาท โดยบริษัท อีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้ที่ได้รับสัมปทานสายสีเหลืองจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า เมื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะถูกเก็บค่าแรกเข้าอีกครั้ง จำนวน 15 บาท


5.เดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สำโรง (สายสุขุมวิท) บริเวณสถานีสำโรง เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองหรือเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สำโรง (สายสุขุมวิท) จะยังถูกเก็บค่าแรกเข้า จำนวน 15 บาท โดยบริษัท อีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้ที่ได้รับสัมปทานสายสีเหลืองจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้า เนื่องจากในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าของและมอบสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ภายใต้กลุ่มบีทีเอส เป็นผู้ดูแลระบบให้บริการการเดินรถทั้งหมด ปัจจุบันยังคงเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43589
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2022 1:54 pm    Post subject: Reply with quote

เลื่อนอีกแล้วค่ะ...รถไฟฟ้าทั้ง 2 สายเปิดไม่ทันปีนี้นะคะ
.
🚄สายสีชมพู เลื่อนไปเปิดภายในส.ค. 66
🚄สายสีเหลือง เลื่อนไปเปิดภายในมิ.ย. 66
.
แจ้งข่าวมาให้ทุกคนทราบเบื้องต้นค่ะ //แอดมินเสียใจจุง เลื่อนแล้วเลื่อนอีก...
https://www.thansettakij.com/business/economy/550360

https://www.facebook.com/Homebuyersfanpage/posts/2902361389898021
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46659
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/12/2022 1:13 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องแนวโน้มธุรกิจบริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ปี 66 -68
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 24 ธ.ค. 2565 เวลา 12:26 น.

เจาะแนวโน้มธุรกิจบริการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนปี 2566 -2568 พร้อมส่องปัจจัยสนับสนุนการเติบโตมีอะไรบ้าง เช็คเลย
https://www.thansettakij.com/business/economy/551196
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46659
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/12/2022 9:07 am    Post subject: Reply with quote

'สามารถ'ชี้ประมูลระบบรางมีรอยด่าง เตือน'ประยุทธ์'จะเข้าตัวเมื่อหมดอำนาจ
โพสต์ทูเดย์ 25 ธันวาคม 2565

'สามารถ ราชพลสิทธิ์'เทียบประมูลระบบราง รัฐบาลปัจจุบันกับคสช. เสียดาย'ประยุทธ์'สร้างผลงานไว้ดีแต่มีรอยด่าง เตือนอะไรไม่ถูกต้องระวังย้อนกลับเมื่อหมดอำนาจ
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte เนื้อหาดังนี้

อย่าให้มี “รอยด่าง” ใน “ระบบราง”

การก่อสร้างทางรถไฟ และรถไฟฟ้าหลากหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟลอยฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) รถไฟฟ้าล้อยางวิ่งบนพื้นคอนกรีตที่เรียกว่า APM (Automated People Mover) และรถไฟความเร็วสูง เกิดขึ้นมากในสมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ระบบรางของไทยก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่น่าเสียดายที่มี “รอยด่าง” เกิดขึ้นช่วงที่ท่านเป็นนายกฯ ในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน

1. ระบบรางในสมัยรัฐบาล คสช.

ในสมัยรัฐบาล คสช. มีการประมูลทั้งรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้า ซึ่งการประมูลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีการเปลี่ยนข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง (Terms of Reference หรือ TOR) กลางอากาศ ที่สำคัญ ผู้เกี่ยวข้องกับการประมูลเปิดใจรับฟังคำทักท้วง นำข้อเสนอแนะไปปรับแก้

1.1 การประมูลรถไฟทางคู่

ในปี 2560 หลังจากที่ผมได้ทักท้วงว่าการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร มีความไม่ชอบมาพากล ปรากฏว่าได้มีการยกเลิกการประมูล พร้อมทั้งมีการปรับแก้การประมูลโดย (1) ปรับลดราคากลางลงให้เหมาะสม และ(2) ปรับแก้ TOR เปิดโอกาสให้บริษัทผู้รับเหมาขนาดกลางเข้าร่วมประมูลได้ด้วย
ผลจากการปรับแก้ดังกล่าว ทำให้การประมูลใหม่มีการแข่งขันกันมากกว่าเดิม ปรากฏว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สามารถประหยัดค่าก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้ทั้งสาย (ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร) ได้ 2,039 ล้านบาท จากราคากลาง 36,021 ล้านบาท คิดเป็น 5.66% ในขณะที่ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้ถึงประมาณ 20%

1.2 การประมูลรถไฟฟ้า

การประมูลรถไฟฟ้าในปี 2559 เช่น รถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง ไม่มีการเปลี่ยน TOR กลางอากาศ ไม่มีการล้มประมูล ไม่มีการกีดกันและเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใดรายหนึ่ง ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างจริงจัง เป็นผลให้รัฐสามารถประหยัดเงินสนับสนุนได้เฉียด 3 แสนล้านบาท !

ผลการประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพูปรากฏว่า บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูล ขอรับเงินสนับสนุนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) น้อยกว่าบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ถึง 124,658.15 ล้านบาท นั่นหมายความว่า รฟม. สามารถประหยัดเงินสนับสนุนได้มากถึง 124,658.15 ล้านบาท

ส่วนผลการประมูลรถไฟฟ้าสายสีเหลืองปรากฏว่า BTSC ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลขอรับเงินสนับสนุนจาก รฟม. น้อยกว่า BEM ถึง 135,634.75 ล้านบาท นั่นหมายความว่า รฟม. สามารถประหยัดเงินสนับสนุนได้มากถึง 135,634.75 ล้านบาท

1.3 การแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

ในสมัยรัฐบาล คสช. มีปัญหารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค กล่าวคือหากผู้เดินรถไม่ใช่ BEM ซึ่งเป็นผู้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนหลัก ผู้โดยสารจะต้องเปลี่ยนขบวนรถ ไม่สามารถเดินทางแบบต่อเนื่อง (Through Operation) ได้ และจะต้องเสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน รฟม. (โดยคณะกรรมการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ที่ 42/2559) จึงแก้ปัญหาโดยให้ BEM เป็นผู้รับสัมปทานลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ สื่อสาร และระบบตั๋ว และให้บริการเดินรถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2592 เพื่อให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง และไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน

เนื่องจากสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายมีผู้โดยสารน้อย ทำให้ BEM ขาดทุน ด้วยเหตุนี้ รฟม. (โดยคณะกรรมการตามคำสั่ง คสช.) จึงขยายสัมปทานสายสีน้ำเงินส่วนหลักให้ BEM เป็นเวลา 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2572-2592 เพื่อนำรายได้จากส่วนหลักมาชดเชยการให้บริการเดินรถส่วนต่อขยาย


2. ระบบรางในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน

ในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน การประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน และรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกได้สร้างความกังขาให้กับผู้คนจำนวนมาก

2.1 การประมูลรถไฟทางคู่

ในปี 2564 มีการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ซึ่งเป็นการประมูลที่สร้างความประหลาดใจให้กับผู้คนจำนวนมาก เนื่องจากราคาที่ได้จากการประมูลต่ำกว่าราคากลางเพียงนิดเดียวเท่านั้น อีกทั้ง ยังต่ำกว่าราคากลางเป็นสัดส่วนที่เท่ากันอีกด้วย นั่นคือแค่ 0.08% เท่านั้น พูดได้ว่า ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ !

สายเหนือประหยัดได้เพียง 60 ล้านบาท จากราคากลาง 72,918 ล้านบาท คิดเป็น 0.08% และสายอีสานประหยัดได้แค่ 46 ล้านบาท จากราคากลาง 55,456 ล้านบาท คิดเป็น 0.08% เท่ากับสายเหนือ

2.2 การประมูลรถไฟฟ้า

ในปี 2563 รฟม. ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนให้ร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และเดินรถตลอดสายทั้งช่วงตะวันตกและตะวันออก (บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) แต่ในระหว่างการประมูล รฟม. ได้เปลี่ยนเกณฑ์ประมูล และในที่สุดได้ล้มการประมูล ต่อมาในปี 2565 รฟม. ได้เปิดประมูลใหม่ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีการกีดกันและเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายใดรายหนึ่งหรือไม่ ?
ผลพวงจากการประมูลถึง 2 ครั้ง อาจทำให้ รฟม. ต้องเสียเงินค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นถึง 68,612.53 ล้านบาท !

2.3 การแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว

ในช่วงปลายของรัฐบาล คสช. ต่อเนื่องถึงรัฐบาลปัจจุบันมีปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-คูคต กล่าวคือหากผู้เดินรถไม่ใช่ BTSC ซึ่งเป็นผู้เดินรถสายสีเขียวส่วนหลักและส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ผู้โดยสารจะต้องเปลี่ยนขบวนรถ ไม่สามารถเดินทางแบบต่อเนื่องได้ และจะต้องเสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน กทม.จึงแก้ปัญหาโดยว่าจ้างให้ BTSC เดินรถส่วนต่อขยายที่ 2 แต่การเดินรถส่วนต่อขยายประสบภาวะขาดทุน ทำให้ กทม. เป็นหนี้ BTSC จนถึงวันนี้ประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท

กทม. (โดยคณะกรรมการตามคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562) จึงเสนอให้ขยายสัมปทานสายสีเขียวส่วนหลักให้ BTSC เป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2572-2602 เพื่อนำรายได้จากส่วนหลักมาชดเชยการให้บริการเดินรถส่วนต่อขยาย โดยมีเงื่อนไขให้ BTSC รับผิดชอบหนี้ทั้งหมดแทน กทม. แต่จนถึงวันนี้ ยังไม่มีการขยายเวลาสัมปทานให้ BTSC แทนการชำระหนี้ที่พอกพูนขึ้นทุกวัน

3. นายกฯ ประยุทธ์ เปลี่ยนไป ?

การประมูลรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้าในสมัยรัฐบาล คสช. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้เป็นกอบเป็นกำ อีกทั้ง ยังสามารถแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินได้อีกด้วย แต่การประมูลรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้าในสมัยรัฐบาลนี้ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกันกลับต้องเสียค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็นเงินก้อนมหึมา อีกทั้ง ยังปล่อยให้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวคาราคาซังมาจนถึงวันนี้ ทำให้เกิด “รอยด่าง” ใน “ระบบราง” ซึ่งท่านนายกฯ ประยุทธ์ ได้เคยสร้างผลงานดีๆ ไว้มากมาย น่าเสียดายจริงๆ

ถามว่ารัฐบาล คสช. ที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถทำให้การประมูลรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้าประหยัดค่าก่อสร้างได้มาก และสามารถแก้ปัญหาการเดินรถไฟฟ้าได้ด้วย แล้วทำไมรัฐบาลนี้ที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เหมือนกัน จึงทำไม่ได้ ?

ผมไม่สามารถบอกได้ว่า ท่านนายกฯ ประยุทธ์ เปลี่ยนไปหรือไม่ ? แต่บอกได้ว่า “เรื่องการประมูลถ้ามีอะไรที่ไม่ถูกต้อง มันจะย้อนกลับมาเมื่อหมดอำนาจ”

หมายเหตุ : ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43589
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2022 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

กทม. ขีดเส้น เม.ย. 66 ขอคืนผิวจราจรจากโครงการรถไฟฟ้า
ในประเทศ
วันจันทร์ ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13:24 น.


รองปลัด กทม. เร่งคืนผิวจราจรแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชมพู เหลือง หลังทำรถติดหนัก ตั้งเป้า เม.ย. 2566 คืนทุกสาย

วันที่ 26 ธันวาคม 2565 นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมเร่งรัดการคืนพื้นที่ถาวรตลอดแนวสายทางโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การไฟฟ้านครหลวง บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) การประปานครหลวง

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระประชวร
เรือหลวงสุโขทัย พบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย ทร.ล้อมพื้นที่เรือล่ม 3 ลำ
โรงแรม ห้างสรรพสินค้าเมืองโคราช วิกฤต ประกาศ ”ขายกิจการ” เพียบ
ADVERTISEMENT


นายณรงค์กล่าวว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีความห่วงใยการจราจรในพื้นที่กทม.


การจราจรติดขัดส่วนใหญ่ มีจุดฝืดอยู่ในแนวการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ วันนี้จึงประชุมหารือการคืนพื้นที่ถาวรตลอดแนวสายทางโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ซึ่งปัจจุบันงานก่อสร้างดำเนินการแล้วกว่า 90%

โดยขอความร่วมมือ รฟม. และผู้รับเหมา ปรับแผนการดำเนินการกับหน่วยงานสาธารณูปโภค เพื่อเร่งรัดการวางท่อประปาหรือท่อร้อยสายไฟฟ้า รวมทั้งการซ่อมผิวการจราจร ปรับปรุงเกาะกลาง การปรับปรุงจุดกลับรถ ทางขึ้นลงสถานี ส่วนใดสามารถดำเนินการได้ก่อนให้เร่งดำเนินการ และให้ตรวจสอบระบบระบายน้ำที่เกี่ยวข้อง


สำหรับจุดใดที่ไม่ต้องใช้พื้นที่แล้วให้นำแบริเออร์ออก ส่วนจุดใดที่ต้องใช้พื้นที่ขอให้จัดระเบียบและบริหารจัดการให้ใช้พื้นที่น้อยที่สุด เพื่อคืนผิวการจราจร

ส่วนจุดใดที่คืนผิวการจราจรแล้วเครื่องหมายจราจร ป้ายบอกเส้นทาง การขีดสีตีเส้นต้องมีความพร้อม ทางเท้าก็ต้องมีความปลอดภัย รวมถึงจัดลำดับความสำคัญ สิ่งใดที่กระทบกับประชาชนให้เร่งแก้ไข ทั้งนี้ ได้มอบหมายทุกหน่วยงานปรับแผนเพื่อเร่งรัดการทำงานทุกโครงการให้รวดเร็วขึ้น ตั้งเป้าหมายส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดก่อนฤดูฝน หรือภายในเดือน เม.ย. 2566 โดยให้ส่งแผนให้สำนักการโยธา กทม. ภายในสัปดาห์นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46659
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2022 10:02 am    Post subject: Reply with quote

ผลงานด้านโครงสร้างพื้นฐานทางราง ปี 2565 ตามนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
MOT Channel
Dec 28, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=NG2rG7Cwajs
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 257, 258, 259 ... 282, 283, 284  Next
Page 258 of 284

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©