RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311947
ทั่วไป:13595839
ทั้งหมด:13907786
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟสายบางบัวทอง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟสายบางบัวทอง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/01/2022 1:21 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ตอม่อเก่าของสะพานข้ามคลองลำรี ทางรถไฟสายบางบัวทอง(ช่วงปี พ.ศ. 2458–2486) อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
https://www.facebook.com/groups/429224380754014/posts/1675818539427919/

ใน Street View ก็มองเห็นสะพานแห่งนี้ชัดเจนครับ
Arrow https://goo.gl/maps/htvZCmjE6f8vSMm16

พิกัด 13.934122, 100.419854

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/12/2022 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

เอกสารโบราณสมัยต้นรัชกาลที่ ๖ "ใบอนุญาตให้ทำการค้าขาย ทำรถมอเตอร์เดินบนราง"
บริษัทตั้งอยู่ ปากคลองวัดบวรมงคล ตำบลบ้านปูน กรุงเทพฯ ทุนจด 500,000 บ. นับว่าเยอะมากสำหรับการรับขนคนโดยสาร
เอกสารมีขนาด 5.5 * 9.5 นิ้ว ตราประจำตำแหน่งประทับชัดเจน เซ็นต์สด

https://www.facebook.com/oldphotobooksiam/posts/6482906955060047
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/12/2022 10:27 pm    Post subject: Reply with quote

แข่งพายเรือ! 'ชาวมุสลิมคลองลำรี'จัดกิจกรรม เชื่อมสัมพันธ์-อนุรักษ์วัฒนธรรม
แนวหน้า วันอาทิตย์ ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 21.37 น.

เมื่อเวลา 16.30 น.วันที่ 25 ธันวาคม 2565 ที่คลองลำรี (สะพานไม้รถไฟเก่า) หมู่1 ต.ละหารอ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ได้จัดให้มีการเเข่งขันเรือพายระยะ 100 เมตร ชิงถ้วย-เหรียญรางวัลพร้อมเงินสดจำนวน 12,000 บาท โดยมีนายมีศักดิ์ศรี อิทธิธนากุลชัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละหาร เป็นประธานเปิดงาน นายเสรี สุขพลอย เป็นประธานจัดงาน อีกทั้งยังมีดร.จำลอง ช่วยรอด คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายดิเรก วันเเอเลาะห์เลขาธิการจุฬาราชมนตรี มาร่วมงานอีกด้วย รายได้ทั้งหมดจะนำไปมอบเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนโรงเรียนอิสลามสัมพันธ์ จำนวน 60 ทุน ทั้งหมด 6 หน่วยการศึกษา ทุนละ 500 บาท รวม 30,000 บาท

นายเสรี สุขพลอย ประธานจัดงาน กล่าวว่า จุดประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความสามัคคีให้กับคนในชุมชน และอนุรักษ์วัฒนธรรมการเเข่งขันเรือพาย นอกจากนี้ยังส่งเสริมในเรื่องของการเล่นกีฬา ออกกำลังกายเพื่อให้ห่างไกลยาเสพติด โดยในวันนี้จัดให้มีการเเข่งขันเรือพาย 7 ฝีพาย ระยะทาง 100 เมตร รางวัลชนะเลิศอับดับ1 ได้เเก่ทีมบังลีกัปตัน ได้รับถ้วยรางวัล-เหรียญทอง พร้อมเงินสด จำนวน 12,000 บาท รางวัลชนะเลิศอันดับที่2 ได้เเก่เด็กซ่าจ่าริน ได้รับถ้วยรางวัล-เหรียญทอง พร้อมเงินสด จำนวน 7,000 บาท รางวัลชนะเลิศอันดับที่3 ได้เเก่ อสพ.4 บาย อบต.เต้ย ได้รับถ้วยรางวัล-เหรียญทอง พร้อมเงินสด จำนวน 5,000 บาทรางวัลชนะเลิศอันดับที่4 ได้แก่ทีมเด็กสร้างบิ๊กบัง ได้รับถ้วยรางวัล-เหรียญทอง พร้อมเงินสดจำนวน 3,000 บาท โดยในช่วงท้ายรายการได้จัดจัดให้มีการแข่งขันเรือพายชักเย่อ ระหว่างทีมสะพานไม้รถไฟกับทีม อบต.เต้ย ซึ่งทีมที่ชนะได้แก่ทีม อบต.เต้ย สุดท้ายนี้ตนในฐานะประธานการจัดการเเข่งขันเรือพายในครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณทุกๆทีมที่เข้าร่วมการเเข่งขันทุกคน และขอขอบคุณพี่น้องในชุมชนสุเหร่าปากคลองลำรี-กลุ่มอาสาอัลอุสเราะ และที่สำคัญขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนงานในครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43772
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2023 11:35 am    Post subject: Reply with quote

ชื่อเรื่อง : หัวรถจักรรถไฟสายบางบัวทอง
คำอธิบาย : หัวรถจักรรถไฟสายบางบัวทองเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ได้สั่งซื้อหัวรถจักรไอน้ำจากประเทศอังกฤษมาใช้ ด้านหน้าสุดของหัวรถจักรเป็นปล่อง ถัดจากปล่องเป็นหม้อต้มน้ำ หัวรถจักรดังกล่าว บริษัทรถไฟสายบางบัวทองใช้ในกิจการเดินรถไฟช่วงแรก ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรถดีเซล ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายดีกว่าการใช้ฟืน ที่ต้องใช้กับหัวรถจักรไอน้ำ และรถดีเซลมีกำลังมากกว่าหัวรถจักรไอน้ำ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๖๖ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ได้สั่งซื้อหัวรถจักรเป็นรถรุ่น 0 – 4 2T Baguley ซึ่งพันตรี E.J. Buguley เป็นผู้ออกแบบ จำนวน ๓ คันมาใช้ ส่วนโบกี้ที่นั่งผู้โดยสารทำด้วยไม้รูปคล้ายศาลามีหลังคา และหน้าจั่ว แบ่งเป็น ๒ หลัง ด้านข้างทั้ง ๒ ข้าง ของโบกี้มีที่นั่งยาวและมีพนักพิงแบบที่นั่งรถสองแถวในปัจจุบัน เหนือพนักพิงเปิดโล่ง มีผ้าใบป้องกันฝนและแสงแดดปิดทางด้านข้างและด้านหน้าเมื่อบริษัทรถไฟสายบางบัวทองเลิกกิจการ ได้ขายรถดีเซลรุ่นนี้ให้แก่โรงน้ำตาลที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ปัจจุบันนี้ยังคงอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง

Note: เพราะ พอเลิกรถไฟบางบัวทองและรถไฟสายพระพุทธบาท เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2485 เนื่องจาก มีถนนไปเมืองนนทบุรีที่บางขวาง และ ถนนพหลโยธินที่ไปลพบุรีที่ผ่านเมืองพระพุทธบาท แต่ปี 2483 ธุรกิจก็ไปไม่ไหว สู้ขายรถจักรรถพ่วง รางรถไฟ ไม้หมอน หินโรยทาง อาคารสถานี ให้โรงงานน้ำตาลวังกะพี้ ดีกว่าจะได้เอาเงินมาใช้หนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์และ เจ้าหนี้รายอื่นให้หมด เสียที
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/216138
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2023 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

ปู๊นปู๊น ที่บางบัวทอง
https://library.stou.ac.th/wp-content/odi/bang-bua-thong-train/home.html
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46988
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/09/2024 3:55 pm    Post subject: Reply with quote

บางบัวทอง จากป่าสู่นา จากนาสู่เมือง | จากรากสู่เรา
Thai PBS


https://www.youtube.com/watch?v=NB1MxPHCsk8

บางบัวทองเป็นชุมชนเก่าที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งแต่เดิมไม่ได้มีผู้คนอยู่อาศัยมากนัก จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการขุดคลองขึ้นหลายสายเพื่อเปิดพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าว พระ

ราชาพิมลจึงได้ริเริ่มขุดคลองพระราชาพิมลขึ้นโดยเปิดให้ราษฎรสามารถลงหุ้นเพื่อแบ่งที่ดินสองฝั่งคลองส่วนผู้ที่ไม่มีทุนทรัพย์ก็สามารถใช้แรงงานในการขุดคลองเพื่อแบ่งที่ดินไปเป็นของตน ด้วยเหตุนี้เองทำให้มีผู้คนหลากหลายศาสนา เข้ามาจับจองพื้นที่ที่บางบัวทองเพื่อทำการเกษตรและแสวงหาโอกาสในการทำงานทั้งคนจีน คนญวน และคนอิสลาม นับเป็นจุดเริ่มต้นของบางบัวทอง

พื้นที่บางบัวทองเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสำคัญทั้งในเรื่องของการปลูกข้าว ทำสวนผักและผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของข้าว ที่นี่เป็นแหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ในสมัยรัฐบาลพระยาพหล พล พยุหเสนา คณะราษฎรได้มีนโยบายส่งเสริมการทำนาโดยจัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าว ที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เมื่อปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2477 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ในเรื่องของการทำนา ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของบางบัวทองเกิดขึ้นเมื่อมีการตัดถนนเส้นต่าง ๆ เช่นสายบางกรวย-ไทรน้อย สายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี และถนนรัตนาธิเบศร์ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่มีบ้านจัดสรร และห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้นแทนที่ของพื้นที่การเกษตรทำให้ปัจจุบันภาพของสังคมชาวสวนและชาวนาค่อย ๆ ลดหายไป

ติดตามได้ ในรายการจากรากสู่เรา ตอนบางบัวทอง จากป่าสู่นา จากนาสู่เมือง วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 14.05 - 14.30 น. ทางไทยพีบีเอส


Bang Bua Thong: From Forest to Fields, From Fields to City | From Roots to Us

Thai PBS

Bang Bua Thong is an old community with a history dating back to the Ayutthaya period. Initially sparsely populated, it saw a significant change during the reign of King Chulalongkorn (Rama V). The King initiated the excavation of several canals to convert forest areas into agricultural land, particularly for rice cultivation.

Phraya Rachawimon led the excavation of the Phraya Rachawimon Canal, allowing people to invest and share the land on both sides. Those without capital could contribute their labor in exchange for land ownership. This attracted people from various religions, including Chinese, Vietnamese, and Muslims, to settle in Bang Bua Thong for farming and seeking work opportunities, marking the beginning of the community's growth.

Bang Bua Thong became an important agricultural area known for rice cultivation, vegetable gardens, and orchards. Notably, it was the largest rice-producing area in Nonthaburi province. During the government of Phraya Phahon Phonphayuhasena, the People's Party promoted rice farming and organized a rice variety contest in Bang Bua Thong district in late December 1934, highlighting the area's significance in rice production.

A major transformation occurred with the construction of roads like Bang Kruai-Sai Noi, Taling Chan-Suphan Buri, and Rattanathibet Road. This led to real estate development, with housing estates and shopping malls replacing agricultural land. As a result, the traditional image of farmers and gardeners gradually faded.

Watch the full episode of "From Roots to Us: Bang Bua Thong - From Forest to Fields, From Fields to City" on Saturday, September 7, 2024, from 2:05 PM to 2:30 PM on Thai PBS.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26
Page 26 of 26

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©