View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 22/05/2023 7:58 am Post subject: ข่าวรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) |
|
|
บอร์ดรฟม.ไฟเขียวรถไฟฟ้าสีน้ำตาล4.98 หมื่นล. ปิดจ๊อบสายสุดท้ายแผน M-Map 1 ชงครม.ชุดใหม่
ผู้จัดการออนไลน์ 22 พ.ค. 2566 07:29 น.
บอร์ดรฟม.เห็นชอบโมโนเรลสีน้ำตาล4.98 หมื่นล.รถไฟฟ้าสายสุดท้ายในแผนแม่บท M-Map 1 ร่วมทุน PPP Net-Cost สัมปทาน 30 ปี
เสนอ ครม.อนุมัติ ธ.ค. 66 ประมูลต้นปี 67 ตอกเข็มปลายปี 68 สร้าง 4 ปี เปิดบริการ ส.ค. 71
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดรฟม.เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2566 ได้มีมติเห็นชอบหลักการ ผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)
ตามพ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 รูปแบบ PPP -Net cost หลังจากนี้ จะนำเสนอรายงานผลการศึกษาโครงการฯ ขอความเห็นชอบในการดำเนินโครงการฯ จากกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเป็นครม.ชุดใหม่ ประมาณ ช่วงเดือนก.ย. 2566 จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 36 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯเพื่อคัดเลือกเอกชน คาดเริ่มก่อสร้างช่วงปลายปี 2568
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีความล่าช้า จากแผนเนื่องจาก มีแนวคิด ในการก่อสร้างฐานรากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลฯไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ในความรับผิดชอบของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่จะก่อสร้างในพื้นที่เดียวกัน โดยจะให้กทพ.ดำเนินการก่อสร้างฐานรากให้รถไฟฟ้าด้วย เพื่อลดผลกระทบด้านจราจร แต่ปัจจุบัน ประเมินว่า ระยะเวลาการก่อสร้างทั้งรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลและทางด่วน ตอน N2 จะอยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน และจะไม่มีผลกระทบด้านการจราจรซ้ำซ้อนกัน
บอร์ดสอบถามเรื่องการก่อสร้าง ซึ่งรฟม.คาดการณ์ว่า สายสีน้ำตาล จะก่อสร้างช่วงปลายปี 68 ส่วนทางด่วน N2 อาจจะเริ่มช่วงต้นปี 68 ช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ประกอบกับ พบว่าในการเสนอขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสีน้ำตาล รูปแบบ PPP นั้น จะต้องเสนอทั้งโครงการแยกโครงสร้างเสาตอม่อ ออกไปให้กทพ.ทำก่อนไม่ได้
ส่วนรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ คชก. ซึ่งรฟม. ได้นำข้อมูลเพิ่มเติมให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่เป็นผู้ดำเนินการด้าน EIA โครงการฯตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อชี้แจงต่อคชก.ต่อไป
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ถือเป็นสายสุดท้ายในโครงข่ายรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-Map 1 ) จำนวน10 สายทางประธานบอร์ดรฟม.กล่าว
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ยกระดับตลอดเส้นทาง มีระยะทางรวม 22.1 กม.มี
20 สถานี มูลค่าลงทุนรวม 49,865 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท ค่างานก่อสร้าง 18,544 ล้านบาท ค่างานระบบ 16,351 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,396 ล้านบาท ค่า
Provisional Sum 6,320 ล้านบาท
โดยลงทุนรูปแบบ PPP -Net cost รัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเอกชนลงทุนงานโยธา งานระบบรถไฟฟ้า โดยรัฐสนับสนุนเงินไม่เกินค่างานโยธา ผ่อนชำระ 10 ปี ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู โดยเอกชนให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา รวมไปถึงระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลาโครงการ 30 ปี
คาดว่า เสนอครม.เห็นชอบ ในเดือน ธ.ค. 2566 จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการสำรวจอสังหาริมทรัพย์/จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ช่วงเดือน ม.ค. 2568-ก.พ. 2571, คัดเลือกเอกชน (PPP) เดือน ม.ค. 2567-ก.ค. 2568, ก่อสร้าง ผลิต ติดตั้ง และทดลองเดินรถ ประมาณเดือน ส.ค. 2568-ก.ค. 2571 (ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี) เปิดให้บริการเดือน ส.ค. 2571
คาดการณ์ ผู้โดยสาร ปี 2571 (ปีเปิดให้บริการ) ที่ 112,439 คน-เที่ยว/วัน มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการ (EIRR) 20.82%, NPV 50,656.69 ล้านบาท, B/C Ratio 2.45 เท่า ค่าโดยสาร 14 บาทสูงสุด 42 บาท (ราคา ณ ปี พ.ศ. 2565) |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 22/05/2023 9:37 pm Post subject: |
|
|
บอร์ดรฟม.เคาะสร้าง รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล 4.9 หมื่นล้าน
ฐานเศรษฐกิจ 22 พฤษภาคม 2566
บอร์ดรฟม.เคาะสร้าง รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี วงเงิน 4.9 หมื่นล้านบาท เล็งชงคมนาคม-ครม.ชุดใหม่ไฟเขียวภายในเดือน ก.ย.นี้ ดึงเอกชนประมูล PPP ภายในเดือนม.ค.67 ลุยตอกเสาเข็มเริ่ม ส.ค.68 คาดเปิดให้บริการปี 71
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เบื้องต้นที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ได้มีมติเห็นชอบหลักการผลการศึกษาโครงการฯ ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ในรูปแบบ PPP Net cost
โดยขั้นตอนต่อไปจะนำเสนอรายงานผลการศึกษาโครงการฯ จะเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาเพื่อเห็นชอบดำเนินโครงการฯ ภายในเดือนก.ย. 2566 และเข้าสู่ขั้นตอนการตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 36 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ (PPP) ต่อไป
ทั้งนี้ตามแผนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะเริ่มขั้นตอนการสำรวจอสังหาริมทรัพย์และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ภายในเดือน ม.ค. 2568-ก.พ. 2571 และดำเนินการเปิดประมูลเพื่อคัดเลือกเอกชน ภายในเดือน ม.ค. 2567-ก.ค. 2568 หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างและทดลองเดินรถ ภายในเดือน ส.ค. 2568-ก.ค. 2571 ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในเดือน ส.ค. 2571
ส่วนรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก. ) ซึ่ง รฟม.ได้นำข้อมูลเพิ่มเติมให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่เป็นผู้ดำเนินการด้านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการฯ ตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อชี้แจงต่อ คชก.ต่อไป
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ยกระดับตลอดเส้นทาง มีระยะทางรวม 22.1 กม. มี 20 สถานี มูลค่าลงทุนรวม 49,865 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท ค่างานก่อสร้าง 18,544 ล้านบาท ค่างานระบบ 16,351 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,396 ล้านบาท ค่า Provisional Sum 6,320 ล้านบาท
นอกจากนี้ด้านรูปแบบ PPP-Net cost รัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เอกชนลงทุนงานโยธา งานระบบรถไฟฟ้า โดยรัฐสนับสนุนเงินไม่เกินค่างานโยธา ผ่อนชำระ 10 ปี ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู โดยเอกชนให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา รวมไปถึงระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาโครงการ 30 ปี
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล พบว่า มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการ (EIRR) 20.82%, NPV 50,656.69 ล้านบาท, B/C Ratio 2.45 เท่า โดยคาดการณ์ผู้โดยสารปี 2571 ณ ปีเปิดให้บริการ ที่ 112,439 คน-เที่ยวต่อวัน ค่าโดยสาร 14 บาทสูงสุด 42 บาท ราคา ณ ปี พ.ศ. 2565 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/05/2023 8:25 am Post subject: |
|
|
รถไฟฟ้าสายใหม่ สีน้ำตาล วัดใจรัฐบาลได้ไปต่อหรือล้ม
เดลินิวส์ 23 พฤษภาคม 2566 8:00 น.
มุมคนเมือง, เศรษฐกิจ-ยานยนต์
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (โมโนเรล) ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. วงเงินลงทุนกว่า 49,865 ล้านบาท ต้องรอลุ้นว่าภายใต้รัฐบาลใหม่นั้น โครงการจะได้แค่เพียงแจ้งเกิดไว้? หรือจะได้รับการผลักดันจากรัฐบาลใหม่!
ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน ได้เห็นชอบผลการศึกษาออกแบบ เอกสารประกวดราคา และรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. แล้วเมื่อวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมา
รฟม. วางไทม์ไลน์โครงการไว้หลังจากนี้ จะเสนอกระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณา ก่อนเสนอคณะกรรมการ PPP และคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการฯ ประมาณเดือน ก.พ. 2567 มีแผนคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน PPP ช่วงประมาณเดือน ก.ย. 2567-ก.ย. 2568
คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างโครงการฯ ได้ประมาณเดือน ต.ค. 2568 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี และเปิดบริการประชาชนได้ประมาณเดือน ต.ค. 2571
รถไฟฟ้าสายใหม่ สีน้ำตาล มีรูปแบบเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) โครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง มี 20 สถานี วงเงินลงทุน 49,865 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท, งานก่อสร้าง 18,544 ล้านบาท, งานระบบ 16,351 ล้านบาท, ค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,396 ล้านบาท และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด (Provisional Sum) 6,320 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีจุดเริ่มต้นเส้นทางเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพูบริเวณแยกแคราย วิ่งไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน จนถึงแยกบางเขนเชื่อมโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง แล้วลอดใต้โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงและทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ข้ามถนนวิภาวดีรังสิตจนถึงแยกเกษตร ก่อนยกระดับข้ามโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว วิ่งต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านแยกฉลองรัชเชื่อมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ยาวไปจนถึงแยกนวมินทร์ ก่อนเลี้ยวลงทางทิศใต้ไปตามแนวถนนนวมินทร์จนถึงแยกสวนสน สถานีปลายทางเชื่อมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีเหลือง
รถไฟฟ้าสายใหม่ จะเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าหลากสีสายอื่น 7 เส้นทาง ได้แก่ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมสายสีเหลืองและสีส้ม คาดการณ์ปีแรกของการเปิดบริการ จะมีปริมาณผู้โดยสารราว 2.18 แสนคนเที่ยวต่อวัน
อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามแนวเส้นทาง สถานี และศูนย์ซ่อมบำรุงรวม 436 แปลง พื้นที่ประมาณ 67 ไร่ 1 งาน 52.3 ตารางวา และต้องรื้อถอนอาคาร รวมถึงสิ่งปลูกสร้างประมาณ 232 หลัง รฟม. จะดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืน และการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540
ทั้งนี้ แนวเส้นทางช่วงถนนประเสริฐมนูญกิจ จะใช้พื้นที่เกาะกลางร่วมกับ โครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) สายเหนือตอน N2 ช่วงม.เกษตรฯ-นวมินทร์-วงแหวนตะวันออก ระยะทางประมาณ 11.3 กม. วงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
โดยสร้างเสาตอม่อทางวิ่งรถไฟฟ้าอยู่ระหว่างเสาตอม่อเดิมของโครงการทางด่วนและอยู่ใต้ทางด่วน เบื้องต้น กทพ. จะก่อสร้างทางด่วน N2 ช่วงเดือน ต.ค. 2567-ก.ย. 2570 ขณะที่ รฟม. จะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเดือน ต.ค. 2568-ก.ย. 2571 ทั้ง 2 หน่วยงานจะวางแผนงานก่อสร้างร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบระหว่างก่อสร้างต่อประชาชนให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่ก่อสร้างที่ต้องใช้ร่วมกัน
รัฐบาลชุดที่แล้ว ให้ความสำคัญเรื่องการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล จึงต้องลุ้นกันว่า รถไฟฟ้าสายใหม่ สีน้ำตาล จะได้แค่เพียงแจ้งเกิดไว้ หรือจะได้รับการผลักดันจากรัฐบาลชุดใหม่ ให้ก่อสร้างได้จนสำเร็จลุล่วง
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 24/05/2023 8:23 am Post subject: |
|
|
ทุ่ม 2 หมื่นล.ยกเครื่อง 'บางกะปิ-บางแค'
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, May 24, 2023 06:03
รีแบรนด์สู่ 'เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์'
เปิดโรดแมพ Rebranding เดอะมอลล์ทุ่ม 2 หมื่นล้านโฉมสู่ "เดอะมอลล์ไลฟสโตร์" ยกเครื่องสาขาบางกะปิ-บางแค ครั้งใหญ่สุดในรอบ 30 ปี สร้างแลนด์มาร์คใหม่ชิงกำลังซื้อกรุงเทพฯตะวันออกและตะวันตก
จากแนวคิดในการ Rebranding "เดอะมอลล์" อาณาจักรแห่งความสุขทุกครอบครัว สู่ "เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์" รีเทลโมเดลใหม่เพื่อให้ตอบรับกับความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยจัดสรรงบประมาณในการรีโนเวทไว้กว่า 2 หมื่นล้านบาท เริ่มต้นจากสาขางามวงศ์วาน ตามด้วยท่าพระ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ล่าสุดเป็นคิวของ "เดอะมอลล์ บางกะปิ" และ "เดอะมอลล์ บางแค" ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2537 นับเป็นการรีโนเวทครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาและจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดให้บริการในเดือนธันวาคมนี้
นางอัจฉรา อัมพุช รองประธาน กรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า แผนยุทธศาสตร์ โรดแมพ Rebranding เดอะมอลล์สู่ "เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์" โดยปักหมุดเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ-บางแค ให้เป็นแฟล็กชิพ แลนด์มาร์คสำคัญของกรุงเทพฝั่งตะวันออกและกรุงเทพฝั่งตะวันตกรองรับแผนยุทธศาสตร์พัฒนาย่านบางกะปิ และบางแค สู่ย่านการค้าและย่านที่พักอาศัยที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ผ่านโครงข่ายคมนาคม 2 ย่าน 2 มุมเมือง ตอบรับกับแผนการพัฒนาสร้างความเจริญของกรุงเทพมหานคร พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองให้เป็น Urban Life ตอบสนองทุกความต้องการของทุกเจนเนอเรชั่น
ทั้งนี้มองว่าย่านบางกะปิ และบางแค ถือเป็นย่านที่มีศักยภาพการเติบโตดีที่สุดของกรุงเทพฝั่งตะวันออกและกรุงเทพฝั่งตะวันตกพร้อมทั้งกลังได้รับการพัฒนาให้เป็นย่านธุรกิจการค้าและย่านที่พักอาศัยที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร โดยมีการเชื่อมโยงด้วยโครงข่ายคมนาคมหลักของกรุงเทพมหานครอย่างครบครัน ทั้งทางบก ทางเรือ และที่สำคัญคือระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้าทุกกลุ่ม ภายใต้คอนเซ็ปต์ "A Happy Place To Live Life : ชีวิตที่มีความสุขทุกครอบครัว" ที่เป็นคอนเซ็ปต์หลักของเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ รีเทลมิติใหม่
โดยเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ จะเป็นแฟล็กชิพสำคัญในย่านบางกะปิ ที่เชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าหลัก 3 สาย ตั้งอยู่บนทำเลที่เป็นยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญของกรุงเทพฝั่งตะวันออก บนถนนลาดพร้าว - บางกะปิ แยกบางกะปิ และลำสาลี โดยรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย จะมีสถานีแยกลสาลีเป็นศูนย์รวมการเชื่อมต่อ ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง), โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-แยกร่มเกล้า) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (ช่วงแคราย-ลำสาลี)
นอกจากนี้ยังมีการเดินทางทางบก โดยสามารถเดินทางได้ทั้งทางรถยนต์ ผ่านถนนเส้นหลักสำคัญหลายสาย ทั้งถนนรามคำแหง ถนนลาดพร้าว และถนนศรีนครินทร์ และอีกช่องทางการเดินทางคือทางเรือ ถือเป็นการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายคมนาคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฝั่งตะวันออก
ขณะที่ย่านบางแค ถือเป็นย่านที่มีศักยภาพการเติบโตดีที่สุดของกรุงเทพฝั่งตะวันตก และมีโครงข่ายคมนาคมหลากหลายช่องทาง ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม-กาญจนาภิเษก โดยมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นเครือข่ายคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพฝั่งตะวันตก ถือเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของไทยที่เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวน ทำให้การเดินทางจาก MRT บางแค สามารถเชื่อมต่อกับมุมเมืองอื่นของกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้อย่างสะดวกสบาย ปัจจุบันมีระยะทางรวม 48 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีถนนเพชรเกษม และถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นถนนหลักที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายคมนาคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฝั่งตะวันตก ทำให้ย่านบางแคเป็นอีกหนึ่งย่านที่มีศักยภาพสูง เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร
"เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิและเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค เป็น Key Strategic Location สำคัญของกรุงเทพฝั่งตะวันออกและกรุงเทพฝั่งตะวันตก ซึ่งปัจจุบันพื้นที่รอบ 10 กิโลเมตรของเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ มีประชากรกว่า 2 ล้านคน ส่วนเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางแค มีประชากรกว่า 1.5 ล้านคน และทั้ง 2 ย่าน เป็นศูนย์กลางที่อยู่อาศัยที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่าหากทั้ง 2 โครงการแล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มทราฟฟิคให้กับศูนย์ฯ มากกว่า 30%"
บรรยายใต้ภาพ
อัจฉรา อัมพุช
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25 - 27 พ.ค. 2566 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 24/05/2023 10:29 am Post subject: Re: ข่าวรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) |
|
|
บอร์ด รฟม.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล โมโนเรลขนานทางด่วนเอ็น 2 แครายไปลำสาลี
ข่าว ทั่วไทย กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
24 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:15 น.
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง ในฐานะประธานบอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม. เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบหลักการ ผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 รูปแบบ PPP-Net cost หลังจากนี้จะเสนอขอความเห็นชอบจากกระทรวงคมนาคม และ ครม.ชุดใหม่ เดือน ธ.ค.2566 จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 36 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อคัดเลือกเอกชน คาดเริ่มก่อสร้างช่วงปลายปี 2568 สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ถือเป็นสายสุดท้ายในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-Map 1) 10 สายทาง
นายสราวุธกล่าวว่า ที่ผ่านมาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลมีความล่าช้า เนื่องจากมีแนวคิดในการก่อสร้างฐานรากรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลไปพร้อมกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่จะก่อสร้างในพื้นที่เดียวกัน โดยจะให้ กทพ.ก่อสร้างฐานรากให้รถไฟฟ้าด้วยเพื่อลดผลกระทบด้านจราจร แต่ปัจจุบันประเมินว่าระยะเวลาการก่อสร้างทั้งรถไฟฟ้าสีน้ำตาลและทางด่วน ตอน N2 จะอยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน และจะไม่มีผลกระทบด้านการจราจรซ้ำซ้อนกัน ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ยกระดับตลอดเส้นทางมีระยะทางรวม 22.1 กม. มี 20 สถานี มูลค่าลงทุนรวม 49,865 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท ค่างานก่อสร้าง 18,544 ล้านบาท ค่างานระบบ 16,351 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,396 ล้านบาท ค่า Provisional Sum 6,320 ล้านบาท. |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43709
Location: NECTEC
|
Posted: 26/09/2023 4:03 pm Post subject: |
|
|
สุริยะ อุบ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล 4 หมื่นล้าน ยังไม่เข้าครม.
ฐานเศรษฐกิจ
26 กันยายน 2566
คนงามวงศ์วาน ม.เกษตรฯ รอไปก่อน สุริยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี มูลค่ากว่า 4.1 หมื่นล้าน ยังไม่เสนอครม. ขอกลับไปดูรายละเอียดอีกครั้ง
วันนี้ (26 กันยายน 2566) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า กระทรวงคมนาคม ยังไม่ได้เสนอโครงการ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทางรวม 22.1 กม. มูลค่าลงทุนรวม 41,720 ล้านบาท ให้กับที่ประชุมครม.พิจารณาในครั้งนี้ โดยขอกลับไปดูรายละเอียดอีกครั้ง
ทั้งนี้ที่ผ่านมา แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ค้างมาจากรัฐบาลก่อน ปัจจุบันการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เตรียมเสนอกระทรวงคมนาคม ภายในเดือนกันยายน 2566 นี้ และจะเสนอให้ครม.พิจารณาต่อไป
เบื้องต้นประเมินว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เมื่อผ่านการเห็นชอบโครงการจากที่ประชุมครม. แล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลได้ปลายปี 2567 พร้อมลงนามสัญญาภายในปลายปี 2568 คาดว่า จะเริ่มเวนคืนที่ดินได้ภายในปี 2568 หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2568-2571 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปลายปี 2571
ทำรายงานสิ่งแวดล้อม
ส่วนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) คาดว่าจะเสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) พิจารณาได้ภายในปี 2566
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย ลำสาลี (บึงกุ่ม) มีจำนวนสถานี 20 สถานี โดยเป็นสถานียกระดับทั้งหมด ซึ่งมีอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดของถนนพ่วงศิริและถนนรามคำแหง เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าลำสาลี มีโครงสร้างทางวิ่งโครงสร้างทางวิ่งยกระดับสำหรับระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) เป็นคานทางวิ่ง ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีชมพูบริเวณแยกแคราย วิ่งไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน จนถึงแยกบางเขนเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง แล้วข้ามถนนวิภาวดี รังสิต โดยลอดใต้โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงและโครงการทางยกระดับอุตราภิมุข จนถึงแยกเกษตร
ก่อนยกระดับข้ามโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อวิ่งต่อเนื่องไปตามแนวถนนประเสริฐมนูกิจ ผ่านแยกฉลองรัชเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ยาวไปจนถึงแยกนวมินทร์ ก่อนเลี้ยวลงทางทิศใต้ไปตามแนวถนนนวมินทร์ จนถึงแยกสวนสน ซึ่งเป็นสถานีปลายทางที่สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีเหลืองได้ และเป็นที่ตั้งของอาคารจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุง
รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ยังไม่เสร็จ
ส่วนความคืบหน้านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในส่วนของรถไฟสายสีแดง และรถไฟฟ้า MRT นั้น นายสุริยะ ระบุว่า กระทรวงคมนาคมยังไม่เข้าครม.วันนี้ เช่นกัน โดยต้องรอผลประชุมคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดว่าจะมีการประชุมกัน วันที่ 28-29 กันยายน นี้ เสร็จสิ้นก่อน จากนั้นจึงนำผลการประชุมของ รฟม. และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้ามาพร้อมกัน |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46845
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 03/10/2023 8:24 am Post subject: |
|
|
รฟม. เร่งเครื่องชง 'สุริยะ' เคาะ 3 โปรเจ็กต์วงเงิน 2.2 แสนล้าน
ไทยโพสต์ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 7:45 น.
รฟม. กางข้อมูลลุยชง สุริยะ เร่งดัน 3 โปรเจ็กต์คมนาคมรถไฟฟ้าสายสี ส้ม-น้ำตาล-รถไฟฟ้าภูเก็ต วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท ให้เดินหน้าต่อ
3 ต.ค. 2566 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า โครงการเร่งด่วน และมีความจำเป็นของ รฟม. ที่เสนอกระทรวงคมนาคม ตามข้อสั่งการนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เพื่อพิจารณา และผลักดันให้มีการดำเนินงานต่อไป มี 3 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร(กม.) วงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่ง รฟม. ได้ดำเนินการคัดเลือกเอกชน และได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว รอเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อลงนามสัญญา แต่ปัจจุบันยังมีคดีพิพาทเกี่ยวกับการคัดเลือกโครงการดังกล่าวระหว่าง รฟม. และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC ต้องรอศาลปกครองสูงสุดพิจารณา
นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี(บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. วงเงินประมาณ 4.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. เห็นชอบผลการศึกษาออกแบบ เอกสารประกวดราคา และรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) แล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการฯ ต่อไป
นายภคพงศ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนพื้นที่ในช่วงถนนประเสริฐมนูกิจ ที่จะใช้พื้นที่เกาะกลางร่วมกับโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 ตอน N2 (ถนนประเสริฐมนูกิจ-ถนนวงแหวนรอบนอกฯ ด้านตะวันออก) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) นั้น รฟม. จะวางแผนการก่อสร้างร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด โดยในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล รฟม. จะเป็นผู้ก่อสร้างเอง จากเดิมที่จะให้ กทพ. เป็นผู้ดำเนินการ อย่างไรก็ตามสำหรับพื้นที่ด้านข้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) ซึ่ง กทพ. มีแผนจะทำอุโมงค์ทางด่วน 2 ชั้น ตอน N1 (ศรีรัช-ถนนประเสริฐมนูกิจ) นั้น คาดว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการทำเสาตอม่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า และ 3.โครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต ห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ 42 กม. วงเงินประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท ในช่วงที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ปรับรูปแบบระบบรถ เพื่อลดวงเงินลงทุนก่อสร้าง จึงทำให้โครงการล่าช้าออกไป ดังนั้นจึงต้องรอฟังนโยบายจาก รมว.คมนาคมที่ชัดเจนอีกครั้งว่า ระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต จะใช้เทคโนโลยีรูปแบบระบบรถแบบใด และเมื่อนั้นระบบขนส่งมวลชนอีก 3 จังหวัดที่เหลือได้แก่ จ.เชียงใหม่, จ.นครราชสีมา และ จ.พิษณุโลก ก็จะสามารถเดินหน้าต่อได้ โดยปัจจุบัน จ.เชียงใหม่ และ จ.นครราชสีมา ได้ดำเนินการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วน จ.พิษณุโลก อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษา. |
|
Back to top |
|
|
|