RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311650
ทั่วไป:13402344
ทั้งหมด:13713994
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องน่ารู้ : โรงงานมักกะสัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องน่ารู้ : โรงงานมักกะสัน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46005
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/06/2023 8:40 am    Post subject: Reply with quote

‘รถไฟ’ ขอ 1 ปีศึกษารายละเอียด โรงงานมักกะสันแห่งใหม่
วันศุกร์ ที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 07:30 น.

https://www.isranews.org/article/isranews/119570-isranews-777.html
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2023 10:34 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟท.ติงผลศึกษาย้าย รง.มักกะสันไป "เขาชีจรรย์" สั่งเปรียบเทียบความคุ้มค่าทำเล "ช่องแค, ลำนารายณ์"
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 18:20 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 18:20 น.

บอร์ด รฟท.ติงผลศึกษาย้ายโรงงานมักกะสันไป "เขาชีจรรย์ หรือ สุพรรณบุรี" สั่งเปรียบเทียบอีก 2 แห่ง "ช่องแค, ลำนารายณ์" ประเมินความคุ้มค่า การขนส่งและรื้อย้าย ชี้ทำเลที่ดินราคาสูงควรนำมาพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มเหมาะกว่า

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.วันที่ 22 มิ.ย. ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาผลการศึกษาการคัดเลือกพื้นที่โรงงานมักกะสันแห่งใหม่ แต่บอร์ดยังไม่เห็นชอบผลการศึกษาดังกล่าว เนื่องจากยังมีประเด็นคำถาม และต้องการข้อมูลเพิ่ม จึงให้ที่ปรึกษาไปทำข้อมูลเพิ่มเติมให้รอบด้าน ทั้งในมิติของการเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นๆ มิติของความพึงพอใจของประชาชนในแต่ละพื้นที่ มิติด้านความคุ้มค่าในการลงทุน มิติด้านการขนส่ง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ รฟท.ในอนาคต และให้นำเสนอบอร์ดอีกครั้งในการประชุมเดือน ก.ค. 2566



ทั้งนี้ บอร์ดเห็นด้วยในหลักการย้ายโรงซ่อมบำรุงออกจากมักกะสัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าสูงและมีความคับแคบ ปัจจุบันพื้นที่มักกะสันเหมาะในการนำมาพัฒนาสามารถสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ให้ รฟท.ได้ ในขณะที่เห็นว่าโรงงานซ่อมบำรุงสามารถอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ภายในรัศมี 200 กม. และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ไร่

โดยที่ปรึกษานำเสนอผลการศึกษาพื้นที่ 2 แห่ง คือ
1. พื้นที่บริเวณสถานีชุมทางเขาชีจรรย์ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีพื้นที่ประมาณ 454 ไร่ 3 งาน 27 ตารางวา มูลค่าลงทุนประมาณ 8,234.22 ล้านบาท ได้คะแนนเหมาะสมมากที่สุด
2. พื้นที่บริเวณสถานีสุพรรณบุรี ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มีพื้นที่ประมาณ 240 ไร่ ได้คะแนนลำดับสอง ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน มีมูลค่าลงทุนประมาณ 8,129.72 ล้านบาท



นายนิรุฒกล่าวว่า บอร์ด รฟท.สอบถามถึงพื้นที่อื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ของ รฟท.ในระยะไม่เกิน 200 กม.จาก กทม. และมีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ เช่น บริเวณสถานีช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ซึ่งห่างจาก กทม.ประมาณ 180 กม. และ บริเวณสถานีรถไฟลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ระยะทางจาก กทม.ราว 100 กม. มูลค่าที่ดินของแต่ละแห่งอาจจะไม่สูง และอยู่ในหุบเขา อาจจะไม่สะดวกในการขนส่ง ซึ่งที่ปรึกษาจะกลับไปทำข้อมูลเพิ่ม เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับเขาชีจรรย์ และสุพรรณบุรี ซึ่งเห็นว่าทำเลที่ดินมีมูลค่ามากกว่า

“บอร์ดต้องการข้อมูลรอบด้านเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่หากต้องมีโรงงานรถไฟไปอยู่ตรงนั้น มีความเห็นอย่างไร นอกจากนี้ ต้องดูเรื่องพนักงานรถไฟที่จะต้องทำงานที่โรงงานแห่งใหม่ การขนย้าย การทำงานของ รฟท.ในอนาคต มีค่าใช้จ่าย ต้นทุน เป็นอย่างไร ราคาที่ดินหากสูง ก็เห็นว่าไม่ควรนำมาทำโรงซ่อม เพราะหากพัฒนาเชิงพาณิชย์จะได้มูลค่าเพิ่มสูงกว่า รวมถึงให้นำข้อมูลโรงงานซ่อมบำรุงรถไฟของต่างประเทศมาเปรียบเทียบด้วย”

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมบอร์ดครั้งหน้า คาดว่าจะได้ข้อสรุปในการย้ายโรงงานมักกะสันไปแห่งใหม่เป็นที่ใด และหลังจากบอร์ดเห็นชอบจะดำเนินการจัดทำแผนการย้าย ระยะเวลา วงเงินดำเนินการที่ชัดเจน และตั้งงบประมาณดำเนินการต่อไป โดยการรื้อย้ายจะแบ่งเป็นเฟส

ทั้งนี้ รฟท.ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา กิจการค้าร่วม KUSIP ซึ่งประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บริษัท ยูทิลิตี้ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท อินฟรา กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท โปรคอนเซ็ป เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ศึกษา โครงการศึกษาความเหมาะสมงานซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ออกแบบรายละเอียด โรงงานมักกะสันแห่งใหม่ พร้อมจัดทำแผนการรื้อย้ายและจัดทำเอกสารประกวดราคา เพื่อประเมินความเหมาะสมในขั้นตอนการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพ สำหรับพัฒนางานซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อนของโรงงานมักกะสันแห่งใหม่ในอนาคต


บอร์ดรถไฟฯตีกลับย้ายโรงซ่อมมักกะสัน
วันศุกร์ ที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 9:23 น.

23 มิ.ย. 2566 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการ บอร์ด รฟท. เรื่องขอความเห็นชอบการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่โรงงานมักกะสันแห่งใหม่ ว่าที่ประชุมบอร์ดฯได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากมีความเห็นสอดคล้องกันว่าต้องย้ายศูนย์ซ่อมมักกะสัน เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าสูง เหมาะแก่การนำที่ดินมาใช้ประโยชน์และหารายได้ ไม่เหมาะสมกับการตั้งโรงซ่อม เบื้องต้นพื้นที่ใหม่จะไม่ห่างจากกรุงเทพฯ ระยะทาง200 เมตร เป็นพื้นที่ของการรถไฟฯและมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ไร่

ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ,บริษัท ยูทิลิตี้ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ,บริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ,บริษัท อินฟรา กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท โปรคอนเซ็ป จำกัด ได้เสนอพื้นที่บริเวณสถานีสุพรรณบุรี อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ที่มีพื้นที่ 240 ไร่ และสถานีชุมทางเขาชีจรรย์ อ.สัตหีบจ.ชลบุรี ที่มีพื้นที่ประมาณ 454 ไร่ ซึ่งบอร์ดมองว่ายังไม่ตอบโจทย์

“บอร์ด ได้เสนอให้ บริษัทที่ปรึกษา ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติ่มใน 2 พื้นที่บริเวณช่องแค จ.นครสรรค์ และลํานารายณ์ จ.ลพบุรี พร้อมทั้งรับฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ รวมถึงสรุปความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะต้องนำมาเสนอในที่ประชุมบอร์ด ครั้งต่อไปในเดือน ก.ค.นี้ คาดสรุปแผนภายในปีนี้”นายนิรุฒ กล่าว



Mongwin wrote:
‘รถไฟ’ ขอ 1 ปีศึกษารายละเอียด โรงงานมักกะสันแห่งใหม่
วันศุกร์ ที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 07:30 น.

https://www.isranews.org/article/isranews/119570-isranews-777.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43252
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2023 10:37 am    Post subject: Reply with quote

งานดูแล/สวัสดิการบ้านพักรถไฟ นิคมมักกะสัน เราดูแลห่วงใยสมาชิกเสมอ
https://www.facebook.com/pongthep.prampratin.7/posts/3612172432334866
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46005
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/08/2023 10:23 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟท.เคาะย้ายโรงซ่อมมักกะสันไป "เขาชีจรรย์" ผลศึกษาชี้คุ้มค่า ออกแบบอีก 1 ปี คาดลงทุน 8 พันล้านบาท
ผู้จัดการออนไลน์ 21 ส.ค. 2566 09:09 น.

บอร์ด รฟท.เคาะแล้วย้ายโรงงานมักกะสันไป "เขาชีจรรย์" จ.ชลบุรี ประเมินทำเล ขนาดพื้นที่เหมาะสมคุ้มค่า ผุดโรงงานและพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ เร่งออกแบบรายละเอียด คาดลงทุนกว่า 8 พันล้านบาท เคลียร์พื้นที่ "มักกะสัน" พลิกทำเลทองกลางเมือง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.วันที่ 17 ส.ค. 2566 ได้มีมติเห็นชอบผลการศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) การคัดเลือกพื้นที่โรงงานมักกะสันแห่งใหม่ไปยังบริเวณสถานีชุมทางเขาชีจรรย์ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี หลังพิจารณาอย่างรอบด้านและเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งขนาดพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้งที่มีศักยภาพ สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้ รฟท.ในอนาคต และมีระยะทางจากกรุงเทพฯ ที่เหมาะสมในการขนย้าย และการทำงานของ รฟท.และกาาเดินทางของพนักงานรถไฟในอนาคต ที่จะส่งผลต่อค่าใช้จ่าย ต้นทุนโดยรวมของ รฟท.

สำหรับบริเวณสถานีชุมทางเขาชีจรรย์มีพื้นที่ประมาณ 454 ไร่ 3 งาน 27 ตารางวา ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับพื้นที่โรงงานมักกะสัน (ที่ดินมักกะสันมีพื้นที่รวม 745 ไร่ ใช้ประโยชน์เป็นโรงงานมักกะสัน 324 ไร่) และมีเส้นทางรถไฟตรงกลาง อนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงผ่านด้วย จึงเห็นแนวทางและโอกาสในการจะพัฒนาฝั่งหนึ่งเป็นโรงงานรถไฟ ส่วนพื้นที่อีกฝั่ง พัฒนาเชิงพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นที่ดินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

การย้ายโรงงานมักกะสันออกไปนั้นมีหลักการคืออยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ภายในรัศมี 200 กม. และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ไร่ ซึ่งที่ปรึกษาได้นำเสนอ ผลการศึกษาพื้นที่ 2 แห่ง คือ 1. พื้นที่บริเวณสถานีชุมทางเขาชีจรรย์ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีพื้นที่ประมาณ 454 ไร่ 3 งาน 27 ตารางวา มูลค่าลงทุนประมาณ 8,234.22 ล้านบาท ได้คะแนนเหมาะสมมากที่สุด 2. พื้นที่บริเวณสถานีสุพรรณบุรี ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มีพื้นที่ประมาณ 240 ไร่ ได้คะแนนลำดับสอง ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน มีมูลค่าลงทุนประมาณ 8,129.72 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้บอร์ด รฟท.ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาว่าให้เปรียบเทียบกับจุดอื่นๆ เช่น บริเวณสถานีช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และบริเวณสถานีรถไฟลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ทั้งในมิติด้านความคุ้มค่าในการลงทุน มิติด้านการขนส่ง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการงานของ รฟท.ในอนาคต และมิติความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ด้วย เพื่อความรอบคอบที่สุด

รายงานข่าวแจ้งว่า แผนย้ายโรงงานมักกะสันนั้น ในการศึกษาคาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี ซึ่งล่าสุด หลังบอร์ด รฟท.เห็นชอบพื้นที่ที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่แล้ว ที่ปรึกษาจะมีการออกแบบในรายละเอียด (Detail Design) ของโรงงานแห่งใหม่ รวมถึงมูลค่าโครงการที่ชัดเจน ระยะเวลาการก่อสร้าง รูปแบบลงทุนและการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี

สำหรับที่ดินพัฒนามักกะสันจะมีพื้นที่รวม 745 ไร่ ซึ่งมีการใช้ประโยชน์เป็นโรงงานมักกะสัน 324 ไร่ หลังย้ายโรงงานออกไป รฟท.ได้ศึกษาแผนที่จะนำพื้นที่มา โดยแบ่งเป็น 4 โซน ได้แก่ แปลง A จำนวน 139.82 ไร่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนาม พัฒนาเป็น City Air Terminal ร้านค้าปลอดภาษี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ศูนย์ประชุม-สัมมนา อาคารสำนักงาน เป็นต้น

แปลง B จำนวน 117.31 ไร่ เป็นธุรกิจสำนักงาน อาคารสำนักงาน ธนาคาร ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ อุตสาหกรรมของรัฐ และศูนย์แสดงสินค้า

แปลง C จำนวน 151.40 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยและสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลระดับนานาชาติ (Exhibition Center) โรงเรียนนานาชาติ เวิลด์คัพคิตเชนมาร์ท (ตลาดอาหารระดับโลก) และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์

และแปลง D จำนวน 88.58 ไร่ จะเป็นพิพิธภัณฑ์ รฟท. โรงแรม เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46005
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/06/2024 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

114 ปี "โรงงานมักกะสัน" ประวัติศาสตร์ทรงคุณค่า-ความก้าวหน้ารถไฟไทย
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ
Thursday, June 27, 2024 12:15

ครบรอบ 114 ปี "โรงงานมักกะสัน" ต้นกำเนิดแห่งความก้าวหน้าของกิจการรถไฟในปัจจุบัน

วันที่ 27 มิถุนายน 2567 หากจะกล่าวถึงสถานที่อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ต้นกำเนิดแห่งความก้าวหน้าของกิจการรถไฟในปัจจุบันนั้น คงพลาดไม่ได้ที่จะพูดถึง "โรงงานมักกะสัน" สถานที่อันเต็มไปด้วยกลิ่นอายทางประวัติศาสตร์เรื่องราวและเรื่องเล่าอันมากมาย ที่มีอายุยาวนานกว่า 114 ปี

จุดกำเนิดของ "โรงงานมักกะสัน" เริ่มต้นก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2450 แล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2453 ซึ่งโรงงานมักกะสันที่สร้างขึ้นในระยะแรกนั้นเป็นเพียงอาคารที่มีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก โดยมีหน้าที่หลักคือการดำเนินงานซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อนที่สำคัญ แต่เนื่องจากสงครามมหาเอเชียบูรพาทำให้โรงงานมักกะสันประสบภัยทางอากาศรวม 4 ครั้ง มีอาคารโรงงานและสิ่งปลูกสร้างเสียหายเป็นจำนวนมาก

จึงต้องมีการบูรณะปรับปรุงสร้างขึ้นใหม่ มีเพียงอาคารบางส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากระเบิด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "โรงซ่อมรถโดยสาร โรงงานมักกะสัน" หรือ "อาคาร ร.ฟ.ผ. 2465" ที่ยังอยู่คู่กับโรงงานมาถึงปัจจุบัน และได้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นสถาปัตยกรรมอันล้ำค่า และเป็นแหล่งมรดกทางอุตสาหกรรมที่ซุกซ่อนอยู่ในที่ดินหลายร้อยไร่ของโรงงานมักกะสันแห่งนี้

ปัจจุบัน "โรงงานมักกะสัน" ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แก่ งานซ่อมหนักรถจักรดีเซล รถดีเซลราง รถโดยสาร การผลิตและซ่อมดัดแปลงล้อเลื่อนและอุปกรณ์ส่วนประกอบต่างๆ และสนับสนุนงานซ่อมบำรุง ในส่วนภูมิภาค รวมถึงโรงงานแห่งนี้ยังเคยเป็นโรงงานรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่โรงงานเท่านั้น แต่ยังเป็นถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าไปอย่างราบรื่น

ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน "โรงงานมักกะสัน" ก็ยังคงมีคุณค่าและความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรถไฟฯเป็นหลักฐานที่ชัดเจนของการเกิดขึ้น และการคงอยู่ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพนักงานการรถไฟฯ ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะทางในการซ่อมและผลิตอุปกรณ์ รถจักร และล้อเลื่อนต่าง ๆ รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบของ"โรงงานมักกะสัน" นั้นยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของอาคาร โรงงาน เครื่องจักร สถานีรถไฟมักกะสัน นิคมบ้านพักรถไฟมักกะสัน และโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร อีกด้วย

"โรงงานมักกะสัน" ถือได้ว่าเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์อันยาวนานและทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยเฉพาะงานด้านสถาปัตยกรรมของอาคารต่างๆ เช่น อาคารโรงรถจักร อาคารซ่อมรถโดยสาร อาคารโรงหล่อ โรงกระสวน โรงกลึงล้อ รวมทั้งยังมีวิหารหลวงพ่อนาคปรกที่คนภายในโรงงานมักกะสันและชุมชนในพื้นที่มักกะสันให้ความเคารพ

นอกจากนี้ ยังมีต้นไม้ใหญ่หลากหลายพันธุ์ที่ให้ความร่มรื่นร่มเย็นต่อสถานที่แห่งนี้ สิ่งเหล่านี้ได้ถ่ายทอดผ่านความทรงจำของผู้คนในโรงงานมักกะสันจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องราวอันทรงคุณค่าของ "การรถไฟแห่งประเทศไทย" ให้ส่งต่อสู่ลูกหลาน และคงไว้ซึ่งความสำคัญของโรงงานนี้ต่อไป


114 Years of "Makkasan Factory": Valuable History and Progress of Thai Railways
Source - Prachachat Turakij Website
Thursday, June 27, 2024 12:15


Marking the 114th anniversary of "Makkasan Factory", the origin of current railway progress

On June 27, 2024, when speaking of historically significant places that gave rise to the advancement of present-day railway operations, one cannot overlook "Makkasan Factory". This place is steeped in historical atmosphere, full of stories and tales, with a history spanning over 114 years.

The origin of "Makkasan Factory" dates back to its construction beginning in 1907 and completion in 1910. Initially, the Makkasan Factory was a relatively small building, primarily responsible for the maintenance of important locomotives and rolling stock. However, due to the Pacific War, Makkasan Factory suffered four air raids, causing significant damage to many factory buildings and structures. This necessitated restoration and rebuilding, with only a few buildings unaffected by the bombs. One of these is the "Passenger Car Repair Shop, Makkasan Factory" or "Building R.F.P. 2465", which remains with the factory to this day. It has become a historically valuable structure, a precious piece of architecture, and an industrial heritage site hidden within the hundreds of rai of land belonging to Makkasan Factory.

Currently, "Makkasan Factory" is considered a crucial part of the State Railway of Thailand, serving as the maintenance center for the State Railway of Thailand. Its functions include heavy maintenance of diesel locomotives, diesel railcars, passenger cars, production and repair of modified rolling stock and various components, and supporting maintenance work in the regions. This factory was once the largest railway factory in ASEAN, not just a factory but an important cog in driving the organization forward smoothly.

No matter how much time passes, "Makkasan Factory" continues to hold great value and importance for the railway. It stands as clear evidence of the emergence and continuity of large-scale industry in Thailand since 1910, demonstrating the potential of railway employees who must use specialized skills in repairing and producing equipment, locomotives, and various rolling stock. The surrounding environment of "Makkasan Factory" also has unique characteristics including buildings, factories, machinery, Makkasan Railway Station, Makkasan Railway Housing Estate, and Burachat Chaiyakorn Hospital.

"Makkasan Factory" is considered a long-standing and valuable historical site worthy of conservation, especially the architectural work of various buildings such as the locomotive shed, passenger car repair building, foundry building, pattern shop, wheel lathe shop, as well as the shrine of Luang Por Nak Prok, revered by people within Makkasan Factory and the surrounding Makkasan community. Additionally, there are many large trees of various species providing shade and coolness to this place. These elements have been passed down through the memories of people in Makkasan Factory from the past to the present, serving as a historical learning resource with valuable stories of the "State Railway of Thailand" to be passed on to future generations, preserving the importance of this factory.

----

Arrow E-book ๑๑๑ ปี โรงงานมักกะสัน
https://fliphtml5.com/ctvfc/toiy/basic
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 13, 14, 15
Page 15 of 15

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©