Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312270
ทั่วไป:13908467
ทั้งหมด:14220737
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟ สปป.ลาว
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟ สปป.ลาว
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 276, 277, 278 ... 296, 297, 298  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48296
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/08/2023 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

ลาวเผยทางรถไฟถึงเวียงจันทน์เสร็จแล้ว คาดปู๊นๆได้ในประชุมACMECSปลายปีนี้
IN News วันที่ 12 สิงหาคม 2566 - 11:57 น.

กรุงเทพฯ-เชื่อมต่ออนุภูมิภาค รัฐบาลสนับสนุเงินกู้ขยายเส้นทางรถไฟไทย-ลาว ระยะ2 เชื่อมหนองคาย-ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 7,500 คนต่อวัน และจะมีพิธีเปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ในช่วงปลายปี 2566 หรือในช่วงการประชุมความร่วมมือ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง หรือ ACMECS ครั้งที่10 ซึ่ง สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

วันนี้ (12 ส.ค.66) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนเงินกู้แก่ กรมรถไฟ กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว จำนวนกว่า 900 ล้านบาท ผ่านทางสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) กระทรวงการคลัง ในการพัฒนาโครงการก่อสร้างทางรถไฟท่านาแล้ง – เวียงจันทน์ ระยะที่ 2 ส่วนที่ 2 (รถไฟไทย – ลาว) เป็นการขยายระบบคมนาคมขนส่งทางรางของ สปป.ลาว ที่เชื่อมต่อจากเส้นทางหนองคาย – ท่านาแล้ง - เวียงจันทน์ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และได้มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว(สฟล.) ร่วมอบรมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อรองรับการเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ โดยทาง สปป. ลาว คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 7,500 คนต่อวัน และจะมีพิธีเปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ในช่วงปลายปี 2566 หรือในช่วงการประชุมความร่วมมือ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง หรือ ACMECS ครั้งที่10 ซึ่ง สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

“การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางรางเป็นหนึ่งในความตั้งใจที่ รัฐบาล ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเส้นทางระหว่างประเทศไทย กับ สปป.ลาว ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนด้วย อันเป็นการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางระหว่างประเทศ สอดรับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และใช้จุดแข็งทางภูมิศาสตร์ของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นางสาวรัชดาฯ กล่าว

พาอัปเดทล่าสุด สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)

ปลายทางแห่งใหม่ของรถไฟ ไทย-ลาว ภายใต้การสนับสนุนของ NEDA (สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน) ประเทศไทย

วันนี้ขอพาเพื่อนๆ ไปเยี่ยมชมสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ซึ่งเป็นปลายทางแห่งใหม่ของรถไฟ ไทย-ลาว ซึ่งจะขยายปลายจากสถานีท่านาแล้งในปัจจุบัน ไปสู่สถานีสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)

โดยในโครงการนี้เป็ระยะที่ 2 ของโครงการรถไฟ ไทย-ลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือ NEDA

โครงการทางรถไฟขนาดราง 1 เมตร ไทย-ลาว จาก หนองคาย-เวียงจันทน์ มีระยะทางรวม 11 กิโลเมตร

แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

1. ส่วนหนองคาย-ท่านาแล้ง ซึ่งเปิดใช้งานมาตั้งแต่ 2552

2. ส่วน Container Yard (CY) ท่านาแล้ง ซึ่งเป็นศูนย์รับส่งสินค้าทางคอนเทนเนอร์ เพื่อเชื่อมกับการรถไฟในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พึ่งเปิดใช้งานไปเมื่อปีที่แล้ว

3. ส่วนทางรถไฟท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ซึ่งได้เซ็นสัญญาก่อสร้างไปเมื่อกลางปีที่แล้ว และกำลังก่อสร้างอยู่

ซึ่งในโครงการนี้จะมีสถานีรถไฟเวียงจันทน์ อยู่บริเวณบึงธาตุหลวง ซึ่งเป็นส่วนกลางเมืองของเวียงจันทน์

ระยะทางถึงประตูชัยเวียงจันทน์ เพียงแค่ 8 กิโลเมตร และ ติดกับบึงธาตุหลวง ซึ่งเป็นแหล่งพัฒนาเมืองใหม่ของเวียงจันทน์

ตำแหน่งสถานีเวียงจันทน์ คำสะหวาด (ราง 1 เมตร)

Near Vientiane Prefecture, Laos

https://goo.gl/maps/AFSX8aQrKu5AtPZ16

ในส่วน ทางรถไฟไทย-ลาว ส่วนต่อขยาย ท่านาแล้ง-เวียงจันทร์ รายละเอียดโครงการ

รายละเอียดจากการเซ็นสัญญาก่อสร้างโครงการ https://www.facebook.com/491766874595130/posts/969338660171280/?d=n

- จุดเริ่มต้นโครงการที่ ปลายย่านลานขนส่งสินค่า (cy) ท่านาแล้ง ถึง ย่ายสถานีรถไฟเวียงจันทน์ เป็นทางรถไฟทางเดี่ยว ระยะทาง 9 กิโลเมตร

จากท่านาแล้ง ถึง สถานีเวียงจันทน์ ระยะทาง 7 กิโลเมตร

- มาตรฐานทางรถไฟเทียบเท่าทางหลัก(mainline) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะใช้รางขนาด 100 ปอนด์ ในทางหลัก และ 80 ปอนด์ใน CY

- รางรองรับความเร็วสูงสุดที่ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง

- มีจุดตัดถนนกับทางรถไฟทั้งหมด 8 จุด ซึ่งเป็นทางลอดแบบกล่อง 3 จุด และเป็นจุดตัดระดับดินสำคัญขนาดใหญ่ 1 แห่ง คือตัดกับถนนคำสวัสดิ์

- มีการก่อสร้างตัวอาคารสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (ราง 1 เมตร) ดูรายละเอียดจากรูปด้านล่างได้เลยครับ การออกแบบสถานีคล้ายกับสถานีบางบำหรุ ของสายสีแดงตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่รวม 13,500 ตารางเมตร

ชั้น 1 ขนาด 6,300 ตารางเมตร

ชั้น 2 ขนาด 3,600 ตารางเมตร

ชานชาลาขนาด 3,600 ตารางเมตร

- มีทั้งหมด 2 ชานชาลา และ 4 รางหลีก

- มีการก่อสร้างอาคารที่ทำการการรถไฟลาว

- งานอาณัติสัญญาณ

ในช่วงเบื้องต้นจะใช้การควบคุมการเดินรถไฟด้วยการใช้ วิทยุ และในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อให้เป็นอาณัติสัญญาณไฟสี ถ้ามีการเดินรถไฟมากขึ้น (ยากหน่อยเพราะต้องแข่งกับรถไฟจีน) และระบบอาณัติสัญญาณรองรับการพัฒนาให้ใช้ร่วมกับระบบ ETCS คล้ายกับรถไฟไทยในทางคู่ ซึ่งถ้าถึงจุดนั้นอาจจะเชื่อมต่อกับอาณัติสัญญาณของไทยเราด้วย

- งานออกแบบและวางผังสำหรับการก่อสร้างศูนยซ่อมรถไฟในอนาคต

- งานออกแบบและก่อสร้าง ลานกองเก็บตู้สินค้า (cy) ท่านาแล้ง (สร้างเฟส 1 เสร็จแล้ว)

- งานออกแบบจุดตัดถนนคำสวัสดิ์ ซึ่งเป็นจุดตัดบริเวณหัวสถานี เพื่อให้รถไฟสับเปลี่ยนหัวรถจักร

สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานี

- มีพื้นที่รอโดยสารผู้โดยสารชั้น 1

- พื้นที่ศูนย์อาหาร

- ห้องจำหน่ายตั๋ว

- พื้นที่รองคอยโดยสาร

- สะพานข้ามทางรถไฟพร้อมลิฟต์และบันไดเลื่อน

โดยภาพรวมของสถานี ออกแบบได้ค่อนข้างดีและสอดคล้องกับการให้บริการ

ตอนนี้คงรอแต่การขยายการให้บริการจาก สถานีท่านาแล้ง มาสู่สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ให้ไวที่สุด เพื่อประโยชน์ของผู้โดยสารของทั้ง 2 ประเทศ!!!

ล่าสุดทางกรมการขนส่งทางราง ได้ให้ข้อมูลว่า จะมีการเร่งรัดให้เปิดให้บริการสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ภายในปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2023 1:05 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ลาวเผยทางรถไฟถึงเวียงจันทน์เสร็จแล้ว คาดปู๊นๆได้ในประชุมACMECSปลายปีนี้
IN News วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 11:57 น.


Mongwin wrote:
แผนธุรกิจสถานีคำสะหวาด สปป.ลาวอ้าแขนรับนักธุรกิจไทยลงทุน
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, August 12, 2023 06:04
ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 - 16 ส.ค. 2566


ลิงก์มาแล้วครับ
แผนธุรกิจสถานีคำสะหวาด สปป.ลาวอ้าแขนรับนักธุรกิจไทยลงทุน
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันที่ 13 สิงหาคม 2566 เวลา 15:15 น.

ตลอดเวลาผ่านมา สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. หรือ NEDA ให้ความช่วยเหลือประเทศ สปป.ลาว ทั้งหมด 33 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 15,511.86 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการช่วยเหลือทางการเงินจำนวน 21 โครงการ มูลค่า 15,322.86 ล้านบาท และการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการจำนวน 12 โครงการ มูลค่า 189 ล้านบาท

กล่าวกันว่า มูลค่าการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สปป.ลาว, กัมพูชา, เมียนมา และเวียดนาม รวมมูลค่ากว่า 22,282.38 ล้านบาท โดย สปป.ลาวได้รับความช่วยเหลือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 69.70 ของวงเงินความช่วยเหลือทั้งหมด รองลงมาเป็นกัมพูชา 18.56%, เมียนมา 10.90% และเวียดนาม 0.84% ตามลำดับ



สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ระยะที่ 2 ส่วนที่ 2 (รถไฟไทย-ลาว) หรือสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ทาง สพพ.ให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างระบบรางรถไฟหลัก



โดยเริ่มจากสถานีท่านาแล้งถึงสถานีเวียงจันทน์ ระยะทาง 7.50 กม., งานระบบอาณัติสัญญาณ, งานก่อสร้างสถานีเวียงจันทน์, บ้านพักเจ้าหน้าที่, ทางเข้าสถานีเวียงจันทน์, งานจุดตัดทางรถไฟ และค่าบริหารจัดการ ค่าที่ปรึกษา รวมทั้งสิ้น 994.68 ล้านบาท

โดยแบ่งเป็นเงินให้เปล่า 30% และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 70% อัตราดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี โดยมีอายุสัญญา 30 ปี (รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 10 ปี) ซึ่งขณะนี้ทาง สปป.ลาวทยอยใช้เงินต้นบางส่วนแล้ว



เปิดหวูดสถานีคำสะหวาดปลายปี’66
“พีรเมศร์ วุฒิธรเนติรักษ์” ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. หรือ NEDA กล่าวว่า สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) เป็นการขยายระบบคมนาคมขนส่งทางรางของ สปป.ลาว ที่ต่อเนื่องจากระยะแรกของเส้นทางหนองคาย-ท่านาแล้ง และเส้นทางท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ระยะที่ 2 ส่วนที่ 1 คืองานก่อสร้างย่านกองเก็บตู้คอนเทนเนอร์ (Container Yard) ซึ่งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาทางรถไฟแห่งชาติลาว (National Railway Development Strategy) ที่ต้องการพัฒนาการขนส่งสินค้าในปริมาณมากทางระบบราง เพื่อเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว

โดยงานก่อสร้างทางรถไฟสายท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ระยะที่ 2 ส่วนที่ 2 เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อปี 2562 มีขอบเขตในการพัฒนางานก่อสร้างระบบรางรถไฟหลัก สำหรับสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) อยู่ในความรับผิดชอบของกรมรถไฟ กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าด้วยระบบรางขนาด 1 เมตร

ที่สำคัญ สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นสถานีรถไฟแห่งที่ 2 ในเส้นทางโครงข่ายทางรถไฟไทย-ลาว ตั้งอยู่บริเวณบ้านคำสะหวาด เมืองไซเสดถา ห่างจากโครงการท่าบกท่านาแล้ง และเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ ที่เป็นศูนย์กระจายสินค้าอุปโภค บริโภค และผลไม้ขนาดใหญ่จากไทย-สปป.ลาวไปจีน เพียง 7.5 กิโลเมตรเท่านั้น


สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) เป็นสถานีรถไฟขนาด 2 ชั้น 2 ชานชาลา โดยชั้น 1 มีพื้นที่ 6,300 ตารางเมตร และชั้น 2 มีพื้นที่ 3,600 ตางเมตร นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ชานชาลาอีก 3,600 ตารางเมตร ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และพร้อมเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2566



ทางเลือกใหม่นักท่องเที่ยว-นักธุรกิจไทย
“พีรเมศร์” กล่าวต่อว่า สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) จะเชื่อมโยงระหว่างประเทศในอนุภูมิภาค โดยพัฒนาการคมนาคมขนส่งระบบรางระหว่างประเทศไทยกับ สปป.ลาว (สายกรุงเทพมหานคร-นครเวียงจันทน์) นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย และ สปป.ลาว ยังเชื่อมโยงไปยังประเทศที่สาม ได้แก่ จีน และเวียดนาม อีกด้วย

ดังนั้น นอกจากจะทำให้เกิดการค้าขายในกลุ่มประเทศดังกล่าว ยังช่วยลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสินค้า จนทำให้เกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ยังสร้างโอกาสให้ภาคเอกชนของไทยไปประกอบธุรกิจใน สปป.ลาวอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรับสัมปทานบริหารจัดการ CY และการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสถานีเวียงจันทน์ พร้อมกับสนับสนุนให้มีการจ้างงาน และใช้สินค้าวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างที่มาจากไทยมากยิ่งขึ้น

“ผลตรงนี้ ไม่เพียงจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทย และชาวลาว หากยังเกิดประโยชน์กับประชาชนแถบภูมิภาคนี้ด้วย เพราะนอกจากจะทำให้เกิดการหมุนเวียนทางการเงินภายในประเทศ ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทย ยิ่งเฉพาะตอนนี้นครหลวงเวียงจันทน์เป็นหมุดหมายหลักของนักท่องเที่ยว และนักธุรกิจจำนวนมาก เพราะสามารถเดินทางต่ออีกเพียง 6-8 กิโลเมตร ก็สามารถนั่งรถไฟความเร็วสูงจากสถานีเวียงจันทน์ (สปป.ลาว) ไปยังสถานีบ่อเต็น (จีน) อย่างง่ายดาย”

อนาคตเศรษฐกิจหมุนเวียนคึกคัก
นอกจากนั้น “พีรเมศร์” ยังกล่าวถึงแผนพัฒนาธุรกิจบริเวณโดยรอบสถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่สำหรับเขา แต่เราพร้อมยินดีให้คำแนะนำ และให้ความช่วยเหลือ ซึ่งผมมองว่าตอนนี้โครงสร้างพื้นฐานเสร็จหมดเรียบร้อยแล้ว ต่อไปความเจริญจะมาตามแผนธุรกิจที่วางไว้ และจากนั้นเศรษฐกิจจะตามมาเอง จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการของประเทศเขาด้วย

“แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าต่อไปเศรษฐกิจโดยรวมน่าจะดี เพราะนอกจากด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จากที่เคยอยู่สถานีท่านาแล้ง จะมาอยู่ที่นี่ทั้งหมด คงปล่อยให้สถานีท่านาแล้งดำเนินการเรื่องการขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว ดังนั้น หากนักท่องเที่ยวชาวไทย หรือชาวต่างประเทศนั่งรถไฟจากหนองคายเพื่อเข้าเวียงจันทน์ ก็จะมาดรอปที่นี่ก่อน ทั้งยังสามารถพักค้างคืนที่นี่ 1-2 วัน ก่อนจะเดินทางไปเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และบ่อเต็น ต่อไปได้ ฉะนั้นนอกจากจะทำให้ระบบการคมนาคมขนส่งเกิดความคึกคัก ยังทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนแถบบริเวณนี้ด้วย”

สปป.ลาวเปิดแผนธุรกิจชวนนักลงทุนไทย
“หินเพชร ละคอนวง” รองอธิบดีกรมรถไฟ สถานีรถไฟแห่งชาติลาว กล่าวถึงแผนพัฒนาการลงทุนว่า เรามี business plan คร่าว ๆ ว่าจะบริหารจัดการอย่างไรต่อไป เพราะจากการทำสำรวจมีการประเมินคร่าว ๆ ว่าต่อไปน่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการประมาณ 7,500 คน/วัน และปัจจุบันมีรถไฟจากไทยวิ่งเข้ามายังสถานีท่านาแล้งเพียง 1 เที่ยวต่อวัน ต่อไปคงเพิ่มเป็น 5 เที่ยว/วัน ซึ่งขบวนหนึ่งจะมีตู้คอนเทนเนอร์ 25 ตู้ และส่วนใหญ่จะขนทุเรียน และปุ๋ยเข้ามา เพื่อส่งผ่านไปยังประเทศจีน และ สปป.ลาว ขณะเดียวกัน เราก็ส่งออกเบียร์ลาว, กาแฟ และสินค้าอื่น ๆ ไปยังประเทศไทยด้วย

ดังนั้น แนวทางในการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์ ทั้งในส่วนร้านค้าต่าง ๆ ภายในสถานี และบริเวณโดยรอบ ตอนนี้เราเริ่มคุยกับนักลงทุนบ้างแล้ว ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนภายในประเทศ ซึ่งเขาก็เห็นดราฟต์ของเราแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีการเซ็น MOU แต่อย่างใด

“สำหรับในส่วนของสถานี เราคงต้องไปศึกษาดูงานจากประเทศไทย และอีกหลาย ๆ ประเทศ เพราะเราต้องการให้สถานีเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) เป็นสถานีที่มีชีวิต มีไลฟ์สไตล์ และเป็นสถานีจุดเชื่อมต่อที่อยากให้นักท่องเที่ยวมาแวะพักค้างคืน และตอนนี้เริ่มมีนักลงทุนจากภายในประเทศมาก่อสร้างเกสต์เฮาส์ รีสอร์ตบ้างแล้ว อนาคตจึงเชื่อแน่ว่าน่าจะมีนักลงทุนจากประเทศอื่น ๆ มาสร้างโรงแรม เพราะอย่างที่บอก สถานีนี้ไม่ไกลจากนครหลวงเวียงจันทน์ และไม่ไกลจากสถานีรถไฟความเร็วสูงเวียงจันทน์”

“ทั้งยังไม่ไกลจากโครงการท่าบกท่านาแล้ง ผมจึงค่อนข้างเชื่อว่าในอนาคต บริเวณโดยรอบเมืองไซเสดถาน่าจะเติบโตอย่างน่าสนใจ”

ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ลาวรอวันเปิดสถานี
แต่กระนั้น เมื่อถามว่าขณะนี้มีอุปสรรคอะไรบ้างหรือไม่ “หินเพชร” บอกว่า ช่วงระหว่างรอสถานีเปิดใช้บริการคงต้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และทาง สพพ.ช่วยประสานเพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ (พนักงานขับรถไฟ) ของเราไปทำการฝึกอบรมที่ประเทศไทย เนื่องจากกฎหมายของ สปป.ลาวกำหนดไว้ชัดเจนว่า ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติขับขบวนรถไฟใน สปป.ลาว


“ผมคิดว่าจะส่งเจ้าหน้าที่ของเราไปอบรมที่ประเทศไทย ประมาณ 15 คน โดย 5 คนแรกไปเรียนรู้เรื่องการขับรถไฟส่วนอีก 10 คนที่เหลือจะให้เรียนรู้เรื่องการบำรุงรักษา พนักงานเดินรถ ระบบขายตั๋วโดยสาร และอื่น ๆ เท่าที่ผมคุยกับทางผู้บริหาร สพพ.คาดว่าน่าจะใช้เวลาฝึกอบรมประมาณ 5 สัปดาห์ น่าจะมีความเชี่ยวชาญบ้างแล้ว จากนั้นค่อยให้พวกเขากลับมาเรียนรู้เพิ่มเติมที่ สปป.ลาว เพื่อฝึกความชำนาญอีกทางหนึ่ง”

“และเชื่อว่าเมื่อถึงเวลาเปิดดำเนินการจริง ๆ การรถไฟแห่งชาติลาวคงได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากชาวไทย และต่างประเทศ รวมถึงนักธุรกิจจากหลายภาคส่วนเพื่อเข้ามาทำการค้าขายกับบ้านเราอย่างคึกคักมากยิ่งขึ้น”

https://www.prachachat.net/local-economy/news-1368622


Last edited by Wisarut on 14/08/2023 1:13 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2023 1:09 am    Post subject: Reply with quote

NEDA ช่วยพัฒนาเพื่อนบ้าน
ข่าวต่างประเทศ
นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย

วันที่ 9 สิงหาคม 2566 เวลา 05:45 น.


เมื่อวานผมรับใช้ถึง NEDA หรือสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ชวนสื่อมวลชนนั่งรถไฟสายหลวงพระบาง-เวียงจันทน์ และไปดูโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) สปป.ลาว ระหว่าง 3-5 สิงหาคม 2023

หลังจากดูสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) แล้ว เราก็ไปฟังการบรรยายสรุปจากผู้บริหารของโครงการท่าบกท่านาแล้งและเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ ผมอยากให้ชาวไทยได้ทราบว่าที่นี่เป็นด่านสากลที่ให้บริการด้านพิธีศุลกากรสำหรับสินค้าขาเข้า-ขาออกระหว่างประเทศ และสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศ

ทราบว่าต่อไปรัฐบาลจีนจะส่งเจ้าหน้าที่มาทำพิธีศุลกากรที่นี่ สินค้าการเกษตรของไทย ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน ลำไย มะม่วง หรือสินค้าอื่นใดที่จะส่งไปจีน เมื่อผ่านที่นี่แล้วก็บรรทุกขึ้นรถไฟวิ่งตรงดิ่งไปเข้าดินแดนจีนได้เลย สินค้าผ่านไม่ผ่านรู้กันที่เวียงจันทน์นี่เลย ไม่ต้องรอจนถึงชายแดนลาว-จีน ถ้าไม่ผ่านก็จะได้ขนกลับมาเมืองไทยผ่านทางหนองคาย

ทุกวันนี้ มีสินค้าการเกษตรของไทยที่ศุลกากรจีนไม่ให้ผ่านถูกนำไปทิ้งสร้างความหายนะให้กับผู้ส่งออกสินค้าเกษตรจากไทยไปจีน จะเอากลับไทยก็ไม่คุ้มที่จะลากคอนเทนเนอร์จากชายแดนลาว-จีนกลับมาถึงไทย

พ่อผมฟังคำบรรยายของผู้บริหาร ได้ดูท่าบกท่านาแล้งและเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ แล้วก็วีแชทมาบอกผมซึ่งขณะนี้อยู่ที่ประเทศจีนว่า ท่าบกท่านาแล้งและเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์เหมาะเพราะเชื่อมกับสถานีรถไฟท่านาแล้ง (โครงการรถไฟไทย-ลาว) สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ที่สำคัญคือไม่ไกลจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ (สถานีปลายทางสำหรับขนส่งสินค้าในโครงการรถไฟลาว-จีน)

พ่อผมแนะนำให้ผู้ส่งออกไทยให้ใช้ท่าบกท่านาแล้งและเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ เพราะที่นี่มีทั้งศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า ด่านสากลสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การวางระบบคลังสินค้า ลานกองตู้สินค้า การบริหารจัดการระบบภาษีและพิธีศุลกากร เป็นเขตโลจิสติกส์ครบวงจร มีเขตพาณิชย์และมีพื้นที่สำหรับให้เช่าทำสำนักงาน เพื่อกิจการต่างประเทศ

...


ยังเป็นเขตอุตสาหกรรมผลิตสินค้าเพื่อส่งออก มีการสร้างเส้นทางขนส่งสินค้าทางรถบรรทุกจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 สู่เขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ มีการปรับปรุงลานกองตู้สินค้าขนาดใหญ่ มีจุดเชื่อมจอดสำหรับรถไฟไทย-ลาวและรถไฟลาว-จีน มีการปรับปรุงกฎระเบียบภายในต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน สำหรับภายในและต่างชาติ

หน่วยงานของไทยที่เข้าไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อนบ้านและทำได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในกัมพูชา พม่า และลาว คือสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) สังกัดกระทรวงการคลัง ที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า NEDA

NEDA ทำงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพสูง ทำให้ไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเพื่อนบ้านเป็นการเชื่อมโยงระบบคมนาคมและการขนส่งและเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุนของคนไทยและเพื่อนบ้าน NEDA ทำงานอย่างมีขอบเขตโครงการชัดเจน มีวงเงินโครงการที่ครอบคลุมทั้งค่าก่อสร้าง ค่าบริการที่ปรึกษา ค่าบริหารจัดการ ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด และค่าบริหารจัดการของ NEDA

เพื่อนบ้านรับเงื่อนไขของ NEDA ได้ง่าย ดอกเบี้ยก็ถูก (ประมาณร้อยละ 1.5 ต่อปี) อายุสัญญาก็ยาวนาน บางครั้งนานถึง 30 ปี มีระยะปลอดหนี้ ค่าธรรมเนียมบริหารของ NEDA ก็คิดเพียงร้อยละ 0.15 ของวงเงินให้ความช่วยเหลือ ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษาเป็นนิติบุคคลไทย ใช้สินค้าและบริการจากไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ส่วนกฎหมายที่ใช้บังคับก็ใช้กฎหมายไทย

เปิดฟ้าส่องโลกดูงานกับ NEDA นานกว่า 10 ปี ตั้งแต่รุ่นคนเขียนคนแรกคือพ่อผม พี่ชายของผม และมาจนปัจจุบันตัวผมเอง พวกเราชื่นชมภารกิจ หน้าที่ และวิสัยทัศน์ของ NEDA และพร้อมที่จะนำงานของ NEDA มาให้สังคมไทยรับรู้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและภูมิใจร่วมกันครับ.

นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
songlok1997@gmail.com
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2023 1:15 am    Post subject: Reply with quote

ไทย - ลาว เตรียมเปิดใช้สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) เชื่อมโยงด้านระบบรางในภูมิภาคช่วงปลายปีนี้

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นภสร ไกรศิริวุฒิ / สวท.

ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา

แหล่งที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 2566


ความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ( NEDA ) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ระยะที่ 2 ส่วนที่ 2 รถไฟไทย-ลาว หรือสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) โดยรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนเงินกู้ แก่กรมรถไฟ กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว กว่า 900 ล้านบาท ว่า ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว คาดว่าจะมีพิธีเปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์บ้านคำสะหวาด ช่วงปลายปีนี้ หรือในช่วงการประชุมความร่วมมือ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ ACMECS ครั้งที่ 10 ซึ่งสปป.ลาว เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

เบื้องต้นได้ประสานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในการเพิ่มขบวนรถไฟให้บริการขนส่งผู้โดยสารถึงสถานีรถไฟเวียงจันทน์ เพื่อสนับสนุนนโยบายการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคและส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย และ สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศที่ 3 ทั้งจีนและเวียดนาม ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการค้าขายและการท่องเที่ยวกับประเทศที่ 3 อีกด้วย

สำหรับสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) สปป.ลาว เป็นการขยายระบบคมนาคมขนส่งทางรางของ สปป.ลาว ต่อเนื่องจากระยะแรกของเส้นทางหนองคาย - ท่านาแล้ง และเส้นทางท่านาแล้ง - เวียงจันทน์ มีขอบเขตในการพัฒนางานก่อสร้างระบบราง รถไฟหลัก เริ่มจากสถานีท่านาแล้งถึงสถานีเวียงจันทน์ระยะทาง 7.50 กิโลเมตร และเชื่อมโยงถึงกันด้วยรางรถไฟขนาด 1 เมตร ที่มาจากจังหวัดหนองคาย เบื้องต้น สปป.ลาวจะจัดส่งเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว ( ลฟล.) ไปอบรมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อรองรับการเปืดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบคาดจะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 7,500 คนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48296
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2023 6:44 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ไทย - ลาว เตรียมเปิดใช้สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) เชื่อมโยงด้านระบบรางในภูมิภาคช่วงปลายปีนี้
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : นภสร ไกรศิริวุฒิ / สวท.
ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา
แหล่งที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 2566

รถไฟไทย-ลาวระยะ2เปิดใช้ปลายปีนี้
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, August 14, 2023 06:25

เชื่อมหนองคาย-ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์

ผู้จัดการรายวัน360 - เชื่อมต่ออนุภูมิภาค รัฐบาลสนับสนุนเงินกู้ขยายเส้นทางรถไฟไทย-ลาว ระยะ 2 เชื่อมหนองคาย-ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ คาดเปิดใช้ปลายปีนี้

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนเงินกู้แก่ กรมรถไฟ กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว จำนวนกว่า 900 ล้านบาท ผ่านทางสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) กระทรวงการคลัง

ในการพัฒนาโครงการก่อสร้างทางรถไฟท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ระยะที่ 2 ส่วนที่ 2 (รถไฟไทย-ลาว) เป็นการขยายระบบคมนาคมขนส่งทางรางของ สปป.ลาว ที่เชื่อมต่อจากเส้นทางหนองคาย-ท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ ซึ่งปัจจุบันกระทรวง โยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และได้มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว (สฟล.) ร่วมอบรมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อรองรับการเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ

ทั้งนี้ สปป.ลาว คาดการณ์ว่า จะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 7,500 คนต่อวัน และจะมีพิธีเปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) ในช่วงปลายปี 2566 หรือในช่วงการประชุมความร่วมมือ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือ ACMECS ครั้งที่ 10 ซึ่ง สปป.ลาว เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

"การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางรางเป็นหนึ่งในความตั้งใจที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเส้นทางระหว่างประเทศไทย กับ สปป.ลาว ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนด้วย อันเป็นการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางระหว่างประเทศ สอดรับวิสัยทัศน์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และใช้จุดแข็งทางภูมิศาสตร์ของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด" นางสาวรัชดา กล่าว
โครงการรถไฟจีน-ลาว เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน มายัง สปป.ลาว และประเทศไทย โดยเส้นทางรถไฟดังกล่าวมีความสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เมื่อมีการเชื่อมต่อโครงข่ายโดยสมบูรณ์จากจีน ลาวมายังไทยแล้ว จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าตลอดเส้นทางได้ถึง 30-50% เมื่อโครงสร้างพื้นฐานในส่วนนี้ได้รับการพัฒนาควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมมีการบริหารจัดการรองรับการขนส่ง เพื่อใช้ประโยชน์เส้นทางรถไฟสายนี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่จะร่วมกัน ยกระดับเศรษฐกิจในภูมิภาคให้มีเสถียรภาพและยั่งยืน.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 14 ส.ค. 2566


NEDA สร้างสถานีรถไฟแห่งใหม่ให้สปป.ลาว
Nation World News
Aug 12, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=r60iZhnkMUo

อีกไม่นานช่องทางการเดินทางด้วยรถไฟจากไทยไปยัง สปป.ลาว จะคืบหน้าไปอีกขั้นเมื่อมีการเปิดใช้สถานีรถไฟบ้านคำสะหวาด ในกรุงเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว ซึ่งขณะนี้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วภายใต้การดำเนินงานของ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านหรือ สพพ. หรือเรียกกันอีกชื่อก็คือ "เนด้า (NEDA)" เป็นการเชื่อมต่อจากจังหวัดหนองคาย ให้เข้าใกล้นครหลวงเวียงจันทน์เข้าไปอีก และสัมพันธ์กับรถไฟจีน-ลาว ติดตามรายงานของคุณชิบ จิตนิยม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2023 11:37 pm    Post subject: Reply with quote

คนลาวลั่นยอมเป็นหนี้ไทยดีกว่าเป็นหนี้จีนหลังไทยอนุมัติเงินกู้1,8พันล้านให้ลาว

Top Laos Story - ເລື່ອງພັນລາວ
14 ส.ค. 2023

สะบายดีทุกๆคนเด้อ วันนี้พบกับข่าว คนลาวลั่นยอมเป็นหนี้ไทยดีกว่าเป็นหนี้จีนหลังไทยอนุมัติเงินกู้1,8พันล้านเพื่อพัฒนาสถานีคำสะหวาดให้ลาวนั้นเอง หวังว่าทุกคนจะกดไลค์ กดซับสไคร เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเรากันเยอะๆนะครับ

ที่มา: ลา่วรับเงินช่วยเหลือ 1800 ล้านบาทในการพัฒนาสถานีคำสะหวาด (ລາວຮັບເງິນຊ່ວຍເຫຼືອ 1,8 ຕື້ບາດ ໃນການພັດທະນາສະຖານີລົດໄຟຄຳສະຫວາດ)
‘สพพ.’เพิ่มช่วยเหลือ สปป.ลาว ฝึกคนขับรถไฟ - ทำแผนธุรกิจสถานี‘บ้านคำสะหวาด’
วันอังคาร ที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 08:02 น.
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1082354
https://www.youtube.com/watch?v=VcnCH-hbn4M
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2023 11:48 pm    Post subject: Reply with quote

สอบเส้งตัดเลือกเข้าเรียนที่วิทยาลัยเทคนิก วิชาชีพการรถไฟประจำศกเรียน 2023 - 2024 ສອບເສັງຄັດເລືອກເຂົ້າຮຽນທີ່ວິທະຍາໄລເຕັກນິກ-ວິຊາຊີບການລົດໄຟ ປະຈຳສົກຮຽນ 2023-2024

By Souksadaphone Vongphila -
14/08/2023 เวลา่ 01:27

มีหกสาขาวิชา หลักสูตร 3 ปี ดังนี้:

1. เทคนิกหัวรถจักร ເຕັກນິກຫົວລົດໄຟ
2. เทคนิกตู้รถไฟ ເຕັກນິກຕູ້ລົດໄຟ
3. สัญญา่ณทางรถไฟ ສັນຍານທາງລົດໄຟ
4. วิศวกรรมทางรถไฟ ວິສະວະກໍາທາງລົດໄຟ
5. คุ้มครองการขนส่งทางรถไฟ ຄຸ້ມຄອງການຂົນສົ່ງທາງລົດໄຟ
6. การสนองไฟฟ้าทางรถไฟ ການສະຫນອງໄຟຟ້າທາງລົດໄຟ

ถึงมิถุนายน ปี 2023 ยังจ่าค่าชดเชยทางรถไฟลาวจีน ไป 82.23%
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48296
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2023 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

Vang Vieng, Luang Prabang, Muang Phueng, summary of the trip both by train and by car | Long edit
Go Went Go
Aug 14, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=IL0_eB_Okj8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48296
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/08/2023 7:21 am    Post subject: Reply with quote

ท่าบกท่านาแล้ง กรีนโลจิสติกส์ประตูส่งออกสินค้าไทย
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Wednesday, August 16, 2023 06:11

ไม่นานผ่านมามีโอกาสเดินทางไปศึกษา ดูงานยังโครงการท่าบก ท่านาแล้ง และเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว พร้อมกับคณะผู้บริหาร พนักงานของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ NEDA รวมถึงสื่อมวลชนอีกกว่า 20 คน ทั้งนั้นเพื่อต้องการดูระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของ บริษัท เวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค จำกัด ในเครือ บริษัท สิดทิโลจิสติกส์ลาว จำกัด ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการท่าบกท่านาแล้ง (Thanaleng Dry Port) และเขตโลจิสติกส์ นครหลวงเวียงจันทน์ (Vientiane Logistics Park-VLP)

เพราะทราบข่าวว่าผู้บริหารของที่นี่ต้องการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าเพื่อไปสู่ "Green Logistics" ในอนาคตซึ่งไม่เป็นการกล่าวเกินจริงเลย เพราะเท่าที่สอบถาม "ศิลา เวียงแก้ว" รองประธานคณะกรรมการบริหารการค้า และการควบคุมบริษัท พีทีแอล โฮลดิ้ง และ "สาคอน พิลางาม" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ท่านาแล้ง ดราย พอร์ต จำกัด ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า...ตอนนี้รถขนส่งสินค้าของเราเกือบ 100% ใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด และที่นี่มีสถานีชาร์จไฟฟ้าเป็นของตัวเอง

นอกจากนั้น "ศิลา" ยังเล่าถึง ภาพรวมของโครงการนี้ให้ฟังว่า เนื่องจาก สปป.ลาว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (land-locked) ทำให้เกิดข้อจำกัดหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนโลจิสติกส์ค่อนข้างสูง รวมถึงการนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคในประเทศ และการส่งออกสินค้าจำเป็นต้องผ่านท่าเรือของประเทศที่สาม จึงไม่ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติมาตั้งฐานผลิตในประเทศของเรา

ดังนั้น เมื่อรัฐบาล สปป.ลาว ภายใต้ การนำของ "พันคำ วิพาวัน" นายกรัฐมนตรี กำหนดให้แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2564-2568) เพื่อยกระดับจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นประเทศศูนย์กลางการเชื่อมโยง ในอนุภูมิภาค (land-locked to landlinked) และเป็นสะพานเชื่อมเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ รวมถึงนโยบาย Lao Logistics Link (LLL) ในการสร้างโอกาส และปรับเปลี่ยน landscape ของ สปป.ลาว ให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ และจุดเชื่อมโยงที่สำคัญของภูมิภาคในอนาคต

จึงทำให้กระทรวงแผนการและการลงทุน สปป.ลาว ในนามของรัฐบาล สปป.ลาวอนุมัติสัมปทานระยะเวลา 50 ปี ให้แก่บริษัท เวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค จำกัด ในเครือบริษัท สิดทิโลจิสติกส์ลาว จำกัด เป็นผู้พัฒนาท่าบกท่านาแล้ง (Thanaleng Dry Port) และเขตโลจิสติกส์ นครหลวงเวียงจันทน์ (Vientiane

Logistics Park-VLP) บนพื้นที่ขนาด 2,387.5 ไร่ มูลค่าการก่อสร้างกว่า 727 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นด่านสากลบริการด้านพิธีศุลกากรสำหรับสินค้าขาเข้า-ขาออกระหว่างประเทศ และสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. 2564 เป็นต้นมา

"สาคอน" กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการท่าบกท่านาแล้ง และเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เชื่อมโยงกับสถานีรถไฟท่านาแล้ง (โครงการรถไฟไทย-ลาว), สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์) และตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ (สถานีปลายทางสำหรับขนส่งสินค้า โครงการรถไฟลาว-จีน)

โครงการดังกล่าว ไม่เพียงเปลี่ยนโฉม การขับเคลื่อนด้านโลจิสติกส์ และการเชื่อมต่อของ สปป.ลาว หากยังสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร ประกอบด้วย ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า, ด่านสากลสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ, การวางระบบคลังสินค้า, ลานกองตู้สินค้า, การบริหารจัดการระบบภาษี และพิธีศุลกากรเขตโลจิสติกส์ครบวงจร เขตพาณิชย์ และพื้นที่สำนักงานให้เช่าสำหรับกิจการต่างประเทศ

รวมถึงเขตอุตสาหกรรมผลิตสินค้าเพื่อส่งออก, การสร้างเส้นทางขนส่งสินค้าทางรถบรรทุกจากสะพานมิตรภาพสู่พื้นที่ VLP, การปรับปรุงลานกองตู้สินค้าขนาดใหญ่, การสร้างจุดเชื่อมจอด (meeting point) สำหรับรถไฟไทย-ลาว และรถไฟลาว-จีน และการปรับปรุงกฎระเบียบภายในต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนทั้งภายใน และต่างชาติ

"เพียงแต่ขณะนี้ความคืบหน้ายังไม่แล้วเสร็จ เพราะเราค่อย ๆ ทยอยเปิดทีละเฟส ๆ และอีกไม่นานคงให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ"
ที่สำคัญ รัฐบาล สปป.ลาว จดทะเบียน ท่าบกเป็น "A Dry Port of International Importance" จำนวน 9 แห่ง โดยมีโครงการท่าบกท่านาแล้งเป็น 1 ใน 9 แห่งที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP)

นอกจากโครงการท่าบกท่านาแล้งและเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ รัฐบาล สปป.ลาวยังมีโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยง ด้านโลจิสติกส์อีกหลายโครงการ อาทิ โครงการทางด่วนนครหลวงเวียงจันทน์ด่านสากลบ่อเต็น ที่จะช่วยยกระดับ โครงข่ายเส้นทางทางบกไปยังประเทศจีน ทั้งยังช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าขึ้นไปทางเหนือ, โครงการเส้นทาง รถไฟลาว-เวียดนาม ที่จะเชื่อมต่อนครหลวงเวียงจันทน์-ท่าแขก-นาเพ้า- ท่าเรือหวุงอ่าง ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ด้านการเชื่อมต่อ สปป.ลาวสู่ทางออกทะเล ในเวียดนามที่ใกล้ที่สุด

โครงการพัฒนาท่าเรือหวุงอ่างในเวียดนาม ซึ่ง สปป.ลาวได้สิทธิในการบริหาร และพัฒนาเต็มรูปแบบโครงการ Mega Projects ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน นโยบายของ สปป.ลาว จาก land-locked สู่ land-linked อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับสร้างทางเลือกในการขนส่งสินค้าให้กับภูมิภาคอีกด้วย

ถึงตรงนี้ "ศิลา" ขยายความให้ฟังว่า โครงการท่าบกท่านาแล้ง นอกจากจะเป็นเขตโลจิสติกส์ครบวงจรที่มีมาตรฐานระดับสากล ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ยังเป็นโครงการเพียงแห่งเดียวที่รวม 7 เขต สำคัญมาไว้ในจุดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น เขตการค้าเสรี, เขตสินค้าส่งออก, เขตกักกันพืชและสัตว์, เขตเทคโนโลยี, เขตสินค้าเฉพาะประเภทฮาลาล, เขตสินค้าจากฟาร์ม และเขตบริการโลจิส ติกส์อย่างครบวงจร

ขณะที่ "สาคอน" บอกว่า อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือ โครงการท่าบกท่านาแล้ง ไม่โดดเด่นแต่เฉพาะการเป็นศูนย์กระจายสินค้าจากไทย-ลาว และลาว-จีนเท่านั้น หากเราต้องการที่จะบริหารธุรกิจของโครงการให้เป็น "connectors" หรือ "จุดเชื่อมต่อ" ที่สำคัญ

"พูดง่าย ๆ เราไม่อยากเป็นฮับ เพราะเป้าหมายของธุรกิจคือต้องการที่จะลิงก์สินค้าจากประเทศไทย อาทิ ทุเรียน, มะม่วง, มังคุด, ลำไย ซึ่งเป็นสินค้ายอดฮิต รวมถึงสินค้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเพื่อส่งต่อไปยังประเทศจีน รวมถึงเป้าหมายที่สำคัญกว่านั้นคือการมุ่งนำส่งสินค้าเพื่อส่งต่อไปยังกลุ่มประเทศเอเชียกลาง และยุโรปต่อไปในอนาคตด้วย"
ดังนั้น เมื่อมาดูข้อมูลของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พบว่า นับตั้งแต่เปิดโครงการท่าบกท่านาแล้ง เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2564 ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกผลไม้ไปจีนเพิ่มขึ้นมาก มูลค่าส่งออกจากไทยทางด่านหนองคายผ่านแดน สปป.ลาว ไปจีนอยู่ที่ 90.41 ล้านบาท ในปี 2564 แต่เมื่อเส้นทางรถไฟจีน-ลาวเปิดให้บริการ มูลค่าส่งออก จากไทยทางด่านหนองคายผ่านด่าน สปป.ลาวไปจีนเพิ่มขึ้นเป็น 1,964.89 ล้านบาท ในปี 2565 และเป็น 2,848.41 ล้านบาท ในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.พ.ค.) ของปี 2566

ทั้งนี้ ร้อยละ 72 ของมูลค่าการส่งออกดังกล่าว หรือประมาณ 2,073.18 ล้านบาท เป็นการส่งออกทุเรียนสดจากไทยไปจีน มากที่สุด นอกจากนั้น เป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ปลายข้าวเหนียว, ยางพารา, แร่เฮมาไทต์ และหัวแร่, เม็ดพลาสติก และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ถึงเวลาที่ "ผู้ประกอบการ" ไทย และเกษตรกรชาวสวนทุเรียน, มะม่วง, มังคุด, ลำไย ต้องให้ความสำคัญกับการลำเลียงผลผลิตเหล่านี้ เพราะโอกาสมาถึงแล้ว จะปล่อยให้หลุดมือ ไปได้อย่างไร

บรรยายใต้ภาพ

ศิลา เวียงแก้ว

สาคอน พิลางาม

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 - 20 ส.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2023 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

Due to the ongoing depreciation of Lao Kip, Lao - China Railway has to raise the ticket prices to be in line with the current exchange rates of Lao Kip vs. Chinese Renminbi Yuan but not to exceed 20%.
For the land expropriation, 848 hectares out of 990 hectares have been paid and 7306 families out of 8139 families of those who suffered from land expropriation have received compensation payment.
https://www.facebook.com/fm90laos/posts/679959037501686
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 276, 277, 278 ... 296, 297, 298  Next
Page 277 of 298

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©