RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312267
ทั่วไป:13899500
ทั้งหมด:14211767
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 112, 113, 114 ... 136, 137, 138  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2023 11:51 am    Post subject: Reply with quote

📣เก็บภาพมาฝากจ้า งานก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน #สถานีสามยอด #สถานีสะพานพุทธฯ
🚇🚧สถานีสามยอด : ตั้งอยู่ใต้ถนนมหาไชย บริเวณหน้าสวนรมณีนาถ เป็นสถานีเชื่อมต่อกับสถานีสามยอดของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
🚇🚧สถานีสะพานพุทธฯ : ตั้งอยู่ใต้ถนนประชาธิปก บริเวณก่อนถึงสี่แยกบ้านแขก
โดยความก้าวหน้างานก่อสร้างของสัญญาที่ 3 : กิจการร่วมค้า ไอทีดี-เอ็นดับเบิ้ลยูอาร์ เอ็มอาร์ที ผู้รับจ้างงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 ในภาพรวมอยู่ที่ 15.99% (เฉพาะของสัญญา ที่ 3) #ต้องขออภัยในความไม่สะดวกตลอดระยะเวลาการก่อสร้างโครงการฯ🙏🙏
https://www.facebook.com/MRTPurplelinesouth/posts/277519618397889
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/09/2023 4:08 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีราษฎร์บูรณะ สถานีสุดท้ายในเขตกรุงเทพฯ ก่อนเข้าจังหวัดสมุทรปราการ (ก.ย.66)
ัvnp story
Sep 15, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=bzU-tc63qlc

สถานีราษฎร์บูรณะ สถานีสุดท้ายในเขตกรุงเทพฯ ก่อนเข้าจังหวัดสมุทรปราการ (ก.ย.66)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก
สถานีราษฎร์บูรณะ ตำแหน่งของสถานีจะอยู่ถัดจากทางด่วน ตรงถ.สุขสวัสดิ์ จุดตัดกับ คลองแจงร้อน มีอาคารจอดแล้วจร ริมถนนสุขสวัสดิ์ 2อาคาร ซึ่งตั้งอยุ่ในฝั่งขาออก 1อาคาร และฝั่งขาเข้า 1อาคาร รองรับรถยนต์ได้ 1384 คัน งานก่อสร้างอยู่ใน สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุใน ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ภาพรวมการก่อสร้าง เดือน สิงหาคม 2566 งานโยธา 16.71%

ล่าสุด... ปิดเบี่ยงจราจร ชิดเกาะกลาง ฝั่งละ 1 ช่อง มีผลทำให้การจราจรไปและกลับเหลือฝั่งละ 3 ช่องจราจร รื้อย้ายสาธารณูประโภค ขุดหลุม ทำฐานราก หล่อเสาเข็ม


นัดถกนำร่องรถไฟฟ้า20บ. 'บางใหญ่-ดอนเมือง'สุดคุ้ม
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, September 18, 2023 04:39

ผู้จัดการรายวัน360 - "สุริยะ" ลุยค่ารถไฟฟา 20 บาทตลอดเส้นทาง เดินทางข้ามระบบ "แดง-ม่วง" นำร่องเชื่อม 2 สาย ระยะทางรวม 60 กม. สุดคุ้มจาก "บางใหญ่-ดอนเมือง" ถูกกว่านั่งวินไปปากซอย นัด รฟม. - รฟท.ถกรายละเอียด แบ่งรายได้

ผู้จัดการรายวัน360 - "สุริยะ" ลุยค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดเส้นทาง เดินทางข้ามระบบ "แดงม่วง" นำร่องเชื่อม 2 สาย ระยะทางรวม 60 กม. สุดคุ้มจาก "บางใหญ่-ดอนเมือง" ถูกกว่านั่งวินไปปากซอย นัด รฟม.-รฟท.ถกรายละเอียดแบ่งรายได้

จากที่รัฐบาล โดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจรมว.คมนาคม มีแนวนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่จะเริ่มดำเนินการได้ภายใน 3 เดือนนี้ โดยนำร่องกับ รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) และสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) ที่อยู่ ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นั้น

วานนี้ (17 ก.ย.) รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะไม่ได้เฉพาะการเดินทางภายในสายสีแดง หรือสายม่วงเท่านั้น แต่จะครอบคลุมถึงการเดินทางเชื่อมต่อข้ามระบบ ระหว่าง สายสีแดง กับสายสีม่วงด้วย โดยมีสถานีบางซ่อน เป็นสถานีร่วม ซึ่งจะทำให้การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า จากต้นทางไปยังปลายทาง ด้วยอัตราค่าโดยสาร 20 บาท ตลอดเส้นทาง

โดยรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อรังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะทางรวม 37.60 กม. มีจำนวน 13 สถานี ส่วนสายสีม่วง (คลองบางไผ่-บางซื่อ) ระยะทาง 23 กม. จำนวน 16 สถานีรวมทั้ง 2 สาย มีสถานีถึง 29 สถานี มีระยะทางรวมกันกว่า 60 กม.

"ยกตัวอย่าง ปัจจุบัน หากต้องการเดินทางจากบางใหญ่ ไป สนามบินดอนเมือง โดยใช้สายสีม่วง จากสถานีคลองบางไผ่-สถานี บางซ่อน (15 สถานี) ค่าโดยสาร 42 บาท จากนั้น ใช้ สายสีแดง จากบางซ่อน-ดอนเมือง (9 สถานี) ค่าโดยสาร 39 บาท แต่ตามนโยบายใหม่ จะจ่ายเพียง 20 บาทเท่านั้น ก็จะสามารถเดินทางจากคลองบางไผ่-ดอนเมือง เป็นต้น" แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุ

รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 18 ก.ย.นี้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม จะมีการประชุมร่วมกับ รฟท., รฟม., บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) และกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน การแบ่งค่าโดยสารกรณีเดินทางข้ามสายสีแดงกับสายสีม่วง รวมถึงมาตรการอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร และการทำประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่าปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีม่วง มี ผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณ 5-6 หมื่นคน-เที่ยว/วัน โดยเคยทำสถิติสูงสุด (นิวไฮ) เมื่อต้นเดือนก.ย.66 ที่ประมาณ 7.6 หมื่นคน-เที่ยว/วัน มีอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 42 บาท จากการศึกษาของโครงการพบว่า จะถึงจุดคุ้มทุนเมื่อจำนวนผู้โดยสารมีประมาณ 1.3 แสนคน-เที่ยว/วัน จึงใช้รูปแบบการจ้างเดินรถ หรือ PPP-Gross Cost กับเอกชน

โดย กรณีสายสีม่วง ลดค่าโดยสารเหลือ 20 บาทตลอดสาย คาดว่ารายได้จะลดลงจากปัจจุบัน 56-60 ล้านบาท/ปี แต่จำนวนผู้โดยสารจะมีเพิ่มขึ้น 10-20% หรือเพิ่มเป็น 6-7 หมื่นคน-เที่ยว/วัน และคาดว่ารายได้ที่ลดลง จะกลับมาเท่าเดิมภายใน 2 ปี โดย รฟม. ได้มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อดำเนินการสายสีม่วง ใน 2 ส่วนคือ 1. ค่าใช้จ่ายเพื่อใช้คืนค่างานระบบ และค่าขบวนรถไฟฟ้า ปัจจุบันอยู่ที่ 150 ล้านบาท/เดือน (1,800 ล้านบาท/ปี) ซึ่งตามสัญญา จะใช้คืนเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่เปิดให้บริการ (ปี 2559-2568) และ 2. ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ประมาณ 208 ล้านบาท/เดือน (2,500 ล้านบาท/ปี)

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ รฟฟท. ผู้ให้บริการเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง กล่าวว่า ปัจจุบันสายสีแดง มีผู้โดยสารเฉลี่ย 2.1 หมื่นคน-เที่ยว/วัน โดยเคยทำสถิติสูงสุดที่ 2.8 หมื่นคน-เที่ยว/วัน มีอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 12 บาท สูงสุด 42 บาท โดยมีรายได้ประมาณ 20 ล้านบาท/เดือน (240 ล้านบาท/ปี) ทั้งนี้ คาดว่าลดค่าโดยสารเหลือ 20 บาทตลอดสาย รายได้จะลดลงประมาณ 80 ล้านบาท/ปี ขณะที่ประเมินว่า จำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้น 20% หรือเพิ่มเป็น 2.5-2.6 หมื่นคน-เที่ยว/วัน ภายใน 1-2 ปี

โดยในปี 2566 สายสีแดง มีค่าใช้จ่ายรวม เกือบ 1,000 ล้านบาท และปี 2567 รฟท.ตั้งงบประมาณรายจ่ายสำหรับค่าบริหารการเดินรถ ค่าซ่อมบำรุง สายสีแดง ประมาณ 1.1 พันล้านบาท ขณะที่ศักยภาพขบวนรถที่มี สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1.2 แสนคน-เที่ยว/วัน ดังนั้น หากจำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มอีก ต้นทุนค่าดำเนินการ ก็จะไม่เพิ่มขึ้นแต่ อย่างใด.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 18 ก.ย. 2566


ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์-Dailynews
20 ก.ย. 66 14:28 น.

รอบอร์ดสคร.เคาะรูปแบบเดินรถไฟฟ้า“สายสีม่วงใต้”
*เดทไลน์มี.ค.67ให้BEMยิงยาว46กม.-ประมูลใหม่
*เลือกรายใหม่ต้องใช้เวลาคัดเลือกเอกชน 1.5-2 ปี

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/858491579061411
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2023 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีครุใน สถานีสุดท้าย รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-วงแหวนกาญจนาภิเษก (ก.ย.66)
ัvnp story
Sep 21, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=JcshmteSHYY

สถานีครุใน สถานีสุดท้าย รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-วงแหวนกาญจนาภิเษก (ก.ย.66)

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บูรณะ วงแหวนกาญจนาภิเษก ผู้รับจ้าง บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวลีอปเมนต์ ในสัญญาที่ 5 ดาวคะนอง-ครุในได้ทำการปิดเบี่ยงจราจร บนถนนสุขสวัสดิ์ ฝั่งขาเข้าและขาออก 1 ช่องจราจร ชิดเกาะกลาง ตั้งแต่ซอยสุขสวัสดิ์ 68 ถึง ซอยสุขสวัสดิ์ 47/1 ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร
เพื่องานก่อสร้าง สถานีครุใน และเส้นทางวิ่งหลัก ไปถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2570 ตลอด 24 ชั่วโมง

มีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้าเหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออกเหลือ 3 ช่องทาง
ล่าสุด ผู้รับจ้างได้เร่งหล่อเสาตอม่อ ทางวิ่ง และสถานี มีเสาสูงๆให้เห็นหลายต้น
สถานีครุใน ตั้งอยู่บริเวณซอยสุขสวัสดิ์70 ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สถานีครุใน ตั้งอยุ่หน้าถ.สุขสวัสดิ์ซอย 70 ทางขึ้นลงมี 4 จุด

ทางขึ้นลงที่ 1 อยู่บริเวณพื้นที่ว่าง บ.อุตสาหกรรมแอร์เคมีไทย
ทางขึ้นลงที่ 2 อยู่บริเวณศูนย์ซ่อมรถยนต์
ทางขึ้นลงที่ 3 พื้นที่ว่างบริเวณ ปากซอยสุขสวัสดิ์ 70
ทางขึ้นลงที่ 4 บริเวณปั้มซัสโก้ ติดกับคลองเจ๊กทิม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน ราษฎร์บูรณะ ครุใน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร

เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 7 สถานี มีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง
ได้แก่ สถานีบางปะกอก และสถานีราษฎร์บูรณะ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2023 10:01 pm    Post subject: Reply with quote

รอบอร์ด สคร. เคาะ! ข้อสรุปเดินรถสาย “ม่วงใต้” เดดไลน์ มี.ค.67 เปิดทันปี 71
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันพุธ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 16:20 น.

ยังไม่ได้ข้อสรุป! รูปแบบเดินรถไฟฟ้า “สายสีม่วงใต้” เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สคร. เตรียมชงบอร์ดชุดใหญ่ ชี้ควรต้องได้ข้อสรุป “เจรจารายเดิม Vs ประมูลใหม่” ไม่เกิน มี.ค. 67 หวั่นหากช้าจะกระทบแผนเปิดบริการปี 71 ขณะที่งานก่อสร้างคืบแล้ว 16.71% คาดก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผนปี 70

“ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์” แจ้งว่า ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างรอคำตอบเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุนในการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ใต้) ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) จากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ว่า รฟม. จะสามารถแก้ไขสัญญาสัมปทานสายสีม่วงเหนือช่วงเตาปูน-บางใหญ่ได้หรือไม่ เนื่องจากผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (PPP) ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระบุว่า การเดินรถต่อเนื่องเป็นเส้นทางเดียวกันทั้งสายสีม่วงใต้ และสายสีม่วงเหนือ ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด


ทราบว่า สคร. ต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) สคร. ชุดใหญ่ ที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานด้วย คาดว่าจะสามารถเสนอเข้าที่ประชุมได้ในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ระยะทาง 23.63 กิโลเมตร (กม.) เดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาพรวมการก่อสร้างมีความคืบหน้าประมาณ 16.71% โดยสัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ดำเนินการโดยกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-พีแอลคืบหน้า 20.67%, สัญญาที่ 2 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้าดำเนินการโดยกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-พีแอล คืบหน้า 20.15%,


สัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ ดำเนินการโดยกิจการร่วมค้าไอทีดี-เอ็นดับเบิ้ลยูอาร์ เอ็มอาร์ที คืบหน้า 15.99%, สัญญาที่ 4 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงสะพานพระพุทธ-ดาวคะนอง ดำเนินการโดยบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) คืบหน้า 17.02%, สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงดาวคะนอง-ครุใน อาคารจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard) และอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) ดำเนินการโดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) คืบหน้า 8.87% และสัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนวเส้นทางโครงการ ดำเนินการโดยบริษัท อิตาเลียนไทยฯ คืบหน้า 8.76%


คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จตามแผนงานในปี 70 และสามารถเปิดเดินรถให้บริการประชาชนได้ในปี 71 ทั้งนี้หากจะให้เป็นไปตามแผนงานดังกล่าว ควรจะได้ข้อสรุป และแนวทางที่ชัดเจนเรื่องรูปแบบการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ไม่เกินเดือน มี.ค.67 ว่าจะเจรจารายเดิมกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เหนือ) ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ให้เป็นผู้เดินรถต่อเนื่อง หรือจะเปิดประกวดราคา (ประมูล) ใหม่ เพื่อหาผู้ให้บริการเดินรถรายใหม่ ซึ่งหากเลือกแนวทางเปิดประมูลใหม่ ต้องใช้เวลาในการดำเนินงานคัดเลือกเอกชนประมาณ 1.5-2 ปี 


เรื่องรูปแบบการเดินรถ รฟม. ต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมโปร่งใส เป็นธรรม เป็นไปตามกฎหมาย และหลักธรรมาภิบาล ซึ่งหากดำเนินการตามผลการศึกษาที่เจรจากับผู้เดินรถรายเดิม จะทำให้การเดินรถต่อเนื่องเป็นเส้นทางเดียวกันทั้งสายสีม่วงใต้ และสายสีม่วงเหนือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน โดยผู้โดยสารสามารถนั่งได้ยาวตลอดทั้งเส้นทาง ไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีเตาปูน แต่หากเปิดประมูลใหม่นอกจากจะทำให้ประชาชนไม่สะดวกในการเดินทางแล้ว ยังมีข้อจำกัดเรื่องศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวที่สถานีคลองบางไผ่ด้วย ซึ่งจะเกิดปัญหาได้หากมีผู้เดินรถ 2 ราย


อย่างไรก็ตามการจัดหา และติดตั้งระบบรถไฟฟ้า การเดินรถไฟฟ้า และการบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ มีวงเงินลงทุนประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท เป็นงานคนละส่วนกับงานโยธา โดยการดำเนินงานในส่วนนี้ อาทิ การติดตั้งระบบฯ และการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า จะใช้เวลาประมาณ 3 ปี....

รอบอร์ดสคร.เคาะรูปแบบเดินรถไฟฟ้า“สายสีม่วงใต้”
*เดทไลน์มี.ค.67ให้BEMยิงยาว46กม.-ประมูลใหม่
*เลือกรายใหม่ต้องใช้เวลาคัดเลือกเอกชน 1.5-2 ปี
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/858491579061411


Last edited by Wisarut on 29/09/2023 12:03 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/09/2023 4:48 pm    Post subject: Reply with quote

ก่อสร้างทางวิ่งหลัก รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ หน้าห้างบิ๊กซีบางปะกอก MRT PURPLE LINE (ก.ย.66)
ัvnp story
Sep 28, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=pPWtFbC-AwU

ก่อสร้างทางวิ่งหลัก รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ หน้าห้างบิ๊กซีบางปะกอก MRT PURPLE LINE (ก.ย.66)

คลิปนี้พาดู งานก่อสร้างทางวิ่งหลักบริเวณหน้าห้างบิ๊กซีบางปะกอก จนถึงซอยสุขสวัสดิ์ 28

ในสัญญาที่ 5 ดาวคะนอง-ครุใน ผู้รับจ้าง บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ล่าสุดผู้รับจ้าง เร่งหล่อเสาทางวิ่งยกระดับรถไฟฟ้า ปิดเบี่ยงจราจรชิดเกาะกลาง เมื่อมีการต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บุรณะ ก็ทำให้ ห้างร้าน คอนโด ที่พักอาศัย ทะยอยก่อสร้างตามแนวรถไฟฟ้า ทั้งสร้างเสร็จไปแล้ว และกำลังก่อสร้างอยู่จำนวนหลายโครงการ มีนายทุนเข้ามาจับจองพื้นที่ มีที่ติดถนนใหญ่ และตามซอยต่างๆ ต่อเนื่อง มูลค่าที่ดินใกล้รถไฟฟ้าเริ่มปรับราคาสูงขึ้น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เตาปูน ราษฎร์บุรณะ วงแหวนกาญจนาฯ ภาพรวมการก่อสร้าง เดือนสิงหาคม 2566 งานโยธา 16.71% ระยะทางรวม 23.63 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี แบ่งเป็น
สถานีใต้ดิน จำนวน10 สถานี สถานียกระดับ จำนวน 7สถานี
แบ่งออกเป็น 6 สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 1 ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ก่อสร้างโดย กิจการร่วมค้าซีเคเอสที-พีแอล (ช.การช่าง และซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)
สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้าฯ สร้างโดย กิจการร่วมค้าซีเคเอสที-พีแอล,
สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้าฯ-สะพานพุทธ ก่อสร้างโดย กิจการร่วมค้าไอทีดี-เอ็นดับบลิวอาร์ เอ็มอาร์ที (อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และเนาวรัตน์พัฒนาการ)
สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง ก่อสร้างโดย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุในก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนวเส้นทางโครงการ ก่อสร้างโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) คาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ภายในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/09/2023 7:20 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟม. เคาะหั่นราคาสายสีม่วงเหลือ 20 บาท ดีเดย์ 1 ธ.ค.นี้
ไทยโพสต์ 28 กันยายน 2566 เวลา 21:16 น.

บอร์ด รฟม. ไฟเขียวลดราคาสายสีม่วง 20 บาทตลอดสาย จ่อชง ‘คมนาคม’ 29 ก.ย.นี้ เริ่ม 1 ธ.ค.นี้ คาดรายได้หดปีละ 190 ล้าน ดันผู้โดยสารเพิ่มวันละ 1 หมื่นคน ส่วนเด็ก-ผู้สูงอายุ เหลือ 7-10 บาทตลอดสาย ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดภาระค่าครองชีพประชาชน

28 ก.ย.2566 -นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. โดยมีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธานฯ ว่า ตามที่รัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคม มีนโยบายการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอัตรา 20 บาทตลอดสาย เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน โดยจะเร่งรัดดำเนินการทันทีในเส้นทางที่ภาครัฐเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร ซึ่งครอบคลุมถึงรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม หรือ MRT สายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน ระยะทาง 23 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 16 สถานีของ รฟม. ด้วยนั้น

ทั้งนี้ บอร์ด รฟม. ได้มีมติเห็นชอบในแนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง 20 บาทตลอดสาย หรือเริ่มต้น 14 บาท สูงสุด 20 บาท ซึ่งในเบื้องต้นจะสามารถใช้ได้กับผู้ถือบัตรโดยสาร EMV เท่านั้น อีกทั้ง ยังเห็นชอบหลักการกำหนดส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต โดยจะเชื่อมต่อที่สถานีบางซ่อน และจะต้องเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีบางซ่อน ภายในระยะเวลา 30 นาที และใช้บัตรโดยสารใบเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม รฟม. เตรียมเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังกระทรวงคมนาคมในวันที่ 29 ก.ย. 2566 ก่อนที่จะเสนอไปที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป และจะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2566 เป็นต้นไป โดยภายหลังเปิดให้บริการนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย รฟม.จะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งด้านตัวเลขผู้โดยสาร รายได้ รวมถึงจุดคุ้มทุนที่ รฟม. ไม่ต้องชดเชยรายได้ในอนาคตด้วย

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า จากนโยบายดังกล่าว คาดว่า จะทำให้รายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงของ รฟม. ลดลงประมาณ 60% หรือวงเงิน 190 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ คาดว่า จำนวนผู้โดยสารสายสีม่วงจากเพิ่มขึ้นประมาณ 1 หมื่นคนต่อวัน หรือคิดเป็น 17% จากปกติมีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 5.6 หมื่นคนต่อวัน เพิ่มเป็น 6.6 หมื่นคนต่อวัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน รถไฟฟ้าสายสีม่วง มีขบวนรถไฟฟ้า 23 ขบวน รองรับได้กว่า 2 แสนคนต่อวัน
    “การเดินทางเฉลี่ยของผู้โดยสารนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 8 สถานี จากจำนวนทั้งหมด 16 สถานี ค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 23 บาท ขณะที่การเดินทางข้ามสายระหว่างสายสีม่วงกับสายสีแดง ที่สถานีบางซ่อน ปัจจุบันยังมีจำนวนไม่มาก หรืออยู่ที่ประมาณ 100-200 คนต่อวัน” นายภคพงศ์ กล่าว
นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า ในเรื่องของการแบ่งรายได้นั้น จะใช้วิธีการเก็บจากสถานีต้นทาง กล่าวคือ หากผู้โดยสารขึ้นใช้บริการเริ่มต้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง รฟม. จะเป็นผู้รับรายได้ในส่วนนั้นไป หากผู้โดยสารขึ้นจากรถไฟฟ้าสายสีแดง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเป็นผู้นับรายได้ในส่วนนั้นไปเช่นกัน โดยทั้งหมดนี้จะให้บริการผ่านระบบ EMV หรือการใช้บริการผ่านบัตรเครดิต และบัตรเดบิต เท่านั้น ไม่รับเงินสด หรือใช้ระบบเหรียญแบบในปัจจุบัน

ทั้งนี้ส่วนรายได้ที่ลดลงไปนั้น รฟม. จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอลดการนำส่งรายได้แผ่นดินจากส่วนแบ่งรายได้สัมปทานสายสีน้ำเงิน และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึง รฟม. ได้ตีมูลค่าของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 5 ด้าน ประกอบด้วย การประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง, ประหยัดเวลาในการเดินทาง, ค่าความสุข, ลดการสูญเสียวการเกอดอุบัติเหตุทางถนน และลดการปล้อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปีละประมาณ 900 ล้านบาท
    “โดย รฟม. จะนำมาชดเชยรายได้จากผู้โดยสารสายสีม่วง ซึ่งที่ผ่านมา รฟม. จะนำส่งรายได้ไปยังกระทรวงการคลัง อยู่ที่ประมาณ 20-25% ต่อปีของกำไรสุทธิ กล่าวคือ ปี 2563 รฟม. นำส่งรายได้อยู่ที่ 300 ล้านบาท, ปี 2564 นำส่งรายได้อยู่ที่ 467 ล้านบาท, ปี 2565 นำส่งรายได้อยู่ที่ 311 ล้านบาท ส่วนในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มีรายได้ที่จะต้องนำส่งอยู่ที่ประมาณ 223 ล้านบาท”นายภคพงศ์ กล่าว
นายภคพงศ์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง จากนโยบายของรัฐบาลนั้น จะสูงสุดไม่เกิน 20 บาท (จากอัตราค่าโดยสารปัจจุบัน สูงสุด 42 บาท) ระยะเวลาเปิดให้บริการตั้งแต่ 05.30-24.00 น. ทั้งนี้ เด็ก และผู้สูงอายุ จะได้รับส่วนลด 50% หรืออัตรา 7-10 บาทตลอดสาย ส่วนนักเรียนและนักศึกษา จะได้รับส่วนลด 10% จากอัตราค่าโดยสารใหม่

สำหรับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน นายภคพงศ์ กล่าวว่า โดยเบื้องต้น รฟม. ได้มีการหารือร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งทางเอกชนอยู่ระหว่างประเมินตัวเลขเกี่ยวกับการชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปจากนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ ได้รับทราบจากกระทรวงคมนาคม โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาร่วมกับภาคเอกชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2023 11:57 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.ไฟเขียวลดค่าโดยสารสีม่วง เหลือ 20 บาท คาดเริ่ม 1 ธ.ค.นี้ หวังผู้โดยสารเพิ่มวันละ 1 หมื่นคน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 19:23 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 08:49 น.


บอร์ด รฟม.ไฟเขียวลดค่าโดยสารสีม่วง 20 บาทตลอดสาย ราคาเริ่ม 14 บาท สูงสุด 20 บาท ประเมินรายได้ลด 190 ล้านบาท/ปี จูงใจผู้โดยสารเพิ่ม 17% แตะ 6.6 หมื่นคน/วัน คาดเริ่ม 1 ธ.ค. 66

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธานวันที่ 28 ก.ย. 2566 มีมติเห็นชอบในแนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) 20 บาท ตลอดสาย โดยเริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 20 บาท รวมถึงหลักการกำหนดส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายอื่นๆ เริ่มที่ สายสีแดง ซึ่งจะเปลี่ยนถ่ายที่สถานีบางซ่อน โดยคาดว่าเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป

ad

หลังจากนี้ รฟม.จะเสนอไปกระทรวงคมนาคมเพื่อรวมกับแนวทางการลดค่าโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดง เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อสายสีม่วงลดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย จะทำให้รายได้ลดลงประมาณ 190 ล้านบาท/ปี หรือคิดเป็น 60% ของรายได้เฉลี่ยปัจจุบัน โดย รฟม.จะใช้รายได้ที่นำส่งคลังปีละประมาณ 300-400 ล้านบาทมาดำเนินการชดเชย นอกจากนี้ ได้ประเมินผลกรณีลดค่าโดยสารเหลือ 20 บาท จะทำให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ ลดเวลาในการเดินทาง ประเมินค่าความสุขที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ลดการสูญเสียประเทศทางถนนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่าประมาณ 900 ล้านบาท/ปี

คาดว่า สายสีม่วง จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 17% หรือ 10,000 คน-เที่ยว/วัน โดยปัจจุบันสายสีม่วงมีผู้โดยสารเฉลี่ย 56,000 คน-เที่ยว/วัน ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 66,000 คน-เที่ยว/วัน สำหรับผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายระบบที่สถานีบางซ่อนปัจจุบันมีไม่มาก ประมาณ 100-200 คน/วัน คาดว่าอาจจะเพิ่มขึ้นหลังจากลดเหลือ 20 บาท

“สายสีม่วงมี 16 สถานี ผู้โดยสารจะเดินทางเฉลี่ยประมาณ 8 สถานี มีค่าโดยสารเฉลี่ยที่ 23 บาท การลดเหลือ 20 บาท เท่ากับรายได้หายไป 3 บาท ซึ่ง รฟม.จะประเมินในระยะ 1 ปีว่ามีผลตอบรับแค่ไหน ซึ่งหากผู้โดยสารโตปีละ 17% คาดว่าจะใช้เวลา 4-5 ปีรายได้จะกลับมาเท่าเดิม”



นายภคพงศ์กล่าวว่า ปัจจุบัน รฟม.มีรายได้จากส่วนแบ่งค่าตอบแทนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 15% โดยปี 67 ประเมินที่ 3,600 ล้านบาท ปี 68 ที่ 4,800 ล้านบาท มีรายได้ค่าโดยสารสายสีม่วง ประมาณ 500 ล้านบาท/ปี และรายได้อื่นๆ โดยนำส่งรายได้เข้าคลังจาก 20-25% ของ
กำไรสุทธิ ซึ่งปี 65 ส่งรายได้เข้าคลัง 311 ล้านบาท ส่วนปี 66 รอบ 6 เดือน นำส่งรายได้เข้าคลังแล้ว 223 ล้านบาท

สำหรับการจัดเก็บค่าโดยสารสายสีม่วงตามนโยบาย 20 บาทตลอดสาย มีรายละเอียดดังนี้

1. กำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เป็นสูงสุดไม่เกิน 20 บาท (จากอัตราค่าโดยสารปัจจุบัน สูงสุด 42 บาท) ตลอดระยะเวลาเปิดให้บริการ (05.30-24.00 น.) ทั้งนี้ เด็ก/ผู้สูงอายุ จะได้รับส่วนลด 50% และนักเรียน/นักศึกษา จะได้รับส่วนลด 10% จากอัตราค่าโดยสารใหม่

2. การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ผู้โดยสารยังคงได้รับส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบในอัตราปัจจุบัน

3. การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟชานเมืองสายนครวิถี (สายสีแดง) (ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.) กำหนดอัตราค่าโดยสารของทั้ง 2 สาย สูงสุดไม่เกิน 20 บาท โดยจะต้องเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีบางซ่อน ภายในระยะเวลา 30 นาที และใช้บัตรโดยสารใบเดียวกัน โดยใช้บัตร EMV

4. การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู ผู้โดยสารจะได้รับส่วนลดเมื่อเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ภายในระยะเวลา 30 นาที และใช้บัตรโดยสารใบเดียวกัน

ทั้งนี้ ปัจจุบัน รฟม.ยังอยู่ระหว่างติดตามตรวจสอบความพร้อมและความเหมาะสมในภาพรวมทั้งหมดของโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ก่อนกำหนดวันเปิดให้ประชาชนร่วมทดลองโดยสารฟรี และกำหนดวันเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ซึ่ง รฟม.จะประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ชัดเจนให้สาธารณชนได้รับทราบต่อไป




1 ธ.ค.นี้ ดีเดย์สายสีม่วง 20 บาท รฟม.เปิดเงื่อนไขส่วนลดเชื่อมรถไฟฟ้าสายอื่น
หน้าเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา19:29 น.

บอร์ด รฟม. เคาะหั่นราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหลือสูงสุด 20 บาท เตรียมเสนอ "คมนาคม" ดันเข้า ครม. ดีเดย์ใช้ 1 ธ.ค.นี้ คาดสูญรายได้ 190 ล้านบาทต่อปี
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) วันนี้ (28 ก.ย.) โดยระบุว่า ที่ประชุมบอร์ดมีมติเห็นชอบกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) สูงสุด 20 บาท ปรับลดจากเดิมมีอัตรา 14 - 42 บาท โดยจะมีผลใช้ตั้งแต่ 1 ธ.ค.2566 เป็นต้นไป อีกทั้งผู้โดยสารยังสามารถเดินทางเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าจากสายสีม่วงไปสู่รถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยยกเว้นค่าแรกเข้า และคิดอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท

ทั้งนี้ รฟม. เตรียมนำมติบอร์ดฯ ที่เห็นชอบปรับอัตราค่าโดยสารดังกล่าวเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม ในวันที่ 29 ก.ย.นี้ เพื่อนำข้อมูลไปรวมกับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ ซึ่งหากมีการใช้อัตราค่าโดยสารดังกล่าว จะส่งผลให้รายได้ค่าโดยสารสายสีม่วงลดลงประมาณ 190 ล้านบาทต่อปี หรือลดลงประมาณ 60% ของรายได้ผู้โดยสารที่มีเฉลี่ยปีละ 300 ล้านบาท

อีกทั้ง คาดว่าเมื่อเริ่มใช้นโยบายดังกล่าว จำนวนผู้โดยสารสายสีม่วงจากเพิ่มขึ้นประมาณ 1 หมื่นคนต่อวัน หรือคิดเป็น 17% จากปกติมีผู้โดยสารใช้บริการอยู่ 5.6 หมื่นคนต่อวัน ซึ่งผู้โดยสารจะเพิ่มเป็น 6.6 หมื่นคนต่อวัน โดยมีการเดินทางเฉลี่ยอยู่ที่ 8 สถานี จากจำนวนทั้งหมด 16 สถานี ค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 23 บาท ส่วนการเดินทางข้ามสายระหว่างสายสีม่วงกับสายสีแดง ปัจจุบันยังมีจำนวนไม่มาก หรืออยู่ที่ประมาณ 100 - 200 คนต่อวัน


ส่วนในเรื่องของการแบ่งรายได้ จะใช้วิธีการเก็บจากสถานีต้นทาง หากผู้โดยสารขึ้นที่สถานีสายสีม่วง รฟม.ก็จะเป็นผู้รับรายได้ในส่วนนั้นไป แต่หากผู้โดยสารขึ้นจากรถไฟฟ้าสายสีแดง ร.ฟ.ท.จะได้รายได้ในส่วนนั้น โดยทั้งหมดนี้ผู้โดยสารจะต้องใช้จ่ายบัตรผ่านเครดิต หรือเดบิต (EMV) ไม่สามารถใช้จ่ายผ่านเงินสด ระบบเหรียญ หรือบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าแบบเฉพาะแต่ละโครงการได้ ส่วน รฟม.จะต้องชดเชยรายได้ที่สูญไปเป็นระยะเวลากี่ปีนั้น เบื้องต้นขอพิจารณาการดำเนินงาน 1 ปีหลังจากนี้ก่อน แต่หากผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 17% ต่อปี ก็คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 5 ปี ถึงจะคืนทุน โดยไม่ต้องชดเชยรายได้

ในส่วนของรายได้ที่ รฟม.จะนำมาชดเชยนั้น จะเป็นรายได้จากเงินที่เคยนำส่งกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นรายได้ส่วนแบ่งค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยสถิติที่ผ่านมา รฟม.นำรายได้ส่งกระทรวงการคลัง อยู่ที่ประมาณ 20-25% ต่อปี ของกำไรสุทธิ แบ่งเป็น ปี 2563 มีรายได้นำส่งคลังอยู่ที่ 300 ล้านบาท ปี 2564 มีรายได้นำส่งคลังอยู่ที่ 467 ล้านบาท ปี 2565 มีรายได้นำส่งคลังอยู่ที่ 311 ล้านบาท ส่วนในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มีรายได้นำส่งคลังอยู่ที่ 223 ล้านบาท ดังนั้นคาดว่าในปี 2567 รฟม.จะนำเงินส่งกระทรวงการคลังลดลง เพราะต้องนำเงินมาบริหารสายสีม่วง



นายภคพงศ์ กล่าวด้วยว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ที่จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยเบื้องต้น รฟม. ได้มีการหารือร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม ซึ่งทางเอกชนอยู่ระหว่างประเมินตัวเลขเกี่ยวกับการชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปจากนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ ได้รับทราบจากกระทรวงคนาคม โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาร่วมกับภาคเอกชน

ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของบอร์ด รฟม. มีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ 1. กำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เป็นสูงสุดไม่เกิน 20 บาท (จากอัตราค่าโดยสารปัจจุบัน สูงสุด 42 บาท) ตลอดระยะเวลาเปิดให้บริการ (05.30 น. – 24.00 น.) ทั้งนี้ เด็ก/ผู้สูงอายุ จะได้รับส่วนลด 50% และนักเรียน/นักศึกษา จะได้รับส่วนลด 10% จากอัตราค่าโดยสารใหม่

2. การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ผู้โดยสารยังคงได้รับส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบในอัตราปัจจุบัน

3. การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟชานเมือง สายนครวิถี (สายสีแดง) (ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.) กำหนดอัตราค่าโดยสารของทั้ง 2 สาย สูงสุดไม่เกิน 20 บาท โดยจะต้องเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีบางซ่อน ภายในระยะเวลา 30 นาที และใช้บัตรโดยสารใบเดียวกัน

4. การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู ผู้โดยสารจะได้รับส่วนลด เมื่อเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ภายในระยะเวลา 30 นาที และใช้บัตรโดยสารใบเดียวกัน ทั้งนี้ ปัจจุบัน รฟม. ยังอยู่ระหว่างติดตามตรวจสอบความพร้อมและความเหมาะสมในภาพรวมทั้งหมดของโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ก่อนกำหนดวันเปิดให้ประชาชนร่วมทดลองโดยสารฟรี และกำหนดวันเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ซึ่ง รฟม. จะประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ชัดเจนให้สาธารณชนได้รับทราบต่อไป

Mongwin wrote:
บอร์ดรฟม. เคาะหั่นราคาสายสีม่วงเหลือ 20 บาท ดีเดย์ 1 ธ.ค.นี้
ไทยโพสต์
วันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 21:16 น.


Last edited by Wisarut on 29/09/2023 6:16 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2023 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า MRT จัดโปรฯ “ชอบช้อป ชอบกิน” แลกบัตรฟรีศูนย์อาหาร
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 21:12 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09:11 น.


รฟม.มอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT จัดโปรโมชัน “ชอบช้อป ชอบกิน” ตั้งแต่วันนี้-31 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จัดโปรโมชัน “ชอบช้อป ชอบกิน” มอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) เมื่อใช้จ่ายในร้านค้าโซนพลาซา/Fashion Plus ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ครบ 1,000 บาท/วัน สามารถแสดงบัตรโดยสาร MRT หรือ MRT Plus ที่จุดแลกของสมนาคุณ ชั้น 1 หน้าร้าน AIIZ รับฟรีบัตรรับประทานอาหารที่ศูนย์อาหาร (FoodPark) มูลค่า 120 บาท (ชนิดไม่แลกคืน) ตั้งแต่วันนี้-31 ตุลาคม 2566 (จำกัดจำนวนสิทธิ์ 250 สิทธิ์ ตลอดระยะเวลาโปรโมชัน และ 1 สิทธิ์/ต่อท่าน/ต่อวัน รายละเอียดเพิ่มเติมของศูนย์การค้าฯ โทร. 0-2102-7999)

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT และส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้าของประชาชนมากยิ่งขึ้น ติดตามข้อมูลข่าวสารของ รฟม. ได้ที่ www.mrta.co.th หรือ Call Center รฟม. โทร. 0-2716-4044 “รฟม.ร่วมยกระดับเมืองด้วยโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/09/2023 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญานี้คืบหน้ามากที่สุด!! สถานีใต้ดินสถานีแรก,รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ สถานีรัฐสภา #รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
Q LIKE
Sep 29, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=2vivJ1gsizE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/10/2023 5:43 am    Post subject: Reply with quote

สถานีวงเวียนใหญ่ รื้อตึกแถวสร้างทางเข้าออก MRT PURPLR LINE (30 ก.ย.66)
ัvnp story
Oct 1, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=r5TXsab5_t0


มาแล้วพี่จ๋าา…รถไฟฟ้า20บาท เริ่ม 1 ธ.ค.นี้สายสีม่วงXสีแดง
เดลินิวส์ 3 ตุลาคม 2566 8:00 น.
มุมคนเมือง, เศรษฐกิจ-ยานยนต์

ประกาศดีเดย์แล้ว1 ธ.ค.นี้!!! สำหรับการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRTสายสีม่วงตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล โดยรฟม.มีมติเห็นชอบมาตรการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ระยะทาง23 กิโลเมตร(กม.) ทั้งหมด 16 สถานี

ประกาศดีเดย์แล้ว 1 ธ.ค. นี้ สำหรับการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRTสายสีม่วงตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล โดยการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) เป็นประธานเมื่อวันที่ 28 ก.ย. มีมติเห็นชอบมาตรการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ระยะทาง23 กิโลเมตร(กม.) 16 สถานี จาก 14-42 บาท เป็น 14-20 บาท

ผู้ว่าการรฟม. นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ แจกแจงว่า รฟม. จะเริ่มปรับลดค่าโดยสารได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2566 ตลอดระยะเวลาเปิดบริการ (05.30 น. – 24.00 น.) สำหรับผู้ที่เดินทางและจ่ายค่าโดยสารไม่ถึง 20 บาทยังจ่ายราคาเดิม ส่วนตลอดสายไม่เกิน 20 บาท เด็ก/ผู้สูงอายุ ยังได้รับส่วนลด 50% และนักเรียน/นักศึกษา จะได้รับส่วนลด 10% จากอัตราค่าโดยสารใหม่ด้วย

ในส่วนของการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเก็บค่าโดยสารของทั้ง 2 สายสูงสุดไม่เกิน 20 บาทเช่นกัน แต่ต้องเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีบางซ่อน ภายในเวลา 30 นาที และใช้บัตรโดยสารใบเดียวกัน ช่วงแรกนี้ใช้ได้เฉพาะผู้ที่ถือบัตร EMV ก่อน เนื่องจากยังไม่มีตั๋วร่วม รฟม. จะเสนอเรื่องการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไป

เบื้องต้นประเมินไว้ว่าการปรับลดค่าโดยสารจะดึงดูดประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเพิ่มขึ้นประมาณ 17% หรือประมาณ 1 หมื่นคนต่อวัน จากปัจจุบันผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 5.6 หมื่นคนต่อวัน เป็น 6.6 หมื่นคนต่อวัน และใช้บริการสายสีม่วงเชื่อมสายสีแดงประมาณ 200 คนต่อวัน

เมื่อตีมูลค่าเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมได้ประมาณ 900 ล้านบาทต่อปี ประกอบด้วย การประหยัดค่าใช้จ่ายรถยนต์, ประหยัดเวลาเดินทาง, ค่าความสุข, ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มั่นใจว่าเมื่อผู้โดยสารมากขึ้น ขบวนรถของสายสีม่วงที่มีอยู่ 23 ขบวนจะเพียงพอรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2 แสนคนต่อวัน

ขณะที่รฟม. จะสูญเสียรายได้ประมาณ 190 ล้านบาทต่อปี จากรายได้เฉลี่ย 500 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันผู้ใช้บริการเฉลี่ย 8 สถานี มีค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 23 บาทต่อคน แต่จะไม่ขอสนับสนุนเงินชดเชยจากรัฐบาล เนื่องจากตั้งแต่ปี 2561 รฟม. มีกำไร(เกือบ2 พันล้านต่อปี) และนำเงินรายได้ส่งกระทรวงการคลังมาตั้งแต่ปี 2561 โดยปี 2563 รฟม. นำส่งรายได้เข้าคลังประมาณ 300 ล้านบาท, ปี 2564 ประมาณ 467 ล้านบาท, ปี 2565 ประมาณ 311 ล้านบาท และปี 66 ประมาณ 223 ล้านบาท แต่ต้องแจ้งกระทรวงการคลังว่าตั้งแต่ปี 2567 จะส่งเงินรายได้ให้กระทรวงการคลังน้อยลงจากปกติจะส่งให้ประมาณ 20-25% ของกำไรสุทธิ

รฟม. จะประเมินผล 1 ปี เพื่อคาดการณ์จุดคุ้มทุนที่ไม่ต้องชดเชยรายได้ที่หายไป คาดว่าจะอยู่ที่ 5 ปี ส่วนการเจรจาบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม เพื่อพิจารณาให้รถไฟฟ้าMRTสายสีน้ำเงินที่บริษัทรับสัมปทาน รวมทั้งสายอื่นๆ ในสังกัดรฟม.เช่น สายสีเหลือง–สายสีชมพูเข้าร่วมลดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายด้วยนั้น บีอีเอ็มอยู่ระหว่างประเมินรายได้ที่จะขาดหายไป กระทรวงคมนาคมจะตั้งคณะกรรมการมาเจรจากับเอกชน เพื่อปรับลดาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้เหลือไม่เกิน 20 บาททุกสายตามนโยบายรัฐบาล.

ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. ซึ่งมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เป็นประธานมีมติเห็นชอบปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จากเดิม 14-42 บาท เหลือไม่เกิน 20 บาทตลอดสายแล้วเช่นเดียวกัน

รฟท.จะสูญเสียรายได้ประมาณ 80 ล้านบาทต่อปี ต้องจัดทำแผนงาน งบประมาณที่ต้องใช้จ่าย ระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่ได้รับ ตามมาตรา 27 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐกำหนด เสนอกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไป รฟท. จะเสนอขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาลตามรายได้ที่ลดลงจริง ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่ที่ประมาณ 2.5 หมื่นคนต่อวัน คาดว่านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะช่วยเพิ่มผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 5% ส่งเสริมให้ประชาชนที่ใช้รถยนต์หันมาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ มั่นใจว่าหากไม่มีปัญหาอะไรติดขัดจะปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงเหลือไม่เกิน 20 บาทตลอดสายได้ทันภายใน 3 เดือนตามนโยบายนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน

นับถอยหลังอีก 60 วันจะได้นั่งรถไฟฟ้าสีม่วงข้ามสายสีแดงไม่เกิน 20 บาท ส่วนสายอื่นๆ อีก 5 สี ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว แอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ สีทอง สีเหลืองและสีชมพูที่ติดสัญญาสัมทานเอกชน กระทรวงคมนาคมขอเวลา 2 ปี รถไฟฟ้า7สาย7สีเชื่อมโยงกันในราคา 20 บาทจะทำได้ตามที่หาเสียงไว้หรือไม่ ต้องติดตาม

ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 112, 113, 114 ... 136, 137, 138  Next
Page 113 of 138

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©