View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
Posted: 23/08/2023 11:38 am Post subject:
HXN6 hybrid locomotives are powerful, environmentally friendly, and low carbon. They can save more than 37% fuel, reduce emissions by 40% to 80%, and reduce noise by 85% compared with traditional internal combustion locomotives. #CRRC
https://www.facebook.com/CRRCGC/posts/702479731924662
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48289
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 31/08/2023 6:15 pm Post subject:
เครือข่าย ม้าเหล็กเร็วสูง วิ่งถึงภูมิภาคคาสต์ในจีนตอนใต้
ผู้จัดการออนไลน์ 31 ส.ค. 2566 17:42
สำนักข่าวซินหัวรายงาน ช่วงเช้าวันพฤหัสบดี (31 ส.ค.) รถไฟหัวกระสุนฟู่ซิงได้ออกเดินทางจากนครหนานหนิง เมืองเอกเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน ซึ่งถือเป็นการเปิดบริการรถไฟความเร็งสูงในภูมิภาคที่มีภูมิประเทศแบบคาสต์ (Karst) ทางตอนใต้ของจีนอย่างเต็มรูปแบบ
บริษัท การรถไฟแห่งประเทศจีน สาขาหนานหนิง จำกัด ระบุว่าทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่นี้มีความยาว 482 กิโลเมตร เชื่อมต่อนครหนานหนิงกับนครกุ้ยหยาง เมืองเอกมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
ทางรถไฟความเร็วสูงสายกุ้ยหยาง-หนานหนิง มีความเร็วออกแบบสูงสุด 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และถือเป็นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกที่ก่อสร้างขึ้นในกุ้ยโจวและกว่างซี สองภูมิภาคอันเป็นที่รู้จักกันดีจากด้านสภาพภูมิประเทศแบบคาสต์
ปัจจุบันระยะเวลาการเดินทางจากกุ้ยหยางไปยังหนานหนิงจะลดลงจาก 5 ชั่วโมง เหลือราว 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ภูเขาและมีส่วนส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดแนวเส้นทางอย่างมาก
อนึ่ง ทางรถไฟความเร็วสูงสายกุ้ยหยาง-หนานหนิง ประกอบด้วย 13 สถานี แบ่งเป็นในกุ้ยโจว 6 สถานี และในกว่างซี 7 สถานี
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48289
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 05/09/2023 5:46 am Post subject:
เปิดเทคโนฯ รถไฟสายกรีน 'กุ้ยหยาง-หนานหนิง'
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Tuesday, September 05, 2023 04:02
กรุงเทพธุรกิจ รถไฟหัวกระสุนฟู่ซิง เดินทางออกจากเมืองกุ้ยหยาง เมืองเอกของ มณฑลกุ้ยโจวของจีน ถือฤกษ์วันที่ 31 ส.ค.2566 เพื่อเฉลิมฉลองการเปิดเส้นทางรถไฟ ความเร็วสูงลี่โป-หนานหนิง ที่มีระยะทาง 307 กม. ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายที่เหลือของเส้นทาง รถไฟความเร็วสูงกุ้ยหนาน เชื่อมเมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจวกับหนานหนิง เขตกว่างซี ได้เปิดให้บริการรถไฟสายรักษาสิ่งแวดล้อม หรือสายกรีน อย่างเป็นทางการแล้ว
รถไฟสายกุ้ยหยาง-หนานหนิง วิ่งด้วยความเร็วประมาณ 300 กม.ต่อ ช.ม. ได้ช่วย ย่นระยะเวลาเดินทางเร็วขึ้นจากเดิมมากกว่าสองเท่า หรือเดิมใช้เวลา 5 ชั่วโมงเหลือเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น
ว่าไปแล้ว เส้นทางรถไฟความเร็วสูงหนานหนิง-กุ้ยหยางเป็นส่วนต่อขยายที่สำคัญ ของเครือข่ายรถไฟจีนทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย เส้นทางความเร็วสูงเหนือสู่ใต้ 8 สาย และตะวันตก สู่ตะวันออก 8 สาย นอกจากนี้ เส้นทางสายนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของการเดินรถไฟของเส้นทาง เหนือไปใต้ที่ต้องผ่านเป่าโถว หยินชวน ไปจนถึงไหโขว่
เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้ มีระยะทาง ยาว 482 กิโลเมตร ได้ลัดเลาะผ่านภูเขาและ สันเขา ตลอดจนพื้นที่อ่อนไหวทางระบบนิเวศ 41 แห่ง เช่น ภูเขาหินปูนสูงชัน แหล่งมรดกโลกทาง ธรรมชาติที่เป็นภูมิประเทศทางตอนใต้ พื้นที่ คุ้มครองแหล่งน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ จุดชมวิวมากมาย
รถไฟความเร็วสูงกุ้ยหนานตั้งใจก่อสร้าง ภายใต้คอนเซปต์ "รถไฟสายกรีน" มุ่งปกป้องภูเขาและลำธาร รวมไปถึงลดการ ปล่อยมลพิษต่อระบบนิเวศ จึงทำให้การออกแบบก่อสร้างเน้นรักษาสิ่งแวดล้อม ให้ยั่งยืน อย่างการลดจำนวนเสาสะพานลง การติดตั้งสระน้ำบำบัดน้ำเสีย 65 แห่งและอุปกรณ์กั้นเสียงและแสงสะท้อน
ขณะเดียวกัน จีนยังใช้เทคโนโลยีการแปรรูปตะกรันที่มาจากการก่อสร้างอุโมงค์ ทำให้เป็นวัสดุทรายและกรวด เพื่อนำกลับมา ใช้ใหม่ นอกจากนี้ ยังได้ปลูกดอกไม้และต้นไม้สี่ฤดูกาลตลอดทั้งเส้นทาง เพื่อเพิ่มความสวยงามตามสองข้างทาง
เส้นทางรถไฟสายนี้ มุ่งให้บริการและอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่ที่มีกลุ่มคนชาติพันธุ์มากกว่า 30 กลุ่ม และเส้นทางดังกล่าวจะช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อทางรถไฟทางตอนใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ ของจีน ซึ่งจะช่วยเร่งการพัฒนาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมภาคบริการในด้านอื่นๆ
สำหรับการก่อสร้างรถไฟสายนี้ เป็นไปตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจเมื่อปี 2562 ที่เน้นการ อนุมัติโครงการรถไฟใหม่ๆ หลายเส้นทาง โดยได้ ทุ่มเงินกว่า 8 แสนล้านหยวน หรือกว่า 1.2 แสนดอลลาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระตุ้น เศรษฐกิจภายในประเทศ
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านรถไฟความเร็วสูงเป็นการก่อสร้างยาวนานและต่อเนื่องหลายทศวรรษติดต่อกัน ทำให้จีนมี เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
บริษัท China Railway (CR) ตั้งใจจะให้ บริการทุกวัน แบบไม่มีวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงเร่งด่วน ซึ่งจะมีบริการรถไฟสูงสุด 56 ขบวนในแต่ละวัน รวมไปถึงจาก หนานหนิง ไปยังกุ้ยหยาง เฉิงตู และฉงชิ่ง รวมถึง เมืองอื่นๆ แต่ทั้งหมดนี้ ได้มีการคำนวนค่าการ ปล่อยความร้อนและคาร์บอนให้น้อยที่สุด แต่ ประชาชนได้รับความสะดวกสบายมากที่สุด ตามที่รัฐบาลจีนตั้งเป้าเน็ตซีโร่ ปี 2593
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 ก.ย. 2566
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48289
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 13/09/2023 6:43 am Post subject:
คอลัมน์ ลวดลายมังกร: แผนรถไฟยุคใหม่ของจีน 3 เครือข่าย-ศูนย์กลางที่ทันสมัย
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, September 13, 2023 06:05
* พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ
พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงร่างการวางแผนรถไฟที่มีประสิทธิ ภาพในยุคใหม่ของจีน โดยเฉพาะการมุ่งเน้นไปที่ "3 เครือข่าย + ระบบศูนย์กลางที่ทันสมัย" เพื่อสร้างเครือข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกทางรถไฟระดับโลก
โดยภายในปี 2035 (พ.ศ.2578) จีนจะมีเครือข่ายรถไฟแห่งชาติเป็นระยะทางประมาณ 200,000 กิโลเมตร รวมถึงรถไฟความเร็วสูงประมาณ 70,000 กิโลเมตร โดยเฉพาะเมืองที่มีประชากรมากกว่า 200,000 คน จะได้รับการครอบคลุมให้สามารถเข้าถึงการเดินทางได้ด้วยทางรถไฟ และเมืองที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน จะสามารถเข้าถึงการเดินทางได้ด้วยรถไฟความเร็วสูง ตามวงเวียนของการเดินรถไฟภายในระยะเวลา 1, 2 และ 3 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นรถไฟความเร็วสูงอัจฉริยะแห่งแรกที่สร้างขึ้น
โดย China National Railway Group Co. , Ltd. ที่ได้ประกาศ "โครงร่างของการวางแผนทางรถไฟที่มีประสิทธิภาพในยุคใหม่" ซึ่งกำหนดเป้าหมายการพัฒนาและภารกิจหลักสำหรับ China Railways ภายในปี 2035 (พ.ศ.2578) และ ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593)
สำหรับความคาดหวังของ China National Railway Group ที่ได้มุ่งเน้นไปที่ "3 เครือข่าย + ระบบศูนย์กลางที่ทันสมัย" เพื่อสร้างเครือข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกทางรถไฟระดับโลก กล่าวคือ
1. เป็นการสร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ โดยตระหนักถึงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองหลวงในมณฑลและเมืองที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน โดยทั่วไปจะตระหนักถึงวงกลมรถไฟความเร็วสูง 3 ชั่วโมงระหว่างเมืองหลวงในภูมิภาคใกล้เคียง และพัฒนาทางรถไฟความเร็วสูงที่มีมาตรฐานความเร็วสูงขึ้น
2. เป็นการสร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วทั่วไปที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง โดยสร้างเครือข่ายรถไฟทั่วไปในภูมิภาค เพื่อเชื่อมต่อและกระจายการเชื่อมต่อเมืองที่มีประชากรมากกว่า 200,000 คน พื้นที่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากร ศูนย์กระจายสินค้าหลัก และ ท่าเรือที่สำคัญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่การปกครองระดับมณฑล
3. เป็นการพัฒนาเครือข่ายรถไฟระหว่างเมือง (รวมถึงชานเมือง) ที่รวดเร็วและบูรณาการ โดยเฉพาะในพื้นที่ของเมืองที่พัฒนาทางเศรษฐกิจและมีประชากรหนาแน่น ซึ่งให้จัดทำแผนโดยรวมสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองและในเมือง (รวมถึงชานเมือง) เพื่อการเข้าถึงพื้นที่เมืองสำคัญ (รวมถึงชานเมือง) ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง เช่น การเดินทางระหว่างกรุงปักกิ่ง - มหานครเทียนจิน - มณฑลเหอเป่ย เป็นต้น
4. เป็นการสร้างศูนย์กลางที่ทันสมัยแบบครบวงจร โดยจะมีการสร้างศูนย์กลางการขนส่งผู้โดยสารที่ครอบคลุมพื้นที่จำนวนหนึ่ง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสาร เพื่อส่งเสริมการรวมเครือข่าย 4 สายทางที่มีประสิทธิภาพ อันได้แก่
1. ทางรถไฟระหว่างเมือง
2. ทางรถไฟชานเมือง
3. ทางรถไฟในเมือง
4. ทางรถไฟที่เชื่อมต่อระหว่างสนามบิน
ทั้งนี้ ประเด็นที่เป็นจุดเด่นใน "โครงร่างการวางแผน" ดังกล่าวคือ การเสนอให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบควบคุมรถไฟอัจฉริยะใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีการนำทางด้วยดาวเทียมเป่ยโต่ว และเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ฯลฯ เพื่อสร้างระบบควบคุมรถไฟจากภาคอากาศ สู่ภาคพื้นดินแบบบูรณาการ ซึ่งจำเป็นต้องมีนวัตกรรมจากการคิดค้น และสร้างชุดระบบเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับรถไฟความเร็วสูงด้วยความเร็ว 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป
(ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://opinion.caixin.com/2020-08-14/101592774.html และเว็บไซต์ http://www.dzwww.com/. /guo. /202008/t20200813_6408926.htm รวมทั้งเว็บไซต์ https://www.backchina.com/news/ 2020/08/14/704004.html )
ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 14 - 16 ก.ย. 2566
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
Posted: 15/09/2023 8:55 pm Post subject:
การดำเนินการตาม "แผนแม่บทสำหรับช่องทางใหม่ทางบกและทางทะเลในภาคตะวันตก" (西部陆海新通道总体规划) ของจีน โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.๒๕๖๘ เพื่อมุ่งเน้นในการขยายศักยภาพด้านโลจิสติกส์และการขนส่งจากพื้นที่ภายในประเทศไปยังชายฝั่ง กล่าวคือ
ช่องทางบกและทางทะเลใหม่ในภาคตะวันตก แบ่งออกเป็น ๓ เส้นทาง โดยเส้นทางทั้ง ๓ สายนี้จะเชื่อมต่อกับท่าเรือหยางผู่ในเมืองไหโข่ว มณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ที่ท่าเรืออ่าวเป่ยปู้ ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) อันประกอบด้วย เส้นทางสายตะวันออก เส้นทางสายกลาง และเส้นทางสายตะวันตก กล่าวคือ
๑. เส้นทางสายตะวันออก เริ่มจากมหานครฉงชิ่ง ผ่าน เมืองหวยหว้าในมณฑลหูหนาน เมืองหลิ่วโจวในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (กวางสี) ถึงท่าเรืออ่าวเป่ยปู้
๒. เส้นทางสายกลาง เริ่มจากมหานครฉงชิ่ง ผ่านนครกุ้ยหยางซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลกุ้ยโจว และนครหนานหนิงเมืองเอกของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ถึงท่าเรืออ่าวเป่ยปู้
๓. เส้นทางสายตะวันตก เริ่มจากนครเฉิงตูซึ่งป็นเมืองเอกของมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ผ่าน เมืองหลูโจวในมณฑลซื่อชวน และเมืองไป่เซ่อในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ไปยังท่าเรืออ่าวเป่ยปู้
ใน แผนปฏิบัติการผลักดันการสร้างช่องทางใหม่ทางบกและทางทะเลในภาคตะวันตก (推进西部陆海新通道高质量建设实施方案) กำหนดให้เส้นทางหลักทั้งสามเส้นทางดังกล่าว ต้องรองรับปริมาณการขนส่งตู้สินค้า ๕๐๐,๐๐๐ ตู้ และรถไฟข้ามพรมแดน ๒,๐๐๐ ขบวนภายในปี พ.ศ.๒๕๖๘ รวมทั้งท่าเรืออ่าวเป่ยปู้ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและท่าเรือหยางผู่ในมณฑลไห่หนาน ได้เพิ่มเส้นทางท่าเรือระหว่างประเทศในท้องถิ่นมากกว่า ๑๐ เส้นทาง และปริมาณการขนส่งตู้สินค้าของท่าเรือดังกล่าวถึง ๑๐ ล้านตู้และ ๕ ล้านตู้ตามลำดับ โดยเป็นปริมาณการขนส่งตู้สินค้าต่างประเทศถึง ๒ ล้านตู้และ ๑ ล้านตู้ตามลำดับ
ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการฯ ตามแผนแม่บทดังกล่าวนั้น ยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเร่งก่อสร้างท่าเรือช่องทางระหว่างประเทศของอ่าวเป่ยปู้ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง การสร้างศูนย์กลางตู้ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของภูมิภาคที่ท่าเรือหยางผู่ในมณฑลไห่หนาน รวมทั้งผลักดันการสร้างศูนย์กลางโลจิสติกส์ในมหานครฉงชิ่ง การสร้างศูนย์การค้าและโลจิสติกส์ระดับชาติที่สำคัญในนครเฉิงตู และการปรับปรุงศูนย์กลางในการกระจายสินค้าตลอดเส้นทาง
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://weareunited.com.my/11670105/
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48289
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48289
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 16/09/2023 2:19 pm Post subject:
แผนรถไฟยุคใหม่ของจีน 3 เครือข่าย-ศูนย์กลางที่ทันสมัย
16 กันยายน 2566
แผนรถไฟยุคใหม่ของจีน 3 เครือข่าย-ศูนย์กลางที่ทันสมัย : คอลัมน์ลวดลายมังกร โดย... พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3922
พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงร่างการวางแผนรถไฟที่มีประสิทธิภาพในยุคใหม่ของจีน โดยเฉพาะการมุ่งเน้นไปที่ "3 เครือข่าย + ระบบศูนย์กลางที่ทันสมัย" เพื่อสร้างเครือข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกทางรถไฟระดับโลก
โดยภายในปี 2035 (พ.ศ.2578) จีนจะมีเครือข่ายรถไฟแห่งชาติเป็นระยะทางประมาณ 200,000 กิโลเมตร รวมถึงรถไฟความเร็วสูงประมาณ 70,000 กิโลเมตร โดยเฉพาะเมืองที่มีประชากรมากกว่า 200,000 คน จะได้รับการครอบคลุมให้สามารถเข้าถึงการเดินทางได้ด้วยทางรถไฟ
และเมืองที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน จะสามารถเข้าถึงการเดินทางได้ด้วยรถไฟความเร็วสูง ตามวงเวียนของการเดินรถไฟภายในระยะเวลา 1, 2 และ 3 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นรถไฟความเร็วสูงอัจฉริยะแห่งแรกที่สร้างขึ้น
โดย China National Railway Group Co. , Ltd. ที่ได้ประกาศ "โครงร่างของการวางแผนทางรถไฟที่มีประสิทธิภาพในยุคใหม่" ซึ่งกำหนดเป้าหมายการพัฒนาและภารกิจหลักสำหรับ China Railways ภายในปี 2035 (พ.ศ.2578) และ ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593)
สำหรับความคาดหวังของ China National Railway Group ที่ได้มุ่งเน้นไปที่ "3 เครือข่าย + ระบบศูนย์กลางที่ทันสมัย" เพื่อสร้างเครือข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกทางรถไฟระดับโลก กล่าวคือ
แผนรถไฟยุคใหม่ของจีน 3 เครือข่าย-ศูนย์กลางที่ทันสมัย
1. เป็นการสร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ โดยตระหนักถึงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองหลวงในมณฑลและเมืองที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน โดยทั่วไปจะตระหนักถึงวงกลมรถไฟความเร็วสูง 3 ชั่วโมงระหว่างเมืองหลวงในภูมิภาคใกล้เคียง และพัฒนาทางรถไฟความเร็วสูงที่มีมาตรฐานความเร็วสูงขึ้น
2. เป็นการสร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วทั่วไปที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง โดยสร้างเครือข่ายรถไฟทั่วไปในภูมิภาค เพื่อเชื่อมต่อและกระจายการเชื่อมต่อเมืองที่มีประชากรมากกว่า 200,000 คน พื้นที่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากร ศูนย์กระจายสินค้าหลัก และ ท่าเรือที่สำคัญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่การปกครองระดับมณฑล
3. เป็นการพัฒนาเครือข่ายรถไฟระหว่างเมือง (รวมถึงชานเมือง) ที่รวดเร็วและบูรณาการ โดยเฉพาะในพื้นที่ของเมืองที่พัฒนาทางเศรษฐกิจและมีประชากรหนาแน่น ซึ่งให้จัดทำแผนโดยรวมสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองและในเมือง (รวมถึงชานเมือง) เพื่อการเข้าถึงพื้นที่เมืองสำคัญ (รวมถึงชานเมือง) ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง เช่น การเดินทางระหว่างกรุงปักกิ่ง - มหานครเทียนจิน มณฑลเหอเป่ย เป็นต้น
4. เป็นการสร้างศูนย์กลางที่ทันสมัยแบบครบวงจร โดยจะมีการสร้างศูนย์กลางการขนส่งผู้โดยสารที่ครอบคลุมพื้นที่จำนวนหนึ่ง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสาร เพื่อส่งเสริมการรวมเครือข่าย 4 สายทางที่มีประสิทธิภาพ อันได้แก่
1. ทางรถไฟระหว่างเมือง
2. ทางรถไฟชานเมือง
3. ทางรถไฟในเมือง
และ 4. ทางรถไฟที่เชื่อมต่อระหว่างสนามบิน
ทั้งนี้ ประเด็นที่เป็นจุดเด่นใน "โครงร่างการวางแผน" ดังกล่าวคือ การเสนอให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบควบคุมรถไฟอัจฉริยะใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีการนำทางด้วยดาวเทียมเป่ยโต่ว และเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ฯลฯ เพื่อสร้างระบบควบคุมรถไฟจากภาคอากาศ สู่ภาคพื้นดินแบบบูรณาการ ซึ่งจำเป็นต้องมีนวัตกรรมจากการคิดค้น และสร้างชุดระบบเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับรถไฟความเร็วสูงด้วยความเร็ว 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป
(ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://opinion.caixin.com/2020-08-14/101592774.html และเว็บไซต์ http://www.dzwww.com/.../guo.../202008/t20200813_6408926.htm รวมทั้งเว็บไซต์ https://www.backchina.com/news/2020/08/14/704004.html )
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48289
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/09/2023 1:19 pm Post subject:
วิธีการขนส่งแบบใหม่ ช่วยลดต้นทุนการขนส่ง (คลิป)
เดลินิวส์ 17 กันยายน 2566 13:00 น.
ต่างประเทศ
https://www.youtube.com/watch?v=NnWJIKu1lVY
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 มูลค่าการส่งออกยานยนต์พลังงานใหม่ในสามเหลี่ยมแม่น้ำแยงซีอยู่ที่ 12,759 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 451,100 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 144.75% เมื่อเทียบเป็นรายปี
ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุยานยนต์พลังงานใหม่ที่ผลิตในจีนจำนวนหนึ่งได้ถูกขนส่งไปยังปานามาที่ท่าเรือหยางซาน ยานยนต์พลังงานใหม่เหล่านี้ถูกขนส่งโดยวิธีทางที่เชื่อมต่อทางเรือและทางรถไฟ คือขนส่งโดยทางรถไฟจากอู๋ซี มณฑลเจียงซูไปยังเซี่ยงไฮ้ แล้วจัดขึ้นสู่เรือตู้คอนเทนเนอร์ที่เทียบท่าหยางซานส่งไปยังท่าเรือจุดหมายปลายทาง นี่เป็นวิธีการใหม่สำหรับการส่งออกยานยนต์พลังงานใหม่ทางทะเล
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 มูลค่าการส่งออกยานยนต์พลังงานใหม่ในสามเหลี่ยมแม่น้ำแยงซีอยู่ที่ 12,759 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 451,100 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 144.75% เมื่อเทียบเป็นรายปี
ด้วยวิธีการขนส่งดังกล่าวนี้ จะช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งของการส่งออกยานยนต์พลังงานใหม่ได้ประมาณ 15% ขั้นต่อไป การส่งออกยานยนต์พลังงานใหม่ผ่านการขนส่งแบบผสมผสานทางรถไฟและทางทะเลเป็นปริมาณมาก จะช่วยประหยัดต้นทุนให้กับวิสาหกิจได้มากขึ้น
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48289
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 17/09/2023 7:42 pm Post subject:
ทำความรู้จัก กุ้ยหนาน ทางรถไฟความเร็วสูงสีเขียว (คลิป)
เดลินิวส์ 17 กันยายน 2566 15:00 น.
ต่างประเทศ
https://www.youtube.com/watch?v=o9Snfe1niCY
ทางรถไฟความเร็วสูงกุ้ยหนาน มีความยาว 482 กิโลเมตร ผ่านภูเขาและสันเขา ผ่านพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านระบบนิเวศ 41 แห่ง เช่น แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติที่เป็นภูมิประเทศแบบคาสต์ทางตอนใต้ พื้นที่คุ้มครองแหล่งน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ จุดชมวิวและอื่นๆ
รถไฟความเร็วสูงกุ้ยหนานที่เชื่อมเมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้กับเมืองหนานหนิง เขตกว่างซี ทางใต้ของจีน ได้เปิดให้บริการแล้ว ย่นเวลาการเดินทางเร็วที่สุดจากกุ้ยหยางไปยังหนานหนิงจาก 5 ชั่วโมงเหลือเพียงประมาณ 2 ชั่วโมง
ทางรถไฟความเร็วสูงกุ้ยหนานมีความยาว 482 กิโลเมตร ผ่านภูเขาและสันเขา ผ่านพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านระบบนิเวศ 41 แห่ง เช่น แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติที่เป็นภูมิประเทศแบบคาสต์ทางตอนใต้ พื้นที่คุ้มครองแหล่งน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ จุดชมวิวและอื่นๆ
เพื่อปกป้องน้ำใสและภูเขาสีเขียว ลดการรบกวนต่อระบบนิเวศ ทางรถไฟได้ลด 46 เสาสะพานระหว่างการก่อสร้างในช่วงเขตกว่างซี ติดตั้งสระน้ำบำบัดน้ำเสีย 65 แห่ง และอุปกรณ์กั้นเสียงและแสง 94 แห่ง พร้อมแปรรูปของเสียจากการก่อสร้างอุโมงค์ให้เป็นวัสดุทรายและกรวด เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ ยังได้ปลูกดอกไม้และต้นไม้สี่ฤดูตลอดเส้นทางรถไฟ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48289
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 24/09/2023 5:09 pm Post subject:
ปักกิ่งนำร่องใช้รถไฟใต้ดินขนส่งพัสดุด่วน ลดการจราจรติดขัด
ข่าวต่างประเทศ Sunday September 24, 2023 16:15 สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ตั้งแต่วันเสาร์ (23 ก.ย.) รถไฟใต้ดินหลายสายในกรุงปักกิ่งของจีนได้เริ่มเข้าร่วมโครงการนำร่องด้านการขนส่งพัสดุด่วนในช่วงที่ไม่ใช่เวลาเร่งด่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความแออัดของการจราจรบนท้องถนนรวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
ข้อมูลจากหวัง ซูหลิง เจ้าหน้าที่สถาบันการคมนาคมแห่งปักกิ่งระบุว่า เครือข่ายการขนส่งทางรางในย่านเมืองของปักกิ่ง ขยายตัวกว้างขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีรถไฟวิ่งให้บริการรวม 27 เส้นทาง ครอบคลุมเป็นระยะทางรวม 807 กิโลเมตร
หวังกล่าวว่า มหานครแห่งนี้ต้องจัดการกับพัสดุด่วนราว 15 ล้านชิ้นต่อวัน และส่วนใหญ่จัดส่งผ่านการขนส่งทางถนนในเมือง โครงการนำร่องข้างต้นจึงเป็นการใช้ประโยชน์จากกำลังการขนส่งส่วนเกินของระบบรถไฟใต้ดินในช่วงเวลาที่มีผู้โดยสารไม่มาก พร้อมคาดว่าจะสามารถบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดพร้อมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
โจว หยวน เจ้าหน้าที่คณะกรรมาธิการการคมนาคมประจำเทศบาลกรุงปักกิ่งให้ข้อมูลว่า เพื่อรับรองว่าการปฏิบัติงานของเส้นทางรถไฟขนส่งพัสดุด่วนนำร่องนั้นจะเป็นไปอย่างปลอดภัยและเป็นระบบระเบียบ คณะกรรมาธิการฯ จึงกำหนดว่าสินค้าที่ขนส่งนั้นจะต้องไม่อยู่ในรายการสิ่งของต้องห้ามบนรถไฟใต้ดินของปักกิ่ง และจะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัย
ทั้งนี้ โจวกล่าวว่าหลายบริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้ออกแบบกล่องส่งพัสดุด่วนแบบใช้ซ้ำได้ ซึ่งมีขนาดสอดคล้องกับระบบการขนส่งทางรางในเมือง ทั้งยังพัฒนารถเข็นพัสดุที่สามารถอำนวยความสะดวกและรับรองความปลอดภัยได้โดยเฉพาะขึ้นอีกด้วย
Back to top