View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48288
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 26/09/2023 10:59 am Post subject: |
|
|
รถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ยังไม่เข้า ครม. วันนี้
26/09/2566 10:27
ทำเนียบ 26 ก.ย.-สุริยะ เผย รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ยังไม่เข้า ครม.วันนี้ รอประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปลาย ก.ย. ยืนยันเร่งทำนโยบาย 20 บาทตลอดสาย
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (26 ก.ย.) ว่ายังไม่มีเรื่องรถไฟฟ้าสายสีแดง 20 บาทตลอดสาย เข้าพิจารณาในที่ประชุม เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ต้องมีการนัดหมายประชุมก่อน คาดว่าจะเป็น 28-29 ก.ย.นี้ จากนั้น เมื่อประชุมรายละเอียดเสร็จสิ้น ถึงจะนำเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. ต่อไป
ส่วนเรื่องการตั้งราคารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย นายสุริยะ ยืนยืนว่าจะพยายามทำให้เร็วที่สุด แต่เรื่องทั้งหมดนี้ก็จำเป็นที่จะต้องเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ก่อน และเห็นว่าหากมีการลดราคาได้ตามนโยบายของพรรคเพื่อไทย จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งรายได้จากการบริการก็จะไม่หายไปไหน ส่วนกรณีที่ผู้ว่าฯ กทม. ออกมาเปิดเผยถึงการตั้งราคา 20 บาท ว่าหากตั้งราคา 20 บาทตลอดสาย อาจเป็นไปไม่ได้ โดยคาดว่าราคาที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ 33 บาท นายสุริยะ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องดูรายละเอียดก่อน เพราะถือว่านโยบาย รถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายเป็นของพรรคเพื่อไทย แกนนำรัฐบาล แต่ยืนยันว่าจะพยายามได้ ราคา 20 บาท ทุกสาย ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ขอตรวจสอบอีกครั้ง-สำนักข่าวไทย |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 26/09/2023 4:02 pm Post subject: |
|
|
สุริยะยันทำแน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ขอเวลาอีกไม่นาน
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
26 กันยายน 2566 เวลา 10:57 น.
สุริยะ รมว.คมนาคม ชี้ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ยังมีเวลาพิจารณา ครม.วันนี้ยังไม่เสนอเข้า เตรียมหารืออีกครั้ง 28 ก.ย. หรือ 29 ก.ย. นี้
วันที่ 26 ก.ย. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้ยังไม่มีการเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาบัตรโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสาย 20 บาท เนื่องจากเป็นเรื่องของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร โดยจะมีการประชุมหารืออีกครั้งประมาณวันที่ 28 ก.ย. หรือ 29 ก.ย. นี้
ส่วนกรอบระยะเวลาในการศึกษานั้น จะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด แต่ทั้งหมดต้องผ่านการอนุมัติ จาก ครม. ก่อน โดยในเบื้องต้นเมื่อมีการลดราคาค่าโดยสารลงมา จะทำให้ผู้โดยสารมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เมื่อครบเวลา 2 ปี จำนวนคนเพิ่มขึ้นรายได้ก็ไม่หายไป
ทั้งนี้จากกรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกมาระบุว่า ไม่สามารถปรับลดราคาเป็น 20 บาทได้ เนื่องจากราคาคุ้มทุนอยู่ที่ 33 บาท นั้น มองว่าเรื่องนี้ยังมีเวลาอีก 2 ปี จึงต้องขอเวลาไปพิจารณาไปดูตรงนี้
เรื่องรถไฟฟ้าเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยและเป็นนโยบายของรัฐบาล เลยต้องการจะทำให้ได้ที่ราคา 20 บาท ให้ครอบคลุมทุกสาย ซึ่งยังยืนยันนโยบายนี้อยู่ ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ที่ รฟม. ได้ศึกษาและส่งมาให้กระทรวงคมนาคม พร้อมที่จะเสนอเข้าที่ประชุม ครม. แล้วหรือไม่ ขอตรวจสอบดูอีกที...
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 28/09/2023 10:39 am Post subject: |
|
|
อนุทิน-ชัชชาติ ชนหมัด เร่งคลายปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว-20 บาทตลอดสาย
การเมือง
วันที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 16:12 น.
อนุทินหารือชัชชาติชื่นมื่น ถกปมแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว-20 บาทตลอดสาย ผู้ว่าฯ กทม.ยังไม่คุ้ม เพราะติดสัมปทานเอกชน ต้องรอปี 2572
วันที่ 19 กันยายน 2566 ที่กระทรวงมหาดไทย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ให้การต้อนรับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าพบเพื่อหารือข้าราชการภายหลังนายอนุทินเข้ามาบริหารกระทรวง
ทั้งนี้ นายชัชชาติเปิดเผยก่อนเข้าพบนายอนุทินว่า วันนี้มารายงานตัวตามปกติ เพราะไม่ค่อยได้เจอนายอนุทิน ส่วนเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว หากนายอนุทินถามก็พร้อมคุย ไม่มีปัญหา ซึ่งตอนนี้เรื่องค้างอยู่กรุงเทพมหานคร และเดี๋ยวจะมีการทำจดหมายตอบมาทางกระทรวงมหาดไทย ส่วนโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาลนั้น ต้องไปดูความหมายของ 20 บาทว่าคืออะไร เพราะเท่าที่ดูตอนนี้คือ 20 บาทจะตลอดเส้น
แต่ถ้าเป็นสายสีเขียวก็ต้องมีการให้ความช่วยเหลืองบประมาณเพิ่มจากรัฐ เพราะในช่วงปี 2572 ยังมีสัมปทานอยู่ ซึ่งทางเอกชนก็มีสิทธิเก็บค่าโดยสารตามที่เขาต้องการ แต่หลังจากปี 2572 ทางกรุงเทพมหานครเป็นคนกำหนดค่าโดยสาร
อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาจ้างการเดินรถกับเอกชนอยู่ หากเก็บ 20 บาท อาจจะไม่คุ้ม เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ตายตัวที่ต้องจ่ายอยู่ คำนวณแล้ว 33 บาท ซึ่งหากเก็บค่าโดยสารไม่ถึง ทางกรุงเทพมหานครก็จะขาดทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพบกันของนายอนุทินและนายชัชชาติ เป็นไปด้วยความชื่นมื่น โดยทั้งสองได้ชนหมัดกัน ให้ช่างภาพได้บันทึกภาพ
ต่อมานายอนุทินให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือ ถึงการแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า เราต้องให้ความเป็นธรรม ทำตามกฎหมายทุกอย่าง ถ้าสองเรื่องนี้มาบรรจบกันได้ ยินดีแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นด้วยดี ทุกอย่างต้องถูกต้องตามกฎหมาย มีความชอบธรรม เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
เราได้นัดท่านผู้ว่าฯชัชชาติไปแล้ว เพื่อช่วยกันหาทางออก ซึ่งที่สุด ประชาชนต้องไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องการรับบริการ เราจะให้ปัญหาเกิดกับประชาชนไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเป็นปัญหาหรือไม่ เพราะมีคำสั่ง ม.44 ค้างอยู่ นายอนุทินกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาไม่ได้มาจาก ม.44 เพราะ ม.44 เป็นคำสั่งให้ทำอย่างไร้รอยต่อ ต้องดูปัญหาทั้งระบบถึงที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ต้องหารือกับผู้ว่าฯ กทม.ในสัปดาห์หน้า เร่งสะสางปัญหาโดยเร็ว ทุกอย่างให้เป็นไปตามกฎหมาย ถ้าตรงไหนผิดก็ต้องว่าไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ขณะเดียวกันถ้ามีปัญหาต้องหาทางออกด้วย
ถ้ามีปัญหามากผู้ที่ได้รับผลกระทบคือชาว กทม. จะปล่อยให้ประชาชนเดือดร้อนไม่ได้ ยืนยันทุกอย่างต้องมีทางออก ต้องใช้ข้อมูลทุกอย่างที่มี โดยเราจะร่วมแก้ปัญหาไม่ใช่ร่วมกันเพิ่มปัญหา จะไปปราบปรามหรือทำอะไรใคร ต้องทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
นายอนุทินกล่าวอีกว่า เรื่องนี้สืบทอดยาวนานมาถึงขณะนี้ ยกตัวอย่าง สมัยที่ตนกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม เราแสดงท่าทีชัดเจนว่าไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี แต่ถ้าเรื่องนี้จะผ่านในเวลานั้นก็ผ่านได้ เพราะองค์ประชุมครบ แต่เมื่อไม่ผ่าน ก็ต้องไปดูว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต่อสัมปทานออกไปหรือไม่ หรือจะใช้วิธีการประมูล นายอนุทินกล่าวว่า ทางที่ดีที่สุดคือทำตามสัญญาสัมปทานที่มีอยู่ภายใน 5 ปีถึงจะคุยเรื่องนี้ได้ แต่เรื่องนี้เกิดที่ตนจะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และก่อนนายชัชชาติจะเป็นผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งต้องกลับไปดูย้อนหลัง
หากเวลานี้ให้ยึดสัมปทานที่จะหมดในปี 2572 ก่อน โดยยังไม่พูดถึงการขยายเวลาใช่หรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า ตรงนั้นยังมีช่องทาง ส่วนเรื่องความเสียหายการเดินรถส่วนต่อขยาย ถ้าถูกต้องและเขาให้บริการประชาชนเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงก็ต้องมาดู จะไปเอาเปรียบไม่ได้ โดยงบประมาณที่จะดำเนินการต้องมาจาก ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ตนอยากให้เรื่องจบที่ กทม.
นายชัชชาติกล่าวภายหลังการหารือว่า วันนี้ได้คุยกันหลายเรื่อง และหนึ่งในนั้นคือเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการชุดเล็ก ที่มีรายละเอียดจำนวนมาก ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยก็มีข้อมูลมากพอสมควร และในสัปดาห์หน้าก็จะมาพูดคุยถึงรายละเอียดกันอีกครั้ง
ส่วนการแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว กทม.จะแก้ไขอย่างไรนั้น นายชัชชาติระบุว่า ทุกอย่างต้องมีทางออก และพูดคุยกันด้วยหลักการและเหตุผล ไม่น่าจะมีอะไร ทางรองนายกรัฐมนตรีมีข้อมูลที่ละเอียดกว่าตนด้วยซ้ำ สัปดาห์หน้าคงจะได้มีโอกาสกลับมาหารือในรายละเอียดอีกครั้ง
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการนำเสาไฟฟ้าลงดิน ซึ่งมีรายงานหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การไฟฟ้านครหลวงจะต้องประสานกับหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะสายสื่อสารที่จะต้องเร่งรัดนำลงใต้ดิน รวมทั้งเรื่องการเปลี่ยนหลอดไฟแอลอีดีทั้งกรุงเทพฯ เพื่อประหยัดพลังงาน ช่วยประหยัดในเรื่องค่าไฟฟ้า ลดโลกร้อน
และยังมีการหารือถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่จะต้องประสานกับกรุงเทพมหานครแบบไร้รอยต่อ การกำจัดน้ำเสีย กำจัดขยะ ซึ่งหลายอย่างก็ได้ร่วมมือและแชร์ประสบการณ์ ที่ผ่านมาในการแก้ปัญหาให้กับประชาชนแจ้งเหตุผ่านแอปพลิเคชั่นใน กทม. และ 15 จังหวัด ที่ได้ผลเป็นอย่างมาก เผื่อทางกระทรวงมาไทยจะนำไปใช้เป็นแนวทางขยายไปทั่วประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กระทรวงมหาดไทยในยุคนายอนุทิน ขับเคลื่อนงานได้ง่ายกว่ายุคก่อนหรือไม่ นายชัชชาติกล่าวว่า ตนมองว่าดีทุกยุค แต่เราเป็นเพื่อนกันตั้งแต่สมัยเรียน รู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก ทำงานร่วมกันได้ ซึ่งการทำงานของนายอนุทินก็คล้ายกับนายกรัฐมนตรี ที่ไวตัดสินใจรวดเร็ว มาไม่นานก็ได้พบนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นความร่วมมือในการทำงานที่ดี |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48288
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48288
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 03/10/2023 8:13 am Post subject: |
|
|
สีส้ม-น้ำตาล-รถไฟฟ้าภูเก็ต2.2แสนล.
Source - เดลินิวส์
Tuesday, October 03, 2023 07:52
3โครงการด่วนรฟม.ชง'สุริยะ'
น้ำตาลไร้ปัญหา/ส้มยังติดคดี
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า โครงการเร่งด่วน และมีความจำเป็นของ รฟม. ที่เสนอกระทรวงคมนาคม ตามข้อสั่งการนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เพื่อพิจารณา และผลักดันให้ดำเนินงานต่อไป มี 3 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่ง รฟม. ได้คัดเลือกเอกชนและได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว รอเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อลงนามสัญญา แต่ปัจจุบันยังมีคดีพิพาทเกี่ยวกับการคัดเลือกโครงการระหว่าง รฟม. และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC
นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า รฟม. ยังมีคดีพิพาทเกี่ยวกับการคัด เลือกเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อีก 2 คดี จาก 5 คดี 1. BTSC ยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับการคัดเลือกเอกชนฯ ไม่ชอบ กีดกัน BTSC และ 2.BTSC ยื่นอุทธรณ์คดีศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง BTSC กรณีการแก้ไขเอกสารการคัดเลือกเอกชนฯ และยกเลิกการคัดเลือกฯ
นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม. วงเงิน 4.9
หมื่นล้านบาท คณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. เห็นชอบแล้ว เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการฯ
นายภคพงศ์ กล่าวด้วยว่า ช่วงถนนประเสริฐมนูกิจ ที่จะใช้พื้นที่เกาะกลางร่วมกับโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 ตอน N2 (ถนนประเสริฐมนูกิจ-ถนนวงแหวนรอบนอกฯ ด้านตะวันออก) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะวางแผนการก่อสร้างร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุดรฟม.จะก่อสร้างเสาตอม่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลเอง จากเดิมจะให้ กทพ. ดำเนินการ สำหรับพื้นที่ ด้านข้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) ซึ่ง กทพ. มีแผนจะทำอุโมงค์ทางด่วน 2 ชั้น ตอน N1 (ศรีรัช-ถนนประเสริฐมนูกิจ) นั้น คาดว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการทำเสาตอม่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล
3.โครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงินประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ปรับรูปแบบระบบรถ เพื่อลดวงเงินลงทุนก่อสร้าง ทำให้โครงการล่าช้า ออกไป จึงต้องรอฟังนโยบายจาก รมว.คมนาคมที่ชัดเจนอีกครั้งว่า ระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต จะใช้เทคโนโลยีรูปแบบระบบรถแบบใด และเมื่อนั้นระบบขนส่งมวลชนอีก 3 จังหวัดที่เหลือได้แก่ จ.เชียงใหม่, จ.นครราชสีมา และ จ.พิษณุโลก ก็จะเดินหน้าต่อได้ โดยปัจจุบัน จ.เชียงใหม่ และ จ.นครราชสีมา ศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วน จ.พิษณุโลก อยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษา
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้นายสุริยะ ให้สัมภาษณ์เบื้องต้นว่า เรื่องเร่งด่วนขอทำนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในกรุงเทพฯก่อน ส่วนโครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ตจะให้ รฟม.เปลี่ยนรูปแบบกลับมาเป็นรถไฟฟ้ารางเบา (แทรมล้อเหล็ก) จากเดิมนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมให้เป็นระบบART (รถไฟฟ้าล้อยาง) ก่อนจะให้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้างแต่นายสุริยะขอให้ชะลอแทรมภูเก็ตไว้ 2 ปีเพื่อเร่งรัดก่อสร้างและขยายถนนรวมทั้งโครงการทางด่วนใน จ.ภูเก็ต ก่อน หากสร้างพร้อมกันจะเกิดวิกฤติจราจรในภูเก็ต.
ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 4 ต.ค. 2566 (กรอบบ่าย)
ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์-Dailynews
3 ต.ค. 66 07:56 น.
รถไฟฟ้าสีส้ม-น้ำตาล-แทรมภูเก็ต 2.2 แสนล้าน
*3 โครงการใหญ่เร่งด่วนของรฟม.ชงสุริยะ
*สถานะสายน้ำตาลไร้ปัญหา/สีส้มยังติด2คดี
*แทรมภูเก็ตขอนโยบายชัดๆสั่งเลื่อนไป2ปี
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/864997208410848 |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48288
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 03/10/2023 5:18 pm Post subject: |
|
|
'รถไฟฟ้า 20 บาท' เลื่อนเข้า ครม.สัปดาห์หน้า เหตุรอรับฟังความเห็นหน่วยงาน
กรุงเทพธุรกิจ 03 ต.ค. 2566 เวลา 17:06 น.
'รถไฟฟ้า 20 บาท' เลื่อนเข้า ครม.สัปดาห์หน้า เหตุรอรับฟังความเห็นหน่วยงาน
มนพร เผยเลื่อนพิจารณาค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท ต้องเวียนถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดเสนอกลับเข้าที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยระบุว่า วันนี้ (3 ต.ค.) ยังไม่มีการพิจารณาวาระปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท เนื่องจากเรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เสนอบรรจุเข้าวาระพิจารณาไม่ทัน เบื้องต้นคาดว่าจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาในสัปดาห์หน้า แต่อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ มั่นใจว่าการปรับราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะพิจารณาแล้วเสร็จ และเริ่มมีผลดำเนินการตามเป้าหมายกระทรวงฯ วางไว้ คือ ปีใหม่ 2567
วันนี้นำวาระพิจารณาไม่ทัน เพราะว่าเรื่องรถไฟฟ้า 20 บาท ต้องนำไปถามความเห็นหน่วยงานอื่นๆ ด้วย น่าจะนำกลับมาพิจารณาในสัปดาห์หน้า เหมือนกันกับวาระแต่งตั้งข้าราชการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเจ้าท่า ก็ต้องเลื่อนออกไปในสัปดาห์หน้า ทำให้วันนี้มีวาระที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องงบอย่างการรถไฟฯ ขอกู้เงินเสริมสภาพคล่อง 1.8 หมื่นล้านบาท
เคาะแน่! รถไฟฟ้า 20 บาทนำร่องสายสีแดง คาดเริ่ม 14 ต.ค.นี้
เศรษฐกิจ
4 ต.ค. 66 09:53
กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้านำร่องก่อน 2 เส้นทาง คือรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีแดง เบื้องต้นคาดว่าจะเปิดให้บริการสายสีแดงวันแรก 14 ต.ค.นี้
วันนี้ (4 ต.ค.2566) รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารที่ 10 ต.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท หรือ 20 บาทตลอดสาย
โดยจะนำร่อง 2 โครงการ คือ รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ทั้งนี้ หากจะใช้บริการสายสีม่วงข้ามระบบไปยังสายสีแดง เบื้องต้นจะสามารถใช้ได้กับผู้ถือบัตรโดยสาร EMV เท่านั้น
สำหรับนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั่น รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แล้ว
หาก ครม.มีมติอนุมัติปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 2 สาย อัตราสูงสุดไม่เกิน 20 บาท เบื้องต้น กำหนดวันที่ประกาศใช้นโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในวันเสาร์ที่ 14 ต.ค.นี้
ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟม. แจ้งว่า รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง คาดการณ์ว่าจะเริ่มใช้ 20 บาทตลอดสายได้ในวันที่ 1 ธ.ค.2566 และจะทดลองใช้ เพื่อประเมินผลการดำเนินการในระยะเวลา 1 ปี
ขณะที่การดำเนินการนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมวคมนาคม กำหนดเป้าหมายไว้ว่า จะสามารถเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าทุกสี ทุกเส้นทางในราคา 20 บาทตลอดสายภายใน 2 ปีนับจากนี้ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 04/10/2023 6:27 pm Post subject: |
|
|
มาแล้วพี่จ๋าา
รถไฟฟ้า20บาท เริ่ม 1 ธ.ค.นี้สายสีม่วงXสีแดง
มุมคนเมือง, เศรษฐกิจ-ยานยนต์
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์.
วันอังคาร ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:00 น.
ประกาศดีเดย์แล้ว1 ธ.ค.นี้!!! สำหรับการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRTสายสีม่วงตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล โดยรฟม.มีมติเห็นชอบมาตรการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ระยะทาง23 กิโลเมตร(กม.) ทั้งหมด 16 สถานี
ประกาศดีเดย์แล้ว 1 ธ.ค. นี้ สำหรับการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRTสายสีม่วงตามนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล โดยการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) เป็นประธานเมื่อวันที่ 28 ก.ย. มีมติเห็นชอบมาตรการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ระยะทาง23 กิโลเมตร(กม.) 16 สถานี จาก 14-42 บาท เป็น 14-20 บาท
ผู้ว่าการรฟม. นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ แจกแจงว่า รฟม. จะเริ่มปรับลดค่าโดยสารได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2566 ตลอดระยะเวลาเปิดบริการ (05.30 น. 24.00 น.) สำหรับผู้ที่เดินทางและจ่ายค่าโดยสารไม่ถึง 20 บาทยังจ่ายราคาเดิม ส่วนตลอดสายไม่เกิน 20 บาท เด็ก/ผู้สูงอายุ ยังได้รับส่วนลด 50% และนักเรียน/นักศึกษา จะได้รับส่วนลด 10% จากอัตราค่าโดยสารใหม่ด้วย
ในส่วนของการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเก็บค่าโดยสารของทั้ง 2 สายสูงสุดไม่เกิน 20 บาทเช่นกัน แต่ต้องเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีบางซ่อน ภายในเวลา 30 นาที และใช้บัตรโดยสารใบเดียวกัน ช่วงแรกนี้ใช้ได้เฉพาะผู้ที่ถือบัตร EMV ก่อน เนื่องจากยังไม่มีตั๋วร่วม รฟม. จะเสนอเรื่องการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไป
ADVERTISEMENT
เบื้องต้นประเมินไว้ว่าการปรับลดค่าโดยสารจะดึงดูดประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเพิ่มขึ้นประมาณ 17% หรือประมาณ 1 หมื่นคนต่อวัน จากปัจจุบันผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 5.6 หมื่นคนต่อวัน เป็น 6.6 หมื่นคนต่อวัน และใช้บริการสายสีม่วงเชื่อมสายสีแดงประมาณ 200 คนต่อวัน
เมื่อตีมูลค่าเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมได้ประมาณ 900 ล้านบาทต่อปี ประกอบด้วย การประหยัดค่าใช้จ่ายรถยนต์, ประหยัดเวลาเดินทาง, ค่าความสุข, ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มั่นใจว่าเมื่อผู้โดยสารมากขึ้น ขบวนรถของสายสีม่วงที่มีอยู่ 23 ขบวนจะเพียงพอรองรับผู้โดยสารได้ถึง 2 แสนคนต่อวัน
ขณะที่รฟม. จะสูญเสียรายได้ประมาณ 190 ล้านบาทต่อปี จากรายได้เฉลี่ย 500 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันผู้ใช้บริการเฉลี่ย 8 สถานี มีค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 23 บาทต่อคน แต่จะไม่ขอสนับสนุนเงินชดเชยจากรัฐบาล เนื่องจากตั้งแต่ปี 2561 รฟม. มีกำไร(เกือบ2 พันล้านต่อปี) และนำเงินรายได้ส่งกระทรวงการคลังมาตั้งแต่ปี 2561 โดยปี 2563 รฟม. นำส่งรายได้เข้าคลังประมาณ 300 ล้านบาท, ปี 2564 ประมาณ 467 ล้านบาท, ปี 2565 ประมาณ 311 ล้านบาท และปี 66 ประมาณ 223 ล้านบาท แต่ต้องแจ้งกระทรวงการคลังว่าตั้งแต่ปี 2567 จะส่งเงินรายได้ให้กระทรวงการคลังน้อยลงจากปกติจะส่งให้ประมาณ 20-25% ของกำไรสุทธิ
รฟม. จะประเมินผล 1 ปี เพื่อคาดการณ์จุดคุ้มทุนที่ไม่ต้องชดเชยรายได้ที่หายไป คาดว่าจะอยู่ที่ 5 ปี ส่วนการเจรจาบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม เพื่อพิจารณาให้รถไฟฟ้าMRTสายสีน้ำเงินที่บริษัทรับสัมปทาน รวมทั้งสายอื่นๆ ในสังกัดรฟม.เช่น สายสีเหลืองสายสีชมพูเข้าร่วมลดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายด้วยนั้น บีอีเอ็มอยู่ระหว่างประเมินรายได้ที่จะขาดหายไป กระทรวงคมนาคมจะตั้งคณะกรรมการมาเจรจากับเอกชน เพื่อปรับลดาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้เหลือไม่เกิน 20 บาททุกสายตามนโยบายรัฐบาล.
ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. ซึ่งมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เป็นประธานมีมติเห็นชอบปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จากเดิม 14-42 บาท เหลือไม่เกิน 20 บาทตลอดสายแล้วเช่นเดียวกัน
ADVERTISEMENT
รฟท.จะสูญเสียรายได้ประมาณ 80 ล้านบาทต่อปี ต้องจัดทำแผนงาน งบประมาณที่ต้องใช้จ่าย ระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่ได้รับ ตามมาตรา 27 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐกำหนด เสนอกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไป รฟท. จะเสนอขอรับเงินชดเชยจากรัฐบาลตามรายได้ที่ลดลงจริง ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่ที่ประมาณ 2.5 หมื่นคนต่อวัน คาดว่านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะช่วยเพิ่มผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 5% ส่งเสริมให้ประชาชนที่ใช้รถยนต์หันมาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ มั่นใจว่าหากไม่มีปัญหาอะไรติดขัดจะปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงเหลือไม่เกิน 20 บาทตลอดสายได้ทันภายใน 3 เดือนตามนโยบายนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน
นับถอยหลังอีก 60 วันจะได้นั่งรถไฟฟ้าสีม่วงข้ามสายสีแดงไม่เกิน 20 บาท ส่วนสายอื่นๆ อีก 5 สี ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว แอร์พอร์ตเรลลิ้งก์ สีทอง สีเหลืองและสีชมพูที่ติดสัญญาสัมทานเอกชน กระทรวงคมนาคมขอเวลา 2 ปี รถไฟฟ้า7สาย7สีเชื่อมโยงกันในราคา 20 บาทจะทำได้ตามที่หาเสียงไว้หรือไม่ ต้องติดตาม |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48288
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 06/10/2023 5:17 am Post subject: |
|
|
จ่อชง ครม.เคาะรถไฟฟ้า20บาท "สีแดง-สีม่วง"ดีเดย์14ต.ค.
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, October 06, 2023 05:15
จ่อชง ครม.เคาะรถไฟฟ้า20บ. 'สีแดง-สีม่วง'ดีเดย์14ต.ค.
ผู้จัดการรายวัน 360 - "สุริยะ" ชง ครม. 10 ต.ค.นี้ เคาะค่าโดยสารรถไฟฟา 20 บาทตลอด เส้นทาง พร้อมเริ่มประกาศใช้ทันที 14 ต.ค.นี้ เร็วกว่าเปาหมายเดิมเดือน พ.ย. "สายสีม่วง-สีแดง" ส่วนข้ามระบบ 2 สาย ขอเวลาปรับซอฟต์แวร์ เปาเริ่มใน 1 ธ.ค.นี้
ผู้จัดการรายวัน360 - "สุริยะ" ชง ครม. 10 ต.ค.นี้ เคาะค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดเส้นทาง พร้อมเริ่มประกาศใช้ทันที 14 ต.ค.นี้ เร็วกว่าเปาหมายเดิมเดือน พ.ย. "สายสีม่วง-สีแดง" ส่วนข้ามระบบ 2 สาย ขอเวลาปรับซอฟต์แวร์ เป้าเริ่มใน 1 ธ.ค.นี้
วานนี้ (5 ต.ค.) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคม ได้สรุปเรื่อง ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย นำส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อรวบรวมความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันอังคารที่ 10 ต.ค.นี้ ซึ่งหาก ครม.เห็นชอบ ตนจะลงพื้นที่ตรวจความพร้อมของสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งไม่น่ามีปัญหาอะไร หน่วยงานพร้อมดำเนินการทันที โดยจะเร่งประกาศใช้อัตรา 20 บาทตลอดสาย ภายในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งเร็วกว่าเปาหมายเดิมที่จะเริ่ม ในวันที่ 1 ธ.ค.66 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน
สำหรับ ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาทนั้น กระทรวงคมนาคมจะนำร่อง 2 โครงการก่อน คือ รถไฟฟาสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร (กม.) และ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 41 กม. ซึ่งคาดว่าจะเริ่มประกาศใช้ค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ได้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 ต.ค.66 เป็นต้นไป
โดยรถไฟสายสีแดง ปัจจุบันจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 12 บาท สูงสุด 42 บาท คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีมติดำเนินการตามนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ของรัฐบาลเมื่อ วันที่ 22 ก.ย.66 ซึ่งจะทำให้มีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 12 บาท สูงสุด 20 บาท
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง ปัจจุบันจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 42 บาท คณะกรรมการ (บอร์ด)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีมติดำเนินการตามนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เมื่อวันที่ 28 ก.ย.66 ซึ่งจะทำให้มีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 14 บาท สูงสุด 20 บาท
สำหรับกรณี การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงของ รฟม. และรถไฟชานเมืองสายสีแดงของ รฟท. อยู่ภายใต้นโยบายอัตราค่าโดยสารของทั้ง 2 สาย สูงสุดไม่เกิน 20 บาท โดยใช้บัตรโดยสารใบเดียวกัน ซึ่งผู้โดยสารต้องใช้บัตร EMV Contactless ชำระค่าโดยสาร และเดินทางเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีบางซ่อน ภายในระยะเวลา 30 นาที โดยตั้งเปาเริ่มใช้ได้ในวันที่ 1 ธ.ค.66 เนื่องจากจะต้องมีการปรับปรุงซอฟต์แวร์ และระบบตัดค่าโดยสารเพิ่มเติม เพื่อรองรับการเดินทางข้ามระหว่างสายสีแดงและสายสีม่วง ซึ่งหลักการ ผู้โดยสารเดินทางเข้าสายใดก่อน สายนั้นจะรับรายได้จากค่าโดยสารไป
"นโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่จะนำร่อง สายสีแดงและสายสีม่วง จะมีการประเมินผลการดำเนินการในระยะเวลา 1 ปี ส่วนการขยายไปยังรถไฟฟ้าสายอื่นๆ นั้น จะเร่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาร่วมกับภาคเอกชน ที่เป็นผู้รับสัมปทาน เพื่อให้สามารถดำเนินการนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทได้ทุกสาย ภายใน 2 ปี" นายสุริยะ ระบุ.
ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 6 ต.ค. 2566 |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48288
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 06/10/2023 2:06 pm Post subject: |
|
|
เปิดต้นทุน รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้ทุกสายทุกคนขึ้นได้
ไทยโพสต์ 6 ตุลาคม 2566 เวลา 13:25 น.
สภาองค์กรของผู้บริโภค กรมรางฯ - รฟม. พ้องเสียงค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาททำได้จริงแม้รัฐบาลต้องอุดหนุนแต่ถือว่าคุ้มค่ากับคุณภาพชีวิต ช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชน นักวิชาการเสนอรัฐหนุนคนไทยต้อง สร้างรถไฟฟ้าเอง เป็นวาระแห่งชาติ
จากการที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีประกาศเดินหน้านโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้าราคา 20 บาท และกระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566 นี้ ให้นำร่องค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทใน 2 โครงการ คือ 1.รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงเตาปูน - คลองบางไผ่ และ 2.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน บางซื่อ รังสิต นั้น
วันนี้ (5 ตุลาคม 2566) สภาผู้บริโภคจัด เสวนา "เปิดต้นทุน รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้ทุกสายทุกคนขึ้นได้" โดยมี นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค ดร.พิเชษฐ์ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และรศ.ดร.ประมวล สุรีจารุวัฒน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมเสวนาด้วย
ดร.พิเชษฐ์ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า ในวันที่ 10 ตุลาคมนี้ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณานำร่อง ค่าโดยสารรถไฟฟ้าราคา 20 บาท 2 สาย คือ สายสีม่วงและสายสีแดง โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม โดยผู้ที่จ่ายค่าโดยสารระหว่าง 14 - 17 บาทจะจ่ายในราคาเดิม ส่วนผู้โดยสารที่จ่ายค่าโดยสารในราคามากกว่า 20 บาทจะได้ใช้บริการรถไฟฟ้าในราคา 20 บาท รวมทั้งมีส่วนลดสำหรับผู้สูงอายุโดยจะได้ใช้บริการในราคา 10 บาท
รถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีแดงเป็นสายที่รัฐบาลดูแลทำให้สามารถลดราคาค่าโดยสาร 20 บาทลงได้ แต่แน่นอนว่ารัฐบาลต้องนำเงินงบประมาณมาสนับสนุน แต่เชื่อว่าคุ้มค่าเพราะทำให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดฝุ่น PM2.5 ลงเนื่องจากคนใช้รถยนต์น้อยลง ดร.พิเชษฐ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ดร.พิเชษฐ์ กล่าวว่า ขนส่งมวลชนถือเป็นบริการสาธารณะที่รัฐบาลต้องสนับสนุน จึงไม่อยากให้มองว่าทำไมรัฐบาลจึงนำเงินมามาอุดหนุนเฉพาะระบบราง เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลก็ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เช่น ระบบถนน เช่นเดียวกับการอุดหนุนเรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้าก็เพื่อไม่ต้องการให้ประชาชนแบกค่าโดยสารและทำให้ประชาชนเข้าถึงการเดินทางมากขึ้น
ด้าน นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า สิ่งที่ รฟม. ได้ดำเนินการไปแล้วในส่วนของค่าโดยสาร คือ การลดค่าแรกเข้าระหว่างสายสีเหลือง น้ำเงินและม่วง และในปลายปีนี้ หากสายสีชมพูเปิดดำเนินการก็จะมีการลดค่าแรกเข้าเช่นกัน ทั้งนี้การดำเนินการรถไฟฟ้าราคา 20 บาทของ รฟม.จะเริ่มที่สายสีม่วง
อย่างไรก็ตามนโยบายรถไฟฟ้าราคา 20 บาทจะส่งผลให้รายได้ค่าโดยสารสายสีม่วงลดลงประมาณ 190 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณรอยละ 60 ของรายได้ปัจจุบัน แต่คาดว่าจะมี จำนวนผู้โดยสารสายสีม่วงเพิ่มขึ้นประมาณ 1 หมื่นคนต่อวัน คือจาก 5.6 เป็น 6.6 หมื่นคนต่อวัน ทำให้มีต้นทุนค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 23 บาท แม้ต้นทุนจะสูงกว่าค่าโดยสาร 20 บาท และรัฐต้องเข้าไปสนับสนุนก็ถือว่ามีความคุ้มค่ามากกว่า ในเรื่องมลพิษทางอากาศ ลดการใช้น้ำมัน
ขณะที่ รศ.ดร.ประมวล สุรีจารุวัฒน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากรัฐดำเนินนโยบายเก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายในรถไฟฟ้าทุกสี รัฐจะต้องอุดหนุนงบประมาณ ปีละ 12,000 ล้านบาท ซึ่งตัวเลข 12,000 บาทต่อปี เป็นการคิดคำนวณการเดินทางของผู้โดยสารข้ามไปมาแค่ 2 สายเท่านั้น
หากรัฐบาลทำโครงการรถไฟฟ้าราคา 20 บาทนำร่อง สีม่วงกับสีแดง รัฐต้องเตรียมเงินชดเชย 90 ล้านบาท ดังนั้น ในระยะสั้นของการทำโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในรถไฟฟ้าทุกสาย รัฐต้องอุดหนุนปีละ12,000 ล้านบาท รศ.ดร.ประมวลกล่าว
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ประมวล ได้เสนอแผนลดการอุดหนุนค่าโดยสารของรัฐบาลในระยะยาว 2 ข้อ คือ 1) หาวิธีการลดต้นทุน เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้าขบวนรถไฟฟ้าจากต่างประเทศทั้งหมด ดังนั้นหากต้องการลดต้นทุน รัฐบาลต้องมีแผนในการสร้างขบวนรถไฟฟ้าเอง เป็นอุตสาหกรรมใหม่เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ
2) รัฐต้องพัฒนาพื้นที่ ในส่วนที่ รฟม. รฟท. และกทม. เป็นเจ้าของที่ดินให้สามารถนำไปทำธุรกิจประเภทอื่นได้เพื่อพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ให้หารายได้มาชดเชยค่าโดยสารที่รัฐบาลสนับสนุนไป โดยในเรื่องนี้ อาจจะต้องมีการแก้กฎหมาย ซึ่งต้องมีการหารือในประเด็นนี้ต่อไปในอนาคต
สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่เรื่องราคา แต่หัวใจสำคัญคือรัฐเอาเงินไปอุดหนุน ผมรอว่ารัฐจะมีแผนสอง แผนสาม อย่างไร เพื่อลดต้นทุนและไปสร้างประโยชน์จากธุรกิจอื่นได้ เพื่อลดต้นทุน นี่เป็นโจทย์ที่ท้าทายและอยากให้นายกรัฐมนตรีมองเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติและรีบมาทำ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถสร้างรถไฟฟ้าได้ด้วยตัวเองไม่ต้องนำเข้าตัวรถจากต่างประเทศ รศ.ดร.ประมวล กล่าว
ด้าน นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงาน สภาผู้บริโภค กล่าวว่า สนับสนุนนโยบายรัฐบาลรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย พร้อมยืนยันว่าสามรถทำได้จริง ในเมื่อสายสีแดงและสีม่วงรัฐบาลต้องอุดหนุนอยู่แล้วจากการขาดทุน ดังนั้นหากการทำค่าโดยสารถูกลง และมีคนใช้บริการเพิ่มขึ้นก็จะทำให้โอกาสสายสีแดง และสายสีม่วงมีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
สภาผู้บริโภค เห็นว่าการชดเชยขนส่งมวลชนเป็นเรื่องที่ทำทั่วโลกทำกัน และ ไม่มีที่ไหน ที่ประชาชนจะจ่ายค่าขนส่งสาธารณะแบบ 100 เปอร์เซ็นต์แต่จะทำอย่างไรให้เกิดค่าโดยสารราคาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคมากที่สุด เลขาธิการสภาผู้บริโภคกล่าว
นางสาวสารี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะใน 32 จังหวัดเป็นเรื่องที่ต้องทำควบคู่กันไป โดยได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลักดันให้ผู้บริโภคสามารถใช้ บริการขนส่งสาธารณะ ได้ทุกคน ทุกวัน ในราคาค่าบริการขนส่งมวลชนไม่เกินร้อยละ 5 - 10 ของค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่เกิน 35 บาทต่อวัน โดยได้นำเสนอข้อมูลดังกล่าวไปไปยังรัฐบาลเพื่อให้พิจารณาแล้วเช่นกัน
เราสนับสนุนรัฐบาลในนโยบายรถไฟฟ้าราคา 20 บาทและเรามั่นใจว่าสามารถทำได้ นอกจากนี้เรายังเห็นว่าการกำหนดราคารถไฟฟ้า 20 บาทจะทำให้ทุกคนสามารถเดินทางได้ทุกวันไป - กลับวันละ 40 บาทใกล้เคียงกับค่าแรงขั้นต่ำมากขึ้นจึงเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงระบบขนส่งมวลชน และสภาผู้บริโภคจะเดินหน้าผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจังทั้งในกทม. และต่างจังหวัดเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย ราคาเป็นธรรม นางสาวสารี กล่าว |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 06/10/2023 6:17 pm Post subject: |
|
|
เร็วทันใจ! สุริยะ ชง ครม.อังคารหน้าเคาะรถไฟฟ้า 20 บาท "สีแดง, สีม่วง" เริ่ม 14 ต.ค. นั่งเชื่อม 2 สายเริ่ม 1 ธ.ค.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 6 ตุลาคม 2566 เวลา 06:32 น.
ปรับปรุง: 6 ตุลาคม 2566 เวลา 10:07 น.
สุริยะ ชง ครม. 10 ต.ค.นี้เคาะค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดเส้นทาง พร้อมเริ่มประกาศใช้ทันที คาด 14 ต.ค. 66 นี้ ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายเดิมเดือน พ.ย. สายสีม่วง และสีแดง ส่วนข้ามระบบ 2 สายขอเวลาปรับซอฟต์แวร์ เป้าเริ่มใน 1 ธ.ค. 66 นี้
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้สรุปเรื่อง ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย นำส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อรวบรวมความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันอังคารที่ 10 ต.ค. 2566 นี้ ซึ่งหาก ครม.เห็นชอบตนจะลงพื้นที่ตรวจความพร้อมของสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งไม่น่ามีปัญหาอะไร หน่วยงานพร้อมดำเนินการทันที โดยจะเร่งประกาศใช้อัตรา 20 บาทตลอดสาย ภายในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่จะเริ่มในวันที่ 1 ธ.ค. 2566 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน
สำหรับการปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาทนั้น กระทรวงคมนาคมจะนำร่อง 2 โครงการก่อน คือ รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ระยะทาง 23 กม. และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 41 กม. ซึ่งคาดว่าจะเริ่มประกาศใช้ค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ได้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 ต.ค. 2566 เป็นต้นไป
โดยรถไฟสายสีแดง ปัจจุบันจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 12 บาท สูงสุด 42 บาท คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีมติดำเนินการตามนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาลเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2566 ซึ่งจะทำให้มีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 12 บาท สูงสุด 20 บาท
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง ปัจจุบันจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 42 บาท คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีมติดำเนินการตามนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2566 ซึ่งจะทำให้มีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสาร เริ่มต้น 14 บาท สูงสุด 20 บาท
สำหรับกรณีการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ของ รฟม. กับรถไฟชานเมืองสายสีแดง ของ รฟท.อยู่ภายใต้นโยบายอัตราค่าโดยสารของทั้ง 2 สาย สูงสุดไม่เกิน 20 บาท โดยใช้บัตรโดยสารใบเดียวกัน ซึ่งผู้โดยสารต้องใช้บัตร EMV Contactless ชำระค่าโดยสาร และเดินทางเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีบางซ่อน ภายในระยะเวลา 30 นาที โดยตั้งเป้าเริ่มใช้ได้ในวันที่ 1 ธ.ค. 2566 เนื่องจากจะต้องมีการปรับปรุงซอฟต์แวร์ และระบบตัดค่าโดยสารเพิ่มเติม เพื่อรองรับการเดินทางข้ามระหว่างสายสีแดงกับสายสีม่วง ซึ่งหลักการผู้โดยสารเดินทางเข้าสายใดก่อน สายนั้นจะรับรายได้จากค่าโดยสารไป
อย่างไรก็ตาม นโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่จะนำร่อง สายสีแดงและสายสีม่วง จะมีการประเมินผลการดำเนินการในระยะเวลา 1 ปี ส่วนการขยายไปยังรถไฟฟ้าสายอื่นๆ นั้น นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จะเร่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาร่วมกับภาคเอกชนที่เป็นผู้รับสัมปทาน เพื่อให้สามารถดำเนินการนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทได้ทุกสายภายใน 2 ปี |
|
Back to top |
|
 |
|