Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
Posted: 10/10/2023 7:35 pm Post subject:
Time to work on R & D on Bogie Third Class Airconditioned Carriages to get the prototype for mass product of Bogie Third Class Airconditioned Carriages to replace the existing third-class carriages - as seen in the visiting of Diesel Railcar Depot on 9 October 2023. https://www.facebook.com/rtrda.thailand/posts/305670065555500
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 10/10/2023 9:37 pm Post subject:
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
10 ต.ค. 66
https://web.facebook.com/pr.railway/posts/714360734055254
การรถไฟฯ ชี้แจงดราม่า หลังตรวจสอบจากกล้องวงจรปิด ยืนยันขบวนรถไฟออกตรงตามเวลา
ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ข่าว กรณีผู้โดยสารที่เป็นเยาวชนเดินทางมาขึ้นรถไฟ ที่สถานีศาลายาไม่ทัน เนื่องจากขบวนรถมีการออกก่อนเวลา 1 นาทีนั้น นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า เมื่อเกิดเหตุดังกล่าว นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยทันที ซึ่งจากตรวจสอบข้อมูลจากกล้องวงจรปิดภายในสถานี รวมถึงสอบถามข้อมูลกับนายสถานีศาลายาที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้รับการยืนยันว่าขบวนรถไฟได้เคลื่อนขบวนออกจากสถานี ตามเวลาที่กำหนดในตั๋วโดยสาร 15.24 น. ไม่ได้มีการออกก่อนเวลาแต่อย่างใด
ทั้งนี้ รายละเอียดข้อมูลที่ปรากฏจากกล้องวงจรปิด และคำให้การของนายสถานีศาลายามีรายละเอียดว่า ขบวนรถดังกล่าว คือ ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 31 กรุงเทพ-ชุมทางหาดใหญ่ โดยในวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ขบวนรถได้มาถึงที่สถานีศาลายา เวลา 15.20 น. (ก่อนกำหนดเวลา 3 นาที) ซึ่งตามปกติขบวนรถจะหยุดเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารประมาณ 1 นาที แต่ปรากฏว่าในวันดังกล่าว ขบวนรถได้หยุดที่สถานีศาลายาเป็นเวลา 4 นาที จนกระทั่งถึงเวลา 15.24 น. ซึ่งเป็นเวลาขบวนรถต้องออกตามที่ระบุในตั๋วโดยสาร นายสถานีศาลายาได้ออกมาปฏิบัติหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของผู้โดยสาร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว และประตูขบวนรถไฟอัตโนมัติปิด จึงแจ้งให้พนักงานกั้นถนนนำเครื่องกั้นลง จากนั้นให้สัญญาณขบวนรถออกตามเวลาที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม หลังจากขบวนรถออกจากสถานีไปเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าได้มีผู้โดยสารเยาวชน 2 คน เข้ามาแจ้งนายสถานีว่า ไม่สามารถขึ้นขบวนรถได้ทัน ซึ่งจากการสอบถาม และตรวจดูภาพจากกล้องวงจรปิดพบว่า ผู้โดยสารเยาวชนทั้ง 2 คนได้วิ่งเข้ามาคนละฝั่งซึ่งไม่ใช่จุดขึ้นลงขบวนรถ และขบวนรถได้ออกไปแล้ว จึงไม่สามารถแจ้งให้ขบวนรถหยุดได้ เพราะอาจกระทบต่อกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัย แต่เพื่อเป็นการให้บริการที่ดี นายสถานีจึงให้ความช่วยเหลือแก่ 2 ผู้โดยสารเยาวชน ด้วยการจัดที่นั่งพักคอย และแนะนำให้ผู้โดยสารเดินทางด้วยรถไฟในขบวนถัดไปที่จะมาถึงสถานีศาลายาในเวลา 16.42 น. เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้โดยสารทั้ง 2 คน ให้เดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัย
นายเอกรัช กล่าวเพิ่มว่า การรถไฟฯ ข้อแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารทุกคน รับทราบถึงข้อพึงระวังในการเดินทางด้วยรถไฟอย่างปลอดภัย โดยหากขบวนรถกำลังเคลื่อนออกจากสถานี ห้ามผู้โดยสารกระโดดขึ้นหรือลงจากขบวนรถเป็นอันขาด เพราะอาจพลาดพลั้งเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ และกรณีหากมาไม่ทันขบวนรถ ก็ขอให้รอเดินทางด้วยขบวนรถไฟถัดไป ซึ่งท้ายนี้ การรถไฟฯ ขอขอบคุณทุกข้อเสนอแนะและคำติชมจากผู้โดยสาร ที่จะนำมาปรับปรุงการให้บริการรถไฟให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่พี่น้องประชาชนต่อไป
วงจรปิดตอกมนุษย์แม่ ลูกมาถึงตอนรถไฟเคลื่อนไปแล้ว ไม่ใช่ก่อนเวลารถออก 1 นาทีตามที่อ้าง
ผู้จัดการออนไลน์ 11 ต.ค. 2566 02:57
คนรถไฟประสานเสียงโต้ผู้ปกครองรายหนึ่ง ร้องเรียนอ้างลูกสาวตกรถไฟขึ้นรถไม่ทัน โวยรถออกก่อนเวลา 1 นาที ขุดลึกวงจรปิดตอกหน้ามนุษย์แม่ พบรถไฟออกช้ากว่ากำหนด 1-2 นาที รถไฟเคลื่อนไปแล้วลูกเพิ่งจะโผล่หัวมา แก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนตั๋วใหม่ให้
เมื่อวันที่ 10 ต.ค. จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ร้องเรียนลงในกลุ่ม "รถไฟไทย Train Thailand" สอบถามว่าลูกสาวตกรถไฟขึ้นรถไม่ทัน ในตั๋วเขียนขึ้นรถเวลา 15.24 น. แต่บังเอิญรถติดฝนตกนิดหนึ่ง กว่าลูกจะมาถึงรถไฟออกพอดี แต่เป็นเวลา 15.23 น. รถไฟกำลังจะเคลื่อนตัว สงสัยนาฬิกาลูกเพี้ยนแค่ 1 นาที ลูกวิ่งไปบอกคนโบกธง เขาบอกไม่ทันทั้งๆ ที่รถไฟเพิ่งเปิดหวูด เวลาอีก 1 นาที สรุปไม่ทัน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 7 ต.ค. เวลา 15.23 น. สอบถามผู้รู้ว่าไม่มีการแก้ปัญหาตรงนี้ให้ได้เลยหรือ รู้ว่าผิดที่คนของเรา แต่เคยเห็นผู้โดยสารมาไม่ทันรถไฟ เขายกธงรอจนขึ้น
อ่านประกอบ : แม่พ้อ! ลูกสาวขึ้นรถไฟไม่ทัน ทั้งที่มาถึงสถานีก่อนเวลารถออก 1 นาที
รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ในแวดวงคนทำงานรถไฟและกลุ่มเรลแฟน (Railfan) ได้มีการส่งต่อและเผยแพร่ภาพจากกล้องวงจรปิดของสถานีรถไฟศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยพบว่าโพสต์ที่ถูกพาดพิงเป็นขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ (CNR) ขบวนที่ 31 กรุงเทพอภิวัฒน์-ชุมทางหาดใหญ่ จากภาพจะเห็นได้ว่า รถไฟได้เคลื่อนขบวนไปแล้ว แต่ผู้โดยสารที่เป็นเยาวชนเพิ่งเข้ามาอยู่อีกฝั่งหนึ่งของสถานี ซึ่งนายสถานีมองไม่เห็น อีกทั้งรถออกช้ากว่ากำหนดประมาณ 1-2 นาทีด้วยซ้ำ ซึ่งขณะที่รถจอดบริเวณสถานี เวลา 15.23 น. ยังไม่มีผู้โดยสารรายใดเข้ามา ตนเดินออกมาพร้อมกับวิทยุสั่งให้เครื่องกั้นทางรถไฟ บริเวณถนนศาลายา-บางภาษี เอาเครื่องกั้นลงเพื่อปล่อยรถ กระทั่งเวลา 15.24 น. ได้ปล่อยรถ ปรากฎว่าผู้โดยสารยังไม่มา กระทั่งรถเคลื่อนตัว ที่อ้างว่าผู้โดยสารมารอก่อน 1 นาทีไม่เป็นความจริง แต่วิ่งมาเมื่อรถออกไปแล้ว จึงเข้ามาสอบถาม ซึ่งท้ายขบวนจะพ้นทางผ่านอยู่แล้ว จึงเชิญมาแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนตั๋วให้ ผู้โดยสารถามว่าตามไปที่สถานีนครปฐมจะทันหรือไม่ นายสถานียืนยันว่าไม่ทัน ซึ่งภายหลังผู้โดยสารคนดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนตั๋วโดยสาร ไปกับขบวนรถด่วนพิเศษที่ 37 กรุงเทพอภิวัฒน์-สุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นขบวนถัดไปแทน
สำหรับการเปิดเผยวีดีโอคลิปดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม เนื่องจากนายสถานีศาลายา ถูกการรถไฟแห่งประเทศไทยตรวจสอบเรื่องนี้ จึงต้องแสดงความบริสุทธิ์ อีกทั้งโพสต์ร้องเรียนดังกล่าว ถูกนำเสนอข่าวผ่านสื่อมวลชนอย่างแพร่หลาย ทำให้สถานีศาลายาและการรถไฟฯ ได้รับความเสียหายและเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกชาวเน็ตดูหมิ่นเกลียดชัง
ด้านนายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า เมื่อเกิดเหตุดังกล่าว นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยทันที ซึ่งจากตรวจสอบข้อมูลจากกล้องวงจรปิดภายในสถานี รวมถึงสอบถามข้อมูลกับนายสถานีศาลายาที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้รับการยืนยันว่าขบวนรถไฟได้เคลื่อนขบวนออกจากสถานี ตามเวลาที่กำหนดในตั๋วโดยสาร 15.24 น. ไม่ได้มีการออกก่อนเวลาแต่อย่างใด
ทั้งนี้ รายละเอียดข้อมูลที่ปรากฏจากกล้องวงจรปิด และคำให้การของนายสถานีศาลายามีรายละเอียดว่า ขบวนรถดังกล่าว คือ ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 31 กรุงเทพ-ชุมทางหาดใหญ่ โดยในวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ขบวนรถได้มาถึงที่สถานีศาลายา เวลา 15.20 น. (ก่อนกำหนดเวลา 3 นาที) ซึ่งตามปกติขบวนรถจะหยุดเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารประมาณ 1 นาที แต่ปรากฏว่าในวันดังกล่าว ขบวนรถได้หยุดที่สถานีศาลายาเป็นเวลา 4 นาที จนกระทั่งถึงเวลา 15.24 น. ซึ่งเป็นเวลาขบวนรถต้องออกตามที่ระบุในตั๋วโดยสาร นายสถานีศาลายาได้ออกมาปฏิบัติหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของผู้โดยสาร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว และประตูขบวนรถไฟอัตโนมัติปิด จึงแจ้งให้พนักงานกั้นถนนนำเครื่องกั้นลง จากนั้นให้สัญญาณขบวนรถออกตามเวลาที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม หลังจากขบวนรถออกจากสถานีไปเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าได้มีผู้โดยสารเยาวชน 2 คน เข้ามาแจ้งนายสถานีว่า ไม่สามารถขึ้นขบวนรถได้ทัน ซึ่งจากการสอบถาม และตรวจดูภาพจากกล้องวงจรปิดพบว่า ผู้โดยสารเยาวชนทั้ง 2 คนได้วิ่งเข้ามาคนละฝั่งซึ่งไม่ใช่จุดขึ้นลงขบวนรถ และขบวนรถได้ออกไปแล้ว จึงไม่สามารถแจ้งให้ขบวนรถหยุดได้ เพราะอาจกระทบต่อกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัย แต่เพื่อเป็นการให้บริการที่ดี นายสถานีจึงให้ความช่วยเหลือแก่ 2 ผู้โดยสารเยาวชน ด้วยการจัดที่นั่งพักคอย และแนะนำให้ผู้โดยสารเดินทางด้วยรถไฟในขบวนถัดไปที่จะมาถึงสถานีศาลายาในเวลา 16.42 น. เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้โดยสารทั้ง 2 คน ให้เดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัย
"การรถไฟฯ ขอแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารทุกคน รับทราบถึงข้อพึงระวังในการเดินทางด้วยรถไฟอย่างปลอดภัย โดยหากขบวนรถกำลังเคลื่อนออกจากสถานี ห้ามผู้โดยสารกระโดดขึ้นหรือลงจากขบวนรถเป็นอันขาด เพราะอาจพลาดพลั้งเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ และกรณีหากมาไม่ทันขบวนรถ ก็ขอให้รอเดินทางด้วยขบวนรถไฟถัดไป ซึ่งท้ายนี้ การรถไฟฯ ขอขอบคุณทุกข้อเสนอแนะและคำติชมจากผู้โดยสาร ที่จะนำมาปรับปรุงการให้บริการรถไฟให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่พี่น้องประชาชนต่อไป" นายเอกรัช กล่าว
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
Posted: 11/10/2023 11:52 am Post subject:
รถไฟไทยทำคันแรก สุดขอบฟ้า ผ่านทุกการทดสอบ! เตรียมบริการประชาชน
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
11 ตุลาคม 2566 เวลา 10:36 น.
ผ่านฉลุย! รถไฟไทยทำ สุดขอบฟ้า ตู้โดยสารต้นแบบคันแรกของไทย วิ่งเทสต์ 540 กม. เตรียมส่งมอบ รฟท. ออกให้บริการประชาชน ผลทดสอบน่าพอใจมาก ไร้ปัญหา ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เบรกฉุกเฉินได้ด้วยตัวเองที่ความเร็ว 90 กม./ชม. ชี้เป็นเครื่องพิสูจน์คนไทยก็ทำได้ ใช้วัสดุผลิตในประเทศ 44%
ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา หัวหน้าศูนย์วิจัยระบบรางและโครงสร้างพื้นฐาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะรองหัวหน้าโครงการรถไฟไทยทำหรือการผลิตรถไฟโดยสารต้นแบบ ให้สัมภาษณ์ ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง้ดลินิวส์ ว่าทีมวิจัยจาก สจล. ร่วมกับฝ่ายการช่างกลการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ทดสอบรถไฟไทยทำรุ่น สุดขอบฟ้า (Beyond Horizon) ตามมาตรฐานที่ รฟท. กำหนดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งแบบสถิต (static test) ในโรงงาน และทดสอบแบบพลวัต (dynamic test) 3 วัน ผลการทดสอบน่าพอใจมาก ไม่พบปัญหาใด หลังจากนี้จะเป็นขั้นตอนส่งมอบรถให้ รฟท นำไปใช้ประโยชน์ให้บริการประชาชนต่อไป
ผศ.ดร.รัฐภูมิ กล่าวต่อว่า การทดสอบแบบพลวัต เป็นการทดสอบสมรรถนะการใช้งาน และความปลอดภัย โดยทดสอบเดินรถจาก สถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง ถึงสถานีบ้านคลองสิบเก้า พ่วงไปกับหัวรถจักรอุลตร้าแมน ระยะทางประมาณ 135 กม. รวมไป-กลับ 270 กม. โดยทดสอบ 2 วัน รวมกันประมาณ 540 กม. ประกอบด้วย 1.ทดสอบสมรรถนะตัวรถ แบบ Single car test ได้แก่ การทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างตัวรถในการทำขบวนขณะวิ่งเสมือนจริง (train to train interface) เช่น ระบบลม และระบบทางกลต่างๆ ทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างตัวรถ กับโครงสร้างพื้นฐาน (train to infrastructure interface) เช่น ระยะเขตโครงสร้างและเขตตัวรถไฟ ระยะห่างระหว่างชานชาลาสูง และตัวรถไฟในการเข้าถึง (Accessibility test)
รวมถึงทดสอบระบบเบรกในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งเบรกปกติ และเบรกฉุกเฉิน ถือเป็นการทดสอบระบบที่มีความสำคัญที่สุด โดยจำลองสถานการณ์ให้ขอพ่วง และท่อลมหลุดจากขบวน และให้รถ สุดขอบฟ้า หยุดด้วยระบบเบรกฉุกเฉินของตัวเองเท่านั้น ที่ความเร็ว 90 กม.ต่อ ชม. ถือเป็นสถิติที่มีการทดสอบด้วยความเร็วสูงสุดของ รฟท. ขณะที่มาตรฐานโลกไม่ได้ทดสอบระบบเบรกที่ความเร็วสูงสุด แม้รถคันนี้จะใช้ความเร็วได้ถึง 120 กม./ชม. แต่เมื่อพ่วงตู้จะใช้ความเร็วสูงสุดเพียง 90 กม.ต่อ ชม.
2.ทดสอบสมรรถนะ และพฤติกรรมการวิ่งของตัวรถ โดยใช้ความเร็วสูงสุดที่ 120 กม.ต่อ ชม. พร้อมติดอุปกรณ์ เพื่อตรวจวัดผลตอบสนองจากตัวรถที่ความเร็วสูงสุดที่ต้องอยู่ในมาตรฐาน ซึ่งทาง รฟท. มีมาตรฐานที่ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความสะดวกสบายของผู้โดยสาร (ride comfort) ด้วย ขณะเดียวกันคณะนักวิจัยก็ได้ใช้เกณฑ์มาตรฐานยุโรปคือ UIC 518 สำหรับด้านความปลอดภัยในการวิ่ง (running safety) และ ISO 2631 สำหรับมาตรฐานด้านความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ทุกการทดสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด
ผศ.ดร.รัฐภูมิ กล่าวด้วยว่า การผลิตรถโดยสารต้นแบบขึ้นมาครั้งนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คนไทยทำได้ และยังใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 44% ขอขอบคุณหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และบริษัทกิจการร่วมค้าไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด ที่สนับสนุนทุนวิจัยในการพัฒนารถ รวมแคร่ และงานระบบประมาณ 32 ล้านบาท รวมทั้ง รฟท. ที่ร่วมสนับสนุนการทดสอบในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ ขอขอบคุณประชาชน และแฟนเพจรถไฟทุกคนที่มอบกำลังใจให้ทีมผู้วิจัยอย่างดี
ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์ รายงานว่า รถไฟไทยทำ เป็นตู้โดยสารต้นแบบคันแรกของไทย ตามโครงการ ไทยเฟิร์ส ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ และลดนำเข้าเทคโนโลยี รหัสรุ่นคือ TMT-PC-BH001 ทีมวิจัยออกแบบตัวรถเองทั้งหมด ได้แรงบันดาลใจจากที่นั่งในเครื่องบินชั้นธุรกิจ และชั้นเฟิร์สคลาสในรถไฟความเร็วสูง มีความยาว 24 เมตร กว้าง 2.80 เมตร มีที่นั่ง 25 ที่ ประกอบด้วย ชั้น Super Luxury 8 ที่นั่ง และชั้น Luxury 17 ที่นั่ง
ทุกที่นั่งมีจอภาพส่วนตัวสำหรับให้บริการด้านความบันเทิง และสั่งอาหาร มีพนักงานเสิร์ฟหุ่นยนต์นำอาหารมาส่งถึงที่นั่ง มีระบบห้องน้ำสุญญากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งทางขึ้นรถไฟที่ได้รับการออกแบบ เพื่อรองรับการใช้งานของผู้พิการ ทั้งนี้ หากเทียบกับการผลิตในท้องตลาด ราคาประมาณ 50 ล้านบาท
https://www.dailynews.co.th/news/2797963/
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/869174761326426/?mibextid=cr9u03
การทดสอบระบบ รถไฟไทยทำคันแรก
https://www.facebook.com/watch?v=1682290532291516
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 11/10/2023 5:52 pm Post subject:
สุรพงษ์ สั่ง รฟท. เพิ่มรายได้ 30%
สำนักข่าวไทย 11/10/2566 16:50
กรุงเทพฯ 11 ต.ค.-รมช.คมนาคม มอบนโยบายการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้หาวิธีเพิ่มรายได้ โดยตั้งเป้าภายในปีงบประมาณ 2567 การรถไฟฯ จะต้องมีการรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 30%
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า เบื้องต้นได้รับทราบจากการรถไฟฯ ถึงผลประกอบการ พบว่าหลายปีที่ผ่านมา มีหนี้สะสมประมาณ 2 แสนล้านบาท จึงมอบหมายให้การรถไฟฯ หาวิธีเพิ่มรายได้ โดยตั้งเป้าภายในปีงบประมาณ 2567 การรถไฟฯ จะต้องมีการรายได้จากการดำเนินงานเป็นบวก หลังจากนั้นต้องเพิ่มขึ้นเป็นกำไร เพื่อหักกับหนี้สะสม ซึ่งจะต้องมีการอัพเดตผลดำเนินงานทุกๆ 3 เดือน โดย รฟท. มีจุดแข็งเนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่ง แต่จุดอ่อน คือเรื่องการพัฒนาที่มีความล่าช้า ซึ่งจะต้องมุ่งเน้นเรื่องจุดขายในการดึงผู้โดยสารมาใช้บริการ เพื่อเพิ่มรายได้ให้มาอยู่ที่ 30% หรือประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันมีรายได้จากการขนส่งสินค้าทางรถไฟอยู่ที่ 3% หรือประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยหลังจากนี้จะตั้งทีมการตลาด เพื่อดึงรัฐวิสาหกิจ และเอกชน เข้ามาร่วมดำเนินการ
สำหรับโครงการสำคัญของรฟท. ที่จะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาเล็งเห็นว่าจะเสนอโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 สายหาดใหญ่-ปาดังเปซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 6,660 ล้านบาท เตรียมนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. 19 ตุลาคมนี้ ก่อนที่จะนำเสนอให้ ครม. เห็นชอบภายในเดือนพฤศจิกายน 2566 และนอกจากนี้จะมีการเสนอโครงการรถไฟทางคู่ สายขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 29,748 ล้านบาท และโครงการรถไฟทางคู่ สายปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 62,800 ล้านบาท และช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร วงเงิน 3.75 หมื่นล้านบาท เข้าบอร์ด รฟท. หลังจากนั้นจะต้องขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ภายในเดือนพฤศจิกายน โดยทั้งสี่เส้นทางดังกล่าวคาดว่าจะเปิดประมูลได้ประมาณปี 2567-สำนักข่าวไทย
ปีหน้าลุยทางคู่ 4 สาย 1.3 แสนล้าน! ดึง หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เข้าโครงการด่วน
เดลินิวส์ 11 ตุลาคม 2566 22:02 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
คมนาคม ลุยชงทางคู่เฟส 2 รวม 4 เส้นทางกว่า 1.3 แสนล้านเข้า ครม. พ.ย.นี้ ดัน หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ จากลำดับท้ายขึ้นมาอยู่กลุ่มแรก สนองความต้องการประชาชน กระตุ้นการค้าชายแดนใต้ พร้อมส่งรถไฟฟ้าสายสีแดง ต่อขยาย 3 เส้น เข้าครม. ภายในปี 66 ขีดเส้นปีนี้ต้องเคลียร์ปัญหารถไฟไฮสปีดให้จบ เร่งจัดหารถโดยสาร ส่วนปีหน้ารายได้ต้องเป็นบวก อีก 3 เดือนจะมาติดตามงาน
เมื่อวันที่ 11 ต.ค. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยม และมอบนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ว่า ได้สั่งการให้ รฟท. ปรับแผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ ระยะ(เฟส) ที่ 2 โดยให้นำช่วง ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 7,864 ล้านบาท ขึ้นมาดำเนินการในลำดับแรกๆ พร้อมกับช่วงขอนแก่น-หนองคาย, ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย และช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี เนื่องจากเป็นความต้องการของประชาชน และภาคธุรกิจในพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดน และทำให้การค้าชายแดนสะดวกมากขึ้น ทั้งนี้เดิมช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในอันดับสุดท้ายของแผนการดำเนินงาน
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้รับรายงานว่าขณะนี้ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 29,748 ล้านบาท ได้ผ่านการพิจารณาความเห็นชอบจากคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. และเสนอมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาแล้ว ส่วนอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 59,399 ล้านบาท, ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กม. วงเงิน 36,683ล้านบาท และช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ทาง รฟท. จะเสนอบอร์ด รฟท. พิจารณาในวันที่ 19ต.ค.66 ก่อนเสนอกระทรวงคมนาคม และ ครม.ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้ ครม. พิจารณาได้ในเดือน พ.ย.66 และเปิดประมูลทั้ง 4 เส้นทางได้ภายในปี 67
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ทั้ง 4 โครงการมีความพร้อมแล้ว และเป็นโครงการที่ผ่านความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(กก.วล.) แล้ว หาก ครม. เห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที โดยตามแผนงานแต่ละเส้นทางจะทยอยก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ปี 70-72 อย่างไรก็ตามนอกจากนี้ได้เร่งรัดให้ผลักดันโครงการระบบรถไฟชานเมือง(รถไฟฟ้าสายสีแดง) ส่วนต่อขยาย โดยจะเสนอเข้า ครม. พิจารณาภายในสิ้นปี 66 จำนวน3 เส้นทาง ซึ่งปัจจุบันผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด รฟท. แล้ว 1 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,468 ล้านบาท
นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 4,616 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท จะเสนอเข้าบอร์ด รฟท. พิจารณาในเร็วๆ นี้ ในส่วนของรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนต่อขยายที่เดิมจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) นั้น เบื้องต้นจะให้เปิดประมูลในส่วนของงานโยธาก่อน ส่วนการบริหารงานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา(O&M) นั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ระยะ(เฟส)ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้เหลือการลงนามสัญญา 2 สัญญาจากทั้งหมด 14 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. เตรียมลงนามสัญญาเดือน ต.ค.66 และสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ยังมีประเด็นเรื่องการดำเนินงานกับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างทับซ้อนกัน อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งได้มอบนโยบายให้เร่งเคลียร์ทุกปัญหาให้จบภายในปี 66 เพราะเวลาไม่รอใครเดินหน้าตลอด
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า จากการรับฟังการรายงานผลประกอบการของ รฟท. พบว่า ยังขาดทุน และมีหนี้สะสมกว่า 2 แสนล้านบาท มีจุดอ่อนเรื่องการตลาด ซึ่งเป็นจุดที่จะช่วยเพิ่มรายได้ได้ จึงมอบให้พิจารณาหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ (Outsource) เข้ามาช่วย หรือตั้งทีมของ รฟท. ขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้มอบให้ รฟท. ปรับเป้าหมายการทำกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) เป็นบวก โดยต้องให้เกิดขึ้นในปี 67 (ไม่รวมหนี้สะสม) ซึ่งจะเร็วกว่าที่แผนฟื้นฟูกำหนดไว้ว่าไม่เกินปี 76 และในปี 68 ให้เพิ่มขึ้นเป็นกำไร โดยการที่จะทำให้ผลการดำเนินงานไม่ขาดทุน ต้องลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้จากทั้งการขนส่งสินค้า และผู้โดยสาร
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีการขนส่งสินค้าทางราง 3% ของปริมาณขนส่งสินค้าทั้งประเทศ มีรายได้จากการขนส่งสินค้าประมาณ 2พันล้านบาทต่อปี โดยให้หาวิธีเพิ่มการขนส่งสินค้าทางรางให้เป็น 30% หากทำได้รายได้จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาทต่อปี ขณะที่การขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 2% ของการเดินทางของประชาชนทั่วประเทศ โดยให้ รฟท. ไปตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มตัวเลขได้อยู่ที่เท่าไหร่ อย่างไรก็ตามตนจะลงมาติดตามงาน รฟท. ที่ได้สั่งการไปทุก 3 เดือน ส่วนเรื่องการจัดหารถโดยสารดีเซลรางปรับอากาศ 184 คัน จะเร่งรัดให้ดำเนินการจัดหาฯ ภายในปีงบประมาณ 67 พร้อมทั้งให้เร่งปรับปรุงคุณภาพรถโดยสาร รวมถึงการบริการที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนเรื่องการปรับราคาค่าโดยสารที่ได้ปรับไปครั้งสุดท้ายเมื่อปี 38 นั้น ขอให้ รฟท. ทำคุณภาพให้ดีก่อน จากนั้นจึงจะมาว่ากันเรื่องการปรับขึ้นค่าโดยสาร
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 12/10/2023 8:13 am Post subject:
'รฟท.'รีแบรนด์ปรับแผนทำรายได้คมนาคมสั่งEBITDAเป็นบวกปี67
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Thursday, October 12, 2023 04:02
เพิ่มรถไฟทางคู่ 4 เส้นทาง วงเงิน 1.36 แสนล้าน
กรุงเทพธุรกิจ"สุรพงษ์" สั่งการบ้าน"ร.ฟ.ท." ตั้งเป้า EBITDA เป็นบวกใน ปี 2567 ดันปรับโฉมรถไฟลุยเพิ่มรายได้เส้นทางท่องเที่ยว จ่อชง ครม.ในเดือนหน้า อนุมัติเพิ่มทางคู่ 4 เส้นทาง วงเงินกว่า 1.36 แสนล้านบาท
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นองค์กรที่อยู่คู่ประเทศไทยมานาน นับร้อยปี ปัจจุบันอยู่ในสถานะด้านธุรกิจ ที่น่าเป็นห่วง โดย ร.ฟ.ท.มีคาดการณ์ รายรับประจำปี 2567 รวม 10,661 ล้านบาท มาจากรายได้จากการโดยสาร 2,957 ล้านบาท รายได้การขนส่งสินค้า 2,467 ล้านบาท เป็นต้น
ขณะที่คาดการณ์รายจ่ายประจำปี 2567 รวม 29,631 ล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายครบกำหนดชำระดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายเงินกู้ 5,436 ล้านบาท จ่ายบำรุงทางอาณัติสัญญาณและสิ่งปลูกสร้าง 3,514 ล้านบาท เป็นต้น จะเห็นว่ารายจ่ายสูงกว่ารายได้เกือบสองหมื่นล้านบาท ภาวะธุรกิจติดลบเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย ร.ฟ.ท. โดยระบุว่า จากผลการดำเนินงานของ ร.ฟ.ท. พบว่าขาดทุนสะสมอยู่กว่า 2 แสนล้านบาท แต่จุดแข็งของธุรกิจไม่มีคู่แข่ง ซึ่งสิ่งที่ ยังขาดอยู่คือการทำการตลาด เข้าถึงลูกค้า และปรับบริการให้ตอบโจทย์ผู้โดยสาร
ดังนั้น ตนจึงได้สั่งการให้ ร.ฟ.ท.เร่ง จัดตั้งทีมการตลาด เพื่อเดินหน้าเจรจา หาลูกค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงผู้โดยสารกลุ่ม นักท่องเที่ยวที่ต้องการประสบการณ์การเดินทางใหม่ๆ ด้วยรถไฟ
ทำตลาดปรับโฉมการให้บริการ
อย่างไรก็ดี ตนได้ตั้งเป้าหมาย ดำเนินงานให้ ร.ฟ.ท.เร่งทำการตลาด ปรับโฉม บริการของการรถไฟ หารายได้และลดค่าใช้จ่าย เพื่อทำให้การรถไฟเป็นองค์กรที่มี EBITDA หรือกำไรจากการดำเนินงาน ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย เป็นบวกภายในปี 2567 เร็วกว่าแผนฟื้นฟูที่เคยกำหนดไว้ว่าจะมี EBITDA เป็นบวกก่อนปี 2576 นอกจากนี้ผลักดันให้รถไฟไทยเป็นขนส่งหลักของ การขนส่งสินค้าและการเดินทางของ ประชาชน
เนื่องจากปัจจุบันพบว่า ร.ฟ.ท.มีรายได้ จากการขนส่งสินค้าราว 2 พันล้านบาท ครองสัดส่วนการขนส่งสินค้าในประเทศอยู่ที่ 3% เท่านั้น เป้าหมายขณะนี้ให้ปรับเพิ่มขึ้นถึง 2.2 หมื่นล้านบาท ครองสัดส่วนแบ่งการตลาดให้สูงถึง 30% เช่นเดียวกับรายได้จากการขนส่งผู้โดยสาร ปัจจุบันพบว่าครองส่วนแบ่งการเดินทางของประเทศอยู่ที่ 2% หลังจากนี้ให้ปรับเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง
"การรถไฟฯ มีจุดอ่อนคือการพัฒนาที่ล่าช้า ต้องเร่งปรับโฉมบริการก่อน โดยเฉพาะบริการที่หารายได้จำนวนมาก รถไฟสายท่องเที่ยว รวมไปถึงรถไฟในชั้น 1 ที่สามารถทำราคาค่าโดยสารได้ ให้ทำการตลาดไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นการเดินทาง ส่วนบริการเชิงสังคมยังให้คงไว้ เพื่อบริการประชาชนในการลดต้นทุนการเดินทาง"
ลงทุนขยายขีดความสามารถ
นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากปรับบริการของ ร.ฟ.ท.แล้ว การลงทุนขยายขีดความสามารถก็ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยขณะนี้มีโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ที่มีความพร้อม คาดว่าจะมีการพิจารณาในคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. วันที่ 19 ต.ค.นี้ หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่ ขั้นตอนพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน พ.ย.2567 และอนุมัติภายในปีงบประมาณ 2567 เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนประกวดราคา
โดยรถไฟทางคู่ดังกล่าวมีจำนวน 4 โครงการ วงเงินรวมกว่า 1.36 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร วงเงิน 6.28 หมื่นล้านบาท 2.ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร วงเงิน 6.66 พันล้านบาท 3.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร วงเงิน 3.75 หมื่นล้านบาท และ 4.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 2.97 หมื่นล้านบาท
"ตอนนี้รถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ต้องเดินหน้าต่อตามแผน แต่ได้ปรับเอาช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ขยับให้เร็วขึ้นกว่าแผนเดิมที่วางไว้เปิดบริการในปี 2572 ตอนนี้มีความพร้อมแล้ว จึงเตรียมเสนอ ครม.ในเดือนหน้านี้ และเริ่มขั้นตอนประกวดราคาในปีงบประมาณ 2557 เพราะโครงการรถไฟทางคู่สายนี้ จะสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน"
เล็งประมูลส่วนต่อขยายสายสีแดง
นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังมีแผนเสนอขออนุมัติจาก ครม.เพื่อเปิดประมูลก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 3 เส้นทาง วงเงินรวม 21,754 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร วงเงิน 10,670 ล้านบาท 2.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงิน 4,616 ล้านบาท และช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร วงเงิน 6,468 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเสนอขออนุมัติจากบอร์ดภายใน ธ.ค.นี้ หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนประกวดราคาภายในปีงบประมาณ 2567 ส่วนการจัดหาเอกชนร่วมลงทุนงานเดินรถ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษา
นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า แผนดำเนินงาน ในปี 2567 ร.ฟ.ท.จะต้องเคลียร์เรื่องที่ค้างคาให้แล้วเสร็จด้วย โดยเฉพาะเรื่องรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ในส่วนของสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา) ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจา
ขณะที่เรื่องการจัดหารถโดยสารใหม่ ถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน ตนจะดำเนินการผลักดันให้มีการจัดหาโดยเร็วในปีงบประมาณ 2567
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 ต.ค. 2566
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 12/10/2023 8:28 pm Post subject:
ปิดตำนาน 72 ปี ตำรวจรถไฟ ร.ฟ.ท.เตรียมพร้อมภารกิจดูแลความปลอดภัย
กรุงเทพธุรกิจ 12 ต.ค. 2566 เวลา 17:26 น.
ร.ฟ.ท.ร่วมปิดตำนานกองบังคับการตำรวจ รำลึก 72 ปี ความภาคภูมิใจของตำรวจรถไฟในการให้บริการประชาชน พร้อมกางแผนภารกิจดูแลความปลอดภัยผู้โดยสาร
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีสงฆ์และงานรำลึก 72 ปี กองบังคับการตำรวจรถไฟ เกียรติยศและความภาคภูมิใจของตำรวจรถไฟในการให้บริการประชาชน พร้อมด้วย รองผู้ว่าการรถไฟฯ นายอวิรุทธิ์ ทองเนตร และ นายเอก สิทธิเวคิน โดยมี พล.ต.ต.ชัยรพ จุณณวัตต์ ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจรถไฟ และเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟ ร่วมกิจกรรมและให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมชั้น 1 กองบังคับการตำรวจรถไฟ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า งานรำลึก 72 ปี กองบังคับการตำรวจรถไฟ ซึ่งเป็นการจัดงานแห่งเกียรติยศและความภาคภูมิใจของตำรวจรถไฟฯ เพื่อเป็นการรำลึกถึงกองบังคับการตำรวจรถไฟ (บก.รฟ.) ที่จะยุติการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 และได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ให้กับพี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟ
สำหรับจุดเริ่มต้นของ ตำรวจรถไฟ ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช 2437 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในชื่อ กองตระเวนรักษาทางรถไฟ ต่อมาได้จัดตั้งขึ้นเป็น กองตำรวจรถไฟ จนได้รับการเลื่อนสถานะเป็น กองบังคับการตำรวจรถไฟ จนเมื่อมีประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2565 มีผลให้กองบังคับการตำรวจรถไฟ จะถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เพื่อแยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อไป
นายนิรุฒ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา กองบังคับการตำรวจรถไฟ ทำหน้าที่ร่วมกับพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่เคียงข้างในการให้บริการประชาชน ดูแลรักษาความปลอดภัย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมบนขบวนรถไฟ ตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสถานีทุกแห่งทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พร้อมกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังสุดความสามารถด้วยความตั้งใจ สร้างคุณประโยชน์เพื่อประเทศชาติอย่างมากมาย อาทิ การจับกุมอาชญากร สกัดกั้นการค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบัน กองบังคับการตำรวจรถไฟ จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่บนขบวนรถไฟและตามสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ แต่ความผูกพันที่เป็นเสมือนคนในครอบครัวเดียวกันกับ "การรถไฟแห่งประเทศไทย" จะยังคงอยู่ในใจของคนรถไฟและประชาชนตลอดไป
ท้ายนี้ การรถไฟฯ พร้อมทั้งผู้บริหาร และพนักงานการรถไฟฯ ทุกคน ขอขอบคุณตำรวจรถไฟทุกท่านที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความเข้มแข็งและมีวิริยะอุตสาหะมาตลอดระยะเวลา 72 ปี นับเป็นความผูกพันที่มีมาอย่างยาวนาน หากแต่ในวันสุดท้ายของการเป็นตำรวจรถไฟ ยังคงมีสิ่งหนึ่งที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคนก็คือ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" ปกปัก พิทักษ์ รักษาความสงบสุขเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้เตรียมแผนดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารหลังจากนี้ โดยได้เตรียมพร้อมบุคลาการรถไฟฯ ที่ได้รับการฝึกมาตรการด้านความปลอดภัยมาแล้ว และสามารถดูแลผู้โดยสาร ป้องกันเหตุเฉพาะหน้าได้ อีกทั้งยังอยู่ระหว่างประสานขอกำลังเสริมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อช่วยดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารในเส้นทางเดินรถระยะไกล เป็นต้น
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 13/10/2023 6:00 am Post subject:
'สุรพงษ์' สั่ง ขบ.เดินหน้าศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า ดันนโยบายขนส่งถนนสู่ราง
กรุงเทพธุรกิจ 12 ต.ค. 2566 เวลา 22:03 น.
สุรพงษ์ มอบนโยบายกรมการขนส่งทางบก สั่งใช้เทคโนโลยีบริการลดค่าใช้จ่ายประชาชน พร้อมกางแผนงบปี 2567 กว่า 4.3 พันล้านบาท ทุ่มลงทุนศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า สนองนโยบายรัฐเชื่อมขนส่งทางถนนสู่ราง
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) โดยระบุว่า ภารกิจสำคัญที่ตนได้มอบหมายให้ ขบ.เร่งดำเนินการ คือ ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนในการใช้บริการของ ขบ. อาทิ การต่อทะเบียนรถยนต์ รวมไปถึงนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น และการแก้ปัญหาลดมลพิษ PM 2.5
ขณะที่ปัญหาเรื่องการปรับขึ้นค่าโดยสารของกลุ่มแท็กซี่ และรถจักยานยนต์รับจ้าง โดยให้ ขบ.จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดทันที เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็น โดยให้ภาครัฐดูแลรับผิดชอบผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่มีเงินทุนและเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถบริหารจัดการแหล่งเงินทุนและเทคโนโลยีในราคาถูกที่สุด สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ได้ ส่วนการจัดทำแอปพลิเคชันยืนยันว่ายังคงต้องเดินหน้าเพื่อบริการประชาชน
ด้านนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวว่า ปัญหาเรื่องแท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสารนั้น เบื้องต้นกรมฯ ได้มีการว่ากล่าวตักเตือนคนขับแท็กซี่ที่กระทำผิด และสั่งเข้มให้รักษามาตรฐานการให้บริการประชาชน นอกจากนี้กรมฯ ยังเดินหน้ารองรับแอปพลิเคชันเรียกรถรับจ้างที่ประชาชนสามารถใช้เป็นทางเลือกในการเดินทางได้แล้ว จำนวน 7 ราย
ขณะที่แผนดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 ขบ. ได้รับการจัดสรรจำนวน 4,300 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นการงานบริการด้านขนส่ง รวมถึงงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ระยะที่ 2 วงเงิน 649 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบผู้พัก 3 ปี (ปี 2566 - 2568) ส่วนปีงบประมาณ 2566 ได้รับจำนวน 3,500 ล้านบาท เบิกจ่ายงบไป 88-89%
นอกจากนี้ ยังเดินหน้าโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าในภูมิภาคต่อเนื่อง 2 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 4,212 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของจังหวัดเชียงราย วงเงิน 2,851 ล้านบาท แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ งบก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานระยะที่ 1 วงเงิน 1,300 ล้านบาท และงบก่อสร้างระยะที่ 2 วงเงิน 636 ล้านบาท ส่วนงบประมาณที่เหลือเป็นการลงทุนของภาคเอกชนวงเงิน 915 ล้านบาท โดยระยะที่ 1 ขบ. ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่แล้ว ส่วนระยะที่ 2 ผู้รับจ้างเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา คาดแล้วเสร็จในปี 2568 ใช้เวลา 3 ปี
สำหรับผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (PPP) บริษัท เค.เอ็น.อาร์ กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้เสนอผลตอบแทนเพียงรายเดียว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจร่างสัญญาของอัยการสูงสุด จากนั้นจะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน ก่อนลงนามกับเอกชนต้นปี 2567 เพื่อให้เอกชนเข้าไปบริหารศูนย์ขนส่งสินค้าเชียงของต่อไป โดยมีอายุสัมปทาน 15 ปี
2.โครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม วงเงิน 1,361 ล้านบาท ในส่วนของภาครัฐดำเนินการก่อสร้างมีความคืบหน้าล่าสุด (เดือน ก.ย.2566) กว่า 25% เร็วกว่าแผน 3% ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างงานระบบระบายน้ำ งานถนนและลานคอนกรีตเสริมเหล็ก งานฐานรากอาคารต่างๆ งานทางลอด (Underpass) สำหรับรถบรรทุกเข้า-ออกโครงการ คาดกำหนดแล้วเสร็จปลายปี 2567 เปิดบริการปี 2568
นอกจากนี้ ขบ. ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าในพื้นที่อื่นๆ เพิ่มเติม คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี คาดว่า จะเสนอ ครม. ภายในต้นปี 2567 อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้ศูนย์ขนส่งเหล่านี้มีประสิทธิภาพ ขบ.เตรียมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อบูรณาการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าจากการขนส่งทางถนนไปสู่ระบบราง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 13/10/2023 12:17 pm Post subject:
เกียรติยศ 72 ปี ของตำรวจรถไฟ ความภาคภูมิใจในการให้บริการประชาชน
การรถไฟแห่งประเทศไทย Official
Oct 12, 2023
https://www.youtube.com/watch?v=O2UpBj0d0X0
ผู้ว่าการรถไฟฯ ร่วมงานแห่งเกียรติยศ รำลึก 72 ปี กองบังคับการตำรวจรถไฟ
ความภาคภูมิใจของตำรวจรถไฟในการให้บริการประชาชน
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีสงฆ์และงานรำลึก 72 ปี กองบังคับการตำรวจรถไฟ เกียรติยศและความภาคภูมิใจของตำรวจรถไฟในการให้บริการประชาชน พร้อมด้วย รองผู้ว่าการรถไฟฯ นายอวิรุทธิ์ ทองเนตร และ นายเอก สิทธิเวคิน โดยมี พล.ต.ต.ชัยรพ
จุณณวัตต์ ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจรถไฟ และเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟ ร่วมกิจกรรมและให้การต้อนรับ
ณ ห้องประชุมชั้น 1 กองบังคับการตำรวจรถไฟ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า งานรำลึก 72 ปี กองบังคับการตำรวจรถไฟ ซึ่งเป็นการจัดงานแห่งเกียรติยศและความภาคภูมิใจของตำรวจรถไฟฯ เพื่อเป็นการรำลึกถึงกองบังคับการตำรวจรถไฟ (บก.รฟ.) ที่จะยุติการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 และได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ให้กับพี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟ
สำหรับจุดเริ่มต้นของ ตำรวจรถไฟ ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช 2437 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในชื่อ กองตระเวนรักษาทางรถไฟ ต่อมาได้จัดตั้งขึ้นเป็น กองตำรวจรถไฟ จนได้รับการเลื่อนสถานะเป็น กองบังคับการตำรวจรถไฟ จนเมื่อมีประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2565 มีผลให้กองบังคับการตำรวจรถไฟ จะถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เพื่อแยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อไป
นายนิรุฒ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา กองบังคับการตำรวจรถไฟ ทำหน้าที่ร่วมกับพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่เคียงข้างในการให้บริการประชาชน ดูแลรักษาความปลอดภัย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมบนขบวนรถไฟ ตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสถานีทุกแห่งทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พร้อมกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังสุดความสามารถด้วยความตั้งใจ สร้างคุณประโยชน์เพื่อประเทศชาติอย่างมากมาย อาทิ การจับกุมอาชญากร สกัดกั้นการค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบัน กองบังคับการตำรวจรถไฟ จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่บนขบวนรถไฟและตามสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ แต่ความผูกพันที่เป็นเสมือนคนในครอบครัวเดียวกันกับ "การรถไฟแห่งประเทศไทย" จะยังคงอยู่ในใจของคนรถไฟและประชาชนตลอดไป
ท้ายนี้ การรถไฟฯ พร้อมทั้งผู้บริหาร และพนักงานการรถไฟฯ ทุกคน ขอขอบคุณตำรวจรถไฟทุกท่านที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความเข้มแข็งและมีวิริยะอุตสาหะมาตลอดระยะเวลา 72 ปี นับเป็นความผูกพันที่มีมาอย่างยาวนาน หากแต่ในวันสุดท้ายของการเป็นตำรวจรถไฟ ยังคงมีสิ่งหนึ่งที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคนก็คือ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" ปกปัก พิทักษ์ รักษาความสงบสุขเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
Posted: 16/10/2023 12:09 am Post subject:
ปิดตำนาน 72 ปีตำรวจรถไฟยุติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยบนขบวนรถไฟและสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดี ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 18:08 น.
ปรับปรุง:วันพฤหัสบดี ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 18:08 น.
ปิดตำนานตำรวจรถไฟยุติปิดตำนานตำรวจรถไฟยุติบทบาทหน้าที่การดูแลความปลอดภัยบนขบวนรถไฟและตามสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ ผู้ว่าการรถไฟฯ ร่วมงานแห่งเกียรติยศ รำลึก 72 ปี กองบังคับการตำรวจรถไฟ ในการให้บริการประชาชน
วันที่ 12 ตุลาคม 2566 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เป็นประธานในพิธีสงฆ์และงานรำลึก 72 ปี กองบังคับการตำรวจรถไฟ เกียรติยศและความภาคภูมิใจของตำรวจรถไฟในการให้บริการประชาชน พร้อมด้วย รองผู้ว่าการรถไฟฯ นายอวิรุทธิ์ ทองเนตร และ นายเอก สิทธิเวคิน โดยมี พล.ต.ต.ชัยรพจุณณวัตต์ ผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจรถไฟ และเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟ ร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมชั้น 1 กองบังคับการตำรวจรถไฟ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯรฟท. เปิดเผยว่า งานรำลึก 72 ปี กองบังคับการตำรวจรถไฟ ซึ่งเป็นการจัดงานแห่งเกียรติยศและความภาคภูมิใจของตำรวจรถไฟฯ เพื่อเป็นการรำลึกถึงกองบังคับการตำรวจรถไฟ (บก.รฟ.) ที่จะยุติการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 และได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ให้กับพี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟ
สำหรับจุดเริ่มต้นของ ตำรวจรถไฟ ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช 2437 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในชื่อ กองตระเวนรักษาทางรถไฟ ต่อมาได้จัดตั้งขึ้นเป็น กองตำรวจรถไฟ จนได้รับการเลื่อนสถานะเป็น กองบังคับการตำรวจรถไฟ จนเมื่อมีประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2565 มีผลให้กองบังคับการตำรวจรถไฟ จะถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เพื่อแยกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อไป
นายนิรุฒ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กองบังคับการตำรวจรถไฟ ทำหน้าที่ร่วมกับพนักงานการรถไฟฯ อยู่เคียงข้างในการให้บริการประชาชน ดูแลรักษาความปลอดภัย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมบนขบวนรถไฟ ตลอดจนรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสถานีทุกแห่งทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พร้อมกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังสุดความสามารถด้วยความตั้งใจ สร้างคุณประโยชน์เพื่อประเทศชาติอย่างมากมาย อาทิ การจับกุมอาชญากร สกัดกั้นการค้ายาเสพติด การค้าของเถื่อน ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม แม้ในปัจจุบัน กองบังคับการตำรวจรถไฟ จะต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่บนขบวนรถไฟและตามสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ แต่ความผูกพันที่เป็นเสมือนคนในครอบครัวเดียวกันกับ "การรถไฟแห่งประเทศไทย" จะยังคงอยู่ในใจของคนรถไฟและประชาชนตลอดไป
ทั้งนี้ การรถไฟฯ พร้อมทั้งผู้บริหาร และพนักงานการรถไฟฯ ทุกคน ขอขอบคุณตำรวจรถไฟทุกท่านที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความเข้มแข็งและมีวิริยะอุตสาหะมาตลอดระยะเวลา 72 ปี นับเป็นความผูกพันที่มีมาอย่างยาวนาน หากแต่ในวันสุดท้ายของการเป็นตำรวจรถไฟ ยังคงมีสิ่งหนึ่งที่ยังอยู่ในตัวตนของพวกเราทุกคนก็คือ ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" ปกปัก พิทักษ์ รักษาความสงบสุขเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ
https://www.youtube.com/watch?v=laLOr2hfKt8
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group