View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 16/10/2023 11:56 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | Hope that Khon Kaen to Nongkhai (167 km including 14 km elevated track+ 6 new station buildings for 6 stations 8 renovated stations + 4 halts + 31 overpasses + 53 underpasses ) would get cabinet approval on 16 Ocober 2023 for the construction 🏗️ so as allow SRT to draft TOR and call a bidding in 7 months to et the winners in April 2024 and contract signed in May 2024 to get done in April 2027
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/871834174393818/?mibextid=01WlX5 |
รมช.คมนาคมชง ครม.วันนี้สร้างรถไฟทางคู่ขอนแก่น-หนองคาย เชื่อมตลาดอินโดจีน
ผู้จัดการออนไลน์ 16 ต.ค. 2566 11:26
รมช.คมนาคมเสนอโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขอนแก่น-หนองคาย วันนี้ เชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมสู่ตลาดในกลุ่มประเทศอินโดจีน
วันที่ 16 ต.ค.66 นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคมจะมีการเสนอ ขออนุมัติปรับราคาค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย รถไฟชานเมืองสายสีแดง และสายสีม่วงว่า หลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว จะมีผลบังคับใช้ทันที ซึ่งในวันเดียวกันนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะไปเป็นประธานพิธีเปิดที่สถานีกลางบางซื่อ โดยราคาค่าโดยสารจะอยู่ที่ 10 บาททั้งสายสีแดง และสายสีม่วง ทั้งนี้ การปรับราคาค่าโดยสาร 20 บาทดังกล่าวจะมีกรอบระยะเวลา ซึ่งรัฐบาลจะพยายามช่วยเหลือประชาชนให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เข้าถึงการบริการรถไฟฟ้าได้ โดยเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยตามที่ได้หาเสียงไว้ ซึ่งงบประมาณที่ใช้ครั้งนี้ปีละประมาณ 130 ล้านบาท ถือว่าไม่มาก
นางมนพร กล่าวว่า นอกจากนี้ในวันเดียวกันทางกระทรวงคมนาคมจะมีการเสนอ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่สอง ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ส่วนจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างเท่าไหร่นั้นต้องดูผลจากการสำรวจ EHIA หรือรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับ โครงการ กิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ว่า จะใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการนี้ จะเป็นการเพิ่มเส้นทางการขนส่งเชื่อมต่อกลุ่มอินโดจีน ทั้ง สปป.ลาว และจีน โครงสร้างเชื่อมโยง เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและค่าขนส่งสินค้าไปสู่ตลาดประเทศจีน |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 16/10/2023 7:06 pm Post subject: |
|
|
ครม.อนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 29,748 ล. เปิดใช้บริการปี 2570
ผู้จัดการออนไลน์ 16 ต.ค. 2566 15:45 น.
รองโฆษกรัฐบาล เผย ครม.ไฟเขียวดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ของรฟท. วงเงิน 29,748 ล้านบาท มีแผนเปิดให้ประชาชนให้บริการปี 2570
วันนี้ (16ต.ค.) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (16 ตุลาคม 2566) มีมติอนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในวงเงิน 29,748 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ในแผนงาน 1 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง (การพัฒนาระบบรถไฟรางคู่) ระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งทางราง สนับสนุนการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์และแผนการพัฒนาต่างๆ ของรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการระบบขนส่งทางราง เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุทางถนน ลดมลพิษ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และสามารถประหยัดการใช้พลังงานของประเทศได้ในระยะยาว
โดยเป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ขนาดทาง 1.00 เมตร เพิ่มขึ้นจำนวน 1 ทาง ขนานไปกับเส้นทางรถไฟเดิม ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 14 สถานี (ก่อสร้างสถานีใหม่ 6 สถานี ปรับปรุงสถานีเดิม 8 สถานี) โดยได้มีการก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ จำนวน 31 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ จำนวน 53 แห่ง พร้อมก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางรถไฟ
โครงการฯ มีแผนงานจะเปิดให้บริการประชาชนในปี พ.ศ. 2570 จึงต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2566 และเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2567 โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารมีจำนวนประมาณ 3,500 คนต่อวัน ในปี พ.ศ. 2569 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 5,800 คนต่อวัน ในปี พ.ศ. 2599 และมีปริมาณการขนส่งสินค้าโดยใช้เส้นทางรถไฟช่วงนี้จำนวนประมาณ 3.50 ล้านตันต่อปี ในปี พ.ศ. 2569 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 4.20 ล้านตันต่อปี ในปี พ.ศ. 2599 |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 16/10/2023 8:47 pm Post subject: |
|
|
ครม.เคาะรถไฟทางคู่ ขอนแก่น-หนองคาย กว่า 2.9 หมื่นล้าน
เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจ
16 ตุลาคม 2566
ครม.อนุมัติสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 29,748 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (16 ตุลาคม 2566) มีมติอนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้าง รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วงเงิน 29,748 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย เป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ขนาดทาง 1.00 เมตร เพิ่มขึ้นจำนวน 1 ทาง ขนานไปกับเส้นทางรถไฟเดิม ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 14 สถานี (ก่อสร้างสถานีใหม่ 6 สถานี ปรับปรุงสถานีเดิม 8 สถานี)
โดยได้มีการก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ จำนวน 31 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ จำนวน 53 แห่ง พร้อมก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางรถไฟ
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย มีแผนงานจะเปิดให้บริการประชาชนในปี พ.ศ. 2570 จึงต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2566 และเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2567
โดยคาดว่าปริมาณผู้โดยสารมีจำนวนประมาณ 3,500 คนต่อวัน ในปี พ.ศ. 2569 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 5,800 คนต่อวัน ในปี พ.ศ. 2599 และมีปริมาณการขนส่งสินค้าโดยใช้เส้นทางรถไฟช่วงนี้จำนวนประมาณ 3.50 ล้านตันต่อปี ในปี พ.ศ. 2569 และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 4.20 ล้านตันต่อปี ในปี พ.ศ. 2599
สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ในแผนงาน 1 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง (การพัฒนาระบบรถไฟรางคู่) ระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งทางราง สนับสนุนการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า
สอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์และแผนการพัฒนาต่างๆ ของรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการระบบขนส่งทางราง เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุทางถนน ลดมลพิษ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และสามารถประหยัดการใช้พลังงานของประเทศได้ในระยะยาว |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 17/10/2023 11:04 am Post subject: |
|
|
ส่วนประเด็นย่านทีพีไอที่ หนองขอนกว้างได้ความดั่งนี้:
Quote: | พึ่งคอนเฟิร์มมาว่าจบแล้วครับ
เรื่องทางยกระดับ อ.จร.จังหวัดประชุมกับ รฟท. เคาะข้อสรุปจบก่อนนายกเศรษฐาไปเยือนอุดร ขอนแก่น หนองคาย เมื่อต้นเดือนกันยาพอดีครับ โดย รฟท. จะยอมยกระดับทางรถไฟตั้งแต่สถานีห้วยสามพาดผ่านถนนรอบเมืองอุดรทั้งทิศใต้และทิศเหนือเลยถนนมิตรภาพแถวหนองแด (บริเวณจัดงานพืชสวนโลก) แล้วค่อยลดระดับลงระดับดินปกติครับ
ส่วนจุดตัดทางรถไฟกับถนนรอบเมืองทิศใต้ที่เป็นต้นเหตุให้จังหวัดยื้อกับ รฟท. มาหลายปี สรุปว่าจะคงทางเดี่ยวระดับดินเอาไว้เอื้อโรงปูน TPI เจ้าเดียว ตามที่คนทั้งจังหวัดวิจารณ์มาก่อนหน้านี้เช่นเดิมครับ เห็น รฟท. อ้างว่าค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาจุดตัดจะไปเรียกเก็บเอากับ TPI ครับ ซึ่งออกมารูปแบบนี้ก็น่าพอใจครับ เนื่องจากวันนึงมันมีรถขนปูนวิ่งไม่กี่ขบวนอยู่แล้วผมไม่แน่ใจเรื่องตัวเลข แต่อยู่เมืองอุดรมาตั้งแต่เกิด จนโตไป ๆ มา ๆ กับ กทม. ผมยังไม่เคยเห็นรถปูนวิ่งเลย 😁 แต่มันมีวิ่งจริงนั่นแหละเพราะเห็นรถจอดอยู่
|
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 23/10/2023 9:27 am Post subject: |
|
|
ห่วงล่าช้า! เปิดหนังสือ 'สศช.-สำนักงบ' ทางคู่ขอนแก่น-หนองคาย แนะเร่งแก้ปมชาวอุดรฯ ร้องปรับแบบยกระดับ "สี่แยกบ้านจั่น"
ผู้จัดการออนไลน์ 23 ต.ค. 2566 08:44 น.
เปิดความเห็น 'สภาพัฒน์-สำนักงบฯ' ห่วงรถไฟทางคู่ขอนแก่น-หนองคายล่าช้า สำนักงบชี้เร่งแก้ปมชาวอุดรธานีร้องเปลี่ยนแบบสร้างยกระดับ "สี่แยกบ้านจั่น" สศช.แนะทบทวนแบบสถานีตามปริมาณผู้โดยสารลดค่าลงทุน มอบ "คมนาคม" ตั้งคณะทำงานเพิ่มขนส่งสินค้า
จากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2566 มีมติเห็นชอบอนุมัติในหลักการให้กระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ในกรอบวงเงิน 29,748 ล้านบาท สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือลงวันที่ 18 ต.ค. 2566 ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแจ้งมติ ครม.อย่างเป็นทางการ และให้กระทรวงคมนาคม รฟท.พิจารณาทบทวนความเหมาะสมของรายการก่อสร้าง/ปรับปรุงต่างๆ ของโครงการตามความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ชัดเจนเหมาะสมก่อนดำเนินโครงการต่อไป สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างให้ รฟท.ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ในส่วนของแหล่งเงินในการดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ให้กระทรวงคมนาคม รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สศช. รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วยและอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนของโครงการก่อสร้างตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
@สำนักงบฯ ห่วงปมชาวอุดรธานีร้องเปลี่ยนแบบสร้างยกระดับช่วงสี่แยกบ้านจั่น
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการพิจารณาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม. โดย สำนักงบประมาณมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
1. กรณีปัญหาข้อร้องเรียนของชาวจังหวัดอุดรธานีที่ขอให้ รฟท.เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินโครงการยกระดับรถไฟทางคู่บริเวณสี่แยกบ้านจั่น จุดตัด ทล.216 ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้ข้อยุติที่ชัดเจนนั้น ขอให้รฟท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงเศรษฐกิจในภาพรวมเป็นสำคัญ และเมื่อได้ข้อยุติแล้วให้ทุกภาคส่วนเร่งดำเนินการภายใต้กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอนโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินโครงการ
2. ปัจจุบัน รฟท.มีโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในความรับผิดชอบหลายโครงการซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ทั้งยังมีปัญหาอุปสรรคที่ทำให้โครงการต้องล่าช้ากว่าแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ดังนั้น รฟท.ควรมีการบริหารความเสี่ยงของโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
รวมถึงรายงานผลการดำเนินงานให้กระทรวงคมนาคมทราบเป็นระยะ เพื่อให้การกำกับดูแลและติดตามผล ประเมินผลการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
@สศช.แนะทบทวนแบบสถานีตามปริมาณผู้โดยสาร ลดค่าลงทุน-ซ่อมบำรุง
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีความเห็นเพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นควรมอบหมายให้ รฟท.ดำเนินการ ดังนี้
1. พิจารณาทบทวนความเหมาะสมของการก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานีรถไฟขนาดเล็กที่คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารต่ำกว่า 30 คนต่อวันในปี 2594 ได้แก่ สถานีหนองขอนกว้าง สถานีนาพู่ สถานีนาทา สถานีสำราญ เพื่อลดภาระค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษา รวมถึงค่าใช้จ่ายบุคลากรของ รฟท.ในระยะยาว
2. พิจารณาทบทวนความเหมาะสมของการก่อสร้าง/ปรับปรุงย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) หนองตะไก้ CY โนนสะอาด ท่าเรือบกและจุดพักรถบรรทุกที่อยู่ภายในบริเวณพื้นที่เดียวกันของโครงการฯ โห้มีขนาดการลงทุนที่เหมาะสมตามความจำเป็นและสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน พร้อมทั้งจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ CY ให้เกิดความชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมทันทีที่ รฟท.ได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของโครงการฯ แล้วเสร็จ เพื่อให้ รฟท.สามารถนำรายได้จากการดำเนินการดังกล่าวไปสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานและระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของโครงการฯ
3. ประสานกับกรมทางหลวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการออกแบบทางเพื่อแก้ไขปัญหาจุดตัดระหว่างทางรถไฟกับถนนเสมอระดับให้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะจุดตัดบริเวณแยกบ้านจั่น จังหวัดอุดรธานี
4. จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดปัญหาการลักขโมยเครื่องสูบน้ำที่ติดไว้บริเวณทางลอดทางรถฟ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่บริเวณทางลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ประสานสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งซาติ (สทนช.) เพื่อพิจารณาตรวจสอบว่าการดำเนินโครงการฯ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการกีดขวางทางน้ำธรรมชาติ เพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยในพื้นที่บริเวณดังกล่าวในระยะยาวต่อไป พร้อมทั้งเห็นควรให้ รฟท.ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2561 อย่างเคร่งครัด
@เร่ง รฟท.เสนอแผนจัดหารถจักรล้อเลื่อน เพิ่มปริมาณขนส่งทางราง
นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาระบบรถไฟให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้าของประเทศ
1. ให้กรมการขนส่งทางรางเร่งเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของกรมการขนส่งทางรางภายใต้ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ.....โดยเฉพาะในส่วนของการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเวลาการเดินรถขนส่งทางรางเพื่อสนับสนุนการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในระบบราง
2. ให้ รฟท.เร่งพิจารณาเสนอขออนุมัติ ครม.ในการลงทุนจัดหารถจักรและล้อเลื่อน รวมถึงโครงสร้างฐานที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการให้บริการระบบราง เพื่อให้ รฟท.สามารถใช้ประโยชน์จากโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ และทางคู่สายใหม่ จำนวนรวม 7 เส้นทาง ที่จะแล้วเสร็จภายในปี 2569 โดยเห็นควรให้ รฟท.ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พิจารณาจัดทำแผนจัดหารถจักรและล้อเลื่อนที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งโรงงานประกอบรถจักรและล้อเลื่อนภายในประเทศ
@มอบ คมนาคม ตั้งคณะทำงานบูรณาการขนส่งสินค้าทางราง
3. ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยหน่วยงานอาทิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมการขนส่งทางราง รฟท. และการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) รวมถึงสมาคมผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าทางราง
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. มี 14 สถานี (ก่อสร้างสถานีใหม่ 6 สถานี ปรับปรุงสถานีเดิม 8 สถานี) มีสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ จำนวน 31 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ จำนวน 53 แห่ง พร้อมก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปี พ.ศ. 2567-2571) |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 44615
Location: NECTEC
|
Posted: 24/10/2023 12:29 am Post subject: |
|
|
รัฐประกาศ เวนคืนที่ดิน 184 ไร่ สร้างรถไฟทางคู่ ขอนแก่น หนองคาย
ฐานเศรษฐกิจ
23 ตุลาคม 2566
เปิดรายละเอียด เวนคืนที่ดินสร้างรถไฟทางคู่ ขอนแก่น หนองคาย พื้นที่ 184 ไร่ คลอบคลุม 3 จังหวัด หลังครม.ไฟเขียวร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเรียบร้อยแล้ว เช็ครายละเอียดได้ที่นี่
จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนิน โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น - หนองคาย กรอบวงเงิน 29,748 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2567 2571 ภายใต้แผนการดำเนินโครงการ รัฐยังเตรียมขั้นตอน "เวนคืนที่ดิน" ตามแนวก่อสร้างเส้นทางรถไฟควบคู่ไปด้วย มีพื้นที่รวมประมาณ 184 ไร่
โดยที่ประชุมครม. ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอน้ำพอง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น อำเภอโนนสะอาด อำเภอกุมภวาปี อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี และอำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย พ.ศ. ....
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้วางแผนการดำเนินโครงการ โดยได้พิจารณาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยและได้ปรับแผนการดำเนินงานโครงการให้เป็นปัจจุบันแล้ว
ทั้งนี้ คาดว่า จะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในเดือนพฤษภาคม 2567 แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2570 และเปิดให้บริการต่อประชาชนได้ในเดือนพฤษภาคม 2570
แผนเวนคืนที่ดิน 184 ไร่
สำหรับการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร จากผลการออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรมของโครงการฯ มีความจำเป็นต้องดำเนินการเวนคืนที่ดินประมาณ 184 ไร่ เพื่อก่อสร้างแนวเส้นทางรถไฟใหม่บางช่วง เพื่อปรับแก้รัศมีโค้งและก่อสร้างทางยกระดับหรือทางลอด เพื่อแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับในท้องที่จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย
ดังนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้ตามวัตถุประสงค์ จึงมีความจำเป็นต้องออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย
โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดเตรียมพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ พร้อมแผนที่แนบท้าย โดยกรมการปกครองมีหนังสือ ที่ มท 0310.1/10566 ลงวันที่ 18 เมษายน 2566 แจ้งผลการตรวจสอบแนวเขตการปกครองแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น - หนองคาย เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565
แนวเขตเวนคืนที่ดิน 184 ไร่
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนรวมประมาณ 184 ไร่ รวม 3 จังหวัดแบ่งเป็น
พื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอน้ำพอง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
พื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอโนนสะอาด อำเภอกุมภวาปี อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี พื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย
แนะหามาตรการดูแลผู้บุกรุก
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง มีความเห็นประกอบการพิจารณาว่า สำหรับพื้นที่โครงการที่มีผู้ที่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในเขตที่ดินรถไฟที่มี สถานะบุกรุกเขตที่ดินเขตรถไฟจำนวนมาก เช่น พื้นที่ตำบลศิลา จังหวัดขอนแก่น การรถไฟแห่งประเทศไทย ควรพิจารณาหามาตรการและแนวทางการย้ายถิ่นฐานของผู้บุกรุก
รวมทั้งควรกำกับดูแลการเวนคืนที่ดินให้ เป็นไปตามวงเงินและระยะเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันความล่าช้าในการเข้าพื้นที่ ซึ่งอาจกระทบต่อระยะเวลา และต้นทุนการก่อสร้างโครงการอย่างมีนัยสำคัญ
ด้านสำนักงบประมาณ แจ้งว่า สำนักงบประมาณ จะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี วงเงินรวม 385 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 369 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วยเวนคืน ที่ดิน จำนวน 9 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการประกวดราคา จำนวน 7 ล้านบาท
ลักษณะของโครงการ
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย เป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ขนาดทาง 1.00 เมตร เพิ่มขึ้นจำนวน 1 ทาง ขนาดไปกับเส้นทางรถไฟเดิม ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร ประกอบด้วย
ทางรถไฟระดับดินระยะทางประมาณ 153 กิโลเมตร
ทางรถไฟยกระดับ 2 แห่ง ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร
มีสถานีทั้งสิ้น 14 สถานี เป็นการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่จำนวน 6 สถานี และปรับปรุงสถานีรถไฟเดิมจำนวน 8 สถานี
มีที่หยุดรถจำนวน 4 แห่ง
ยกเลิกจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับในปัจจุบันทั้งหมด โดยได้ก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ (Overpass) จำนวน 31 แห่ง และถนนลอดใต้ทางรถไฟ (Underpass) จำนวน 53 แห่ง
ก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความจุของทางรถไฟ รวมทั้งความรวดเร็วและความปลอดภัยในการให้บริการ เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารและสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่
แนวเส้นทางโครงการ
โครงการมีจุดเริ่มต้นที่ กม. 453+954.950 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางจิระ - ขอนแก่น ซึ่งอยู่ถัดขึ้นไปทางเหนือของสถานีขอนแก่น (กม. 449+750) ประมาณ 4.2 กิโลเมตร และมีจุดสิ้นสุดที่สถานีหนองคาย (กม.621+345) ระยะทางรวมประมาณ 167 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย
ทั้งนี้ในการออกแบบจะต้องมีการปรับปรุงแนวเส้นทางในบางช่วง เนื่องจากไม่สามารถรองรับความเร็วตามข้อกำหนด (Design Speed) ซึ่งกำหนดไว้ที่ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยรถไฟโดยสารจะเดินรถด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถไฟบรรทุกสินค้าจะเดินรถด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สถานีรถไฟ
ตลอดแนวเส้นทางโครงการมีจำนวนสถานีรถไฟทั้งหมด 14 สถานี ได้แก่ สถานีสำราญ สถานีโนนพยอม สถานีน้ำพอง สถานีเขาสวนกวาง สถานีโนนสะอาด สถานีห้วยเกิ้ง สถานีกุมภวาปี สถานีห้วยสามพาด สถานีหนองตะไก้ สถานีหนองขอนกว้าง สถานีอุดรธานี สถานีนาพู่ สถานีนาทา และสถานีหนองคาย ซึ่งเป็นสถานีรถไฟที่มีอยู่เดิมทั้งหมด แต่จะมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมมากขึ้น
นอกจากนี้ตลอดแนวเส้นทางโครงการมีป้ายหยุดรถจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ที่หยุดรถห้วยไห ที่หยุดรถบ้านวังชัย ที่หยุดรถห้วยเสียว และที่หยุดรถคำกลิ้ง |
|
Back to top |
|
 |
|