RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312268
ทั่วไป:13902259
ทั้งหมด:14214527
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 273, 274, 275 ... 287, 288, 289  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2023 11:47 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
‘รฟม.’ เล็งถก ‘บีอีเอ็ม‘ เพิ่มเงื่อนไขรับนโยบาย 20 บาทตลอดสาย
ไทยโพสต์
วันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08:52 น.


“สุรพงษ์” เร่งเครื่อง "สีชมพู" เปิดทดสอบ ปชช.นั่งฟรี ธ.ค. 66-ไม่เบรก"สีส้ม"รอศาลตัดสินคดีสุดท้ายไม่ผิดพร้อมชง ครม.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 18:55 น.
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดี ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09:40 น.

“สุรพงษ์” สั่งเร่งเครื่องเปิดเดินรถ "สีชมพู" คาด ธ.ค. 66 ให้ ปชช.ร่วมทดลองนั่งฟรี ไม่เบรก "สีส้ม" ย้ำรอศาลตัดสินคดีสุดท้าย ไม่ผิดพร้อมชง ครม. ส่วน "น้ำตาล-ม่วงใต้" ศึกษาเพิ่ม ค่าโดยสาร 20 บาทอีก 2 เดือนสรุป

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ว่า ได้ดูเรื่องผลประกอบการและแผนงานลงทุนโครงการต่างๆ โดยเน้นย้ำให้ดำเนินการเป็นไปตามแผนงาน และให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายในกรอบเวลาที่ชัดเจน พร้อมทั้งเร่งรัดการเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี (MRT สายสีชมพู) ให้เร็วขึ้น (จากแผนเปิดให้บริการภายในเดือนมิถุนายน 2567) โดย รฟม.คาดว่าจะสามารถให้ประชาชนร่วมทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) ในเดือน ธ.ค. 2566 โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นจะสามารถเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์เก็บค่าโดยสารได้ช่วงต้นปี 2567


สำหรับกรณีการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่ง รฟม. ยืนยันว่าได้ดำเนินการคัดเลือกตามกระบวนการตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง, ระเบียบพัสดุ และ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 อย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว ดังนั้นต้องรอการพิจารณาของศาลปกครองว่าจะตัดสินอย่างไร ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้

ส่วนประเด็นทางการเมืองหรือข้อวิจารณ์กรณีส่วนต่างตัวเลขผลตอบแทนต่างๆ นั้น เป็นข่าวที่เกิดขึ้นตามสื่อต่างๆ สำหรับตนเองนั้นยังไม่มีรายละเอียดเอกสาร กรณีปัญหาของรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทั้งนี้หากมีคำพิพากษาตัดสินออกมาอย่างไรขั้นตอนต่อไปคือการนำเสนอ ครม. พิจารณาเห็นชอบตามขั้นตอน

“วันนี้ผมมาให้นโยบายและรับทราบปัญหาของ รฟม. ในวาระไม่มีประเด็นเรื่องสีส้มก็แสดงว่าไม่มีปัญหา”

@รถไฟฟ้า 20 บาท แบ่ง 2 กลุ่มโครงการของรัฐทำได้เลย เหลือกลุ่มร่วมทุนฯ ต้องรอเจรจา

นายสุรพงษ์กล่าวว่า เรื่องนโยบายของรัฐบาล เรื่องรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย นั้น แบ่งโครงการรถไฟฟ้าเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่เป็นของรัฐซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันทีคือสายสีแดง และสายสีม่วง ส่วนกลุ่มที่เป็นสัมปทานร่วมลงทุนจะต้องมีการเจรจาจัดทำข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งนโยบายจะพยายามดำเนินการภายใน 2 ปี

ทั้งนี้ ให้ รฟม.ติดตามประเมินความคุ้มค่าด้านจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มมาในระบบเปรียบเทียบกับรายได้ หลังจากดำเนินมาตรการลดค่าโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) แล้ว และในระยะต่อไปให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ร่วมกับ รฟม.ศึกษาแนวทางและจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดอัตราค่าโดยสาร โดยอยู่บนพื้นฐานที่ไม่เป็นภาระทางการเงินของหน่วยงานภาครัฐในอนาคต ควบคู่กับการจัดทำแผนในการเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้เพิ่มเติม

“สายสีม่วง จุดคุ้มทุนจะต้องมีผู้โดยสาร 1.5 แสนคน/วัน แต่ปัจจุบันมี 7 หมื่นคน/วัน ส่วนกรณี 20 บาท ผู้โดยสาร แล้วมีอีสานเกิน 1.5 แสนคน /วันได้ ก็จะลดการชดเชยของรัฐได้ อย่ากังวลเรื่องชดเชย นโยบายเรามุ่งเน้น การจูงใจผู้ใช้บริการเพิ่ม รอช่วงโรงเรียนเปิด นักท่องเที่ยวเพิ่ม จะช่วยให้ผู้โดยสารเพิ่ม และการชดเชยจะลดลง”



@รถไฟฟ้า "น้ำตาล-ม่วงใต้" ศึกษาเพิ่ม ค่าโดยสาร 20 บาทอีก 2 เดือนสรุป

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ขณะนี้ รฟม.มีแผนการลงทุนโครงการรถไฟฟ้า 3 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุน โดย รฟม.ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ครบถ้วนแล้ว และสรุปเสนอกระทรวงคมนาคม และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว แต่เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นให้รอผลคำพิพากษากรณีมีข้อผิดพลาดให้เสร็จสิ้นกระบวนการเรียบร้อยก่อน

ปัจจุบันข้อพิพาทรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) ยื่นฟ้องคดีต่อคณะกรรมการคัดเลือก ตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ 2562 และ รฟม. 3 คดีนั้น ศาลปกครองสูงสุดมีคำตัดสินพิพากษายกฟ้องแล้ว 2 คดี คงเหลือ 1 คดี เรื่อง เปิดประมูลคัดเลือกรอบใหม่ TOR กีดกัน ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแล้วอยู่ในขั้นตอนอุทธรณ์ ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้ว่าศาลจะพิพากษาชี้ขาดเมื่อใด คาดการณ์เบื้องต้นว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

ทั้งนี้ กรณีสายสีส้มด้านตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) การก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 100% แล้วจำเป็นต้องเร่งรัดในส่วนของการเดินรถซึ่งมีแนวทาง เช่น เจรจากับผู้รับสัญญาเดินรถ ให้เร่งดำเนินการวางระบบและผลิตตัวรถเหลือภายใน 24 เดือนได้หรือไม่ เพื่อเปิดเดินรถด้านตะวันออกโดยเร็วที่สุด

ส่วนกรณีอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาลนั้น เนื่องจากสายสีส้ม ผ่านขั้นตอนการเจรจาตามพ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ ครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ หากเสนอครม.แล้วมีนโยบายเรื่อง อัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย สามารถมอบหมายให้รฟม. กลับมา ดำเนินการ เจรจากับเอกชนในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมได้



2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ยกระดับตลอดเส้นทาง มีระยะทางรวม 22.1 กม. มูลค่าลงทุนรวม 41,720 ล้านบาท ซึ่งสรุปรายงานผลการศึกษาแล้ว โดยกระทรวงคมนาคมมีความเห็นให้ศึกษาเรื่องอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายนโยบายรัฐบาลเพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์แผนการเงินประกอบการเสนอโครงการ เพราะเกี่ยวข้องกับรายได้ของโครงการและเงื่อนไขที่รัฐต้องอุดหนุนค่าลงทุนงานโยธากับเอกชนด้วย

โดยผลการศึกษาเดิมกำหนดอัตราค่าโดยสารตามมาตรฐานการศึกษาปกติเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท กรณีศึกษา ใช้อัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย จะศึกษาตัวเลข อุดหนุนค่างานโยธากับเอกชนมากกว่าเดิม คาดใช้เวลาศึกษาอีกประมาณสองเดือนสามารถสรุปได้ภายในเดือนธันวาคม 2566 เพื่อนำเสนอบอร์ด รฟม.พิจารณา จากนั้นเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอ ครม.ในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2567

3. การเดินรถสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) รูปแบบ PPP ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดเพื่อจัดทำเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) จัดหาเอกชนบริหารเดินรถไฟฟ้า โดยจะศึกษาเรื่องอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายนโยบายรัฐบาลเพิ่มเติมด้วย คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จเพื่อเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.พิจารณาเห็นชอบภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะต้องเสนอ ยังกระทรวงคมนาคมในเดือน ม.ค. 2567 และเสนอคณะกรรมการ PPP และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามขั้นตอนเอกชนร่วมลงทุนรัฐฯ ต่อไป

//---------------------------------------------------------------------------------------------------------

'สุรพงษ์' สั่งเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย - มีนบุรี ธ.ค.นี้
หน้าเศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 21:57 น.

“สุรพงษ์” สั่ง รฟม.เจรจาเอกชนดึงรถไฟฟ้าทุกสายปรับค่าโดยสารรับนโยบาย 20 บาทตลอดสาย พร้อมจี้เปิดให้บริการ “รถไฟฟ้าสายสีชมพู” ธ.ค.นี้
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจราชการและมอบนโยบายแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยระบุว่า ตามนโยบายปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนนั้น รฟม.ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลควรติดตามประเมินความคุ้มค่าด้านจำนวนผู้โดยสารที่จะเพิ่มมาในระบบเปรียบเทียบกับรายได้ หลังจากดำเนินมาตรการลดค่าโดยสาร MRT สายสีม่วงแล้ว

นอกจากนี้ในระยะต่อไปให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ร่วมกับ รฟม. ศึกษาแนวทางและจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายอื่นที่เปิดให้บริการ และอยู่ระหว่างเตรียมเปิดให้บริการ โดยอยู่บนพื้นฐานที่ไม่เป็นภาระทางการเงินของหน่วยงานภาครัฐในอนาคต ควบคู่กับการจัดทำแผนในการเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้เพิ่มเติม ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ

'สุรพงษ์' สั่งเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย - มีนบุรี ธ.ค.นี้


“รถไฟฟ้าสูงสุด 20 ตลอดสาย เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องการผลักดัน เพื่อดูแลประชาชน ลดค่าครองชีพในการเดินทาง สนับสนุนให้คนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วส่วนของโครงการรถไฟฟ้าของภาครัฐ ขณะที่โครงการที่มีสัญญากับภาคเอกชน อาทิ สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีน้ำเงิน รวมไปถึงสายสีส้มที่เปิดประมูลไปแล้ว นับว่าเป็นกลุ่มที่มี พรบ.ร่วมทุน ดังนั้นต้องมีวิธีการดำเนินการ การเจรจากับเอกชนในรูปแบบต่อไป แต่อย่างไรก็ดี นโยบายของรัฐบาลต้องดำเนินการจัดทำค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท”

นายสุรพงษ์ กล่าวด้วยว่า การเดินทางมามอบนโยบายแก่ รฟม.ครั้งนี้ ได้สั่งการให้ รฟม.ดำเนินการตามแผนงานที่สำคัญของหน่วยงานให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายในกรอบเวลาที่ชัดเจน พร้อมเร่งรัดการเปิดให้บริการโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี (MRT สายสีชมพู) ให้เร็วขึ้น จากแผนเปิดให้บริการภายในเดือน มิ.ย. 2567 เบื้องต้นคาดว่าจะเปิดทดลองให้ประชาชนใช้บริการในเดือน ธ.ค.นี้ โดยจะทดลองให้บริการฟรี 1 เดือน จึงคาดว่าจะเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารในเดือน ม.ค. - ก.พ.2567
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2023 7:59 pm    Post subject: Reply with quote

คนแห่ใช้ รถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ดันยอดผู้โดยสารสายสีแดง-ม่วงแตะ 1.01 แสนคน
เศรษฐกิจ
วันพุธ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 16:59 น.

ขร.เผย รถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายเต็มวัน ดันยอดผู้โดยสารสายสีแดง-ม่วง แตะ 1.01 แสนคน/วัน เพิ่มขึ้นกว่า 10% เร่งปรับซอฟต์แวร์ระบบเก็บค่าโดยสาร

เมื่อวันที่ 18 ต.ค.66 นายพิเชฐ คุณธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากเมื่อวันที่ 16 ต.ค.66 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติในหลักการในการดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์-ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์-รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)






ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เป็นการสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้กับประชาชน ลดภาวะมลพิษ และลดการใช้พลังงานภายในประเทศ อีกทั้งยังสนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคจากการเพิ่มการเดินทางของประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เท่าเทียมในการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ




นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากดำเนินตามมาตรการอัตราค่าโดยสารสายสีแดงและสายม่วงสูงสุด 20 บาทแบบตลอดทั้งวันเป็นวันแรกในวันที่ 17 ต.ค.66 มีประชาชนมาใช้บริการรวมทั้ง 2 สาย 101,289 คน-เที่ยว แบ่งเป็น รถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) จำนวน 27,411 คน-เที่ยว (รวมรถไฟทางไกลต่อสายสีแดง 254 คน-เที่ยว) และรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) จำนวน 73,878 คน-เที่ยว



โดยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยวันทำงานช่วงวันที่ 2-12 ต.ค. ที่ผ่านมา ก่อนมีมาตรการฯ พบว่าปริมาณผู้โดยสารของรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% จากค่าเฉลี่ยแบ่งเป็น สายสีแดงเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 2,135 คน-เที่ยว ค่าเฉลี่ยสายสีแดง 25,276 คน-เที่ยว และสายสีม่วงเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 3,138 คน-เที่ยว ค่าเฉลี่ยสายสีม่วง 70,740 คน-เที่ยว

นอกจากนี้ ยังพบว่า มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) จำนวน 497,319 คน-เที่ยว เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 26,973 คน-เที่ยว ค่าเฉลี่ยสายสีน้ำเงิน 470,346 คน-เที่ยว เนื่องจากมีสถานีเชื่อมต่อกับสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) ที่สถานีเตาปูน

นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า โดยมาตรการปรับอัตราค่าโดยสารตามระยะทางในอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทดังกล่าว คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ ทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ โดยเมื่อมีผู้โดยสารมาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น จะช่วยลดค่าเดินทางด้วยรถยนต์ ประหยัดเวลาในการเดินทาง ลดความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุทางถนน

รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเมื่อรวม 5 ปัจจัยข้างต้น จะทำให้มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ้น 79.35 ล้านบาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 952.23 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมที่คุ้มค่า

นายพิเชฐ กล่าวว่า ทั้งนี้ กรมฯ ประสานธนาคารกรุงไทยและผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้า เร่งรัดดำเนินการปรับปรุงระบบการจัดเก็บค่าโดยสาร ในส่วนของการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที สายสีม่วงกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง โดยจะต้องเปลี่ยนถ่ายระบบ ณ สถานีบางซ่อน ภายในระยะเวลา 30 นาที และในเบื้องต้นจะต้องใช้บัตรโดยสารใบเดียวกัน หรือบัตร EMV Contactless เท่านั้น

โดยในระยะแรกหากข้ามระบบ ยังคงต้องชำระอัตราค่าโดยสารของแต่ละสายก่อน เนื่องจากในขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบหรือซอฟต์แวร์ คาดว่าจะเปิดให้บริการเชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงในอัตราสูงสุดไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย ภายในเดือนพ.ย. นี้ต่อไป

อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวว่า นอกจากนี้ กระทรวงฯ จะเร่งผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งภายในและภายนอกสถานี เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงระบบราง อาทิ ถนนสายหลัก ถนนสายรอง ทางเดิน ทางรถจักรยาน รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานภายนอกสถานีที่เอื้ออำนวยการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากับย่านพาณิชยกรรม ย่านที่อยู่อาศัย และบริการสาธารณะต่างๆ การจัดระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง ที่สามารถนำผู้โดยสารจากที่พักอาศัยเข้าสู่สถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง

อาทิ รถโดยสารประจำทาง รถรับจ้างโดยสารสาธารณะ ขนส่งมวลชนสาธารณะระบบรางเบา หรือขนส่งมวลชนอื่นที่จะเชื่อมโยงการเดินทางจากใจกลางเมืองสู่พื้นที่รอบนอก เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร และจะสามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารเข้าสู่การเดินทางโดยรถไฟฟ้า ช่วยเพิ่มรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจและลดภาระการชดเชยจากภาครัฐได้ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2023 9:12 pm    Post subject: Reply with quote

ดูกันไปว่า นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทจะไปรอดหรือเปล่า


รฟม. จ่อคุย “บีอีเอ็ม” เพิ่มเงื่อนไขสัญญาสายสีส้ม หากครม.สั่งลุยค่ารถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย

เศรษฐกิจ-ยานยนต์
18 ตุลาคม 2566 เวลา 18:07 น.


รฟม. เล็งเจรจา “บีอีเอ็ม” เพิ่มเงื่อนไขสัญญารถไฟฟ้าสายสีส้ม หาก ครม. สั่งเดินหน้านโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ปัจจุบันลุ้นข้อพิพาท 1 คดีศาลปกครองสูงสุดอยู่ระหว่างพิจารณา พร้อมเตรียมเปิดทดลองวิ่งประชาชนนั่งฟรีรถไฟฟ้าสายสีชมพู ธ.ค.นี้ เวลา 1 เดือน ก่อนเปิดบริการเก็บเงิน ม.ค.67 ส่วนนโยบายรถไฟฟ้าภูมิภาค แทรมภูเก็ตขยับแผนโครงการออกไปก่อน รอเวลาที่เหมาะสม ไม่กระทบจราจร


เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่ อาคารสำนักงานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ตรวจราชการและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่ รฟม. โดยมีนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่า รฟม. พร้อมคณะให้การต้อนรับ


นายสุรพงษ์ เปิดเผยว่า วันนี้ได้มาตรวจสอบรายละเอียดแต่ละโครงการของ รฟม. ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการและโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งผลประกอบการและผลการลงทุน โดย รฟม. รายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่ง รฟม. ยืนยันว่าดำเนินการตามกระบวนการของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 อย่างถูกต้อง แต่ตามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รอการพิจารณาจากศาลปกครองแล้วเสร็จก่อน ตามข้อพิพาทที่มีระหว่าง รฟม. และภาคเอกชน



ปัจจุบันยังมีข้อพิพาทที่อยู่ระหว่างการพิจารณา 1 คดี กระบวนการเหล่านี้ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าศาลปกครองจะพิจารณาอย่างไร ดังนั้นโครงการนี้นับว่าปัจจุบันยังไม่ได้เกิดปัญหา ขณะที่ประเด็นเรื่องส่วนต่างราคาประมูล และวิธีจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องพวกนี้เป็นแค่ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ส่วนตัวจึงมองว่าเรื่องพวกนี้ยังไม่ได้มาถึงขั้นตอนของกระทรวงคมนาคม เรื่องสายสีส้มยังอยู่ในขั้นตอนรอศาลปกครองพิจารณาอยู่


ADVERTISEMENT


นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ขณะที่นโยบายรถไฟฟ้าสูงสุด 20 ตลอดสายนั้น เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องการผลักดัน เพื่อดูแลประชาชน ลดค่าครองชีพในการเดินทาง สนับสนุนให้คนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น โดยปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วส่วนโครงการรถฟ้าของภาครัฐ ขณะที่โครงการที่มีสัญญากับภาคเอกชน อาทิ สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีน้ำเงิน รวมไปถึงสายสีส้มที่เปิดประมูลไปแล้ว นับว่าเป็นกลุ่มที่มี พรบ.ร่วมทุน ดังนั้นต้องมีวิธีการดำเนินการ การเจรจากับเอกชนในรูปแบบต่อไป เพื่อให้ได้ประโยชน์กับทุกฝ่าย แต่อย่างไรก็ตามนโยบายรัฐบาลต้องดำเนินการจัดทำค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท


ซึ่งทุกโครงการรถไฟฟ้าที่มี พรบ.ร่วมทุน เป็นโครงการ PPP จะต้องมีวิธีการจัดการแตกต่างออกไปจากรถไฟฟ้าของภาครัฐ ก็ต้องรอกระบวนการเจรจาก่อน แต่แน่นอนว่านโยบายรัฐบาลมีโอกาสที่จะทำให้ทุกสายทำราคาค่าโดยสาร 20 บาท รวมไปถึงรถไฟฟ้าสายสีส้มที่รอลงนามสัญญาต้องเจรจากับเอกชน แต่โครงการรถไฟฟ้าร่วมทุนเหล่านี้ ต้องให้ระยะเวลาศึกษาตัวเลข วิธีการผลลัพธ์ต่างๆ และต้องทำให้รอบคอบพอ เพื่อให้ความเชื่อมั่นกับนักลงทุนด้วย


ด้าน นายภคพงศ์ กล่าวว่า การกำหนดอัตราราคาค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสายในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น หาก ครม. มีมติให้ดำเนินการ รฟม. จะต้องเริ่มขั้นตอนเจรจากับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม เอกชนผู้ชนะการประมูลใหม่ เนื่องจากโครงการนี้ปัจจุบันได้เจรจารายละเอียดในสัญญาไปแล้ว เพียงแต่อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด เพื่อนำโครงการเสนอ ครม. ดังนั้นหากมีนโยบายเพิ่มรายละเอียดเรื่องปรับลดค่าโดยสาร รฟม. จะต้องเจรจากับเอกชน ซึ่งจะต้องประเมินวงเงินชดเชยให้เอกชนเพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้หากกรณีที่ต้องเจรจากับเอกชนใหม่ ยอมรับว่าจะส่งผลกระทบต่อการเดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยเฉพาะส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ปัจจุบันงานโยธาใกล้แล้วเสร็จ แต่หากต้องกลับมาเริ่มเจรจารายละเอียดสัญญาร่วมทุนที่ต้องเพิ่มข้อมูลปรับราคาค่าโดยสารเหลือสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ทางเอกชนอาจยังไม่สามารถเริ่มเปิดให้บริการเดินรถได้


ADVERTISEMENT


สายสีส้มตอนนี้อยู่ในขั้นตอนรอศาลปกครองสูงสุดพิจารณาอีก 1 คดีที่เหลืออยู่ คือ คดีเกี่ยวกับเงื่อนไขการประกวดราคาครั้งใหม่ โดยส่วนตัวประเมินจากข้อพิพาทก่อนหน้านี้ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน น่าจะได้ข้อสรุป หลังจากนั้น รฟม. เสนอผลการประมูลไปยัง ครม.พิจารณาอนุมัติเพื่อลงนามสัญญา หาก ครม. มีมติให้ปรับราคาค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ทำให้ต้องกลับมาเจรจากับเอกชนเพิ่มเติม ก่อนลงนามสัญญา สำหรับค่าโดยสารที่กำหนดไว้ในสัญญารถไฟฟ้าสายสีส้ม มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท หาก ครม. มีมติให้ปรับราคาลงตามนโยบายรัฐบาลทำให้มีราคาค่าโดยสารในอัตรา 15-20 บาท ซึ่งผลต่างเหล่านี้ ทำให้ต้องเจรจากับเอกชนคู่สัญญาด้วยจะสามารถชดเชยส่วนต่างอย่างไร ดังนั้นจึงยังไม่สามารถลงนามสัญญา และเริ่มเปิดเดินรถก่อนในส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี


นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. ปัจจุบันบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ผู้รับสัมปทานโครงการฯ อยู่ระหว่างการทดสอบระบบรวมทั้งหมด เพื่อให้มีความปลอดภัยมากที่สุดครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งวันที่ 25 ต.ค.นี้ จะประชุมกับ NBM เพื่อหารือกับผลการทดสอบ และเตรียมความพร้อมในการเปิดทดลองให้บริการประชาชนฟรี ในช่วงเดือน ธ.ค.66 โดยจะให้บริการฟรี 1 เดือน จากนั้นจะเปิดให้บริการจริงแบบเก็บค่าโดยสารเดือน ม.ค.67 ต่อไป

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี ระยะทาง 22.1 กม. มูลค่าการลงทุน 41,720 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นมายัง รฟม. ว่า ต้องมาวิเคราะห์นโยบาย 20 บาทตลอดสาย ประกอบในรายงานและเป็นเงื่อนไขในภาคเอกชนก่อนเสนอไป ครม. พิจารณาต่อไป เนื่องจากเดิมมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารไว้ที่ 15-45 บาท สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ปัจจุบัน รฟม. อยู่ระหว่างการทบทวนแผน โดยเฉพาะการกำหนดเรื่องค่าโดยสาร ประกอบในรายงาน คาดว่าจะใช้เวลาในการศึกษา 2 เดือน เพื่อเสนอกลับไปยังกระทรวงคมนาคมได้ภายใน ธ.ค.66 ก่อนเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติช่วงต้นปี 67 หลังจากนั้นจะดำเนินการคัดเลือกเอกชนกลางปี 67 เริ่มสร้างกลางปี 68 แล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการ มิ.ย.71


นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ในภูมิภาค ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ รฟม. นั้น รฟม. มีแผนจะดำเนินการนำร่องโครงการแทรมภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองก่อน แต่เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงคมนาคมมีการดำเนินการระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ จ.ภูเก็ตจำนวนมาก ทั้งโครงการของกรมทางหลวง (ทล.) และ โครงการของการททางพิเศษแห่งประเทศ (กทพ.) ซึ่งโครงการล้วนมีแนวเส้นทางดำเนินการบนทางหลวงหมายเลข 402 สายโคกกลอย-เมืองภูเก็ต หรือถนนเทพกระษัตรี เป็นทางหลวงสายหลักของ จ.ภูเก็ต ดังนั้นตามแนวเส้นทางโครงการแทรมภูเก็ต ระยะที่ 1 อยู่บน ทล.402 ซึ่งหากมีโครงการจำนวนมากมาดำเนินการพร้อมกันบน ทล.402 จะทำให้สร้างผลกระทบปัญหาด้านจราจรเพิ่มมากขึ้น จึงขยับแผนโครงการออกไปก่อน เพื่อรอเวลาที่เหมาะสม และไม่กระทบปัญหาจราจร


ส่วนแทรมเชียงใหม่ สายสีแดง (โรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี), แทรมนครราชสีมา (โคราช) สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) และแทรมพิษณุโลก สายสีแดง (มหาวิทยาลัยพิษณุโลก-เซ็นทรัลพลาซ่า) ก็เช่นเดียวกัน..

นโยบาย20บาทอาละวาด“รถไฟฟ้าหลากสีระส่ำหมด”
*ส้มเจรจาBEMใหม่+รอศาลฯเลื่อนเปิดไม่มีกำหนด
*น้ำตาลคมนาคมตีกลับรื้อ15-45บาทเก็บ15-20บ.
*ชมพูธ.ค.นี้ได้แค่ลองใช้ฟรีบริการจริงๆขยับไปม.ค.
*ดอง “แทรมภูเก็ต-เชียงใหม่-ขอนแก่น-พิษณุโลก”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/873482267562342
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2023 5:16 am    Post subject: Reply with quote

'สุรพงษ์'เร่งผ่าตัดรฟท.แก้หนี้2แสนล. จี้ปั๊มรายได้เพิ่ม30%ภายในปี67ลุยไฮสปีดไทย-จีน/ทางคู่
Source - ไทยโพสต์
Tuesday, October 24, 2023 05:11

กระทรวงคมนาคมเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ หลังจากรับตำแหน่ง สุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับมอบหมายให้ดูแลกำกับหน่วยงานระบบราง ประกาศเดินหน้านโยบาย Quick Win มุ่งพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ สามารถเชื่อมโยงการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในภูมิภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย สร้างงาน สร้างรายได้ พร้อมทั้งเดินสายตรวจเยี่ยมหน่วยงานที่กำกับดูแล โดยเฉพาะในส่วนของระบบราง

เริ่มจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ปัจจุบันมีหนี้สะสมอยู่ 2 แสนล้านบาท ดังนั้น รมช.คมนาคม สุรพงษ์ ได้มอบหมายให้ รฟท.หาวิธีดำเนินการเพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย โดยตั้งเป้าในปีงบประมาณ 2567 งบดุลของ รฟท.จะต้องไม่มีตัวแดง หรือ EBITDA เป็นบวก เนื่องจาก รฟท.มีจุดแข็งคือ เป็นธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่ง แต่ก็มีจุดอ่อนคือ การพัฒนาที่มีความล่าช้า รวมถึงได้สั่งการให้เพิ่มรายได้ โดยเฉพาะการขนส่งสินค้า ซึ่งปัจจุบัน รฟท.มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพียง 3% หรือประมาณ 2,000 ล้านบาท จากปริมาณการขนส่งทั้งประเทศ ตั้งเป้าหมายให้เพิ่มเป็น 30% หรือมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 22,000 ล้านบาท

"รถไฟไม่มีคู่แข่ง แต่ยังขาดทุน ดังนั้น รฟท.ต้องหาแนวทางดึงดูดให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น และสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เห็นได้ว่าความต้องการใช้รถไฟเดินทางมีมากขึ้น โดยเฉพาะไปเชียงใหม่นั้น รถไฟชั้น 1 ชั้น 2 นักท่องเที่ยวจ้องกันเป็นจำนวนมาก ดังนั้นควรที่จะประสานบริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. รถโดยสารอื่นๆ เพื่อเป็นฟีดเดอร์เชื่อมกับรถไฟ โดยหลังจากนี้จะตั้งทีมการตลาดเพื่อดึงรัฐวิสาหกิจและเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการ รวมถึงต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพิ่มรายได้ หยุดเลือดไหลให้เร็ว และเดินหน้าผ่าตัดองค์กรใหม่" สุรพงษ์ กล่าวขณะที่แผนฟื้นฟู รฟท.นั้น สุรพงษ์ ระบุว่า จะต้องนำมาพิจารณาดูว่าประเด็นไหนยังเหมาะสมกับสถานการณ์ และประเด็นไหนที่ล้าสมัยไปแล้วต้องทบทวนใหม่ โดยเฉพาะเรื่องหนี้สะสม แม้ว่าล่าสุดคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติกู้เงิน 18,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้เป็นกระแสเงินสดในปี 2567 แต่ รฟท.ต้องเร่งลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและเพิ่มรายได้เพื่อหยุดเลือดไหลให้เร็ว รวมถึงต้องเดินหน้าผ่าตัดองค์กรใหม่

"หลายคนมองว่าควรเร่งหารายได้จากที่ดินและทรัพย์สินของ รฟท.ที่มีจำนวนมา ตนมองว่าที่ดินเป็นการหารายได้ทางอ้อม รฟท.มีเส้นทางรถไฟทั่วประเทศที่ยังใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพ ควรสร้างรายได้จากธุรกิจหลัก หรือ Core Business ให้ได้มากที่สุดก่อน แล้วค่อยไปหารายได้จากพื้นที่ หากผลประกอบการทางตรงยังขาดทุนอยู่ แสดงว่าธุรกิจหลักยังทำได้ไม่ดี ไม่แข็งแรงเลย" สุรพงษ์ กล่าวสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า แนวทางที่เหมาะสมคือควรที่จะมีการจัดเก็บค่าโดยสารที่เหมาะสม เนื่องจาก รฟท.ไม่ได้ปรับค่าโดยสารมาตั้งแต่ปี 38 หรือ 28 ปี และปัจจุบัน รฟท.เก็บค่าโดยสารต่ำกว่าต้นทุนมาก ควรแยกบริการเชิงสังคมออกมาให้ชัดเจน และอุดหนุนผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อให้ถึงผู้มีรายได้น้อยโดยตรง และควรที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ประโยชน์ทางที่มีอยู่ให้มากขึ้น ต้องเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟเข้าไปสู่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ รัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น ด้านพลังงาน ปตท. SCG เพื่อนำสินค้าหนักลงสู่รางให้มากที่สุด และสินค้าน้ำหนักเบาไปขนส่งทางถนน

ส่วนความคืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทยจีน ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปัจจุบันภาพรวมโครงการมีความคืบหน้าประมาณ 27% ซึ่งตามแผนต้องแล้วเสร็จภายในปี 70 ทั้งนี้ ต้องเร่งแก้ไขปัญหาสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ที่ยังติดประเด็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนการดำเนินงานกับโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ส่วนสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ที่ยังรอความชัดเจนเรื่องการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา

"การสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ซึ่งในประเด็นนี้ตนจะเป็นผู้เจรจากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยด้วยตัวเอง เชื่อว่าเรื่องนี้มีทางออกแน่นอน และยืนยันว่าต้องสร้างสถานีอยุธยา ทั้งนี้ในการเจรจาจะนำทุกสิ่งวางขึ้นบนโต๊ะทั้งหมด ทั้งประโยชน์ที่จะได้รับและผลเสีย มั่นใจว่าสถานีอยุธยาสามารถอยู่ร่วมกันกับชุมชนเมืองเก่าได้ และอาจเป็นสถานีที่สวยที่สุด เป็นแลนด์มาร์ก ดึงดูดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว" สุรพงษ์ กล่าวขณะที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)นั้น สุรพงษ์ ระบุว่า ได้ให้ รฟม.ไปพิจารณาทบทวนแผนในการนำนโยบาย 20 บาทตลอดสายมาบังคับใช้ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าของ รฟม.ที่จะดำเนินการใหม่ ว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งทาง รฟม.รายงานว่า ภายในปี 2567 มีแผนที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าใหม่อีก 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตะวันตก ศูนย์วัฒนธรรมบางขุนนนท์ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-แยกลำสาลี

อย่างไรก็ตาม ค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสูงสุด 20 ตลอดสาย นั้น เป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องการผลักดันเพื่อดูแลประชาชน ลดค่าครองชีพในการเดินทาง สนับสนุนให้คนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วส่วนของโครงการรถไฟฟ้าของภาครัฐ ขณะที่โครงการที่มีสัญญากับภาคเอกชน อาทิ สายสีชมพู สายสีเหลือง สายสีน้ำเงิน รวมไปถึงสายสีส้มที่เปิดประมูลไปแล้ว นับว่าเป็นกลุ่มที่มี พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ดังนั้นต้องมีวิธีการดำเนินการการเจรจากับเอกชนในรูปแบบต่อไป

"ทุกโครงการรถไฟฟ้าที่มี พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เป็นโครงการ PPP จะต้องมีวิธีการจัดการแตกต่างออกไปจากรถไฟฟ้าของภาครัฐ ก็ต้องรอกระบวนการเจรจาก่อน แต่แน่นอนว่านโยบายรัฐบาลมีโอกาสที่จะทำให้ทุกสายทำราคาค่าโดยสาร 20 บาท รวมไปถึงรถไฟฟ้าสายสีส้มที่รอลงนามสัญญาก็ต้องเจรจากับเอกชน แต่โครงการรถไฟฟ้าร่วมทุนเหล่านี้ต้องให้ระยะเวลาศึกษาตัวเลข วิธีการ ผลลัพธ์ต่างๆ และต้องทำให้รอบคอบพอ เพื่อให้ความเชื่อมั่นกับนักลงทุนด้วย" นายสุรพงษ์กล่าว
นอกจากนี้ยังเร่งรัดให้เปิดบริการโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี หรือสายสีชมพู เร็วขึ้น จากแผนที่จะเปิดให้บริการภายในเดือนมิถุนายน 2567 เป็นการเปิดทดลองเสมือนจริงภายในเดือนธันวาคม 2566 ระยะเวลา 1 เดือน ก่อนจะเปิดเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบต้นปี 2567 พร้อมเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อประโยชน์สูงสุดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตลอดจนเป็นหน่วยงานที่สามารถสร้างรายได้พึ่งพาตนเองได้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาระการเงินของประเทศ

ขณะที่ความคืบหน้า โครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา หรือแทรม ในภูมิภาค รฟม.มีแผนจะดำเนินการนำร่อง โครงการแทรมภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองก่อน แต่เนื่องจากปัจจุบันกระทรวงคมนาคมมีการดำเนินการระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ จ.ภูเก็ตจำนวนมาก ทั้งโครงการของกรมทางหลวง หรือ ทล. และโครงการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. ซึ่งโครงการล้วนมีแนวเส้นทางดำเนินการบนทางหลวงหมายเลข 402 หากมีโครงการจำนวนมากมาดำเนินการพร้อม จะทำให้สร้างผลกระทบปัญหาด้านจราจรเพิ่มมากขึ้น จึงขยับแผนโครงการออกไปก่อน เพื่อรอเวลาที่เหมาะสมและไม่กระทบปัญหาจราจร.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 24 ต.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2023 12:45 pm    Post subject: Reply with quote

ขสมก. เล็งตัดรถเสริมป้อนคนนั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
23 ตุลาคม 2566 เวลา 14:03 น.

“ขสมก.” เร่งทำแผนตัดรถเมล์เสริมบางเส้นทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง-สายสีม่วง ที่ใช้บริการหนาแน่น เพิ่มสะดวก รวดเร็ว หนุนขนส่งผู้โดยสารป้อนรถไฟฟ้าตามนโยบาย 20 บาทตลอดสายเพิ่มในอนาคต ขณะที่รถเมล์เชื่อมรถไฟฟ้า 2 สาย 42 เส้นทางยอดใช้บริการ เฉพาะ 16 ต.ค. 66 วันแรก ใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย กว่า 2.2 แสนคน รายได้ 2.9 ล้านบาท


รายงานข่าวจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แจ้งว่า ตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม มีโยบายให้ ขสมก. จัดแผนเดินรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) เชื่อมต่อรถไฟฟ้า 2 สาย ได้แก่ 1.รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และ 2.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ที่นำร่องใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายสะดวก รวดเร็ว ทำให้จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการถไฟฟ้า 2 สายเพิ่มขึ้นในอนาคตนั้น


ปัจจุบัน ขสมก. มีรถเมล์ผ่านเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วงอยู่แล้ว เพื่อขนส่งผู้โดยสารป้อนให้กับระบบรถไฟฟ้า ขณะเดียวกันนางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ที่กำกับดูแล ขสมก. สั่งให้พิจารณาปริมาณจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ผ่านสถานีรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ที่เป็นจุดเชื่อมต่อที่ใช้บริการหนาแน่น เช่น สถานีรังสิต ดอนเมือง บางบำหรุ และตลิ่งชัน เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารมากที่สุด โดยอาจใช้วิธีการตัดรถเสริมบางเส้นทาง เน้นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้จำนวนมาก เพื่อเกิดการเดินทางที่สั้นลง รวดเร็ว สะดวก เพราะรถเมล์บางเส้นทางมีระยะทางไกล ใช้เวลาเดินรถไป-กลับนาน เกิดการหมุนรถช้า ส่งผลให้ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวก


อย่างไรก็ตาม คาดว่าแผนการตัดรถเสริมบางเส้นทางที่ผ่านสถานีรถไฟฟ้า 2 สาย ที่ใช้บริการหนาแน่นนี้ จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์แล้วเสร็จ จากนั้นจะดำเนินการจัดแผนการเดินรถให้เหมาะสมต่อไป เพื่อเพิ่มเที่ยววิ่งและรับส่งผู้โดยสารเข้าใช้ระบบรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายจำนวนมากขึ้นในอนาคต


ปัจจุบัน ขสมก. มีรถเมล์ให้บริการรวม 2,885 คัน จำนวน 107 เส้นทาง ผู้โดยสารใช้บริการอยู่ที่ 700,000 กว่าคนต่อวัน ในจำนวนนี้หากแยกเป็นรถเมล์ที่เชื่อมต่อเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีม่วง รวมทั้งหมด 42 สาย ขณะเดียวกันอยู่ระหว่างเก็บข้อมูลจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ช่วงก่อน และหลังวันที่ 16 ต.ค. 66 ซึ่งเป็นวันแรกที่ใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกันว่า จะมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มมากน้อยแค่ไหน พร้อมสรุปข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อจัดทำแผนจัดการเดินรถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายต่อไป


ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ 42 สาย ที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง และสายสีม่วง เฉพาะวันที่ 16 ต.ค. 66 (วันแรกที่ใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย) พบว่า มีผู้โดยสารรวม 221,659 คน 5,698 เที่ยววิ่ง มีรายได้ค่าโดยสารรวม 2,932,759 บาท แบ่งเป็น


รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน 13 สถานี มีรถเมล์ผ่าน 27 สาย ผู้โดยสารใช้บริการเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66 จำนวน 139,247 คน 3,665 เที่ยววิ่ง รายได้ 2,020,818 บาท สำหรับ 27 สาย เช่น 49 สถานีกลางบางซื่อ-หัวลำโพง, สาย 79 พุทธมณฑลสาย 2-ราชประสงค์, สาย 510 มธ.ศูนย์รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และ สาย 555 รังสิต-สุวรรณภูมิ (ทำงด่วน)

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 16 สถานี มีรถเมล์ผ่าน 15 สาย ผู้โดยสารใช้บริการเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66 จำนวน 82,412 คน 2,033 เที่ยววิ่ง รายได้ 911,941 บาท สำหรับ 15 สาย เช่น สาย 18 อู่ท่าอิฐ-อนุสาวรีย์ชัยฯ, สาย 50 พระราม7-สวนลุมพินี, สาย 63 สถานีรถไฟฟ้าพระนั่งเกล้า-อนุสาวรีย์ชัยฯ และสาย 516 หมู่บ้านบัวทองเคหะ-เทเวศร์

ทั้งนี้ มีรถเมล์บางสายที่ผ่านทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟฟ้าสายสีม่วง เช่น สาย 16 หมอชิต 2-สุรวงศ์, สาย 134 หมู่บ้านบางบัวทอง-หมอชิต 2, สาย 191 การเคหะคลองจั่น-กระทรวงพาณิชย์ และสาย 505 ปากเกร็ด-สวนลุมพินี...
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2023 12:42 pm    Post subject: Reply with quote

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte
28 ต.ค. 66 09:00 น.

https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/899172868242150

อ่วม ! 20 บาทตลอดสาย
ฉุดรายได้รถไฟฟ้า “แดง-ม่วง” วูบ
20 บาทตลอดสาย เริ่มใช้กับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงมาตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 ต.ค. 2566 ก่อนหน้านี้ผมได้เสนอผลหลังจากใช้นโยบายนี้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ปรากฏว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย เพิ่มขึ้นรวมกัน 5.6% หลายคนอยากรู้ว่ารายได้จากค่าโดยสารจะลดลงเท่าไหร่ ?

1. การประเมินผลใน 1 สัปดาห์

1.1 ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย
เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 ต.ค. 2566 ถึงวันอาทิตย์ที่ 15 ต.ค. 2566 ยกเว้นวันศุกร์ที่ 13 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันหยุด ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับวันศุกร์ที่ 20 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันทำงานได้
1.2 ระยะเวลา 1 สัปดาห์ หลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย
เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 ต.ค. 2566 ถึงวันอาทิตย์ที่ 22 ต.ค. 2566 ยกเว้นวันศุกร์ที่ 20 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันทำงาน ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับวันศุกร์ที่ 13 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันหยุดได้

2. รายได้รถไฟฟ้า 1 สัปดาห์ ก่อนและหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย

2.1 รายได้รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้าสายสีแดงก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย 1 สัปดาห์ มีรายได้เฉลี่ยวันละ 0.65 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 0.5 ล้านบาท นั่นคือรายได้ลดลงเฉลี่ยวันละ 0.15 ล้านบาท คิดเป็น 23%
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จ้างบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีแดงพร้อมทั้งซ่อมบำรุงรักษาเฉลี่ยวันละ 1.31 ล้านบาท ดังนั้น ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย รฟท. ขาดทุนเฉลี่ยวันละ 0.66 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 0.81 ล้านบาท

2.2 รายได้รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย 1 สัปดาห์ มีรายได้เฉลี่ยวันละ 1.3 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 0.8 ล้านบาท นั่นคือรายได้ลดลงเฉลี่ยวันละ 0.5 ล้านบาท คิดเป็น 38%
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงพร้อมทั้งซ่อมบำรุงรักษาเฉลี่ยวันละ 7.39 ล้านบาท ดังนั้น ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย รฟม. ขาดทุนเฉลี่ยวันละ 6.09 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 6.59 ล้านบาท

2.3 หลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 7.4 ล้านบาท จากเดิมขาดทุนวันละ 6.7 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายม่วงก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย 1 สัปดาห์ มีรายได้รวมกันเฉลี่ยวันละ 1.95 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 1.3 ล้านบาท นั่นคือรายได้ลดลงเฉลี่ยวันละ 0.65 ล้านบาท คิดเป็น 33%
รฟท. และ รฟม. จ่ายค่าจ้างเดินรถพร้อมทั้งซ่อมบำรุงรักษารถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงรวมกันวันละ 8.7 ล้านบาท ดังนั้น ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย รฟท. และ รฟม. ขาดทุนเฉลี่ยรวมกันวันละ 6.75 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 7.4 ล้านบาท

3. สรุป
ในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย พบว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นรวมกัน 5.6% แต่รายได้ลดลงถึง 33% ทำให้ รฟท. และ รฟม. ขาดทุนรวมกันเพิ่มขึ้นจากวันละ 6.75 ล้านบาท เป็นวันละ 7.4 ล้านบาท

ด้วยเหตุนี้ รมว. คมนาคม ผู้นำนโยบาย 20 บาทตลอดสายมาใช้ จะต้องโชว์ฝีมือทำให้การขาดทุนลดลงให้ได้ จนกระทั่งไม่ขาดทุนเลยหรือได้กำไรตามที่ได้ประกาศไว้ โดยจะต้องหาทางทำให้มีผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญให้ได้

ขอเป็นกำลังใจให้อีกครั้งครับ !
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2023 12:25 am    Post subject: Reply with quote

'สามารถ' เปิดตัวเลขนโยบาย 20 บาทตลอดสาย ฉุดรายได้รถไฟฟ้าวูบ 33%
หน้าเศรษฐกิจ
วันเสาร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10:25 น.
นโยบายรถไฟฟ้า20 บาทตลอดสาย ฉุดรายได้สายสีแดง-ม่วง ลดฮวบ 7.4 ล้าน
ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566


ดร.สามารถ เผยสาเหตุนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย กระทบรายได้สายสีแดง-สายสีม่วง วูบหนัก แนะคมนาคมเร่งโชว์ผลงานลดปัญหาขาดทุน 7.4 ล้านบาท

"สามารถ ราชพลสิทธิ์" เปิดข้อมูลนโยบายปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้า อ่วม ! 20 บาทตลอดสาย ฉุดรายได้รถไฟฟ้า "แดง-ม่วง" วูบสูงสุดวันละ 7.4 ล้านบาท

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสบนเฟสบุ๊คส่วน ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte ถึงประเด็นนโยบายปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า อ่วม ! 20 บาทตลอดสาย ฉุดรายได้รถไฟฟ้า “แดง-ม่วง” วูบ โดยระบุว่า 20 บาทตลอดสาย เริ่มใช้กับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงมาตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 ต.ค. 2566 ก่อนหน้านี้ผมได้เสนอผลหลังจากใช้นโยบายนี้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ปรากฏว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย เพิ่มขึ้นรวมกัน 5.6% หลายคนอยากรู้ว่ารายได้จากค่าโดยสารจะลดลงเท่าไหร่ ?

1. การประเมินผลใน 1 สัปดาห์

1.1 ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย

เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 ต.ค. 2566 ถึงวันอาทิตย์ที่ 15 ต.ค. 2566 ยกเว้นวันศุกร์ที่ 13 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันหยุด ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับวันศุกร์ที่ 20 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันทำงานได้

1.2 ระยะเวลา 1 สัปดาห์ หลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย

เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 ต.ค. 2566 ถึงวันอาทิตย์ที่ 22 ต.ค. 2566 ยกเว้นวันศุกร์ที่ 20 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันทำงาน ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับวันศุกร์ที่ 13 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันหยุดได้

2. รายได้รถไฟฟ้า 1 สัปดาห์ ก่อนและหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย

2.1 รายได้รถไฟฟ้าสายสีแดง

รถไฟฟ้าสายสีแดงก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย 1 สัปดาห์ มีรายได้เฉลี่ยวันละ 0.65 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 0.5 ล้านบาท นั่นคือรายได้ลดลงเฉลี่ยวันละ 0.15 ล้านบาท คิดเป็น 23%

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จ้างบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีแดงพร้อมทั้งซ่อมบำรุงรักษาเฉลี่ยวันละ 1.31 ล้านบาท ดังนั้น ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย รฟท. ขาดทุนเฉลี่ยวันละ 0.66 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 0.81 ล้านบาท

2.2 รายได้รถไฟฟ้าสายสีม่วง

รถไฟฟ้าสายสีม่วงก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย 1 สัปดาห์ มีรายได้เฉลี่ยวันละ 1.3 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 0.8 ล้านบาท นั่นคือรายได้ลดลงเฉลี่ยวันละ 0.5 ล้านบาท คิดเป็น 38%

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงพร้อมทั้งซ่อมบำรุงรักษาเฉลี่ยวันละ 7.39 ล้านบาท ดังนั้น ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย รฟม. ขาดทุนเฉลี่ยวันละ 6.09 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 6.59 ล้านบาท


2.3 หลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 7.4 ล้านบาท จากเดิมขาดทุนวันละ 6.7 ล้านบาท

รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายม่วงก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย 1 สัปดาห์ มีรายได้รวมกันเฉลี่ยวันละ 1.95 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 1.3 ล้านบาท นั่นคือรายได้ลดลงเฉลี่ยวันละ 0.65 ล้านบาท คิดเป็น 33%

รฟท. และ รฟม. จ่ายค่าจ้างเดินรถพร้อมทั้งซ่อมบำรุงรักษารถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงรวมกันวันละ 8.7 ล้านบาท ดังนั้น ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย รฟท. และ รฟม. ขาดทุนเฉลี่ยรวมกันวันละ 6.75 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 7.4 ล้านบาท

3. สรุป

ในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย พบว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นรวมกัน 5.6% แต่รายได้ลดลงถึง 33% ทำให้ รฟท. และ รฟม. ขาดทุนรวมกันเพิ่มขึ้นจากวันละ 6.75 ล้านบาท เป็นวันละ 7.4 ล้านบาท

ด้วยเหตุนี้ รมว. คมนาคม ผู้นำนโยบาย 20 บาทตลอดสายมาใช้ จะต้องโชว์ฝีมือทำให้การขาดทุนลดลงให้ได้ จนกระทั่งไม่ขาดทุนเลยหรือได้กำไรตามที่ได้ประกาศไว้ โดยจะต้องหาทางทำให้มีผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญให้ได้
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1095952

Mongwin wrote:
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte
วันเสาร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09:00 น.

https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/899172868242150

อ่วม ! 20 บาทตลอดสาย
ฉุดรายได้รถไฟฟ้า “แดง-ม่วง” วูบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2023 10:44 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า 20 บาท 2 เส้นทางจุดพลุช่องทางระบายสต็อกบ้าน-คอนโด
ฐานเศรษฐกิจ
วันอาทิตย์ ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566

รถไฟฟ้า 20 บาท 2 เส้นทาง สายสีแดง -สีม่วง จุดพลุช่องทางระบายสต็อกบ้าน-คอนโด ลุ้นขยายเวลาต่ออายุลดราคาต่อเนื่องหลังครบ 1 ปี สิ้นสุดพ.ย.ปี67


หนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลปัจจุบันที่เคยพูดไว้ตอนหาเสียง คือ ค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ซึ่งการจะทำได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะกับเส้นทางที่เปิดให้บริการไปแล้ว หรือเส้นทางที่ได้ผู้ดำเนินการจัดการเรื่องการเดินรถแล้ว ซึ่งเมื่อได้บริษัทที่รับสัมปทานไปแล้วก็อาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาล เพราะเป็นสัมปทานของเอกชน หรือบริษัทที่รัฐบาลและเอกชนร่วมกันดำเนินการ

บางเส้นทางอย่างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสที่เปิดบริการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2542 ซึ่งค่าโดยสารก็ปรับขึ้นไปตามที่กำหนดในสัญญา และกรุงเทพมหานครก็ยังมีปัญหาเรื่องหนี้สินที่ค้างคากับทางบีทีเอส เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่มีคนใช้บริการมากที่สุด และคงเป็นเส้นทางที่มีปัญหาในการเจรจาลดค่าโดยสารแน่นอน

รัฐบาลจึงอาจจะเริ่มการเจรจาเพื่อขอลดค่าโดยสารในบางเส้นทางก่อน โดยเส้นทางที่เป็นเส้นทางนำร่องตามที่รัฐบาลบอก คือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน - บางซื่อ - รังสิต จำนวน 13 สถานีที่มีบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ และเส้นทางสายสีม่วงตอนเหนือ ช่วงเตาปูน - คลองบางไผ่ จำนวน 16 สถานี ซึ่งมีบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ ทั้ง 2 เส้นทางเป็น 2 เส้นทางแรก

ที่รัฐบาลสามารถปรับลดค่าโดยสารลงเหลือ 20 บาทตลอดทั้งเส้นทางได้ ซึ่งเบื้องหลังการปรับลดค่าโดยสารอาจจะมีการจ่ายเงินเพื่อชดเชยให้กับบริษัทที่รับสัมปทานนากรดำเนินการเรื่องการเดินรถไฟฟ้าก็คงไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายที่มากมายเท่าไหร่ เพราะคนใช้บริการทั้ง 2 เส้นทางไม่ได้มากนัก แต่คงช่วยให้คนในพื้นที่เดินทางเข้า-ออกกรุงเทพมหานครได้ประหยัดขึ้นมาก และอาจจะทำให้คนตัดสินใจมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น

จากการวิเคราะห์ของ “พร็อพเพอร์ตี้ดีเอ็นเอ พบว่าเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - คลองบางไผ่ เป็นเสน้ทางรถไฟฟ้าที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยค่อนข้างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะเป็น 1 ในปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดโครงการคอนโดมิเนียมจำนวนมากในจังหวัดนนทบุรีจากที่ไม่เคยมีโครงการคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่มากเปิดขายมากแบบที่ผ่านมา ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันที่ทำให้ยังคงมีคอนโดมิเนียมเหลือขายในพื้นที่จังหวัดนนบุรี

โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงอีกไม่ต่ำกว่า 5,300 ยูนิต โดยในระดับราคา 2 - 3 ล้านบาทมีจำนวนมากที่สุด ในขณะที่ตลาดบ้านจัดสรรกลับได้รับความนิยมต่อเนื่อง แม้ว่าจะอยู่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้าไปมากกว่า 2 กิโลเมตรขึ้นไป บ้านจัดสรรอาจจะมียูนิตเหลือขายที่มากกว่าคอนโดมิเนียม 2 เท่า แต่ไม่น่ากังวลใจมาก เพราะทยอยสร้างทยอยขายไปได้เรื่อยๆ โดยมีบ้านระดับราคา 3 - 5 ล้านบาทต่อยูนิตเหลือขายมากที่สุด และบ้านในระดับราคา 2 - 3 ล้านบาทที่เหลือขายตามมาเป้นอันดับที่ 2 ซึ่งจะเห็นได้ว่าราคาบ้านที่เหลือขายอยู่ในระดับราคาเดียวกับคอนโดมิเนียม

พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน - บางซื่อ - รังสิต อาจจะไม่ค่อยมีการพัฒนามากแบบที่ควรจะเป็น เพราะตลอดทั้ง 2 ฝั่งของเส้นทางเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะกันพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางแล้ว ยังมีถนนพหลโยธินขนานไปตลอดแนวเส้นทางทางทิศตะวันออก ในขณะที่เส้นทางสายสีแดงที่ไปยังตลิ่งชันก็อยู่ในแนวเส้นทางเดียวกับทางพิเศษประจิมรัถยาทำให้ตลอดทั้ง 2 ฝั่งของเส้นทางแทบไม่มีโครงการที่อยู่อาศัยเลย

เพราะข้อจำกัดในการพัฒนา สายสีแดงช่วงบางซื่อ - รังสิตอาจจะมีโครงการบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียมบ้างแต่ก็ไม่มากนัก ซึ่งทั้งบ้านและคอนโดมิเนียมในพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงขายได้ค่อนข้างดี แต่ไม่ใช่เพราะปัจจัยสนับสนุนจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง แต่เพราะการเดินทางที่สะดวกจาก และเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนามาต่อเนื่องยาวนานกว่า 40 - 50 ปีแล้ว ทั้งมีสนามบินดอนเมือง ทางพิเศษที่ทำให้การเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพมหานครสะดวก และได้รับความนิยมในการเป็นย่านที่อยู่อาศัยมายาวนาน

บ้านจัดสรรที่เหลือขายในพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางมีประมาณ 1,600 ยูนิต โดยมีบ้านในระดับราคา 3 - 5 ล้านบาทเหลือขายมากที่สุดรองลงมาคือระดับราคา 5 - 7 ล้านบาท ในขณะที่โครงการคอนโดมิเนียมก็มีเปิดขายบ้างแต่ไม่มากนัก และมียูนิตเหลือขายอยู่ประมาณ 1,200 ยูนิต โดยส่วนใหญ่หรือประมาณ 65% อยู่ในระดับราคา 2 - 3 ล้านบาท

การปรับลดค่าโดยสารของทั้ง 2 เส้นทางคงไม่ได้มีผลต่อพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางมากนัก เพราะปัจจัยในการพิจารณาซื้อที่อยู่อาศัยมีมากกว่าเรื่องของค่าโดยสารรถไฟฟ้า ที่อยู่อาศัยเหลือขายออาจจะได้อานิสงค์จากการปรับลดค่าโดยสาร เพราะผู้ประกอบการมีช่องทางในการระบายสต็อกเพิ่มขึ้นจากโครงการนี้ของรัฐบาล แต่สำหรับโครงการใหม่คงไม่มีอะไร อีกเรื่องที่ต้องพิจารณากันในระยะยาว คือ มาตรการนี้จะยืนระยะได้ยาวนาเท่าใด เมื่อครบกำหนดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2567 จะต่ออายุมาตรการนี้ต่อไปหรือไม่

เพราะต้องให้กระทรวงคมนาคมประเมินผลรายปีต่อเนื่อง โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณผู้โดยสาร และรายได้ที่จัดเก็บได้ ซึ่งจะส่งผลต่อภาระการชดเชยจากภาครัฐ ความสะดวกสบายในการเดินทาง และการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน รวมไปถึงการเชื่อมระบบต่างๆ ที่ยังต้องเสียเงิน 2 ต่ออยู่ดี เรื่องเหล่านี้อาจจะยังเป็นข้อกังวล และอาจไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในทั้ง 2 เส้นทาง

โดยเฉพาะในสายสีแดง แต่สำหรับสายสีม่วงอาจจะมีผลต่อการตัดสินใจเพิ่มขึ้น เพราะกลุ่มคนที่มีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีกำลังซื้อต่ำกว่า

การที่ค่ารถไฟฟ้าลดลงมีผลต่อการตัดสินใจแน่นอน เพียงแต่ยังต้องพิจารณาถึงความยั่งยืนของมาตรการนี้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 48290
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2023 8:15 am    Post subject: Reply with quote

ความคุ้มค่าของรถไฟฟ้า 20 บาท อุดหนุนด้วยเงินรัฐบาล
กวนน้ำให้ใส
สารส้ม
แนวหน้า วันพุธ ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566, 02.00 น.

เพิ่งนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการติดตามกำกับดูแล ร.ฟ.ท และ ขสมก. ให้มีคุณภาพบริการที่ดีคุ้มกับการจ่ายเงินอุดหนุน

ก็ต้องเพิ่มเติมอีก 1 กรณี นั่นคือ การดำเนินนโยบายการเมืองอุดหนุนค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานรัฐ คือ ร.ฟ.ท. และ รฟม.


ค่ารถไฟฟ้า 20 บาท สายสีแดง (ร.ฟ.ท.) และสายสีม่วง (รฟม.)

กรณีเช่นนี้ ก็คืออีกหนึ่งรูปแบบของการเอาเงินหลวงไปอุดหนุนแทรกแซง เพื่อให้ผู้โดยสารได้จ่ายค่าโดยสารถูกลง

โดยรัฐแบกรับ หรือจ่ายชดเชย หรือยอมเสียผลประโยชน์ส่วนอื่นแทน

จะประเมินว่าคุ้มหรือไม่คุ้มอย่างไร?

1. การประเมินจะเอาแค่ว่าจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างเดียว คงไม่ใช่

เพราะจำนวนผู้โดยสารจะต้องสูงขึ้นอยู่แล้ว

แต่สำคัญ คือ จะเพิ่มขึ้นเพียงพอที่จะมาชดเชยรายได้ต่อหัวผู้โดยสารที่ลดลงไปแค่ไหน

อย่าลืมว่า โครงการอุดหนุนลักษณะนี้ คือ การเอาเงินของคนทั้งประเทศมาอุดหนุนค่าโดยสารให้คนในกรุงเทพฯ

2. ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้แนวทางประเมินไปแล้ว

ระบุว่า “อ่วม ! 20 บาทตลอดสาย ฉุดรายได้รถไฟฟ้า “แดง-ม่วง” วูบ”

“1. การประเมินผลใน 1 สัปดาห์

1.1 ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย

เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 9 ต.ค. 2566 ถึงวันอาทิตย์ที่ 15 ต.ค. 2566 ยกเว้นวันศุกร์ที่ 13 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันหยุด ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับวันศุกร์ที่ 20 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันทำงานได้

1.2 ระยะเวลา 1 สัปดาห์ หลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย

เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 16 ต.ค. 2566 ถึงวันอาทิตย์ที่ 22 ต.ค. 2566 ยกเว้นวันศุกร์ที่ 20 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันทำงาน ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับวันศุกร์ที่ 13 ต.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันหยุดได้

2. รายได้รถไฟฟ้า 1 สัปดาห์ ก่อนและหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย

2.1 รายได้รถไฟฟ้าสายสีแดง

รถไฟฟ้าสายสีแดงก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย 1 สัปดาห์ มีรายได้เฉลี่ยวันละ 0.65 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 0.5 ล้านบาท นั่นคือรายได้ลดลงเฉลี่ยวันละ 0.15 ล้านบาท คิดเป็น 23%

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จ้างบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีแดงพร้อมทั้งซ่อมบำรุงรักษาเฉลี่ยวันละ 1.31 ล้านบาท ดังนั้น ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย ร.ฟ.ท. ขาดทุนเฉลี่ยวันละ 0.66 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 0.81 ล้านบาท

2.2 รายได้รถไฟฟ้าสายสีม่วง

รถไฟฟ้าสายสีม่วงก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย 1 สัปดาห์ มีรายได้เฉลี่ยวันละ 1.3 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 0.8 ล้านบาท นั่นคือรายได้ลดลงเฉลี่ยวันละ 0.5 ล้านบาท คิดเป็น 38%

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงพร้อมทั้งซ่อมบำรุงรักษาเฉลี่ยวันละ 7.39 ล้านบาท ดังนั้น ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย รฟม. ขาดทุนเฉลี่ยวันละ 6.09 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 6.59 ล้านบาท

2.3 หลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 7.4 ล้านบาท จากเดิมขาดทุนวันละ 6.7 ล้านบาท

รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายม่วงก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย 1 สัปดาห์ มีรายได้รวมกันเฉลี่ยวันละ 1.95 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย เฉลี่ยวันละ 1.3 ล้านบาทนั่นคือรายได้ลดลงเฉลี่ยวันละ 0.65 ล้านบาท คิดเป็น 33%

ร.ฟ.ท. และ รฟม. จ่ายค่าจ้างเดินรถพร้อมทั้งซ่อมบำรุงรักษารถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงรวมกันวันละ 8.7 ล้านบาท ดังนั้น ก่อนเก็บ 20 บาทตลอดสาย ร.ฟ.ท. และ รฟม. ขาดทุนเฉลี่ยรวมกันวันละ 6.75 ล้านบาท และหลังเก็บ 20 บาทตลอดสาย ขาดทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 7.4 ล้านบาท

3. สรุป

ในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย พบว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นรวมกัน 5.6% แต่รายได้ลดลงถึง 33% ทำให้ ร.ฟ.ท. และ รฟม. ขาดทุนรวมกันเพิ่มขึ้นจากวันละ 6.75 ล้านบาท เป็นวันละ 7.4 ล้านบาท

ด้วยเหตุนี้ รมว. คมนาคม ผู้นำนโยบาย 20 บาทตลอดสายมาใช้ จะต้องโชว์ฝีมือทำให้การขาดทุนลดลงให้ได้ จนกระทั่งไม่ขาดทุนเลยหรือได้กำไรตามที่ได้ประกาศไว้ โดยจะต้องหาทางทำให้มีผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญให้ได้”





3. จะเห็นได้ว่า การแทรงแซงลักษณะนี้ มีต้นทุนที่ต้องแบกรับ

ต้องประเมินความคุ้มค่า

รวมถึงคุณภาพบริการที่ประชาชนผู้ใบริการได้รับด้วย เช่นเดียวโครงการอุดหนุนอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

สิ่งที่ร.ฟ.ท.ควรทำ คืออะไร?

วันก่อน นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้นโยบายแก่ร.ฟ.ท. มีหลายเรื่องน่าสนใจ และขอสนับสนุนให้ดำเนินการให้สำเร็จ

ยกตัวอย่าง นโยบาย Quick Win “คมนาคม ของประชาชน”

ให้การรถไฟฯ มีการทยอยเปิดเดินรถในพื้นที่ก่อสร้างทางคู่ช่วงที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณเดือนธันวาคม 2566 เพื่อช่วยลดระยะเวลาเดินทางแก่ประชาชน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังมาถึง ซึ่งจะมีประชาชนเดินทางจำนวนมาก ตลอดจนเร่งรัดการก่อสร้างทางคู่ระยะที่1 ในส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามแผนที่กำหนด

ให้ดำเนินแผน Quick Win ด้านเทคโนโลยี สำหรับดูแลบริการเดินรถ ประกอบด้วย การนำรถไฟพลังงานแบตเตอรี่ EV on Train มาส่งเสริมการใช้ขนส่งสินค้าเพื่อลดการใช้น้ำมันดีเซล การติดตั้งระบบติดตามขบวนรถไฟและจัดการขนส่งสินค้าของการรถไฟ ในโครงการก่อสร้างทางคู่ การติดตั้งระบบห้ามล้ออัตโนมัติซึ่งเป็นเทคโนโลยีควบคุมการเดินรถที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

“การรถไฟฯ ถือเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ มีบทบาทสำคัญ ในการให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ภาคประชาชน

โดยมีรถโดยสารในเส้นทางสายต่างๆ กว่า 212 ขบวนต่อวัน การขนส่งสินค้าที่มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจ 78 ขบวนต่อวัน

ตลอดจนช่วยขับเคลื่อนการลงทุนเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศ ผ่านโครงการลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟสายใหม่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

และยังมีทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์ได้อีกมาก จึงมีโอกาสที่จะเติบโต และสร้างประโยชน์ได้อีกมาก ดังนั้น เป้าหมายสำคัญจะต้องทำให้การรถไฟฯ กลับมาเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนระบบการขนส่งทางรางของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ” - นายสุรพงษ์กล่าวว่า

นอกจากนี้ ยังให้การรถไฟฯ ในการเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจด้านคมนาคมการขนส่งทางราง ด้านต่างๆ ดังนี้

1. การแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดทุน การเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งสินค้า เพื่อใช้เป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับการรถไฟฯ โดยปัจจุบันขบวนรถสินค้าที่ให้บริการ 78 ขบวนต่อวัน ในปีงบประมาณ 2566 มีปริมาณการขนส่งสินค้า จำนวน 12.04 ล้านตัน คิดเป็นรายได้ จำนวน 2,143.11 ล้านบาท ดังนั้น แนวทางต่อไปจะต้องส่งเสริมให้ภาคเอกชนหันมาใช้ระบบขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางราง ซึ่งเน้นการเชื่อมโยงการคมนาคมอื่นๆ ตลอดจน
เพิ่มบริการรับขนส่งสินค้าหลายประเภทในหลายเส้นทาง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ถือว่าเป็นการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ มีต้นทุนที่ถูกกว่าทางถนน และสามารถแก้ไขปัญหาจราจรได้

2. การอำนวยความสะดวกดูแลการขนส่งเดินทางแก่ผู้โดยสาร ทั้งขบวนรถทางไกลในส่วนของรถเชิงพาณิชย์ และรถโดยสารเชิงสังคม ขบวนรถท่องเที่ยว ตลอดจนให้การรถไฟฯ เข้าไปช่วยดูแลประชาชนผู้มีรายได้น้อย ผ่านรูปแบบรถไฟชานเมือง ขบวนรถธรรมดาและขบวนรถท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันขบวนรถที่ให้บริการ 212 ขบวน/วัน แบ่งเป็นขบวนรถไฟทางไกลให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ในเส้นทางสายเหนือ สายใต้สายตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว จำนวน 52 ขบวนต่อวันและขบวนรถชานเมือง ขบวนรถธรรมดา ขบวนรถนำเที่ยว ที่ให้บริการที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) จำนวน 62 ขบวนต่อวัน นอกจากนั้น จะเป็นขบวนรถท้องถิ่นที่ให้บริการระหว่างจังหวัดในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ

3. มุ่งลดค่าครองชีพแก่พี่น้องประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล โดยให้ขบวนรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-ตลิ่งชัน ดำเนินการปรับลดค่าโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดงสูงสุดไม่เกิน 20 บาท หรือ 20 บาทตลอดสาย โดยเป้าหมายนอกจากจะช่วยลดรายจ่ายแก่ประชาชนแล้ว ยังคาดว่าจะกระตุ้นให้มีผู้โดยสารหันมาใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงมากขึ้นจากเฉลี่ย 19,200 คนต่อวัน เพิ่มเป็น 25,000 คนต่อวัน (ควรมีการติดตามประเมิน)

4. การแก้ปัญหาจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ - รถยนต์ที่ผิดกฎหมายหรือทางลักผ่าน ต้องดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบริเวณทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ-รถยนต์

5. การเร่งรัดขับเคลื่อนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของการรถไฟฯ ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน(ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา - หนองคาย) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผ่านการร่วมทุนกับภาคเอกชนในรูปแบบ (PPP) ตลอดจนจะมีการติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟทางสายใหม่ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือการศึกษาให้ดำเนินการได้เสร็จสิ้นไว้กว่า หรือเป็นตามแผนที่กำหนดไว้

6. การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทรัพย์สินของการรถไฟ เช่น การนำที่ดินที่ไม่ได้ใช้ด้านการเดินรถ หรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ Non - Core มาพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อหารายได้จากการให้เช่า ผ่านการบริหารจัดการโดยบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟ รับไปดำเนินการ โดยให้นำเสนอแผนการดำเนินการต่างๆ เช่น การส่งมอบรับมอบทรัพย์สิน แผนการตลาด ให้จัดทำ Timeline ให้ชัดเจน

เรื่องพวกนี้ ขอสนับสนุนให้ลงมือทำอย่างจริงจังครับ

สารส้ม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44615
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2023 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

เปิด 5 อันดับ ที่ดินทำเลทอง-ที่ดินแนวรถไฟฟ้า รอบปี 66
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10:08 น.

เปิดตัวเลขดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2566

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2566 มีค่าดัชนีเท่ากับ 379.9 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ภาพรวมทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่เป็นแบบชะลอตัว เมื่อเทียบกับการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราค่าเฉลี่ย 5 ปี ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติ COVID-19 (ปี 2558-2562) ที่มีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ต่อไตรมาส เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) และอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) แสดงให้เห็นว่าอัตราเร่งของดัชนีราคาที่ดินในช่วงเวลาก่อนเกิดวิกฤติ สูงกว่าปัจจุบันถึงประมาณ 5 เท่า 


สำหรับปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเปล่ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง ผลจากปัจจัยลบต่าง ๆ โดยเฉพาะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ที่ปรับขึ้นมาที่ระดับร้อยละ 2.50 ในวันที่ 27 กันยายน 2566 ปรับขึ้นมาแล้ว 5 ครั้ง ตั้งแต่ต้นปี 2566 อีกทั้งการยกเลิกการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของ ธปท. และภาวะหนี้สินครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงเกินกว่าร้อยละ 90 ของ GDP ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อกำลังซื้อทั้งสิ้นทำให้กำลังซื้อที่อยู่อาศัยชะลอตัว ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งมีการชะลอแผนการเปิดขายโครงการใหม่ จึงอาจต้องชะลอการซื้อที่ดินเปล่าเพื่อการพัฒนาลงไปด้วย ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเต็มอัตราในปี 2566 จึงอาจทำให้ความต้องการในการซื้อที่ดินสะสมใน Land Bank ของผู้ประกอบการลดลง เนื่องจากการซื้อที่ดินสะสมไว้ จะมีภาระที่ต้องจ่ายภาษีที่ดินฯ ทำให้เกิดต้นทุนจากการถือครองที่ดิน ซึ่งจะกลายเป็นต้นทุนในการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป

ในไตรมาส 3 ปี 2566 นี้ พบว่า โซนที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุด5 อันดับแรก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ดังนี้


อันดับ 1 ได้แก่ ที่ดินในโซนนครปฐม มีอัตราการเปลี่ยนราคามากถึงร้อยละ 62.5

อันดับ 2 ได้แก่ ที่ดินในโซนบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 22.3

ADVERTISEMENT


อันดับ 3 ได้แก่ ที่ดินในโซนเมืองสมุทรปราการ-พระประแดง-พระสมุทรเจดีย์ มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 17.9

อันดับ 4 ได้แก่ ที่ดินในโซนตลิ่งชัน-บางแค-ภาษีเจริญ-หนองแขม-ทวีวัฒนา-ธนบุรี-คลองสาน-บางพลัด-บางกอกน้อย-บางกอกใหญ่ มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 14.9

อันดับ 5 ได้แก่ ที่ดินในโซนกรุงเทพฯ ชั้นใน มีอัตราการเปลี่ยนราคาร้อยละ 6.8

จากภาวะราคาที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า ที่ดินที่อยู่บริเวณพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีการเปลี่ยนแปลงของราคาที่สูงกว่าในเขตชั้นใน เนื่องจากมีแผนงานที่จะการพัฒนาโครงการสำคัญในพื้นที่จังหวัดในปริมณฑลมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ประกอบกับราคาที่ดินที่อยู่บริเวณพื้นที่ชานเมืองยังราคาไม่สูงนัก และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบที่อยู่อาศัย ให้สอดคล้องกับความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้ซื้อที่ต้องการที่อยู่อาศัยแบบแนวราบได้ ทั้งนี้ จากข้อมูลสำรวจที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งแรกของ ปี 2566 จะพบว่าโซนเหล่านี้ เป็นโซนที่มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยใหม่เป็นจำนวนมาก และที่สำคัญเป็นโซนที่มียอดขายใหม่สูงเป็นระดับต้นๆ อีกด้วย

สำหรับราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในแนวเส้นทางที่มีรถไฟฟ้าผ่านในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 นี้ พบว่าเส้นทางรถไฟฟ้า 5 อันดับแรก ที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่มีโครงการรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้ว และเป็นโครงการในอนาคตที่มีการเชื่อมต่อกับพื้นที่สำคัญด้านพาณิชยกรรมและเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

อันดับ 1 ได้แก่ สายสีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู) และสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) เป็นโครงการในอนาคตและโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 254.9 จุด และ 251.1 จุด ตามลำดับ และอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยราคาที่ดินในเขตเมืองสมุทรปราการและพระสมุทรเจดีย์ เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก


อันดับ 2 ได้แก่ สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) เป็นโครงการในอนาคต ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 430.0 จุด และอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยราคาที่ดินในเขตทวีวัฒนา บางกรวย และพุทธมณฑล เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก  

อันดับ 3 ได้แก่ สายสีน้ำเงิน (บางแค-สาย 4) เป็นโครงการในอนาคต ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 428.8 จุด และอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยราคาที่ดินในเขตหนองแขมและบางแค เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก 

อันดับ 4 ได้แก่ สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) สายสีทอง (ธนบุรี-ประชาธิปก) เป็นโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว และสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) เป็นโครงการในอนาคต ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 502.4 , 495.2 และ 487.6 จุด ตามลำดับ โดยมีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) ทั้งนี้ มีราคาที่ดินในเขตบางกอกน้อย ธนบุรี คลองสาน และห้วยขวาง เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก 

อันดับ 5 ได้แก่ สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) เป็นโครงการที่เปิดให้บริการแล้ว ซึ่งมีค่าดัชนีเท่ากับ 479.8 จุด และอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยราคาที่ดินในเขตบางซื่อ และบางกรวย เป็นบริเวณที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก..
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 273, 274, 275 ... 287, 288, 289  Next
Page 274 of 289

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©